๑๐ เมื่อ ชาวโลกได้ฟังคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงถ่ายทอด ธรรม คือ จิต, เขาก็พากันเหมาเอาว่า มีอะไรบางสิ่ง ซึ่งจะต้องลุถึงหรือเห็นแจ้งต่างหากไปจาก จิต และเพราะเหตุนั้น เขาจึงใช้ จิต เพื่อการแสวงหา ธรรม โดยไม่รู้เลยว่า จิต และ ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาพากันแสวงหานั้น เป็นสิ่งๆ เดียวกัน
จิต ไม่ใช่สิ่งซึ่งอาจนำไปใช้แสดงหาสิ่งอื่น นอกจาก จิต เพราะ ถ้าทำดังนั้น แม้เวลาล่วงไปแล้ว เป็นล้าน ๆ กัป วันแห่งความสำเร็จก็ยังไม่โผล่มาให้เห็นอยู่นั่นเอง, การทำตามวิธีนั้นไม่สามารถจะนำมาเปรียบกันได้กับวิธีแห่งการขจัดความคิดปรุง แต่งโดยฉับพลัน ซึ่งนั่นแหละคือตัว ธรรม อันเป็นหลักมูลฐาน.
เหมือน อย่างว่านักรบคนหนึ่ง เขาลืมไปว่าได้ประดับไข่มุกของตนไว้ที่หน้าผากตัวเอง เรียบร้อยแล้ว กลับเที่ยวแสวงหามันไปในทุกแห่ง เขาอาจจะเที่ยวหาไปได้ทั่วทั้งโลก แต่ก็มิอาจจะพบมันได้, แต่ถ้าเผอิญมีใครสักคนหนึ่งซึ่งรู้ว่านักรบคนนั้นทำผิดอยู่อย่างไร แล้วไปชี้ไข่มุกที่หน้าผากของเขา ให้เขาเห็น นักรบคนนั้นก็จะเกดความรู้แจ้งขึ้นในทันทีทันใดนั้น ว่าไข่มุกได้อยู่ที่นั่นแล้วตลอดเวลา.
ข้อ นี้ฉันใด เรื่องของพวกเธอก็เป็นฉันนั้น คือถ้าพวกเธอซึ่งเป็นนักศึกษาเรื่อง ทาง ทางโน้น กำลังสำคัญผิดเกี่ยวกับ จิต จริงแท้ของตัวเอง คอจับฉวยความจริงไม่ได้ว่า จิต นั่นแหละ คือ พุทธะ ดังนี้แล้ว พวกเธอก็จะต้องเที่ยวแสวงหาพุทธะนั้น ไปในที่ทุกหนทุกแห่ง เฝ้าสาละวนอยู่แต่กับการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติ และการเก็บเกี่ยวผลของการปฏิบัติ มีประการต่าง ๆ มัวหวังอยู่แต่การที่จะลุถึงซึ่งความรู้แจ้ง โดยการปฏิบัติที่ค่อยๆ คือ ค่อยๆ คลาน ไปด้วยอาการเช่นนี้เท่านั้น. แต่แม้ว่าจะได้แสวงหา ด้วยความขยันขันแข็งอยู่ตลอดเวลาเป็นกัปป์ ๆ พวกเธอก็ไม่สามารถลุถึงทาง ทางโน้นได้เลย.
วิธี การอย่างนี้ ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้กับวิธีการชนิดฉับพลัน กล่าวคือการขจัดความคิดปรุงแต่ง โดยอาศัยความรู้อันเด็ดขาด ว่าไม่มีอะไรเลย ที่จะตั้งอยู่อย่างไม่ต้องแปรผัน ไม่มีอะไรเลยที่ควรจะเข้าไปอยู่อาศัย ไม่มีอะไรเลย ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ.
มัน ต้องทำโดยการป้องกัน ไม่ให้ความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้นมาได้เท่านั้น ที่พวกเธอจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงต่อ โพธิ, และเมื่อเธอทำได้ ดังนั้น เธอก็จะเห็นแจ้งต่อ พุทธะ ซึ่งมีอยู่ใน จิต ของเธอเองตลอดเวลาได้จริง!
ความ ดิ้นรนตลอดเวลาเป็นกัปป์ ๆ เหล่านั้น จะพิสูจน์ตัวมันเองให้เห็นว่า เป็นความพากเพียรที่เสียแรงเปล่า อย่างมหึมา, เปรียบเหมือนกับเมื่อนักรบผู้นั้นได้พลไข่มุกของเขาแล้ว เขาก็เพียงแต่ค้นพบสิ่งซึ่งแขวนอยู่ที่หน้าผากของเขาเองมาตลอดเวลาแล้วเท่า นั้น, และเหมือนกับการพลไข่มุกของเขานั่นเอง ที่แท้ก็ไม่มีอะรที่ต้องทำเกี่ยวกับความเพียรของเขา ที่ไปเที่ยวค้นหามันทุกหนทุกแห่ง. เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “โดยแท้จริงแล้ว เราตถาคต ไม่ได้ลุถึงผลอะไร จากการตรัสรู้ที่สมบูรณ และที่ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า.”
โดย ทรงเกรงว่าประชาชนจะไม่เชื่อคำตรัสข้อนี้ พระองค์จึงทรงดึงความสนใจมายังสิ่งซึ่งมนุษย์เห็นได้ โดยการเห็น ๕ วิธี และสิ่งซึ่งมนุษย์พูดกันอยู่แล้ว ด้วยการพูด ๕ วิธีดุจกัน. ดังนั้น คำกล่าวนี้จึงมิใช่คำพูดพล่อย ๆ แต่ประการใดเลย แต่ได้แสดงถึงสัจจะอันสูงสุดทีเดียว.
ขอบคุณที่มาบันทึกชึนเชา