ครูชาวธิเบตที่มีชื่อเสียงที่สุดผู้หนึ่ง และเป็นทั้ง
คุรุคนสำคัญผู้หนึ่งของ นิกายคากิว ซึ่งข้าพเจ้าสังกัดอยู่ ก็คือ
มารปะ ผู้เป็นศิษย์ของครูชาว อินเดียชื่อ
นโรปะ และเป็น
คุรุของมิลาเรปะ บุตรทางศาสนธรรมที่มี ชื่อเสียงที่สุดของท่าน มารปะเป็นตัวอย่างของบุคคลที่กำลังไปตามหน ทางที่จะสร้างตัวเองให้ประสบความสำเร็จ ท่านเกิดในตระกูลชาวนา แต่ครั้นเป็นหนุ่มก็ทะเยอทะยาน และเลือกเอาความเป็นปราชญ์และ ความเป็นนักบวชเป็นหนทางที่จะไปสู่ความมีชื่อเสียง เราคงจะจินตนา- การได้ว่าลูกชาวนาอย่างท่านจะต้องใช้ความพยายามและความเด็ดเดี่ยว สักเพียงใด ในการปลุกปั้นตัวเองขึ้นสู่ญานะกบวชในศาสนาพื้นบ้าน ของท่าน มีหนทางน้อยมากที่คนอย่างท่านจะได้รับตำแหน่งอะไรใน ธิเบตเมื่อศตวรรษที่สิบ ไม่ว่าจะเป็น พ่อค้า ขุนโจร หรือโดยเฉพาะ นักบวชในสมัยนั้น การเข้าไปร่วมกับนักบวชท้องถิ่นได้ นับว่าท่าน เป็นทั้งนักกฏหมายและศาสตราจารย์รวมกันทีเดียว
มารปะเริ่มต้นด้วยการศึกษาภาษาธิเบต สันกฤต และภาษาอื่น ๆ อีก หลายภาษา ตลอดจนภาษาพูดของอินเดีย ท่านใช้เวลาศึกษาอยู่เพียง สามปีก็เก่งพอที่จะหาเงินได้ในฐานะนักปราชญ์ ครั้นได้เงินมา ก็เอามา ใช้เป็นทุนในการเล่าเรียนทางศาสนา จนในที่สุดได้เป็นนักบวชในพุทธ ศาสนา ซึ่งตามโวหารในสมัยนั้น ฐานะดังกล่าวได้สร้างชื่อเสียงให้ไม่ น้อยในระดับท้องถิ่น แต่มารปะยังทะเยอทะยานกว่านั้น ดังนั้น แม้ ตอนนั้นท่านจะแต่งงานและมีครอบครัวแล้ว ท่านก็ยังสะสมรายได้ต่อ ไปจนรวบรวมทองคำได้เป็นจำนวนมาก
ถึงตอนนี้ มารปะก็ได้ประกาศต่อหมู่ญาติท่านตั้งใจจะเดินทางไปอินเดีย เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม เวลานั้น
อินเดียเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา ของโลก เป็นดินแดนของมหาวิทยาลัยนาลันทาและบัณฑิตนักปราชญ์ชาว พุทธทั้งหลาย มารปะตั้งใจจะไปศึกษาและรวบรวมตำรับตำราที่ไม่มีใน ธิเบตกลับมาแล้วแปลมัน ซึ่งจะทำให้ท่านก้าวสู่ฐานะนักปราชญ์นักแปล ผู้ยิ่งใหญ่ การเดินทางไปอินเดียในเวลานั้นและแม้กระทั่งจนเมื่อไม่นาน มานี้ เป็นการเดินทางที่อันตรายไม่น้อย ครอบครัวและผู้หลักผู้ใหญ่ของ มารปะจึงพากันห้ามปราม แต่ท่านได้ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวแล้วและเริ่มออก เดินทางร่วมกับเพื่อนปราชญ์อีกคนหนึ่ง
หลังจากที่ได้เดินทางเป็นแรมเดือน ทั้งคู่ได้ข้ามเทือกเขาหิมาลัยสู่แคว้น เบงกอล แล้วแยกกันที่นั่น ทั้งสองคนต่างศึกษาภาษาและศาสนามาอย่าง ดี จึงต่างตัดสินใจแสวงหาครูบาอาจารย์ด้วยลำพังตน เพื่อให้เหมาะกับ จริตของตน ก่อนจะจากกัน ทั้งคู่ตกลงกันว่าจะมาพบกันอีกเพื่อจะเดิน ทางกลับบ้านด้วยกัน
ขณะที่
มารปะเดินทางผ่านเนปาล ท่านเกิดได้ยินกิติศัพท์ของ
นโรปะ ซึ่ง เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก นโรปะเคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย นาลันทา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นศูนย์กลางศึกษาพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เท่าที่โลกเคยมีมา ขณะที่กำลังประสบความสำเร็จทางการงานอยู่นั่นเอง ท่านกลับรู้สึกว่าท่านเข้าใจคำสั่งสอนได้แต่พอสัมผัส แต่ยังไม่ถึงความ หมายที่แท้จริงของคำสั่งสอน ท่านจีงสละตำแหน่งของท่านและออก เดินทางแสวงหาคุรุ ท่านต้องทนทรมาณอย่างแสนสาหัสอยู่กับการศึกษา ปฏิบัติกับครูติโลปะเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี จนกระทั่งในที่สุดท่านก็ได้บรรลุ ขณะที่มารปะได้ยินชื่อท่าน ท่านได้รับการกล่าวขวัญแล้วว่าเป็นหนึ่งใน บรรดาพระอริยบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ มารปะย่อมถามหาตัว ท่านเป็นธรรมดา
ในที่สุดมารปะก็ได้พบนโรปะ ซึ่งกำลังใช้ชีวิตอยู่อย่างยากจนในกระต๊อบ เล็ก ๆ ในป่าแคว้นเบงกอล ท่านคาดคิดไว้ว่าจะได้พบคุรุผู้ยิ่งใหญ่อาศัย อยู่ท่ามกลางศาสนวัตถุที่วิจิตรตระการตา ท่านจึงค่อนข้างจะไม่พอใจ อย่างไรก็ตาม ท่านก็ออกจะงง ๆ กับภูมิประเทศที่แปลกหูแปลกตาใน ถิ่นต่างเมืองและยอมยกครู ด้วยคิดว่าครูชาวอินเดียคงจะอยู่กัแบบนี้กระมัง ทั้งชื่อเสียงของนโรปะที่ท่านกำลังชื่นชมอยู่ ก็มีน้ำหนักมากกว่าความไม่พอ ใจของท่าน ท่านจึงให้ทองคำเกือบทั้งหมดแก่นโรปะและขอให้ท่านช่วย สั่งสอน มารปะอธิบายว่าท่านแต่งงานแล้ว ท่านเป็นนักบวช นักปราชญ์ และชาวนาจากธิเบตจึงไม่ได้คิดจะทิ้งชีวิตทั้งชีวิตที่อุตส่าห์หมายมั่นปั้นมา กับมือ แต่ใคร่จะรวบรวมคำสั่งสอนแล้วนำกลับไปแปลที่ธิเบต เพื่อจะได้ เงินมากกว่านี้ นโรปะยอมรับคำขอของมารปะอย่างง่ายดาย แนะนำสั่งสอน มารปะและทุกสิ่งทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยดี
ไม่นานนักมารปะก็เห็นว่าท่านได้รวบรวมคำสั่งสอนได้มากเท่าที่ประสงค์ แล้ว จึงเตรียมตัวกลับบ้าน ท่านไปที่โรงเตี๊ยมแห่งหนึ่งในเมืองใหญ่อันเป็น ที่นัดพบกับเพื่อน แล้วทั้งคู่ก็นั่งลงเปียบเทียบผลของความพยายามของกัน และกัน ครั้นเพื่อนของท่านเห็นสิ่งที่ท่านรวบรวมมา กลับหัวร่อแล้วพูดว่า
" ที่แกได้มานี่น่ะไร้ค่า เรามีคำสั่งสอนพรรค์นี้แล้วในธิเบต แกจะต้องหา สิ่งที่น่าตื่นเต้นและหายากกว่านี้ ส่วนฉันน่ะ ได้คำสั่งสอนที่วิเศษมหัศจรรย์ ทีเดียว จากครูบาอาจารย์ผุ้ยิ่งใหญ่หลายท่าน "แน่ล่ะ มารปะย่อมรู้สึกหัวเสียและเป็นทุกข์มาก เมื่อเห็นว่าอุตส่าห์เดิน ทางมาไกลด้วยค่าใช้จ่ายและความอยากลำบากถึงเพียงนี้แล้ว จึงกลับไป หานโรปะเพื่อจะลองดูอีกสักครั้ง เมื่อมาถึงกระต๊อบของนโปะ ท่านก็ ขอคำสั่งสอนที่หายากแปลกพิศดารและสูงกว่าที่เคยได้รับ แต่ท่านกลับ ต้องประหลาดใจเมื่อนโรปะพูดว่า
" ฉันเสียใจ ที่ฉันไม่มีปัญญาให้คำ สั่งสอนเหล่ากับเธอได้ เธอต้องไปหาอีกท่านหนึ่งคือชายที่ชื่อ คูคุริปะ หทางที่จะไปนั้นลำบากยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะว่าคูคุริปะอยู่บนเกาะ กลางทะเลสาปที่เป็นพิษ แต่ท่านเป็นคนที่เธอต้องไปพบให้ได้ ถ้าเธอ อยากได้คำสอนอย่างที่เธอว่า " ตอนนี้มารปะชักสิ้นหวัง แต่ก็พยายาม เดินทางไปหา ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคูคุริปะมีคำสั่งสอนที่แม้แต่นโรปะผู้ยิ่ง ใหญ่ยังให้เขาไม่ได้ และยังอาศัยอยู่กลางทะเลสาปพิษอีกด้วย คูคุริปะ จะต้องเป็น
คุรุที่พิเศษสุดผุ้หนึ่งเป็นแน่ เป็นบุคคลผู้ลี้ลับมหัศจรรย์ดังนั้นมารปะจึงออกเดินทางและหาทางข้ามทะเลสาปพิษได้ แล้วเริ่ม ตามหาคูคุริปะ ที่นั่นท่านได้พบกับ
ชายชราอินเดียอาศัยอยู่ในที่อันแสน โสโครก ห้องล้อมด้วยสุนัขตัวเมียนับร้อยตัว ว่ากันง่าย ๆ สิ่งที่มารปะ ได้พบย่อมนับว่าประหลาดพิษดารยิ่ง แต่มารปะก็ยังพยายามพูดกับ คูคุริปะ แต่คำสนนทนาที่ได้รับล้วนเลอะเทอะเหลวไหล ดูเหมือนว่า คูคุริปะพูดอะไรไม่ได้เรื่องไม่ได้ราวเอาเลย
ถึงตอนนี้ ท่านชักทนไม่ไหวแล้ว ไม่ใช่เพียงเพราะคำพูดของคูคุริปะ จะทรามปัญญาแต่ถ่ายเดียว แต่มารปะยังต้องคอยตั้งท่านระวังเจ้าหมา ตัวเมียนับร้อยอีกด้วย พอท่านผูกมิตรกับหมาได้ตัวหนึ่ง อีกตัวก็จะเห่า และทำท่าจะกัดในที่สุด จนแทบจะเสียสติอยู่แล้ว
ท่านจึงเลิกหมด เลิก จดคำสั่งสอน เลิกหาคำเทศน์อันเร้นลับ ถึงจุดนั้นั่นแหละ ที่คูคุริปะจึง เริ่มพูดกับท่านด้วยนน้ำเสียงเป็นมิตรและฟังดูหลักแหลมยิ่ง ทั้งพวก หมายังเลิกกวนท่านอีกด้วย มารปะจึงได้รับการสั่งสอน
หลังจากที่มารปะได้ศึกษากับคูคุริปะสำเร็จแล้ว เขาจึงกลับไปหาคุรุ คนเก่าคือ นโรปะอีกครั้งหนึ่ง นโรปะบอกเขาว่า
" บัดนี้ เธอจะต้อง กลับไปธิเบตและสั่งสอนบ้าง มันไม่พอดอกที่จะเพียงรับคำสอนทาง ทฤษฎี เธอจะต้องผ่านประสบการณ์ที่แท้จริงของชีวิต แล้วเธอจึงจะ กลับมาศึกษาต่อได้อีก "มารปะกับเพื่อนร่วมแสวงหาพบกัอีกครั้งหนึ่ง และเริ่มเดินทางกลับสู่ ธิเบต เพื่อนของมารปะก็ได้ศึกษามามากและทั้งคู่นั้นมีถุงจำนวนมาก ที่บรรจุต้นฉบับคำสั่งสอน ขณะที่เดินทางไปทั้งคู่ต่างสทนาในสิ่งที่ได้ เล่าเรียนมา ไม่นานนักมารปะก็ชักจะรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ ที่เพื่อนของ ท่านชักอยากรู้ อยากเห็นคำสอนที่ท่านได้สะสมมายิ่งขึ้นทุกที ๆ การ สนทนาดูจะวนเวียนอยู่แต่ในประเด็นนี้ จนกระทั่งในที่สุดเพื่อนร่วมทาง ของท่านตระหนักได้ว่ามารปะได้คำสั่งสอนที่มีค่ามากกว่าเขา เขาจึงเริ่ม ริษยา ขณะที่ทั้งคู่กำลังลงเรือข้ามแม่ำสายหนึ่ง สหายร่วมทางของมารปะ เริ่มบ่นว่านั่งไม่สบายเพราะถึงตำรับตำราที่ช่วยกันขนมาเต็มไปหมด เขา จึงย้ายที่นั่ง ทำท่าว่าจะหาทางนั่งให้สบายกว่านนั้น และขณะที่ทำเช่นนั้น ก็ได้ทำให
้ต้นฉบับตำรับตำราของมารปะตกน้ำไปหมด มารปะพยายาม อย่างสุดความสามารถที่จะเอามันขึ้นมา แต่มันก็จมลงไปเสียทั้งหมดแล้ว ตำรับตำราทั้งหมดที่อุตส่าห์ดั้นด้นไปรวบรวมมาเป็นเวลานาน
กลับ อันตรธานไปในชั่วขณะเดียว ดังนั้นมารปะจึงกลับธิเบตด้วยความรู้สึกสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ท่าน มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการเดินทางและการร่ำเรียนของท่านที่จะเล่า ให้ใครต่อใครฟัง แต่ท่านก็ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนที่จะมาพิสูจน์ความรู้ และประสบการณ์ที่ท่านได้รับ แม้กระนั้นก็ดี ท่านก็ยังคงทำงานและ สอนสั่งอยู่ จนกระทั่งท่านกลับประหลาดใจเมื่อท่าเริ่มเห็นจริงว่า แม้ ท่านจะพกเอาตำรับตำราที่สะสมไว้กลับมาได้ มันก็หามีประโยชน์กับ ท่านไม่ ขณะที่ท่านอยู่อินเดียท่านเพียงแต่บันทึกบางส่วนของความรู้ที่ ท่านไม่เข้าใจ ท่านไม่ได้บันทึกความรู้ในส่วนที่เป็นประสบการณ์ของ ท่านเอง ไม่กี่ปีต่อมา
ท่านเริ่มพบว่าความรู้ทั้งหลายได้กลายมาเป็นส่วน หนึ่งของตัวท่านเมื่อค้นพบเช่นนี้
มารปะจึงไม่อยากหากำไรจากคำสั่งสอนอีกต่อไป ท่านเลิกเอาธุระกับการหาเงินหรือสร้างสถานะ แต่กลับเกิดแรงบันดาล ใจที่จะบรรลุถึงการตรัสรู้อย่างจริงจัง ดังนั้น ท่านจึงรวบรวมผงทองคำ ไว้เป็นของกำนัลแก่นโรปะและเดินทางสู่อินเดียอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ ท่านไปด้วยเสียงร่ำร้องที่จะได้พบคุรุของท่านและต้องการคำสั่งสอน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมารปะได้พบนโรปะอีกครั้งหนึ่งนโรปะดูไม่เหมือน แต่เก่าก่อนเสียแล้ว ท่าทางท่านเย็นชาและไม่เป็นกันเอง อยู่ข้างจะเป็น ปฏิปักษ์เสียด้วยซ้ำ คำแรกที่ท่านพูดกับมารปะก็คือ
" ดีนี่ที่ได้พบเธออีก เอาทองคำติดตัวมาเท่าไหร่ สำหรับเป็นค่ายกครู " มารปะเอาทองคำ ติดตัวมามาก แต่ต้องการเก็บบางส่วนไว้ใช้ส่วนตัวและสำหรับการเดิน ทางกลับบ้าน ท่านจึงเปิดถุงแล้วให้นโรปะไปส่วนหนึ่ง นโรปะมองดู ค่าเล่าเรียนแล้วพูดว่า
" ไม่พอ แค่นี้ไม่พอ ฉันต้องการค่าเล่าเรียนมาก กว่านี้ เอาทองคำของเธอมาทั้งหมดนั่นแหละ " มารปะให้ทองคำแก่ ท่านไปอีกหน่อยหนึ่ง แต่นโรปะก็ยังคงบอกให้เอามาทั้งหมด กระทำ เช่นนี้อยู่หลายครั้ง นโรปะจึงหัวร่อแล้วเย้ยว่า "
เธอคิดหรือว่าเธอจะซื้อ คำสั่งสอนของฉันไปด้วยการหลอกลวงของเธอ " ถึงจุดนี้ มารปะจึง ยอมจำนนและให้ทองคำทั้งหมดแก่นโรปะ แต่แล้วท่านกลับแทบสิ้นสติ เมื่อนโรปะหยิบถุงขึ้นมาแล้วโปรยผงทองคำล่องลอยไปในอากาศ ทันทีทันใดนั้น มารปะรู้สึกสับสน งุนงงและแทบคลั่ง ท่านไม่เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้น ท่าทำงานแทบตายเพื่อให้ได้ทองคำมาซื้อคำสัง่สอนที่ท่าน ใฝ่หา นโรปะทำท่าว่าต้องการทองคำและจะสอนท่านเป็นการตอบแทน แต่แล้วท่านกลับขว้างมันทิ้งเสีย ครั้นแล้วนโรปะจึงพูดกับท่านว่า
" ฉัน จะเอาทองคำมาทำอะไรกัน ในเมื่อโลกทั้งโลกเป็นทองคำสำหรับฉันแล้ว " นี้นับเป็นชั่วขณะอันยิ่งใหญ่แห่งการเปิดออกสำหรับมารปะ ท่านเปิด ตัวเองแล้วพร้อมจะรับคำสั่งสอนได้แล้ว จากนั้นท่านได้อยู่กับนโรปะ เป็นเวลานาน การฝึกฝนของท่านดูง่ายดายยิ่ง แต่ท่านมิเพียงแต่ฟังคำ สั่งสอนดังแต่ก่อน ท่านต้องกระทำมรรคผลของคำสั่งสอนให้แจ้งด้วย ตัวเอง ท่านต้อง
สละทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านมีอยู่ ไม่เพียงแต่ทรัพย์สิน ทางวัตถุเท่านั้น หากอะไรก็ตามที่ท่านยังเก็บงำอยู่ในใจ มันเป็นกระ บวนการต่อเนื่องของการเปิดออกและยอมจำนน ในกรณีของ
มิลาเรปะ สถานการณ์ดูแปลกออกไปอีกอย่าง ท่านเป็น ชาวนา เรียนมาน้อยและไม่หัวสูงเหมือนมารปะเมื่อแรกพบนโรปะ ซ้ำร้าย
ท่านยังเคยก่ออาชญากรรมมาหลายครา ทั้งเคยฆ่าคนด้วย ท่าน อยู่อย่างทุกข์ดศกใจอย่างยิ่ง ร่ำหาการตรัสรู้ และเต็มใจจ่ายค่าจ้างไม่ อั้น ไม่ว่ามารปะจะต้องการสักเท่าใด ดังนั้นมารปะจึงให้มิลาเรปะ จ่ายค่าเล่าเรียนโดยใช้แรงกาย
ท่านให้มิลาเรปะสร้างบ้านจำนวนหนึ่ง แก่ท่าน หลังแล้วหลังเล่า และทุกครั้งที่สร้างเสร็จ มารปะจะบอกให้ มิลาเรปะรื้อบ้านลง แล้วเอาหินทุกก้อนกลับไปไว้ที่ที่ไปเอามันมา เพื่อ จะได้ไม่ทำลายภูมิประเทศ ทุกครั้งที่มารปะสั่งให้มิลาเรปะรื้อบ้าน ท่านกลับใช้ข้ออ้างที่ไร้สาระสิ้นดี เช่นว่า ตอนที่ท่านสั่งให้สร้างบ้าน นั้น ท่านกำลังเมา หรือกลับตอบหน้าตาเฉยว่าไม่เห็นว่าจะเคยสั่งให้ สร้างบ้านหลังนี้สักหน่อย และทุกครั้งเพราะแรงปรารถนาที่จะได้ คำสั่งสอน
มิลาเรปะก็รื้อบ้านลงและเริ่มสร้างใหม่ ครั้งสุดท้าย
มารปะสั่งให้สร้างหอคอยสูงเก้าชั้น มิลาเรปะต้องทนทุกข์ ทรมานทางกายอย่างสาหัส ครั้นเมื่อสร้างเสร็จท่านก็ไปหามารปะและขอ คำสั่งสอนอีกครั้ง แต่มารปะกลับพูดว่า
" เธออยากได้คำสั่งสอนจากฉัน ทำนองนั้นหรือ เพียงเพราะเธอได้สร้างหอคอยให้แก่ฉันเท่านั้นหรือ ดีล่ะ น่ากลัวเธอยังจะต้องหาของกำนัลมาให้ฉันเป็นค่าอุปสมบทกระมัง "ระยะนั้น มิลาเรปะไม่เหลือทรัพย์สินอะไรอีกแล้ว เพราะได้ใช้เวลาและ แรงงานทั้งหมดไปทุ่มเทสร้างหอคอยหลังนั้น แต่ทาเมมะ ภรรยาของ มารปะ รู้สึกสงสารท่านจึงแนะว่า
" หอคอยที่เธอสร้างขึ้นนี้เป็นการแสดง ท่าทีเสียสละและศรัทธาที่วิเศษยิ่ง สามีฉันคงจะไม่อะไรแน่นอน ถ้าฉัน ให้ข้าวเธอสักถุงหนึ่งกับผ้าอีกพับหนึ่ง เพื่อเป็นค่าอุปสมบท " มิลาเรปะ จึงเอาข้าวกับผ้าเข้าไปในหัตถบาสอุปสมบท ( Initiation circle ) ที่ซึ่งมารปะ กำลังสั่งสอนอยู่ และมอบสิ่งของเหล่านั้นให้เป็นค่าอุปสมบท ในที่เดียว กับของกำนัลของลูกศิษย์คนอื่น ๆ แต่ครั้นมารปะเห็นของกำนัลของมิลา เรปะก็กลับฉุนเฉียวแล้วตะคอกใส่มิลาเรปะว่า
" ของพวกนี้มันเป็นของฉัน แกได้คนหน้าไหว้หลังหลอก แกพยายามลวงฉัน " ทั้งยังตะโกนไล่มิลาเรปะ ออกจากหัตถบาสอุปสมบท
ถึงจุดนี้ มิลาเรปะหมดความหวังที่จะขอให้มารปะให้คำสั่งสอนแก่ท่าน ด้วยความขมขื่น
ท่านจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย และขณะที่ท่านกำลังจะฆ่า ตัวตายนนั่นเอง มารปะก็เข้ามาหาท่านและบอกกับท่านว่า ท่านพร้อมที่ จะให้คำสั่งสอนแล้ว - บางส่วน จาก ลิงหลอกเจ้า วัตถุนิยมทางศาสนา บทที่ ๓ คุรุ - - โดย ท่านวัชราจารย์ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช -