ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม  (อ่าน 5942 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม
« เมื่อ: เมษายน 27, 2011, 08:31:21 pm »
รวมคำสอนของบรรพบุรุษจีน

คำนำ
สุภาษิตย่อมเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย
ทุกชาติ ทุกภาษาต่างก็มีสุภาษิตประจำชาติของตน
ข้อดีของสุภาษิตก็คือเป็นคำสอนที่สั้นกระทัดรัด
แต่ก็กินความหมายกว้างขวางลึกซึ้ง จดจำได้ง่าย
เหมาะที่จะถือไว้เป็นคติธรรมสอนใจ

"คัมภีร์ทอง" เป็นหนังสือที่ได้รวบรวมสุภาษิต คติธรรม
ของคนจีนโบราณ โดยได้ให้แง่คิดในการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ
ไว้อย่างน่าพิจารณา และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง
กับสังคมไทยในยุคสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

ธรรมสภา หวังว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากข้อคิดคำสอน
ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อการดำเนินชีวิตที่เป็นสุขและ
ประสบความสำเร็จตามสมควร

ด้วยสุจริตและหวังดี
ธรรมสภาปรารถนาให้โลกพบความสงบสุข

**************


คน

-ทุกคนย่อมมีจุดบกพร่อง
-สิบปีปลูกต้นไม้ ร้อยปีสร้างทรัพยากรบุคคล
-รู้จักคนรู้จักหน้า แต่หารู้จิตใจเขาไม่
-คนโง่เท่านั้นมักอวดตนเป็นคนฉลาด
-คนต้องมีกิริยาสุภาพ ดุจดอกไม้ต้องมีกลิ่นหอม
-มารยาทดีงามต่อคนเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด
-คนมีรวยและจน น้ำก็มีระดับสูงและต่ำ
-อย่ารังแกคนยากจน อย่าหยิ่งยะโสในความมั่งมี
-อย่าอวดตนเก่งกว่าผู้อื่น โลกนี้ผู้ที่เก่งกว่าตนนั้นมีมากมาย
-คนมักตาย เพราะทรัพย์เป็นเหตุ นกมักตายก็เพราะเหยื่อ
-ระยะทางพิสูจน์กำลังม้า กาลเวลาพิสูจน์จิตใจคน
-ดำรงชีวิตตน โดยปราศจากมลทินนั้นยาก
-ปุถุชนหาใช่นักปราชญ์บัณฑิตไม่ ใครบ้างจะไม่ทำผิดเลย
-พันคนก็มีเรื่องทุกข์พันอย่าง แต่ก็มีทุกข์ไม่เหมือนกันสักคน
-ความรอบคอบระวังจิตใจ คือ ผู้เฉลียวฉลาด
-ขอให้ทุกคนจงสดับ อย่าได้ไม่รู้จักประมาณตน
-ผู้รู้จักตนเอง คือ ผู้รู้อย่างแท้จริง
-ผู้ป่วยไม่รู้จักตนเอง หลงระเริงอยู่ใต้มหันตภัย
-เป็นคนอย่าเย่อหยิ่งยะโส แต่ต้องรักในศักดิ์ศรี
-ฐานะต่ำไม่ใช่น่ารังเกียจ รังเกียจคือผู้ไร้ความสามารถ
-ควรพิจารณาคนขณะเผลอเรอ และหลังเสพสุรามึนเมา
-อุปนิสัย คือ สันดานที่สองของมนุษย์

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 27, 2011, 08:47:40 pm »
คุณธรรม
-มีคุณธรรมเท่านั้นที่สูงล้ำเลิศ
-ผู้มีคุณธรรมเป็นนิจ ชีวิตจะเป็นสุขเสมอ
-สุขจากคุณธรรม แสดงว่าตนมีคุณธรรมความดี
-ปลูกต้นไม้บำรุงราก ปลูกฝังคุณธรรมต้องบำรุงจิตใจ
-ร่างกายสมบูรณ์ไม่ต้องใช้ยาบำรุง จิตใจดีงามไม่ต้องกินเจ
-การแจกเงินให้ผู้อื่นได้ สู้แจกคติธรรมสอนคนอื่นไม่ได้
-สุภาพชนรักผู้อื่นด้วยคุณธรรม
-คุณความดีเป็นรากฐานการสร้างมิตรไมตรี
-ความหวั่นกลัวเป็นอุปสรรคการสร้างคุณธรรมทั้งมวล
-จงเอาความตั้งใจแสวงหาชื่อเสียงไปแสวงหาคุณธรรม
-คนดีเกลียดชังความชั่ว เพราะรักในคุณธรรม
-คนดีย่อมสร้างคุณธรรมให้ผู้อื่นดีกว่าตน
-มารยาทอ่อนโยนเป็นมิตรกับคุณธรรมที่แยกไม่ออก
-ความอดทนคือบิดาแห่งคุณธรรมทั้งปวง
-ความอดทนคือคุณธรรมที่หายาก
-คุณธรรมอันยิ่งใหญ่คือ "ภราดรภาพ"
-ไม่ขอรับความดีความชอบ แต่ขอเพียงอย่าให้มีความผิด
-มองหาคุณความดีในผู้อื่น และมองหาความบกพร่องในตนเอง


ปัญญา-ความรู้
-ผู้รู้จักตนเอง คือผู้รู้อย่างแท้จริง
-สามคนร่วมเดินทาง ต้องมีผู้หนึ่งที่เป็นครูเราได้
-ผู้ไม่รู้ ย่อมไม่ผิด
-ผู้รอบรู้มักถ่อมตัว ผู้โง่เขลามักหยิ่งยะโส
-ความรู้ทำให้รู้จักถ่อมตน ไร้ความรู้ทำให้จองหองอวดดี
-หยกไม่เจียระไนก็ไม่ล้ำค่า คนไร้การศึกษาก็ไม่มีความรู้ ขาดเหตุผล
-คนที่มีปัญญาเห็นแก่ตัว สู้คนโง่ทำเพื่อส่วนรวมไม่ได้
-ความซื่อสัตย์คือผู้รู้แจ้งในปัญญา
-ความขยันอดทน เป็นครูสอนที่ยิ่งใหญ่
-คนกล้ามีสติปัญญาน้ำใจกว้างขวาง
-ปราศจากกิเลสจิตสงบ จิตสงบย่อมรู้แจ้ง
-ผู้มีเมตตาธรรมย่อมไร้ทุกข์ ผู้มีปัญญาย่อมไม่ลุ่มหลง
-ผู้ที่สามารถควบคุมความโกรธไว้ได้ เป็นผู้มีปัญญายอดเยี่ยม
-ปัญญาชนควรสนิทไว้ แต่หาใช่ว่าต้องตามเขาไปเสียทุกอย่าง



ครอบครัว
-บิดามารดาเป็นแบบอย่าง
-มารดาที่อบรมดีคนเดียวมีค่าเลิศเท่าครูร้อยคน
-เมื่อเยาว์วัยจงสร้างอุปนิสัยที่ดีไว้
-บุตรที่ดีย่อมมาจากบิดามารดาประพฤติสั่งสอนดี
-การกวดขันระเบียบของครู เลิศกว่าความเมตตาของพ่อ
-กตัญญูเป็นการแสดงออกของจิตใจอันสูงและประเสริฐ
-จงเอาความรักบุตรภรรยาไปมองให้แก่บิดามารดา
-เรื่องราวของครอบครัว ไม่ควรแพร่งพรายออกนอกเรือน
-ครอบครัวจะรุ่งเรืองอยู่ 2 ประโยค ขยันกับประหยัด
-อยู่บ้านอาศัยพ่อ แต่งงานอาศัยสามี แก่เฒ่าอาศัยลูกหลาน
-บุคคลเปิดช่องให้โทสะครอบงำ ยังความวิบัติให้ครอบครัว
-ยามทะเลาะผู้เงียบก่อนนั้น มาจากครอบครัวที่มีการอบรมสั่งสอนดี

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 28, 2011, 06:02:07 am »
คบคน
-ในสี่คาบสมุทรล้วนเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน
-คบหากันเพราะรูปโฉม ความงามร่วงโรย ความรักก็สลาย
-รักคนไม่คำนึงถึงเหตุผล ย่อมเป็นโทษภัยแก่ตนเอง
-มีเหล้ามีเนื้อมากพี่น้อง ยามตกยากจะหาสักคนก็ยาก
-เมื่ออยากจะรู้ความในใจเขา ต้องฟังเขาพูด
-อาศัยผู้อื่นอย่าเอาแต่ใจตน ต้องเรียนรู้นิสัยผู้อื่นไว้ด้วย
-มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน
-มีอาหารแจกให้ผู้หิวโหย มีเรื่องปรึกษากับผู้รู้ใจ
-คนหยิ่งทนงเป็นที่เกลียดชัง แม้คนหมู่บ้านเดียวกัน
-ประพฤติกรรมต่อผู้อื่นเช่นไร ก็พึงได้รับตอบแทนเช่นนั้น
-ภรรยาเพื่อน อย่าได้รังแกล่วงเกิน
-ผู้ชอบทะเลาะวิวาท ย่อมมีมิตรน้อย
-เมื่อฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการ ทั้งคู่ก็ย่อมไม่ทะเลาะกัน
-อย่าเป็นคนเห็นแก่ตัว การเห็นแก่ตนย่อมประสบภัยอันตราย
-คบกับคนที่ร่วมกันยาก ต้องรู้จักเชิงแต่นิ่งเฉยไว้
-ควรยอมผิดใจกับสุภาพชน แต่อย่าผิดใจกับคนพาล
-จงห่างไกลจากคนพาล แต่อย่าแสดงตัวให้เห็นเป็นศัตรู
-การวางเฉยเป็นมารยาทที่ดี แต่มากนักมักเป็นคนลับลมคมใน
-อย่ามีจิตคิดร้ายผู้อื่น แต่ต้องระวังผู้อื่น
-คบคนดีควรผ่อนปรน คบคนชั่ว ควรระวังกวดขัน
-มองหาคุณความดีในผู้อื่น มอหาความบกพร่องในตนเอง
-ยื่นเมตตาธรรมให้ผู้อื่น ยื่นความเที่ยงธรรมให้กับตัวเอง


เลี้ยงชีพ-สร้างตัว
-ฮวงจุ้ยดี สู้จิตใจดีไม่ได้
-ของมีพิษห้ามกิน ของผิดกฎหมายห้ามทำ
-ทั่วปฐพีล้วนมีขุมทรัพย์ เพียงแต่รอผู้มีวาสนามาค้นหา
-เมื่อไม่กล้าเสี่ยง ก็ย่อมไม่ประสบผล
-เทพเจ้าแห่งโชคลาภย่อมรักคนกล้าหาญ
-ความผิดพลาดเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ
-คนที่ไม่มีรอยยิ้มแย้ม อย่าคิดเปิดทำกิจกรรมการค้า
-บุคคลชอบระแวงสงสัย ไม่ควรประกอบกิจธุรกิจร่วมกัน
-อุดมการณ์ไม่ตรงกัน ไม่ควรร่วมธุรกิจร่วมกัน
-การพูดจาไม่รู้จักถ่อมตน ธุรกิจก็ยากที่จะประสบผล
-ความซื่อสัตย์เป็นกุศโลบายที่ดีที่สุด
-ความมัธยัสถ์เป็นหนทางแห่งความร่ำรวยที่ยิ่งใหญ่
-ใช้จ่ายสิ้นเปลืองนำมาซึ่งความขาดแคลนอดสู
-การใช้จ่ายในสิ่งไม่จำเป็น แม้สตางค์เดียวก็แพง
-ยามรุ่งเองไม่ประมาท ยามตกยากต้องอดทน
-ความเกียจคร้านกับความยากจน เป็นมิตรสนิทกัน
-ผู้ไม่คิดการณ์ไกล มักประสบความทุกข์ยากเมื่อจวนตัว
-มีเงินมีทองก็ว่าเก่งว่าดี หมดเงินหมดทองก็หมดสง่าราศี


หลักการทำงาน
-เหนือภเขายังมีภูเขา เหนือคนยังมีคน (เหนือฟ้ายังมีฟ้า)
-อาศัยโชคชะตาหรือจะสู้ความสามารถตนเองได้
-ความสามารถควรมีมาก แต่ปัญหาควรมีน้อย
-ใคร่ครวญต้องช้าๆ ลงมือทำต้องรวดเร็ว
-ความรีบร้อนมักนำความผิดพลาดมาให้เสมอ
-มูลเหตุแห่งความเสียทรัพย์มาจากความเร่งรีบเสมอ
-รับภารกิจที่หนัก ต้องมีกำลังแต่ไม่มีโทสะ
-เดินพลาดเพียงก้าวเดียวว อาจทำให้งานใหญ่พังได้
-ผู้กระทำการใหญ่ ย่อมไม่ถือสาคำตำหนิเล็กๆน้อยๆ
-ปัจจุบันละเลยเรื่องเล็กน้อย ภายหน้าเสียใจอย่างใหญ่หลวง
-ผิดพลาดเพียงก้าวเดียว เสียใจไปตลอดชีพ
-การทำงานอย่าเอาแต่ทิฎฐิของตน ต้องเข้าใจเหตุผลของงาน
-ยามสงบเตรียมป้องกันอันตราย ย่อมพ้นจากภัยพิบัติ
-การเป็นคนต้องพยายามทำดีที่สุด นอกจากนี้ แล้วแต่ฟ้าลิขิต
-การไม่รู้กาลเทศะ ผิดหวังตลอดชาติ
-ผลงานสำเร็จ ชื่อเสียงเกียรติยศก็ปรากฎ
-ความผิดพลาดเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ
-เริ่มต้นไม่สำเร็จ ต้องพยายามไม่ปล่อยวางจนกว่าจะสำเร็จ

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 28, 2011, 08:00:19 pm »
สุข-ทุกข์
-สร้างความดีนั้นแหละคือความสุข
-คุณความดีคือการแสดงออกของสุขภาพและจิตใจที่ดี
-สุขเกิดจากอาทรก่อน ภัยพิบัติเกิดจากหลงระเริง
-ยามมีอำนาจอย่าเหลิง ยามมีสุขก็อย่าหลงระเริง
-รายได้น้อย รายจ่ายมาก ยังให้ทุกข์ทั้งชีวิต
-ในโลกนี้มีมนุษย์สักกี่คน รู้จักแสวงหาความสุขตามธรรมชาติ
-ความอดทนเป็นยารักษาความทุกข์ยากทั้งปวง
-ความอดทนรวมกับความกล้าหาญ ย่อมบรรลุสุขแน่นอน
-ความโกรธเป็นเรื่องของความทุกข์
-เมื่อโทสะของตนเข้าครอบงำ จะตกเป็นทาสแห่งความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่



ดี-ชั่ว
-อย่าปิดหนทางในการบเพ็ญความดี
-การไม่สามารถแยกดี-ชั่ว เป็นบุคคลน่าห่วงใยที่สุด
-อย่าเกียจคร้านท้อถอยการสร้างความดี
-เลือกสร้างความดีเพื่อหลีกเลี่ยงความชั่ว
-ความอวดดีจองหองเป็นการเริ่มต้นแห่งบาป
-คุณความดีเว้นจากการทำบาป และยังไม่คิดทำบาปอีกด้วย
-คนดีมักถูกรังแก ม้าดีมักถูกควบขี่
-ความชั่วอ่อนกำลัง คุณความดีก็รุ่งเรือง
-คบคนดีควรผ่อนปรน คบคนชั่วควรระวังกวดขัน
-จิตที่ยึดมั่นในพุทธธรรม ไม่มีมารปีศาจมารบกวน


ชีวิต
-การดำเนินชีวิตในโลกนี้ ต้องปรับตัวเองได้
-ลูกผู้ชายต้องสามารถยืดได้หดได้
-ยามรุ่งเรืองไม่ประมาท ยามตกยากต้องอดทน
-ยามสมหวัง ควรทำตนให้วางเฉย
-โชคกับเคราะห์สัมพันธ์กัน เกิดและตายเป็นของคู่กัน
-การดำรงชีวิตประจำวัน ใช้คำว่า "ง่ายๆ" ย่อมสบาย



การปกครอง
-ราษฎรถือเรื่องปากท้องเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญ
-คนมีคุณธรรมย่อมรุ่งเรือง คนถืออำนาจย่อมหายนะ
-ลัทธิประเพณี คือนิสัยอีกอย่างหนึ่ง
-ลัทธิประเพณีที่ดีอาศํยได้ดีกว่ากฎหมาย
-ผู้ชนะคือพระราชา ผู้แพ้คือโจรขบถ
-คนสูงศักดิ์สอนด้วยวาจา คนต่ำศักดิ์ใช้แส้สั่งสอน




วาจา
-บุรุษอัจฉริยะอยู่ที่ปาก อาชาดีอยู่ที่ฝีเท้า
-คุณธรรมความดีไม่ได้อยู่ที่ลิ้น หากเก็บไว้ในใจ
-คำโกหกอยู่ได้ไม่ยั่งยืน
-โกหกเพียงครั้งเดียว ถูกสงสัยตลอดกาล
-ผู้ชื่อว่าหลอกลวง ถ้าพูดความจริงก็ไม่ได้รับความเชื่อถือ
-คนมุสาสุดท้ายก็จบลงด้วยการหลอกลวงตัวเอง
-พูดมาพูดไปพูดไม่พ้นเรื่องตน
-ต่อหน้าคนดี จักไม่กล่าวเท็จ
-การมุสาเป็นก้าวแรกเดินเข้าสู่ประตูคุก
-คนที่ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น ผู้นั้นคือโมฆะบุรุษ
-ผู้พูดไม่ตั้งใจพูด ผู้ฟังมักนำไปคิด
-โรคภัยเข้าทางปาก ภัยวิบัติก็ออกจากปาก
-การกล่าววาจากระทบผู้อื่น เหมือนคมมีดกรีดหัวใจ
-สุภาพชนเปิดอกเปิดใจเต็มที่ มีเรื่องก็กล่าวซึ่งๆหน้า
-ยามประสบความสมหวัง อย่าใช้วาจาโอ้อวด ยะโส
-ยามผิดหวัง อย่าใช้วาจากิริยาโกรธเกรี้ยวกราด
-อยากท่องเที่ยวไปทั่วสารทิศ ต้องลับฝีปากให้คมคาย

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2011, 04:01:22 am »
อดทน
-อดทนสักนิด พายุจิตเรียบ คลื่นสงบ
-อดทนชั่วขณะ สุขสบายไป 10 ปี
-ความอดทนสามารถชนะความทุกข์ยากทั้งปวง
-ความอดทนเป็นกุญแจไขไปสู่ความผาสุกทั้งมวล
-ความอดทนหลีกเลี่ยงทุกข์ภัยที่ใหญ่หลวงได้
-ความอดทนเป็นต้นไม้ให้รสแสนขม แต่การให้ ผลแสนหวาน
-มีความอดทนย่อมได้มาทุกสิ่งทุกอย่าง
-ยามผิดหวัง ต้องรักษาด้วยความอดกลั้น
-ไม่มีสิ่งใดไม่ประสบความสำเร็จ หากมีความขยันอดทน
-ความอดทนเป็นหนทางเอกที่นำไปสู่ความสำเร็จ


ซื่อสัตย์
-ความซื่อสัตย์คือมรดกที่ล้ำค่าที่สุด
-ความซื่อสัตย์เป็นกุศลโลบายที่ดีที่สุด
-กิจกรรมทั้งมวล ความซื่อสัตย์สำคัญที่สุด
-ผู้สูญเสียความซื่อสัตย์ เหมือนสูญเสียแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง
-คนซื่อสัตย์พูดคำใดถือเป็นสัญญาคำนั้น
-ผู้ไร้สัจจะ ถึงจะมีความสามารถก็ไร้ประโยชน์


ประหยัด
-ความประหยัดเป็นมารดาของคุณธรรมทั้งมวล
-ความยากจนทำให้เกิดความขยันและประหยัด
-รวบรวมทีละน้อยทำให้มากได้
-เศษเล็กๆน้อยๆล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้น
-ประหยัดตอนหมดตัวก็สายเสียแล้ว
-ผู้สามารถประหยัดไม่ต้องขอร้องพึ่งผู้อื่น
-ใช้จ่ายสิ้นเปลืองนำมาซึ่งความขาดแคลนอดสู
-การใช้จ่ายในสิ่งไม่จำเป็น แม้สตางค์เดียวก็แพง
-ความประหยัดทำให้เกิดความร่ำรวยและยศศักดิ์
-ความมัธยัสถ์เป็นหนทางแห่งความร่ำรวยที่ยิ่งใหญ่
-ระวังการใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆรูรั่วเล็กๆอาจจมเรือใหญ่ได้
-การรู้จักประหยัด สุขสบายในวัยชรา


พากเพียร
-น้ำที่หยดทำให้หินกร่อนได้
-ภายใต้ฟ้าไม่มีสิ่งใดยาก สำหรับผู้มีใจพากเพียร
-คนต้องมีปณิธานแน่วแน่ก่อน จึงมีรากฐาน
-ใจควรเล็ก แต่ปณิธานอุดมการณ์ควรใหญ่
-ความอุตสาหะเป็นมูลรากแห่งความสำเร็จ
-ผู้มีความเพียรอย่างแรงกล้า เท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง



กล้าหาญ
-ผู้มีความกล้าหาญย่อมมีความหวัง
-ความกล้าหาญไม่สยบต่อความหายนะ
-เทพเจ้าแห่งโชคลาภย่อมรักคนกล้าหาญ
-เมื่อไม่กล้าเสี่ยง ก็ย่อมไม่ประสบผล
-โชควาสนาติดตามคนกล้า เคราะห์กรรมตามหลังคนขลาด
-ความกล้าหาญที่ไร้อคติ เป็นรากฐานแห่งชัยชนะ



เคารพ-อ่อนน้อม
-การดำเนินชีวิตของคน ควรรู้จักเคารพตนเอง
-ผู้ที่ไม่เคารพตนเอง ย่อมเป็นผู้ที่ดูแคลนของผู้อื่น
-ต้องเคารพนับถือตนเอง มิฉะนั้นแล้ว จะไม่มีผู้อื่นเคารพท่าน
-มีแต่บุคคลเคารพผู้อื่นเท่านั้น ถึงจะได้รับการเคารพตอบ
-จงเคารพนบน้อมผู้อื่น แล้วผู้อื่นก็จะเคารพนบน้อมท่าน
-สุภาพชนเหนือผู้อื่น อยู่ที่รู้จักนอบน้อมถ่อมตนเท่านั้น
-ผู้อวดอ้างตนมักเป็นคนมีความสามารถน้อย
-มารยาทอ่อนโยนเป็นมิตรกับคุณธรรมที่แยกกันไม่ออก
-ความสุภาพอ่อนโยน ย่อมไม่ผิดหวังในสิ่งใด
-ผู้รู้จักตนเองก็คือการยกย่องตนเองให้น้อยลง



ให้-รับ
-ผู้ให้ไม่หวังผล   ผู้รับไม่ควรลืม
-ยามให้ไม่ควรยึด ยามรับควรตอบแทนคุณ
-ควรให้อภัยผู้อื่น แต่ไม่ควรให้อภัยตนเอง
-กุศลกรรมที่ไม่มีอะไรใหญ่เท่ากับการให้ "อโหสิกรรม"
-การแจกเงินให้ผู้อื่นได้ สู้แจกคติธรรมสอนคนอื่นไม่ได้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2011, 03:59:02 am »
เกียจคร้าน
-ความขี้เกียจคือสุสานฝังคนทั้งเป็น
-เตียงนอนคือคุกของคนเกียจคร้าน
-ความเกียจคร้านเป็นมารดาของความทุกข์ยาก
-มูลรากของความชั่วร้าย มาจากความเกียจคร้าน
-หญิงขี้เกียจกับเตียงที่อบอุ่นย่อมแยกจากกันยาก
-ความเกียจคร้านกับความยากจนเป็นมิตรสนิทกัน



ความโกรธ
-ความทิฏฐิเป็นเจ้าเรือนแห่งความโกรธ
-ความโกรธเข้าประตูง่าย แต่ว่าออกไปยาก
-ความอาฆาตมาดร้ายเหมือนขี่ม้าบ้า
-ผลแห่งโทสะ  คือ จุดเริ่มต้นการสำนึกผิด
-ความโกรธทำให้ตนเองรับทุกข์ทรมาน
-การวิวาทกันเป็นอาวุธ(วิสัย) ผู้อ่อนแอ
-อารมณ์โกรธเข้าประตูหน้า สติปัญญาก็โผออกประตูหลัง
-คนมีความคิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยากนักท่จะพูดจากันให้รู้เรื่อง
-ความโกรธล้วนมีเหตุผล แต่เหตุผลที่ดีมักไม่ค่อยมี
-พยายามควบคุมความโกรธ มิฉะนั้นจะถูกความโกรธเข้ามาควบคุมท่าน



อุปมา-อุปมัย
-ปรบมือข้างเดียวเสียงไม่ดัง
-อีกาไม่คู่ควรกับหงส์ฟ้า
-ดื่มน้ำให้คิดถึงที่มาของน้ำ
-ฝนจะตก นางจะแต่ง ไม่มีใครยับยั้งได้
-ดอกไม้งามไม่หอม ดอกไม้หอมไม่งาม
-นับแต่โบราณกาลผ่านมา สาวโสภามักอาภัพ
-ถอยสักก้าว ทะเลดูกว้าง ท้องฟ้าสดใส
-คลื่นลูกแรกยังไม่สงบ คลื่นลูกหลังก็ซัดกระหน่ำตามมา
-หนทางนั้นเคี้ยวคด แต่เหตุผลนั้นเที่ยงธรรม
-คนตายส่งกลิ่นเหม็นหนึ่งลี้ คนเป็นส่งกลิ่นเหม็นพันลี้




เหตุแห่งความยากจน
-การปล่อยการปล่อยใจให้หลงระเริง ไม่ประกอบกิจการงาน จนลงทุกทีไม่ดีขึ้น
-ไม่รู้คุณค่าของเงินทอง มือเติบสุรุ่ยสุร่าย จนลงแบบง่ายๆ
-วันๆเอาแต่ขี้เกียจหลับนอน จนตะวันส่องหัว จนลงเพราะเอาแต่สบาย
-ครอบครัวมีไร่นาคณานับ แต่ไม่ทำเกษตรเพิ่มพูนผล จนลงเพราะเกียจคร้าน
-สมาคมแต่ผู้เรืองยศ คนรวย  นับถือเป็นมิตรสหาย จนเพราะความมักใหญ่ใฝ่สูง
-ชอบฟ้องร้องคดีขึ้นศาลเป็นเนืองนิจ ถือเด่นเป็นวีรบุรุษ จนลงเพราะอยากเด่นดัง
-กู้หนี้ยืมสิน ทำโก้เก๋ดูสง่า จนลงเพราะการกระทำของตน
-ลูกเมียเกียจคร้าน เอาแต่ความสุขสบาย จนลงเพราะชะตากรรมลิขิต
-ลูกหลานคบแต่มิตรชั่ว ยังแต่ภัยพิบัติ จนลงเพราะหลงผิด
-ชอบเล่นการพนัน เสพสุรานารีไม่มีเว้น จนลงแบบสิ้นเนื้อประดาตัว

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คัมภีร์ ทอง สุภาษิต-คติธรรม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2011, 03:01:54 am »
เหตุแห่งความร่ำรวย
-ไม่หวาดเกรงอุปสรรคทุกข์ยาก มุ่งมั่นสัมมาอาชีวะ รวยเพราะขยันและประหยัด
-ซื้อขายสุจริตเที่ยงธรรม เอาใจใส่ต่อการค้า รวยเพราะสุจริตธรรม
-สดับเสียงไก่ขัน รีบลุกขึ้นประกอบกิจการงาน รวยเพราะใส่ใจในงาน
-มือเท้าประกอบธุรกิจ การบ้านการเรือนไม่หยุด รวยได้ในที่สุด
-ระวังฟืนไฟและโจรกรรม ดูแลประตูบ้านช่อง รวยเพราะระวังรักษา
-ละเว้นอบายมุข สิ่งผิดกฎหมายทั้งมวล รวยเพราะความเจียมตน
-ครอบครัวทั้งผู้ใหญ่-เด็ก ช่วยกันประกอบธุรกิจ รวยเพราะสามัคคีใจเดียวกัน
-ลูกเมียกตัญญู ฉลาดรอบรู้ ปราศจากอคติ รวยเพราะช่วยกันทำ
-สอนลูกหลานประกอบกรรมดี เป็นสง่าราศี รวยได้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
-จิตสร้างสมคุณธรรมความดี เทพยดาฟ้าดินรักษา รวยเพราะสร้างกุศลกรรม




รากฐานแห่งความปราชัย
-ความไม่เป็นผู้ไม่มีดุลยพินิจพิจารณญาณ
-ความไม่รู้จักควบคุมในตน
-ความไม่เข้าใจในเรื่องเหตุและผล
-ความไม่รู้ชัด-เห็นแจ้ง
-ความเป็นผู้โลภมาก
-ความจองหอง-อวดดี
-ความชอบพูดจาโกหก-พกลม
-ความไม่ควบคุม-ประฤติชั่ว
-ความเกียจคร้านหลังยาว
-ความชอบกู้หนี้-ยืมสิน
-ความชอบดื่มสุรา-เมรัย
-ความเป็นคนหูเบา
-ความเป็นผู้ชอบทะเลาะวิวาท
-ความเป็นผู้ไร้สัจจะ
-ความเป็นผู้เจ้าอารมณ์-ไม่มีน้ำใจ
-ความเป็นผู้ไม่รู้จักติดต่อเจรจา
-ความชอบโกหกหลอกลวง
-ความชอบฟุ่มเฟือย-สุรุ่ยสุร่าย
-ความเป็นผู้ไม่รู้จักอุดมการณ์
-ความชอบเล่นการพนันขันต่อ
-ความชอบดุร้ายป่าเถื่อน
-ความเป็นผู้ไม่มีหลักการตัดสินใจ
-ความชอบอิจฉาริษยา
-ความชอบโมโหร้ายพยาบาท



รากฐานแห่งความสำเร็จ
-ความขยัน-มัธยัสถ์
-ความอุตสาหะ-อดทน
-ความซื่อสัตย์-สุจริต
-ความนอบน้อม-ถ่อมตน
-ความรู้จักประมาณตน
-ความรู้แจ้ง-เห็นจริง
-ความเป็นผู้มีอุดมการณ์
-ความเป็นผู้มีดุลยพินิจ-พิจารณญาณ
-ความไม่ละโมบ
-ความเป็นผู้ยึดมั่น-เด็ดขาด
-ความเป็นผู้มีน้ำใจการุณธรรม
-ความเป็นผู้กล้าหาญ-ตัดสิน