แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น

บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )

(1/6) > >>

ฐิตา:



บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด
( โลหิตสูตร )
BLOOD STREAM  SERMON



ทุกสิ่งที่ปรากฏในภพทั้งสามล้วนเกิดจากจิต1*
ดังนั้น พระพุทธเจ้า2* ทั้งในอดีตและอนาคต
ย่อมสอนด้วยวิธีจิตสู่จิต โดยไม่ยึดรูปแบบตายตัวใด ๆ3*

“ แต่ถ้าไม่ใช่รูปแบบตายตัว พระพุทธเจ้าเหล่านั้นจะใช้จิตโดยวิธีใด ? ”
“ สิ่งที่ท่านถามนั้นแหละคือจิตของท่าน ”
“ สิ่งที่ฉันตอบนั้นแหละคือจิตของฉัน ”

“ ถ้าฉันไม่คิดฉันจะตอบได้อย่างไร ”
“ ถ้าท่านไม่คิดท่านจะถามได้อย่างไร ”
“ สิ่งที่ท่านถามก็คือความคิด ( จิต ) ของท่าน ”

ตลอดกัปกัลป์4* อันหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้
ท่านทำสิ่งใดก็ตาม
อยู่ที่ไหนก็ตาม สิ่งนั้นคือจิตที่แท้จริงของท่าน

สภาวะนั้นคือพระพุทธเจ้าที่แท้จริงของท่าน จิตนี้คือพุทธะ5*   
ท่านกล่าวว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
นอกเหนือจากจิตนี้แล้วท่านจะพบพระพุทธเจ้าที่อื่นไม่ได้เลย

การแสวงหาโพธิ6* ( การบรรลุธรรม ) หรือนิพพาน7*
นอกจากจิตนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้
ความเป็นจริงของธรรมชาติของท่านเอง8*
ที่เป็นสภาพที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็เกิดมาจากจิตด้วย
เพราะภาวะแห่งนิพพานมีอยู่แล้วในจิตของท่าน

ท่านอาจคิดเอาเองก็ได้ว่า
ท่านสามารถค้นพบพระพุทธเจ้าหรือโพธิอยู่นอกจิตนี้
แต่สถานที่เช่นนั้นจะไม่มีอยู่จริงได้เลย


เชิงอรรถ บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด

1*พุทธศาสนาไม่ได้จำกัดตนเองว่ามีพระพุทธเจ้าองค์เดียว เข้าใจกันว่ามี พระพุทธเจ้านับไม่ได้ แท้จริงแล้วทุกคนมีพุทธภาวะ มีพุทธะในทุก ๆ โลก (ทุกๆ หนแห่ง) เหมือนมีความรู้สึกตัวอยู่ในทุกความคิด คุณสมบัติสำคัญสำหรับพุทธภาวะ คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่สมบูรณ์ ( สติสัมปชัญญะเต็มเปี่ยม)

2* หลังจากที่ท่านมาถึงประเทศจีน ท่านโพธิธรรมได้ใช้เวลา 9 ปี โดยการพึ่งกรรมฐานหันหน้าเข้ากำแพงแห่งถ้ำ ใกล้กับวัดเส้าหลิน คำว่า กำแพงตามความหมายของท่านโพธิธรรม ก็คือความว่าง ที่สัมพันธ์กับสิ่งที่ตรงข้ามทุกสิ่ง รวมทั้งตนเองและ ผู้อื่น คนพาลหรือบัณฑิตก็ตาม

3* ไม่มีขอบเขตในการถ่ายทอดธรรม เป็นเครื่องทดลองแบบหนึ่งของพุทธศาสนานิกายเซ็น ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการไม่ใช้คำพูดเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นก็มิได้จำกัดรูปแบบในการถ่ายทอด การแสดงอาการ ( บอกใบ้ ) เป็นการถ่ายทอดพอ ๆ กับการใช้คำพูด

4*กัลป์เป็นช่วงจากการสร้างโลกไปจนความวินาศของโลกชื่อ กัลป์หนึ่ง

5* นี้คือพุทธศาสนาแบบมหายาน มีเรื่องเล่าไว้สั้น ๆ ว่า ครั้งหนึ่งพระรูปหนึ่งถามปุโรหิตท่านหนึ่งว่า “ท่านมัชสุ ( MATSU ) สอนเขาว่าอย่างไร ?” ปุโรหิตตอบว่า “ จิตคือพุทธะ” พระนั้นตอบว่า “ปัจจุบันท่านมัชสุสอน (ไหม) ว่า สิ่งใดไม่ใช่จิตสิ่งนั้นไม่ใช่พุทธะ” ปุโรหิตนั้นจึงตอบว่า “ ขอให้ท่านมีสิ่งที่ทั้งไม่ใช่จิตและไม่ใช่พุทธะ” เมื่อท่านมัชสุได้ยินเรื่องนี้จึงกล่าวว่า “ลูกพลัมสุกแล้ว” (BIG PLUM=ปุโรหิต แปลจากปทีปสูตรบทที่ 7)

6* โพธิเมื่อจิตหลุดพ้นจากโมหะจึงเรียกว่า “ มีแสงสว่างเต็มรอบ ” เสมือนพระจันทร์ไม่มีเมฆหมอกบดบังอีกต่อไป เป็นการประสบกับการเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง คนที่บรรลุโพธิแล้วย่อมถึงพระนิพพาน เพราะโพธิทำให้หมดกรรม การได้ยินได้ฟัง ( สุตะ ) เป็นหน้าที่อันดับแรก แต่การเห็นเป็นความเคยชินของมนุษย์ ซึ่งเป็นแหล่งหรือบ่อเกิดความรู้เกี่ยวกับความจริง ดังนั้น การใช้อุปมาอุปไมยกับสิ่งที่เห็นจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้ในพระสูตรก็พูดถึงโลกที่พระพุทธเจ้าทรงสอน โดยความรู้สึกทางกลิ่นด้วยเช่นกัน ( ฆานสัมผัส )

7* ผู้แปลภากษ์จีนครั้งแรก พยายามจะใช้ภาษาจีนประมาณ 40 คำก่อน ในที่สุดก็ใช้จนจบ และคำนี้ก็แปลมาจากคำสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “การไม่หายใจ” แต่มัน ก็จำกัดว่าเป็นความสงบเท่านั้น คนส่วนมากก็เข้าใจว่าเหมือน “ความตาย” แต่การนิพพานแบบพุทธหมายถึง การไม่เกี่ยวข้องว่าลมหายใจมีหรือไม่มี ตามหลักของท่านนาคารชุน ว่า “ เมื่อมีอัตตาที่รับกรรมอยู่ สังสาระก็มี เมื่อไม่มีอัตตาที่รับกรรมอีกต่อไปก็เป็นนิพพาน” ( มัธยามิกสูตร บทที่ 25 คาถาที่ 9 ไตรปิฎกมหายาน)

8* สภาวะสิ่งที่เป็นเช่นนั้นเอง สภาวะไม่ได้อาศัยอะไร คือภาวะทั้งถาวร,ชั่วคราว หรือว่าง ๆ ดุจอากาศ , สภาวะไม่มีปรากฏการณ์ที่อยู่รวมกันหรือแยกกัน สภาวะเป็นความว่างจากรูปลักษณ์ รวมทั้งความว่างเอง และสภาวะยังจำกัดความจริงด้วย

ฐิตา:



ความพยายามค้นหาพระพุทธเจ้า หรือค้นหาการบรรลุธรรม
ก็เหมือนการจับฉวยเอาอากาศ ซึ่งมีแต่ชื่อแต่ไร้ตัวตน
มันไม่ใช่สิ่งที่ท่านจะสามารถหยิบขึ้นหรือวางลงได้

และท่านไม่สามารถจะจับฉวยมันได้
พระพุทธเจ้าเกิดจากจิตของท่าน
แล้วจะค้นหาพระพุทธเจ้านอกจิตนี้ไปทำไม ?

พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคตล้วนแต่กล่าวถึงจิตนี้เท่านั้น
ดังนั้น จิตนี้จึงคือพุทธะ และพุทธะก็คือจิตนั่นเอง

นอกเหนือจากจิตไม่มีพุทธะ และนอกเหนือพุทธะก็ไม่มีจิต
ถ้าท่านคิดว่ามีพุทธะที่เหนือจิตนี้แล้ว พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนกันล่ะ

ดังนั้น จึงไม่มีพระพุทธเจ้านอกเหนือจากจิต   ทำไมเราไม่เผชิญหน้ากับพระองค์
ตราบใดที่คุณหลอกตัวเองอยู่   คุณก็ไม่สามารถรู้จักจิตที่แท้จริงของตัวเอง

ตราบใดที่คุณยังหลงติดอยู่ในรูปที่ไร้ชีวิต
( หมายถึงรูปกับนามไม่ได้อยู่ด้วยกัน กายอยู่ที่หนึ่งแต่จิตคิดไปอีกที่หนึ่ง )

คุณก็ยังไม่มีอิสระ ถ้าไม่เชื่อคำกล่าวนี้  คุณก็หลอกตัวเอง
อย่างช่วยไม่ได้
มันไม่ใช่ความผิดของพระพุทธเจ้า

ฐิตา:



แม้ประชาชนเองก็ถูกหลอก พวกเขาไม่เคยรู้จักว่า จิตของตนเองนั้นแหละ
คือพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้นไม่ต้องแสวงหาพระพุทธเจ้านอกจิตของตนเอง

พระพุทธเจ้าย่อมไม่ดูแลรักษาพระพุทธเจ้าด้วยกันเอง   หมายความว่า
ถ้าท่านใช้จิตของท่านหาพุทธะ ท่านก็จะไม่เห็นพุทธะ
(การใช้ความคิดดูจิตย่อมไม่เห็นจิต ใช้สติดูจิตจึงจะเห็นจิต )

ตราบใดที่ท่านหาพระพุทธเจ้าภายนอกตนเอง
ท่านก็ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้าอยู่ภายในจิตของท่านเอง

อย่าใช้พระพุทธเจ้าบูชาพระพุทธเจ้า   ( ผู้ที่รู้จักตนเองย่อมไม่หลงบูชา สิ่งอื่น )
อย่าใช้จิตปลุกพระพุทธเจ้า9*

พระพุทธเจ้าย่อมไม่สวดมนต์10*  พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาศีล11*
พระพุทธเจ้าไม่ต้องรักษาวินัย และไม่ต้องละเมิดวินัยใด ๆ

พระพุทธเจ้าไม่ต้องทำดีหรือชั่ว
( จิตเข้าถึงพุทธะย่อมอยู่เหนือสมมติ และโลกธรรมทั้งปวง )

การค้นหาพุทธะท่านต้องค้นหาตนเองให้พบก่อน
ใครก็ตามที่เห็นตนเอง ชื่อว่าเห็นพุทธะ12*

ถ้ายังไม่เห็นตนเอง,การทำพุทธาภิเษก ,การท่องบ่นพระสูตร,
,การบำเพ็ญทาน และการรักษาศีล
ทั้งหมดทั้งปวงนั้นเป็นเรื่องไร้ประโยชน์

การปลุกเสก การสวดมนต์อ้อนวอนพระพุทธเจ้า
อาจส่งเสริมให้สร้างกุศลกรรม

การท่องจำพระสูตรอาจเป็นผลให้มีความทรงจำดี,
การสมาทานรักษาศีลอาจเป็นผลให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี

และการบำเพ็ญทานเป็นผลให้ได้รับความสุข แต่ไม่ส่งผลให้เป็นพุทธะได้

ฐิตา:



เชิงอรรถ บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด

9* การอ้อนวอน ( หรือการอธิษฐาน ) รวมทั้งการจินตนาการถึงพุทธะและกล่าวพระนามของพุทธะบ่อยๆ จุดประสงค์โดยทั่วไปของการแสดงความจงรักภักดีคือ อมิตาพุทธะซึ่งเป็นพุทธเจ้าสากล การแสดงความจงรักภักดีแบบหมดชีวิตจิตใจต่ออมิตาพุทธะ เป็นหลักประกันผู้ภักดีว่าจะได้ไปเกิดใหม่ในสวรรค์ด้านตะวันตก ซึ่งเป็นสภาพที่จะได้บรรลุธรรมได้ง่ายกว่าที่กล่าวไว้ในโลกนี้ * ( *คติของพุทธแบบหินยาน หรือเถรวาท อาจจะได้แก่โลกพระศรีอริยเมตไตย …. ผู้แปลไทย )

10* พระสูตรหมายถึงเส้นด้าย คือพระสูตรย่อมร้อยเรียงเอาพระพุทธพจน์เข้าไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่

11* ศีล การรักษาศีลแบบชาวพุทธ ได้รวมเอาข้อห้ามไว้จำนวนหนึ่งด้วย โดยทั่วไปศีล 5 สำหรับ ฆราวาส ศีล 227 หรือเกือบ 250 สำหรับพระ และศีล 350 ถึง 50 อันมาจากที่ต่าง ๆ สำหรับภิกษุณี

12* เห็นธรรมชาติของท่านเองจะเรียกว่า SELF – NATUER หรือ BUDDHA – NATUER ก็ได้ ธรรมชาติของเราคือธรรมกายของเรา ( กายจริง ) และมันก็รวมถึงกายเทียม ( รูปกาย – รูปสมมติ ) ของเราด้วย ธรรมกายของเรา มิใช่อัตตาภาวะที่จะไปเกิดหรือตาย ปรากฏหรือไม่ปรากฏ แต่กายเทียมของเรายังอยู่ในภาวะที่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อเห็นธรรมชาติของตนเอง ธรรมชาติของเราก็เห็นตัวมันเองด้วย เพราะความหลงและความรู้สึกตัวมิได้ต่างกัน สำหรับการปรากฏขึ้นของสภาวะนี้ ให้ไปดูหนังสือของท่าน D.T.SUZUKI ชื่อ ZEN DOCTRINE OF NO MIND .

ฐิตา:



ถ้าท่านไม่เข้าใจคำสอนด้วยตัวของท่านเอง ท่านก็ต้อง
ไปพบกับครูผู้มีความเข้าใจลุ่มลึก
และลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิตและความตาย13*

ผู้ไม่เห็นธรรมชาติของตนเองนั้นยังเป็นครูไม่ได้

ถึงแม้เขาจะสามารถ
ท่องพระไตรปิฎกได้จบถึงสิบสองรอบก็ตาม14*

เขาก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารได้15*
เขาย่อมเป็นทุกข์อยู่ในภพทั้งสาม ( กามภพ , รูปภพ , อรูปภพ )
โดยไม่มีหวังที่จะปลดเปลื้องทุกข์ได้เลย

นานมาแล้ว มีพระรูปหนึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป16*
เป็นผู้สามารถท่องพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด
แต่ท่านก็ไปไม่พ้นจากวัฏฏสงสาร

เพราะท่านไม่เห็นธรรมชาติของตนเอง*
( *ผู้เห็นธรรมชาติของตน เข้าใจว่าเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม
หรือได้ธรรมจักษุ นับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป … ผู้แปลไทย)

เพราะเข้าใจกันว่าการท่องพระสูตรเป็นเหตุให้มีชื่อเสียง17*
ดังนั้นศาสนิกทุกวันนี้จึงชอบท่องพระสูตรหรือคาถาไว้มากบ้างน้อยบ้าง
และคิดว่าการได้ท่องพระสูตรได้เป็นการรู้ธรรมะ

ความเข้าใจเช่นนั้นเป็นเรื่องที่โง่เขลา เว้นไว้แต่คนที่รู้จักจิตของตนเอง
การสาธยายพระสูตรหรือท่องคาถาภาษิตได้นั้น

นับได้ว่าเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version