ผู้เขียน หัวข้อ: ประตูสู่การภาวนา : ฉันทะ และ วิริยะโพธิจิต  (อ่าน 1866 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



ฉันทะและวิริยะโพธิจิต
 
 
โพธิจิตมีบทบาทอยู่สองประการ คือเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น หรือความกรุณา กับเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ หรือปัญญา เรามุ่งหวังการ ตรัสรู้มิใช่เพียงเพื่อหลีกหนีจากวัฏสงสาร แต่เพื่อยังประโยชน์ต่อผู้ที่อาจ แลเห็น ได้ยิน สัมผัสจับต้อง หรืออาจจดจำเรา ขณะนี้เราอาจมีความ สามารถที่จะช่วยคนได้สิบคน ร้อยคน หรือพันคน หรือถ้าเรามีชื่อเสียง เราอาจช่วยได้ถึงแสนถึงล้านคน แต่นั่นก็ยังไม่พอเพียง ด้วยยังมีสรรพ สัตว์สุดประมาณนับทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฏนี้
 
 
ยามเมื่อเราปฏิบัติ เราอาจชักนำให้เกิดโพธิจิตหนึ่งในสามแบบ อย่าง แรกเรียกว่า จริตแบบชุมพาบาล อันเป็นแนวโน้มที่จะชักนำสรรพสัตว์ ทั้งมวลไปสู่การตรัสรู้ก่อนแล้วจึงติดตามไปภายหลัง ดุจดังนายชุมพา บาลต้อนฝูงแกะเข้าประตู ครั้นแล้วจึงค่อยติดตามไป โพธิจิตอย่างที่สอง เรียกว่า จริตแบบคนแจวเรือ ในการข้ามลำน้ำนั้น คนแจวเรือบรรลุถึง อีกฟากฝั่งหนึ่งพร้อม ๆ กับผู้โดยสารของตน ในทำนองเดียวกันนี้ ตัว เรากับสรรพสัตว์ได้ร่วมทางไปสู่การตรัสรู้พร้อม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม โดยหลักความจริงแล้ว การจะช่วยให้ผู้อื่นเป็นอิสระจากวงวัฏได้ คุณ จะต้องปลดปล่อยตนเองเสียก่อน ดุจดังราชันขึ้นครองบัลลังก์เป็นปฐม จากนั้นจึงปกครองอาณาจักรอย่างกอปรด้วยปัญญา ดังนั้นในการปฏิบัติ คุณจึงตั้งปณิธานที่จะบรรลุถึงพุทธภูมิก่อน เพื่อที่จะสามารถช่วยผู้อื่น ให้หลุดพ้นจากสังสาร นี่เรียกว่า ราชจริต เราย่อมบ่มเพาะโพธิจิตแบบ หนึ่งแบบใดในสามอย่างนี้ เพื่อใช้จัดการกับอัตตาความยึดมั่นถือมั่นซึ่ง มีมากน้อยแตกต่างกันไป อันเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงที่สุดบนหนทาง แห่งการตรัสรู้
 
 
ปณิธานที่จะบรรลุถึงการตรัสรู้ทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่นเรียกว่า ฉันทะโพธิ จิต ซึ่งแม้ว่าจะเป็นแก่นหลักในการปฏิบัติ แต่ก็ไม่อาจช่วยให้เราสำเร็จผล ได้เพียงลำพัง ฉันทะโพธิจิตเปรียบเหมือนกับการทอดตามองดูมหาสมุทร แห่งทุกข์อันกว้างใหญ่ไพศาล และเกิดความปรารถนาที่จะนำผู้อื่นและตัว เราข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งหากเราไม่มีนาวาและใบที่จะช่วยขับเคลื่อนนาวา นั้น แม้เราจะปรารถนาเพียงใดก็ไม่อาจจะข้ามพ้น
 
 
เรายังจะต้องพากเพียรกระทำการ จะต้องลงมือปฏิบัติ โดยใช้อุบายวิธี ทุกประการที่จะช่วยไถ่ถอนชำระล้างอกุศลจิตและอกุศลกรรมทั้งช่วย เกื้อหนุนสิ่งอันเป็นกุศลทั้งมวล ตราบกระทั่งประจักษ์แจ้งในธรรมชาติ แท้ของจิต เพื่อเราจะสามารถนำพาตนเองและผู้อื่นสู่พุทธภูมินี้เรียกว่า วิริยะโพธิจิต นี่คือมรรควิธีของโพธิสัตว์
 
 
มีวิธีจะโน้มนำโพธิจิตไปสู่ทุกแง่มุมในชีวิตประจำวันของเรา นั่นคือการ บำเพ็ญบารมีหก อันได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา
 
 
ทานย่อมช่วยผ่อนความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ ของเรา มีทานอันได้แก่ การ แบ่งปันอาหาร เสื้อผ้า และวัตถุสิ่งของ ทั้งยังมีธรรมทานอันได้แก่ การ แบ่งปันหลักธรรมคำสอน ช่วยให้เป็นอิสระจากความกลัว ให้การปกป้อง คุ้มครองแก่ผู้ที่หวาดหวั่น ยังมีทานซึ่งมอบผลแห่งความเพียรของตน ให้ เวลา ให้ความรู้ พูดคุย ให้คำปรึกษา เมตตา เอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น ความมี โชคของเราที่มีอยู่ในปัจจุบันล้วนเป็นผลมาจากทานในอดีตทั้งสิ้น ซึ่งเรา อาจนำกลับมาแบ่งปันอีกครั้งอย่างเบิกบาน
 
 
ในการประพฤติศีลนั้น เราจะต้องหมั่นตรวจสอบเจตนาว่าเราได้ใช้กาย วาจา ใจ อย่างแยบยลหรือไม่ ซึ่งไม่เพียงจะต้องปราศจากพิษภัยเท่านั้น หาก จะต้องเป็นไปเพื่อเกื้อกูลประโยชน์อีกด้วย กล่าวคือ เราจะต้องพยายาม สร้างเงื่อนไขซึ่งจะเอื้อให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด เรียนรู้สิ่งที่พึงเรียนรู้ รวบ รวมวัตถุดิบต่าง ๆ ฯลฯ และท้ายที่สุด เราจะได้ไม่เหนื่อยหน่ายในการประ พฤติศีล
 
 
เราปฏิบัติขันติโดยการถือตามแนวทางเกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้อื่นโดยไม่ย่อ ท้อ ไม่ว่าเขาจะมีปฏิกริยาหรือมีท่าทีต่อเราเยี่ยงไรก็ตาม เรายังบ่มเพาะขันติ ขึ้นเพื่อเป็นยาถอนพิษต่อความโกรธเกลียดและความก้าวร้าว มีพุทธภาษิต อยู่ว่า " ในการต่อสู้กับมารแห่งโทสะนั้นไม่มีอะไรดีไปกว่าการฝึกขันติธรรม " มันยังก่อให้เกิดความสงบราบรื่นในดวงจิตและเอื้อต่อการตรัสรู้
 
 
มีขันติพื้นฐานอยู่สามประการด้วยกัน คือความอดทนต่อการบีบคั้นทำร้าย ของผู้อื่น อดทนต่อความยากลำบากในการปฏิบัติธรรมและยอมรับเข้าเผชิญ กับแก่ธรรมอันลึกซึ้งโดยไม่หวาดหวั่น
 
 
ขันติอาจนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล ทั้งในวงแคบและวงกว้าง เมื่อใดก็ตามที่มีปัจเจกหรือกลุ่มบุคคลก่อปัญหาความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แทน ที่เราจะตอบโต้ความก้าวร้าวนั้นด้วยโทสะ เราพึงเตือนสติตนเองว่าสัตว์ทั้ง มวลล้วนเคยเป็นบุพการีของเรามาก่อน เคยได้รับมอบความเมตตาใหญ่หลวง แก่เรา และด้วยเหตุแห่งอวิชชาที่ทำให้เขาไม่อาจเห็นถึงสายสัมพันธ์นี้ ทั้ง ไม่รู้ตัวว่ากำลังหว่านเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความทุกข์ โดยการไม่ตอบโต้ด้วย อาการดุจเดียวกัน เราย่อมก่อเกิดคุณแด่ทุกผู้ที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุที่ความอด ทนของเราจะช่วยสลายความก้าวร้าวและช่วยยุติปัญหามิให้ลุกลาม
 
 
ดุจดังองค์ศากยมุนีพุทธขณะประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ ณ พุทธคยา มีกองทัพ มารยกมาประจญ มารนี้คือพลังที่ผูกติดเราไว้กับวัฏสังสาร เป็นความพยา ยามครั้งสุดท้ายที่จะบำราบขัดขวางมิให้พระองค์บรรลุถึงนิพพาน มารเหล่า นี้ได้ระดมภูติผีทั้งมวลมาจู่โจมพระพุทธองค์ แต่ด้วยพลังแห่งขันติธรรม เมตตาธรรม กรุณาธรรม อันผุดขึ้นมาโดยธรรมชาติจากการตระหนักรู้ของ พระองค์ บรรดาศัตราวุธทั้งมวลของหมู่มารก็กลับกลายเป็นบุปผาลดาวัลย์ สิ้น
 
 
วิริยะยังหมายถึงการตระเตรียมเพื่อลงมือกระทำ เหมือนการใส่เกราะแห่ง ความเพียรเพื่อกระทำการจนกว่าจะลุล่วง โดยไม่หวนกลับคืน ไม่เพียงแต่ เราบ่มเพาะคุณสมบัติภายในขึ้นมาเท่านั้น หากยังรวมถึงศักยภาพที่จะช่วย เหลือเกื้อกูลผู้อื่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น มีผู้หนึ่งซึ่งเปี่ยมด้วยเมตตาและมี ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือบรรดาผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ทว่าการจะช่วยเหลือ ผู้ป่วยได้นั้น จำเป็นต้องทุ่มเทศึกษาเรียนรู้ในวิชาการแพทย์เสียก่อน
 
 
เราฝึกฝนความเพียรเพื่อที่จะได้บรรลุถึงจุดหมาย อันได้แก่ความสุขทั้งที่ เป็นสิ่งชั่วคราวและเที่ยงแท้แม้สักก้าวหนึ่ง อย่างน้อยเราก็ไม่ควรจะหด เท้ากลับ หากมุ่งมั่นไปทีละก้าว ทีละก้าวอย่างแช่มช้า แม้แต่ลาก็อาจเดิน ทางไปรอบโลกได้
 
 
เรายังฝึกจิตด้วยการเจริญสมถภาวนา คำภาษาทิเบตคือ ซัมเต็น ซัม หมาย ถึง " การคิด " การใช้จิตพิเคราะห์พิจารณา และ เต็น หมายถึง " มั่นคง " หรือ " ตั้งมั่น " ความจดจ่อตั้งมั่นแห่งดวงจิตนี้มีคำเรียกในภาษาทิเบตว่าซีเน ซึ่งจิตจะตั้งมั่นลงเป็นเอกัคคตาจิต จดจ่ออยู่ในธรรมารมณ์หรือใน สภาวธรรมหนึ่งใด
 
 
เอกัคคตาสมาธินี้หมายถึงการจดจ่ออยู่ในอารมณ์ภาวนาโดยไม่ส่ายไหว จิตจะไม่กวัดไกวไปสู่สิ่งอื่น แม้แต่อารมณ์ข้างเคียงอารมณ์นั้น ถ้อยคำ นั้นจะโน้มนำเราไปสู่ความหมายอันลุ่มลึก จิตจะตกกลับไปสู่สภาพดั้ง เดิมตามธรรมชาติ มิได้ถูกบดบังอยู่ด้วยกาลทั้งสาม หรือมองมัวด้วย ความทรงจำของอดีต ด้วยความคิดของปัจจุบัน หรือกังวลในอนาคต นี่คืออีกรูปลักษณ์หนึ่งของเอกัคคตาสมาธิ ส่วนอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งลุ่ม ลึกขึ้นไปอีกย่อมเจือผสานอยู่ด้วยปัญญาญาณทั้งหก ซึ่งทำหน้าที่ดุจ ฉนวนปกป้องเอกัคคตาสภาวะนี้ไว้
 
 
ปัญญาหรือปรีชาหยั่งรู้นี้ หมายถึงการรู้ในปรมัตถธรรมที่อยู่เหนือความ คิดแบ่งแยกสามัญ อยู่เหนือปีติภาวะอันเป็นของชั่วคราวอยู่เหนือความ แจ่มกระจ่างตั้งมั่น เหนือขึ้นไปจากปัญญา หามีสภาวธรรมอื่นอยู่ไม่ เหนือ ขึ้นไปกว่านี้หามีจุดมุ่งหมายใดอยู่ไม่
 
 
บารมีห้าประการแรกในบารมีหกยังอยู่ในระดับของการแบ่งแยก เรา-เขา ดังเช่น ทานบารมี ประกอบด้วยตัวผู้ให้ ตัวผู้รับและการให้ ผู้ให้ ผู้รับ และการให้เรียกว่า มิติทั้งสาม
 
 
การยึดติดอยู่ในความเป็นจริงของมิติทั้งสามถือว่ายังดำรงอยู่ในสมมติสัจจ์ ด้วยเหตุที่ความเป็นจริงนั้นมีอยู่สองแง่มุมคือ ปรมัตถสัจจ์ หรือความ เป็นจริงสูงสุด คือธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ดังที่มันเป็นกับสมมติสัจน์ หรือ ความเป็นจริงเชิงสัมพัทธ์ คืออาการที่ปรากฏเสมือนหนึ่งจริงในระดับ สามัญโลก สมมติสัจน์นี้ คำภาษาทิเบตเรียกว่า " คุนซ็อบ " คุน หมาย ถึง " ทั้งหมด " หรือ " หลาย " ซ๊อบ หมายถึง " สิ่งซึ่งมิได้เป็นจริง " ดัง นั้น คุนซ๊อบ จึงหมายถึง การสำแดงของหลากหลายปรากฏการณ์ซึ่งดู เสมือนหนึ่งบางสิ่ง ซึ่งหาได้เป็นจริงดังนั้นไม่
 
 
ดุจดังเด็กที่วิ่งไล่ไขว่คว้ารุ้งกินน้ำ เราก็ปฏิบัติต่อปรากฏการณ์แห่งห้วง ฝันนี้ดุจดังสิ่งอันมีแก่นสารและอาจยึดจับไว้ได้ ทว่าปรากฏการณ์เหล่านี้ หาได้จีรัง ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่ได้โดด ๆ โดยตัวมันเอง ดังเช่น ขุนเขาย่อม ประกอบขึ้นด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น หิน ดิน อะตอมธาตุ และโม เลกุล หามีสิ่งใดแยกขาดออกจากกันไม่ ทุกสิ่งย่อมเชื่อมโยงกระทบถึง กันสิ้น
 
 
เราเรียกขานปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า " ความจริง " ด้วยเหตุที่มันดูประ หนึ่งความจริงในห้วงฝันของเรา ดังเช่น ไฟ ถึงแม้ว่ามันจะมิได้ดำรง อยู่อย่างโดด ๆ เป็นอิสระจากเงื่อนไขอื่น ๆ แต่มันก็ยังอาจเผาเราได้ หากยื่นมือเข้าไปในนั้น ในกรณีนี้ ประสบการณ์เชิงสัมพัทธ์ของเรา เป็นจริง ในขณะเดียวกัน ธรรมชาติอันสูงสุดแห่งประสบการณ์ย่อม บริสุทธิ์หมดจดและไม่เป็นเปลี่ยนแปลง ว่างเปล่า ดุจดังความฝันยาม ค่ำคืน ในความฝันนั้นสิ่งต่าง ๆ ดูคล้ายอุบัติขึ้น ครั้นพอเราตื่นจาก หลับใหลกลับหามีสิ่งใดเกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ นี่คือธรรมชาติที่แท้แห่ง สังสารวัฏ
 
 
คุรุศานติเทพได้กล่าวไว้ว่า ปรมัตถสัจจ์ นั้นหาได้อยู่ในขอบข่ายของจิตใจ สามัญไม่ จิตใจสามัญพะวงอยู่แต่ความจริงตามแบบแผนเท่านั้น ขณะที่ ความจริงอันสูงสุดเป็นอิสระและอยู่เหนือนามธรรมความคิดอันละเอียด อ่อนซับซ้อน เราไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ่งต่าง ๆ ดำรงอยู่ หรือมิได้ดำรงอยู่ ว่ามีหรือไม่มี ขณะที่เราได้สดับธรรม ได้ตริตรึกเพ่งพินิจ ปัญญาความเข้า ใจของเราจะค่อย ๆ หยั่งลึก เป็นประสบการณ์ตรง และท้ายที่สุดย่อมประ จักษ์แจ้งอย่างมั่นคงในธรรมชาติอันสูงสุด เมื่อนั้นเราจะค้นพบ ดุจดังคำ ภาวนาทิเบตที่ว่า ปรมัตถธรรมนั้นหาใช่สิ่งที่ดำรงอยู่ไม่ เพราะแม้แต่พระ พุทธองค์ก็ยังมิอาจแลเห็นได้ กระนั้นก็ตามเราก็มิอาจปฏิเสธสมมติสัจจ์ โดยบอกว่าหาได้มีสิ่งใดดำรงอยู่ไม่ เพราะหากเป็นดังนั้นเราจะบรรยาย ถึงสังสารและนิรวาณ อันเป็นการสำแดงออกอย่างไม่มีสิ้นสุดของรูป ปรากฏได้อย่างไร คงมิใช่อาการอันเลื่อนลอยขัดแย้ง หากจะกล่าวว่า ธรรมชาติที่แท้ของสรรพสิ่งย่อมไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าในระดับสัมพัทธ- ภาวะมันย่อมสำแดงออกด้วยอาการอันแปรเปลี่ยนกลับกลาย ดุจดังอุบัติ ขึ้นในความฝัน ปรากฏการณ์ทั้งมวลนั้นหาได้ดำรงอยู่อย่างอันติมะไม่ แม้ว่ามันจะสำแดงออก ด้วยเหตุนี้เองเราจึงกล่าวว่าปรากฏการณ์ทั้งมวล ล้วนว่างเปล่า
 
 
ธรรมชาติอันว่างเปล่าของประสบการณ์ ธรรมชาติอันไม่มีเกิด ไม่มีตาย ไม่มีมาไม่มีไป ซึ่งอยู่เหนือสองขั้วของการมีอยู่และไม่มีอยู่นั้น ย่อมไม่ อาจแยกขาดออกจากการสำแดงออกโถมทยอยหนุนเนื่อง ธรรมชาติที่ แท้แห่งประสบการณ์เชิงสัมพัทธ์ของเราก็คือปรมัตถสัจจ์ ซึ่งเราเรียก ว่าญาณหยั่งรู้ถึงการไม่อาจแบ่งแยกระหว่างปรมัตถสัจจ์ ซึ่งเราเรียกว่า ญาณหยั่งรู้ถึงการไม่อาจแบ่งแยกระหว่างปรมัตถ์กับสมมติ
 
 
เมื่อเรานำญาณทัศนะไปใช้กับทานบารมี เราะจะข้ามพ้นความหมายสามัญ หากในฝันยามค่ำคืน เราได้มอบผลแอปเปิ้ล หรือขอทานไม่ เมื่อความเอื้อ เฟื้อของเราเปี่ยมด้วยปัญญา คือญาณหยั่งเห็นถึงธรรมชาติแห่งมิติทั้งสาม มันจะกลายเป็นทานอันสูงสุด ในขณะที่เรากระทำการเพื่อประโยชน์สุข ของผู้อื่น เรารู้ว่าการุณยกิจนั้นย่อมมีธรรมชาติอันว่างเปล่า ทว่ากลับมิได้ กระทำเป็นอื่น นี่คือแก่นแท้ของการบำเพ็ญบารมีหกและโพธิสัตวมรรค
 
 
การกระทำการเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นนี้เรียกว่า การสั่งสมบุญกุศล เรา ย่อมควบคุมจิตใจแบบแบ่งแยกนี้ไว้โดยอาศัยอุบายจากบารมีทั้งห้าในบารมี หก ภายใต้กรอบของบัญญัติเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่นภายในโลกแห่งความ ฝันแห่งประสบการณ์เชิงสัมพัทธ์นี้ ส่วนการฝึกการกำหนดรู้ภายในขอบข่าย ไร้บัญญัตินี้เรียกว่า การสั่งสมปัญญา " การกำหนดรู้ " ในที่นี้หมายถึง การ ตระหนักได้ถึงธรรมชาติที่แท้ของภูมิสาม โดยไม่ต้องอาศัยความคิด เราจึง ไม่ตกไปสู่ความเห็นอันสุดโต่งที่ว่าทุกสิ่งดำรงอยู่ตามที่ปรากฏ ทั้งไม่ตก ไปสู่ขั้วตรงข้ามที่ปฏิเสธว่าไม่มีสิ่งใดอุบัติขึ้น
 
 
ด้วยเหตุที่พื้นฐานแห่งประสบการณ์ของเรานั้นประกอบด้วยสมมติและ ปรมัตถสัจจ์ ดังนั้นเองทั้งการสั่งสมบุญและปัญญาจึงจำเป็นยิ่งสำหรับ การปฏิบัติ และไม่อาจขาดได้ในการบรรลุนิพพาน ด้วยเหตุที่ในพุทธ ศาสนานิกายวัชรยานคือมรรคาแห่งการหลอมรวมเข้าด้วยกัน หรือการ ไม่แบ่งแยก ระหว่างการสั่งสมบุญและปัญญา เราจะฝึกฝนการดำรง ญาณทัศนะเยี่ยงนั้นไว้แม้ในการใช้ชีวิตประจำวัน กระทำการด้วยอุบาย ในโลกสามัญโดยไม่สูญเสียการกำหนดรู้ถึงธรรมชาติอันเป็นแก่นแท้ของ กิจกรรมทั้งมวล การกำหนดรู้เยี่ยงนี้ถือเป็นจุดสุดยอดของโพธิจิต ขณะ ที่กรุณาปณิธานที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นนั้นเป็นเพียงกิจในโลกสมมติ เท่านั้น
 
 
ทั้งการสั่งสมบุญและปัญญาย่อมนำไปสู่การประจักษ์แจ้งในกายทั้งสอง คือ ธรรมกาย หรือดวงจิตตรัสรู้อันไร้รูป และนิรมาณกายหรือรูปกายที่ สำแดงออกเพื่อยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ดังนั้นเองพื้นฐานแห่งประ สบการณ์ของเราคือการหลอมรวมความจริงทั้งสองเข้าด้วยกัน และหน ทางของเราก็คือการหลอมรวมบุญบารมีและปัญญาเข้าด้วยกัน ซึ่งจะนำ ไปสู่มรรคผล คือการรวมกันเข้าของกายทั้งสอง ธรรมกายอันไร้รูปกับ นิรมาณกายของพระอริยเจ้า
 
 
และผลบุญที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม เราอาจอุทิศให้แก่สรรพสัตว์หาก คุณอาศัยอยู่ในบ้านที่มืดมิด แสงจากประทีปน้ำมันเนยแม้เพียงหนึ่งดวง ก็อาจส่องแสงวับแวมไปทั่วทั้งห้อง และทุกผู้คนที่อยู่ในนั้นก็อาจได้รับ ประโยชน์ เมื่อน้ำมันถูกเผาสิ้นแล้ว แสงก็จะดับวูบลง ผู้ใดก็ตามที่ช่วย เติมน้ำมันลงไปในประทีปย่อมช่วยให้แสงส่องสว่างอยู่สืบไป และทุกผู้ คน ผู้ใดก็ตามที่สร้างกุศลและอุทิศให้แก่สรรพสัตว์ย่อมช่วยให้ผลบุญ ของส่วนรวมนั้นดำรงอยู่ได้นานขึ้น
 
 
ศานติเทพเคยกล่าวไว้ว่า ลอมฟางแม้สูงใหญ่เท่าเขาพระสุเมรุก็อาจแผด เผาลงเป็นเถ้าเพียงด้วยประกายไฟเล็ก ๆ แม้บุญกุศลอันได้สั่งสมมานาน นับกัปกัลป์ทว่ามิได้อุทิศแด่สรรพสัตว์ กุศลเหล่านั้นก็อาจย่อยยับลงใน คราเดียวด้วยแรงโทสะ หากเราบำเพ็ญบุญบารมีด้วยปณิธานแห่งโพธิจิต และอุทิศผลบุญเหล่านั้นแด่สรรพสัตว์ กุศลเหล่านั้นย่อมไม่เสื่อมสูญ และ เพื่อการกระทำให้การอุทิศนั้นยิ่งทรงพลังแรงกล้า เราพึงภาวนาว่าขอให้ เป็นเฉกเช่นเหล่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งจักอุทิศกุศล ผลบุญแด่เหล่าสัตว์เสมอไป
 
 
การจะหันเหจิตไปสู่ความไม่เห็นแก่ตน เราจำเป็นต้องเพ่งพิจารณาโพธิ จิตครั้งแล้วครั้งเล่า ดุจดังการเพ่งพิจารณาทิฏฐิสี่ พึงเพ่งพินิจความกรุณา จินตนาการให้ตนเองได้ร่วมรับทุกข์ของผู้อื่น ครั้นแล้วก็ให้ดวงจิตพำนัก อยู่ตรงนั้น ตั้งใจที่จะกระทำทุกวิถีทางเท่าที่สามารถเพื่อช่วยปลดเปลื้อง ความทุกข์ของเหล่าสัตว์ และช่วยเขาเหล่านั้นให้ได้พบอิสรภาพ ให้ตื่น ขึ้นจากห้วงฝันแห่งทุกข์ ภาวนาขอพรจากไตรสรณคมน์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งมวลเพื่อให้ปณิธานนี้ได้บรรลุไพบูลย์ผล ครั้นแล้วพึงเพ่งพินิจอุเบกขา ธรรม ทุกข์อันเท่าเทียมกันของเหล่าสัตว์ ทั้งผู้ที่ทนทุกข์อยู่ในปัจจุบัน และ ผู้ที่จะต้องได้รับทุกข์เมื่อผลกรรมสุกงอม พึงพิจารณาความเมตตาเอื้อเฟื้อ ที่สัตว์เหล่านั้นเคยมอบให้ เป็นความเมตตาของมารดาผู้ถนอมกล่อมเลี้ยง ครั้นแล้วก็ผ่อนคลายดวงจิตลง ตั้งจิตมั่น ภาวนา กระทำดังนี้เรื่อยไป
 
 
หากคุณกระทำดังนี้ตลอดทั้งวัน หาช่วงเวลาสั้น ๆ กระทำภาวนาตามขั้น ตอนเหล่านี้ จิตใจของคุณย่อมเปลี่ยนแปลงไป ประสบการณ์แห่งสังสาร วัฏนั้นเป็นเหมือนกับการติดกับอยู่ในถุง ทุก ๆ ครั้งที่ชักนำดวงจิตไปสู่ การภาวนา เท่ากับเป็นการเจาะรูเล็ก ๆ ขึ้นบนถุงใบนั้น หากกระทำสืบ ต่อไปไม่หยุดยั้ง ถุงนั้นจะค่อย ๆ เปื่อยขาดไปจนกระทั่งคุณหลุดพ้นเป็น อิสระ เมื่อใดก็ตามที่คุณมีจิตเจตนาอันบริสุทธิ์ในทุกสิ่งที่กระทำลงไป ทุกกิจกรรมของเราก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติเช่นกัน
 
 
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
@ ถาม : การจะทำให้ความกรุณาของเรามีผลในทางปฏิบัติจำเป็นหรือไม่ ที่เราจะต้องออกไปสู่โลกและกระทำการดังเช่นช่วยเหลือคนไร้บ้าน
 
@ ตอบ : เป็นการดีหากปรารถนาจะช่วยเหลือผู้คนในทางใดทางหนึ่ง แต่ จะต้องระวังให้จงหนัก ด้วยเหตุที่พิษร้ายในดวงจิตอาจทำให้การกระทำ ของคุณมัวหมอง ดังเช่นคุณอาจคิดว่า " หากฉันได้ช่วยเหลือคนจร ก็นับ ได้ว่าฉันเป็นคนดี " หรืออาจรู้สึกทำนองว่า " ฉันก็ยังดีกว่าคนจร ตรงที่ฉัน ได้ช่วยเหลือเขา " หรือคุณอาจคิดว่า " ไปช่วยคนจรดีกว่า เพื่อที่ผู้คนจะได้ ไม่คิดว่าฉันปล่อยให้เขาต้องไปนอนตามข้างถนน " ถ้าหากคนที่คุณกำลัง หยิบยื่นขนมปังให้มากัดมือคุณและคุณรู้สึกโกรธ หรือถ้าหากเขาแย้มยิ้มให้ และคุณก็มีความสุข การกระทำดังกล่าวย่อมถือได้ว่ายังคงมัวหมองอยู่ด้วย ความสำคัญตนผิด ความติดยึดและความแค้นเคือง มลทินกิเลสเหล่านี้อาจ แสดงออกด้วยอาการอันละเอียดแยบยลยิ่ง นี่คืออุปสรรคซึ่งผู้คนเป็นอัน มากไม่อาจข้ามพ้น
 
หรือบางทีคุณสามารถช่วยเหลือผู้คนได้นับพันหรือนับหมื่น แต่เขาอาจ เกลียดคุณก็ได้ที่ไปช่วย หรือความพยายามของคุณอาจไม่เป็นผล และผู้ คนเหล่านั้นก็ยังทุกข์ยากอยู่ดี ยังคงไม่ได้นอนในบ้านแทนบาทวิถี
 
 
นี่ไม่ได้หมายความว่าเราควรจะทำตัวเมินเฉยไม่รู้สึกรู้สม เราพึงกระทำ ทุกวิถีทางเท่าที่สามารถเพื่อช่วยแบ่งเบาทุกข์ของผู้อื่นในปัจจุบัน แต่ใน ขณะเดียวกันเราจะต้องแผ่ขยายออกไปสู่ความทุกข์ยากเดือดร้อนของ สรรพสัตว์ทั้งมวลด้วย นับว่าสำคัญยิ่งที่เราจะต้องไม่มองแค่เฉพาะหน้า และจดจ่ออยู่กับความทุกข์ยากของมนุษย์จนลืมนึกถึงสัตว์ในภพภูมิอื่น ๆ ความทุกข์ของคนจรแม้นับว่าหนักหนาสาหัส แต่ก็มิได้ใหญ่หลวงไปกว่า ความทุกข์ทรมาณของสัตว์ในนรกภูมิ ความเดือดร้อนเฉพาะหน้าย่อมแตก ต่างจากความทุกข์ร้อนอันยิ่ง เราจะต้องไม่ใสซื่อเกินไปในเรื่องเหล่านี้
 
 
ก่อนที่เราจะสามารถช่วยผู้อื่นได้อย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องบ่มเพาะคุณ สมบัติด้านดีในตัวให้กล้าแข็งเสียก่อน เมื่อนั้นเราจึงจะไม่ตอบโต้ความ โกรธด้วยความโกรธ ทว่าตอบรับด้วยเมตตา การจะช่วยผู้ที่กำลังจมน้ำ ได้ เราจำต้องว่ายน้ำให้เป็นก่อน หาไม่แม้ว่าเราอยากจะช่วยก็คงต้องจม น้ำไปด้วยกันเป็นแน่
 
กล่าวสั้น ๆ ก็คือ เราจำเป็นต้องปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยสิ่งนี้จะช่วยให้เรา เปี่ยมด้วยศักยภาพที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้มากขึ้น เราจะสามารถช่วยเขาได้ ทั้งในระดับตื้นและลึก เราไม่บังควรคิดว่า " ฉันไม่มีเวลาจะมาฝึกสมาธิ หรอก เพราะต้องทำงานอยู่แต่ในครัว " เราควรจะหาทางทำทั้งสองอย่าง ไปพร้อม ๆ กัน
 
 
เราควรจะสัมผัสความทุกข์ดูด้วยตัวเองเพื่อที่จะได้เข้าใจความทุกข์ของผู้ อื่น มิเช่นนั้น การกระทำเพื่อผู้อื่นจะกลายเป็นแค่ทฤษฎี ถ้าหากลูกของ คุณเกิดตกลงไปในหลุมลึกนอนรอชะตากรรมอยู่ คุณคงจะกระทำทุกวิถี ทางเพื่อที่จะช่วยลูกออกมา หัวใจคุณคงจะต้องทนทุกข์ปวดร้าวจนกว่าจะ สามารถช่วยลูกให้รอดปลอดภัย คุณพึงรู้สึกอย่างเดียวกันต่อสรรพสัตว์ อื่น ๆ ซึ่งได้เคยเป็นบุตรหรือเป็นบุพการีของคุณมาก่อน
 
 
ทว่าความกรุณาอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ คุณคิดว่าควรจะช่วยผู้อื่นโดย การนำตัวมาจากข้างถนนและให้ที่พัก หากเข้าใจเพียงแค่นั้นก็ยังนับว่า จำกัด คุณจำต้องลงลึกให้ถึงมูลเหตุแห่งปัญหาเพื่อหาทางช่วย เพื่อประ โยชน์เฉพาะกาลและอุดมผล มิเช่นนั้น คุณก็อาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิต พยายามช่วยผู้อื่น แต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน คุณยังมิได้บรรลุถึงอิสรภาพ และ ผู้คนที่คุณพยายามช่วยก็เช่นกัน คุณอาจสร้างภาพฝันสวยหรูให้ตนเอง และผู้อื่น แต่เมื่อพิจารณาจากสภาวจิตในขณะกระทำการ คุณอาจสำเร็จ ผลไม่มากนัก
 
 
แต่หากคุณมีจิตใจและเจตนาอันบริสุทธิ์ แผ่กว้างและปราศจากมลทิน กิเลส เมื่อนั้นแม้แต่การกระทำที่ดูเล็กน้อยไร้ค่าที่สุดก็กลับก่อเกิดผลบุญ ยิ่งใหญ่ ยิ่งกว่าการกระทำอันดูยิ่งใหญ่เปี่ยมบุญกุศลภายนอกเสียอีก
 
เจตนาเป็นตัวตัดสินแต่ละการกระทำที่เป็นกุศลหรืออกุศล ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณมอบบางสิ่งบางอย่างให้เป็นทาน ผลบุญที่ได้รับย่อมไม่อาจเทียบ เคียงได้กับสิ่งที่มอบให้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ ถ้าคุณมอบสิ่งอันล้ำค่าให้ ด้วยความมุ่งหวังอันเห็นแก่ตัว ผลบุญย่อมมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หาก คุณมอบสิ่งเล็ก ๆ ให้ด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ บุญกุศลย่อมยิ่งใหญ่ไพศาล
 
 
ยังมีนักปฏิบัติผู้หนึ่งซึ่งปลีกเร้นกระทำสมาธิภาวนาอย่างหนักหน่วงทั้ง วันทั้งคืน อยู่มาวันหนึ่งเมื่อรู้ว่าโยมอุปัฏฐากจะมาเยือน ท่านก็รีบทำความ สะอาดหิ้งบูชาล้างจอกน้ำและปัดกวาดห้องพระ ขณะที่ท่านนั่งลงพักท่าน ก็ถามตนเองว่า " ฉํนทำสิ่งเหล่านี้ไปทำไม เจตนาของฉันหาได้บริสุทธิ์ไม่ " ดังนั้นจึงลุกขึ้นนำเถ้ามาโปรยลงบนหิ้งพระและทั่วทั้งพื้นห้อง
   
การตีลูกนั้นดูน่าอายและคล้ายจะเป็นบาป แต่หากการตีนั้นเป็นเพียง วิธีเดียวที่จะกำราบมิให้เขาทำสิ่งผิด เมื่อนั้นนับว่าเป็นกุศลอันใหญ่
 
 
ความสัตย์ซื่อนั้นนับว่าเป็นคุณธรรมประการหนึ่งและจำเป็นอย่างยิ่งที่ เราจะต้องพูดความจริง แต่ควรจะกระทำด้วยเจตนาอันเหมาะสม ที่คุณ พูดความจริงนั้นเพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก หรือเพราะเห็นว่าการ พูดความจริงจะก่อให้เกิดผลดีต่อทุกคน ถ้าคุณพูดความจริงเพียงเพื่อ พิสูจน์ยืนยันตนเอง นั่นก็เป็นเพียงการกระทำจากทิฏฐิมานะเท่านั้น
 
 
สมมติว่าคุณกำลังอยู่ในสถานการณ์ซึ่งมีชายผู้หนึ่งวิ่งผ่านคุณไปด้วย อาการหวาดกลัวและหลบเข้าไปทางประตูนั้น อีกชั่วขณะต่อมามีคน ถือมีดไล่ตามมา และถามคุณว่า " มันไปทางใหน " คุณจะตอบตาม ความสัตย์หรือจะปฏิเสธว่าไม่เห็น สิ่งที่ดูเหมือนการกระทำอันเป็น อกุศลก็อาจนับเป็นกุศลกรรมได้ หากกระทำลงไปอย่างมีเหตุผล
 
 
ในกรณีนี้โพธิสัตว์ย่อมเลือกที่จะพูดปด โดยพร้อมที่จะรับบาปเสียเอง โพธิสัตว์ย่อมไม่ปรารถนาให้คนผู้นั้นถูกฆ่า หรือคนที่จะฆ่าก่อกรรมทำ เข็ญขึ้น
 
 
@ ถาม : บางครั้งผมพยายามเต็มที่เพื่อจะทำให้ดีที่สุด แต่ยังรู้สึกว่าสิ่ง ที่กระทำลงไปไม่ได้ก่อเกิดผลอะไรนัก
 
 
@ ตอบ : มีเรื่องเล่าถึงหญิงผู้หนึ่งซึ่งเดินทางไปยังอารามอันงดงามแห่ง หนึ่งในลาซา เพื่อไปไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งกล่าวกันว่าพระพุทธ องค์ทรงประทานพรให้แก่รูปนนั้นด้วยพระองค์เอง ด้วยเหตุที่นางเป็นคน ยากจนเข็ญใจจึงไม่มีสิ่งใดไปบุชานอกจากซุปหัวเทอร์นิป นางจึงกล่าว แก่พระพุทธรูปว่า " บางทีพระองค์อาจไม่ชอบซุปหัวเทอร์นิป แต่ข้าน้อย ก็มีแต่สิ่งนี้เท่านั้นที่จะนำมาถวาย " นี่ก็คล้ายกับเรื่องราวของเรา เราอาจ ไม่ชอบของที่เรานำไปบูชานัก แต่หากเราได้ทำดีที่สุดแล้ว ก็ทำได้เพียง แค่นั้น
 
 
ครั้นเมื่อมาดูกันเรื่องเจตนา ครั้งหนึ่งยังมีคนผู้หนึ่งซึ่งสร้างบุญด้วยการ ปั้น ซา-ซา หรือรูปปั้นเล็ก ๆ ของเหล่าอริยสัตว์ วันหนึ่งคนผู้นี้นำรูป ปั้นเล็ก ๆ นี้ไปวางไว้มทางแล้วจากไป
 
 
มีชายผู้หนึ่งผ่านทางมา และเห็นฝนซัดสาดรูป ซา-ซา นั้น จึงคิดขึ้นว่า " น่าอนาถแท้ ที่รูปปั้นี้จะต้องละลายไปในสายฝน " สิ่งดียวที่เขาหาได้ ในขณะนั้นคือส้นรองเท้าที่ทิ่งอยู่ ดังนั้นเขาจึงนำส้นรองเท้าที่ทิ้งอยู่ ดังนั้นเขาจึงนำส้นรองเท้าไปวางบังฝนให้รูปนั้น แล้วจากไป
   
มีชายคนที่สามผ่านมาเห็นส้นรองเท้าวางอยู่เหนือรูป ซา-ซา นั้น จึงคิดอยู่ ในใจว่า " ช่างทุศีลยิ่ง ที่มีคนนำเอาส้นรองเท้าไปวางไว้เหนือรูปปั้นอริย บุคคลเยี่ยงนี้ " ดังนั้นเขาจึงจับมันขว้างทิ้งไป
 
แต่ละคนล้วนมีเจตนาอันเป็นกุศล และการกระทำของทุกคนล้วนเป็นไป เพื่ออริยจิต
 
 
@ ถาม : เป็นไปได้หรือไม่ที่การกระทำเดียวกันภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่าง ย่อมก่อให้เกิดผลบุญที่แตกต่างกันไป
   
@ ตอบ : ขึ้นอยู่กับว่ากระทำกับผู้ใด ถ้าหากคุณให้ทานกับคนยากจนอด อยากหิวโหย หรือให้ทานกับคนผู้ไร้ที่พึ่งพิง ทานนั้นย่อมเปี่ยมกุศลยิ่ง กว่าที่กระทำกับผู้คนทั่วไป ที่เป็นดังนี้เพราะความตื้นตันยินดีของผู้ขัดสน เหล่านั้นเปี่ยมล้นยิ่งกว่า ทั้งการให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติธรรมยังก่อให้เกิดผล บุญยิ่งกว่าทานที่ให้แก่ผู้คนสามัญ ด้วยเหตุที่ผู้ปฏิบัติย่อมอุทิศกุศลผลบุญ ของตนให้แก่สรพสัตว์และทานเดียวกันนี้ที่มอบแด่ผู้ปฏิบัติผู้บรรลุธรรม ก็ยิ่งก่อให้เกิดผลบุญอันใหญ่หลวง ด้วยเหตุที่พลังแห่งการประจักษ์แจ้ง ของคนผู้นั้นย่อมโน้มนำไปสู่ความปีติยินดีและการอุทิศกุศลทั้งมวลแด่เหล่า ชนซึ่งผู้ปฏิบัตินั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย
 
 
@ ถาม : ท่าพอจะกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสบการณ์การเข้าถึงธรรม ชาติที่แท้อีกสักเล็กน้อยได้หรือไม่
 
@ ตอบ : ลำพังแค่การพูดถึงคงไม่ช่วยอะไรได้มาก คงจะดีกว่า หากละ ทิ้งความคาดหวังและความหวาดหวั่นลงเสีย สงบจิตรำงับลง และปล่อย ให้ประสบการณ์อันอยู่เหนือความคิดนั้นผุดขึ้นมา นั่นมิใช่สภาวะอันทึบ ทึมซึมเซาไม่เหมือนกับการตกอยู่ในอาการโคม่า
 
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าธรรมชาติที่แท้ของเราเป็นดังนั้น หามีถ้อยคำเรียก ขานไม่ หากคุณมีถ้อยคำที่สามารถอธิบายได้ ก็เท่ากับติดอยู่ในความคิดและ หลงทางอยู่ในนั้น สัจจะนั้นอยู่แบชิดยิ่ง ทว่าเรากลับมิได้ตระหนักถึง
 
มันเป็นเหมือนกับม้าที่อยู่ในคอกใต้ถุนบ้าน เราเที่ยวค้นหาไปทั่ว ตามรอย มันไป สงสัยว่ามันอยู่ที่นี่หรืออยู่ที่ไหนกันแน่ คิดว่าเป็นสิ่งนี้หรือสิ่งนั้น แต่ มันกลับมิได้อยู่ที่ใดเลย และมิใช่อะไรทั้งสิ้น เป็นเพราะความคิดและอวิชชา ในดวงจิตของเราเท่านั้นที่บดบังมิให้แลเห็น เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้รับการชำระ ล้าง เราย่อมประจักษ์แจ้งถึงธรรมชาติของเราได้โดยตรงตามที่มันเป็น
 
 
ผู้ที่ไม่เคยได้ลิ้มรสน้ำตาลอาจเที่ยวถามใครต่อใครว่ามันมีรสชาติอ่างไร คำ ตอบก็อาจเป็นทำนองว่า " มันมีรสหวาน " แต่ " หวาน " นั้นเป็นอย่างไรเล่า คงไม่มีทางที่จะอธิบายได้ คุณจำต้องลิ้มรสด้วยตัวเอง ในทำนองเดียวกัน ประ สบการณ์ตรงถึงธรรมชาติที่แท้นั้นก็ไม่อาจอธิบายด้วยถ้อยคำ
 
 
@ ถาม : ม้าที่อยู่ในคอกใต้บ้านนั้นมีหลายตัวหรือตัวเดียว
 
 
@ ตอบ : อาจกล่าวได้ว่ามีหลายตัว นี่ดูจะใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า ถ้าหากมีม้าเพียงตัวเดียวและมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีม้า ก็หมายความว่า คนอื่น ๆ นั้นหามีไม่ แท้จริงแล้วสัตว์ทุกรูปทุกนามล้วนมีธรรมชาติแห่ง พุทธะ อย่างไรก็ตามหากคนผู้หนึ่งได้ประจักษ์แจ้งถึงธรรรมชาติที่แท้ของ ตน ก็มิได้หมายความว่าทั้งหมดจะตรัสรู้ด้วยในทำนองเดียวกันนี้ คนผู้ หนึ่งอาจต้องทนทุกข์อยู่ในนิรยภูมิ แต่มิได้หมายความว่าทุกผู้คนต้องอยู่ ในนรกเช่นกัน
 
แต่ถ้าเราคิดว่ามีม้าอยู่หลายตัว เราก็เริ่มจะแลเห็นความแตกต่าง ดังเช่น ม้าตัวใหญ่ ตัวเล็ก สูงหลายคืบ หลายศอก ฯลฯ ทว่าเราไม่มีทางหยั่งถึง สัจจะธรรมชาติของเรา ด้วยเหตุว่าความว่างนั้นหาได้มีขอบเขตอันจำกัด ไม่ ในทำนองนี้คุณก็อาจกล่าวได้ว่า เรากำลังพูดถึงม้าตัวอื่น
   
ทว่าโดยสารัตถะแล้ว คุณก็ไม่อาจกล่าวได้ทั้งสองอย่าง ว่ามีเพียงหนึ่ง หรือหลาย คุณกำลังถามในระดับของการแบ่งแยกและเปรียบเทียบ และ ข้าพเจ้าก็ตอบในระนาบเดียวกัน ทว่าสัจธรรมนั้นอยู่พ้นไปจาก " หนึ่ง " หรือ " หลาย "
   
@ ถาม : ท่านได้กล่าวถึงอุบายวิธีหลายประการด้วยกัน เราจะรู้ได้ อย่างไรว่าจะใช้วิธีไหนและเมื่อใด
 
@ ตอบ : จิตใจอันคับแคบของเราสร้างกำแพงขึ้นล้อมรอบตัวเอง ผนัง ห้องนี้กางกั้นจทำให้ดูเหมือนว่าฟากฟ้าภายนอกนั้นแตกต่างจากพื้นที่ ว่างภายใน ทว่าโดยพื้นฐานแล้วหามีความแตกต่างใดไม่ ในทำนองเดียว กันก็หาได้มีความแตกต่างใด ๆ ไม่ระหว่างธรรมชาติที่แท้แห่งกาย วาจา ใจ ของเราและอริยสัตว์ ธรรมชาติอันสูงสุดนั้นไร้ต้นกำเนิดและไม่ มีที่สิ้นสุด ดุจดังฟากฟ้า
 
 
ดังนั้นเราจะทลายกำแพงลงได้อย่างไร แรกสุดเราต้องพิจารณาดูความ ทุกข์ของผู้อื่น แผ่ความกรุณาออกและให้ดวงจิตผ่อนพักอยู่ในนั้น ครั้น แล้วเราก็นึกจินตนาการมอบความสุขของเราแลกกับความทุกข์ของผู้อื่น ครั้นแล้วก็ผ่อนพักดวงจิตอีกครั้ง
 
 
เมื่อเริ่มแรกปฏิบัติสมาธิภาวนา เราเพ่งพิจารณาพรหมวิหารสี่ ครั้นแล้ว ค่อย ๆ ก่อเกิดการตระหนักรู้ขึ้นในการปฏิบัติ ถึงมายาสภาวะแห่งประ สบการณ์ของเรา ซึ่งจะโน้มนำให้เกิดความกรุณาต่อผู้ที่ไม่เข้าใจ ขณะ ที่การปฏิบัติและญาณทัศนะของเรายิ่งลุ่มลึกขึ้น เราจะเริ่มตระหนักถึง ธรรมชาติอันแท้จริงของรูปปรากฏอันเป็นชั่วคราวเหล่านี้ ดังกระแส คลื่นอันถาโถมทยอยในมหาสมุทรเท่านั้น หากปราศจากมหาสมุทร ก็ หามีคลื่นได้ไม่ ความเข้าใจดังนี้จะไปสู่การปรับเปลี่ยนมุมมอง มิใช่ประ สบการณ์ภายนอกของเราได้เปลี่ยนไปตามที่เราแลเห็น นี่เป็นเหมือนดั่ง การสวมแว่นที่แตกต่างจากอันเดิม
 
 
ถ้าหากเราเป็นไข้ เราต้องกินยาที่เหมาะสมแก่อาการ แต่ถ้าความยึดมั่น ถือมั่นในทางโลกของเราเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้ปฏิบัติธรรมอย่างพาก เพียร เราจะต้องเพ่งพิจารณาอนิจจังและความทุกข์ในสังสารวัฏ เพื่อตระ หนักถึงมายาแห่งชีวิตในทางโลก แต่ถ้าจุดของเราอยู่ตรงความเห็นแก่ ตัวและความโลภ เราจะเพ่งพิจารณาความทุกข์ของผู้อื่นและฝึกฝนความ กรุณา การจะตระหนักรู้ถึงการแบ่งแยกในดวงจิต เราจะปล่อยให้จิตใจ ได้ผ่อนพัก ดังนั้นไม่ว่าจะมีพิษร้ายหรือปัญหาใดอุบัติขึ้นในดวงจิต เรา ย่อมหายาแก้ที่เหมาะสม
 
 
องค์ศากยมุนีพุทธทรงกล่าวว่ามีแปดหมื่นสี่พันวิธีในการไถ่ถอนอวิชชา ในดวงจิต นี่ไม่ได้หมายความว่าเราแต่ละคนจะต้องฝึกฝนอุบายทั้งหมด นี้ ด้วยว่าในร้านขายยานั้นย่อมมีตัวยาอยู่นับร้อยนับพัน ทว่าคนแต่ละคน ย่อมซื้อหามาเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่มียาขนานใดรักษาโรคได้ทุกโรค ทั้งไม่มีขนานใดทรงประสิทธิภาพตลอดการรักษา ดังเช่น หลังจากหาย ไข้แล้ว เราอาจต้องใช้ยาตัวใหม่เพื่อขจัดพิษออกจากร่างกาย
 
 
ที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องตระหนักว่าตัวเรานั้นป่วยไข้และจำเป็นต้องทำ การรักษาให้หายขาดด้วยความใส่ใจและอดทนพวกเพียร เมื่อนั้นย่อมมี ความเปลี่ยนแปลงอุบัติอย่างไม่ต้องสงสัย
 
 
* จาก ประตูสู่การภาวนา *
-ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
- แห่งวัชรนิกายของทิเบต-

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด ขอบคุณครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~