ผู้เขียน หัวข้อ: ลิงหลอกเจ้า : ตันตระ รูป คือ ประภัสสร  (อ่าน 4462 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ตันตระ

 
หลังจากที่โพธิสัตว์ได้ใช้คมดาบแห่งปรัชญา ฟันทะลุบัญญัติตายตัว ทั้งหลายแล้ว เขาจะเริ่มเข้าใจได้ว่า " รูปก็คือรูป ความว่างเปล่าก็คือ ความว่างเปล่า " ถึงจุดนี้ เขาจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ได้อย่าง คมชัดและช่ำชอง ขณะที่เขายังดำเนินต่อไปตามโพธิสัตว์มรรค ปรัชญา และกรุณาจะหยั่งลงลึกยิ่งขึ้น เขาจะประสบกับความสำนึกรู้ด้วยความ เท่าทัน แลเห็นที่ว่างและหยั่งสู่ความสงบรำงับได้ยิ่งขึ้น ความสงบรำงับ ที่กล่าวนี้ ย่อมแข็งแกร่งมั่นคง มีอำนาจอย่างล้นเหลือ เราจะเป็นคนสงบ รำงับอย่างแท้จริงไม่ได้ ถ้าเราไม่มีคุณลักษณ์อันสงบนิ่งที่ไม่คลอนแคลน ภายในตัวเรา ความสงบที่คลอนแคลน ดำรงอยู่ชั่วคราว ย่อมถูกรังควาน ได้เสมอ ถ้าเราพยายามโอบอ้อมอารี พยายามสงบรำงับอย่างไม่รู้ประสี ประสาเสียแล้ว การเผชิญหน้าสภาพการณ์แปลก ๆ ที่ไม่เคยคาดคิดมา ก่อน จะรังควานความรู้สึกสงบของเราได้ เพราะความสงบเยี่ยงนั้น หา มีพลังในตัวไม่ หามีลักษณะพิเศษอย่างใดไม่ ฉะนั้น ความสงบจึงต้อง แข็งแกร่ง ลงรากลึกและมั่นคง ทั้งจะต้องมีคุณลักษณะอันมั่นคงดุจผืน แผ่นดิน และอำนาจที่กล่าวข้างต้นหากเป็นในแง่ของอัตตา เราก็มักจะ สำแดงอำนาจนั้นและใช้เป็นเครื่องมือในการตีกระทบรากฐานของคนอื่น แต่ในแง่ของโพธิสัตว์ เราย่อมไม่ใช้อำนาจของเราตีกระทบผู้อื่น หาก ดำรงอยู่อย่างสงบรำงับ


ท้ายที่สุด เราก็มาถึงลำดับที่สิบ อันเป็นขั้นสุดท้ายแห่งโพธิสัตวมรรค คือ การดับไฟแห่งศูนยตา และถือกำเนิดสู่ " ความสว่าง " ศูนยตาใน ฐานะตัวประสบการณ์จะหายไป สำแดงแต่คุณลักษณ์อันสว่างอยู่ของ รูปทั้งปวง ปรัชญาจะกลายเป็นญาณ แต่การประสบกับญาณนี้ จะยังคง เป็นการค้นพบภายนอก ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยอำนาจการพลิกของ สมาธิดั่งวัชระ นำโพธิสัตว์สู่ภาวะเป็นญาณ ยิ่งกว่าจะรู้ญาณ ชั่วขณะ ดังกล่าวคือ ชั่วขณะแห่งโพธิ แห่งการ " ตื่น " เป็นประตูสู่ตันตระ ใน ภาวะแห่งการตื่นขึ้นนี้ คุณลักษณ์อันสว่างและสดใสของพลังทั้งหลาย จะบรรเจิดจ้ายิ่งขึ้น


หากเราเห็นดอกไม้ เราจะไม่เพียงแต่เห็นมันชนิดที่ปราศจากความซับซ้อน ของอัตตา หรือรูปแบบบัญญัติใด ๆ เท่านั้น หากเรายังเห็นความแวววาว ของดอกไม้ด้วย เพราะเมื่อความสับสนอันเป็นเครื่องกั้นระหว่างเรากับดอก ไม้ถูกรื้อถอนไปในฉับพลัน บรรยากาศย่อมกลับกลายเป็นแจ่มใส


คำสอนเบื้องต้นของมหายานนั้น เกี่ยวพันกับการพัฒนาปรัชญา หรือความ รู้ในขั้นโลกุตระ ส่วนคำสอนเบื้องต้นของตันตระนั้น เกี่ยวพันกับการกระ ทำการร่วมกับพละ ในกริยาโยคะตันตระ แห่งวัชรมาลา อธิบายพละว่าเป็น " สิ่งที่ดำรงอยู่ในหัวใจของภาวะทั้งปวง เป็นความเรียบง่ายที่ดำรงอยู่เอง เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนให้เกิดญาณ แก่นสารอันไม่อาจล่วงเกินได้นี้คือ พละอัน เปี่ยมด้วยปิติ แผ่ไปอย่างทั่วถึง ดั่งที่ว่างอันไพศาลและนี้เป็นธรรมกายแห่ง การไม่อิงอาศัยสิ่งใด " ตามเนื้อความแห่งตันตระนี้ " พละนี้คือตัวพยุงความ รู้ดั้งเดิมซึ่งรับรู้โลกแห่งปรากฏการณ์ พละนี้ก่อให้เกิดการปฏิสนธิได้ ทั้ง แก่ภาวะใจที่ตรัสรู้หรือสับสนวุ่นวาย ที่ไม่อาจล่วงเกินได้ก็เพราะพละนี้มี อยู่ไม่ขาดสาย เป็นแรงผลักดันแห่งอารมณ์และความนึกคิดทั้งปวงในภาวะ สับสน และยังเป็นแรงผลักดันแห่งกรุณาและญาณในภาวะตรัสรู้ "


ในอันที่จะกระทำการร่วมกับพละนี้ โยคาวจรจะต้องเริ่มด้วยกระบวนการ ยอมละวาง และบำเพ็ญศูนยตาธรรมที่มองพ้นสมมติบัญญัติทั้งปวง เขาจะ ต้องดำดิ่งผ่านความสับสน แลเห็นได้ว่า " รูปก็คือรูปและความว่างเปล่านั้น ว่างเปล่า " จนที่สุด เขายังต้องฟันทะลุการอิงอาศัยประสบการณ์ศูนยตาให้ เห็นความสว่างแห่งรูป เห็นแง่มุมอันแจ่มกระจ่าง เที่ยงตรงและสดใสของ สรรพสิ่ง ถึงจุดนี้ ประสบการณ์ทั้งหลายในชีวิตประจำวันที่ผ่านอายตนะทั้ง ปวงเข้ามา จะเป็นประสบการณ์อันเปลือยเปล่า เพราะมันจะตรงแน่วชนิด ที่ไม่มีม่านกรองระหว่างตัวเขากับ " สิ่งนั้น " แต่หากโยคาวจรกระทำการ ร่วมกับพละนี้โดยไม่ได้ผ่านประสบการณ์แห่งศูนยตาแล้วไซร้ เมื่อนั้นอาจ ก่อเกิดเภทภัยและอันตรายอย่างใหญ่หลวง ยกตัวอย่างเช่น ในการปฏิบัติ โยคะอาสนะบางท่วงท่า ซึ่งมีผลในทางกระตุ้นเร้าพละบางอย่างในตัว อาจ ไปปลุกเร้าพละของตันหา ความโกรธ ความอหังการและอารมณ์ฝ่ายต่ำ อื่น ๆ ให้ลุกโพลงขึ้นอย่างรุนแรง จนกระทั่งเราไม่รู้ว่าจะผ่อนมันออกไป อย่างไรดี ในพระคัมภีร์ก็มีกล่าวถึงโยคาวจรผู้ซึ่งมัวเมาอยู่ด้วยพิษร้ายของ พละนี้ ท่านเปรียบว่าเป็นดั่งช้างเมามันซึ่งเพ่นพ่านออกอาละวาดไปทั่ว


คำสอนของตันตระข้ามพ้นอคติแบบ " การแลเห็นเหนือขึ้นไป " ของแนว ความคิดแบบโลกุตระ ที่ว่า " รูปก็คือรูป " เมื่อเรากล่าวถึงโลกุตรธรรมใน สายมหายาน เราหมายถึงการอยู่เหนืออัตตา แต่ในสายตันตระเรามิได้พูด ถึงการอยู่เหนืออัตตาเลย เพราะนั่นเป็นทัศนะที่แบ่งแยกเกินไป ตันตระยัง คมชัดยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีปัญหาในทำนองที่ว่า " จะไปที่นั่น " หรือ " จะ อยู่ที่นั่น " ในสายตันตระพูดเพียงการดำรงอยู่ที่นี่ มันพูดถึงเรื่องการแปร เปลี่ยนกลับกลายดังในวิชาเล่นแร่แปรธาตุ เช่นว่า เนื้อแท้ของโลหะธาตุ ที่เป็นตะกั่วมิได้ถูกปฏิเสธ หากตะกั่วถูกเปลี่ยนให้เป็นทองคำ คุณไม่จำ เป็นต้องเปลี่ยนคุณสมบัติของโลหะอันเป็นธาตุมูลเดิมของมัน คุณเพียง แต่ทำให้มันกลับกลายไปเท่านั้น


ตันตระเป็นคำที่มีความหมายในนทำนองเดียวกับธรรมะหรือหนทาง การ ปฏิบัติตันตระส่งผลให้อัตตาแปรเปลี่ยนกลับกลายไป เอื้อให้ความรู้ดั้ง เดิมฉายแสงสาดส่องผ่านออกมา คำว่า " ตันตระ " หมายถึง " ความต่อ เนื่อง " มันเหมือนดังสายเชือกที่ร้อยรวมลูกปัดเข้าไว้ด้วยกัน สายเชือก นั้นแลคือวิถีทาง ในขณะที่ลูกปัดเป็นพื้นฐานแห่งการงานในการฝึกฝน ตันตระซึ่งก็คือ ขันธ์ทั้งห้าหรือปัจจัยห้าประการที่ประกอบกันขึ้นเป็น อัตตา เช่นเดียวกับศักยภาพดั้งเดิมของความเป็นพุทธะซึ่งซ่อนเร้นอยู่ใน ตัว คือความรู้ดั้งเดิมนั่นเอง

ปัญญาญาณของตันตระนำนิพพานกลับคืนสู่วัฏฏสงสาร นี่ออกจะดูน่า ตระหนกอยู่สักหน่อย ก่อนที่จะเข้าถึงตันตระ คุณพยายามที่จะละทิ้ง สังสาระ ดิ้นรนเพื่อบรรลุถึงนิพพาน แต่ผลที่สุดคุณก็จำต้องตระหนัก ได้ถึงความไร้สาระของการดิ้นรนดั่งกล่าว ดังนั้นเองคุณจึงกลายรวม เข้าเป็นหนึ่งเดียวกับนิพพานอย่างสมบูรณ์ ในการที่จะจับกระแสพลัง ของนิพพานไว้ได้และรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวนั้น คุณจำต้องเข้าร่วมอยู่ กับโลกสามัญ ดังนั้นเอง คำว่า " ญาณสามัญ " ทมัล - กยี - เชปะ จึงถูก ใช้เป็นอันมากในแนวทางสายตันตระ มันเป็นไปอย่างสามัญยิ่งในทำนอง ที่ว่า " รูปก็คือรูป ความว่างเปล่า ก็คือความว่างเปล่า " มันเป็นดังที่มัน เป็นนั้นเอง เราไม่อาจปฏิเสธการดำรงอยู่แห่งกายสภาพของโลกที่เป็น จริงว่าเป็นสิ่งที่เลวและโน้มไปทางสังสาระ คุณอาจจะเข้าใจถึงแก่นแท้ ของนิพพานได้ก็เพียงการมองให้เห็นแก่นแท้ของสังสาระเท่านั้น ดังนั้น หนทางนี้จึงหมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่อยู่เลยไปจากการขึ้นอยู่เหนือการ แบ่งแยก เป็นบางสิ่งบางอย่างที่มากไปกว่าความเข้าใจแบบอทวิลักษณ์ คุณ คุณจะสามารถแลเห็นถึงความไม่แบ่งแยก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเห็น ถึง " ธรรมชาติ " ของความไม่แบ่งแยกได้ ซึ่งหมายถึงคุณจะแลเห็น เกินขึ้นไปจากศูนยตาซึ่งเป็นแง่มุมปฏิเสธ คือการปฏิเสธการแบ่งแยกนั่น เอง ดังนั้นเอง คำว่า " ศูนยตา " จึงไม่ใช้กันบ่อยนักในตันคระ แต่คำ ว่า ตถตา " เป็นดังนั้น " กลับใช้กันบ่อยยิ่ง " ศูนยตา " หรือ " ความว่าง " คำธิเบตว่า " เออเซ็ล " ( osel ) หรือประภัสสร ซึ่งหมายถึง " ความ สว่างไสว " นี้เป็นคำที่ใช้กันมากเช่นกัน มากยิ่งกว่า " ศูนยตา " คุณจะ พบหลักฐานปรากฏชัดในคำสอนสายตันตระ เมื่อครั้งปัจฉิมเทศนาของ พระพุทธองค์ ( Last Turning of the Whell of Dharmma ) แทนที่จะ ตรัสว่า " รูปคือความว่าง ความว่างคือรูป " และ ฯลฯ พุทธองค์กลับ ตรัสว่า รูปคือประภัสสร ประภัสสรหรือ ความสว่างไสวนี้สัมพันธ์อยู่ กับมหาสุขา ซึ่งก็คือ " ความเบิกบานอันยิ่ง " คือการประจักษ์แจ้งว่า " ความว่างก็คือความว่าง " มิใช่ว่างเพราะเหตุเพียงว่า รูปคือรูป เท่านั้น


คุณสมบัติอันมีความเคลื่อนไหวของพละนี้ มิได้ถูกแสดงออกอย่างเต็ม ที่ในหลักการของศูนยตา เพราะในหลักการของศูนยตานั้น กำหนดความ หมายขึ้นมาโดยเชื่อมโยงอยู่กับจิตใจที่ยังข้องแวะอยู่ในสังสาระ ศูนยตา เปิดทางออกให้แก่สังสาระ ดังนั้นแนวคำสอนของศูนยตาจึงพุ่งตรงไปที่ ภาวะจิตใจในสังสาระ และถึงแม้ว่าคำสอนนี้จะอยู่พ้นไปจากคำกล่าวที่ว่า " รูปก็คือความว่าง ความว่างก็คือรูป " โดยการกล่าวแทนว่า " ความว่าง มิใช่สิ่งใดอื่นนอกจากรูป " และ " รูปก็มิใช่สิ่งใดอื่นนอกจากความว่าง " กระนั้นก็ดี มันมิได้ไกลถึงจุดที่จะกล่าวว่าในรูปนั้นมีพละนี้อยู่ และใน ความว่างก็มีพละนี้อยู่เช่นกัน ในนิกายวัชรญาณหรือในคำสอนของตัน ตระ หลักการเกี่ยวข้องกับพละเป็นหลักการที่มีความสำคัญยิ่ง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ลิงหลอกเจ้า : ตันตระ รูป คือ ประภัสสร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 05:27:32 pm »
คำสอนนี้จะต้องเกี่ยวพันอยู่กับชีวิตประจำวันของผู้ปฏิบัติ เรากำลังเผชิญ อยู่กับความคิด อารมณ์ความรู้สึก และพละแห่งความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อ ผู้คนและโลก เราจะเชื่อมโยงความเข้าใจเกี่ยวกับศูนยตาเข้ากับเหตุการณ์ ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร นอกเสียแต่เราจะประจักษ์ถึงแง่มุมของพละใน ชีวิต ถ้าหากเราไม่สามารถไปกับพละของชีวิตได้ เราก็ไม่อาจใช้ประสบ การณ์แห่งศูนยตาเพื่อเชื่อมโยงสังสาระและนิพพานเข้าด้วยกัน ตันตระสอน มิให้ข่มบังคับหรือทำลายพละที่มีอยู่ แต่ให้แปรเปลี่ยนกัน หรืออีกนัยหนึ่ง ให้ก้าวร่วมไปกับแบบแผนของพละ เมื่อเราพบความสมดุลในการก้าวร่วม ไปกับพละ เราจะเริ่มคุ้นเคยกับมัน เราจะเริ่มพบวิถีและทิศทางที่เหมาะสม นี่มิได้หมายความว่าเราจะต้องกลายเป็นช้างเมามัน เป็นโยคาวจรดุร้ายเลย


แบบฉบับอันเพียบพร้อมที่สุดในการดำเนินร่วมไปกับพละ ในความหมาย ของโยคาวจรฝ่ายสร้างสรรค์ ก็คือการส่งทอดการตรัสรู้จากติโลปะมาสู่ นโรปะ ติโลปะถอดเกือกแตะออกและใช้มันตบหน้านโรปะ ท่านใช้สถาน- การณ์ในชั่วขณะนั้น ใช้พละแห่งการแสวงหาและความกระหายใคร่รู้ของ ตัวนโรปะนั้นเอง เปลี่ยนพละนั้นให้กลายเป็นภาวะแห่งการตื่นขึ้น นโรปะ นั้นเต็มไปด้วยพละแห่งความรู้อันยิ่งใหญ่ แต่พละของท่านนี้ไม่สามารถ เชื่อมโยงเข้ากับความรู้และจิตใจอันเปิดกว้างของติโลปะ ซึ่งเป็นพละใน อีกมิติหนึ่ง ในการที่จะเจาะผ่านกำแพงนี้ จำเป็นที่จะต้องถูกทำให้ตกตะ ลึงพรึงเพริดสักครั้ง เป็นการตกตะลึงที่แท้จริง มันเหมือนกับตึกเอียงกะเท่ เร่ซึ่งจวนจะพังครืนลงมา แต่ในทันใดนั้น มันกลับตั้งตรงขึ้นโดยบังเอิญ ด้วยแรงแผ่นดินไหว สภาพการณ์ที่เป็นธรรมชาติจะถูกนำมาใช้เพื่อฟื้นฟู สภาวะแรกเริ่มของความเปิดกว้างนี้ เมื่อเราดำเนินร่วมไปกับแบบแผนของ พละ เมื่อนั้นประสบการณ์ก็จะมีลักษณะสร้างสรรค์ยิ่ง พละแห่งญาณและ กรุณานี้ย่อมสำแดงพลังออกอย่างเที่ยงตรงและคมชัดยิ่ง


ในขณะที่โยคาวจรเริ่มมีสัมผัสว่องไวและละเอียดอ่อนต่อแบบแผนและ คุณลักษณะของพละมากยิ่งขึ้น เขาย่อมแลเห็นชัดถึงความหมายหรือ สัญลักษณ์ในประสบการณ์ต่าง ๆ ของชีวิตในครึ่งท่อนแรกของการ ฝึกฝนตันตระ หรือตันตระขั้นพื้นฐานเรียกว่า มหามุทรา ซึ่งหมายถึง " สัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ " สัญลักษณ์ในที่นี้มิได้หมายถึง " เครื่องหมาย " ที่ชี้แสดงถึงหลักปรัชญาหรือศาสนา แต่มันเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึง คุณลักษณ์อันมีชีวิตของสิ่งที่เป็นอยู่ ดังเช่นว่าในสัมผัสรับรู้โดยตรงที่ มีต่อดอกไม้ ในการรับรู้ของญาณทัศนะเปลือย ซึ่งปราศจากสิ่งปกปิด และปราศจากหน้ากาก สีสันของดอกไม้ส่งทอดข่าวสารบางอย่างที่อยู่ เหนือขึ้นไปจากการรับรู้ถึงสีสันตามปกติ มันมีความหมายอันยิ่งใหญ่ แฝงเร้นอยู่ในสีสันอันสดใสนี้ ซึ่งสื่อสารออกอย่างเต็มไปด้วยพลังเปี่ยม ล้น จิตใจที่ติดยึดอยู่ในบัญญัติย่อมไม่อาจเข้าถึงการรับรู้ชนิดนี้ ดังนั้น เองเราจึงอาจแลเห็นได้อย่างเที่ยงตรง ดังประหนึ่งว่าม่านที่บดบังสายตา ไว้ถูกเผยออก


หรือถ้าเราถือหินก้อนหนึ่งไว้ในมือ และมองดูมันด้วยการรับรู้อันแจ่มชัด ซึ่งเป็นสัมผัสโดยตรงของญาณทัศนะเปลือยเปล่า เราจะไม่เพียงรู้สึกถึง ความแข็งของหินเท่านั้น แต่เราจะเริ่มสัมผัสได้ถึงนามธรรมอันลึกซึ้งของ มัน เราย่อมรับรู้มันในฐานะที่เป็นการแสดงออกอย่างสมบูรณ์ ถึงความ แข็งแกร่งและความเป็นราชันย์แห่งผืนพิภพ ที่จริงแล้ว เรายังอาจถือขุน เขาเอเวอเรสต์ไว้บนฝ่ามือเรา ตราบเท่าที่เรายังตระหนักได้ถึงความแข็ง แกร่งอันเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน หินก้อนเล็ก ๆ นั้น เป็นตัวแทนของความ แข็งแกร่งในทุกแง่มุม ผมไม่ได้หมายเพียงในแง่ของฟิสิกส์เท่านั้น หาก หมายถึงความแข็งแกร่งในแง่ของศาสนธรรมด้วย ความแข็งแกร่งของ สันติสุขและพละ พละที่ไม่มีวันถูกทำลายล้าง โยคาวจรย่อมรู้สึกได้ถึง ความแข็งแกร่งมั่นคงและความอดทนของผืนแผ่นดิน ไม่ว่าคุณจะฝังหรือ ปลูกอะไรลงไป ผืนแผ่นดินก็ไม่เคยปฏิเสธ ไม่เคยตอบโต้เลย ในหินก้อน แหละที่เขาได้ตระหนักถึงสังสารลักษณ์แห่งอหังการแห่งอัตตา ซึ่ง ปรารถนาจะสร้างอนุสรณ์สถานให้แก่ตนเอง ในทุกสถานการณ์ซึ่งเรา ได้ประสบ ย่อมมีจุดเชื่อมโยงอันแนบแน่นอยู่กับสภาวะแห่งตน มีข้อ สังเกตอันน่าสนใจอยู่ในภาพวาดแบบตันตระ ซึ่งภาพสัญลักษณ์เหล่า นั้นอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีภูเขาถูกถือไว้ในมือข้างหนึ่ง ซึ่ง แสดงให้เห็นในทำนองเดียวกับที่เราได้ถกเถียงกันมาแล้ว นั่นคือสันติสุข อันหนักแน่นมั่นคง คือกรุณาอันมั่นคง คือปัญญาอันตั้งมั่น ซึ่งจะไม่ถูก สั่นไหวด้วยความไร้สาระของอัตตาอีกต่อไป


ในพื้นผิวของวัตถุทุก ๆ ชิ้น ย่อมเกี่ยวพันอยู่กับความเข้าใจทางศาสน ธรรมบางอย่าง และเราเริ่มตระหนักได้ถึงพละมหาศาล ซึ่งบรรจุอยู่ใน ความเข้าใจและการค้นพบอันนี้ ผู้ปฏิบัติสมาธิย่อมพัฒนาความลึกซึ้ง ของการหยั่งเห็นภายใน โดยผ่านการสื่อสารโดยตรงกับความเป็นจริง ของโลกแห่งปรากฏการณ์ ไม่เพียงแต่เขาจะสามารถเห็นถึงความไม่ ซับซ้อน การไม่แบ่งแยกเท่านั้น แต่ยังอาจเห็น " ความเป็นหิน " ของ ก้อนหิน เห็นถึง " ความเป็นน้ำ " ของน้ำ เขาแลเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่าง เที่ยงตรงดังที่มันเป็น ไม่เพียงรูปปรากฏภายนอก แต่ยังเห็นถึงนาม ธรรมของมันด้วย สรรพสิ่งที่เราแลเห็นก็คืออีกโฉมหน้าหนึ่งของการ ค้นพบทางศาสนธรรม เมื่อนั้นย่อมบังเกิดความเข้าใจอย่างใหญ่หลวง ในสัญลักษณ์ ก่อเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในพละ ไม่ว่าจะตกอยู่ใน สภาพการณ์ใดก็ตาม เขาไม่จำเป็นจะต้องฝืนให้เกิดผลบั้นปลายอย่าง ที่ต้องการอีกต่อไป ชีวิตเพียงแต่หลากไหลอยู่รอบ ๆ ตัวเขา นี่เองคือ หลักพื้นฐานของ " มณฑล " โดยปกติแล้วมณฑลก็อาจหมายแสดง ออกเป็นรูปดั่งวงกลมซึ่งหมุนวนไปรอบ ๆ จุดศูนย์กลาง ซึ่งหมายถึง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบ ๆ ตัวคุณก็คือส่วนหนึ่งของผัสสะของคุณ ใน อาณาบริเวณทั้งหมดนั้นย่อมสำแดงออกซึ่งสัจจะของชีวิตอันจริงจัง ยิ่ง วิถีทางเดียวที่จะเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง อย่างเต็มเปี่ยมและ ถูกต้อง ก็โดยผ่านการปฏิบัติสมาธิภาวนา โดยการสร้างสายสัมพันธ์ โดยตรงกับธรรมชาติ กับชีวิต กับสถานการณ์ทุกรูปแบบ เมื่อเราพูด ถึงการบรรลุถึงศาสนธรรมอันยิ่ง นี่มิได้หมายถึงว่าเรากำลังล่องลอย อยู่ในอากาศ แต่โดยความจริงแล้ว ยิ่งเราขึ้นสูงเพียงใดก็ยิ่งต้องลงต่ำ มาสู่พื้นดินมากเพียงนั้น


จำเป็นที่จะต้องระลึกถึงไว้เสมอว่าในการปฏิบัติสมาธิภาวนานั้น เริ่ม ต้นด้วยการเจาะผ่านแบบแผนของความคิดอันวิปลาสซึ่งถือได้ว่าเป็น ขอบริมของอัตตา ครั้นเมื่อเราก้าวต่อไป เราจะแลเห็นไม่เพียงแต่ความ ซับซ้อนของกระบวนการทางความคิดเท่านั้น แต่ยังอาจเห็นถึงความ " หนาหนัก " ของนามบัญญัติซึ่งแสดงออกผ่านนามและสูตรทฤษฎีต่าง ๆ ในที่สุดเราก็จะสามารถสร้างพื้นที่ว่างขึ้นมาระหว่าง " นี้ " กับ " นั้น " ซึ่งจะปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระขึ้นอย่างมหันต์ หลังจากได้สร้างพื้น ที่ว่างขึ้นแล้ว เราก็จะก้าวล่วงไปในการฝึกฝนแบบวัชรยาน เพื่อสร้าง จุดเชื่อมโยงโดยตรงกับประสบการณ์ในชีวิต ขั้นตอนทั้งสามนี้ แท้จริง โดยสาระของมัน ก็คือยานทั้งสามนั่นเอง อันได้แก่ หินยาน ยานแห่งรูป แบบและวิธีการ มหายาน ยานแห่งศูนยตา หรือความว่าง และวัชรยาน ยานแห่งพละโดยตรง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ลิงหลอกเจ้า : ตันตระ รูป คือ ประภัสสร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 05:29:23 pm »



ถาม : ภาพพวกยิดัม ( yidam ) ภาพเทพพิโรธและภาพสัญลักษณ์และ ภาพสัญลักษณ์อื่น ๆ เกี่ยวข้องกับแนวทางศาสนธรรมแบบธิเบตอย่างไร
 
 
ตอบ : มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภาพแบบธิเบตจำพวกนี้มาก บางที เราอาจจะต้องทำความเข้าใจอย่างรีบด่วนเกี่ยวกับภาพและสัญลักษณ์เหล่า นี้ ในนิกายตันตระมีภาพที่เรียกกันว่า " ภาพแห่งคุรุ " วึ่งสัมพันธ์อยู่กับแนว ทางในวิถีทางนั้น นั่นก็คือข้อเท็จจริงที่ว่าก่อนที่คุณจะเริ่มรับคำสั่งสอนใด ๆ ได้ คุณจะต้องเปิดตัวเองออก และในการที่จะยอมอย่างหมอบราบคาบแก้ว ได้นี้คุณจำจะต้องผสานตนเข้าอย่างเต็มที่กับความรุ่มรวยเต็มเปี่ยมของชีวิต การหมอบราบคาบแก้วในที่นี้มิใช่การทำตัวให้ว่างเปล่าในความหมายของ ความว่างเปล่าแบบศูนยตาซึ่งเป็นปะสบการณ์ในระดับสูงถัดขึ้นไป แต่ใน ขั้นตอนต้น ๆ นั้น หมอบราบคาบแก้วหมายถึงการเป็นภาชนะที่ว่างเปล่า มันอาจหมายถึงการผสานรวมเข้ากับความเต็มเปี่ยมและความรุ่มรวยแห่งคำ สอน ดังนั้นสัญลักษณ์ของนัยยะนี้ คุรุจึงครองตนด้วยอาภรณ์อันงดงามสูง ค่า ประดับประดาด้วยอัญมณี สวมมงกุฏ และถือคฑากายสิทธิ์ และยังมี เครื่องประดับอื่น ๆ ซึ่งท่านถือไว้ในหัตถ์อีกด้วย

 
และยังมีภาพสัญลักษณ์ของยิดัม ซึ่งสัมพันธ์อยู่กับการปฏิบัติในแนวตันตระ ยิดัมคือตัวแทนของพละทั้งห้าแบบในครอบครัวแห่งพุทธะ ซึ่งแสดงออก ด้วยภาพของยักษาและยักษิณี และอาจจะแลดูโกรธเกรี้ยวหรือสงบสันติ ในภาคซึ่งแลดูโกรธเกรี้ยวย่อมเกี่ยวเนื่องอยู่กับการแปรเปลี่ยนโดยใช้กำลัง อย่างรุนแรง เป็นการก้าวกระโดดเข้าสู่ปัญญาญาณและการกลับกลายอย่าง ยอมจำนน ซึ่งโยงใยอยู่กับปรีชาญาณแบบบ้าบอ ส่วนยิดัมในภาคสันติ ย่อม สัมพันธ์อยู่กับการแปรเปลี่ยนตามลำดับขั้น นั่นก็คือ ความสับสนต่าง ๆ ค่อย ๆ สงบราบคาบลงและสูญสิ้นไปในที่สุด


เหล่ายิดัมนี้สวมใส่ชุดอาภรณ์ของรากษส ซึ่งตามเทพปกรณ์นัมของอินเดีย หมายถึง อสูร ซึ่งดื่มกินโลหิตเป็นภักษาหาร ซึ่งเป็นบริวารของรุทธิ์ผู้เป็น เจ้าแห่งมารทั้งหลาย สัญลักษณ์ประการนี้หมายความว่า เมื่ออวิชชาซึ่งใช้ รุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ได้สร้างอาณาจักรของมันขึ้นมา ทันใดนั้นปัญญาญาณก็ ปรากฏขึ้นและทำลายล้างอาณาจักรนั้นเสีย ยึดเอาเครื่องทรงของจ้าวแห่ง มารและเหล่าบริวารมา เครื่องแต่งกายของยิดัมหมายถึงว่าเทพนี้ได้แปร เปลี่ยนอัตตาให้กลายเป็นปัญญาญาณ มงกุฏกระโหลกศีรษะทั้งห้าที่ยิดัม สวมอยู่หมายถึงอารมณ์ห้า ซึ่งถูกเปลี่ยนให้เป็นปัญญาญาณห้าประการ อาภรณ์ทั้งห้านี้มิได้ถูกทอดทิ้งไป แต่ถูกนำมาสวมใส่ประดับไว้ ยิ่งไปกว่า นั้น ตรีศูลซึ่งยิดัมถืออยู่ยังประดับไว้ด้วยหัวคนสามหัวด้วยกัน มีหัวสด หัวแห้ง และหัวกระโหลก หัวสดหมายถึงตัณหาอันรุ่มร้อน หัวแห้ง หมายถึงโทสะอันเยือกเย็นเหนียวแน่น เหมือนเนื้อตากแห้งซึ่งเหนียว หัวกระโหลกหมายถึงโมหะ ตรีศูลเป็นเครื่องประดับซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของการข้ามพ้นอยู่เหนือแรงกระตุ้นทั้งสามประการ นอกจากนี้ ตรีศูล ยังประกอบด้วยปลายแหลมสามปลาย ซึ่งหมายถึงหลักการพื้นฐานแห่ง สภาวะสามประการด้วยกัน คือศูนยตา พละและภาวะแห่งการสำแดง ออก เหล่านี้คือกายทั้งสามแห่งพุทธะอันได้แก่ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ทั้งหลายแหล่ซึ่งประดับประดา อยู่บนร่างยิดัม อันได้แก่กระดูก อสรพิษ และอื่น ๆ ล้วนเกี่ยวเนื่องอยู่ กับแง่มุมต่าง ๆ ในศาสนมรรค ตัวอย่างเช่น ยิดัมสวมสร้อยซึ่งร้อยด้วย หัวกระโหลกห้าสิบเอ็ดหัว อันหมายถึงการข้ามพ้นอยู่เหนือความคิด ห้าสิบเอ็ดแบบ ดังสาธยายอยู่ในลัทธิหินยานหมวดอภิธรรม

ในการฝึกหัดตามสายตันตระ เราต้องเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับยิดัมตนใด ตนหนึ่งในครอบครัวแห่งพุทธะโดยพิจารณาจากความคล้ายคลึงของ ธรมชาติในตัวเองเช่นว่า ถ้ายิดัมนั้นเป็นยิดัมรัตนะ ยิดัมตนนั้นจะมีกาย เหลืองและมีบุคลิกลักษณะตามแบบรัตนะมณฑลรูปแบบใด ๆ ซึ่งคุรุ มอบให้ จะขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นคนแบบใดของครอบครัวพุทธะ ไม่ว่า คุณจะเป็นคนในตระกูลตัณหา หรือตระกูลอหังการ และไม่ว่าคุณจะมี คุณลักษณ์ของอากาศหรือน้ำอยู่ในตัว โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว เราอาจรู้สึก ได้ว่าคนบางคนนั้นมีคุณสมบัติของโลกธาตุและความมั่นคงอยู่ในตัว ในขณะที่บางคนก็มีคุณสมบัติของอากาศธาตุ ไปโน่น มานี่ อย่างรีบ เร่งและบางคนก็มีคุณสมบัติของความอบอุ่นและการดำรงอยู่ ที่เผยคุณ สมบัติของไฟออกมา เธอจะได้รับมอบมณฑลอย่างสอดคล้องต้องตรง กับลักษณะของจริตส่วนตน ซึ่งแต่ละจริตนั้นก็แฝงไว้ด้วยศักยภาพ ซึ่งจะสามารถแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นปัญญาญาณได้ ในบางครั้งคุณ อาจฝึกการเพ่งให้เห็นรูปยิดัมเหล่านี้ อย่างไรก็ดี เมื่อคุณเริ่มฝึกด้วย อาการเพ่งอย่างนี้ คุณจะไม่สามารถแลเห็นได้ในทันที แต่คุณจะเริ่ม ด้วยการกำหนดรู้ในศูนยตา ครั้นแล้วสร้างความรู้สึกถึงการมีอยู่ ( ภาพนิมิต) แห่งรูปกายเหล่านั้นขึ้นมา ขั้นต่อมาก็สาธยายมนตร์ซึ่ง สัมพันธ์อยู่กับจริตเฉพาะตน เพื่อที่จะผ่อนความเข้มแข็งของอัตตาลง บางครั้งเราอาจจำเป็นต้องเชื่อมโยง ( ภาพนิมิต ) กับผู้เฝ้ามอง ( อัตตา ) เข้าด้วยกัน มนตราก็คือจุดเชื่อมโยงอันนั้น หลังจากฝึกสาธยายมตร์ แล้ว คุณก็ต้องสลายภาพนิมิตนั้นให้กลายเป็นแสงหรือสี ตามแต่ลักษณะ ของยิดัมแต่ละตน ท้ายสุดคุณก็จะปิดฉากการเพ่งนี้ ด้วยการกำหนดรู้ ในศูนยตาอีกครั้ง หลักการของวิธีการนี้ก็คือ เราจะต้องไม่ถือเอายิดัม เหล่านี้ดังประหนึ่งเทพที่มีตัวตน อันอาจยื่นมือเข้าช่วยเหลือคุณได้ หาก จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า มันเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งธรรมชาติ ที่แท้ภายในภายในตัวคุณเอง คุณเพียงผสานตนเองตามลักษณะสีสัน ของยิดัมแต่ละประเภท และรู้สึกได้ถึงเสียงซึ่งดังมาจากมนตรา เพื่อ ว่าท้ายที่สุดคุณจะเริ่มประจักษ์ว่าธรรมชาติที่แท้ภายในตัวนั้น ตั้งมั่น อยู่อย่างไม่มีวันคลอนแคลน คุณได้รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับยิดัมอย่าง สมบูรณ์


ในมหาอติ ( Maha ati ) ซึ่งเป็นตันตระขั้นสูงสุด ความรู้สึกถึงการผสาน ตนเองนั้นได้สูญสิ้นไป และเราจะอุบัติขึ้นในธรรมชาติแท้จริงแห่งตน มีแต่เพียงสีสันและพละเท่านั้นที่ยังคงอยู่ เมื่อก่อนนนั้นคุณอาจมองเห็น ทะลุผ่านรูปกายและเสียง ได้เห็นถึงคุณลักษณ์อันเป็นความเปล่าของมัน แต่มาบัดนี้คุณจะแลเห็นรูปกายและเสียงในสภาวะเดิมแท้ของมันเอง มัน คือแนวคิดของการกลับคืนสู่สังสาระ ดังที่มีพูดถึงอยู่ในนิกายเซ็น ซึ่งแสดง สารัตถะออกมาในภาพชุดเด็กเลี้ยงวัว คุณจะไม่มีทั้งคนเลี้ยง ไม่มีวัว และ ท้ายสุดคุณก็จะกลับคืนมาสู่โลก


ยังมีภาพแบบที่สาม เป็นภาพของ " เทพพารักษ์ " ในการฝึกฝนเพื่อผสาน ตนเข้ากับยิดัมแบบใดแบบหนึ่ง คุณจะต้องสร้างการกำหนดรู้ซึ่งจะผลัก ดันคุณจากธรรมชาติอันสับสนกลับไปสู่ธรรมชาติที่แท้ ในการนี้คุณจะต้อง ถูกทำให้ตกตะลึงอย่างฉับพลัน ทำให้จดจำภาวะการตื่นขึ้นนั้นได้อย่าง ติดตรึง การกำหนดรู้นี้เองถูกแสดงออกด้วยภาพของเทพารักษ์ ซึ่งปรากฏ ขึ้ในรูปกายที่พิโรธโกรธเกรี้ยว มันคือการถูกผลักอย่างกะทันหัน ซึ่งจะทำ ให้คุณต้องจดจำ มันเป็นการกำหนดรู้อันรุนแรงกราดเกรี้ยว เพราะมันคือ การก้าวกระโดดข้ามไป ในการก้าวกระโดดนี้ จำต้องอาศัยภาวะบางอย่าง เพื่อตัดทำลายความสับสนลง คุณจำต้องได้รับการอภิเษก เพื่อที่จะได้กระ โดดอย่างปราศจากความลังเล ข้ามจากมิติของความสับสนผ่านไปสู่ความ เปิดกว้าง คุณจะต้องถอนทำลายความลังเลสงสัยลง คุณจะต้องถอนทำลาย อุปสรรคทั้งมวลที่ขวางอยู่บนหนทาง ดังนั้นเองเทพองค์นี้จึงเรียกกันว่า เทพารักษ์ " อารักขา " มิได้หมายถึงการเฝ้าดูแลสวัสดิภาพให้แก่คุณ หาก หมายถึงข้อเปรียบเทียบเป็นหลักแนว ซึ่งจะตักเตือนคุณดำรงไว้ในสถาน อันเปิดกว้าง ดังเช่นมหากาฬเทพารักษ์ ซึ่งเรียกมหากาฬหกกร เทพผู้มี ผิวกายดำ หยัดเหยียบอยู่บนองค์พระเคณศ พระผู้มีเศียรเป็นช้าง ซึ่งใน ที่นี้หมายถึงกระแสจิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึกอันวุ่นวาย นี้เองคือแง่มุมหนึ่ง ของความเกลียดคร้านเหลวไหลซึ่งชักนำคนออกนอกลู่นอกทาง ออกจาก การกำหนดรู้ และกล่อมคุณให้มึนเมาอยู่ในอารมณ์และความนึกคิด มัน ยังแสดงบทบาทอยู่ในสภาพธรรมชาติตรวจสอบของความคิด-ปัญญาชน ล้วนแล้วแต่เป็นอารมณ์ความรู้สึกและความนึกคิดภายในทั้งสิ้น องค์มหา กาฬี้จะนำคุณกลับมาสู่ความเปิดโล่ง จุดมุ่งหมายของสัญลักษณ์นี้ต้องการ จะบ่งชี้ให้เห็นว่า มหากาฬได้มีชัยเหนือกระแสจิตใจสำนึกอันสับสน อัน แสดงออกโดยการเหยียบอยู่เหนือองค์พระเคณศ มหากาฬนี้หมายถึงการ กระโดดข้ามไปสู่การกำหนดรู้อันแหลมคมยิ่ง


โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว บรรดารูปภาพของพุทธนิกายตันตระนี้ ล้วนรวบยอด อยู่ในรูปภาพเขียนสามลักษณะนี้เท่านั้น คือ ภาพคุรุ ภาพยิดัม และเทพา รักษ์ ภาพคุรุแสดงถึงความรุ่มรวยลึกซึ้งของพระธรรมคำสอน ส่วนยิดัม เอื้อให้คุณผสานตนเองเข้ากับธรรมชาติเฉพาะแบบของคุณ ทั้งยังมีเทพา รักษณ์ดำรงอยู่ในฐานะผู้เตือนใจ ทั้งยิดัมและเทพารักษ์ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ปรากฏขึ้นในรูปกายที่แฝงโทสะมากน้อยต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้อง การกำหนดรู้มากหรือน้อยเพียงใด ในการที่จะสามารถแลเห็นธรรมชาติ ที่แท้ในตนเอง


เทพยิดัมพิโรธสัมพันธ์อยู่กับสิ่งที่เรียกกันในนิกายตันตระว่า " วัชรโทสะ " อันเป็นโทสะซึ่งมีคุณสมบัติแห่งตถตา หรืออีกนัยหนึ่ง คือโทสะที่ปราศจาก ความเกลียด อันเป็นพละที่เคลื่อนไหวเปี่ยมอานุภาพ พละประการนี้ไม่ว่า จะสังกัดอยู่กับปัญญาญาณแบบใดล้วนมั่นคงเป็นที่สุด ไม่มีสิ่งใดอาจทำ ลายมันลงได้ ไม่มีสิ่งใดอาจสั่นคลอนรบกวนมัน ด้วยเหตุว่ามันมิใช่สิ่งที่ ถูกสร้างขึ้น ทว่าถูกค้นพบในฐานะคุณสมบัติเดิมแท้ ดังนั้นมันจึงอยู่เหนือ อนิจจัง มันจึงถูกกล่าวถึงโดยนัยของโทสะและความพิโรธ มีลักษณะคล้าย ดังนักรบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2011, 05:38:37 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
Re: ลิงหลอกเจ้า : ตันตระ รูป คือ ประภัสสร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 05:32:00 pm »




ถาม : การแปรเปลี่ยนกลับกลายเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบ : การแปรเปลี่ยนเกิดขึ้นได้ด้วยความเข้าใจถึงศูนยตาและค้นพบพละ อย่างฉับพลัน คุณประจักษ์แจ้งขึ้นว่าไม่จำเป็นต้องละทิ้งสิ่งใดไปเลย คุณ เริ่มที่จะแลเห็นคุณลักษณ์แห่งปัญญาญาณ ผสานรวมอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งหมายถึงว่ามีโอกาสเปิดให้กระโดดข้ามไปเกิดขึ้นแล้ว ถ้าคุณ เป็นคนมีอารมณ์รุนแรง เช่นว่าเป็นคนเจ้าโทสะ ดังนั้นเองจากการเห็นถึง ความเปิดกว้าง ( ศูนยตา ) ชั่วแวบเดียวเท่านั้น คุณจะตระหนักได้ว่าไม่จำ เป็นจะต้องไปบีบคั้นกดดันพละนี้เอาไว้ ไม่จำเป็นที่จะต้องแสร้งทำเป็น สงบและกดดันพละแห่งความโกรธเอาไว้ หากแต่คุณสามารถแปรเปลี่ยน ความก้าวร้าวอันนี้ให้กลายเป็นพละอื่นที่ทรงศักดิ์ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับว่า คุณเปิดแค่ไหน และคุณมีความตั้งใจที่จะทำดังนั้นมากเพียงไหน ถ้าหาก ว่าคุณเป็นคนไม่ติดอยู่กับความพอใจแค่การระเบิดอารมณ์ปลดปล่อยมัน ออกมา ดังนั้นก็มีทางเป็นไปได้ที่จะแปรเปลี่ยนมัน ถ้าหากว่าเราไปติดยึด หลงใหลอยู่กับพละนี้ เราก็ไม่มีทางจะแปรเปลี่ยนมันได้เลย คุณไม่จำเป็น จะต้องเปลี่ยนมันไปโดยสิ้นเชิง ทว่าคุณอาจใช้เพียงบางส่วนของมันใน ภาวะที่ตื่นขึ้น

ถาม : ชญาณ กับปรัชญา แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ : เราไม่สามารถถือเอาปัญญาญาณเป็นเพียงประสบการณ์ภายนอก นี่ข้อแตกต่างระหว่างปัญญากับความรู้ ระหว่างชญาณกับปรัชญา ปรัชญา คือความรู้ในระดับของการเปรียบเทียบ และชญาณคือปัญญาที่อยู่พ้นจาก การเปรียบเทียบใด ๆ คุณเป็นหนึ่งเดียวกับกับปัญญา คุณจึงไม่จำเป็นต้อง ถือว่าสิ่งหนึ่งเป็นการศึกษาและอีกสิ่งหนึ่งเป็นประสบการณ์

ถาม : คุณจะสามารถแปรเปลี่ยนอารมณ์ได้อย่างไร จะจัดการกับมัน อย่างไรดี

ตอบ : ดีละ นี่เป็นคำถามที่มีลักษณะเป็นส่วนตัวมากกว่าเป็นแบบปัญ ญาชน ประเด็นทั้งหมดอยู่ตรงที่ว่า เราไม่ได้สัมผัสกับอารมณ์ของตน เองอย่างแท้จริงเลย แม้ว่าเราจะคิดว่าได้สัมผัสมันก็ตาม เราเพียงรับรู้ มันผ่านกรอบของอัตตาฉันและความโกรธของฉัน ของฉันและความ ต้องการของฉัน " ตัวฉัน " นี้เองที่คือลักษณะการปกครองแบรวมศูนย์ อารมณ์ดำเนินบทบาทเป็นเพียงผู้ส่งข่าวเป็นข้าราชการ และเป็นทหาร แทนที่จะสัมผัสรับรู้อารมณ์ความรู้สึกในฐานะของสิ่งที่แยกต่างหาก จากตัว และถือว่ามันเป็นลูกน้องหัวแข็ง คุณควรจะสัมผัสและรับรู้ถึง พื่นผิวและชีวิตชีวาของอารมณ์อย่างที่มันเป็นจริง การแสดงความโกรธ เกลียดหรือความอยากออกมาในระดับกายภาพ เป็นเพียงทางหนึ่งใน การที่จะหลบหนีไปจากอารมณ็์ ดังเช่นที่คุณมักจะทำเมื่อคุณพยายาม จะขัดขวางกักกันมันไว้ แต่ถ้าหากว่าเราได้สัมผัสโดยตรงถึงความเป็น ไปของมัน ลูบคลำผิวกายของมันดังที่มันดำรงอยู่ในสภาวะอันเปลือย เปล่า เมื่อนั้นประสบการณ์อันนี้ก็จะบรรจุความจริงในขั้นสูงสุดไว้ และ เราก็เริ่มแลเห็นถึงแง่มุมอันน่าขับขัน และแง่มุมอันลึกซึ้งของอารมณ์ ดังที่มันเป็นอยู่ นี่เองคือกะบวนการในการแปรเปลี่ยน นี่เองที่การแปร เปลี่ยนอารมณ์ให้กลับกลายเป็นปัญญาญาณ จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ ก็เป็นดังที่ผมกล่าวแล้วว่า มันเป็นเรื่องของปัจเจก เราจะต้องทำมันด้วย ตนเอง จนกว่าเราจะสามารถทำสำเร็จด้วยตนเองแล้วไซร้ หาไม่ก็จะไม่ มีถ้อยคำใดอธิบายถึงสิ่งนี้ให้เข้าใจได้ เราจะต้องกล้าหาญพอที่จะเข้าเผชิญ หน้ากับอารมณ์ของเรา กระทำร่วมกับมันอย่างจริงจัง สัมผัสดูพื้นผิวของ มัน เฝ้ามองดูธาตุแท้ดังที่มันเป็น เราอาจจะค้นพบว่าแท้ที่จริงแล้ว อารมณ์ มิได้ดำรงอยู่ในขณะที่มันได้ปรากฏขึ้น ในนั้นมีแต่เพียงปัญญาญาณและที่ กว้างโล่ง ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราไม่เคยได้สัมผัสรับรู้ถึงอารมณ์อย่างถูกตรง เลย เราคิดว่าการต่อสู้และการฆ่าฟันกันอาจแสดงออกซึ่งความโกรธได้ แต่นั่นกลับเป็นการหลบหนีอย่างหนึ่ง เป็นการปลดปล่อยมากกว่าที่จะเป็น การเรียนรู้ถึงอารมณ์ดังที่มันเป็น การเรียนรู้ถึงธรรมชาติพื้นฐานของอารมณ์ ได้ถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย

ถาม : เมื่ออารมณ์ได้ถูกแปรเปลี่ยนไปแล้ว นั่นมิได้หมายความว่ามันจะ สูญหายไป ใช่หรือไม่

ตอบ : ไม่ใช่แน่นอน แต่มันได้แปรเปลี่ยนไปเป็นพละในรูปแบบอื่น ถ้า หากว่าเราพยายามที่จะเป็นคนดีหรือสงบสันติ พยายามเก็บกักหรือกดดัน อารมณ์ไว้ นั่นคือการเล่นซ่อนหาของอัตตาในระดับพื้นฐาน เรากลับพาล รู้สึกก้าวร้าวกับอารมณ์ของเรา พยายามอย่างสุดกำลังที่จะบรรลุถึงความ สงบหรือความดีงาม เมื่อใดที่เราหยุดก้าวร้าวต่ออารมณ์ของตนเอง เลิก พยายามที่จะเปลี่ยนมัน เมื่อใดที่เราได้สัมผัสมันอย่างแท้จริง เมื่อนั้นความ แปรเปลี่ยนกลับกลายก็มีโอกาสที่จะอุบัติ ลักษณะอันชวนให้เดือดเนื้อ ร้อนใจของอารมณ์จะแปรเปลี่ยนไปเมื่อคุณได้สัมผัสรับรู้มันอย่างที่มันเป็น ความเปลี่ยนแปลงมิได้หมายความว่าคุณสมบัติเดิมของพละแห่งอารมณ์ นี้ถูกขจัดไป ทว่าที่จริงแล้วมันถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นปัญญาญาณ ซึ่งจำ เป็นอย่างที่สุด

ถาม : ก็แล้วเพศสัมพันธ์แบบตันตระเล่า นั่นเป็นกระบวนการในการ แปรเปลี่ยนพละทางเพศให้กลายเป็นอย่างอื่นด้วยใช่หรือไม่

ตอบ : ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน เมื่ออาการอันครอบครองของความอยาก หรือตัณหาได้ถูกแปรเปลี่ยน ไปเป็นการสื่อสารอันเปิดกว้าง กลายเป็น ลีลาของของการเริงรำอย่างอิสระ เมิ่อนั้นความสัมพันธ์ของทั้งคู่ย่อม เริ่มพัฒนาไปอย่างสร้างสรรค์มากกว่าที่จะแห้งแล้งหยุดนิ่ง หรือกลาย เป็นสิ่งน่ารำคาญสำหรับสองฝ่าย

ถาม : หลักการแปรเปลี่ยนกลับกลายอันนี้ อาจเปรียบได้กับหลักการของ พละ แบบ สัตวะ ราชะ และ ทมะ ดังที่กล่าวไว้ในวัฒนธรรมฮินดูหรือไม่ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องนำทมะพละมา และเปลี่ยนให้เป็น ราชะพละ คุณเพียง แต่นำมันมาและใช้มัน

ตอบ : ถูกแล้ว มันเป็นเรื่องของการปฏิบัติ ของการลงมือทำ เพราะโดย ปกติแล้วเรามักจะต้องการความพร้อมมากเกินไป เราพูดว่า " เมื่อใดที่ฉัน สามารถหาเงินได้มากพอ เมื่อนั้นฉันก็จะเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง ไปบวช เป็นพระและฝึกสมาธิ " หรือจะเป็นอะไรก็ตามแต่ อย่างที่เราอยากจะเป็น แต่เราไม่เคยที่จะทำมันเดี่ยวนี้เลย เรามักจะพูดในทำนองว่า " เมื่อใดที่ฉัน สามารถทำสิ่งนั้นสิ่งนี้สำเร็จ เมื่อนั้น ... " เราวางแผนมากเกินไป เราต้อง การเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราเองมากกว่าที่จะใช้ชีวิต ที่จะดิ่งลงในปัจจุบัน ขณะ ในฐานะที่มันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรมด้วย และด้วยความ ลังเลพะว้าพะวังของเรานี้เอง ซึ่งก่อให้เกิดความถดถอยขึ้นในการปฏิบัติ ธรรมของเรา พวกเราส่วนมากมักจะมีความคิดฝันเฟื่อง " ปัจจุบันนี้ฉันอาจ จะมิใช่คนดี แต่สักวันหนึ่งเมื่อฉันเปลี่ยนไป ฉันคงจะกลายเป็นคนดีแน่ ๆ "

ถาม : หลักการแห่งความแปรเปลี่ยนนี้ดำรงอยู่ในศิลปะด้วยหรือไม่

ตอบ : แน่นอน ก็เป็นดังที่เรารู้ ๆ กันอยู่ การผสมผสานสีและรูปทรงเข้า ด้วยกันอย่างเหมาะเจาะ สิ่งเหล่านี้ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยผู้คนหลากหลาย จากวัฒนธรรมและยุคสมัยที่แตกต่างกัน ศิลปะที่ถึงขั้นย่อมมีคุณลักษณ์อัน เป็นสากล เต็มไปด้วยพลังของการแสดงออกและการสื่อสารสัมพันธ์อย่าง ไม่หยุดนิ่ง นั่นก็คือเหตุผลที่ว่าเหตุใดคุณจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นไป " อยู่เหนือ " สิ่งใด ๆ เลย เพียงถ้าคุณดูให้เห็นอย่างเต็มตา เมื่อนั้น " สิ่งนั้น " ก็จะพูด " สิ่งนั้น " จะนำเราไปสู่ความเข้าใจบางอย่าง ในสัญญาณจราจรการตัดสิน ใจเลือกไฟเขียวหมายให้เราไปได้ และถือเอาไฟแดงว่าหมายให้หยุด ว่า ให้ระวังอันตราย นี่แสดงให้เห็นคุณลักษณะอันเป็นสากลของสี

ถาม : ก็แล้วการระบำและหนังละครเล่า

ตอบ : มันก็เป็นเช่นเดียวกัน ปัญหาเพียงมีอยู่ว่า ถ้าคุณตั้งอกตั้งใจเกินไป ในการสร้างงานศิลปะ งานชินนั้นก็จะไม่อาจสำเร็จขึ้นมาเป็นงานศิลป ได้เลย เมื่อศิลปินหลอมละลายตนเองลงไปในงาน เขาก็จะสร้างสรรค์ งานชิ้นเยี่ยมขึ้น มิใช่เพราะเขาตระหนักในความเก่งกาจของตนหากเป็น เพราะว่าเขาได้หลงลืมตนเองไปโดยสิ้นเชิง เขาปราศจากความลังเลสง สัย เขาเพียงแต่ทำมันเท่านั้น เขาสร้างสิ่งดี ๆ ขึ้นมาได้คล้ายดั่งไม่ตั้งใจ

ถาม : ความกลัวและวิปลาสซึ่งมักจะเข้ามาขัดขวางกระแสความหลาก ไหลนั้น จะถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นการกระทำได้ฉันใด

ตอบ : ที่จริงไม่มีกลวิธีใด ๆ ที่จะนำมาใช้จัดการกับสิ่งนั้นสิ่งนี้เพื่อก่อ ให้เกิดสภาวะบางอย่างขึ้นมา จุดสำคัญอยู่ที่การกระโดดข้ามไปเท่านั้น เมื่อใครก็ตามเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ว่าตนตกอยู่ในอาการวิปลาส นั่นเอง จะส่งผลให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งภายในจิตใต้สำนึกถึงอีกแง่มุม หนึ่ง เข้าใจถึงอีกสภาวะหนึ่งในจิตใจของเขา ต่อจากนั้นเขาก็เพียงกระ โดดข้ามไป ส่วนจะกระโดดอย่างไรนั้นเป็นเรื่องลำบากที่จะอธิบายคำ พูด เขาเพียงแต่กระทำการเท่านั้น เพียงแต่กระโดดไป มันเหมือนกับ การถูกผลักตกลงไปในแม่น้ำอย่างไม่รู้ตัว และทันใดก็ดันพบว่าตนเอง สามารถว่ายน้ำได้ คุณเพียงแต่ว่ายข้ามไปเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าหาก ว่าคุณต้องกลับไปที่ฝั่ง อีกเพื่อลองพยายามฝึกหัดดู คุณจะไม่สามารถ ว่ายน้ำได้เป็นแน่ มันเป็นเรื่องของการโต้ตอบสัมพันธ์อย่างสอดคล้อง เป็นเรื่องของการใช้กระแสแห่งความรู้ เราไม่อาจกระโดดได้ด้วยการ พูด มันอยู่เกินขึ้นไปกว่านั้น แต่มันเป็นสิ่งที่คุณสามารถกระทำได้ ถ้า คุณต้องการที่จะทำจริง ๆ ถ้าคุณผลักตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ เอื้อให้กระโดด เป็นสถานการณ์ที่บีบให้คุณต้องยอมอย่างศิโรราบ

ถาม : ถ้าคุณเป็นคนขี้ตื่นตกใจและมักจะมีปฏิกริยาตอบโต้อย่างรุนแรง ต่อสิ่งที่หวดกลัว คุณก็รู้ตัวอยู่และไม่ต้องการติดหลงอยู่ในนั้น ถ้าคุณ อยากจะคุมสติได้อยู่ตลอดเวลา คุณจะทำอย่างไร

ตอบ : ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า แรกสุดคุณจะต้องทำความเข้าใจว่าพลังแห่ง ความขี้ตื่นกลัวของคุณมีอยู่จริงและมีอยู่ที่นั่นและในขณะเดียวกันพลัง นั้นก็เป็นพลังที่จะสามารถใช้กระโดดได้เช่นกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งแทน ที่คุณจะวิ่งหนีไปจากความกลัว เราจะกลับต้องเข้าไปคลุก เข้าไปพัว พันกับมัน จนเริ่มเข้าใจถึงคุณสมบัติอันหยาบกระด้างแห่งอารมณ์นั้น
ถาม : เป็นดั่งนักรบใช่ใหม ?

ตอบ : ใช่ ในตอนแรก เขาอาจพอใจที่สามารถแลเห็นถึงความไร้สาระ ของอารมณ์ ซึ่งการเห็นนั้นช่วยขับไล่มันกระเจิดกระเจิงไป แต่นี่ยังไม่ พอที่จะทำให้เข้าถึงหลักการแปรเปลี่ยนในวัชรยาน เราจะต้องให้เห็น ถึงคุณลักษณ์ของ " รูปคือรูป " ในอารมณ์ เมื่อใดที่คุณอาจแลดูอารมณ์ ได้อย่างคมชัดจากทัศนะที่ว่า " รูปคือรูป อารมณ์คืออารมณ์ " โดยไม่ เติมแต่งแต้มสี เมื่อใดที่คุณสามารถมองเห็นคุณสมบัติอันเปล่าเปลือย ของอารมณ์ได้ดังที่มันเป็นจริง เมื่อนั้นคุณก็พร้อมที่จะกระโดดได้แล้ว แน่ละ นี่ไม่ได้หมายความว่าถ้าคุณรู้สึกโกรธ คุณจะต้องออกไปฆ่าใคร

ถาม : กล่าวอีกอย่างหนึ่ง เราจะต้องแลให้เห็นถึงอารมณ์ดังที่มันเป็น แทนที่จะเข้าไปพัวพันอยู่กับอาการอันทิ่มแทงและกระจัดกระจายของ ปฏิกริยาตอบโต้

ตอบ : ใช่แล้ว เห็นไหมว่า เรายังไม่ได้แลเห็นอารมณ์อย่างที่มันเป็นจริง เลย ถึงแม้ว่าในตัวเราจะท่วมทันอยู่ด้วยสิ่งนั้นก็ตาม ถ้าเราติดตามอารมณ์ ของเราไป ครั้นแล้วก็ผละหนีเสียโดยการไปทำสิ่งอื่น นั่นไม่ใช่การเรียน รู้ที่ถูก เราพยายามที่จะหลีกหนีหรือเก็บกดอารมณ์ของเราไว้เพราะเหตุ ที่ว่าเราไม่สามารถทนอยู่ในสภาวะนั้นได้ แต่วัชรยานกลับบอกให้เราแล ดูอย่างจริงจัง อย่างตรงไปตรงมา ในอารมณ์ความรู้สึกทุกชิ้น และให้เห็น ถึงธาตุแท้อันเปล่าเปลือยของมัน คุณไม่จำเป็นจะต้องพยายามแปรเปลี่ยน เพราะแท้ที่จริงแล้ว คุณก็ได้และเห็นแล้วถึงคุณสมบัติของความแปรเปลี่ยน ที่แฝงเร้นอยู่ในอารมณ์ เราเพียงแต่สลัดมันไป นี่เป็นเรื่องจริงจังและค่อน ข้างอันตรายทีเดียว

ถาม : ชีวิตของมิลาเราปะนั้นจัดอยู่ในหลักการของตันตระได้อย่างไร เพราะคล้ายกับว่าท่านไม่ได้ฝึกฝนตามแนวทางแห่งการแปรเปลี่ยนเลย หากใช้วิธีการสละละมากกว่า

ตอบ : แน่นอน ในวิถีชีวิตของมิลาเรปะนั้นเป็นแบบฉบับอันน่าพิศวง มาก เป็นแบบฉบับของแนวทางแห่งโยคาวจรผู้สละละ แต่โดยปกติแล้ว เมื่อเราคิดถึงเรื่องการสละละเรามักนึกถึงใครบางคนผู้ซึ่งพยายามจะหนี จาก " ความชั่ว " แห่ง " โลกียวิสัย " ที่ไม่ใช่แบบแผนของมิลาเรปะ อย่างแน่นอน ท่านไม่ได้พยายามที่จะกดดันแนวโน้ม " ด้านเลวทราม " ไว้โดยการปฏิบัติสมาธิอยู่เพียงลำพังในป่าเขา ท่านไม่ได้กักกันตนเอง ไว้ในสถานที่วิเวก ท่านไม่ได้พยายามลงโทษตัวเอง พรตจรรยาของ ท่านเป็นเพียงการสำแดงออกจากบุคลิกภาพส่วนตน เป็นดังเช่นแบบ แผนชีวิตของเราแต่ละคนซึ่งอุบัติขึ้นมาจากจุดที่เราเป็น ซึ่งถูกกำหนด โดยสภาพจิตและประสบการณ์ในอดีต มิลาเรปะต้องการความเรียบ ง่าย และท่านก็ใช้ชีวิตไปอย่างนั้น

บางที สำหรับผู้คนที่เดินตามศาสนมรรค อาจมีแนวโน้มที่ต้องการกลับ ไปสู่โลกชั่วขณะ และมิลาเรปะก็เป็นเช่นนั้น และผู้คนเหล่านั้นก็อาจ กระทำได้ในแวดล้อมของเมือง คนมั่งคั่งอาจใช้จ่ายเงินมากมายเพื่อการ เดินทางจาริก แต่ไม่ช้าก็เร็ว ถ้าหากผู้นั้นเริ่มสัมผัสคำสอนอย่างถ่องแท้ ก็จะต้องหวนกลับมาสู่โลกอีกครั้ง เมื่อครั้งที่มิราเลปะปฏิบัติสมาธิอยู่ วิเวกสถาน ใช้ชีวิตอยู่อย่างอดอยาก มีนายพรานหมู่หนึ่งมาถึงที่นั้นโดย บังเอิญ และถวายเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้ ท่านก็บริโภคมันและสมาธิวัตร ของท่านก็ยกระดับขึ้นในทันที ครั้นต่อมาเมื่อท่านกำลังลังเลว่าจะลง มาสู่เมืองดีหรือไม่ ก็มีชาวบ้านหมู่หนึ่งมาถึงที่หน้าถ้ำขอสดับธรรม ท่าน จึงถูกฉุดดึงออกมาจากวิเวกโดยอุบัติการณ์อันหลอกล่อแบบต่าง ๆ ของ ชีวิต ซึ่งเราอาจเรียกได้ว่าเป็นการล่อหลอกของคุรุ คือคุรุอันมีลักษณะ เป็นสากล ซึ่งแสดงตนออกแก่เราโดยธรรมชาติ เราอาจนั่งสมาธิอยู่ใน ห้องเช่าที่นิวยอร์ค รู้สึกว่า " ขึ้นสูง " และปีติยิ่ง เข้าถึงสภาวะธรรมยิ่ง แต่ครั้นแล้ว เมื่อเราลุกขึ้นและเดินลงไปในท้องถนน ก็มีใครบางคน ก้าวพลาดมาเหยียบเท้าของเราเข้า และเราก็ต้องตอบโต้กับสถานการณ์ นั้น มันฉุดดึงเรากลับลงมาสู่พื้นดิน กลับมาสู่โลก

มิราเลปะนั้นดำรงอยู่ในกระบวนการแปรเปลี่ยนของพละและอารมณ์ อยู่ตลอดเวลา ที่จริง ถ้าเราได้อ่าน " โศลกหนึ่งแสนบาทของมิลาเราปะ " ตลอดครึ่งแรกของหนังสือเล่มนี้ ล้วนกล่าวถึงประสบการณ์ของมิลาเรปะ ในกระบวนการนี้ ใน " ตำนานแห่งหุบเขามณีแดง " มิลาเราปะเพิ่งจาก มารปะมาเพื่อแสวงหาวิเวกและปฏิบัติสมาธิเพียงลำพัง นี่อาจเรียกได้ว่า เป็น " ขั้นตอนของความเป็นผู้ใหญ่ " เพราะเขายังต้องพึ่งพาคุรุที่เป็นตัว คนอยู่ มารปะยังคงเป็น " ท่านพ่อ " อยู่ในใจ หลังจากที่ได้เปิดตัวเอง ออกและยอมหมอบราบคาบแก้วต่อมารปะแล้ว มิลาเรปะยังต้องเรียน ที่จะเปลี่ยนแปรอารมณ์ของตนเองด้วย เพราะท่านยังคงติดอยู่กับ " ดี " และ " เลว " ดังนั้นโลกจึงปรากฏแก่ท่านดังประหนึ่งเทพยาดาหรืออสูร ร้าย

ใน " ตำนานแห่งหุบเขามณีแดง " เมื่อมิลาเรปะกลับไปสู่ถ้ำเถื่อนของ ตน หลังจากที่ได้แลเห็นภาพนิมิตของมารปะ ท่านก็ประจันหน้ากับหมู่ มารฝูงใหญ่ ท่านพยายามทุกวิถีทางที่เท่าจะนึกได้ เพื่อที่จะขับไล่มาร เหล่านี้ไป พยายามใช้เล่ห์กลทุกประการ ท่านบังคับมันล่อลวงมัน แม้ แต่แสดงธรรมเทศนาให้มันฟัง แต่มันก็ไม่ยอมผละจากไป กระทั่งเมื่อ ท่านเลิกถือว่ามันเป็นสิ่ง " เลว " และ เปิดเผยตัวเองแก่มัน และเห็นมัน ดังที่มันเป็น นี่คือจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่จะบำราบมาร ของมิลาเรปะ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับการแปรเปลี่ยนอารมณ์เช่นกัน ด้วย อารมณ์ของเรานั้นเองที่สร้างมารและเทพขึ้น บรรดาสิ่งที่เราอยากขจัด อยากผลักไสออกไปจากชีวิต ออกไปจากโลกของเรา เหล่านั้นคือมาร บรรดาสิ่งที่อยากจะชักนำอยากจะเชื้อเชิญให้เข้ามาหาเราก็คือเทพและ นางฟ้า ส่วนที่เหลือนั้นกลายเป็นทัศนียภาพเป็นส่วนประกอบเท่านั้น

ในการที่สามารถเปิดรับมารและเทพได้ดังที่มันเป็น ในการนั้นเองที่ มิลาเรปะสามารถเปลี่ยนมันไปได้ มันกลับกลายเป็น ยักษิณี หรือกลาย มาเป็นแห่งชีวิต ครึ่งแรกของ " โศลกแสนบท " กล่าวถึงการที่มิลาเรปะ เข้าถึงหลักการแปรเปลี่ยนและศักยภาพที่พอกพูนขึ้น ในการเปิดตัวเอง ต่อโลกดังที่มันเป็น จนกระทั่งท่านสามารถมีชัยเหนือหมู่มารในท้ายที่ สุด ในบทที่กล่าวถึง " มารผจญแห่งนางฟ้าเซรินมา " ในบทนี้มีมาร นับพันนับหมื่นมารุมล้อมเล่นงานมิลาเรปะ ในขณะที่ท่านนั่งสมาธิอยู่ แต่ท่านกลับแสดงธรรมให้หมู่มารฟัง ยอมเปิดตนและรับมันเข้า เสนอ ตนให้แก่มันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้เอง หมู่มารก็ถูกสยบ มีอยู่ขณะหนึ่งเมื่อ เบญจจสุธีตระหนักขึ้นมาได้ว่า พวกตนไม่อาจหลอกหลอนให้มิลาเรปะ หวาดกลัวได้ จึงขับโศลกขึ้นว่า
ถ้าความคิดเกี่ยวหมู่มาร มิได้ผุดขึ้นมาในดวงจิตของท่าน ก็หาต้องเกรงกลัวหมู่มารที่มารุมล้อมอยู่ไม่ เพราะจำเป็นยิ่งกว่า ที่จะบำราบจิตภายในตน ... บนหนทางชันแห่งความกลัวและความหวัง หมู่มารพากันปราชัย ...

และต่อมา มิลาเรปะก็ได้กล่าวขึ้นว่า " ตราบเท่าที่อันติมะหรือธรรมชาติ ที่แท้ของส่ำสัตว์เกี่ยวพันอยู่ ก็ไม่มีทั้งพุทธะหรือมาร ผู้ซึ่งเป็นอิสระแล้ว จากความกลัวและความคาดหวัง พ้นจากบาปและบุญ ย่อมประจักษ์ใจ ได้ถึงความไร้แก่นสารของธรรมชาติแห่งความสับสน เมื่อพ้นสังสาระ ก็จะกลับปรากฏขึ้นดั่งมหามุทราเองทีเดียว ... "

ส่วนเหลือของ " โศลกหนึ่งแสนบท " ล้วนกล่าวถึงพัฒนาการของมิลา เรปะในการเป็นคุรุและพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับศิษย์ จวบจน ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ที่ท่านได้เข้าถึงภาวะอันสมบูรณ์สูงสุดของกระ บวนการแปรเปลี่ยนอันนี้ ไปไกลจนถึงจุดที่อาจจะขนานนามท่านได้ว่า วิทยาธร หรือ " ผู้ทรงไว้ซึ่งปรีชาญาณแบบบ้าบอ " ไม่มีอีกแล้วที่ท่าน จะถูกสั่นไหวด้วยแรงลมแห่งความหวังและความกลัว ไม่ว่าจะเป็นเทพ หรือนางฟ้าหรือมาร ไม่ว่าจะเป็นตัณหาหรือเค้าโครงภายนอกของมัน ต่างถูกบำราบลงและแปรเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง มาบัดนี้ ชีวิตของท่าน กลับเป็นการเริงรำไปอย่างต่อเนื่องร่วมกับยักษิณี

ท้ายที่สุด มิลาเรปะก็มาถึงขั้นตอนที่เป็น " หมาแก่ " อันเป็นการบรรลุ ถึงขั้นสุดยอด ผู้คนอาจเดินไต่ไปบนตัวท่าน ใช้ท่านต่างถนนหนทาง ต่างแผ่นดินโลก ท่านจะดำรงอยู่ที่นั่นเสมอ ไม่หลับเลี่ยงไปไหน ด้วย ว่าท่านได้ไถ่ถอนแล้วซึ่งการดำรงอยู่ของปัจเจก ( เราจะอ่านพบใน ปัจฉิมกถา ) เพื่อว่าตัวมิลาเรปะเองจะได้มีความหมายเป็นสากล เป็น แบบอย่างของการตรัสรู้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 12, 2011, 05:47:07 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ลิงหลอกเจ้า : ตันตระ รูป คือ ประภัสสร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 07:52:30 pm »
 :13:   อนุโมทนาครับพี่มด^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~