"ธรรมะไม่ใช่สิ่งที่เอาแต่พูด หรือเอาไว้ท่องจำ แต่เป็นสิ่งที่ต้องลงมือกระทำ" "น้ำ เป็นตัวแทนของความเยือกเย็นใสสะอาด แต่แฝงไปด้วยพลังและอำนาจมหาศาล
น้ำ สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ทุกที่ ไม่มีทีไหนที่น้ำเข้าไปไม่ได้
และมันเข้าไปอย่างผู้มีชัยชนะด้วย น้ำอยู่ในขวดก็เป็นรูปขวด
อยู่ในโอ่งในไหก็อยู่ได้กับภาชนะทุกรูปแบบ แต่มันก็ยังคงคุณสมบัติความเป็นน้ำอยู่นั่นเอง"
"จงทำตัวเองให้มีศรัทธาเถิด อย่าเที่ยวไปวิ่งหาศรัทธาจากที่อื่นเลย
จงอย่าเอาใจไปผูกอยู่กับคนอื่นเลย จงผูกใจไว้กับตัวเอง สำหรับหลวงปู่แล้ว
การที่เราทำดีจนสามารถกราบไหว้ตัวเองได้อย่างสนิทใจนั่นแหละ คือ สิ่งที่วิเศษที่สุดเลย"
"คนมีสติจะมีสตางค์ใช้ อยู่ที่ไหนก็ไม่อด สติเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก"
"จะคิดทำการสิ่งใดต้องไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ทำด้วยใจศรัทธานะดีแล้ว แต่ต้องเป็นศรัทธา
ที่ประกอบด้วยปัญญา มิเช่นนั้นแล้วจะพบกับความฉิบหาย"
"อันว่าควายนั้นย่อมอยู่ในฝูงควาย ราชสีห์ก็อยู่ในหมู่ราชสีห์ คนมีสติปัญญาย่อมรู้จักในการจะเข้า
สมาคมกับคนหมู่ใดแน่นอน ถ้าสังคมที่เราอยู่นั้นเป็นคนถ่อยด้อยสติปัญญา เขาย่อมพาเราไปสู่
ทางเสื่อม"
"ไม่มีที่ไหนเหมาะกับตัวเราหรอก เพราะเราทำตัวไม่เหมาะสมกับทุกที่"
"สมาธิที่ลูกต้องการหมายถึง ความแข็งแกร่งของจิต พร้อมที่จะทำหน้าที่การงานทีสร้างสรรค์"
"ก่อนถึงเลข 6 จะต้องผ่านเลข 1 มาก่อน 1..2..3..4..5..6... ก่อนใช่ไหม อารมณ์ต่างๆที่เกิดจาก
ผัสสะก็เช่นเดียวกัน ต้องผ่านขบวนการหลายขั้นตอนกว่าจะมาถึงจุดนี้ ผู้ที่รู้ไม่เท่าทันอารมณ์
จะไม่รู้ถึงข้อนี้ ทันที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส เราจะเกิดเวทนาทันทีทันใด ยับยั้ง
อารมณ์ต่างๆไม่ได้ ผู้ที่มีสติปัญญาเท่านั้นถึงจะรู้ทันมัน สามารถยับยั้งอารมณ์ต่างๆให้เกิดขึ้นช้าลง
น้อยลง และในที่สุดไม่เกิดอารมณ์ปรุงแต่งใดๆเลย ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนสติปัญญาของแต่ละคน"
"อยากเป็นคนเก่งต้องหมั่นฝึกอบรมสติปัญญา ต้องสั่งสมเรื่อยมา"
"อยากเป็นคนพูดจาไพเราะน่าฟัง ต้องพูดแต่สิ่งที่มีประโยชน์ ถึงจะด่าก็ด่าอย่างมีศิลปะ ด่าแล้วคน
ไม่โกรธ"
"อยากสวยต้องรักษาศีล"
"อยากมีวาสนาต้องเป็นผู้ให้"
"อยากมีบริวารต้องรู้จักศรัทธา ฟังผู้อื่น"
"การลุกจากที่นอนมันมีวิธีอยู่ว่า ต้องตื่นทั้งกายและใจ ส่วนใหญ่มันจะตื่นแต่กาย ใจไม่ตื่น
อะไรจะมาสำคัญกว่าใจ เป็นไม่มี"
"การฆ่าสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสิงสาราสัตว์ หรือแม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้า ไม่ร้ายเท่ากับการฆ่าเวลา"
"คนกับสัตว์มีฐานะเสมอกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรทั้งสิ้น ต่างกันก็ตรงคุณธรรม"
"จงคิด เจ้าจะได้ไม่ต้องคิด เพราะไม่คิด เรื่องคิดจึงมีมากมาย"
"จงเป็นผู้ให้ แล้วจะได้ในภายหลัง"
"ถ้าเราเป็นผู้ให้ เราย่อมหยิ่งได้เสมอ เราไม่ต้องง้อใคร"
"การปฏิบัติธรรมใดๆ ถ้าออกนอกลู่นอกทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ นั่นย่อมไม่ใช่วิถีทาง
ที่ถูกต้อง ไม่ใช่วิธีให้หลุดพ้น มีแต่จะเพิ่มกิเลสทำให้คนมัวเมาลุ่มหลง"
"ต้องพูดจริงทำจริง มีจิตใจซื่อตรง ไม่โกหกหลอกหลวงใคร ไม่วกวน ไม่ทำให้ผู้อื่นไขว้เขวในคำสอน"
"ไม่มีใครใช้เราทำ เราเป็นผู้ก่อปัญหาเองทั้งสิ้น เราไม่รู้จักคำว่าพอ จึงเกิดทุกข์อย่างนี้แหละ
เมื่อเกิดปัญหาแล้วต้องใช้ความสุขุมรอบคอบคิดแก้ปัญหา ตราบใดที่ยังมีชีวิต คงไม่ถึงกับ
สิ้นไร้ไม้ตอก คนที่แย่กว่าเรายังมีอีกมาก ทุกข์ของเศรษฐีต่างกับทุกข์ของคนจน
คือ คนจนทุกข์ว่าหาไม่พอกิน เศรษฐีทุกข์ว่าหาไม่รู้จักพอ"
"ในวันนี้ท่านย้ำถึงการใช้พลังของชีวิต ไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นผู้ให้แก่โลก โลกก็จะให้ตอบแทน
กลับมาอย่างคุ้มค่า อย่าทะนงตนว่าที่ทำไปในวันนี้ดีที่สุดแล้ว ยังหรอก นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น"
"การที่เราจะดูสิ่งใดให้ออก เราต้องถอยออกมาแล้วกระโดดขึ้นข้างบน เฝ้าดูถึงจะรู้ ถึงจะมองออก
ถ้าเราลงไปคลุกคลีและแสดงด้วย เราจะไม่รู้หรอก เมื่อมองออกแล้วเราจะรู้สึกเฉยๆ ใครจะดีจะชั่วก็
เรื่องของเขา ธุระอะไรไปใส่ใจ..."
"เบื่อแบบมารกับเบื่อแบบพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกัน เบื่อแบบพระพุทธเจ้า เบื่อแล้วยิ่งอยากทำ
ประโยชน์ ทำให้หลุดพ้น เบื่อแบบมาร เบื่อแล้วขี้เกียจเป็นมายา ดูคล้ายกัน ถ้าเราไม่รู้ทัน
ระวัง มารจะหลอกให้หลง"
"การกินเจ เจคัมภีร์ คือ กินแบบติดตำรา เช่น คนกินเจจะต้องมีภาชนะส่วนตัวไม่เปื้อนกับของผู้ใด
คนกินเจแบบนี้จะเครียดเพราะต้องระวังทุกฝีก้าวพลาดไม่ได้ กินแบบนี้หลวงปู่บอกว่าไม่ได้อะไร
จิตใจ ยังเศร้าหมอง"
เจประเพณี คือ กินตามเทศกาล ปีหนึ่งประมาณ 10 วัน "พวกนี้มุ่งการกินเป็นใหญ่ จนลืมคิดถึง
เรื่องการทำใจให้ผ่องใส" กลายเป็นเรื่องสนุกสนาน รวมหัวกันเป็นมหกรรมชนิดหนึ่ง เจเขี่ย คือ ตั้งใจไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ขี้เกียจทำเองหรืออาจจะทำไม่เป็น จำต้องกินรวมกับผู้อื่น
ใช้วิธีเขี่ยเอา อย่างนี้พอมีบ้าง
เจตอแหล คือ เอาอาหารประเภทพืชมาปรุงแต่งให้มองเหมือนเนื้อสัตว์ "ก็ในเมื่อจะกินเจแล้วยังติด
ในลักษณะของเนื้อสัตว์ทำไมเล่า?"
เจกระแดะ ถามท่านว่าถ้าเรากินเจเพื่อหวังจะให้มีร่างกายบริสุทธิ์ดุจดังพรหมล่ะ เรียกว่าอะไร
หลวงปู่ตอบทันทีโดยไม่ต้องคิดให้เสียเวลาว่า "ออ..กระแดะ"
เจสมัครใจ กินด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความรักและเมตตา กินด้วยหัวใจที่ดีๆ เช่นนั้นแล้ว ย่อมไม่
ยึดติดทั้งพืชและสัตว์ ไม่คิดว่ากินพืชหรือสัตว์ กินเพียงพอเพื่อเลี้ยงสังขารให้มีชีวิตอยู่รอดจะได้ทำ
สิ่งดีๆทีเป็นประโยชน์ต่อโลก
"การกินเป็นกิจกรรมชนิดหนึ่งของเดรัจฉาน แล้วทำไมเราต้องใส่ใจให้ความสำคัญกับการกินนัก
ถ้าการกินอาหารเป็นหนทางแห่งการทำให้จิตใจคนเข้าถึงพุทธะแล้ว "ควายย่อมเป็นควายอริยะ"
อย่างแน่นอน เพราะมันกินแต่หญ้า"
http://www.dharma-isara.onoi.org/index.php?option=com_content&view=article&id=228:q-q&catid=47:2009-06-23-19-00-26&Itemid=75