ผู้เขียน หัวข้อ: จุดประกายเซนในเมืองไทย โดย สุภารัตถะ  (อ่าน 4461 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

               

พุทธ ขงจื้อ เต๋า เขาว่าเป็นเซน

สารคดี
จุดประกายเซนในเมืองไทย
โดย สุภารัตถะ

 
คำนำ - ผู้เขียน เขียนเรื่องนี้ขึ้นเพื่อบอกกล่าวการเดินทางของนิกายเซนที่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย และความเป็นมาของกลุ่มผู้ทำงานเผยแพร่ธรรมะอย่างเซนนี้ กลุ่มหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังในยุคแรก ซึ่งล้วนเป็นบุคคลสำคัญในวงการศาสนาพุทธเมืองไทย อีกทั้งขอส่งความปรารถนาดีไปยังบุคคลอื่นๆ ในการค้นคว้า ศึกษา เขียนและแปลหนังสือออกเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องเซนนี้กับชาวไทย

 
หมายเหตุ ที่จริงมีภาพประกอบ แต่ไม่มีเครื่องสแกน เลยไม่ได้นำลงประกอบเนื้อหา ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: จุดประกายเซนในเมืองไทย โดย สุภารัตถะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 07:22:35 am »


พุทธ ขงจื้อ เต๋า เขาว่าเป็นเซน
โดย สุภารัตถะ

อ า รั ม ภ บ ท
ความเป็นมาของเซนในไทย

 
ไม่อาจยืนยันได้ว่านิกายเซนได้เดินทางเข้ามาสู่เมืองสยามในสมัยใด จังหวัดใดบ้าง แต่ก็ประมาณมีหลักฐานพอให้พิจารณา ข้าพเจ้าได้รับหนังสือหลายเล่มของท่านธีรทาสมาอ่าน และเล็งเห็นว่าหากข้อมูลเหล่านี้ยังไม่อาจสรุปยืนยัน แต่ก็ควรเก็บตั้งเป็นสมมุติฐานไว้เป็นอย่างสำคัญ
 
ข้อความบางส่วนจากหนังสือค้นพบเมืองเก่ากรุงศรีวิชัยของท่านธีรทาส หน้า 49-51 / 67-72 / 43-44
 
หน้า 49-51
…และยังมีหนังสือเก่า ตำนานหลักฐานโบราณสถาน นครต้าหลี่ต่างๆ ที่ก่อสร้างไว้ก่อนสมัยศรีวิชัย อาจารย์สัมพันธ์ อาภรณ์พานิช บอกว่าชมดูทั้งหมดแล้ว มีองค์พระอวโลกิเตศวร ที่สร้างไว้ที่นครต้าหลี่ เอามาพิจารณาเปรียบเทียบดู เป็นช่างสกุลเดียวกันกับพระอวโลกิเตศวร องค์ที่พบในวัดพระบรมธาตุ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็สมัยศรีวิชัยเช่นกัน หรือว่าหล่อที่นครต้าหลี่ แล้วนำเอามาไว้ที่เมืองไชยา

…พบหลักฐาน ตำนาน นครต้าหลี่ จารึกไว้ว่า พระพุทธศาสนานิกายเซน(ฌาน) เจริญแพร่หลายในเมืองต้าหลี่และอาณาจักรน่านเจ้ามาก่อน …พบหลักฐานต่างๆ ทำให้เชื่อว่า พระสังฆราชโพธิธรรม(ตั๊กม้อไต้ซือ) ตอนอายุ 150 พรรษา ท่านเดินทางขี่ช้างกลับอินเดีย ต้องใช้เส้นทางตะวันตกเฉียงใต้ เส้นทางเสฉวน-ยูนาน ผ่านนครต้าหลี่ เพราะเส้นทางนี้สมัยถังติดต่อกันกับอินเดีย …ประมาณ พ.ศ. 924 บันทึกการเดินทางของภิกษุจีนหลวงจีนฟาเหียน เดินทางจากจีนไปอินเดีย ใช้เส้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนด้วยเส้นทางแพรไหม แต่ตอนกลับทางเรืออ้อมแหลมมลายู ได้แวะเมืองท่าตะโกลา (ตะกั่วป่า) และอ่าวบ้านดอน สมัยเมื่อพันปีที่แล้ว สมัยโบราณ จากอ่าวตะโกลา(ตะกั่วป่า) มีแม่น้ำลำคลองใหญ่ให้เรือเดินทะเลผ่านได้ จากทะเลอันดามันข้ามมายังอ่าวบ้านดอนได้ ทำให้เมืองไชยายุคโน้นเก็บภาษีสินค้าต่างๆ จนเป็นเมืองที่ร่ำรวยมากเมืองหนึ่ง

…ประมาณ พ.ศ.1172 ถึง พ.ศ.1188 บันทึกการเดินทางของพระถังซำจั๋ง จากจีนเดินทางทางบกถึงอินเดีย ใช้เส้นทางแพรไหมภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ไปทางบกกลับทางบก …ประมาณ พ.ศ.1214 ถึง พ.ศ.1232 บันทึกการเดินทางของพระภิกษุอี้จิง เดินทางจากจีนลงเรือทะเล ยังได้แวะกรุงศรีวิชัยก่อนไปอินเดีย แสดงว่าชาวจีนเมื่อพันปีก่อนโน้นอพยพมาอยู่กรุงศรีวิชัย จนภาษาจีนแพร่หลายใช้ในราชการได้ คงจะนำเอาพระพุทธศาสนานิกายเซน (ฌาน) และนำเอาช่างฝีมือดีของจีน มาหล่อพระพุทธรูปต่างๆ ไว้อีกด้วย เพราะว่าโบราณวัตถุต่างๆ ที่ขุดพบอายุ 1,000 ปีขึ้นไป มีศิลปคล้ายจีนผสมอินเดียมาก

…องค์พระมหาเจดีย์บรมพุทโธ ที่สร้างประมาณ พ.ศ. 1315 ในชวาปาเล็มบัง 72 องค์ ผู้สร้างเจาะจงก่อสร้างเป็นเจดีย์โปร่ง ข้างในว่างเปล่า หรือจะเป็นปริศนาธรรม ต้องการให้มองเห็นความว่าง เป็นสัญลักษณ์ของ “สุญตา” คือความว่าง – นิพพาน เป็นปริศนาธรรม (โกอาน) แบบเซน

…พระเจ้ากรุงจีน สมัยราชวงศ์ถัง ได้พระราชทานระฆังใหญ่มาให้กรุงศรีวิชัย บัดนี้ระฆังนั้นได้ขุดพบที่วัดพระบรมธาตุ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี หรือจะเป็นพยานปากเอกว่า กรุงศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่เมืองไชยา ประเทศไทยนี่เอง
 
หน้า 67-72
…ตอนพบท่าน (ท่านธีรทาสพบท่านพุทธทาส) ท่านก็ดีใจ ผมบอกท่านว่า สูตรของท่านเว่ยหล่างที่ท่านอาจารย์แปล เตี่ยสอนผมตั้งแต่อายุ 8–9 ขวบแล้ว ท่านก็แปลกใจ “8–9 ขวบ เตี่ยสอนยังไง” ผมก็ท่องโศลก “กายคือต้นโพธิ์ ใจคือกระจกเงาใส…” ให้ฟัง ท่านก็ถามต่อว่า “เมืองไทยรู้เรื่องเซนตั้งแต่โน่นเหรอ” ผมบอก “ใช่ เขามาก่อนเตี่ยผมแล้ว” อาจารย์เซนที่มา มาแล้วสอนไม่ได้ ไม่อาจถ่ายทอดเป็นภาษาไทยเพราะพูดจีนกลาง ตอนนั้นสมัยรัชกาลที่ห้าตอนปลาย มีพระอาจารย์เซนมาจากเมืองจีน 3 องค์ ยังค้นชื่อที่แน่ชัดไม่หมด แต่พอจะได้หลักฐานเค้ามูลบ้าง พระอาจารย์มาถึงแล้วก็ปลงสังขารตกว่า ถ้าสอนได้ก็สอน สอนไม่ได้ก็เอาตัวรอดดับขันธ์ไป ไม่กลับเมืองจีน รุ่นเก่าๆ บอกเล่ากันต่อๆ มาว่า อาจารย์ทั้ง 3 รูปนั้น หายไปในเมืองไทยได้อย่างไร

รูปหนึ่งชื่อ พระภิกษุกักเง้ง สายวัดเส้าหลิน (วัดเซียวลิ้มยี่) นั่งเข้าฌานดับแห้งตายอยู่ในถ้ำเขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี พี่สาวผม (ธีรทาส) ทันเห็นองค์นี้ตอนอายุ 9 ขวบ ช่วงนั้นฝนไม่ตก 3-4 ปี ชาวบ้านหาว่า หลวงพ่อนั่งแห้งที่อยู่บนถ้ำทำให้ฝนไม่ตก แห้งแล้ง จึงอัญเชิญลงมาเผา แต่ศพไม่เน่าเพราะเซนเก่งเรื่องนี้ เขามีสูตรวิธีทำได้ วันที่ชาวบ้านจะเอาพระศพของพระกักเง้งลงมาเผา หลานชายของท่านซึ่งเก่งเรื่องตำรายางูกัด ชาวบ้านเรียกท่านว่าพระงู ท่านมีกำลังภายใน กังฟูแบบวัดเส้าหลิน ท่านได้ปลงไม่พูดอะไรเลย เพียงแค่แสดงอิทธิฤทธ์…คือที่วัดมีระฆังใหญ่ขนาดสองคนยกแทบจะไม่ขึ้น พระงูท่านสำรวมพลังจิต ยื่นมือจับระฆังใบนั้น หิ้วแล้วชูสูงๆ เดินนำจากตีนภูเขา ตีระฆังเสียงดังๆ ไปจนถึงถ้ำ ที่หลวงลุงพระกักเง้งท่านนั่งสมาธิดับขันธ์ในฌานสมาบัติ ชาวบ้านแถบนั้นยังมองไม่เห็นถึงคุณธรรมโพธิสัตว์… พอชาวบ้านอัญเชิญหลวงพ่อแห้งพระกักเง้งลงมาเผาที่เชิงเขาแล้ว ท่านพระงูได้แต่ปลงสติปัญญาของชาวบ้านนี้ว่า จะสอนฌานหรือเซนกันได้อย่างไร? ท่านจึงตัดสินใจ อำลาไปทางสิงคโปร์ ไม่กลับมาอีกเลย

อีกรูปหนึ่งชื่อหลวงพ่อโพธิ์ อยู่ในถ้ำเมืองกาญจน์ พระยิ้งอ้วง วัดมังกรบุปผาราม จันทบุรี ธุดงค์เข้าไปในแดนกะเหรี่ยง มีกะเหรี่ยงที่พูดภาษาไทยได้บอกว่า มีถ้ำแปลกหลายถ้ำ เขาบอกว่ามีคนนั่งตายตัวแห้งแข็ง พระยิ้งอ้วงท่านก็สงสัย ให้กะเหรี่ยงพาไป ชื่อถ้ำกระปุก ท่านถ่ายรูปหลวงพ่อพวงโพธิ์ออกมาได้ ศพนั่งแห้งจนนึกว่าปั้น แทบไม่น่าเชื่อ เรื่องนี้ทำให้สันนิษฐานว่า พระมหายานมาเมืองไทย ก็เดินทางเข้ามาทางเมืองกาญจน์หมด (มีรายงานกลับเมืองจีนว่าไปอยู่ที่ อ.เที้ยบ้วง ก็คือ อ.ท่าม่วง เมืองกาญจน์นั่นเอง)

อีกรูปหนึ่งนั้น มีเชื้อพระวงศ์แต่ชื่ออะไรนั้นจำไม่ได้ บอกว่าปู่ของท่าน แล่นเรือออกไปทางสมุทรปราการเพื่อยิงนกตกปลาเล่น เมื่อส่องกล้องทางไกล กลับไปเจอพระนั่งนิ่งอยู่ไกลๆ อีก 5 วันกลับมา ก็ยังเห็นพระนั่งอยู่อย่างนั้น จึงแวะไปดุและสืบจนรู้ว่าเป็นพระมาจากเมืองจีน ท่านบอกว่าตั้งใจจะลาโลกแล้ว เพราะเจตนาจะมาสอนธรรมในเมืองไทย แต่ไปไม่รอดเพราะติดเรื่องภาษา เจ้าองค์นั้นจึงนิมนต์หลวงพ่อมาอยู่กรุงเทพฯ และบอกว่าจะช่วยหาวิธีถ่ายทอดธรรมะให้ แต่อยู่ได้ไม่ถึง 2 อาทิตย์ ท่านก็บอกว่าได้ปลงสังขารชีวิตแล้ว อยากกลับที่เดิม ก่อนที่ท่านจะจากไป ได้เขียนภาษาจีนทิ้งไว้ว่า ท่านเป็นพระนิกายเซน (ฌาน) สายวัดเส้าหลิน สาขาฮกเกี้ยน ชื่อกวงติก อายุ 85 ปี ลงเรือที่ซัวเถามาถึงเมืองไทย และออกธุดงค์ไปหลายจังหวัด เมืองไทยนี้คนใจบุญมาก พระโพธิสัตว์จะไม่เดือดร้อนปัจจัย 4 แต่ท่านแก่ชราภาพมากแล้ว ขอลาผู้มีบุญคุณ และฝากธรรมะ “อนิจจัง – ทุกขัง – อนัตตา – สุญตา“ เป็นพรอันประเสริฐ ขอให้จงมีแต่โชคดีในธรรมาณาจักรนี้

                   
 
หน้า 43-44
…พระเซน (ฌาน) สายนี้ เก่งอักษรศาสตร์ มุ่งสอนแต่เทศนาธรรมาทาน ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว พยายามมุ่งส่งเสริมศิษย์ที่เก่ง ให้นำพระคัมภีร์และคำสอนธรรมต่างๆ ลงท่าเรือซัวเถา ให้ออกโพ้นทะเลไปเวียดนาม สิงคโปร์ มาลายา อินโดนีเซีย เข้าเมืองไทย สมัยรัชกาลที่ 4 และที่ 5 รุ่นแรกมีพระจีน 3 องค์มาแล้ว แต่การสอนธรรมาทานไปไม่รอด เพียงแต่ได้ส่งรายงานกลับเมืองจีนว่า ภาคกลางของเมืองไทยเป็นชาวแต้จิ๋วมาก ติดขัดเรื่องภาษาพูด ทั้งสามองค์พูดเป็นแต่ภาษากวางตุ้ง ฮกเกี้ยน จีนกลางผสมสำเนียงเหอหนานก็มี

…รุ่นหลังๆ ได้ส่งอุบาสกมาหลายท่าน ดังเช่น แปะโคว้เซียน ซึ่งเป็นอุบาสก ที่รับโพธิสัตว์ศีล (ถือศีล 5 ) มานั่งสมาธิดับตายในฌานสมาบัติ ท่านทิ้งผลงานไว้ให้แก่ชาวโลกพิสูจน์ว่า ตายได้ตามความต้องการมีจริง ที่โรงเจหัวตะเข้ ฉะเชิงเทรา (ต้นรัชกาลที่ห้า) และที่เมือง เพชร เมืองกาญจนบุรี มักจะแอบสงบเงียบอยู่ในถ้ำแดนกะเหรี่ยง เขตพม่า หรือไปสังกัดอยู่กับวัดของอัญนำนิกาย (วัดญวน) ต่างๆ

…เตี่ยกิมเช็ง (บิดาของท่านธีรทาส) บอกว่า ท่านเป็นรุ่นสุดท้าย เรื่องนี้โบราณถือเก็บเป็นความลับ สอนได้แต่ลูกหลาน ศิษย์ที่สืบอายุธรรมาณาจักรใจนี้เท่านั้น แต่พอถึงสมัยลูกๆ โตไปแล้ว คงไม่ต้องเก็บไว้เป็นความลับ ถึงเวลา จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ก็ได้…

 
 
- ข้อความบางส่วนที่นำมานี้ คัดลอกมาจากหนังสือค้นพบเมืองเก่ากรุงศรีวิชัย โดยท่านธีรทาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2016, 10:22:19 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: จุดประกายเซนในเมืองไทย โดย สุภารัตถะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 11:57:48 am »
 :13: อนุโมทนาสาธุครับพี่แป๋ม^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: จุดประกายเซนในเมืองไทย โดย สุภารัตถะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2010, 04:54:37 pm »
   

   จุดประกายเซน (ในเมืองไทย)
   โดย สุภารัตถะ

      หลายท่านอาจนึกไม่ออกหรือลืมเลือนไปบ้างแล้ว ว่าเริ่มสนใจศึกษาเซนกันตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่หลายท่านก็คงยังจดจำได้อย่างชัดเจน ถึงตอนหยิบหนังสือเซนขึ้นมาอ่านด้วยความสนใจ สนุกสนานกับนิทานเซน การ์ตูนเซน หรือหลักคำสอนของเซนที่เน้นจากจิตสู่จิต สลัดการยึดมั่นละวางการตึดยึดทั้งปวงฉับพลัน เข้าสู่สุญตาทันทีทันใด และหนังสือเซนชื่อดัง “สูตรของเว่ยหล่าง” ว่าด้วยประวัติและคำสอนของท่านเว่ยหล่าง แปลโดยท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ จากภาษาอังกฤษโดย ว่องมูล่ำ ที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาจีนของ ดร.ติงโฟโป ซึ่งนับเป็นคัมภีร์สำคัญของนิกายเซน
 
น่าเสียดาย ที่การเดินทางเข้ามาไทยของพระเซนจากจีน ไม่สามารถทำการเผยแพร่หลักคำสอน หรือก่อสร้างศาสนสถานได้แพร่หลาย แต่ปัจจุบันนิกายเซน ได้เข้ามาก่อรูปก่อร่างในหัวใจคนไทยไม่น้อย หลายท่านทั้งฆราวาสและนักบวช ได้เดินทางไปศึกษาเซนถึงประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น และอีกหลายๆ ท่านได้ศึกษาเซน จากหนังเซนซึ่งเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ผู้ที่ชื่นชอบได้นำหลักการเซนมาประยุกต์ใช้ในชุมชน นำศิลปะอย่างเซนมาใช้ในการก่อสร้างสถานที่ ด้วยความเรียบง่ายที่มากไปด้วยความจริงตามธรรมชาติ แต่จะมีคนไทยสักกี่คน ที่จะรู้จักสถานที่ที่หนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญต่อการก่อกำเนิดเซนและมหายานในไทย ด้วยบุคคลสำคัญที่มาพบปะชุมนุมกัน ณ สถานที่แห่งนี้ โรงเจเป้าเก็งเต็ง หรือพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง
 
แม้ว่าภิกษุจีนหลายรูป ที่ได้ตั้งปณิธานจะเข้ามาเผยแพร่นิกายเซนในไทย ต้องประสบกับปัญหาอันยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา ความยากจนของชาวบ้าน อีกทั้งความยากที่จะเข้าใจถึงสัจธรรมความจริงของจิตเดิม ทำให้ไม่อาจสืบสานเจตนา ต้องละทิ้งรูปสังขารอันไม่เที่ยงที่ต้องยอมจำนนต่อข้อจำกัดของกาลเวลา ในการเสื่อม เจ็บและตาย และอาจจะเป็นด้วยว่า ยังไม่ถึงเวลาของนิกายเซนจะเผยแพร่เจริญรุ่งเรืองในไทย แต่บุคคลที่อยู่เบื้องหลังทั้งหลายก็ยังคงมุ่งมั่นทำงานต่อไป เหมือนที่ท่านโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) ต้องยอมจำนน ต่อความไม่พร้อมของชาวจีน ที่จะเข้าถึงเซนเมื่อท่านเดินทางไปถึง ท่านจึงปลูกเมล็ดพันธุ์ไว้ ในสังฆปรินายกองค์ถัดมา ถัดมา

และในที่สุด ท่านเว่ยหล่างสังฆปรินายกองค์ที่หก ก็สามารถเผยแพร่หลักธรรม ว่าด้วยการถ่ายทอดแบบจิตสู่จิตออกไปอย่างแพร่หลายกว้างขวาง ทำให้มีผู้เข้าถึงจิตเดิมจำนวนมากมาย จนทำให้นิกายเซน (ธยานะ) เจริญในจีนอย่างสูงสุด เป็นที่รู้จักและสืบทอดไปทั่วโลกต่อๆ มาถึงทุกวันนี้ เช่นกัน…ในความโชคร้ายที่ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอด เพราะโชคดี ที่มีฆราวาสจีนกลุ่มหนึ่งในจำนวนชาวจีนมากมายที่เดินทางมาพึ่งแผ่นดินไทย นับเป็นกลุ่มที่นำเมล็ดพันธุ์แห่งเซนเข้ามาบ่มเพาะอีกครั้ง และรอวันที่จะเติบโตเจริญงอกงามในเส้นทางของผู้ที่พากเพียรค้นหาความจริงแห่งจิต แม้ท่านอาจจะไม่ใช่ผู้บรรลุธรรม อาจไม่ใช่ปรมาจารย์เซน ที่จะสามารถทำให้ใครต่อใครบรรลุธรรมได้ฉับพลัน แต่ก็เป็นกลุ่มบุคคลที่เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นศรัทธาในความเป็นเอกยานแห่งพุทธ ไม่แบ่งแยกหินยาน มหายาน หรือวัชรยาน เพราะความจริงนั้นเป็นหนี่ง และจิตนั้นก็ไม่อาจแบ่งแยก ความมุ่งมั่นของบุคคลกลุ่มนี้ จึงทนต่อสถานการณ์อันยากลำบากต่างๆ ในเส้นทางที่จะสืบทอดพุทธศาสนาในมุมกว้าง ถึงความเป็นแก่นแท้ของพุทธะ


 
จากโรงเจเป้าเก็งเต็ง จังหวัดราชบุรี
สู่โรงเจเป้าเก็งเต็ง ซอยปลูกจิต คลองเตย

 
แม้ว่าโรงเจเป้าเก็งเต็ง จะก่อกำเนิดด้วยแรงทานของชาวจีนในไทยจำนวนมาก ที่นิยมทำกงเต็กให้กับผู้ที่ล่วงลับ เงินทองที่ได้มาจากงานศพต่างๆนั้น มักจะถวายให้เป็นการบำรุงโรงเจ คณะบุคคลกลุ่มหนึ่งมีจิตศรัทธาและแสวงหาบุญกุศล จึงช่วยกันบุกเบิกป่า ก่อสร้างพุทธวิหารขึ้นเป็นโรงเจ ที่อำเภอปากท่อ ราชบุรี รายนามของผู้บุกเบิกนับเป็นผู้จัดการยุคต้น 7 ท่าน มีหลักฐานดังนี้ ตั้งฮุ้นเซี้ยง, ลิ้มเช็งเอี้ยง, จิวซูเล้ง (เนี่ยไหล), ลิ้มเทียงเล้ง (โบ่ว), เฮ้งเง็กเล้ง, ตั้งงิ้นเล้ง (อ้อ), ลี้เต๋าอิม (กี้)
 
ท่านซินแสจิวเนี่ยไหล เห็นว่าหลักธรรมะที่ใช้สอนเผยแพร่แก่ผู้ที่มาศึกษาที่โรงเจยังไม่เพียงพอ ตัวท่านและศิษย์อีกสองคน คือ นายเซ้งง้วน แซ่เล้า และนายลิบซี แซ่ตั้ง จึงลงเรือเดินทางทางทะเล ไปขึ้นฝั่งที่ซัวเถา วัดซิงอำยี่ อำเภอเท่งไฮ้ มณฑลกวางตุ้ง เพื่อศึกษาธรรม จากพระธรรมาจารย์เหลาฮั้วเสียงโจ้วซือ ทั้งสามท่านรับโพธิสัตว์ศีล ศึกษาธรรมะอยู่ร่วม 2 ปี ท่านจิวเนี่ยไหลก็ล้มป่วยถึงแก่กรรมที่ประเทศจีน คุณเซ้งง้วนและคุณลิปซีผู้เป็นศิษย์ ได้นำพระคัมภีร์ต่างๆ กลับมาไว้ที่โรงเจ แต่ยังไม่สามารถจะเผยแพร่และสั่งสอนญาติโยมได้อย่างเต็มที่
 
ประมาณปี พ.ศ. 2490 คุณเซ้งง้วน มีอายุ 27 ปี ได้รับการสนับสนุนจากครูบาอาจารย์ต่างๆ ให้มาก่อตั้งโรงเจเป้าเก็งเต็ง บ่อนไก่ ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ ด้วยความตั้งใจจะสร้างให้เป็น พุทธวิหารอย่างเซน ตามวัดนิกายเซน (ฌาน) ในเมืองจีน มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี เป็นองค์ประธาน พระมหากัสสปะเถระ พระอานนท์เถระ และพระอรหันต์ 18 องค์ เจ้าแม่กวนอิม พระศรีอารยเมตไตรยมหาโพธิสัตว์ และรูปพระสังฆราชโพธิธรรมมหาครูบา (ตั๊กม้อไต้ซือ) รูปพระสังฆปรินายกองค์ต่างๆ ในจีน จนถึงท่านเว่ยหล่าง เพื่ออนุรักษ์รูปแบบอย่างเดิมไว้ทุกประการ น่าเสียดายที่กว่าจะรวบรวมเงินเพื่อการก่อสร้างให้สำเร็จลุล่วง ต้องใช้เวลานาน ท่านเซ้งง้วนต้องสอนการสวดมนต์ทำพิธีกรรม ทำกงเต็ก เพื่อหาเงินมาสร้างพุทธวิหารนี้ กว่าจะรวบรวมได้ท่านก็อายุมากแล้ว โดยที่ท่านยังไม่ได้สอนเซน (ฌาน) ความชราภาพก็เดินทางมาสู่ท่านเสียก่อน แต่ความตั้งใจของท่านก็บรรลุวัตถุประสงค์ โรงเจดำเนินการก่อสร้างลุล่วง ภายใต้การจดทะเบียนเป็น พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็ง คลองเตย มีคุณบุญฤทธิ์ รัตนชินกร เป็นนายกพุทธสมาคม คุณธีระ วงศ์โพธิ์พระ (ธีรทาส) เป็นเลขานุการ และคณะกรรมการที่สำคัญอีกหลายท่าน
 
ท่านอาจารย์อ้อซินแส และท่านอาจารย์กี้ซินแส เกิดโพธิจิตเห็นว่าการหาเงินก่อสร้างวัตถุสมควรเพียงพอแล้ว จึงมอบหน้าที่ให้อาจารย์เซ้งง้วน จัดหาอริยครูบามาสอนธรรมะเป็นธรรมาทาน ท่านอาจารย์นายแพทย์ตันม่อเซี้ยง อาจารย์เสถียร โพธินันทะ (ตั้งเม่งเต็ก) พระอาจารย์หลวงจีนเย็นบุญภิกขุ และท่านธีรทาส จึงถูกเชิญมาร่วมก่อตั้งชมรมธรรมาทาน ณ พุทธสมาคมเป้าเก็งเต็งแห่งนี้ เพื่อสอนธรรมะให้แก่ผู้ที่มาโรงเจ
 
ท่านอาจารย์ตันม่อเซี้ยง จะมาแสดงปาฐกถาธรรม บรรยายพระสูตรที่สำคัญของมหายานต่างๆ เป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว มีชาวจีนและผู้มีศรัทธา และพระสงฆ์จีนตามวัดต่างๆ มาฟังด้วยความสนใจ ผลงานแสดงธรรมต่างๆ ได้บันทึกเสียงแจกจ่ายไปตามโรงเจและวัดจีนต่างๆ ร่วม 10 ปี จนอาจารย์นายแพทย์ตันม่อเซี้ยงแก่ชราภาพมาก จึงหยุดไป

 
น่าเสียดายคนหนุ่มอย่างอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้อันยิ่งยวด ท่านเป็นทั้งปราชญ์และอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีผลงานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พุทธศาสนา พุทธมหายานและแปลพระสูตรสำคัญต่างๆ ต้องมาด่วนละสังขารไปตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เราต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่สำคัญไป ทำให้งานสำคัญอีกหลายชิ้นที่ท่านตั้งมโนปณิธานจะทำ ต้องระงับไปโดยปริยาย
 
ท่านธีรทาส เลขานุการของโรงเจเป้าเก็งเต็ง วัยหนุ่มรุ่นเดียวกับอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผู้ได้รับการสอนเซน (ฌาน) โดยบิดาท่าน จากปากสู่ปาก บัดนี้ท่านกำลังทำหน้าที่แทนบิดาของท่าน สอนเซนให้กับลูกหลานเซนอย่างพวกเรา โดยการเขียนหนังสือธรรมะรวมถึงพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นทาน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ผลงานธรรมะที่น่าสนใจ และผลงานของท่านเอง จนกระทั่งบัดนี้ท่านอายุประมาณ 76 ปี (พ.ศ. 2547) นับว่าท่านเป็นผู้ที่ถ่ายทอดเซน ผสานประวัติศาสตร์การเดินทางของเซนในไทย และเชื่อมต่อบุคคลสำคัญต่องานเซนที่เผยแพร่ในไทยอย่างสำคัญ
 
 

 
-ท่านที่สนใจประวัติการก่อตั้งพุทธสมาคมเป้าเก็งเต็งอย่างละเอียด หาอ่านได้จาก
หนังสือพระคัมภีร์ (ปริศนาธรรม) 18 พระอรหันต์ เรียบเรียงโดย ธ.ธีรทาส (ท่านธีรทาส)

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=06-2006&date=11&group=14&gblog=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2016, 10:40:18 am โดย ฐิตา »