แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
ฐิตา:
ความเลื่อมใสก็เป็นความเลื่อมใสต่อมาร
ไม่ใช่เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าไม่อาจแยกขาวออกจากดำได้
เขาจะหลีกเลี่ยงการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร
ผู้ใดเห็นธรรมในตนผู้นั้นชื่อว่าเป็นพุทธะ (เห็นพุทธะ)
ผู้ใดยังไม่เห็นธรรมในตน ผู้นั้นชื่อว่ายังเป็นปุถุชน*
( *คือผู้ที่ต้องตายด้วยความประมาท เพราะความประมาทคือความตาย…
ผู้แปลไทย)
ถ้าท่านค้นพบพุทธภาวะของตนเอง
อันต่างไปจากความเป็นปุถุชน
สภาพเช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ตรงไหน
ปุถุชนภาวะของเราก็คือพุทธภาวะของเราเช่นกัน
นอกจากปุถุชนภาวะก็ไม่มีพุทธภาวะเช่นกัน
พุทธภาวะก็คือธรรมชาติของเรา
ไม่มีพุทธะนอกเหนือไปจากธรรมชาติ
และไม่มีธรรมชาตินอกเหนือไปจากพุทธภาวะ
“ สมมติว่าฉันยังไม่เห็นธรรมชาติของฉัน
ฉันไม่สามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการปลุกพุทธะ ,
สาธยายพระสูตร , ให้ทาน , รักษาศีล ,
อุทิศส่วนบุญหรือทำกรรมดีใด ๆ ได้เลยหรือ ? ”
“ ไม่ ท่านยังบรรลุธรรมไม่ได้ ”
“ ทำไม จึงไม่ได้ ”
“ ถ้าท่านเข้าถึงได้ในสิ่งหนึ่ง
มันก็เป็นเพียงสังขาร ( เป็นการคิดเอา )
ซึ่งทำให้ต้องทำกรรมต่อไป
ทำกรรมนั้นก็ให้ผลสนองตอบต่อไป
ผลกรรมนั้นก็ทำให้ต้องเวียนว่ายในวัฏฏสงสารอยู่เรื่อยไป
ตราบใดที่ท่านยังต้องทำกรรมที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย
ท่านก็ยังจะบรรลุธรรมไม่ได้ เพราะการบรรลุธรรมได้
ท่านต้องเห็นธรรมชาติของตนเองก่อน
เมื่อเห็นธรรมชาติในตนเองแล้ว
การพูดถึงเหตุปัจจัยทุกอย่างเป็นเรื่องไร้ประโยชน์
พระพุทธเจ้าจะไม่ทำในสิ่งเหลวไหลไร้สาระ เพราะพระองค์
เป็นอิสรภาพ
จากกรรม 20* และเป็นอิสรภาพจากเหตุปัจจัย ”
20* กรรม คือ ดุลยภาพแห่งธรรมชาติ เป็นกฎแห่งเหตุและผลของกรรม ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ซึ่งนำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร และก่อให้เกิดความทุกข์ แม้แต่การทำดีหรือกุศลกรรม ก็นำไปสู่สังสารวัฏนี้เช่นกัน ส่วนเป้าหมายของการปฏิบัติแบบพุทธนั้น คือต้องการทำให้ตนเองพ้นไปจากวัฏฏสงสารดังกล่าวนี้ เป็นการตัดกรรมเป็นการกระทำที่ไม่ต้องทำ (อโหสิกรรม) โดยไม่หวังว่าจะได้ไปเกิดอีกในภูมิที่ดีกว่าต่อไปอีก
ฐิตา:
การกล่าวว่า ตนได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง ( ถ้าไม่เป็นจริง )
ถือว่าเป็นการกล่าวตู่ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า คนเช่นนั้นจะบรรลุธรรมอะไรได้ ?
แม้แต่การสำรวมจิต การมีพลังสำนึก , ความเข้าใจและความเห็นที่ถูกต้อง
ต่อพระพุทธองค์ยังไม่มีเลย
พระพุทธเจ้าไม่มีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ธรรมชาติแห่งจิตของพระองค์ มีความว่าง
เป็นพื้นฐาน
ไม่ใช่ความสะอาดหรือสกปรก พระองค์เป็นอิสระจากการปฏิบัติและการรู้แจ้ง
เป็นอิสระจากเหตุปัจจัย
พระพุทธเจ้าไม่ได้สมาทานศีล , ไม่ได้ทำความชั่วอีก ไม่ได้เป็นคนขยันหรือขี้เกียจ
พระองค์ไม่ได้ทำอะไรต่อไปอีก
ไม่ได้ระวังจิตเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า และพระองค์ก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า
ถ้าท่านไม่เห็นสิ่งที่ท่านกำลังพูด ท่านก็ยังไม่รู้จักใจของตนเอง
คนที่ยังไม่เห็นตนเอง
แต่คิดเอาว่าเห็นตนเองและปฏิบัติด้วยจิตว่างตลอดเวลา
นั้นเป็นเรื่องโกหกและโง่เขลาด้วย เขาย่อมตกไปสู่ห้วงเหวอเวจีได้
เหมือนคนเมาไม่อาจแยกดีออกจากชั่วได้
ถ้าท่านใส่ใจที่จะฝึกฝนอบรมการปฏิบัติให้เข้าใจตนเอง
ท่านต้องเห็นตนเองเสียก่อน แล้วท่านจึงจะทำลายความคิดปรุงแต่งให้สิ้นสุดได้
การบรรลุธรรมโดยไม่เห็นธรรมชาติของตนเองก่อนย่อมเป็นไปไม่ได้
ฐิตา:
ถ้ายังประกอบกรรมทำชั่วชนิดต่าง ๆ อยู่
แล้วอ้างว่ากรรมที่ทำไม่มีผล
เมื่อทุกสิ่งเป็นความว่าง
ทำกรรมชั่วแล้วคิดว่าไม่ผิด
ความเข้าใจเช่นนั้นยังมีอันตรายอยู่มาก
คนเช่นนั้นย่อมตกนรกในอเวจี
โดยไม่มีหวังจะปลดเปลื้องได้เลย
แต่ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่เข้าใจเช่นนั้น
“ แต่ถ้าทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมาจากจิตทั้งหมด
ทำไมเมื่อกายและจิตนี้แตกดับเราจึงไม่รู้ ? ”
“ จิตนี้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ท่านไม่ดูจิตต่างหากเล่า ! ”
“ แต่ถ้าจิตเป็นปัจจุบันเสมอ ทำไมฉันจึงไม่เห็นจิต ? ”
“ ท่านเคยฝันบ้างไหม ? ”
“ เคยแน่นอน ”
“ เมื่อท่านฝัน ความฝันนั้นเป็นท่านใช่ไหม ? ”
“ ใช่ เป็นข้าพเจ้า ”
“ และในฝันนั้น ท่านกำลังทำ กำลังพูดอะไร มันต่างไปจากตัวท่านหรือไม่ ? ”
“ ไม่ ไม่แตกต่างอะไรเลย ”
“ แต่ ถ้าไม่แตกต่าง กายนี้เป็นธรรมกายของท่าน
และกายของท่านก็เป็นใจของท่านด้วย
ฐิตา:
จิตนี้ได้ผ่านกาลเวลามาหลายกัปหลายกัลป์
ไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่มีการเริ่มต้น และไม่เคยแปรเปลี่ยน ,
มันไม่เคยอยู่และไม่เคยตาย ,
ไม่ปรากฏขึ้นและไม่หายไป , ไม่ได้สะอาดหรือสกปรก ,
ไม่ดีหรือไม่ชั่ว , ไม่ได้เป็นอดีตหรืออนาคต , ไม่ถูกหรือผิด , จริงหรือเท็จ ,
ไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย , ไม่ใช่เป็นพระหรือฆราวาส , ไม่ใช่สามเณรหรือพระเถระ ,
ไม่ใช่นักปราชญ์หรือคนพาล , ไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรือปุถุชน
เป็นความเพียรที่ไม่ต้องการรู้แจ้ง เป็นทุกข์โดยไม่ต้องการสร้างกรรม ไม่มีภาวะแข็งหรืออ่อน
มันเป็นเสมือนอากาศ ท่านไม่สามารถจะเป็นเจ้าของหรือทำลายมันได้
ไม่อาจหยุดการเคลื่อนไหวของสภาวะนี้ด้วยแรงแห่งภูเขา , แม่น้ำ , หรือกำแพงหิน
พลังอำนาจของสิ่งนี้ ( พุทธภาวะ ) มีอำนาจเจาะทะลุภูเขาแห่งขันธ์ห้า21*
อย่างไม่อาจหยุดยั้งได้ และสามารถข้ามโอฆะสงสารได้22*
ไม่มีกรรมใด ๆ สามารถควบคุม ธรรมกาย ( กายแท้หรือนามรูปล้วน ๆ ) นี้ได้
แต่จิตเป็นภาวะละเอียดอ่อนยากที่จะมองเห็น
มันไม่เหมือนจิตที่รู้สึกนึกคิดได้ ( จิตตสังขาร ) ทุกคนต้องการเห็นจิตนี้
คนที่เคลื่อนไหวมือและเท้า
โดยอาศัยความชัดเจนของความรู้สึกชนิดนี้ให้ได้มากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา
แต่เมื่อถามถึงลักษณะของความสว่างไสวของจิตชนิดนี้
ก็ไม่สามารถอธิบายได้ มันเป็นเหมือนหุ่นกระบอก
คนที่ใช้เท่านั้นย่อมรู้ ทำไมคนดูจึงไม่เห็นล่ะ ?
21* เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง การปรุงแต่งทางจิต ( จิตตสังขาร ) หรือนามรูป คือรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ
22* หมายถึง กระแสของความต่อเนื่องของเหตุปัจจัย ( อิทัปปัจจยตา ) เป็นวัฏฏะแห่งความสิ้นไป คือความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันของการเกิดและการตายที่ไม่จบสิ้น
ฐิตา:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สรรพสัตว์ถูกอวิชชาครอบงำ นี้คือเหตุผลที่ว่า
เมื่อใดทำกรรมเมื่อนั้นย่อมเข้าไปสู่กระแสแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
และเมื่อใดเขาพยายามออกจากกระแส
ก็ดูเหมือนดิ่งจมลึกลงไปอีก เพราะคนเหล่านั้นไม่เห็นตนเอง
ถ้าสรรพสัตว์ไม่ถูกครอบงำ ทำไมเขาจึงถามเรื่องธรรมะ
ทั้ง ๆ ที่ธรรมะก็ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเขานั้นเอง
ไม่มีใครเข้าใจความเคลื่อนไหวของมือ
และเท้าของตนเองเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้ผิด
แต่เพราะมนุษย์ถูกความหลงครอบงำ จึงทำให้ไม่รู้จักว่าตนเองเป็นใคร
เป็นสิ่งที่ยากแก่การหยั่งรู้
แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงรู้สิ่งที่คนอื่นรู้ได้ยาก
นอกจากผู้มีปัญญาเท่านั้นจะรู้จักจิตนี้ จิตนี้จึงถูกเรียกว่าธรรมชาติบ้าง อิสรภาพบ้าง
ไม่ว่าชีวิตหรือความตายไม่อาจควบคุมหรือหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของจิตนี้ได้
ไม่มีอะไรยั้งจิตได้เลยจริง ๆ
แม้พระตถาคต23* ก็ไม่อาจหยุดยั้งได้เช่นกัน คือเป็นภาวะที่เข้าใจยาก ,
เป็นอัตตาที่ศักดิ์สิทธิ์ , ไม่รู้จักตาย ( ตายไม่เป็น ) , เป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ จิตนี้จึงมีชื่อต่าง ๆ กันไป
ไม่มีสาระที่แน่นอน พุทธภาวะก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ไม่ทอดทิ้งจิตของตนเอง
ศักยภาพของจิตนี้ไร้ขอบเขต
การปรากฏตัวของจิต
เป็นภาวะที่ไม่รู้จักจบสิ้นเมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส
บทบาททุกอย่างล้วนออกมาจากจิตของตนทั้งสิ้น
ในทุก ๆ ขณะจิตของเราสามารถไปได้ทุกหนทุกแห่ง
ที่มีสื่อภาษาให้ไปถึงได้ ( สมมติ ) และไปเหนือภาวะที่ไร้ภาษา ( ปรมัตถ์ )
23* เป็นพระนามหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าใช้เรียกพระองค์เอง พุทธะ คือ สติ ตถาคต คือ การเกิดขึ้นของพุทธะ
เป็นนิรมานกายซึ่งแยกจากสัมโภคกายและธรรมกาย ฉะนั้นคำว่า ตถาคต จึงเป็นผู้สอนธรรมทั้งปวง
สามารถหาอ่านเพิ่มเติม
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2981
Credit by : http://ongart.spaces.live.com/blog/cns!8526C50E90F50A92!1121.entry
sookjai.com/
Pics by : http://www.travelpod.com/travel-blog-entries/oandb/1/1271202420/tpod.html#pbrowser/oandb/1/1271202420/filename=nanna-ji-cherry-trees.jpg
: Google
ขอบพระคุณที่มาส่วนนี้ทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ... (มีต่อ)
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version