อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > ท่านพุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสกับมหายาน (เซ็น)
ฐิตา:
แล้วที่ท่านพุทธทาสบอกว่า "เซ็นเป็นผู้ล้อมหายานเป็นผู้คัดค้านมหายาน"
จริง อันนี้จริง คำพูดของเซ็นแทบทั้งหมด (ขอโทษเถอะ) เปรียบเทียบก็แบบทุบหม้อข้าว คือจะโจมตีพิธีกรรมที่งมงายจนเกินไป โจมตีการเอาหลักธรรมมาปฏิบัติอย่างไม่ถูกทาง เรื่องเทวนิยมก็ไม่พ้นจะหาเงิน แสวงลาภผล เพื่อปากเพื่อท้อง เทวนิยมที่สุดก็มาลงเอยที่วัตถุนิยม โลกเราที่ฆ่ากันทุกวันนี้ก็เพราะแย่งวัตถุนะ โบราณก็แย่งกัน จึงไปตรัสรู้ อเทวนิยม อนัตตานิยม สุญญตานิยม กรรมนิยม นิพพานนิยม
นอกจาก สูตรของเว่ยหล่าง และ คำสอนฮวงโป แล้ว ท่านเอาอะไรจากมหายานอีกบ้าง
ส่วนใหญ่เป็นประเภทเรื่องข้างเคียงเจ้าคุณฯมักจะจดหัวข้อสำคัญๆที่สนใจมาถาม เช่น เคยถามหมอตัน ม่อ เซี้ยง อาจารย์เสถียร ว่าฝรั่งอ้างอย่างนี้ถูกหรือเปล่า คัมภีร์นั้นมีอะไรบ้าง ว่าพระไตรปิฎกจีนมีหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น แล้ว มหาสุญญตาสูตร เป็นแค่ผูกหนึ่งใน มหาปรัชญาปารมิตาสูตร ตอนนั้น ฉันลาออกจากงานประจำ จะมาตั้งกองแปล มหาปรัชญาปารมิตาสูตร เอาอย่าง กษัตริย์หลี ซี หมิน ซึ่งจำนนต่อพระถังซำจั๋ง จนตั้งกองแปลพระสูตรนี้ทั้ง ๖๐๐ ผูก โดยให้ทุนหลวง และใช้พระนักปราชญ์จีนถึง ๑,๐๐๐ องค์ร่วมกันแปลจากภาษาบาลี สันสกฤตเป็นภาษาจีน จึงสำเร็จ
พวกฉันคิดว่าจะทำกัน ๓ คน โดยให้อาจารย์เสถียรแปลเป็นภาษาไทย ฉันคอยอัดเทป พอถอดเทปเสร็จ ก็เอาไปให้หมอตัน ม่อ เซี้ยง เกลาอีกทีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วก็แปลได้แค่ผูกเดียวคือ กิมกังเก็ง(วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร) เพราะอาจารย์เสถียรตายเสียก่อน มีอีกเรื่องหนึ่ง ฉันขอพูดหน่อยเถิด ใครบอกท่านพุทธทาสจะไม่เกิด ผมเอาตามแบบมหายาน เขาเชื่อกันว่าท่านเป็นอรหันต์ ไม่เกิด เรื่องนี้มหายานว่าอย่างไร เซ็นว่าอย่างไร เห็นเหมือนกัน เป็นอรหันต์แล้วไม่กลับมาเกิดอีก แต่ว่าถ้าต้องการเกิด เกิดได้ไหม? ตรงนี้ขัดกัน เพราะมหายานบอกว่าได้ ถ้าต้องการ เพราะฉะนั้น ผมยังไม่เชื่อว่าท่าน พุทธทาสจะไม่เกิด เพราะท่านมีปณิธานอันยิ่งใหญ่ที่ยังทำไม่สำเร็จอยู่ คือ "สารานุกรม พุทธศาสนาภาษาไทย" ทำออกมาได้เล่มเดียวย่อๆ ภาษาคน ภาษาธรรม ท่านบอก ว่าเป็นงานชิ้นสุดท้าย ไม่รู้จะมีชีวิตทำหรือไม่ บอกกับผมอย่างนี้ หลักฐานมีพร้อมแล้ว ท่านให้ผมช่วยหา ปณิธานนี้ยังไม่เสร็จ ผมเชื่อว่าท่านจะต้องกลับมาเกิดอีก และผมก็ขอให้ท่านกลับมาเกิดอีก
ฐิตา:
อ.ประเทือง เอมเจริญ
ท่านพุทธทาสจะชอบพูดว่า "การศึกษา ศึกษาเพื่อให้พ้นทุกข์ สิ่งที่ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ก็ไม่ศึกษา" ในด้านมหายานนี้ท่านให้ความสนใจเซ็นในแง่นี้หรือเปล่า
ขอโทษ มหายานทั้งหมด ท่านดูถูกเลย แต่เซ็นนี่ท่านสนใจ เพราะเซ็นเข้ากับเถรวาทได้ โดยเฉพาะเรื่อง "สุญญตา" ของเราก็มีในหลักสูตรนักธรรมโท "วิโมกข์สาม" แต่ไม่มีอาจารย์สอนขยายความ ตอนที่คนโจมตีท่านพุทธทาสว่า สุญญตาไม่มีในพระไตรปิฎก เจ้าคุณนรฯ (เจ้าคุณนรรัตน์) บอกเลยว่า "ผิด เจ้าคุณฯ (หมายถึง ท่านพุทธทาส) ถูก" คือ มีวิโมกข์สามอยู่ เพียงแต่ไม่มีคนอธิบายเอง รุ่นก่อนก็ไม่มีคนอธิบาย เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นคนยืนยันว่ามี หาคนสอนไม่ได้ สุญญตาจึงขาดตอน เจ้าคุณฯ (ท่านพุทธทาส) พูดถูกแล้ว
เซ็นเป็นสายสุญญตาโดยเฉพาะ เฉพาะ มหาสุญญตาสูตร นี้ เจ้าคุณฯ หลงเลย ฉันเคยฟังสรุปย่อๆ มาตอนอายุ ๑๔ ครั้งหนึ่ง หลังๆ อายุเกือบสามสิบ เคยฟังพระจีนสวด ๒-๓ ครั้ง เป็นปัญญาวิมุติล้วน แทบจะไม่มีเรื่องอภินิหาร (ขอโทษ) เรื่องงมงายแทบไม่มี สติปัฏฐานสี่ มรรคแปด โพธิปักขิยธรรม อยู่ในนั้นครบ
ที่ถูกใจท่านพุทธทาสมากที่สุดคือ มหาสติปัฏฐานสี่ของไทยเรามี กาย เวทนา จิต ธรรม เขาบอกว่า พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ครบ แต่ไทยเน้นแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สุญญตาแทบไม่เคยได้พูด ยกเว้นแต่ที่เจ้าคุณพุทธทาส ยกมา ท่านเป็นคนบุกเบิกสุญญตา อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เราได้ยินกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามหลักเซ็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และสุดท้ายเป็นสุญญตา สามอย่างแรกแปลเหมือนกันคือ อนิจจังแปลว่าไม่ เที่ยง ทุกขังคือทนอยู่ไม่ได้ แต่เซ็นเติมไปอีกนิดว่า "ยึดมั่นเป็นทุกข์" ไทยไม่พูดคำนี้ ใช้แต่ว่า "ทนอยู่ไม่ได้" แล้วอนัตตา "ใช่ตัวใช่ตน ไม่มีตัวตน" แปลความหมายตรงกันทั้งสามคำ แต่เซ็นเติมว่า ถ้าเอา มหาสุญญตาสูตร เป็นหลัก สามอย่างนี้ยังเป็นโลกียธรรม ไม่ใช่โลกุตตระ เพราะอนิจจัง จิตยังปรุงแต่ง ทุกขังก็ยังปรุงแต่ง อนัตตาก็ยังปรุงแต่ง ต้องจิตหลุดพ้นจากความคิดปรุงแต่ง นั่นถึงจะเป็นสุญญตาเป็นนิพพาน ตราบใดยังอยู่ที่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตเธอยังปรุงแต่ง จิตยังวนเวียนเกิดดับ ยังเป็นโลกีย์ ไม่เป็นโลกุตตระ จิตต้องหลุดพ้นจากกระแสดึงดูดของโลกีย์ จึงจะเป็นสุญญตา อันนี้เป็นสิ่งที่เร้าใจให้ท่านศึกษาเซ็น
อย่างกายานุปัสสนานี้ สุดท้ายจิตจะต้องหลุดพ้นเป็นความว่าง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คุณพูดได้ แต่จิตคุณหลุดพ้นหรือยัง ถ้ายังไม่หลุดพ้นยังไม่เป็นความว่าง ยังไม่เป็นนิพพาน ต้องจิตหลุดพ้นเมื่อไรจึงเป็นสุญญตา นี้คือขันธ์ ๕ ตามแนวจิตว่าง อันนี้เจ้าคุณฯ สนใจที่สุด บอก "แหม น่าจะแปลคัมภีร์ชุดนี้" ท่านอธิบายด้วยภาพเด็กเลี้ยงวัว
อีกคัมภีร์หนึ่งที่สำคัญมาก นอกจากเว่ยหล่าง แล้วยังมีเว่ยไห่ หลานศิษย์เว่ยหล่าง อาจารย์เสถียรแปลเป็นภาษาจีนแล้ว เสร็จตอนใกล้ๆจะตาย มีขุนฯอะไรก็ไม่ทราบ ขอเอาไปพิมพ์ดีดให้ แกก็ให้ไป ไม่ถามชื่อแซ่ ที่อยู่ จนบัดนี้ ฉันประกาศจนไม่ประกาศแล้ว สงสัยจะหายเข้าโลงตาขุนคนนั้นไปด้วย คัมภีร์นั้นชื่อ หุ่ยไห้ (มหาสาคร)
ในวงการพุทธศาสนาไทย-จีน ฉันได้ยินมาว่า เขานับถือนักปราชญ์อยู่สามท่าน หนึ่ง หมอตัน ม่อ เซี้ยง พูดเสียงตามสาย สถานีวิทยุจีนทุกแห่ง บอกเราอยู่เมืองไทยต้องเคารพพระเจ้าแผ่นดินไทย สอง ต้องควร ใส่บาตรพระภิกษุสามเณร คนจีนถึงใส่บาตร พระทุกองค์บอกคนจีนใส่บาตรไม่น้อยกว่าคนไทย บุญคุณนี้อยู่ที่หมอตัน ม่อ เซี้ยง พูดเสียงตามสายทุกสมาคมจีน มาที่นี่ (โรงเจเป้าเก็งเต๊ง) ก็พูดอย่างนี้ จากนั้นก็มีเจ้าคุณฯพุทธทาสที่แปล สูตรของเว่ยหล่าง และ คำสอนฮวงโป ทำให้ไทยกับจีนเชื่อมกันได้ อีกคนคือเสถียร โพธินันทะ ผู้แปลวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร แปลวิมลเกียรตินิทเทศสูตร เมธีตะวันออก และปรัชญามหายาน ฯลฯ ๓ นักปราชญ์นี่นำพุทธศาสนาไทย-จีน เชื่อมกันได้ คนรุ่นเก่าเขาพูดอย่างนี้ และข้าพเจ้า "ธีรทาส" มีบุญอยู่หน่อยที่ได้มาพิมพ์คำสอนเหล่านั้นเผยแพร่.
http://www.buddhadasa.org/html/articles/1_bdb/bdb-zen001.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version