ผู้เขียน หัวข้อ: โพลชี้เวิร์กกิ้งวูแมน ชอบท้าทาย-พ่ายไฮเทค  (อ่าน 1250 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด
ร่วมฉลองวันสตรีสากล ปี 2552 บริษัทเอคเซนเซอร์ ประเทศไทย ที่ปรึกษาด้านการจัดการการบริหารเทคโนโลยีและบริการเอาต์ซอร์ส จัดแถลงผลสำรวจเรื่อง ผู้หญิงกับศักยภาพที่ไม่ได้นำออกมาใช้และความก้าวหน้าในหน้าที่การงานในอนาคต เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้หญิงทำงาน ที่อาคารอับดุลราฮิม เพลส

การสำรวจความคิดเห็นนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารหญิงและชาย รวม 3,600 คน จากองค์กรธุรกิจขนาดกลางและใหญ่ใน 18 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย บราซิล จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย ไอร์แลนด์ อิตาลี เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ รัสเซีย แอฟริกาใต้ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และสหรัฐอเมริกา ผ่านระบบออนไลน์ ในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 ใน 3 ประเด็นหลัก

 

1.ผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในการทำงานต้องการสิ่งท้าทายใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทักษะและพัฒนางานของตนเอง

2.เทคโนโลยี คือหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ สำหรับผู้หญิงทำงานทั่วโลก

3.ความสำคัญของการมีเพื่อนคู่คิดเพื่อให้ผู้หญิงมีศักยภาพในการทำงาน




ในเรื่องความท้าทาย ความเชื่อมั่นและความสำเร็จ พบว่า ผู้หญิงร้อยละ 46 และผู้บริหารชายร้อยละ 49 เชื่อว่าบทบาทและหน้าที่ในปัจจุบันไม่ได้มีความท้าทายเท่าที่ควร แต่กลุ่มตัวอย่าง 3 ใน 4 หรือร้อยละ 76 มั่นใจในทักษะและความสามารถของตัวเองอย่างเต็มเปี่ยม ทักษะและความสามารถในที่นี้คือ การบริหารจัดการกับปริมาณงานและกำหนดเวลา ร้อยละ 70 การมอบหมายงานและกระจายงาน ร้อยละ 68 และการเจรจาต่อรอง ร้อยละ 65


ขณะที่ผู้หญิง 6 ใน 10 ราย หรือร้อยละ 59 เห็นว่าตัวเองประสบความสำเร็จหรือประสบความสำเร็จมากในหน้าที่การงาน และมีผู้หญิงเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 46 ที่คิดว่าตนเองประสบความสำเร็จมาก ระบุว่างานที่ทำสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเหนือกว่าที่คาดไว้


เรื่องที่น่าสนใจคือ ผู้หญิง 8 ใน 10 ราย หรือร้อยละ 81 เผยว่าได้เพิ่มหน้าที่และความรับผิดชอบรวมถึงความซับซ้อนของหน้าที่การงานมากขึ้น เพราะจะช่วยให้เกิดความก้าวหน้าทางการงานมากขึ้นเช่นกัน และมีผู้หญิง 3 ใน 4 จากกลุ่มตัวอย่าง หรือร้อยละ 75 ระบุว่าทำงานเพิ่มขอบเขตความสามารถในหน้าที่การงานเหนือกว่าที่มีอยู่เป็นประจำ เพื่อสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน


ผู้หญิงขวนขวายเรียนรู้และฝึกฝนทักษะใหม่ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ก้าวสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นมากถึงร้อยละ 78 และพร้อมพิจารณารับตำแหน่งหรือหน้าที่การงานใหม่ๆ ร้อยละ 76 ทั้งยังพร้อมเดินทางทั่วโลกเพื่อประกอบภารกิจเชิงรุกหรือสร้างสัมพันธภาพใหม่ๆ ร้อยละ 68 และขอให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายภารกิจที่ท้าทายใหม่ๆ อยู่ประจำ ถึงร้อยละ 65 นอกจากนี้ยังพร้อมโยกย้ายไปปฏิบัติงานในประเทศอื่นๆ ในตำแหน่งงานที่ก้าวหน้ามากขึ้นถึงร้อยละ 54


สำหรับปัจจัยขับเคลื่อนความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่าง 3 ใน 4 หรือร้อยละ 79 เชื่อว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากเป็นผู้ที่พึ่งพาเทคโนโลยี แต่ผู้ชายร้อยละ 70 มีโอกาสเป็นผู้นำนวัตกรรมหรือยอมรับเทคโนโลยีเร็วกว่าและมากกว่าผู้หญิงถึงร้อยละ 58


ส่วนการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับหน้าที่การทำงาน ผู้หญิงร้อยละ 14 เท่านั้นบอกว่ามีที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการในที่ทำงาน ขณะที่ผู้หญิงอีกครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50 บอกว่าปรึกษาครอบครัวร้อยละ 57 ปรึกษาเพื่อนร้อยละ 51 สุดท้ายปรึกษาเพื่อนร่วมงานในปัจจุบันหรืออดีตร้อยละ 50


ขณะเดียวกันพบว่าผู้หญิงให้คุณค่าของการมีที่ปรึกษา โดยร้อยละ 43 บอกว่าทำให้เธอมองสถานการณ์ต่างๆ ในมุมที่แตกต่าง ร้อยละ 41 บอกว่าช่วยสนับสนุนบทบาทหน้าที่การทำงานในปัจจุบันของพวกเธอ ร้อยละ 37 บอกว่าช่วยให้มองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ ร้อยละ 34 บอกว่าช่วยชี้ให้เห็นทักษะและความสามารถที่มีอยู่ในตัวเอง และร้อยละ 34 บอกว่าเพิ่มความมั่นใจ


ส่วนความคิดเห็นด้านอื่นๆ พบว่า ในหลายประเทศผู้หญิงมักขอให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานที่มีความท้าทายใหม่ๆ ให้มากกว่าชาย ความแตกต่างระหว่างสัดส่วนของหญิงและชายที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดพบที่สหรัฐอเมริกา ผู้หญิงร้อยละ 70 ขอให้ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานที่ท้าทายใหม่ๆ ให้ ส่วนผู้ชายมีเพียงร้อยละ 48 ถัดมารัสเซีย ผู้หญิงร้อยละ 57 ขณะที่ชายมีเพียงร้อยละ 44 และที่ออสเตรีย ผู้หญิงร้อยละ 42 ขณะที่ชายร้อยละ 44


ในทางกลับกันผู้ชายมักเรียกร้องการเพิ่มเงินเดือนและการเลื่อนตำแหน่งมากกว่าผู้หญิง โดยข้อเรียกร้องเงินเดือนมาจากชายร้อยละ 56 เมื่อเทียบกับผู้หญิงมีเพียงร้อยละ 48 ส่วนการขอเลื่อนตำแหน่งมาจากชายร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับหญิงมีร้อยละ 37


ด้านอายุ ไม่ใช่ปัจจัยที่บ่งชี้ถึงทรรศนะเชิงบวกเกี่ยวกับความก้าวหน้าของหน้าที่การงานในอนาคต โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน กลุ่มเบบี้บูม อายุ 50 ปีขึ้นไป และกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ อายุ 30 ปีขึ้นไป และเจเนอเรชั่นวายที่อายุต่ำกว่า 30 ปี เผยความรู้สึกมั่นคงกับแนวโน้มการทำงานในอนาคต คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50, 45 และ 48 ตามลำดับ


น.ส.ทิพรัตน์ วงศ์วัฒนะ กรรมการอาวุโส กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์บริษัทเอคเซนเซอร์ กล่าวว่า ทั่วโลกประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและมีการแข่งขันสูงขึ้น การเพิ่มทักษะใหม่ๆ หรือขีดความสามารถของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงตนเอง ในขณะที่โอกาสและช่องทางการตลาดที่น้อยลง จากผลสำรวจผู้หญิงที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีภาระความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่มากขึ้น และใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น เพราะจะช่วยให้ทำงานสำเร็จและได้มากกว่าที่คิด การใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นธรรมชาติของผู้ชายที่มักสนใจเรื่องรถยนต์ เครื่องเสียงหรือโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมา ซึ่งต่างจากผู้หญิง


อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สำเร็จ ซึ่งต้องมีส่วนอื่นด้วย เช่น พนักงานต้องมีการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาตนเอง องค์กรเองต้องมีวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนพนักงาน มีเครื่องมือ สุดท้ายต้องมีที่ปรึกษา ซึ่งไม่ว่าผู้ชายหรือหญิงสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาก่อนลงมือทำ


ที่มา : http://women.sanook.com/work/www/www_54589.php
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====