ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )  (อ่าน 11788 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2010, 02:58:55 pm »





ความเลื่อมใสก็เป็นความเลื่อมใสต่อมาร
ไม่ใช่เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าไม่อาจแยกขาวออกจากดำได้
เขาจะหลีกเลี่ยงการเวียนว่ายตายเกิดได้อย่างไร

ผู้ใดเห็นธรรมในตนผู้นั้นชื่อว่าเป็นพุทธะ (เห็นพุทธะ)
ผู้ใดยังไม่เห็นธรรมในตน ผู้นั้นชื่อว่ายังเป็นปุถุชน*

( *คือผู้ที่ต้องตายด้วยความประมาท เพราะความประมาทคือความตาย…
 ผู้แปลไทย)

ถ้าท่านค้นพบพุทธภาวะของตนเอง
อันต่างไปจากความเป็นปุถุชน
สภาพเช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้ตรงไหน

ปุถุชนภาวะของเราก็คือพุทธภาวะของเราเช่นกัน

นอกจากปุถุชนภาวะก็ไม่มีพุทธภาวะเช่นกัน
พุทธภาวะก็คือธรรมชาติของเรา
ไม่มีพุทธะนอกเหนือไปจากธรรมชาติ
และไม่มีธรรมชาตินอกเหนือไปจากพุทธภาวะ


“ สมมติว่าฉันยังไม่เห็นธรรมชาติของฉัน
ฉันไม่สามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการปลุกพุทธะ ,
สาธยายพระสูตร , ให้ทาน , รักษาศีล ,
อุทิศส่วนบุญหรือทำกรรมดีใด ๆ ได้เลยหรือ ? ”

“ ไม่ ท่านยังบรรลุธรรมไม่ได้ ”
“ ทำไม จึงไม่ได้ ”

“ ถ้าท่านเข้าถึงได้ในสิ่งหนึ่ง
มันก็เป็นเพียงสังขาร ( เป็นการคิดเอา )
ซึ่งทำให้ต้องทำกรรมต่อไป

ทำกรรมนั้นก็ให้ผลสนองตอบต่อไป

ผลกรรมนั้นก็ทำให้ต้องเวียนว่ายในวัฏฏสงสารอยู่เรื่อยไป
ตราบใดที่ท่านยังต้องทำกรรมที่ต้องเวียนเกิดเวียนตาย

ท่านก็ยังจะบรรลุธรรมไม่ได้ เพราะการบรรลุธรรมได้
ท่านต้องเห็นธรรมชาติของตนเองก่อน
เมื่อเห็นธรรมชาติในตนเองแล้ว

การพูดถึงเหตุปัจจัยทุกอย่างเป็นเรื่องไร้ประโยชน์

พระพุทธเจ้าจะไม่ทำในสิ่งเหลวไหลไร้สาระ เพราะพระองค์
เป็นอิสรภาพ
จากกรรม
20* และเป็นอิสรภาพจากเหตุปัจจัย


20* กรรม คือ ดุลยภาพแห่งธรรมชาติ เป็นกฎแห่งเหตุและผลของกรรม ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ซึ่งนำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร และก่อให้เกิดความทุกข์ แม้แต่การทำดีหรือกุศลกรรม ก็นำไปสู่สังสารวัฏนี้เช่นกัน ส่วนเป้าหมายของการปฏิบัติแบบพุทธนั้น คือต้องการทำให้ตนเองพ้นไปจากวัฏฏสงสารดังกล่าวนี้ เป็นการตัดกรรมเป็นการกระทำที่ไม่ต้องทำ (อโหสิกรรม) โดยไม่หวังว่าจะได้ไปเกิดอีกในภูมิที่ดีกว่าต่อไปอีก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 17, 2012, 06:32:17 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2010, 03:41:35 pm »




การกล่าวว่า ตนได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่ง ( ถ้าไม่เป็นจริง )
ถือว่าเป็นการกล่าวตู่ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า  คนเช่นนั้นจะบรรลุธรรมอะไรได้ ?

แม้แต่การสำรวมจิต การมีพลังสำนึก , ความเข้าใจและความเห็นที่ถูกต้อง
ต่อพระพุทธองค์ยังไม่มีเลย
พระพุทธเจ้าไม่มีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ธรรมชาติแห่งจิตของพระองค์ มีความว่าง
เป็นพื้นฐาน


ไม่ใช่ความสะอาดหรือสกปรก พระองค์เป็นอิสระจากการปฏิบัติและการรู้แจ้ง
เป็นอิสระจากเหตุปัจจัย

พระพุทธเจ้าไม่ได้สมาทานศีล , ไม่ได้ทำความชั่วอีก ไม่ได้เป็นคนขยันหรือขี้เกียจ
พระองค์ไม่ได้ทำอะไรต่อไปอีก
ไม่ได้ระวังจิตเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า และพระองค์ก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า


ถ้าท่านไม่เห็นสิ่งที่ท่านกำลังพูด ท่านก็ยังไม่รู้จักใจของตนเอง
คนที่ยังไม่เห็นตนเอง
แต่คิดเอาว่าเห็นตนเองและปฏิบัติด้วยจิตว่างตลอดเวลา

นั้นเป็นเรื่องโกหกและโง่เขลาด้วย  เขาย่อมตกไปสู่ห้วงเหวอเวจีได้

เหมือนคนเมาไม่อาจแยกดีออกจากชั่วได้

ถ้าท่านใส่ใจที่จะฝึกฝนอบรมการปฏิบัติให้เข้าใจตนเอง

ท่านต้องเห็นตนเองเสียก่อน แล้วท่านจึงจะทำลายความคิดปรุงแต่งให้สิ้นสุดได้
การบรรลุธรรมโดยไม่เห็นธรรมชาติของตนเองก่อนย่อมเป็นไปไม่ได้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2010, 03:47:38 pm »



ถ้ายังประกอบกรรมทำชั่วชนิดต่าง ๆ อยู่
แล้วอ้างว่ากรรมที่ทำไม่มีผล

เมื่อทุกสิ่งเป็นความว่าง
ทำกรรมชั่วแล้วคิดว่าไม่ผิด

ความเข้าใจเช่นนั้นยังมีอันตรายอยู่มาก
คนเช่นนั้นย่อมตกนรกในอเวจี


โดยไม่มีหวังจะปลดเปลื้องได้เลย
แต่ท่านผู้ฉลาดย่อมไม่เข้าใจเช่นนั้น

“ แต่ถ้าทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมาจากจิตทั้งหมด
ทำไมเมื่อกายและจิตนี้แตกดับเราจึงไม่รู้ ? ”

“ จิตนี้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ท่านไม่ดูจิตต่างหากเล่า ! ”
“ แต่ถ้าจิตเป็นปัจจุบันเสมอ ทำไมฉันจึงไม่เห็นจิต ? ”

“ ท่านเคยฝันบ้างไหม ? ”
“ เคยแน่นอน ”

“ เมื่อท่านฝัน ความฝันนั้นเป็นท่านใช่ไหม ? ”
“ ใช่ เป็นข้าพเจ้า ”

“ และในฝันนั้น ท่านกำลังทำ กำลังพูดอะไร มันต่างไปจากตัวท่านหรือไม่ ? ”
“ ไม่ ไม่แตกต่างอะไรเลย ”

“ แต่ ถ้าไม่แตกต่าง กายนี้เป็นธรรมกายของท่าน
และกายของท่านก็เป็นใจของท่านด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2010, 05:13:49 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2010, 03:50:37 pm »



จิตนี้ได้ผ่านกาลเวลามาหลายกัปหลายกัลป์
ไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่มีการเริ่มต้น และไม่เคยแปรเปลี่ยน ,
มันไม่เคยอยู่และไม่เคยตาย ,

ไม่ปรากฏขึ้นและไม่หายไป , ไม่ได้สะอาดหรือสกปรก ,
ไม่ดีหรือไม่ชั่ว , ไม่ได้เป็นอดีตหรืออนาคต , ไม่ถูกหรือผิด , จริงหรือเท็จ ,

ไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย , ไม่ใช่เป็นพระหรือฆราวาส , ไม่ใช่สามเณรหรือพระเถระ ,
ไม่ใช่นักปราชญ์หรือคนพาล , ไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรือปุถุชน

เป็นความเพียรที่ไม่ต้องการรู้แจ้ง เป็นทุกข์โดยไม่ต้องการสร้างกรรม ไม่มีภาวะแข็งหรืออ่อน

มันเป็นเสมือนอากาศ ท่านไม่สามารถจะเป็นเจ้าของหรือทำลายมันได้
ไม่อาจหยุดการเคลื่อนไหวของสภาวะนี้ด้วยแรงแห่งภูเขา , แม่น้ำ , หรือกำแพงหิน

พลังอำนาจของสิ่งนี้ ( พุทธภาวะ ) มีอำนาจเจาะทะลุภูเขาแห่งขันธ์ห้า21*
อย่างไม่อาจหยุดยั้งได้ และสามารถข้ามโอฆะสงสารได้22*

ไม่มีกรรมใด ๆ สามารถควบคุม ธรรมกาย ( กายแท้หรือนามรูปล้วน ๆ ) นี้ได้
แต่จิตเป็นภาวะละเอียดอ่อนยากที่จะมองเห็น

มันไม่เหมือนจิตที่รู้สึกนึกคิดได้ ( จิตตสังขาร ) ทุกคนต้องการเห็นจิตนี้

คนที่เคลื่อนไหวมือและเท้า
โดยอาศัยความชัดเจนของความรู้สึกชนิดนี้ให้ได้มากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา

แต่เมื่อถามถึงลักษณะของความสว่างไสวของจิตชนิดนี้
ก็ไม่สามารถอธิบายได้ มันเป็นเหมือนหุ่นกระบอก


คนที่ใช้เท่านั้นย่อมรู้ ทำไมคนดูจึงไม่เห็นล่ะ ?


21* เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง การปรุงแต่งทางจิต ( จิตตสังขาร ) หรือนามรูป คือรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ

22* หมายถึง กระแสของความต่อเนื่องของเหตุปัจจัย ( อิทัปปัจจยตา ) เป็นวัฏฏะแห่งความสิ้นไป คือความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันของการเกิดและการตายที่ไม่จบสิ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 10, 2010, 05:43:50 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2010, 04:13:27 pm »



พระพุทธเจ้าตรัสว่า สรรพสัตว์ถูกอวิชชาครอบงำ นี้คือเหตุผลที่ว่า
เมื่อใดทำกรรมเมื่อนั้นย่อมเข้าไปสู่กระแสแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

และเมื่อใดเขาพยายามออกจากกระแส
ก็ดูเหมือนดิ่งจมลึกลงไปอีก เพราะคนเหล่านั้นไม่เห็นตนเอง

ถ้าสรรพสัตว์ไม่ถูกครอบงำ ทำไมเขาจึงถามเรื่องธรรมะ
ทั้ง ๆ ที่ธรรมะก็ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเขานั้นเอง

ไม่มีใครเข้าใจความเคลื่อนไหวของมือ
และเท้าของตนเองเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้ผิด

 
แต่เพราะมนุษย์ถูกความหลงครอบงำ จึงทำให้ไม่รู้จักว่าตนเองเป็นใคร
เป็นสิ่งที่ยากแก่การหยั่งรู้

แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงรู้สิ่งที่คนอื่นรู้ได้ยาก
นอกจากผู้มีปัญญาเท่านั้นจะรู้จักจิตนี้ จิตนี้จึงถูกเรียกว่าธรรมชาติบ้าง อิสรภาพบ้าง

ไม่ว่าชีวิตหรือความตายไม่อาจควบคุมหรือหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของจิตนี้ได้
ไม่มีอะไรยั้งจิตได้เลยจริง ๆ

แม้พระตถาคต23* ก็ไม่อาจหยุดยั้งได้เช่นกัน คือเป็นภาวะที่เข้าใจยาก ,
เป็นอัตตาที่ศักดิ์สิทธิ์ , ไม่รู้จักตาย ( ตายไม่เป็น ) , เป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ จิตนี้จึงมีชื่อต่าง ๆ กันไป

ไม่มีสาระที่แน่นอน พุทธภาวะก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ไม่ทอดทิ้งจิตของตนเอง

ศักยภาพของจิตนี้ไร้ขอบเขต
การปรากฏตัวของจิต

เป็นภาวะที่ไม่รู้จักจบสิ้นเมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส
บทบาททุกอย่างล้วนออกมาจากจิตของตนทั้งสิ้น

ในทุก ๆ ขณะจิตของเราสามารถไปได้ทุกหนทุกแห่ง
ที่มีสื่อภาษาให้ไปถึงได้ ( สมมติ ) และไปเหนือภาวะที่ไร้ภาษา ( ปรมัตถ์ )

23* เป็นพระนามหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าใช้เรียกพระองค์เอง พุทธะ คือ สติ ตถาคต คือ การเกิดขึ้นของพุทธะ
เป็นนิรมานกายซึ่งแยกจากสัมโภคกายและธรรมกาย ฉะนั้นคำว่า ตถาคต จึงเป็นผู้สอนธรรมทั้งปวง


สามารถหาอ่านเพิ่มเติม
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=2981


Credit by : http://ongart.spaces.live.com/blog/cns!8526C50E90F50A92!1121.entry
 sookjai.com/

Pics by : http://www.travelpod.com/travel-blog-entries/oandb/1/1271202420/tpod.html#pbrowser/oandb/1/1271202420/filename=nanna-ji-cherry-trees.jpg
: Google

ขอบพระคุณที่มาส่วนนี้ทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ... (มีต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2010, 05:25:03 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2010, 05:44:28 pm »



ในพระสูตรกล่าวว่า รูปกายของพระตถาคตไม่มีที่สุด และรูปกายเช่นนั้นก็คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระองค์ ความเปลี่ยนแปลงที่ไร้ขอบเขตของรูปเป็นผลที่เนื่องมาจากจิต จิตสามารถที่จะแยกแยะทุกสิ่งได้ การเคลื่อนไหวหรืออิริยาบถใด ๆ ก็ตาม เกิดมาจากความรู้สึกทางจิตของเราทั้งสิ้นแต่จิตก็ไม่มีรูป ความรู้สึกของจิตก็ไม่ใช่ขอบเขตดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า รูปกายของพระตถาคตไม่มีขอบเขต รูปนั้นก็คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของพระองค์นั่นเอง (ธรรมกาย)

รูปกายอันประกอบด้วยธาตุ 4 (24*) เป็นทุกข์ และเป็นที่ตั้งของความเกิดและความตาย แต่ธรรมกาย ( รูปแท้จริงหรือกายดั้งเดิม ) ดำรงอยู่โดยไม่แสดงตัวเพราะธรรมกายของพระตถาคตไม่เคยเปลี่ยนแปลง ( ความรู้สึกตัว )
( เชิงอรรถ 24* คือ องค์ประกอบทั้ง 4 ของวัตถุทั้งปวง รวมทั้งร่างกายนี้ด้วย ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ และ ลม )

พระสูตรกล่าวว่า “ บุคคลควรรู้จักธรรมชาติของพุทธภาวะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ” พระคุณเจ้ามหากัสสปะ เป็นบุคคลแรก ( นอกจาก พระพุทธเจ้า ) ที่รู้แจ้งธรรมชาติของตน

ธรรมชาติของเราก็คือจิต จิตก็คือธรรมชาติของเรา ธรรมชาติก็เหมือนกันกับจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ 25* พระพุทธเจ้าทั้งอดีตและอนาคต อุบัติมาเพียงเพื่อถ่ายทอดจิตชนิดนี้ นอกจากจิตชนิดนี้แล้ว ก็ไม่มีพระพุทธเจ้าในที่ไหนเลย
( 25* พระมหากัสสปะ หรือพระมหากัสสปเถระ เป็นพระสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่งในเหล่าสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า และได้เป็นผู้ยอมรับนับถือยกย่องให้ดำรงตำแหน่ง พระสังฆปรินายกองค์แรกของเซ็น ในประเทศอินเดีย ในคราวที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชูดอกไม้ขึ้น แล้วตรัสถามปัญหา ท่านกัสสปเถระได้ตอบโดยการยิ้ม และนั้นเป็นการสื่อความหมายแบบเซ็นเป็นครั้งแรก )

แต่ปุถุชนที่ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชา ย่อมไม่รู้จักจิตของตนเองว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้ เพราะเขามัวแต่แสวงหาแต่พระพุทธเจ้าภายนอก และถามอยู่เสมอว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใดหนอ ?

อย่าหลงเพลินไปในจินตนาการอันหลอกหลอนเช่นนั้นอีกเลย ให้มารู้จักจิตของตนเองเท่านั้น นอกเหนือจากจิตนี้แล้วไม่มีพุทธะในที่อื่นเลย พระสูตรกล่าวว่า “ ทุกสิ่งที่มีรูปล้วนเป็นมายาหลอกลวง ” ท่านกล่าวไว้อีกว่า “ ท่านอยู่ที่ใดพุทธะก็อยู่ที่นั้น ” เพราะจิตของท่านก็คือพุทธะ อย่าใช้พุทธะบูชาพุทธะ

หากแม้พระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ 26* บังเอิญปรากฏขึ้นต่อหน้าท่านไม่จำเป็นต้องทำความเคารพ เพราะจิตของเรานี้เป็นความว่าง และไม่บันทึกรูปใด ๆ เอาไว้
( 26* พระโพธิสัตว์ เป็นอุดมคติของฝ่ายมหายาน หมายถึง ผู้ที่วางเงื่อนไข ความหลุดพ้นของตนเองไว้กับสรรพสัตว์ ส่วนพระอรหันต์นั้น เป็นอุดมคติของฝ่ายหินยาน หมายถึง ผู้ที่แสวงหาความหลุดพ้นด้วยตนเอง แทนที่จะนำจิตเข้าสู่สุญญตภาวะเหมือนพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์กลับแผ่ขยายไปสู่ชีวิตอื่น ๆ อย่างไม่มีขอบเขต นั้นเป็นเพราะเขาเข้าใจแจ่มแจ้งว่าทุกชีวิตมีพุทธภาวะเหมือนกันหมด )

บรรดาบุคคลที่ยึดถือเอาตามปรากฏการณ์คือปีศาจ พวกเขาย่อมหลุดไปจากทางอริยมรรค จะหลงบูชามายาที่เกิดจากจิตอยู่ทำไม ? คนบูชาย่อมไม่รู้ คนที่รู้ย่อมไม่บูชา เพราะการบูชานั้นท่านต้องตกอยู่ภายใต้การสะกดของมาร

ฉันชี้ให้เห็นจุดนี้ เพราะเกรงว่าท่านจะไม่รู้สึกตัว*
( *คนที่มัวเคารพบูชาสิ่งภายนอกตัว มักจะหลงลืมความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวเอง ไม่ให้ความสำคัญความรู้สึกที่มีอยู่ในตัวเอง …..ผู้แปลไทย)

เพราะธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของพุทธะ ไม่มีรูปใด ๆ อยู่เลย*
( *มโนภาพหรือจินตนาการเป็นภาวะแปลกปลอมที่เกิดขึ้นทีหลัง เหมือนรูปปรากฏขึ้นในกระจก …. ผู้แปลไทย)

จงรักษาความรู้สึกตัวนี้ไว้กับจิตเสมอ แม้ว่าบางสิ่งบางอย่างจะดูไม่เหมาะสมก็ตาม ก็จงอย่ายึดติดอย่าเกิดความขี้ขลาดหวาดกลัว อย่าสงสัยเลยว่าจิตของท่านมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว จะมีห้อง ( หัวใจ ) ห้องไหนว่างสำหรับรูปเช่นนั้นอีก ?



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2010, 02:44:20 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 05:45:08 am »



ขณะเดียวกันเมื่อภูตผีปีศาจหรือเทวดา 27* ปรากฏขึ้นก็อย่าคิดเคารพหรือหวาดกลัว เพราะจิตของท่านเป็นจิตว่างมาแต่เดิม ปรากฏการณ์ทั้งปวงล้วนเป็นมายาภาพ อย่ายึดมั่นถือมั่นเอาตามปรากฏการณ์
( 27* หมายถึง ชีวะที่แยกออกจากร่างกาย Demons คือเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย รวมทั้งเทพบนฟ้า (เทวดา ) ในทะเล (นาค ) และบนพื้นพิภพ ( ยักษ์ ) Devine Being คือ พระอินทร์ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และพระพรหมคือผู้สร้างสรรพสิ่ง )

เมื่อท่านได้พบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หรือพระโพธิสัตว์ 28* และคิดจะเคารพท่านเหล่านั้น ท่านก็ผลักไสตนเองไปสู่ภูมิปุถุชน
( 28* หมายถึง องค์ประกอบทั้งสามประการ อันเป็นที่พึ่งของชาวพุทธ เรียกว่าพระรัตนตรัย พระธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า บุคคลที่ปฏิบัติตามคำสอนเหล่านั้น เรียกว่าพระสงฆ์ หรือพระโพธิสัตว์ ตามทัศนคติฝ่ายมหายาน )

ถ้าท่านแสวงหาความไม่ยึดมั่นถือมั่นเอาปรากฏการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นก็ตาม ท่านจะประสบความสำเร็จ

ฉันไม่มีคำแนะนำอย่างอื่น พระสูตรกล่าวว่า “ปรากฏการณ์ทั้งปวงเป็นมายาภาพ มายาภาพเหล่านี้ไม่มีภพที่แน่นอน ไม่มีรูปที่ถาวร เป็นสภาพที่ไม่เที่ยงแท้ ( อนิจจัง ) อย่ายึดมั่นกับปรากฏการณ์ทั้งหลาย แล้วท่านจะเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะ

พระสูตรกล่าวว่า “ สิ่งซึ่งเป็นอิสรภาพจากรูปทั้งปวง คือพุทธภาวะ ”

แต่ทำไมเราจึงบูชาพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์กันอีกเล่า ?

ภูตผีปีศาจเป็นเจ้าของอำนาจแห่งปรากฏการณ์ อำนาจเหล่านี้สามารถสร้างมโนภาพพระโพธิสัตว์ให้ปรากฏขึ้นด้วยรูปจำแลงชนิดต่าง ๆ แต่ก็เป็นพระโพธิสัตว์ปลอม ไม่มีใครเป็นพุทธะจริง ( ด้วยมโนภาพ ) เพราะพระพุทธเจ้าที่แท้จริงคือจิตของเราเอง อย่านำการบูชาของท่านไปในทางที่ผิด

พุทธะ เป็นศัพท์สันสกฤตแทนคำที่ท่านเรียกว่า “ สติสัมปฤดี ” คือ ตื่นตัวอย่างปาฏิหาริย์ คือ อาการยินยอมน้อมรับด้วยความรู้สึกตัวในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น การพับตา เลิกคิ้ว เคลื่อนไหวมือและเท้า ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติแห่งการตื่นอย่างปาฏิหาริย์ของท่าน และธรรมชาตินี้ก็คือจิต จิตนี้ก็คือพุทธะ และพุทธะก็คือมรรค มรรคก็คือเซ็น 29*
( 29* คำว่า เซ็น เดิมใช้ว่า ธฺยาน ซึ่งเป็นศัพท์กรรมฐานในภาษาสันสกฤต ท่านโพธิธรรมได้รับรองว่า เป็นเซ็นที่ปราศจากรูปแบบของการปฏิบัติเป็นการใช้คำเหมือน ( ไวพจน์ ) ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เซ็นเป็นจิตที่ซื่อ ๆ ตรง ๆ เป็นจิตที่นั่งโดยไม่ต้องนั่ง และทำโดยไม่ต้องทำ )

แต่คำว่าเซ็นเป็นเพียงคำเดียว ที่ยังความพะวงสงสัยให้เกิดแก่ปุถุชนและนักปราชญ์ เมื่อเฝ้าดูธรรมชาติของตนก็คือเซ็น เมื่อท่านได้เห็นธรรมชาติของตนเองแล้วมันก็ไม่ใช่เซ็น *
( *คำว่า “ เซ็น “ มาจากคำว่า “ฌาน” ในภาษาบาลี แปลว่า การเพ่งพินิจหรือการเฝ้าดูจิต การเผาผลาญความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ อันเกิดจากการปรุงแต่ง ภาวะที่ทำงานเช่นนั้นเรียกว่า เซ็น ตามภาษาญี่ปุ่น … ผู้แปลไทย)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2010, 05:23:53 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ aun63

  • ต้นกล้า
  • **
  • กระทู้: 73
  • พลังกัลยาณมิตร 44
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2010, 06:22:08 am »
 :13:

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 04:59:44 am »


Pic by : K. peem http://www.tairomdham.net


แม้ท่านจะสามารถอธิบายพระสูตร ได้หลายพันสูตรก็ตาม 30* เมื่อท่านเห็นธรรมชาติของท่าน ที่ยังเป็นธรรมชาติของอัตตาอยู่ การเห็นตัวเอง* ที่ยังเป็นอัตตาอยู่เช่นนั้น ยังเป็นคำสอนของปุถุชน ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
( 30* เป็นหมวดหมู่แห่งคำสอนของพุทธศาสนาในจีน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระไตรปิฎก แต่งขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 6 เท่าที่ปรากฏมีจำนวนถึง 2,213 เล่ม และในบรรดาคัมภีร์เหล่านี้ เป็นพระสูตร 1,600 เล่ม และมีหลายสูตรที่เพิ่มเข้าในพระไตรปิฎกในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคัมภีร์จะมีเป็นจำนวนมากมาย ก็ยังมีการสูญหายไปบ้างมิใช่น้อย ที่คงเหลืออยู่ในปัจจุบันมีจำนวน 1,662 เล่ม )
( *การเห็นตัวเองตามความเป็นจริง หมายถึงการเห็นที่ว่างจากการยึดมั่นถือมั่นมิใช่เห็นด้วยความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวตน … ผู้แปลไทย . )

มรรคที่แท้จริงคืออริยมรรค อริยมรรคไม่สามารถจะสื่อกันได้ด้วยภาษา แล้วตำราหรือคัมภีร์จะมีประโยชน์อะไร ?

คนที่พบเห็นตนเองแล้ว ย่อมพบทางแห่งอริยมรรค แม้เขาจะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ตาม คนที่เห็นธรรมในตนเองก็คือพุทธะ และธรรมกายของพุทธะเป็นกายที่บริสุทธิ์ ไม่มีมลทินโดยแท้ ทุกสิ่งที่ท่านตรัสก็เป็นสิ่งที่แสดงออกมาจากใจอันบริสุทธิ์ของท่าน

เมื่อพุทธะเป็นความว่างมาแต่เดิมแล้ว พุทธะก็ไม่อาจค้นพบได้ในคำพูดหรือคำสอนในคัมภีร์ใด ๆ อันมีถึงสิบสองหมวดก็ตาม (พระไตรปิฎกมหายาน)

อริยมรรคเป็นมรรคที่สมบูรณ์มาแต่เดิม ไม่ต้องการความสมบูรณ์ใด ๆ อีก อริยมรรคไม่มีรูปหรือเสียง เป็นสภาพที่ละเอียดประณีต และยากแก่การเข้าใจ เหมือนกับท่านดื่มน้ำ ท่านย่อมรู้เองว่าความร้อนความเย็นเป็นอย่างไร แต่ท่านไม่อาจจะบอกผู้อื่นได้


ในบรรดาสภาพธรรมเหล่านั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้นทรงรู้ มนุษย์และเทวดายังเข้าใจไม่ได้ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชนยังไม่สมบูรณ์ ตราบใดที่เขายังยึดมั่นถือมั่นอยู่กับปรากฏการณ์ เขาก็ยังไม่รู้ว่าจิตของเขาเป็นความว่างและเพราะการยึดติด ตามปรากฏการณ์ของทุกสิ่งอย่างผิด ๆ พวกเขาจึงหลงทาง

ถ้าท่านทราบว่าทุกสิ่งล้วนออกมาจากจิต ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น เมื่อใดท่านหลงยึดถือก็ย่อมหลงลืมตัวเองเมื่อนั้น เมื่อใดท่านเห็นธรรมชาติของตัวเองเมื่อนั้นคัมภีร์ธรรมะทั้งหมดก็กลายเป็นเพียงคำพูดธรรมดา ๆ

พระสูตรและคาถาเป็นจำนวนหลาย ๆ พันสูตร เป็นประโยชน์เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือชำระจิต ความเข้าใจเกิดจากคำพูดเป็นสื่อกลาง แล้วคำพูดคำสอนที่เป็นสื่อกลางแบบไหนล่ะ ? ที่เป็นคำสอนที่ดี

ปรมัตถสัจจะ ย่อมอยู่เหนือคำพูด คำสอนเป็นเพียงคำพูด คำสอนจึงไม่ใช่อริยมรรค มรรคไม่ใช่คำพูด คำพูดเป็นมายาภาพ ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากสิ่งที่ปรากฏในความฝันของท่านในเวลากลางคืน ซึ่งท่านอาจฝันเห็นปราสาท ราชวัง ราชรถหรือวนอุทยาน หรือทะเลสาปหรือพระราชฐานอันโอ่อ่า อย่าหลงติดใจกับสิ่งที่เป็นความฝัน เพราะทั้งหมดเป็นเหตุให้สร้างภพใหม่ จงตั้งใจให้ดีเท่านั้น ขณะที่ท่านใกล้ตาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2010, 11:01:30 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: บทที่ 2 ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด ( โลหิตสูตร )
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2010, 01:17:27 pm »



จงทำตามธรรม แต่อย่าทำตามความคิด

อย่าหลงติดใจในปรากฏการณ์ แล้วท่านจะผ่านพ้นอุปสรรคชีวิตทั้งปวงได้ ความไม่แน่ใจแต่ละขณะ จะทำให้ท่านตกอยู่ภายใต้การสะกดของมาร ธรรมกายของท่าน ( กายจริง ) เป็นภาวะบริสุทธิ์หนักแน่น แต่เพราะโมหะธรรมจึงทำให้ท่านหลงลืมกายนั้น ( สติ – สัมปชัญญะ )เพราะเหตุนี้ท่านจึงทุกข์ เพราะความหลงทำให้ท่านทำในสิ่งที่ไร้สาระ เมื่อใดท่านหลงเกิดความยินดีพอใจ 31* ท่านก็ถูกผูกมัด ( ด้วยอุปาทาน ) แต่เมื่อใดท่านตื่นรู้ต่อกายใจดั้งเดิมของท่าน ( รูป – นาม ) ท่านก็ไม่ถูกผูกมัดด้วยอุปาทานต่อไป
( 31* ร่างกาย คือ ธาตุ 4 จิตใจคือขันธ์ 5 ที่มีการแสดงตัวในลักษณะต่าง ๆ แต่ท่านโพธิธรรมกล่าวว่า ได้แก่ตัวพุทธะนั้นเอง )

ใครก็ตาม ยังไม่ละเลิกความติดยึดในกามคุณ ซึ่งปรากฏในหลากหลายรูปแบบ ( รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) เขาก็ยังเป็นปุถุชนอยู่

พระพุทธเจ้าคือบุคคลที่ค้นพบอิสรภาพ คือเป็นอิสระจากโลกธรรมและความชั่วทั้งหลาย การค้นพบเช่นนั้นเป็นอำนาจของพระองค์ ที่ทำให้กรรมไม่อาจติดตามทันได้ ไม่ว่ากรรมชนิดใดก็ให้ผลต่อพระองค์ไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงกรรมได้ สวรรค์และนรก 32* ก็ไม่มีผลอะไรต่อพระองค์ แต่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของปุถุชน เป็นภาวะที่คลุมเครือ เศร้าหมอง เมื่อเปรียบเทียบกับของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งรู้แจ้งทุกสิ่งทุกอย่างทั้งภายในและภายนอก
( 32* พุทธศาสนิกชนทั่วไป เข้าใจเรื่องสวรรค์เป็นรูปธรรมว่ามี 4 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งออกได้อีก 16 – 18 ชั้น และที่ไม่มีรูปอีก 4 ชั้น ซึ่งตรงข้ามกับสังสารวัฏ คือ นรกร้อน 8 ขุม และนรกเย็นอีก 8 ขุม แต่ละขุมก็มีบริวารอีกขุมละ 4 มีนรกพิเศษอีกจำนวนหนึ่ง คือนรกมืดและทุกข์ตลอดกาล )

ถ้าท่านไม่แน่ใจอย่าพึ่งทำอะไร เมื่อท่านทำลงไป ก็ต้องเวียนว่าย ตายเกิด และเป็นทุกข์เพราะไม่มีที่พึ่ง ความทุกข์ยากลำบากเกิดขึ้น เพราะความคิดผิด (มิจฉาทิฏฐิ ) การเข้าใจสภาวะจิตเช่นนี้ ท่านต้องทำแบบไม่ทำ* ด้วยวิธีนี้เท่านั้นจะทำให้ท่านเห็นทุกสิ่งจากญาณทัศนะของพระตถาคต
( *คือทำสักแต่ว่าทำ หมายถึงการมีสติปัญญากำหนดรู้ใน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมตลอดเวลา เมื่อกรรมถูกกำหนดรู้อย่างเท่าทัน กรรมนั้นจะดับด้วยพลังของ ญาณปัญญา, อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไม่อาจเข้าไปแทรกแซง ปรุงแต่ง แต่เป็นกรรมได้ เรียกว่า ทำแบบไม่ทำ … ผู้แปลไทย )


แต่เมื่อท่านเข้าปฏิบัติตามมรรคครั้งแรก ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของท่านยังไม่มีจุดรวม ท่านก็เห็นทุกสิ่งเป็นเรื่องแปลก เหมือนภาพในฝัน แต่ท่านอย่าสงสัยว่า ความฝันทุกอย่างล้วนเกิดจากจิตของท่านเอง ไม่ได้เกิดจากที่อื่น

ถ้าท่านฝันว่าท่านเห็นแสงสว่างเจิดจ้ายิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์ ( นั้นเป็นนิมิตหมายว่า ) อุปาทานของท่านที่ยังเหลืออยู่ก็จะหมดไปโดยเร็ว และธรรมชาติของสัจจธรรมก็ปรากฏตัวขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนั้นจะเป็นเครื่องช่วยเป็นพื้นฐานแห่งการบรรลุธรรม แต่เรื่องนี้เป็นสิ่งรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่อาจอธิบายให้ผู้อื่นทราบได้

หรือหากท่านกำลังยืน เดิน นั่ง หรือนอนในป่าอันสงัดวิเวก ท่านอาจเห็นแสงสว่าง ( อันเกิดจากนิมิต ) ไม่ว่าเป็นนิมิตที่แจ่มใส หรือคลุมเครืออย่าบอกเรื่องนั้นแก่ผู้อื่น และอย่ากำหนดจดจำนิมิตเช่นนั้นไว้ เพราะมันเป็นภาวะที่สะท้อนออกมาจากธรรมชาติภายในของท่านเอง

ถ้าท่านกำลังยืน เดิน นั่งหรือนอน ในที่สงบเงียบ และมืดในยามกลางคืน ( นิมิตปรากฏให้ท่านเห็น ) ทุกสิ่งปรากฏเสมือนกลางวัน ก็อย่าตกใจ เพราะปรากฏการณ์นั้นเกิดจากจิตของท่านเอง ที่ต้องการ เปิดเผยตัวมันเอง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 17, 2012, 06:37:32 pm โดย ฐิตา »