ผู้เขียน หัวข้อ: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 7 ปรัชญาจีน  (อ่าน 3923 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



ภาคที่ 2    มรรคาแห่งศาสนาตะวันออก


บทที่ 7 ปรัชญาจีน


เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่มาถึงประเทศจีนในช่วงศตวรรษแรกของคริสตกาล ก็ได้ปะทะสังสรรค์กับวัฒนธรรมซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าสองพันปี ในวัฒนะธรรมโบราณนี้ความคิดเชิงปรัชญาได้ถึงจุดสมบูรณ์สุดยอดในปลายราชวงศ์โจว ซึ่งนับเป็นยุคทองของปรัชญาจีน และก็ยังเป็นที่นับถืออย่างสูงสุดเรื่อยมา ตั้งแต่แรกเริ่มเลยทีเดียวที่ปรัชญาจีนมีสองลักษณะที่เสริมซึ่งกันและกัน เนื่องจากชาวจีนเป็นผู้นิยมการปฏิบัติและมีสำนึกทางสังคมสูง ดังนั้นปรัชญาทุกสำนักของจีนจึงสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคม มนุษยสัมพันธ์ คุณค่าทางศีลธรรมและรัฐบาลในทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนคำสอนที่ลึกซึ้ง ซึ่งชี้แนะว่าจุดหมายสูงสุดของปรัชญานั้นอยู่เหนือสังคมโลกและชีวิตประจำวัน คือการเข้าสู่สภาวะจิตที่สูงส่ง ซึ่งเป็นระดับของนักปราชญ์ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ผู้บรรลุถึงความเป็นเอกภาพของจักรวาล อย่างไรก็ตามนักปราชญ์ของจีนนั้นมิได้ดำรงอยู่เฉพาะในภูมิแห่งจิตที่สูงส่งเท่านั้น   ทว่ายังคงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางโลกอยู่เท่า ๆ กันในตัวท่านมีทั้งด้านที่เป็นปัญญาญาณและความรู้แห่งการปฏิบัติ ความสงบระงับ และปฏิบัติการทางสังคม คุณลักษณะเช่นนี้ได้ปรากฏในคุณลักษณะของนักปราชญ์และพระจักรพรรดิ จางจื้อ กล่าวไว้ว่ามนุษย์ผู้รู้แจ้งอย่างสมบูรณ์นั้น “เมื่อสงบนิ่งอยู่ท่านคือปราชญ์ หากเมื่อเคลื่อนไหวท่านคือจักรพรรดิ” ในระหว่างศตวรรษที่ 6 ก่อนคริศตกาล ปรัชญาจีนในสองลักษณะดังกล่าวได้พัฒนาสู่ปรัชญาสองสำนักที่แยกกันชัดเจนคือ ลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อเป็นลัทธิที่จัดการองค์กรทางสังคม เป็นปรัชญาแห่งสามัญสำนึกและความรู้ในการดำเนินชีวิต ลัทธิขงจื้อได้เป็นรากฐานของระบบการศึกษาของสังคมจีนและค่านิยมในทางศีลธรรมจรรยาที่แข็งแกร่ง ความมุ่งหมายสำคัญประการหนึ่งคือการวางรากฐานทางจริยธรรมสำหรับระบบครอบครัวของจีน ด้วยคำสอนซึ่งมีโครงสร้างที่ซับซ้อนและพิธีกรรมการบูชาบรรพบุรุษ ในทางตรงกันข้าม ลัทธิเต๋ามุ่งการสังเกตธรรมชาติและการค้นหาวิถีของธรรมชาติ หรือเต๋า ความสุขของมนุษย์ในทัศนะของเต๋าเกิดจากการที่มนุษย์ดำเนินตามกฎของธรรมชาติ กระทำการต่าง ๆ สอดคล้องกับธรรมชาติอย่างเป็นไปเอง และเชื่อมั่นในญาณปัญญา

7.1   ขงจื้อกับเต๋า


สองแนวคิดนี้ได้แทนขั้วตรงกันข้ามในปรัชญาจีน แต่ในประเทศจีนถือว่าเป็นขั้วเดียวกัน ดังนั้นจึงอยู่ในฐานะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยทั่วไปลัทธิขงจื้อจะเน้นที่การศึกษาของเยาวชน ซึ่งจะต้องเรียนรู้กฎระเบียบและค่านิยมที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคม ในขณะที่ลัทธิเต๋าจะมีผู้สูงอายุยึดถือปฏิบัติ มุ่งที่จะแสวงหาและพัฒนาความเป็นไปเองตามธรรมชาติในชีวิตซึ่งมีอยู่เดิมแล้ว แต่ได้ถูกทำลายไปโดยค่านิยมทางสังคม ในศตวรรษที่ 11 และ 12 ลัทธิขงจื้อแนวใหม่ได้พยายามที่จะสังเคราะห์ลัทธิขงจื้อ พุทธศาสนา และลัทธิเต๋าเข้าด้วยกัน ก่อกำเนิดเป็นปรัชญาของจูสีร์ นักคิดผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของจีน จูสีร์เป็นนักปราชญ์ที่สำคัญซึ่งรวมเอาความเป็นนักศึกษาของขงจื้อเข้ากับการเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้งตามแนวพุทธและเต๋าสังเคราะห์ขึ้นเป็นปรัชญาของตน ลัทธิขงจื้อตั้งชื่อตามท่าน กังฟูจื้อ หรือ ขงจื้อ ผู้เป็นครูเป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงและมีลูกศิษย์ลูกหาเป็นจำนวนมาก ขงจื้อมีเป้าหมายหรือหน้าที่ประการสำคัญในการถ่ายทอดมรดกแห่งวัฒนธรรมโบราณแก่ลูกศิษย์ของตน อย่างไรก็ตาม ขงจื้อได้ปฏิเสธวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่สืบกันมาแบบปรัมปรา โดยตีความประเพณีต่าง ๆ ตามความคิดทางศีลธรรมของตนเอง คำสอนของขงจื้อมีรากฐานอยู่บนคัมภีร์สุดยอดทั้งหก ซึ่งเป็นคัมภีร์โบราณอันบรรจุอยู่ด้วยปรัชญา พิธีกรรม กวีนิพนธ์  ดนตรี และประวัติศาสตร์ ถือเป็นมรดกทางจิตใจและวัฒนธรรมของนักปราชญ์ของจีนในอดีต ตามธรรมเนียมของจีนเชื่อกันว่าขงจื้อเป็นผู้ประพันธ์ ผู้วิจารณ์ และผู้จัดทำคัมภีร์เหล่านี้ แต่นักศึกษาสมัยใหม่ไม่ยอมรับเช่นนั้น ความคิดของขงจื้อเองเริ่มเป็นที่รู้จักกันในคัมภีร์   ลุ่นอวี้ (Lun Yu) หรือคัมภีร์หลักลัทธิขงจื้อ ซึ่งรวบรวมสรุปคำสอนต่างๆโดยลูกศิษย์บางคนของขงจื้อ ผู้เป็นปรมาจารย์ของลัทธิเต๋าก็คือ เหล่าจื้อ ชื่อของท่านมีความหมายว่า “อาจารย์ผู้เฒ่า” ท่านเป็นคนร่วมสมัยกับขงจื้อ ทว่ามีอายุมากกว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เหลาจื้อเป็นผู้รจนาคัมภีร์สั้น ๆ ซึ่งรวมคำสอนสำคัญของเต๋าเอาไว้ ในประเทศจีนโดยทั่วไปเรียกคัมภีร์เล่มนี้ว่า เหลาจื้อ และในตะวันตกเรียกคัมภีร์เล่มนี้ว่า เต๋าเตอจิง แปลว่า “จินตกวีนิพนธ์แห่งวิถีทางและอำนาจ”   ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันภายหลัง ข้าพเจ้าได้เอ่ยถึงวิธีการเขียนที่ผกผันผิดธรรมดาและสำนวนภาษาที่ทรงพลังในท่วงทำนองของกวีนิพนธ์ของคัมภีร์เล่มนี้ ซึ่งโจเซฟนีแดรมถือว่าเป็น “งานที่ลึกซึ้งและงดงามที่สุดในภาษาจีน” คัมภีร์สำคัญอันดับสองของเต๋าคือคัมภีร์ จางจื้อ ซึ่งใหญ่กว่าเต๋าเตอจิงมาก ผู้รจนาคือจางจื้อ ซึ่งมีชีวิตอยู่ราวสองร้อยปีหลังเหลาจื้อ อย่างไรก็ตามนักศึกษาสมัยใหม่เห็นว่า ทั้งคัมภีร์จางจื้อและเหลาจื้อมิใช่งานของผู้ประพันธ์เพียงคนเดียว แต่เป็นคัมภีร์ที่รวมบทประพันธ์เต๋าของผู้ประพันธ์หลาย ๆ คนในระยะเวลาต่าง ๆ กัน

7.2   มุ่งหมายสิ่งเดียวกัน


ทั้งคัมภีร์หลักลัทธิขงจื้อและคัมภีร์เต๋าเตอจิง ประพันธ์ขึ้นในท่วงทำนองที่เสนอแนะอย่างกระชับ ซึ่งเป็นแบบฉบับของแนวคิดแบบจีน จิตใจแบบจีนไม่ถูกหน่วงอยู่ด้วยความคิดเชิงตรรกะแบบย่อสรุป และได้พัฒนาภาษาที่แตกต่างจากภาษาตะวันตกอยู่มาก คำหลายคำอาจใช้เป็นคำนาม คำวิเศษณ์ หรือคำกริยาและลำดับของคำในประโยคมิได้ถูกกำหนดด้วยกฎเกณฑ์ทางไวยกรณ์มากเท่ากับเนื้อหาทางอารมณ์ของประโยค คำในภาษาจีนดั้งเดิมแตกต่างจากสัญลักษณ์ย่อสรุปซึ่งแทนความคิดแยกแยะวิเคราะห์อย่างชัดเจนเป็นอันมาก มันเป็นสัญลักษณ์ทางเสียงเสียมากกว่าและมีพลังแห่งการนำเสนอความหมายที่รุนแรง ก่อให้เกิดภาพแห่งจินตนาการและอารมณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างฉับพลัน ความตั้งใจของผู้พูดมิได้มุ่งแสดงความคิดที่เฉลียวฉลาดมากนัก แต่มุ่งที่จะให้เกิดผลกระทบอย่างมีอิทธิพลต่อผู้ฟังมากกว่า ในทำนองเดียวกันลักษณะตัวเขียนก็มิใช่สัญลักษณ์ย่อสรุปแต่เป็นแบบแผนของสิ่งที่ทรงชีวิต ที่เรียกว่า “เกสตอลต์” ซึ่งรักษาจินตนาการและพลังแห่งการนำเสนอความหมายของคำนั้นไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุผลที่นักปราชญ์ของจีนมีการแสดงออกทางภาษาที่เหมาะกับวิธีคิดของตน การเขียนการพูดของท่านเหล่านั้นจึงเป็นแบบที่ห้วนสั้น แต่มั่งคั่งด้วยจินตนาการ จินตนาการเหล่านี้ส่วนมากจะสูญหายไปเมื่อมีการแปลถ้อยคำเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น การแปลข้อความจากคัมภีร์เต๋าเตอจิงจะเก็บใจความได้เป็นส่วนน้อยจากความคิดที่มั่งคั่งในภาษาเดิม นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้คัมภีร์นี้หลายสำนวนดูเหมือนจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฟุงยู่หลาน ได้กล่าวไว้ว่า “ต้องรวมเอาคำแปลทุกสำนวนที่มีอยู่แล้ว และที่จะมีขึ้นเข้าด้วยกันจึงจะแสดงความหมายของคัมภีร์เหลาจื้อและคัมภีร์หลักของลัทธิขงจื้อได้อย่างสมบูรณ์ตามความหมายในภาษาเดิม” เช่นเดียวกับชาวอินเดีย ชาวจีนเชื่อว่ามีปรมัตถ์สัจจะซึ่งเป็นที่รวมและที่มาของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ทั้งหลายที่เราสังเกตได้ มีคำอยู่สามคำคือ “สมบูรณ์”     “รวมทุกสิ่ง”  และ “ทั้งหมด” คำเหล่านี้ต่างกัน แต่สัจจะซึ่งแฝงอยู่ในนั้นเหมือนกัน มุ่งหมายถึงสิ่ง ๆ เดียว  ชาวจีนเรียกสัจจะนี้ว่า เต๋า ซึ่งมีความหมายว่า “ทาง” มันเป็นวิถีทางหรือกระบวนการของจักรวาล กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ในระยะต่อมาผู้นับถือลัทธิขงจื้อได้ตีความหมายแตกต่างออกไป โดยกล่าวถึงเต๋าของมนุษย์ หรือเต๋าของสังคมมนุษย์ และรับเอาเป็นหนทางชีวิตที่ถูกต้องในศีลธรรม ในความหมายเดิมในระดับกว้าง “เต๋า” เป็นปรมัตถสัจจะซึ่งไม่อธิบายได้ ดังนั้นจึงเท่ากับพรหมันในศาสนาฮินดูและธรรมกายในศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตามมันแตกต่างจากความคิดทางอินเดียสองความคิดนี้ โดยคุณลักษณะแห่งความเป็นพลวัติของมัน เต๋าเป็นกระบวนการแห่งแห่งเอกภพซึ่งทุกสิ่งมีส่วนสัมพันธ์อยู่ด้วย โลกเป็นกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงอันต่อเนื่องไม่รู้สิ้นสุด

7.3   หลักอนิจจัง

พุทธศาสนาเป็นหลักอนิจจังซึ่งคล้ายคลึงกับเต๋ามาก แต่ในพุทธศาสนาหลักอนิจจังถูกนำมาใช้เป็นหลักเบื้องต้นในการอธิบายสภาพการณ์ของมนุษย์เท่านั้นโดยได้แจกแจงรายละเอียดทางจิตวิทยาสืบเนื่องจากหลักการดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม ชาวจีนมิได้เพียงแต่เชื่อว่าการเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะสำคัญของธรรมชาติ แต่ยังเชื่อด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีแบบแผนที่แน่นอน ซึ่งมนุษย์สังเกตรู้ได้นักปราชญ์ได้เห็นถึงแบบแผนเหล่านี้ดังนั้นจึงมุ่งการกระทำของท่านให้สอดคล้องกับมัน โดยวิธีการเช่นนี้ท่านกลายเป็น “หนึ่งเดียวกับเต๋า” มีชีวิตอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ และจึงสำเร็จในทุกสิ่งที่กระทำ ฮวยหนั่นจื้อ นักปราฃญ์ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างศตวรรษที่สองก่อนคริสตกาลได้กล่าวไว้ว่า   ผู้กระทำตามวิถีทางแห่งเต๋า ปฏิบัติสอดคล้องกับกระบวนการธรรมชาติของฟ้าและดิน จะจัดการกับโลกได้อย่างง่ายดาย  แล้วอะไรคือแบบแผนวิถีทางแห่งเอกภาพ ซึ่งมนุษย์ต้องรู้จักลักษณะสำคัญของเต๋าคือธรรมชาติแห่งการหมุนวนของการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบเหลาจื้อกล่าวว่า “การหมุนกลับคือการเคลื่อนไหวของเต๋า” และ “ยิ่งไปได้ไกลหมายถึงการย้อนกลับ” ประเด็นสำคัญในที่นี้ก็คือ พัฒนาการทุกอย่างในธรรมชาติไม่ว่าในทางกายภาพหรือสภาพการณ์ของมนุษย์แสดงแบบแผนแห่งการหมุนไปและกลับ   แบบแผนแห่งการยืดขยายและหดตัว ความคิดนี้ได้จากการสังเกตการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์และจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอย่างไม่ต้องสงสัย   และได้ถูกยึดถือเป็นกฎเกณฑ์ของชีวิต   ชาวจีนเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่สภาพการณ์หนึ่งใดได้พัฒนาไปจนถึงที่สุดในทางหนึ่ง   มันจะต้องหมุนย้อนกลับมาถึงที่สุดในอีกทางหนึ่ง   ความเชื่อพื้นฐานอันนี้ได้ให้ความกล้าหาญและอดทนในยามลำบาก ทำให้มัธยัสถ์ในยามที่ประสบความสำเร็จ และได้นำไปสู่หลักคำสอนแห่งหนทางอันเรืองรองซึ่งผู้นับถือลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อ เหลาจื้อกล่าวว่า “นักปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงความฟุ้งเฟ้อเกินพอดี และการทำตามอำเภอใจ”

7.4   หยินกับหยัง

ในทัศนะของชาวจีน มีน้อยเกินไป ดีกว่า มีมากเกินไป ไม่ได้ทำ ดีกว่า ทำมากเกินไป เพราะแม้ว่าถึงเราจะไม่ก้าวหน้าไปไกลแต่ก็แน่ใจได้ว่าเราจะไปถูกทาง เปรียบกับชายผู้ปรารถนาจะไปให้ไกลสุดทางตะวันออก ท้ายที่สุดจะกลับไปทางตะวันตก หรือผู้ปรารถนาจะสะสมเงินมาก ๆ เพื่อให้ตนเองร่ำรวย ท้ายสุดจะต้องกลับมาเป็นคนจน การที่สังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่กำลังพยายามอย่างต่อเนื่องในการเพิ่ม “มาตรฐานการครองชีพ” จึงทำให้คุณภาพของชีวิตของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ลดลง นับเป็นภาพที่แสดงปัญญาของจีนโบราณดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ความคิดในเรื่องแบบแผนแห่งการหมุนวนของเต๋า ได้ถูกกำหนดเป็นโครงสร้างที่แน่นอนโดยการเสนอว่ามีขั้วตรงกันข้ามสองอันคือ หยิน กับ หยัง เป็นขั้วซึ่งกำหนดขอบเขตของวงเวียนแห่งการเปลี่ยนแปลง เมื่อหยังถึงจุดสูงสุดก็ต้องถอยให้กับหยิน เมื่อหยินถึงจุดสูงสุดก็ต้องถอยให้กับหยัง ในทัศนะแบบจีน สิ่งปรากฏแสดงทั้งมวลของเต๋ามาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของแรงแห่งขั้วทั้งสอง ความคิดนี้เป็นความคิดที่เก่ามาก และชนหลายรุ่นได้ถือเอาสัญลักษณ์แห่งหยิน หยังจนกระทั่งมันกลายเป็นความคิดพื้นฐานของจีน ความหมายเดิมของคำว่าหยินและหยัง คือส่วนที่เป็นเงาและส่วนที่ต้องแสงแดดของภูเขา ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของความคิดทั้งสองได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่างเรียกว่า เต๋า นับแต่ยุคแรกสุด ขั้วทั้งสองของธรรมชาติไม่เพียงแต่แทนความสว่างและความมืดเท่านั้น แต่ยังแทนด้วยความเป็นชายและความเป็นหญิง แข็งและอ่อนข้างบนและข้างล่าง   หยังส่วนที่เป็นความเข้มแข็ง ความเป็นชาย พลังสร้างสรรค์นั่นคือฟ้า ในขณะที่หยินส่วนที่เป็นความมืด ความอ่อนโยน ความเป็นหญิงและความเป็นแม่นั่นคือดิน ฟ้าอยู่เบื้องบนและเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ดิน ในทัศนะเดิม อยู่เบื้องล่างและสงบนิ่ง ดังนั้นหยังแทนความเคลื่อนไหวและหยินแทนการสงบนิ่งในเรื่องของความคิดหยินคือจิตใจที่ซับซ้อนแบบหญิงเป็นไปในทางญาณปัญญา   หยังคือจิตใจที่ชัดเจนมีเหตุมีผลอย่างชาย หยินคือความเงียบนิ่งอย่างสงบของปราชญ์ หยังคือการกระทำที่สร้างสรรค์อย่างมีพลังของจักรพรรดิ ลักษณะการเคลื่อนไหวของหยินและหยัง ถูกแสดงด้วยสัญลักษณ์ของจีนโบราณที่เรียกว่า ไท้ จิ ถู หรือ “แผนผังแสดงสัจธรรมสูงสุด” แผนผังนี้แสดงสมมาตรระหว่างส่วนที่มืดคือหยินกับส่วนที่สว่างคือหยัง ทว่ามิใช่สมมาตรที่อยู่นิ่ง แต่เป็นสมมาตรแห่งการหมุนวนอันเปี่ยมไปด้วยพลัง   เมื่อหยังหมุนกลับสู่จุดเริ่มต้น หยินก็เป็นใหญ่ แล้วก็หมุนไปสู่หยังอีก จุดสองจุดในแผงผังแทนความคิดที่ว่า   เมื่อใดที่แรงหนึ่งแรงใดถึงจุดสูงสุดในตัวมันขณะนั้นก็มีพืชพันธ์ของสิ่งตรงข้ามอยู่ด้วยแล้ว คู่ของหยินและหยังเป็นเสมือนอุปรากรที่เปิดแสดงซ้ำแล้วซ้ำเล่า แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมของจีน และเป็นสิ่งกำหนดลักษณะทั้งมวลของวิถีตามแบบจีน จางจื้อกล่าวว่า “ชีวิตคือการผสมผสานอย่างกลมกลืนของหยินและหยัง” เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรมชาวจีนจึงคุ้นเคยกับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและปรากฎการณ์แห่งการเจริญเติบโตและการเสื่อมสลายของธรรมชาติฝ่ายอินทรียวัตถุจึงถือได้ว่าเป็นการแสดงที่ชัดเจนของการขับเคี่ยวระหว่างหยินกับหยัง ระหว่างฤดูหนาวที่มืดและเยือกเย็นกับฤดูร้อนที่สว่างและร้อนแรง การขับเคี่ยวในฤดูกาลของขั้วต่างทั้งสอง สะท้อนออกมาในอาหารที่รับประทานซึ่งจะมีทั้งหยินและหยางในทัศนะของชาวจีนแล้ว อาหารที่มีคุณค่าต้องประกอบด้วยหยินและหยางในสัดส่วนที่สมดุลกัน   

7.5   การประทะกันของหยินและหยาง

การแพทย์แผนโบราณของจีนก็เช่นกัน ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความสมดุลระหว่างหยินและหยังในร่างกายของมนุษย์ ความเจ็บไข้ใด ๆ เกิดจากสมดุลนี้เสียไป ร่างกายถูกแบ่งเป็นส่วนหยินและหยาง กล่าวรวม ๆ ว่าภายในร่างกายคือหยาง ผิวนอกร่างกายคือหยิน ด้านหลังคือหยัง ด้านหน้าคือหยิน อวัยวะต่าง ๆ ก็มีทั้งที่เป็นหยินและหยาง ความสมดุลระหว่างส่วนต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ถูกหล่อเลี้ยงอยู่ด้วยการเลื่อนไหลของ ฉี้ หรือพลังงานแห่งชีวิต การขับเคี่ยวระหว่างหยินและหยังอันเป็นคู่ตรงข้ามจึงเป็นเสมือนกฎเกณฑ์แห่งการเคลื่อนไหวของเต๋า แต่ชาวจีนมิได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น พวกเขาได้ทำการศึกษาต่อไปถึงความสัมพันธ์หลายรูปแบบหลายรูปแบบของหยินและหยาง ซึ่งได้พัฒนาขึ้นเป็นระบบของแบบแผนแห่งเอกภาพ ปรากฏอย่างละเอียดลอออยู่ในคัมภีร์ อี้จิง คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นคัมภีร์เล่มแรกในบรรดาคัมภีร์สุดยอดทั้งหกของขงจื้อ และต้องถือว่าเป็นงานที่เป็นหัวใจของความคิดและวัฒนธรรมของจีนความนิยมและความยอมรับนับถือของชาวจีนต่อคัมภีร์เหล่านี้ตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา เทียบได้กับความนิยมและยอมรับในหลาย ๆ คัมภีร์ เช่น คัมภีร์พระเวทและคัมภีร์ไบเบิ้ล ในวัฒนธรรมอื่น  ริชาร์ด วิลเฮล์ม   ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนได้เขียนคำนำในการแปลคัมภีร์เล่มนี้ไว้ว่า อี้จิ้ง:คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลงของจีนเล่มนี้ นับเป็นหนังสือที่สำคัญที่สุดเล่มหนึ่ง ในโลกของ วรรณกรรมอย่างไม่ต้องสงสัย ต้นกำเนิดของคัมภีร์นับย้อนไปสู่สมัยโบราณซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราว ของเทพ   คัมภีร์เล่มนี้ได้ดึงดูดความสนใจของนักปราชญ์ที่สำคัญของจีนตราบจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาสามพันกว่าปีแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของจีน ส่วนที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดนั้นได้รับแรงบัลดาลใจจากคัมภีร์เล่มนี้ ดังนั้นจึงเป็นการปลอดภัยที่จะกล่าวว่า ปัญญาอันช่ำชองซึ่งผ่านกาลเวลานับด้วยพันปีได้เป็นส่วนประกอบในคัมภีร์อี้จิ้ง   

7.6   เส้นตรงหกเส้น

คัมภีร์แห่งการเจริญเติบโตมาเป็นเวลาหลายพันปี ประกอบด้วยหลายชั้นหลายเชิงซึ่งแตกกิ่งก้านมาจากยุคสมัยสำคัญที่สุดของความคิดจีน จุดเริ่มแรกในคัมภีร์เป็นการรวบรวมภาพหรือสัญลักษณ์ จำนวน 64 อัน สร้างขึ้นจากความคิดเรื่องหยิน หยาง และใช้เป็นการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ สัญลักษณ์แต่ละอันประกอบด้วยเส้นตรงหกเส้น อาจจะเป็นเส้นประ (หยิน) หรือเส้นทึบ (หยัง)ก็ได้ ทั้งหกสิบสี่อันเป็นการผสมผสานระหว่างเส้นตรงในลักษณะดังกล่าวเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์เหล่านี้ถูกถือเป็นแบบฉบับของเอกภพ แสดงหรือแทนแบบแผนของเต๋าในธรรมชาติและในสภาพการณ์ของมนุษย์แต่ละอันมีชื่อเรียกเฉพาะและมีคำอธิบายเป็นคัมภีร์เล็กๆ เรียกว่าคำทำนาย ซึ่งจะแนะนำสิ่งที่จะต้องกระทำให้เหมาะสมกับสภาพที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์แต่ละอัน ยังมีคัมภีร์อีกเล่มชื่อ ภาพพจน์ ซึ่งเขียนขึ้นในภายหลัง ได้อธิบายความหมายของสัญลักษณ์แต่ละอันในรูปบทกวีสั้นๆสองสามบรรทัด คัมภีร์อีกฉบับหนึ่งอธิบายความหมายของเส้นตรงแต่ละเส้นของสัญลักษณ์นี้ โดยใช้ภาษาซึ่งเชื่อมโยงกับเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งมักจะเข้าใจได้ยาก คัมภีร์ย่อยทั้งสามเล่มนี้ประกอบกันขึ้นเป็นคัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งใช้เป็นคำทำนาย ผู้มีความสงสัยหรือความทุกข์ เมื่อต้องการทราบสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนก็ต้องทำพิธีและสั่นติ้วซึ่งมีจำนวนห้าสิบอัน เมื่อได้ติ้วอันใดอันหนึ่งก็ไปดูที่สัญลักษณ์ที่ตรงกัน จะมีคำทำนายและแนะนำถึงสิ่งที่ต้องกระทำให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่าง ๆ  ในคัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง มีภาพพจน์ที่จะเปิดเผย ตอนท้ายมีคำทำนายให้ตีความ โชคและ เคราะห์ได้บ่งบอกไว้ให้ตัดสินใจ  จุดมุ่งหมายในการปรึกษากับคัมภีร์อี้จิงจึงไม่ใช่ที่จะรู้อนาคตเท่านั้นแต่ยังช่วยค้นหาสิ่งที่กำหนดสภาพการณ์ปัจจุบันของตน เพื่อที่จะเลือกกระทำการใดได้อย่างถูกต้อง ทัศนคติอันนี้ได้ยกระดับคัมภีร์อี้จิงขึ้นเหนือหนังสือคาถาเวทมนต์ธรรมดา เป็นคัมภีร์ที่กอปรด้วยปัญญา

7.7   การเปลี่ยนแปลง

โดยแท้จริงแล้วประโยชน์ของอิ้จิงในวิถีทางแห่งปัญญานั้นสำคัญ มากกว่าประโยชน์ในทางเป็นคำทำนายมากมายนัก มันเป็นแหล่งบันดาลใจของนักคิดจีนตลอดยุคสมัย ดังเช่นเหลาจื้อซึ่งได้แต่งคำสอนที่ลึกซึ้งที่สุดจากบางบทแห่งความเข้าใจในอี้จิง ขงจื้อได้ศึกษาคัมภีร์นี้อย่างจริงจัง และคำอธิบายขยายความของคัมภีร์นี้ซึ่งกลายเป็นคัมภีร์ย่อย ๆ ในระดับต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่มาจากสำนักของขงจื้อ คำอธิบายขยายความเหล่านี้เรียกว่า ปีกทั้งสิบ ได้รวมเอาการตีความโครงสร้างของสัญลักษณ์เหล่านั้นเข้าด้วยกันกับการอธิบายในเชิงปรัชญา ที่แกนกลางคำอธิบายขยายความของขงจื้อ เช่นเดียวกับแกนกลางของคัมภีร์อี้จิง ได้เน้นย้ำอยู่ที่ลักษณะการเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์ทั้งมวล การเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของสรรพสิ่ง และสภาพการณ์ทั้งมวลเป็นสิ่งสำคัญซึ่งแสดงไว้ในคัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงก็คือคัมภีร์ ซึ่งเราไม่อาจยึดถือย่างโดดเดี่ยว เต๋าของมันคือการเปลี่ยนแปลงเสมอ กลับกลาย เคลื่อนไหว ไม่รู้หยุด เลื่อนไหลผ่านที่ว่าง ทั้งหก ลอยและจมโดยปราศจากกฎเกณฑ์ตายตัว ความมั่นคงและความอ่อนน้อมเปลี่ยนกลับไปมา มันไม่อาจจำกัดได้ด้วยกฎเกณฑ์หนึ่งใด คงมีแต่การเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่จะกระทำการอยู่   
 
               
คัดลอกจาก ::

http://www.rit.ac.th/homepage-sc/charud/scibook/tao%20of%20physics
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 7 ปรัชญาจีน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 12:50:31 am »
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ wacaholic

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 1
  • พลังกัลยาณมิตร 1
    • ดูรายละเอียด
Re: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 7 ปรัชญาจีน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2014, 01:10:50 am »
เต๋า เต้อ จิง

เป็นคัมภีร์ที่มีอักษรจีน 5,000 อักษรซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของประเทศจีนอย่างมากโดยภายในคัมภีร์นั้น
มีเนื้อหาในด้านปรัชญาบุคคลความกลมกลืนต่อการใช้ชีวิตกับธรรมชาติ
จนไปถึงปรัชญาการเมืองจากการตีความ
คำว่า "เต๋า" ในคัมภีร์ มักจะหมายถึง

- มรรค หรือ หนทาง (The way)
- หรือ ธรรม ซึ่งมีความหมายกว้างๆและมักตีความหมายในแนว
-เป็นไปตามธรรมชาติ
-การกระทำที่สอดคล้องกับวิถีแห่งเต๋าใดๆ
จะสามารถบรรลุมรรคผลได้โดยง่ายเล่าจื๊อเชื่อว่า
ควรหลีกเลี่ยงความรุนแรงต่างๆเท่าที่จะเป็นไปได้

ส่วนคำว่า "เต็ก หรือ เต๋อ" นั้นหมายถึง "คุณธรรม"คัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น 81 บทด้วยกัน
ถึงแม้ว่าเล่าจื๊อจะไม่ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมหยั่งลึกได้เทียบเท่ากับ ขงจื๊อ ในอารยธรรมจีน
แต่ท่านก็ยังเป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วไปทั้งแนวความคิด และการปฏิบัติตามหนทางแห่งเต๋า
...............

ผู้ติดตามเล่าจื้อที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ จวงจื๊อ (Zhuang Zi)
ได้เขียนตำราที่มีอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมของจีนมาก
โดยให้ข้อคิดเกี่ยวกับ

-ปัจเจกนิยม,
-วิมุตติ และ
-ความปราศจากกังวล

//-ในปรัชญาที่เป็นเสาหลักของ"จีน"
คือ คำสั่งสอนของสามปราชญ์ "ซำก่า"

-พุทธเจ้า
-เต๋า
-ขงจื้อ
.....................

เต๋า เต้อ จิง
-เต๋า...ปัญญา ที่ไหลหลังดั่งน้ำ
-เต้อ...คุณธรรม ที่ทำให้เราเป็นมนุษย์
-จิง....วิสัยทัศน์ที่"ลึกซึ้ง" เป็นทิพย์
......................................................

คัมภีร์เต้าเต๋อจิง คัมภีร์ว่าด้วยคุณธรรม
ประพันธ์โดยท่านเหลาจื่อเป็นเวลาเกือบ 3,000 ปีมาแล้ว
ประกอบด้วยอักษรจีน 5,000 คำ
แบ่งแยกออกเป็น 81 บท

มีคำกล่าวว่า คัมภีร์เต้าเต๋อจิงเป็นราชาแห่งหมื่นคัมภีร์
เมื่ออ่านคัมภีร์ " เต้าเต๋อจิง" ได้เข้าใจ และปฏิบัติตาม
จะเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสุขภาพแข็งแรง และประสบความสำเร็จ
 
คัมภีร์บทที่ 1 เต๋าและชื่อ
“เต๋า” ที่กล่าวได้ มิใช่เต๋าอันนิรันดร์ ชื่อที่เรียกขานได้ มิใช่ชื่ออันยั่งยืน สิ่งที่ไร้ชื่อถึงจะเป็นต้นกำเนิดแห่งฟ้าดิน ชื่อจึงดุจดั่งมารดาแห่งสรรพสิ่ง ยามใดจิตผ่องใสไร้กิเลส ถึงจะสามารถเป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง ยามใดจิตเต็มไปด้วยกิเลส ก็จะเห็นเพียงเปลือกนอกของสรรพสิ่ง ภาวะจิตสองแบบนี้ต่างกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เห็นจึงย่อมต่างกันอย่างน่าอัศจรรย์ “เต๋า” เป็นวิชาที่น่าศึกษาเรียนรู้ยิ่งกว่าวิชาใด

คัมภีร์บทที่ 2 ตรงกันข้าม
ถ้าเพื่อจักสำแดงรูปลักษณ์ให้ดีงาม จึงไปบรรจงปั้นแต่งหรือสร้างภาพให้สวย การทำดังนี้ยังจะเรียกว่าดีงามได้อีกหรือ? ถ้าทำบุญ เพียงเพื่อหวังเอาหน้า การทำดังนี้ยังจะเรียกว่า เป็นการทำบุญได้อีกหรือ? ถ้าไม่รู้สึกว่ามี “มี” ตรงกันข้ามกับ “ไม่มี” ยากตรงกันข้ามกับง่าย ยาวตรงกันข้ามกับสั้น บนตรงกันข้ามกับล่าง เสียงดังตรงกันข้ามกับเสียงเบา ด้าน

หน้าตรงกันข้ามกับด้านหลัง เมื่อปราชญ์ แจ้งข้อตรงข้ามดังกล่าว เพื่อที่จะพ้นสรรเสริญนินทา เขาจึงปฏิบัติตนด้วยจิตที่ปล่อยวาง ฉะนั้น จึงไม่รู้สึกยากลำบาก ปราชญ์อบรมบ่มสอนประชาชนด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยคำพูด เขาศึกษาเรียรู้ฟ้าดินหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งโดยไม่ย่อท้อ ปราชญ์ใช้แบบอย่างคุณธรรมแห่งฟ้าดิน คือ แม้นจะได้สร้างคุณความดีมากหลาย ก็ยังคิดว่าตนมิได้ทำอันใดด้วยเขาไม่มุ่งหวังเอาความดีความชอบ

เมื่อเขาทำคุณความดีเสร็จแล้วก็ผ่านเลยไป โดยไม่เข้าครองความดีนั้น เขามีน้ำใจกว้างขวาง แม้แต่คุณความดีที่ตนทำ ก็ไม่ไปสนใจ ซึ่งกลับทำให้คุณความดีของเขาไม่ดับสูญนิรันดร์กาล

คัมภีร์บทที่ 3 ปกครองโดยธรรม
ถ้าไม่ยกย่องคนเก่ง คนก็จักไม่แย่งตำแหน่งกัน ถ้าไม่ให้คุณค่าแก่ทรัพย์สินสูงค่า คนก็จักไม่โลภจนตกไปเป็นโจร ถ้าไม่เห็นสิ่งเย้ายวนใจ คนก็จักไม่หลงมัวเมา

การบริหารจัดการของปราชญ์ ขั้นแรกคือ สอนคนให้ขจัดความคิดในทางที่ผิด เพราะเมื่อขจัดความคิดในทางที่ผิดได้ กายและใจก็จักสงบสบาย จากนั้น ก็สอนคนให้เลิกนิสัยหยิ่งยโสและการชิงดีชิงเด่น หากทำฉะนี้ได้ ก็จักเกิดความสงบสุขการอบรมบ่มสอนประชาชนดังนี้ แม้นมีพวกเจ้าเล่ห์อยู่บ้าง ก็มิหาญกล้าทำความผิดร้ายแรง การบริหารใต้หล้าเยี่ยงนี้ ไฉนเลยจักบริหารใต้หล้าไม่ดี

บทที่ 4 คุณประโยชน์ของเต๋า
แม้เต๋าจะดูคล้ายว่างเปล่าไร้ตัวตน แต่มันก็ให้กำเนิดพลังงานที่สามารถให้สรรพสิ่งนำไปใช้อย่างมิรู้จบสิ้น เต๋าลึกล้ำยิ่งใหญ่ดุจบรรพบุรุษแห่งสรรพสิ่ง เต๋าสุภาพอ่อนโยน มีคุณสมบัติในการแก้ไขความยุ่งเหยิง มันอยู่ทุกแห่งหน ทั้งในที่มืดและสว่าง เป็นที่ประจักษ์ว่า คุณประโยชน์ของมันกว้างขวางไร้ที่สิ้นสุด

แม้นเต๋าจะมหัศจรรย์ปานนี้ แต่ก็ไร้ร่อยรอยที่จะค้นหา ข้าพเจ้าไม่แจ้งที่มาของเต๋า แต่มันน่าจะมีอยู่ก่อนมีพระเจ้า

บทที่ 5 ฟ้าดิน ปราชญ์
ฟ้าดินไร้เมตตาจริงหรือ? ไฉนจึงเอาสรรพสิ่งเป็นดังหุ่นหมาฟาง ใช้เสร็จแล้วก็ทิ้ง ปราชญ์ไร้เมตตาจริงหรือ? ไฉนจึงเอาสรรพสิ่งเป็นดังหุ่นหมาฟาง ใช้เสร็จแล้วก็ทิ้ง

เนื้อแท้ฟ้าดินหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งอย่างทั่วถึง ปราชญ์ก็รักประชาชนเท่าเทียมกัน การเสื่อมถอยของสรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามกรรม จะไปโทษฟ้าดินหรือปรชญ์ว่า ไร้เมตตาได้ไฉน?

ฟ้าดินก็เปรียบดั่งพัดลมอันหนึ่ง ถ้าไม่มีใครไปเปิดมันก็อยู่นิ่งสงบ แต่ความสามารในการกำเนิดลม ยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง หากมีใครไปเปิดเครื่อง ลมก็ย่อมพัดออกมาได้เอง

ฟ้าดินและปราชญ์นั้นเที่ยงธรรม ส่วนความคิดของบุคคลบางคน ถ้าไม่เอียงซ้ายก็เอนขวา ไม่ยึดทางสายกลาง โดยมักคิดว่าตนเองฉลาด เข้าทำนองความรู้ท่วมหัวกลับเอาตัวไม่รอด จึงได้ว่า มิสู้เดินสายกลาง

บทที่ 6 เทพยดา
ฟ้าดินมีเทพยดา ร่างกายคนมีจิตวิญญาณ เหล่านี้ล้วนมีอยู่อย่างน่าอัศจรรย์ แต่มองไม่เห็น เรามาเรียกพวกเขาว่า เป็นมารดาแห่งสรรพสิ่งก็แล้วกัน มารดาแห่งสรรพสิ่งนี้ แม้นจะไม่มีทางค้นหาพบแต่ฟ้าดินและสรรพสิ่งล้วนมาจากสิ่งนี้ ความน่าอัศจรรย์เหล่านี้ มิใช่เพิ่งจะมีในปัจจุบัน แต่มีตั้งแต่โบราณมาแล้ว

บทที่ 7 ไม่เห็นแก่ตัว
นับแต่บรรพกาล ฟ้ายังคงเป็นฟ้านี้ ดินยังคงเป็นดินนี้ จะเห็นได้ว่า อายุของมันยืนยันยาวยิ่ง ไฉนฟ้าดินจึงอายุยืนยาวเยี่ยงนี้ได้หนอ?

เนื่องเพราะมันมิได้ให้กำเนิดแก่ตัวเอง แต่ให้กำเนิดสรรพสิ่ง มิได้ทำเพื่อตนเอง แต่ทำเพื่อผู้อื่น ฉะนั้นมันจึงสามารถอายุยืนยาวได้

เมื่อปราชญ์รู้หลักการเหล่านี้ เขาจึงเอาอย่างฟ้าดินโดยเอาธุระของตัวเองไว้ข้างหลัง เอาธุระของคนอื่นวางไว้ข้างหน้า แต่จิตวิญญาณของเขากลับอยู่สูงกว่าคนอื่น

แม้นเขาจะเอาตัววางไว้ภายนอก แต่กายแท้ (จิตวิญญาณ) ของเขากลับเป็นอมตะนิรันดร์กาล

ปราชญ์ไม่เห็นแก่ตัว แต่กลับสามารถประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เมื่อถึงกาลสิ้นอายุ จิตวิญญาณของเขาหลุดพ้นจากสามภูมิ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก ทั้งยังได้รับการกราบไหว้บูชาจากคนรุ่นหลัง นี่คือผลลัพธ์แห่งการไม่เห็นแก่ตัว

บทที่ 8 ความดีดั่งน้ำ
ชาวโลกต่างก็อยากทำความดี วันนี้ข้าพเจ้าจะมาพูดเรื่อง ความดีสูงสุดคืออะไร? นั่นก็คือ “น้ำ” โดยอุปมาอุปไมยดังนี้

1. ความดีของน้ำ คือ ให้คุณประโยชน์และความชุ่มชื้นแก่สรรพสิ่ง โดยไม่ไปชิงดีชิงเด่นกับใคร
2. น้ำอยู่ในที่ต่ำที่ทุกคนรังเกียจ ฉะนั้นจึงใกล้ชิดเต๋าที่สุด
3. ไม่ว่าน้ำจะอยู่ในสถานที่ใด ก็อยู่อย่างเงียบสงบ
4. ความดีของน้ำลึกล้ำสุดหยั่งคาด เพราะอะไรเล่า? เพราะมันสามารถเข้ากับสรรพสิ่งได้
5. น้ำมีแต่ให้แก่สรรพสิ่ง นี่คือเมตตาธรรมของน้ำ
6. น้ำไม่พูด แต่คำพูดที่ไม่พูดถึงจะเป็นคำพูดโดยแท้น่าเชื่อถือ เช่น น้ำขึ้นน้ำลงในวันข้างขึ้นข้างแรมตรงต่อเวลานี่ก็คือความน่าเชื่อถือของน้ำ
7. การให้ความชุ่มชื้นแก่สรรพสิ่งของน้ำ เปรียบดั่งการบริหารจัดการ เช่น น้ำเจอความร้อนก็ลอยขึ้นสูงกลายเป็นน้ำค้างน้ำฝน เมื่อมีเหลือก็ไหลลงสู่แม่น้ำลำธารปรากฏการณ์ต่อเนื่องไม่หยุดดังนี้ มิใช่สำแดงถึงการบริหารการจัดการที่ดีของน้ำหรอดหรือ ?
8. ด้านการบริหารจัดการของน้ำ ก็สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เช่น การเดินเรือ การให้ความชุ่มชื้น หุงข้าว ทำกับข้าว ซักเสื้อผ้า เหล่านี้ล้วนเป็นความดีของน้ำทั้งสิ้น
9. ด้านการเคลื่อนไหวของน้ำ ก็เข้ากันได้กับธรรมชาติยิ่ง เช่น น้ำไหลไปถึงที่กลม มันก็เป็นรูปทรงกลม ไหลไปถึงที่สี่เหลี่ยม มันก็เป็นรูปสี่เหลี่ยม ยามอุณหภูมิร้อนก็ตกลงมาเป็นฝน

ถ้ามนุษย์สามารถปฏิบัติตนดุจเดียวกับน้ำ โดยไม่ฝืนธรรมชาติ ไม่ทำชั่ว ไม่โป้ปดหลอกลวง ถึงจะเป็นการเอาอย่างความดีของน้ำ เหนืออื่นใด น้ำไม่แก่งแย่งกับใคร นี้คือการแสดงถึงการรักสันติของน้ำ ถ้ามนุษย์สามารถเอาอย่างการรักสันติของน้ำ ย่อมจักไม่เกิดความขัดแย้งใด ๆ

บทที่ 9 หลักแห่งการปฏิบัติตน
หลักแห่งการปฏิบัติตน พึงรู้จักเดินหน้าและถอยหลัง (หมายถึงยืดได้หดได้) การใดพอเหมาะจงหยุด อย่าทะนงหลงตน เพราะผู้ที่เชื่อมั่นในตนเองเกินไป มักจะเหมือนเช่นน้ำที่ล้นแล้วไหลทะลักออกมา ได้ไม่คุ้มเสีย มิสู้ละการโอ้อวดและเชื่อมั่นเกินไป ซึ่งจะทำให้จิตสงบสบายดีกว่า

ผู้ที่โอ้อวดปัญญาความสามารถของตน อาจจะถูกคนหมั่นไส้หรือเล่นงานได้ ทั้งมิได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่น ทองและหยก แม้นจะเป็นของสูงค่า แต่ก็ยังเป็นของนอกกายอยู่ดี แม้นเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มากหลาย วันใดสิ้นลมปราณก็มิอาจรักษาไว้ได้

ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญธรรม หากสามารถนำทรัพย์ที่ตนเองมีอยู่มาหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณอันเป็นกายแท้ จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ผู้ที่ร่ำรวยถ้ารู้จักเอื้ออาทรไม่หยิ่งยโส คนอื่นย่อมจะยอมรับนับถือ แต่ถ้ามั่งมีแล้วหยิ่งลำพอง เห็นแก่ตัวย่องจะทำให้คนอิจฉานินทา จนอาจนำภัยมาสู่ตนได้ ฉะนั้น จึงมีแต่ผู้ประสบความสำเร็จแล้วหยุดเท่านั้นจึงจะถูกหลักแห่งเต๋า

บทที่ 10 บำเพ็ญธรรมยากหรือง่าย
การบำเพ็ญธรรมจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากเพราะจิตคนพอเล่นไปภายนอก จิตและญาณก็แยก***งจากกัน

ท่านสามารถคุมจิตมิให้ฟุ้งซ่าน ให้บริสุทธิ์ผุดผ่องได้หรือไม่? ท่านสามารถชำระจิตที่ยึดมั่นถือมั่นในความโลภ ให้ใสสะอาดปราศจากจุดด่างพร้อยได้หรือไม่? เมื่อท่านได้บริหารบ้านเมือง มีรักชาติ รักประชาชนและยืดถือความสัตย์ซื่อ ยุติธรรม อย่างแท้จริงหรือไม่? เมื่อท่านเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้แล้ว ยังสามารถไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมฉ้อฉล และปล่อยวางได้หรือไม่?

หลักการเหล่านี้ แท้จริงต้องการให้ท่านเอาอย่างฟ้าดิน เพราะแม้ฟ้าดินจะให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งแต่มันก็ยังคงมิได้ถือว่าสรรพสิ่งเป็นของตน

ฟ้าดินสร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่โลกปานนี้ แต่ยังคงมิได้คิดว่า ตนเองเป็นเจ้าของ การกระทำของฟ้าดินเช่นนี้ เรียกว่าเป็นคุณธรรมอันสูงยิ่ง

บทที่ 11 ประโยชน์ของที่ว่าง
ล้อรถต้องใช้ก้านล้อสามสิบอันสอดเข้าไปที่แกนกลางล้อรถนี้ถึงจะใช้การได้ การสร้างภาชนะ ต้องเหลือที่ว่างตรงกลาง ภาชนะนั้นถึงจะใส่สิ่งของได้

การสร้างบ้าน ทำประตูหน้าต่าง ต้องเหลือที่ว่างไว้คนถึงจะอยู่อาศัยได้ สิ่งที่มีรูปร่างสำหรับให้คนใช้สอยสะดวก ส่วนที่ว่างจึงจะเป็นที่สำหรับการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น ช่องว่างระหว่างฟ้าและดิน จึงจะสามารถให้สรรพสิ่งสัญจรไปมา หากระหว่างฟ้าและดินไม่มีช่องว่างเลยสรรพสิ่งก็จะไม่มีที่สำหรับสัญจรและพัฒนาการ

บทที่ 12 การแสวงหาวัตถุนอกกาย
รูปโลกีย์ทำให้คนหน้ามืดตามัว เสียงโลกีย์ทำให้คนหลงใหล จนไม่ได้ยินเสียงแห่งธรรม เสมือนหนึ่งคนหูหนวก รสจัดทำให้คนหลงใหล รสจืดคือรสแท้

คนที่ไม่ทำการใด วัน ๆ เอาแต่ขี่ม้า ล่าสัตว์ ยิงนกประลองฝีมือ จิตใจบ้าอยู่กับการต่อสู้ ก่อให้กายใจไม่สงบจนสูญเสียจิตเดิมแท้ที่ฟ้าประทานมา

คนที่มีทรัพย์สมบัติมาก มักไม่มีความอิสระ คนที่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมเกินไป มักไม่สนใจเรื่องชื่อเสียงมัวหมอง นักปราชญ์รู้โทษของความโลภ จึงดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยไม่ไปดิ้นรนแสวงหาความสุขทางโลก ต้องการเพียงปากท้องอิ่มก็พอ เพื่อไม่ให้วัตถุนอกกายมาทำให้จิตฟุ้งซ่าน

บทที่ 13 โปรดปราน อัปยศ
ชาวโลกต่างให้ความสำคัญในความแตกต่างระหว่าง “โปรดปราน” และ “อัปยศ” ยามใดได้รับการโปรดปรานหรืออัปยศ ก็รู้สึกตื่นเต้นจนทำอันใดไม่ถูก ส่วนปราชญ์นั้นต่างกัน เขารู้สึกต่อการโปรดปรานของคนอื่น เหมือนดั่งภัยที่เรามีร่างกาย เนื่องเพราะร่างกายของคนเรากอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ไฉนการโปรดปรานและอัปยศ จึงทำให้ข้าพเจ้าหวั่นกลัวเล่า?

เนื่องเพราะการโปรดปราน ก็เหมือนดั่งได้รับชื่อเสียงลาภยศ ซึ่งมิวันใดวันหนึ่งก็ต้องสูญเสียไป ส่วนอัปยศก็เหมือนดั่งถูกปลดออกจากงาน ซึ่งจักต้องถูกคนเขาหัวร่อเยาะ ไฉนการมีร่างกายจึงเป็นภัยเล่า?

เนื่องเพราะเมื่อคนเรามีร่างกาย ย่อมจักมีทุกข์แห่งเกิด แก่ เจ็บ ตาย ปราชญ์จึงถือว่าร่างกายนี้คือ ภัย

ฉะนั้นจึงว่าการโปรดปรานและอัปยศเป็นภัยดุจเดียวกับที่เรามีร่างกาย

ผู้มีธรรมะแม้นเขาจะได้รับตำแหน่งที่สูงส่ง เขาก็มิได้คิดว่าเป็นเกียรติยศของตน เขาถือว่าเกียรติยศของตนก็คือเกียรติยศของชาวหล้า ผู้มีธรรมเยี่ยงนี้ เราจึงจะฝากใต้หล้ากับเขาได้

ฉะนั้น ถ้าผู้ใดให้ความสำคัญต่อร่างกายของตน โดยมิใช่เพื่อลาภยศสรรเสริญ แต่เพื่อทำหน้าที่ฉุดช่วยสัตว์โลกคนเยี่ยงนี้เราจึงจะฝากใต้หล้ากับเขาได้

บทที่ 14 ทฤษฎีของเต๋า
มองไม่เห็นว่าเป็นอันใด เรียกว่า “ไร้รูป” ไม่ได้ยินว่าเป็นเสียงอันใด เรียกว่า “ไร้เสียง” สัมผัสไม่ถูก เรียกว่า “ไร้ตัวตน” สามประการดังกล่าว คือ ความพิสดารแห่งเต๋า ตามหลักการนี้ แม้นกล่าวแยกกันได้ แต่เนื้อแท้เต๋านั้นเป็นหนึ่งเดียว

ส่วนโลกแห่งรูปธรรมนั้นต่างกัน ด้านหนึ่งสว่างอีกก้านหนึ่งก็มือ เช่น ด้านบนสว่าง ด้านล่างมืด เต๋าแทรกซ่านอยู่ทั่วฟ้าดิน ในจักรวาลก็ดูเหมือนจะมี แต่ยากจะยืนยัน เพราะมันเป็นสิ่งละเอียดมาก แม้นเต๋าจะให้กำเนิดสรรพสิ่ง แต่ก็ดูไม่ออกว่ามันให้กำเนิด นี้ก็คือ “รูป” ที่ไร้รูป “ตัวตน” ที่ไร้ตัวตน

ฉะนั้นลางคนจึงว่า เต๋าเป็นเพียงราง ๆ ไม่แน่นอนจะว่ามีก็ดูคล้ายไม่มี ไฉนเป็นดังนี้เล่า? เพราะถ้าท่านใคร่จะอยู่ข้างหน้าต้อนรับมัน ก็มองไม่เห็นข้างหน้าของมัน ถ้าท่านใคร่จะอยู่ข้างหลังตามหลังมัน ท่านก็มองไม่เห็นหลังของมัน

ฉะนั้น ปราชญ์จึงยึดหลักการของเต๋าที่มีแต่โบราณมาบริหารจัดการทุกสิ่งอย่าง ข้าพเจ้าคิดว่า ผู้ที่รู้จักเต๋า ก็คือคนที่รู้ระบบของเต๋าอย่างดี เพราะระบบของเต๋า ก็คือแก่นแท้ของเต๋า

บทที่ 15 ผู้มีธรรมะ
ผู้มีธรรมะในยุคโบราณ จิตวิญญาณของเขาละเอียดพิสดารยิ่ง เขามีญาณวิเศษล้ำลึกสุดหยั่งคาด เขาบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ โดยสุขุมรอบคอบ ไม่ผลีผลามดุจตัว “ยี่”* ในยุคโบราณที่จะต้องรอถึงหน้าหนาวเพื่อให้น้ำในแม่น้ำจับตัวแข็งเสียก่อน จึงกล้าเดินข้ามเพราะถ้าไม่รอให้แม่น้ำแข็งตัวก่อน ก็ทะเล่อทะล่าเดินข้ามไปมิเท่ากับเอาชีวิตไปทิ้งหรอกหรือ?

ความสามารถพิเศษของเขา ดุจวานรในยุคโบราณยามลงจากเขาอย่างระมัดระวัง ไม่กล้าส่งเสียงทำให้ผู้คนในชุมชนที่อยู่เบื้องล่างตื่นตกใจ หาไม่แล้วชีวิตของมันอาจเป็นอันตรายได้

ผู้มีธรรมะในยุคโบราณ เป็นคนสุภาพอ่อนน้อม ดั่งเจ้าบ้านคาราวะต่ออาคันตุกะ ด้านความนิ่งแห่งจิตนั้น สิ่งนอกกายมิอาจกระทบต่อจิตอันตั้งมั่นของเขาได้ ความซื่อตรงของเขา ดุจท่อนไม้ที่ยังไม่แกะสลัก น้ำใจของเขากว้างขวางดุจหุบเขาที่สามารถรองรับสรรพสิ่ง เขาเป็นคนฉลาด แต่ทำเป็นโง่

หมือนดั่งเอาตัวเองจมอยู่ในโคลนตม นี่คือปราชญ์ที่ไม่ได้ถือว่าตนเองเป็นปราชญ์จึงสามารถดำรงความเป็นปราชญ์ได้ มีใครสามารถเหมือนเขา ที่อยู่ท่ามกลางเสียงอึกทึกแต่ยังสามารถรักษาจิตให้นิ่งอยู่ในฌานสมาธิ ผู้ที่ปฏิบัติดังนี้ได้ ย่อมสามารถปล่อยวาง รู้จักพอทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวม ซึ่งกลับทำให้ตนเองสู่วิถีแห่งชีวิตอันนิรันดร์

บทที่ 16 รู้แจ้ง
ผู้ที่รู้แจ้งถึงภาวะจิต ว่าง ก็จักบรรลุถึงฌานสมาธิระดับสูงได้ เราสามารถนิมิตเป็นมิติทิพย์ทั้งของรูปและนามจากฌานสมาธิได้ แม้นสรรพสิ่งมีมากหลาย แต่เบื้องสุดท้ายล้วนต้องคืนสู่ต้นกำเนิดแห่งชีวิต นั่นคือกายทิพย์ (จิตวิญญาณ) ซึ่งเป็นกายแท้อันอมตะ

ผู้ที่รู้ว่าอันใดคืออมตะ ชื่อว่ารู้แจ้งเรื่อง “กายแท้กายปลอม” ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องวิญญาณไม่สูญ มักเป็นคนเพ้อฝันหรือหลงมัวเมา เหตุนี้จึงปลงใจทางชั่วได้ง่าย วันใดก่อกรรมชั่วก็จักเป็นสื่อนำแห่งเภทภัยมาสู่ตน ผู้ที่รักถนอมกายแท้ ย่อมมิกล้าก่อกรรมชั่ว เขามีน้ำใจกว้างขวางสามารถรับรองทุกสิ่งอย่าง

คนเยี่ยงนี้จึงจะถือว่า การฉุดช่วยชาวโลกเป็นภาระหน้าที่ของตน นี้ก็คือปราชญ์ คนเยี่ยงนี้จึงจะเข้าถึงเต๋าได้ ผู้ที่เข้าถึงเต๋า แม้นกายเนื้ออันจอมปลอมดับสูญ ก็มิต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก

บทที่ 17 การบริหารบ้านเมือง
สมัยโบราณยุคแรก (ยุคอึ่งตี่) พระราชาผู้มีคุณธรรมบริหารบ้านเมืองโดยธรรม แผ่ผลให้ประชาชนใต้หล้าพัฒนาตนเองโดยไม่รู้ตัว ประชาชนได้รับพระมหากรุณาปานนี้ ยังคงไม่รู้ค่ามีพระราชาอยู่ พระราชาที่ดีในยุคต่อมา แม้จะไม่ถึงกับดีเลิศประเสริฐอย่างพระราชายุคแรก แต่ก็ยังสามารถใช้คุณธรรมอบรมกล่อมเกลาประชาชน ใกล้ชิดประชาชน

พระราชาที่มีเมตตาธรรมดังนี้ ยังคงได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชน พระราชายุคต่อ ๆ มา เริ่มปกครองโดยใช้พระเดชพระคุณ คือ มีการลงโทษและให้รางวัล ประชาชนในยุคนี้จึงเริ่มรู้สึกเกรงกลังพระราชา

พระราชาที่แย่สุดก็คือ ไร้คุณธรรม รู้จักแต่ใช้อาจกดขี่ประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงเริ่มกระด้างกระเดื่อง ไม่เคารพยำเกรง เพราะเหตุใดเล่า? เนื่องเพราะพระราชาเยี่ยงนี้ ขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้นประชาชนจึงไม่เชื่อถือศรัทธา

เพราะฉะนั้น ถ้าใคร่จะบรรลุถึงบรรยากาศเหมือนเช่นการปกครองในยุคแรก ประการแรกจะต้องทำให้ประชาชนเทิดทูนศรัทธา โดยการทำให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุ มีงานทำอยู่ดีกินดี การปกครองของพระราชาเช่นนี้ถึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ

บทที่ 18 คุณธรรม กตัญญู
เมื่อเต๋าเสื่อมความนิยม จึงปรากฏคุณค่าของคุณธรรม ยามเต๋านิยมแพร่หลาย กลับไม่ปรากฏว่าคุณธรรมอยู่หนใด แลไม่แจ้งว่าคุณธรรมเป็นฉันใด เฉกเช่นในสมัยโบราณยุคแรก จิตใจผู้คนซื่อตรง เต๋านิยมแพร่หลาย ลุถึงโบราณยุคกลาง เต๋าก็ค่อย ๆ เสื่อมความนิยม เมื่อขงจื่อเป็นเต๋าเริ่มเสื่อมลง จึงพยายามส่งเสิรมคุณธรรมนี้ก็คือ “หลังเต๋าเสื่อม ปรากฎคุรธรรม”

เมื่อนักวิทยาศาสตร์เจริบก้าวหน้า จิตใจคนยิ่งมายิ่งเจ้าเล่ห์แสนกล ลุถึงเพลานั้นประชาชนไม่อยู่ในคุณธรรมคดีต้มตุ๋นหลอกลวงต่าง ๆ จึงปรากฏเนือง ๆ ยามญาติพี่น้องสามัคคีกลมเกลียว แม้นจะมีคนกตัญญู แต่เนื่องจากทุกคนปรองดองกันดี จึงไม่รู้สึกว่ามีใครกตัญญูโดดเด่น เพราะทุกคนล้วนกตัญญู

ยามใดที่ญาติพี่น้องบาดหมางกัน หากยังไม่มีใครสามารถกตัญญู ก็จะเห็นความกตัญญูของผู้นั้นเด่นชัด มีขุนนางตงฉิน ย่อมีขุนนางกังฉิน ยามบ้านเมืองสงบ ก็มิแจ้งว่าผู้ใดตงฉินหรือกังฉิน ยามใดบ้านเมืองเกิดศึกสงครามอลเวง ขุนนางกังฉินก็จะขายชาติแสวงหาประโยชน์ ขุนนางตงฉินก็จะสละชีพเพื่อชาติ กลายเป็นวีรชนปรากฏชื่ออยู่ในพงศาวดารนี้ก็คือ “บ้านเมืองวุ่นวาย ปรากฎขุนนางตงฉิน”

บทที่ 19 คืนสู่ความบริสุทธิ์
ปราชญ์ที่แท้จริง มิได้คิดว่าตนเองเป็นปราชญ์ เช่น ท่านขงจื่อยามมีชีวิตอยู่ ดำเนินชีวิตอย่างปราชญ์ แต่มิได้ใช้ชื่อปราชญ์ กลับทำให้ชื่อแห่งปราชญ์ของท่านเป็นอมตะ การบำเพ็ญคุณธรรมก็ดุจกัน ไม่จำเป็นต้องไปยกยอตนเอง หากทำดังนี้ได้ ทุกคนถึงจะสามารถกลับคืนสู่จิตเดิมแห่งเมตตากตัญญู สมมติถ้าทุกคนต่างไม่ใช่เล่ห์เหลี่ยมไปโกงคนอื่น คนอื่นก็จะไม่คิดเป็นโจร

หลักการดังว่านี้ บางคนอาจคิดว่าไร้สาระ ยากที่จะกล่อมเกลาจิตใจชาวโลก ฉะนั้นข้าพเจ้าขอเสนอแนะสภานกล่อเกลาจิตใจชาวโลก ฉะนั้นข้าพเจ้าขอเสนอแนะสถานที่หนึ่ง นั่นคือ ให้ตั้งอยู่ที่ความซื่อสัตย์ มักน้อยกลับคืนสู่จิตเดิมแท้อันบริสุทธิ์

บทที่ 20 สรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว
ขอเพียงงดเล่ห์เหลี่ยม ก็จักพ้นทุกข์ร้อน ในการสนทนาโต้ตอบ คำว่า “ครับ” (ค่ะ) และคำว่า “ไม่” การออกเสียงสองคำนี้ แม้จะไม่แตกต่างกันนักแต่คน ที่ได้ฟังกลับรู้สึกต่างกันมาก แบบหนึ่งรู้สึกดี แบบหนึ่งรู้สึกไม่ดี

ชาวโลกไม่ยอมขัดเกลาจิต เสมือนหนึ่งนาจิตอันประเสริฐปล่อยให้รกร้าง วัชพืชแห่งกิเลสตัณหาขึ้นเต็มไปหมดโดยไม่ไปกำจัดทิ้ง กิเลสที่ไม่รู้เบื่อชนิดนี้ เหมือนดั่งคิดใคร่ร่วมลิ้มรสในงานเลี้ยง หรือดั่งขึ้นหอสูงชมทิวทัศน์อย่างสุขสันต์ในฤดูใบไม้ผลิ มีแต่ดวงจิตของข้าพเจ้าที่นิ่งสงบ ดุจทารกในอ้อมอกมารดา ซึ่งไร้กิเลสตัณหา ไร้กังวล เหมือนดั่งไม่ข้องเกี่ยวทางโลก หรือดั่งคนเร่ร่อนไร้หลักแหล่ง ไม่เหมือนชาวโลกที่มักเริงร่า โดยเฉพาะในขณะแสวงหาลาภยศสรรเสริญ เสมือนหนึ่งว่ามีปัญญาความสามารถที่ใช้มิรู้หมด

ส่วนปัญญาความสามารถของข้าพเจ้าเล่า ดั่งว่าจะสูญไปสิ้น ในดวงจิตก็อ้างว้างเปล่าเปลี่ยว ดุจคนโง่เขลาเบาปัญญา ชาวโลกฉลาดหลักแหลม มีแต่ข้าพเจ้าที่ไร้เดียงสาดั่งเด็กน้อย ชาวโลกต่างพึ่งพาอาศัยปัญญาความสามารถของตนโดยคิดว่าตนเองเก่งกาจ ส่วนข้าพเจ้าเล่า เหมือนดั่งคนโง่ที่ดื้อรั้นและต่ำต้อย มีแต่ข้าพเจ้าที่ต่างจากชาวโลก เพราะข้าพเจ้าจดจ่ออยู่แต่เต๋า โดยมองสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว ดั่งทารกที่ต้องดูดกินนมแม่ตลอดเวลา พอได้นมแม่ชีวิตก็รอด ขาดนมแม่ชีวิตก็อันตราย

บทที่ 21 การปรากฏของเต๋า
ถ้าคิดว่าใคร่รู้ถ่องแท้โฉมหน้าของคุณธรรม มีแต่ในองค์เต๋าเท่านั้นถึงจะค้นพบคำตอบ แล้วเต๋าคืออันใดเล่า?

ความจริงมันราง ๆ ไร้รูปลักษณ์ที่แน่นอน จะว่ามีก็คล้ายไม่มี จะว่าไม่มีก็คล้ายมี แต่ในความราง ๆ ก็เปี่ยมไปด้วยรูปลักษณ์ทุกอย่าง ในความราง ๆ มันแทรกซ่านอยู่ทั่วฟ้าดินและทุกสรรพสิ่ง มันทั้งลี้ลับและ***งไกล ในความลี้ลับและ***งไกลก็อุดมไปด้วยสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดแห่งชีวิต ซึ่งเป็นธาตุแท้สุดหยั่งคาด ธาตุแท้เหล่านี้มีอยู่จริง เช่นถ้าฟ้าดินไม่มีธาตุแท้เหล่านี้ฟ้าดินก็มิอาจยั่งยืน หากมนุษย์ไม่มีธาตุแท้เหล่านี้ มนุษย์ก็มิอาจดำรงอยู่ได้

บทที่ 22 การแก่งแย่ง
ผู้ที่รับการถูกใส่ร้ายได้ ย่อมเป็นคนบริสุทธิ์ ผู้ที่รับการถูกกลั่นแกล้งได้ ย่อมเป็นคนซื่อตรง คนอ่อนน้อมถ่อมตน ย่อมมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ข้าราชการผู้มีคุณธรรม ที่ยอมใส่เสื้อผ้าเก่าและปะย่อมเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ผู้ที่มักน้อย ย่อมพอใจในสิ่งที่ตนมีตนเป็น ผู้ที่แสวงหาวัตถุทางโลก มักลุ่มหลงมัวเมา

นักปราชญ์นั้นซื่อตรง ยึดมั่นแต่จิตพุทธะ สามารถเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลก ผู้ที่ไม่ยึดอยู่กับความคิดเป็นของตนเองเป็นใหญ่ แสดงว่าเป็นคนมีเหตุผล ผู้ที่ไม่คิดว่าตนเองถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว แสดงว่ามีสติปัญญา ไม่หลงตัวเอง ผู้ที่ไม่โอ้อวดความดีของตน จึงจะเป็นคนดีแท้ เพราะเขาได้เก็บความดีไว้ในใจ ไม่รั่วไหลไปไหน ผู้ที่ไม่โอ้อวดปัญญาความสามารถของตน ถึงจะยั่งยืน เพราะเขาไม่เย่อหยิ่งถือตัว จึงได้รับการยอมรับนับถือจากปวงชน เพราะเขาไม่แก่งแย่งกับผู้ใด จึงไม่มีผู้ใดแก่งแย่งกับนับถือจากปวงชน โบราณว่า “ผู้ถูกใส่ร้าย ย่อมบริสุทธิ์” ใช่ว่าไร้สาระเสียทีเดียว ผู้ซื่อตรงยึดถือความสัตย์ ปวงชนย่อมมาสู่เขา

บทที่ 23 เต๋าแห่งธรรมชาติ
การลดโต้เถียง ย่อมถูกหลักแห่งเต๋า ท่านดูสิ ลมพายุใช่จะพัดกระหน่ำตลอดเช้า มันก็ย่อมสงบเอง ฝนใช่จะตกตลอดวัน มันก็ย่อมหยุดเอง ผู้ใดเล่าทำให้ลมพายุพัด? ผู้ใดเล่าทำให้ฝนตก? ก็คือฟ้าดิน ผู้ใดจะเก่งกว่าฟ้าดินได้เล่า? ฟ้าดินยิ่งใหญ่ปานนี้หากไม่คล้อยตามธรรมชาติ ก็ยังมิอาจยั่งยืน สำมะหาอะไรกับมนุษย์ตัวเล็ก ๆ อย่างเราไฉนไปฝืนธรรมชาติ ไฉนไปโต้เถียงเรื่องไร้สาระ

ผู้บำเพ็ญธรรม ถ้าปะคนมีธรรมะ เราก็จะใช้ธรรมะมาศึกษาและถกปัญหาธรรม ถ้าปะผู้มีคุณธรรม เราก็จะใช้คุณธรรมมาให้กำลังใจกันแลกัน ถ้าปะคนที่ผิดหวัง เราก็จะใช้เมตตาธรรมไปปลอบประโลมเขา ถ้าทำดั่งนี้ได้ เมื่อท่านอยู่กับคนมีธรรมะ คนมีธรรมะก็รู้สึกมีความสุข

เมื่อท่านอยู่กับคนมีคุณธรรม คนมีคุณธรรมก็รู้สึกมีความสุข เมื่อท่านอยู่กับคนผิดหวัง คนผิดหวังก็รู้สึกมีความสุขเต๋านั้นสุดแสนมหัศจรรย์ แต่ลางคนมิค่อยเลื่อมใสศรัทธาเต๋านัก ลางคนก็ไม่เลื่อมใสเอาเสียเลย ต่อให้ท่านอธิบายฉันใดก็ไร้ประโยชน์

บทที่ 24 ยืนด้วยปลายเท้า
ผู้ที่ยืนเขย่งเท้า โดยฝ่าเท้าไม่ติดพื้น เพื่อหวังโผล่ศีรษะ (หมายถึงเงยหน้าอ้าปาก) มักยืนไม่มั่นคง เพื่อที่ก้าวเท้ายาวเพื่อจะเดินเร็ว มักเดินไม่ไกลเท่าไหร่ก็เหนื่อย คนเห็นแก่ตัว มักหลงมัวเมา คนที่ถือเอาความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ มักไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนอื่น

คนที่ยกยอความดีของตนเอง คนมักไม่ค่อยเชื่อใจ คนที่ชอบโอ้อวดบ่อย ๆ คนมักไม่แน่ใจความสามารถของเขา เพราะเขาได้เผยข้อด้อยออกมาแล้วยังจะมีข้อดีอันใดอีก พฤติกรรมเหล่านี้ ในแง่ของเต๋าเปรียบดั่งท้องอิ่มแล้วมีคนเรียกท่านกินอีก ท่านยังจะกินอีกหรือ?

พฤติกรรมเหล่านี้ สัตว์หรือพืชยังรังเกียจ สำมะหาอะไรกับมนุษย์เราซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐ ฉะนั้น ผู้มีธรรมะเมื่อเข้าใจเหตุผลจึงไม่พึงประพฤติอีก

บทที่ 25 หน้าตาอันแท้จริงของเต๋า
หน้าตาอันแท้จริงของเต๋านั้น ความจริงไร้ชื่อ แต่เราเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ใหญ่โตอย่างหนึ่ง มันมีอยู่ก่อนฟ้าดินจึงได้ว่า “เกิดก่อนฟ้าดิน” เต๋าอยู่เหนือสรรพสิ่ง มันไร้เสียงไร้รูปร่าง นับแต่โบราณกาลเต๋ามิเคยเปลี่ยนแปลง

เต๋าวนเวียนอยู่ในโลกมิรู้หยุด สรรพสิ่งล้วนอาศัยมันในการอุบัติและเจริญเติบโต ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าเต๋าเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง ปรากฏการณ์อันมหัศจรรย์ ข้าพเจ้าไม่รู้จะเรียกมันฉันใด?

ได้แต่สมมุติตั้งชื่อให้มันว่า “เต๋า” ถ้าจะตั้งชื่อใหม่น่าจะเรียกว่า “ใหญ่” ใหญ่ถึงที่สุดมิใช่สลายหรือ? ฉะนั้น “ใหญ่” อันนี้ก็ไม่เหมาะนัก น่าจะเรียกว่า “สลาย” สลายถึงที่สุด มิใช่ไกลหรือ? ฉะนั้นสลายอันนี้ก็ไม่เหมาะนักน่าจะเรียกว่า “ไกล” เมื่อไปไกลแล้วก็กลับมาได้ มิใช่กลับหรือ? ฉะนั้น “ไกล” อันนี้ก็ไม่เหมาะนัก น่าจะเรียกว่า “กลับ”

ดังนั้น “เต๋า” ที่สามารถให้กำเนิดฟ้าดินและสรรพสิ่งจึงยิ่งใหญ่ที่สุด ยิ่งใหญ่รองลงมา คือ ฟ้าที่สามารถครองสรรพสิ่งทั้งมวล รองลงมา คือ ดินที่สามารถรองรับสรรพสิ่งรองลงมา คือ พระราชาที่ปกครองแผ่นดินโดยธรรม

บทที่ 26 สุขุม หนักแน่น
ความหนักแน่นมั่นคงเป็นรากฐานของความหวั่นไหว ความสุขุมเป็นนายของความร้อนวุ่นวาน นักปราชญ์สุขุมและหนักแน่นอยู่เสมอ ยามออกนอกบ้าน ด้วยมีสถานะสูง จึงมีรถบรรทุกสัมภาระ

แม้นภายนอกจะดูสูงส่งและสง่า แต่เขายังคงหนักแน่น มิให้ความสูงส่งและสง่ามากระทบจิตใจ ส่วนพระราชาบางองค์ที่มีรถศึกนับหมื่นนั้นต่างกัน เพราะไม่รู้จักขัดเกลาจิตเอาแต่หลงใหลอำนาจวาสนาประพฤติต่ำต้อยอย่างไม่สมศักดิ์จนเป็นที่ดูหมิ่นของประชาชน อันนำมาซึ่งการล่มสลาย

ฉะนั้นจึงว่า ผู้ที่วู่วามย่อมนำไปสู่การสูญเสียรากฐานของตน เช่น พระราชาที่วู่วาม ย่อมนำไปสู่การสูญเสียตำแหน่งอันสูงส่ง ฉันใดฉันนั้น

บทที่ 27 คนจิตใจงาม
คนดีเขาสร้างคุณความดีโดยสุจริตใจ มิได้หวังเอาหน้าแต่อย่างใด คนดีพูดจาเปิดเผยตรงไปตรงมาตามนิสัยของเขาฉะนั้นคำพูดของเขาจึงเป็นความจริง มีเหตุผล น่าเชื่อถือ

คนดีจิตใจเป็นพุทธะ เขาทำการใดจึงไม่ต้องวางแผนอันใดนัก เพราะการกระทำทุกอย่างล้วนเกิดจากจิตพุทธะไม่เหมือนคนอื่นที่คิดจะทำอันใดสักอย่าง ก็ต้องวางแผนแล้ววางแผนอีก ผลสุดท้ายไม่ว่าวางแผนฉันใด สิ่งที่ทำย่อมหนีไม่พ้นกรรมสนอง

คนดีจิตใจไร้เขาไร้เรา ไม่ยึดติดกับวัตถุธาตุ ทวารแห่งจิตของเขาแม้นมิได้ใส่กุญแจ แต่ผู้ใดก็มิอาจขโมยจิตแห่งความหลุดพ้นของเขาได้ ไม่เหมือนคนบางคน แม้ติดตั้งประตูกลใส่กุญแจแน่นหนา แต่สุดท้ายก็ยังถูกพวกจ้าเล่ห์ทำลายลงจนได้

คนดีเขาตั้งปณิธานว่า จะสงเคราะห์ฉุดช่วยชาวโลกเขามิเคยลืมปณิธานนี้ ฉะนั้นชาวโลกก็ไม่เคยลืมบุญคุณของเขาเช่นกัน คำสัตย์ที่มิต้องทำเป็นสัญญาฉะนี้ แม้นจะเป็นสัญญาที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนพยานวัตถุ แต่ใครก็มิอาจยกเลิกสัญญาพวกเขาได้ ไม่เหมือนคนทั่วไปที่มักจะให้คำมั่นหรือทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เสมือนหนึ่งได้ผูกมัดทั้งสองฝ่ายไว้แล้ว แต่สุดท้ายก็ยังถูกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบิดพลิ้วจนได้

ปราชญ์นั้นจิตใจดีงาม เขามักทุ่มเทกายใจสงเคราะห์ผู้อื่นอยู่เสมอ เขาถือว่าการศึกษาเสมอภาค ฉะนั้นเขาจึงอบรมบ่มสอนทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ จิตใจของเขาและสรรพสิ่งหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวฉะนั้นไม่ว่าสัตว์หรือพืช เขาไม่เคยคิดเหยียบย่ำหรือทำลายนี้คือปราชญ์ที่สืบทอดคุณธรรมจากบรรพบุรุษคำพูดและการกระทำของคนดีล้วนถูกหลักแห่งเต๋าเป็นครูอาจารย์ (แบบอย่าง) ของคนไม่ดี การกระทำของคนไม่ดี เป็นข้อมูล (บทเรียน) ของคนดี คนดีไม่ยึดมั่นถือมั่น มีคุณสมบัติของครูอาจารย์เขาคาดหวังว่าทุกคนเป็นคนดีหมด และคาดหวังว่ากาลต่อไปจะไม่มีคนไม่ดีให้เป็นบทเรียนแก่เขาอีก แม้นเขาจะฉลาดปราดเปรื่อง แต่เขาก็ยังทำเป็นโง่นี้ถึงจะเป็นผู้ที่รู้แจ้งโดยแท้จริง

บทที่ 28 แข็งแกร่ง อ่อนน้อม ถ่อมตน
ผู้ที่รู้ว่า “แข็งแกร่ง” เป็นฉันใด? เขามักอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะเหตุใดเล่า? เนื่องเพราะผู้ที่วางตัวดังนี้ได้อุปมาดั่งร่องน้ำกลางหุบเขาอันอยู่ในที่ต่ำ ย่อมเป็นแหล่งรวมแห่งสายน้ำทั้งหลาย คนที่สามารถเป็นดั่งแหล่งรวมแห่งสายน้ำ เขาย่อมเป็นคนมีคุณธรรม เหมือนหนึ่งย้อนกลับสู่สมัยเป็นทารกบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ผู้ที่รู้ว่า “ใสสะอาด” เป็นฉันใด? เขามักทำเป็นคนโง่เพราะเหตุใดเล่า? เนื่องเพราะเขามีการอบรมบ่มจิตเป็นนิจนี้ถึงจะเป็นแบบอย่างของชาวโลก แล้วภาวะจิตของคนเยี่ยงนี้เป็นฉันใดเล่า? ภาวะจิตของเขาก็เหมือนหนึ่งกลับสู่โบราณกาลที่คนเรายังโง่

ผู้ที่รู้ว่า “เกียรติยศ” เป็นฉันใด? เขามักทำตัวต่ำต้อยเพราะเหตุใดเล่า? เนื่องเพราะผู้ที่ทำดังนี้ได้ ก็เหมือนดั่งหุบเขาที่สามารถรองรับสรรพสิ่ง เขาย่อมมีคุณธรรมสูงกว่าคนอื่น เสมือนหนึ่งท่อนไม้ที่ยังมิได้ผ่านการตัดแต่ง เพราะท่อนไม้ที่ตัดแต่งแล้ว ย่อมเป็นได้แค่เครื่องใช้อย่างหนึ่งเท่านั้น

ปราชญ์ตั้งอยู่ในความซื่อตรง ก็สามารถครอบคลุมส่วนดีของเครื่องใช้ทั้งหมด ไม่เหมือนกับการทำเป็นเครื่องใช้แล้ว ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เพียงอย่างเดียว ดังนั้น มันมิกลายเป็นเจ้าแห่งเครื่องใช้ไปหรือ? ด้วยเหตุนี้ ปราชญ์จึงยินดีที่จะยึดถือความซื่อตรงดีกว่าที่จะเหมือนท่อนไม้ที่ตัดแต่งสร้างเป็นเครื่องใช้แล้ว ซึ่งเต็มไปด้วยการตกแต่งและมายาภาพ


บทที่ 29 อย่าฝืนลิขิตฟ้า
ถ้าไปแย่งชิงใต้หล้าเพื่อสนองกิเลสของตน ข้าพเจ้าว่ามิอาจเป็นไปได้เพราะว่าใต้หล้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งมิใช่ว่าผู้มีกำลังเข้มแข็งก็สามารถยึดครองได้ มิใช่ว่าผู้ฉลาดก็สามารถควบคุมได้

ผู้ที่คิดใครใช้กำลังทางทหารไปยึดครอง ผลสุดท้ายล้วนต้องพบกับความล้มเหลว ผู้ที่คิดใคร่ไปยึดครองหมายผลประโยชน์ตน เบื้องสุดท้าย ล้วนต้องลิ้มรสความผิดหวังอันแสนเจ็บปวด

เพราะแม้ว่ามนุษย์จะเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่ก็หนีไม่พ้นหลักแห่งความจริง เช่นว่า เมื่อท่านคิดจะเดินอยู่ข้างหน้าแต่ปรากฏว่ายังมีคนเดินอยู่ข้างหน้าท่าน เมื่อท่านคิดจะเดินอยู่ข้างหลังคนอื่น ก็ปรากฏว่ายังมีคนเดินตามหลังท่าน เมื่อท่านคิดจะเป็นคนเข้มแข็งที่สุด ก็ยังมีคนเข้มแข็งกว่าท่านเพราะร่างกายของคนเราย่อมมีวันเสื่อมสลาย ถ้าท่านหาบของหนัก มิช้าก็จะเหนื่อยและต้องวางของที่หาบลง เมื่อปราชญ์รู้สัจธรรมนี้ เขาจึงไม่คิดทำในสิ่งที่เกินกำลัง หรือคิดโอ้อวด หรือคิดทำในสิ่งที่เกินจำเป็น

บทที่ 30 อย่าก่อสงคราม
ผู้ที่รู้จักใช้ “เต๋า” ค้ำชูพระราชา ย่อมไม่อาศัยกำลังทหารไปแสดงอำนาจต่อใต้หล้า เพราะการใช้ทหารไปฆ่าคน ฝ่ายตรงข้ามก็คงไม่นิ่งเฉยเมื่อใดมีโอกาสย่อมจะคิดหาหนทางแก้แค้น และในที่ทั้งสองฝ่ายสู้รบกัน เกษตรกรไม่อาจทำนาโดยสะดวก ต้องปล่อยให้ไร่นารกร้าง

นักการทหารที่ดี จะใช้การทหารก็เพื่อยุติสงครามหรือเพื่อมิให้สงครามยืดเยื้อ คือจะใช้การทหารเฉพาะจำเป็นเท่านั้น ดังนั้น นักการทหารที่ดีจึงไม่กล้าใช้กำลังทหารไปรุกรานประเทศข้างเคียง และเมื่อสงครามยุติแล้ว ก็จะไม่อวดแสดงกำลังทางทหารอีก และไม่โอ้อวดความชอบของตน และไม่เหยียดหยามคนอื่นด้วยความยโสโอหังเพราะเขาถือว่า การทำสงครามเป็นเพราะความจำเป็น

ฉะนั้น เมื่อสงครามยุติแล้ว จึงไม่อวดแสดงอำนาจทางทหารอีก การอวดแสดงอำนาจมิใช่วิถียั่งยืน การอวดแสดงอำนาจ ผิดหลักแห่งเต๋า เมื่อผิดหลักแห่งเต๋า ก็ต้องเลิกคิดก่อสงคราม

บทที่ 31การทหาร
ทหาร อาวุธ เรือรบ ล้วนเป็นเครื่องมือทางการยุทธ์ชั้นเยี่ยม แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือทุ่นแรงในการฆ่าคน ก็คือ เป็นสิ่งอัปมงคล แม้แต่สัตว์และพืชก็รังเกียจ        

ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมจึงไม่ใช้มันส่งเดช เพราะตามปกติ ผู้มีคุณธรรมเน้นความสุภาพอ่อนโยนมีแต่ในยามสงครามเท่านั้นจึงใช้ “กลยุทธ์พิฆาต” จากข้อนี้แสดงให้เห็นว่า “อาวุธ” เป็นสิ่งอัปมงคลอย่างหนึ่ง มิใช่สิ่งบัณฑิตพึงใช้ ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมจึงใช้มันเฉพาะในสถานการณ์ที่จำเป็นเท่านั้น

ทั้งต้องอยู่ในเงื่อนไข “สุขุมรอบคอบ” เป็นอันดับแรก และเมื่อรบชนะแล้วก็ไม่ได้ถือว่ามีเกียรติ เพราะถ้าท่านถือว่าเป็นเรื่องมีเกียรติ ก็แสดงว่าม่านชอบฆ่าคน ผู้ที่ชอบฆ่าตน ยากจะได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชน เมื่อบริหารใต้หล้าก็ยากจะราบรื่น

ฉะนั้นจึงว่า มงคลจัดอยู่ด้านซ้าย อัปมงคลจัดอยู่ด้านขวา ด้วยเหตุนี้นักการทหารจึงให้ “ขุนพลรอง” อยู่ทางด้านซ้าย เพื่อแสดงว่าเขามิใช่แม่ทัพ ฆ่าคนไม่มาก ส่วน “ขุนพลใหญ่” จะอยู่ทางด้านขวา เพื่อแสดงว่าเขาเป็นแม่ทัพเมื่อเขาอยู่ในสถานการณ์ที่เหนือกว่า ภายใต้อำนาจของเขาจึงฆ่าคนได้มาก

ฉะนั้นจึงต้องรับรองด้วยชุดดำอันเป็นสัญลักษณ์อัปมงคล ก็คือ ฆ่าคนมามาก จึงต้องร้องไห้ด้วยความโศกเศร้า เมื่อรบชนะจึงต้องฉลองด้วยการไว้อาลัย

บทที่ 32 รู้จักหยุด
“เต๋า” อันอมตะไร้นาม: ถ้าผู้ปกครองบริหารประเทศโดยธรรม ประชาชนก็จักอยู่โดยร่มเย็นเป็นสุข เมื่อฟ้าดิน ธาตุ ‘หยิน’ และ ‘หยาง’ ผสมผสานดำเนินไปตามปกติ ฝนฟ้าก็จักตกต้องตามฤดูกาล เมื่อนั้นน้ำค้างมงคลก็จักโปรยปรายหลั่งลงมาให้ความชุ่มชื้นแก่สรรพสิ่งตามธรรมชาติเอง

ขณะบ้านเมืองยังไม่เป็นปึกแผ่น จึงต้องสร้างเครื่องมือบางอย่างขึ้นมาบริหารจัดการประเทศ แต่เมื่อบรรลุถึงความสงบเรียบร้อยแล้ว ก็ควรรู้จักหยุด เพราะการรู้จักหยุด คือ การคืนสู่วิถีเต๋า เมื่อนั้นก็จักปราศจากภัยพิบัติ
อุปมาดั่งฟ้าดินโคจรไปตามทางโคจร หรือน้ำในแม่น้ำลำธารไหลลงสู่ทะเล ฉันใดฉันนั้น

บทที่ 33 ชีวิตอันอมตะ
รู้จักแยกแยะความดีหรือชั่ว แสดงถึงความฉลาด รู้จักสำรวจข้อบกพร่องของตัวเอง และยอมรับว่าตัวเองผิด แสดงถึงมีเชาว์ปัญญา สามารถรบชนะคนอื่นได้แสดงว่าท่านมีความสามารถ แต่มิได้แสดงว่าท่านเป็นคนเข้มแข็งตลอดไป เพราะวันนี้ท่านรบชนะคนอื่น ภายหน้าคนอื่นย่อมต้องคิดหากลวิธีต่าง ๆ มารบชนะท่านจนได้

ฉะนั้นการรบชนะคนอื่นจึงมิใช่วิถียั่งยืน มีแต่การชนะตนเอง แก้ไขปรับปรุงตัวเองเท่านั้น ถึงจะเป็นผู้เข้มแข็งที่สุด เพราะคนเรามีกำลังไม่เกินร้อยชั่ง แต่ถ้าสามารถตั้งอยู่ใน ‘เมตตาธรรม’ ถึงจะเป็นชัยชนะอันยั่งยืน

ผู้ที่รู้จักพอ ในจิตใจเขากลับไม่ขาดแคลน เมื่อไม่ขาดแคลนก็คือไม่จน เมื่อไม่จนก็คือรวย ผู้ที่ทำงานโดยการฝืนใจ จำต้องอาศัยขวัญกำลังใจเพราะถ้าขาดขวัญกำลังใจ ก็เหมือนผู้ล้มเหลวที่ละทิ้งกลางคัน        

บุคคลทำการใดพึงตั้งอยู่ในหลักแห่งการสร้างตน (ความดี) ถึงจะเป็นวิถียั่งยืน เมื่อถึงมรณะกาล แม้กายเนื้อแตกดับ แต่จิตวิญญาณ (กายทิพย์) จักสู่สวรรค์ นี้ถึงจะเป็นชีวิตอันอมตะอย่างแท้จริง

บทที่ 34 น้ำใจของฟ้าดิน
พลังงานของฟ้าดินมีอยู่ทั่วทุกแห่งหน สรรพสิ่งอาศัยมันในการเจริญเติบโต ซึ่งมันก็ไม่เคยปฏิเสธ เมื่อมันหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งแล้ว ก็ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ มันหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งด้วยความรัก ดั่งพ่อแม่เอาใจใส่ดูแลบุตร แต่มันก็ยังมิได้คิดว่าเป็นมูลนายของสรรพสิ่งน้ำใจอันประเสริฐเยี่ยงนี้หาใดไหนปานมันช่างมันน้อย ดั่งว่ามันเล็กนิดเดียว

ครั้นสรรพสิ่งเจริญเติบโตแล้ว ต่างก็กลับมาหามันมันก็ยังไม่รู้จักเป็นนาย เยี่ยงเดียวกับปราชญ์ ที่มิได้คิดว่าตนเองยิ่งใหญ่นี้ถึงจะยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง

บทที่ 35 เต๋าอันมหัศจรรย์
“เต๋า” ไร้รูปลักษณ์ ก็เพราะไร้รูปร่าง จึงกอบไปด้วยฟ้าดินและสรรพสิ่ง ผู้ที่มีจิตใจเหมือนดั่งเต๋าได้ ชาวหล้าย่อมเชื่อฟังเขา หากชาวหล้าเชื่อฟังเขา นับว่าดีมิน้อย เพราะเป็นนิมิตหมายว่า โลกหล้าใกล้เกิดสันติสุข แต่เมื่อเกิดสันติสุขแล้ว อย่าได้เอาแต่เสพสุข เพราะการเสพสุขเป็นดั่งอาคันตุกะมิยั่งยืน มีแต่เต๋าเท่านั้นที่ปรากฏอยู่กลางอากาศอันเวิ้งว้างจืดชืด ไร้รสชาติ

ท่านจะมองมันก็ไม่เห็น จะฟังมันก็ไม่ได้ยิน แต่ยามท่านจะใช้มัน กลับใช้อย่างมิรู้หมด นี่มิใช่ความมหัศจรรย์ของเต๋าหรอกหรือ?

บทที่ 36 ถึงที่สุดย่อมย้อนกลับ
สรรพสิ่งในโลกหล้า เมื่อถึงที่สุดย่อมย้อนกลับ “หยาง” ถึงที่สุดย่อม “อิน” อินถึงที่สุดย่อมหยาง เป็นต้น หลังจากจันทร์แรมก็จันทร์เพ็ญ จันทร์เพ็ญแล้วก็จันทร์แรม เฉกเช่น ฉินซึฮ่องเต้สร้างกำแพงหมื่นลี้ วาดหวังจักครองความยิ่งใหญ่ตลอดกาลแต่พฤติกรรมเยี่ยงนี้เป็นการฝืนหลักธรรมชาติ จึงไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน

สิ่งใดฝืนหลักธรรมชาติ โดยใช้การบีบบังคับ ย่อมมิอาจทำได้ หรือคิดใครใช้วิธีผิดกฎหมายไปปลิดชีวิตคน ก็ย่อมมิอาจเป็นไปได้

อย่าดูแคลนคนบางคนที่ภายนอกแลดูอ่อนแอ แท้จริงอ่อนแอถึงจะสามารถเอาชนะแข็งแรง เช่น ปราชญ์มักทำตัวอ่อนแอและต่ำต้อย ซึ่งกลับทำให้เขาประสบความสำเร็จตลอดกาล บุคคลพอ***งเต๋า ก็มักขาดจุดยืน เปรียบดั่งเรือขาดเข็มทิศ ย่อมหลงทิศทาง หลา***งน้ำย่อมตาย

อาวุธยุทโธปกรณ์ของชาติ อย่าได้นำออกมาอวดแสดง ซึ่งอาจเกิดมหันตภัยได้ เพราะฝ่ายตรงข้ามย่อมต้องเพียรพยายามคิดค้นสร้างอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงกว่ามาข่มขู่ เมื่อนั้นสงครามก็ยากจะหลีกเลี่ยง

บทที่ 37 ปกครองโดยธรรมแห่งเต๋า
แม้เต๋าจะเป็นธรรมะซึ่งเป็นนามธรรม แต่เพราะความเป็นนามธรรมของมัน กลับทำให้มันมีทุกอย่าง เช่น ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ฯลฯ ถ้าผู้ปกครองบริหารประเทศโดยธรรมแห่งเต๋า สรรพสิ่งย่อมมาสู่เขา เมื่อนั้น แม้ยังมีคนไม่ดีอยู่บ้าง หากผู้ปกครองสามารถใช้หลักธรรมไปเหนี่ยวรั้งเขาได้ ประชาชนย่อมจะอยู่อย่างสงบสุข

บทที่ 38 คุณธรรมเป็นเอก เมตตาเป็นโท
ผู้มีคุณธรรม เมื่อสร้างคุณความดี โดยไม่หวังเอาหน้า ถึงจะเป็นผู้มีคุณธรรม ส่วนผู้ไร้คุณธรรมนั้นต่างกัน พอได้ทำความดีบ้าง เกรงคนจะไม่รู้จึงเที่ยวโพนทะนา       

ผู้ที่มีคุณธรรมอุทิศตนเพื่อสังคม แม้เขาจะได้สร้างคุณความดีมากหลาย ก็ยังคิดว่าตนมิได้ทำอันใด ส่วนผู้ไร้คุณธรรม พอได้ทำความดีสักหน่อย ก็ไม่เคยลืม จึงมิใช่เกิดจากใจจริง

ผู้มีเมตตาธรรม ถือว่าสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียว ฟ้าดินเป็นหนึ่งเดียว ไร้เขาไร้เรา ส่วนจอมยุทธ์นั้นต่างกัน เพราะเขาไม่มุ่งเน้นคุณธรรมฉะนั้นพฤติกรรมของเขา จึงมักขาดเมตตาธรรม

บางคนคิดว่าตนเองมีมารยาท พอเป็นอีกฝ่ายมิได้คารวะตอบ ก็ชี้หน้าด้วยความไม่พอใจ เมื่อเต๋าและคุณธรรมเริ่มเสื่อม ความวุ่นวายและผองภัยก็เริ่มกล้ำกราย ต่อมาวิชาความรู้เริ่มมีการแข่งขัน ก็เหมือนดั่งดอกไม้ที่สวยงามแต่ภายนอก เนื้อแท้เป็นภาพมายา
มหาบุรุษพึงยึดคุณธรรมเป็นเอก เมตตาเป็นโทจากนั้นจึงศึกษาค้นหาสัจธรรม อย่ามุ่งแต่แสวงหาความโก้หรูอันมายา


บทที่ 39 เอกภาพ
ครั้งโบราณกาลสิ่งที่ได้รับเอกภาพ คือ สวรรค์ได้รับเอกภาพจึงเกิดความสว่าง ดินได้รับเอกภาพจึงเกิดความสงบ วิญญาณทั้งหลายได้รับเอกภาพจึงทรงไว้ซึ่งความเป็นทิพย์ หุบเขาได้รับเอกภาพจึงเกิดความเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ สิ่งที่ทำให้เป็นเช่นนั้นก็คือ เอกภาพนี่เอง

หากสวรรค์ไม่มีความสว่าง ไม่นานก็ต้องล่มสลายลง หากดินไม่มีความสงบ ไม่นานก็จะถล่มทลายลง หากวิญญาณทั้งหลายไม่มีความเป็นทิพย์ ไม่นานก็จะสาบสูญไปหากหุบเขาไม่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่นานก็จะต้องหมดความหมายลงหากสรรพสิ่งไม่เกิด และไม่เจริญเติบโต ไม่นานก็จะต้องสูญพันธุ์ หากกษัตริย์และขุนนางไม่รักษาศักดิ์ศรีและหน้าที่ของตน ไม่นานก็จะถูกโค่นลง

ดังนั้น การอ่อนนอมถ่อมตนจึงเป็นมูลฐานแห่งศักดิ์ศรีที่ต่ำ อันเป็นรากฐานรองรับของที่สูง ด้วยเหตุดังกล่าว กษัตริย์และขุนนางจึงเรียกตนเองว่าเด็กกำพร้า ตัวคนเดียวมิได้เป็นสามีภรรยา และไม่มีอาหาร จะเรียกว่าการถ่อมตนเป็นมูลฐานแห่งศักดิ์ศรี และเกียรติยศอยู่หรือ? เพราะรถศึกเมื่อถูกแยกส่วนประกอบต่างๆ ออกหมดแล้วก็จะไม่พบรถศึกดังกล่าวอีกเลย จึงดีกว่าปล่อยให้ส่งเสียงดังกรุ่งกริ่ง เหมือนหยกขลุกๆ ขลักๆ เหมือนก้อนหิน

บทที่ 40 ความมีเกิดจากความไม่มี
สรรพสิ่งล้วนเกิดดับเปลี่ยนแปรตลอดเวลา วงจรเหล่านี้ ล้วนเกิดจากเต๋า ซึ่งท้ายที่สุดก็ยังคงต้องคืนสู่ความสงบ ดั่งเช่นลม แม้นมันจะพัดรุนแรงปานใด แต่ไม่ช้าก็ต้องคืนสู่ความสงบอยู่ดี หรือเช่นฝน แม้นมันจะตกหนักแต่ไม่ช้าก็ต้องหยุดตกอยู่ดี สรรพสิ่งในโลกหล้าล้วนเกิดจาก “ความมี” (ไทเก๊ก) แต่ “ความมี” นี้ ก็ยังต้องเกิดจาก “ความไม่มี” (บ้อเก๊ก)


บทที่ 41คุณค่าของเต๋า
คนปัญญาระดับสูง พอได้ฟัง “เต๋า” ก็พากเพียรปฏิบัติ คนปัญญาระดับกลาง แม้นมีวาสนาได้ฟัง “เต๋า” แต่มักพากเพียรในเต๋าไม่ตลอด คนปัญญาระดับต่ำ เนื่องจากความรู้น้อย จึงไม่แจ้งความสำเร็จของเต๋า ประกอบกับจิตหลงมัวเมา ดีแต่แสวงความสุขทางโลก พอได้ฟัง “เต๋า” ก็หัวร่อเยาะ ฮ่า! ฮ่า! ถ้าคนโง่พวกนี้ไม่หัวร่อเยาะสิ ก็ไม่รู้ว่าคุณค่าของเต๋าอยู่ที่ใด

ผู้รู้ในกาลก่อนได้กล่าวคำปรัชญาไว้ว่า
1. ผู้รู้แจ้งในเต๋า มักทำตัวดั่งคนโง่ 2. ผู้บำเพ็ญธรรม (เต๋า) มักไม่สนใจทางโลกีย์ 3. ผู้มีคุณธรรม มักไม่พูดหรือทำเรื่องไร้สาระ 4. ผู้มีคุณธรรมสูง น้ำใจกว้างขวางดั่งหุบเขาที่รองรับสรรพสิ่ง 5. ผู้ที่จิตใจใสสะอาด เหมือนดั่งดอกบัวโผล่พ้นโคลนตม 6. ผู้สร้างคุณธรรมความดีใหญ่หลวง มักไม่โอ้อวด

น้ำใจของปราชญ์ซื่อตรงและกว้างขวางดุจจักรวาลอันไร้ขอบเขต ในโลกนี้จะสร้างสิ่งใดสำเร็จสักอย่าง จำต้องผ่านกาลเวลาเนิ่นนานจึงจะสำเร็จ จะเป็นคนยิ่งใหญ่ก็เช่นกันจำต้องผ่านการทดสอบของกาลเวลาและนิสัยใจคอ จึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้

รถยนต์เวลาวิ่งหรือเครื่องบินขณะบินอยู่มีเสียงดังจักรวาลก็มีเสียงดังเช่นเดียวกัน คนอาศัยอยู่ในจักรวาล ก็เหมือนคนนั่งอยู่ภายในเครื่องบิน แต่ไม่ได้ยินเสียงของเครื่องบิน

สิ่งที่มีรูปร่างความใหญ่ย่อมมีจำกัด มีแต่สิ่งที่ไร้รูปร่างความใหญ่จึงจะไม่จำกัด เช่น ความกว้างใหญ่ไพศาลแห่งอนันตจักรวาล (บ้อเก๊ก)

บทที่ 42 พัฒนาการของเต๋า
ความจริง “เต๋า” ไร้ชื่อ ได้แต่เรียกว่า “1” จาก 1 แบ่งเป็น 2 นั่น “อิน” (ธาตุลบ) และ “หยาง” (ธาตุบวก) เมื่อมีสองขั้ว ย่อมมีตรงกลาง จึงเริ่มมี “3” ครั้นมี 3 จึงอุบัติสรรพสิ่ง

“อิน” อยู่ด้านในทั้งมือและอ่อนแอ จัดเป็นพวกไร้รูปส่วน“หยาง” โอบอยู่ด้านนอก จัดเป็นพวกมีรูปร่าง “ชงชี่” คือตรงกลางที่เป็นช่องว่างระหว่างอินและหยาง

ทุกคนต่างรังเกียจคำว่า ผู้น้อย ต่ำต้อย อนาถา แต่พระราชาผู้สูงส่งกลับชอบใช้เป็นสรรพนาม ซึ่งกลับส่งผลดีทำให้ประชาชนรู้สึกใกล้ชิดมากขึ้น นี้เป็นคำสอนของปราชญ์เมธีสมัยก่อน ข้าพเจ้าเลยนำมาเสนอแนะอีกที ข้าพเจ้าเอาหลักการเหล่านี้ เป็นเสมือนหนึ่งคำสอนของบิดาที่ไม่เคย

บทที่ 43 อ่อนชนะแข็ง
สิ่งที่อ่อนนิ่มที่สุดในโลกคือ “น้ำ” แม้น้ำจะอ่อนนิ่มแต่สามารถทะลุทะลวงแผ่นดินและภูผา หรือจะใช้อากาศที่ไร้รูปมาอุปมาอุปไมย อากาศสามารถบรรทุกดวงดาวต่าง ๆ

ฉะนั้นพลังของสิ่งที่อ่อนและไร้รูปร่างเหล่านี้ จึงมักชนะสิ่งที่แข็งแกร่งและมีรูปร่าง เช่น ปราชญ์เป็นคนอ่อนโยน เขามักใช้ตัวเองทำเป็นตัวอย่าง ซึ่งดีกว่าใช้คำพูดสอนหรือการศึกษาใด ๆ หรือเช่น มารดาแห่งโลกเป็นคนอ่อนแอ แต่ผู้ใดเล่าที่ไม่ใช่เกิดจากครรภ์มารดา พลังของสิ่งที่อ่อนและไร้รูปดูผิวเผินเหมือนดั่งไร้ประโยชน์

เนื้อแท้เป็นสิ่งยิ่งใหญ่เหลือแสนเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงแจ้งคุณประโยชน์ของความว่างเปล่าการสอนที่ไม่ต้องใช้คำพูดเหล่านี้ แท้จริงมีคุณประโยชน์มากหลาย อาทิ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล พัฒนาการของสรรพสิ่ง ล้วนยากจะหาสิ่งใดมาเปรียบได้

บทที่ 44 การรู้จักพอ
ชื่อเสียงทางโลกและชีวิตแห่งกายแท้ในกาย (จิตวิญญาณ) อย่างไหนสำคัญกว่ากัน?
ชีวิตแห่งกายแท้ในกาย และวัตถุนอกกาย อย่างไหนสำคัญกว่ากันการได้ชื่อเสียงทางโลก และการสูญเสียชีวิตแห่งกายแท้อันอมตะ อย่างไหนสำคัญกว่ากัน?

ผู้ที่ดิ้นรนแสวงหาวัตถุธาตุ และลาภยศสรรเสริญเกินไป จำต้องรำกายและใจ ผลสุดท้ายได้ไม่คุ้มเสีย และการมีทรัพย์สมบัติมาก กลับทำให้คนอิจฉา อันเป็นสื่อนำแห่งเภทภัยมาสู่ตน ผู้มักน้อยรู้จักพอ กายใจอยู่เหนือทุกข์กังวล ***งไกลความวุ่นวายและภัยอันตรายต่าง ๆ คนเยี่ยงนี้ถึงจะสามารถอยู่คู่ฟ้าดิน

บทที่ 45 นิ่งสงบ
ผู้ประสบความสำเร็จใหญ่หลวง มักเป็นคนสุภาพอ่อนโยน ผู้ที่วางตัวเยี่ยงนี้ ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของปวงชน ในสายตาของปราชญ์ ผู้สร้างคุณความดี แม้นเขาจะเหมือนว่างเปล่า แต่ในจิตใจกลับไม่มีสิ่งใดขาดแคลน เฉกเช่นคนซื่อคนตรง แต่กลับมีทุกสิ่งอย่าง แล้วคนมากสติปัญญาเล่า? ก็เหมือนดั่งจิตใจปราชญ์ที่มักน้อยและไม่ทำในสิ่งไร้สาระ แต่ในสายตาของคนทั่วไป กลับคิดว่าพวกเขาช่างโง่บรม

ผู้ที่รู้ลึกซึ่งในเรื่องของจักรวาล ควรที่จะอธิบายได้ดีที่สุด แต่เขากลับรู้อยู่แต่ในใจยากจะอธิบาย หรือบางครั้งทฤษฎีที่เขาพูด คนอื่นอาจฟังไม่รู้เรื่อง ดังนั้นนักพูดจึงอาจเหมือนคนพูดน้อยก็ได้ยามคนกำลังโกรธ แม้นอุณหภูมิในกายจะขึ้นสูง แต่ย่อมเป็นอยู่ไม่นาน ก็เหมือนดั่งฝนตกหนัก เมื่อฝนผ่านไปก็ยังคงต้องสงบอยู่ดี

บทที่ 46 ใต้ฟ้ามีเต๋า ไร้เต๋า
เมื่อใต้ฟ้ามีเต๋า (ธรรม) บ้านเมืองก็มีความสุข ทุกคนต่างรู้จักพอ เมื่อนั้นสามารถที่จะใช้ม้าศึกมาทำงานในไร่นายามใดใต้ฟ้าไร้เต๋า ทุกคนละโมบโลภมาก เมื่อนั้นยากที่จะหลีกเลี่ยงสงครามและความวุ่นวาย เหตุนี้จึงทำให้ม้าและทหารต้องล้มตายก่อนนอกเมือง บาปใดไม่ใหญ่เท่าความโลภ ภัยใดไม่ใหญ่เท่าความไม่รู้จักพอผู้ที่รู้จักพอ เนื่องจากไม่แสวงหาวัตถุนอกกาย กลับได้รับจิตเดิมแท้อันล้ำค่าที่อยู่ในกายตนเอง ดั่งนี้ยังจะมีอะไรให้โลภอีกเล่า ?

บทที่ 47 หลักทฤษฎี
ในโลกนี้ย่อมมีหลักทฤษฎี ปราชญ์ คือ ผู้รู้หลักทฤษฎีนี้ ฉะนั้นแม้โลกนี้จะกว้างใหญ่ แต่ยังคงอยู่ในกรอบแห่งหลักทฤษฎี ถึงแม้ปราชญ์จะมีได้ออกนอกบ้าน ก็สามารถหยั่งรู้เรื่องราวทุกสิ่งอย่างในโลกได้

พิภพจักวาลนี้ เป็นเพียงการเคลื่อนหรือหยุดของธาตุอินและหยาง ซึ่งดำเนินไปตามหลักแห่งบ้อเก๊กและไทเก๊ก ปราชญ์บำเพ็ญทางจิต ก็คือการบำเพ็ญเต๋า ส่วนคนธรรมดานั้นต่างกัน เพราะทุกอย่างเขาจะต้องดูด้วยตาของตนถึงจะรู้ หารู้ไม่ว่าสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ มิอาจมองเห็นได้ทั้งหมด

คนธรรมดานั้น แม้จะใช้ความพยายามชั่วชีวิตเดินทางทั่วหล้า หลงใหลมัวเมาสิ่งนอกกายที่เห็น กลับจะยิ่งทำให้จิตวิญญาณของตนเสื่อมสูญ ยิ่งเดินทางไกลเท่าไร สิ่งที่รู้ยิ่งน้อยลงเท่านั้น เพราะจะยิ่ง***งไกลจิตเดิมแท้ สาเหตุเป็นเพราะถูกครอบงำจากวัตถุธาตุ

ปราชญ์ไม่จำเป็นต้องเดินทางจนสุดหล้าฟ้าเขียวโดยมักน้อยอยู่อย่างสมถะ สามารถหยั่งรู้เรื่องราวทุกสิ่งอย่าง ไยต้องไปไกล เพื่อค้นหาวัตถุนอกกายเล่า? เพราะเบื้องหน้าก็คือ โลกแห่งธรรมแล้ว ผู้ที่มีจิตผ่องใสย่อมจะรู้แจ้งได้เองฉะนั้น ปราชญ์จึงไม่จำเป็นต้องดูโลกภายนอก ก็สามารถที่จะบอกเล่าถึงหลักธรรม ก็ย่อมจะสำเร็จภารกิจของปราชญ์แล้ว

บทที่ 48 ข้อดีของจิตสว่าง
การแสวงหาวิชาความรู้ ย่อมมีประโยชน์ แต่ประโยชน์อันนี้เป็นเพียงชั่วระยะสั้นเท่านั้น ส่วนการฝึกเต๋า (ธรรม) นั้นต่างกัน เพราะการฝึกเต๋าจะต้องละสิ่งต่างๆ จึงได้ว่า “เพื่อเต๋านับวันสูญเสีย” เมื่อละสิ่งต่างๆ และลาภยศสรรเสริญทั้งหมดได้แล้วก็คือบรรลุถึงภาวะจิตว่าง

ภาวะจิตว่างนี้แฝงเร้นไว้ด้วยความมหัศจรรย์ล้ำลึกนั้นคือ ความสงบท่ามกลางความเคลื่อนไหว หรือความเคลื่อนไหวท่ามกลางความสงบถ้าคิดใคร่จะได้ใต้ฟ้า โดยใช้เป็นกำลังไปแย่งชิงด้วยความโลภ ย่อมมิอาจเป็นไปได้

ผู้ที่รู้แจ้งในเต๋า เขาย่อมจะได้ใต้ฟ้าด้วยคุณธรรมเฉกเช่นจักรพรรดิเหยา จักรพรรดิซุ่น และจักรพรรดิหยี ซึ่งไม่เพียงใต้ฟ้า ยังได้ใจของประชาชนด้วย

บทที่ 49 น้ำใจของปราชญ์
จิตใจของปราชญ์ ก็เหมือนคนธรรมดา เขาสอนทุกคนอย่างเสมอภาค เมื่อปราชญ์ปะคนดี ก็ใช้เมตตาธรรมใกล้ชิด เมื่อปะคนไม่ดี ก็ใช้เมตตาธรรมไปเตือนสติเขา ด้านการคบหาสมาคม ปราชญ์จะใช้ความจริงใจไม่ว่าจะเป็นคนมีสัจจะหรือไร้สัจจะ นี้คือคุณธรรมของปราชญ์ ปราชญ์มีมหาเมตตาปานฉะนี้ ประชาชนจึงยืดเขาเป็นที่พึ่ง อยากเห็นหน้าเขา อยากฟังเขาพูด ปราชญ์พอเห็นประชาชน ดั่งได้เห็นบุตร แล้วก็ชี้แนะอบรมบ่มสอน นี้คือความน่าสรรเสริญของปราชญ์

บทที่ 50 เกิดแล้วไม่พ้นตาย
คนเกิดมาแล้ววันหนึ่งก็ต้องตาย “คน” ขณะมีชีวิตอยู่ แบ่งเป็นสามประเภท คือ

1. เด็กในช่วงเจริญวัย มี 30 เปอร์เซ็นต์ 2. วัยกลางคน มี 30 เปอร์เซ็นต์ 3. วัยชรา มี 30 เปอร์เซ็นต์

เพราะเหตุใดเล่า? เพราะว่าคนวัยนี้ผ่านโลกมามากแล้ว และเพราะการดิ้นรนหาเลี้ยงชีพจนเหนื่อยล้า ชีวิตร่วงโรย ดั่งไม้ใกล้ฝั่ง ได้ฟังว่า มีคนรักษาสุขภาพเก่ง คนประเภทนี้มีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ คนประเภทนี้ ดูเหมือนสัตว์ร้ายจะไม่ทำอันตรายคนประเภทนี้ หากไปที่สนามราบ ก็เข้านอกออกในสะดวก เพราะคนที่มีคุณธรรม พวกทหารย่อมเกรงใจ แม้แต่แรดก็ไม่โจมตีเขา เสือเมื่อเห็นเขา ดูเหมือนเขี้ยวเล็บจะขาดประสิทธิภาพ แม้แต่อาวุธทหารก็ไม่อาจทำอันตรายเขา

เพราะเหตุใดเล่า? เพราะว่าปราชญ์ได้ฝากชีวิตไว้กับฟ้าดิน ฉะนั้น เขาจึงปลงตกในกายเนื้ออันจอมปลอมเมื่อไร้สัตว์ บุคคล จะมีความตายได้อย่างไร?

บทที่ 51 การปรากฏของเต๋า

“เต๋า” ดุจดั่งมารดาแห่งสรรพสิ่ง สรรพสิ่งล้วนเกิดจากเต๋า แต่เมื่อสรรพสิ่งอุบัติขึ้นแล้ว ก็ยังต้องหล่อเลี้ยงด้วยคุณธรรม ในเมื่อสรรพสิ่งเกิดจากเต๋า และบำรุงหล่อเลี้ยงด้วยคุณธรรม แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของเต๋าและคุณธรรม

ดังนั้น สรรพสิ่งจึงเทิดทูนบูชาเต๋าและคุณธรรม เต๋าและคุณธรรมมีคุณูปการใหญ่หลวง แม้เต๋าจะเหมือนมูลนายของสรรพสิ่ง แต่เต๋าก็มิได้ควบคุมสรรพสิ่ง ฉะนั้น “เต๋า” จึงเปี่ยมด้วยคุณธรรมอันสูง

บทที่ 52 ต้นกำเนิดของเต๋า
ฟ้าดินและสรรพสิ่งล้วนแต่มีต้นกำเนิด ต้นกำเนิดอันนี้ก็คือ “เต๋า” “เต๋า” สร้างฟ้าดินและสรรพสิ่ง ดังนั้น “เต๋า” เสมือนหนึ่งเป็นมารดาของฟ้าดิน และสรรพสิ่ง เมื่อท่านรู้จักเต๋าแล้ว ก็ต้องตั้งอยู่ในเต๋า (ธรรม) ที่สร้างฟ้าดินและสรรพสิ่ง ยามละสังขารจึงจะไม่รู้สึกหวาดกลัวภัยอันตราย เพราะว่าท่านได้กลับสู่อ้อมอกของ “เต๋า” แล้ว

ฉะนั้น ถ้าไม่อยากให้พลัง สติ ลมปราณเสื่อม ก็ต้องอุดทวารแห่งกิเลสตัณหา (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ถ้าผู้บำเพ็ญธรรมสามารถอุดทวารแห่งกิเลสตัณหาได้ก็ย่อมจักบรรลุธรรมได้โดยไม่ยากลำบากนัก แต่ถ้าไม่รู้จักอุดทวารแห่งกิเลสตัณหา รู้จักแต่ใช้ความสามารถตนไปต่อสู้ดิ้นรนทางโลก แบบนั้นก็สุดเยียวยา ผู้ที่สุภาพอ่อนโยน จึงจะเป็นผู้เข้มแข็งที่แท้จริง ผู้ที่สามารถสังเกตเห็นในสิ่งละเอียดได้ ถึงจะเป็นผู้เข้าใจเต๋า การเข้าใจ “เต๋า” ยังไม่เพียงพอ ยังต้องย้อนมองส่องตนถึงจะสามารถคืนสู่จิตแห่งความรู้แจ้งอันแท้จริง

บทที่ 53 การบำเพ็ญเต๋า
ถ้าข้าพเจ้ามีภูมิปัญญาที่จะบำเพ็ญเต๋า(ธรรม) อยู่บ้างก็ยังต้องระแวดระวัง หาไม่แล้ว เกรงว่าอาจเดินเข้าสู่เส้นทางมารก็ได้ เพราะเหตุใดเล่า?

เนื่องเพราะข้าพเจ้าเห็นว่า ความจริงเส้นทางธรรมก็ราบเรียบและกว้างใหญ่ดีอยู่ แต่มีคนละโมบบางคนกลับชอบเดินเส้นทางเล็ก ผลสุดท้ายมิเพียงไร้ประโยชน์ กลับเป็นผลร้านแก่ตนเอง เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งเตือนใจอย่างดี ถ้าเปรียบดังขุนนางในราชสำนัก เหมือนหนึ่งเสาหลักใกล้จะล้มแล้ว ไร่นาของประชาชนก็รกร้างแล้ว ข้าวในยุ้งฉางใกล้หมดแล้ว แต่ยังมีขุนนางกังฉินบางคนแต่งชุดเต็มยศโอ่อ่าสะพายกระบี่มาแสดงยศถาบรรดาศักดิ์

ไม่เพียงเท่านี้ ยังคิดใครเสพสุขจากสุราอาหารเลิศรส สนใจแต่ทรัพย์สมบัติอันเหลือล้นของตน โดยไม่ใยดีประชาชน คนเยี่ยงนี้มิใช่พฤติกรรมของคนถ่อยหรอกหรือ?

บทที่ 54 ผลแห่งคุณธรรม
ในโลกนี้ถ้าสร้างสิ่งที่มีรูปร่าง ย่อมง่ายต่อการถูกรื้อถอน ถ้าซื้อสิ่งที่มีรูปร่าง ย่อมง่ายต่อการถูกขโมย มีแต่การสร้างคุณธรรมความดี (กุศล) เท่านั้น จึงจะไม่ถูกรื้อถอนหรือถูกขโมยไปโดยง่าย เพราะเหตุใดเล่า? เนื่องเพราะคุณความดีสร้างจากจิตที่ไร้รูปลักษณ์จึงไม่มีพลังใด ๆ มาขโมยไปได้ยามมีชีวิตอยู่        

ผู้ที่ได้บำเพ็ญคุณความดี หลังจากสิ้นอายุแล้ว ก็ยังมีศาลให้ลูกหลานกราบไหว้บูชาชั่วกาลนาน ถ้าคนในครอบครัวได้บำเพ็ญจนบรรลุธรรมสักคนหนึ่ง จักแผ่ผลปกคลุมไปถึงคนทั้งครอบครัว พลอยได้รับการฉุดช่วยไปด้วย ถ้าผู้มีคุณธรรมแพร่คุณธรรมไปยังหมู่บ้าน หมู่บ้านก็จะได้รับวัฒนธรรมที่ดี ถ้าแพร่คุณธรรมไปทั่วประเทศ ประเทศก็จะเจริญรุ่งเรือง ถ้าแพร่คุณธรรมไปทั่วโลก โลกก็จะเกิดสันติสุขเมื่อข้าพเจ้ารู้หลักการเหล่านี้ จึงใช้ประสบการณ์ไปสังเกตดูพฤติกรรมของคนอื่นโดย ใช้วัฒนธรรมของครอบครัวตน ไปสังเกตดูวัฒนธรรมของครอบครัวอื่น ใช้วัฒนธรรมของหมู่บ้านตน ไปสังเกตดูวัฒนธรรมของหมู่บ้านอื่น ใช้วัฒนธรรมของหมู่บ้านตน ไปสังเกตดูวัฒนธรรมของครอบครัวอื่น ใช้วัฒนธรรมของบ้านเมืองตน ไปสังเกตดูวัฒนธรรมของบ้านเมืองอื่น ใช้วัฒนธรรมของโลกปัจจุบัน ไปสังเกตดูวัฒนธรรมของโลกในอนาคต

ไฉนข้าพเจ้าจึงรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในโลกเล่า? ก็โดยการพิเคราะห์จากหลักการดังกล่าวนั่นเอง

บทที่ 55 ผู้มีคุณธรรมสูง
ผู้ที่มีคุณธรรมสูง เปรียบดั่งทารกบริสุทธิ์ผุดผ่อง แมลงมีพิษไม่กัดต่อย สัตว์ป่าไม่ทำร้าย นกร้ายไม่จิก อย่าดูแคลนเด็กทารก แม้กระดูกจะอ่อน แต่เมื่อเขากำหมัดขึ้นมา ก็แข็งแกร่งมิเบา แม้นเขาจะไม่รู้จักความใคร่หรือเพศสัมพันธ์ แต่เครื่องเพศของเขาก็ยังสมบูรณ์ดีเสมอ เขาร้องทั้งวันแต่เสียงไม่แหบ

คนสมัยนี้มักไม่รักถนอมพลังแห่งลมปราณ ดีแต่มุทะลุวู่วาม โดยสำคัญว่าตนเองเก่งกาจ เนื้อแท้หาใช่ไม่ เพราะการร้อนวู่วาม เป็นการฝืนธรรมชาติ และไม่ถูกหลักแห่งเต๋า ซึ่งเป็นการเร่งวันดับสูญของตน

บทที่ 56 ผู้รู้แจ้งเต๋า
ผู้รู้แจ้ง “เต๋า” ใจกับเต๋าหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวแต่ยากจะแสดงเป็นคำพูด ลางคนอยากเด่น ชอบคุยโอ้อวดในชุมนุมชน เนื้อแท้คนเช่นนี้กลับไม่รู้เรื่องของเต๋าเลย ผู้มีธรรมะก่อนอื่นจะต้องหยุดปาก และปล่อยวางทุกอย่าง ทั้งนี้จึงจะเป็นวิธีหลุดพ้นจากปัญหาและความยุ่งเหยิงทั้งปวง

ผู้มีคุณธรรมไม่เย่อหยิ่งถือตัว ใช้ชีวิตอย่างสมถะ ฉะนั้น จึงเข้ากับประชาชนได้ คนเยี่ยงนี้ ถ้าท่านจะให้ผลประโยชน์แก่เขา ย่อมเป็นไปมิได้ เพราะเขาไม่มีความโลภ ถ้าท่านคิดใครทำร้ายเขา ก็เป็นไปมิได้ เพราะเขามีจิตที่หลุดพ้น สามารถอยู่เหนือความเกิดความตายอันมายา ถ้าท่านจะยกย่องเขา ก็เป็นไปมิได้ เพราะเขาไม่สนใจตำแหน่ง ยศฐาบรรดาศักดิ์ ถ้าท่านจะดูหมิ่นเขา ก็เป็นไปมิได้ เพราะจิตของเขาดุจแก้วมุนี รูปลักษณ์นอกกายมิอาจรบกวนจิตอันอิสระของเขาได้นี้ถึงจะเป็นผู้ที่น่าสรรเสริญยิ่ง

บทที่ 57 การปกครอง
ปกครองอาณาจักรด้วยธรรม ทำศึกด้วยเพทุบาย มีชัยต่อโลกโดยการไม่กระทำ เหตุใดข้าพเจ้าจึงทราบดังนี้ จากสิ่งเหล่านี้คือ ข้อห้ามยิ่งมาก ประชาราษฎร์ยิ่งยากจน อาวุธยิ่งแหลมคม ประเทศยิ่งวุ่นวายสับสน วิทยาการยิ่งมีมาก สิ่งประดิษฐ์ยิ่งแปลกประหลาด กฎหมายยิ่งมีมาก โจรผู้ร้ายยิ่ง ชุกชุมดังนั้นปราชญ์จึงกล่าวไว้ว่า " ข้าพเจ้ามิได้กระทำ ราษฎรก็ปรับปรุงตนเอง ข้าพเจ้าตั้งตนในความสงบ ราษฎร ก็ประพฤติตนถูกต้อง ข้าพเจ้าไม่เข้ายุ่งเกี่ยว ราษฎรก็ร่ำรวย ข้าพเจ้าไร้ความทะยานอยาก ราษฎรก็มีความสามัญและซื่อสัตย์ "

บทที่ 58 หลักการบริหารประเทศ
การบริหารประเทศจักต้องซื่อสัตย์สุจริต เสียสละเที่ยงธรรม ไม่เจ้าเล่ห์เพทุบาย มีแต่ในสถานการณ์จำเป็น ที่ต้องใช้การทหารเท่านั้นถึงจะใช้กลอุบาย เพราะการบริหารราชการแผ่นดิน จะต้องทำให้ประชาชนอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข จึงจักได้ใจประชาชน

การบริหารประเทศ ถ้ารัฐออกกฎหมายและข้อห้ามมากเกินควร จักส่งผลให้ประชาชนทำงานไม่สะดวก ซึ่งจักก่อให้ผลผลิตลดน้อยลง พลเมืองก็จะยากจน ถ้าประชาชนมีอาวุธในครอบครองมากเกิน คดีอาชญากรรมก็จักเพิ่มมากขึ้น การปกครองก็ยิ่งมากขึ้น ถ้าประชาชนมีเล่ห์เหลี่ยม คดีลึกลับซับซ้อนก็จักเพิ่มทวี เมื่อออกกฎหมายมาก แสดงว่าคุณธรรมเสื่อมลงเมื่อนั้นโจรผู้ร้ายก็จะชุกชุม

ปราชญ์โบราณกล่าวไว้ว่า เพียงแต่ฉันตอบสนองประชาชนด้วยคุณธรรม ประชาชนก็จักปรับปรุงตนเองเป็นพลเมืองดี เพียงแต่ฉันสมถะ มักน้อย ประชาชนย่อมจักซื่อตรง เพียงแต่ฉันไม่ออกกฎข้อห้ามมากเกิน จนไปกระทบวิธีชีวิตของประชาชน ประชาชนก็จักมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เพียงแต่ฉันไม่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ ประชาชนก็จักเป็นพลเมืองที่ดี

บทที่ 59 วิธีปกครองคน ปกครองประเทศ
การปกครองประชาชนและการทำงานให้ฟ้าเบื้องบนวิธีที่ดีที่สุดก็คือต้องมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็จะเกิดปัญญาเมื่อเกิดปัญญาก็เหมือนดั่งกลับคืนสู่จิตเดิมแท้ของตน เรื่องเหล่านี้ ก็เหมือนที่คนเราหลังจากตื่นนอน จะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นอันดับแรก

การตื่นนอนเปลี่ยนเสื่อผ้าเป็นกิจวัตรที่เราต่างปฏิบัติเป็นนิสัยมาชั่วชีวิต การสร้างกุศลของเรา ถ้าได้สั่งสมเหมือนเช่นการตื่นนอนเปลี่ยนเสื้อผ้า ก็จะเป็นกุศลมหาศาล ผู้มีคุณธรรมจะปกครองประชาชน หรือทำงานให้ฟ้าเบื้องบน ย่อมทำได้ไร้ปัญหา ผู้ที่มีปัญญาความสามารถสูง ย่อมสามารถที่จะรับภาระหน้าที่ในการบริหารประเทศได้มีคนเยี่ยงนี้มาบริหารประเทศ เสมือนหนึ่งเป็นแม่นมของประเทศ ที่สามารนำพาใต้หล้าด้วยเต๋า (ธรรม) ได้การบริหารใต้หล้าก็ย่อมที่จะมั่นคงถาวร

ก็เหมือนดั่งต้นไม้ที่หยั่งรากลึกอย่างมั่นคง ย่อมสามารถผลิตออกดอกผล ถ้านำหลักการเหล่านี้ ไปปฏิบัติในทางบำเพ็ญขัดเกลาตน กายทิพย์ (จิตวิญญาณ) ของคนผู้นั้น ย่อมสามารถที่จะยั่งยืนเป็นอมตะ ให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา เพราะการบริหารประเทศและการขัดเกลาตนใช้หลักการเดียวกัน

บทที่ 60 โลกแห่งสันติสุข
การบริหารประเทศใหญ่ ๆ เปรียบดังการทอดปลาตัวเล็ก ที่ไม่ควรไปพลิกบ่อย ๆ หาไม่แล้วอาจทำให้ตัวปลาแหลกเหลวได้ การบริหารประเทศก็เช่นกัน อย่าได้เปลี่ยนแปลงนโยบายบ่อยนัก หาไม่แล้วประชาชนอาจสับสนปรับตัวไม่ทัน ทั้งนี้เนื่องเพราะรัฐบาลขาดความเชื่อมั่นให้ประชาชนผู้ปฏิบัติตามกฎหมายพลอยขาดความเชื่อมั่นไปด้วยถ้ารัฐบาลสามารถนำธรรมแห่งเต๋า ยึดถือความซื่อสัตย์โปร่งใสเที่ยงธรรมบริหารประเทศ ก็ย่อมจักบรรลุเป้าหมายแห่งความสงบสุข

แม้นพวกภูตผีจะคอยก่อกวน ก็มิเกิดผลอันใดเทพยดาก็มิอาจลงโทษคน เพราะประชาชนล้วนเป็นคนดีปกติเทพยดาชอบคนดี แล้วเทพยดาจะไปลงโทษคนทำไม? มิเพียงเทพยดาไม่ลงโทษคน เมื่อปราชญ์เห็นประชาชนสามัคคีกลมเกลียว เขาก็ไม่ต้องถอนใจว่า “คนเราเปลี่ยนไป” และไม่ต้องไปกำราบพวกคนชั่วในคราบผู้ดี ถ้าถึงขั้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และปราชญ์ไม่ต้องลงโทษคนก็แสดงว่าคุณธรรมจริยธรรมได้ฟื้นคืนสู่สังคม เมื่อนั้นได้หล้าก็จักคืนสู่สันติสุข

บทที่ 61 ประเทศเล็กอ่อนน้อมประเทศใหญ่ถ่อมตน
ประเทศใหญ่ควรจะเอาอย่างทะเลที่อยู่ในที่ต่ำ ซึ่งแม้จะอยู่ปลายน้ำ แต่ก็มีแต่อยู่ปลายน้ำเท่านั้น ถึงจะสามารถเป็นแหล่งรวมแห่งสายน้ำทั้งหลาย ก็เหมือนสัตว์เพศเมียในโลก ซึ่งมักจะอ่อนโยนและสงบเสงี่ยม แต่กลับสามารถชนะสัตว์เพศผู้ที่แข็งแรงและเลือดร้อน นี่คือเหตุผลที่ต้องอ่อนโยนและสงบเสงี่ยม

ถ้าประเทศใหญ่สามารถวางตัวถ่อมตน มีมารยาทและน่าเชื่อถือ ก็จะได้รับความเชื่อถือจากประเทศเล็กถ้าประเทศเล็กสามารถปฏิบัติด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน มีมารยาทและน่าเชื่อถือต่อประเทศใหญ่ ก็จะได้รับความเชื่อถือและเกรงใจจากประเทศใหญ่

ไม่ว่าประเทศใหญ่ถ่อมตน เพื่อแสวงหาความยอมรับนับถือจากประเทศเล็ก หรือประเทศเล็กอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อแสวงหาความเชื่อถือจากประเทศใหญ่ เป้าหมายสุดท้ายของประเทศใหญ่ ก็เพียงเพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนเท่านั้น

เมื่อประชาชนได้อยู่อย่างสงบสุข ก็ถือว่าภาระหน้าที่ในการปกครองประเทศใหญ่บรรลุผลแล้ว ส่วนเป้าหมายสุดท้าย ในการบริหารบ้านเมืองของประเทศเล็ก ก็เพียงยินดีรับใช้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้อยู่อย่างสงบสุขเท่านั้น สิ่งที่ประเทศเล็กต้องการจากประเทศใหญ่ ก็หวังเพียงให้ประเทศใหญ่ปฏิบัติต่อประเทศเล็กอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

ฉะนั้น ไม่ว่าประเทศใหญ่หรือประเทศเล็ก หากต้องการจะบรรลุเป้าหมายนี้ ก่อนอื่นจะต้องถ่อมตนต่อกัน ประการสำคัญ ประเทศใหญ่ควรจะอ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อเป็นตัวอย่างก่อนหากทำดังนี้ได้ โลกนี้ย่อมมีแต่สันติสุข

บทที่ 62 เต๋าอันประเสริฐ
ในสรรพสิ่งทั้งหลาย “เต๋า” (ธรรม) มหัศจรรยืที่สุดคนดีเห็นเต๋าเป็นของวิเศษในการดำเนินชีวิต แม้แต่คนไม่ดีก็ยังรู้จักอาศัยเต๋ามาคุ้มครองตนเอง เช่น มีคำกล่าวว่า “โจรก็มีธรรม (เต๋า)” บางครั้งเมื่อท่านกล่าวคำถูกหลักแห่งเต๋า ก็ยังได้รับการยอกย่องจากผู้คน ขอเพียงให้ท่านอยู่ในธรรม ก็ย่อมสามารถอยู่เหนือผู้อื่นบางครั้งคนเราอาจหลงผิดไปก่อกรรมชั่ว ขอเพียงให้ท่านกลับตัวกลับใจใหม่ ใครเล่าไม่ให้อภัยท่าน เกรงแต่ว่าท่านไม่สำนึกผิดจริง ถ้าท่านไม่อยู่ในธรรม ต่อให้ได้ทุกสิ่งอย่างในโลก เช่น มียศศักดิ์สูงสุด ข้าราชบริพารห้อมล้อม มีทรัพย์สมบัติมหาศาล นั่งรถม้าโอ่อ่า มั่งมีศรีสุขปานนี้ ก็ยังมิสู้การรู้แจ้งในธรรม (เต๋า) ปราชญ์สมัยโบราณได้เทิดทูนเต๋าถึงปานนี้ เพราะเหตุใดเล่า? เนื่องเพราะ “ทุกวันแสวงธรรม ทุกวันประพฤติธรรม” เมื่อใดไม่ปฏิบัติดังนี้ ก็เท่ากับสร้างบาปกรรม เมื่อสร้างบาปกรรม ไหนเลยจะหนีพ้นกรรมสนองฉะนั้นได้ว่า ‘เต๋า’ ประเสริฐที่สุดในโลก 

บทที่ 63 การทำงานของปราชญ์
ปราชญ์ทุ่มเทกายใจเพื่อสังคม มิใช่เพื่อลาภผลชื่อเสียงหรือเพื่อประโยชน์ของตน การลิ้มรสของปราชญ์ มิใช่ลิ้มรสเพื่อกิเลสตัณหาแต่ลิ้มรสธรรมชาติแห่งสมถะเรียบง่าย สติสัมปชัญญะของคนธรรมดามักบกพร่อง โดยมักทำใหญ่เป็นเล็ก ทำมากเป็นน้อย ส่วนปราชญ์มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ จึงสามารถทำเล็กเป็นใหญ่ ทำน้อยให้เป็นมาก ปราชญ์นั้นเปี่ยมด้วยคุณธรรมอันสูง หากมีใครเขาใจผิด โกรธเกลียดเขา เขาก็ยังตอบสนองด้วยคุณธรรมโดยไม่โกรธตอบ ถ้าท่านคิดใครเอาอย่างการปฏิบัติของปราชญ์ ก็ต้องเริ่มทำจากงานง่าย ๆ ก่อน เมื่อทำงานที่ง่ายได้ถึงจะสามารถทำงานที่ยากได้ การทำงานใหญ่ก็เช่นกัน ต้องทำจากงานเล็กๆ ให้ดีก่อน เมื่อสามารถทำงานที่เล็กได้ถึงจะทำงานใหญ่ได้ เมื่อรากฐานมั่นคงดีแล้ว ถึงสามารถทำงานใหญ่ให้สำเร็จได้ คนทั่วไปมักไม่ใส่ใจการขัดเกลาจิต โดยคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ในเมื่องานเล็กยังทำไม่ได้ ไหนเลยจะทำงานใหญ่สำเร็จได้คนพยักหน้ารับปากง่าย ๆ โดยมิได้พิจารณาไตร่ตรองก่อน ย่อมขาดความน่าเชื่อถือ ถ้าประมาทคิดว่างานง่ายมาก โดยมิได้เตรียมงานไว้ล่วงหน้า พอถึงเวลามักจะพบกับความยุ่งยาก ด้วยเหตุนี้ปราชญ์จึงไม่ประมาท โดยงานทุกอย่างจะถือว่ายากไว้ก่อน สุดท้ายงานต่าง ๆ จึงทำสำเร็จได้โดยง่าย

บทที่ 65 การบริหารประเทศ
ยามบ้านเมืองสงบ รัฐบาลก็บริหารงานง่าย เพราะเหตุใดเล่า? เนื่องเพราะขณะความวุ่นวานยังไม่ได้เกิดขึ้นถ้ากำลังจะมีเรื่องผิดปกติเกิดขึ้นก็จะรู้ทันที จึงสามารถหาวิธีแก้ไขได้ง่าย (อย่าประมาทว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ซึ่งอาจบานปลายใหญ่โตได้) เปรียบเหมือนสิ่งใดที่เพิ่งเริ่มก่อตัวใหม่ ๆ ย่อมยังอ่อนแอและสลายง่าย หรือสิ่งที่เล็กยังไม่ทันจับตัวแข็งแรงย่อมกระจายง่าย ฉะนั้น การใดจะทำให้ดี ก็ต้องเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าก่อน การบริหารประเทศก็เช่นกัน ขณะยังไม่เกิดความวุ่นวาย ก็ต้องวางรากฐานในการบริหารให้ดีก่อน เปรียบดั่งต้นไม้ใหญ่ขนาดสองคนโอบ การเจริญเติบโตของมัน ก็เริ่มต้นจากการงอกหน่อของเมล็ดเล็ก ๆ เม็ดเดียว ตึกสูงเก้าชั้นก็เริ่มต้นจากการสร้างสมของหินและปูนทีละปุ้งกี๋ การเดินทางพันลี้ ก็เริ่มต้นจากการก้าวเท้าแรก ผู้ที่ทำนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ย่อมต้องพบกับความล้มเหลว เมื่อปราชญ์รู้หลักการเหล่านี้ เขาจึงยึดมั่นในคุณธรรมไม่ไปขัดแย้งกับใคร ปล่อยวางเรื่องได้ลาภเสื่อมลาภ ดังนั้น จึงไม่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ร้อน ผู้ไม่ประมาทอยู่เสมอ ย่อมไม่พบกับความล้มเหลว สิ่งที่ปราชญ์แสวงหา เป็นสิ่งที่คนธรรมดาไม่ชอบแสวงหา เช่นปราชญ์แสวงหาความอิสระ ความหลุดพ้น มิใช่แสวงหาทรัพย์สินเงินทองเรื่องที่ปราชญ์ศึกษา คนธรรมดาไม่ชอบศึกษากันเช่นปราชญ์ศึกษาปรัชญาด้านจิต มิใช่แสวงหาลาภยศสรรเสริญปราชญ์มุ่งหวังแต่ฟื้นคืนสู่จิตเดิมแท้ของตน และคอยเตือนสติชาวโลกมิให้ก่อกรรมชั่วเท่านั้น 

บทที่ 66 การถ่อมตน
ทะเลได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งน้ำ เนื่องเพราะมันอยู่ในที่ต่ำสุด จึงสามารถรองรับน้ำจากสายธาราทั้งหลายไม่ว่าสะอาดหรือสกปรก ฉะนั้นจึงได้เป็นราชาแห่งน้ำ ปราชญ์สามารถอยู่สูงกว่าคนอื่น เพราะปากกับใจตรงกัน และสุภาพอ่อนโยน ถ้าท่านคิดใคร่เป็นผู้นำ ท่านก็ต้องยกย่องคนอื่นคนอื่นถึงจะยกย่องท่าน ถ้าท่านดูหมิ่นคนอื่น คนอื่นก็จะดูหมิ่นท่านปราชญ์รู้หลักการเหล่านี้ แม้เขาจะมีสถานะสูงแต่เขาก็ยังถ่อมตนอยู่เสมอ ทำให้คนที่มีสถานะต่ำหว่าไม่รู้สึกกดดัน ปราชญ์อยู่นำหน้าผู้อื่น ประชาชนย่อมให้ความยอมรับนับถือและสนับสนุน

บทที่ 67 เคล็ดสำคัญ 3 ประการ
ชาวโลกมักพูดว่า “ฉันยกเต๋าเสียใหญ่โต แท้เจริญไม่ออกว่า เต๋ามีพลังอันใด ไม่เห็นจะใหญ่โตเลย” ถูกต้อง! ก็เพราะเต๋ายิ่งใหญ่ จึงไม่เหมือนสิ่งใดถ้ามันเหมือนสิ่งหนึ่งสิ่งใด มิถูกคนมองว่าเป็นสิ่งเล็กๆ หรอกหรือ? ในด้านการขัดเกลาตน ข้าพเจ้ามีเคล็ดสำคัญสามประการ ขอเพียงให้ท่านถือปฏิบัติ ภายในตัวท่านก็จะมีเต๋า (ธรรม) แล้วคือ 1. เมตตา 2. มักน้อย 3. ถ่อมตัว เพราะเมตตา จึงเกิดความกล้าหาญ เฉกเช่น มารดาเพื่อความอยู่รอดของบุตร จึงต้องแบกรับภาระหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ เพราะมักน้อย จึงทำให้เกิดสมาธิ ปัญญา เพราะถ่อมตน จึงได้รับยอมรับนับถือและการสนับสนุน แต่สมัยนี้บางคนชอบการต่อสู้ ละเลยความเมตตา การไม่มักน้อย มักกมากกามคุณ ทำให้กาลเวลาสูญเสียเปล่า การไม่ถ่อมตน ชอบโอ้อวด เป็นการดูหมิ่นคน คนเยี่ยงนี้ เป็นการรนหาที่ตายเร็วขึ้น การยึดเมตตาธรรมเป็นเกราะป้องกันตัว ถึงจะมั่นคงแข็งแรง เพราะความเมตตา เป็นสัญชาตญาณที่ฟ้าเบื้องบนประทานมา

บทที่ 68 ทหารที่ดี
ทหารที่ดีต้องไม่โอ้อวดกำลังของตน ไม่ทำตัวก้าวร้าวเป็นอันธพาล หรือแสดงลักษณะโหดร้าย นักรบที่ดีต้องยึดมั่นในสันติ และเก็บซ่อนความแหลมคม ไม่แสดงอาการโกรธหรือร้อนวู่วามให้ปรากฏ จอมทัพที่ดีต้องไม่ประกาศสงครามกับฝ่ายตรงข้ามก่อน นอกจากเพื่อหวังให้เกิดสันติภาพโดยเร็ววันเท่านั้น ผู้บังคับบัญชาที่ดี ต้องเอาใจใส่ดูแล และห่วงอาทรผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอ ถึงจะได้รับความเชื่อถือและสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ดังกล่าวนี้ คือ คุณธรรมความดีในการไม่แก่งแย่งกับใคร และเป็นพลังในการใช้งานคนอย่างแท้จริง

บทที่ 69 ชัยชนะที่แท้จริง
นักการทหารมีคำกล่าวว่า “ ข้ามิกล้าท้ารบกับฝ่ายตรงข้ามก่อน เว้นแต่ฝ่ายตรงข้ามได้เริ่มโจมตีแล้วจึงจะออกต่อสู้ ข้ามิกล้าใช้ความ***มโหดไปแย่งชิงความเป็นเจ้า ข้าคิดแต่จะปกป้องรักษาดินแดนเพื่อให้สงครามยุติโดยเร็ว ” การสู้รบเช่นนี้ แม้ทหารจะมีขวัญกำลังใจ แต่ก็มิได้ฆ่าฟันด้วยความโหดร้าย แม้จะชูแขนและโห่ร้อง แต่ก็มิได้แสดงท่าทีของความป่าเถื่อน แม้จะสู้รบกัน แต่มิใช่สู้รบเพราะอาฆาตพยาบาทแต่สู้รบเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม สงครามแบบนี้ แม้ในมือจะถืออาวุธ แต่เป็นมือแห่งความยุติธรรม มิใช่มือเพชฌฆาต ภัยพิบัติล้วนก่อเกิดจากผู้กระหายสงคราม และประเมินกำลังของฝ่ายศัตรูต่ำเกินไป หารู้ไม่ว่าการดูแคลนศัตรู ก็คือ สาเหตุใหญ่ของความพ่ายแพ้ เพราะแม้จะเป็นประเทศเล็ก ขอเพียงให้คนในชาติสามัคคีทั้งทหารและพลเรือนร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอาวุธแห่งพลังนี้ก็จะชนะกองทัพของผู้กระหายสงครามเพราะอะไรเล่า? เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นธรรมะ ฝ่ายหนึ่งเป็นอธรรม ความแตกต่างอยู่ตรงนี้ เพราะการดูแคลนฝ่ายตรงข้าม ก็จะขาดเคล็ดสำคัญสามประการ (ดูบทที่ 67) ฉะนั้นจึงว่าอย่ากระหายสงครามจงเป็นประเทศฝ่ายธรรมะ จะเข้าสู่สงครามต่อเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นแล้วเท่านั้น สุดท้ายถึงจะชัยชนะอย่างแท้จริง

บทที่ 70 คำพูดของข้าพเจ้า
ความจริงคำพูด (เต๋าเต๋อจิง) ของข้าพเจ้าเรียบง่ายพวกท่านน่าจะเข้าใจและปฏิบัติได้ แต่คนสมัยนี้ลุ่มหลงมัวเมา จึงไม่เข้าใจและยากจะปฏิบัติตาม “เต๋า” ของข้าพเจ้า เพราะเรื่องที่ข้าพเจ้าพูด ล้วนแต่มีความหมายและวัตถุประสงค์แต่พวกท่านก็ยังไม่เข้าใจ เนื่องเพราะตาและหูของพวกท่านถูกครอบงำมานาน จึงไม่เข้าใจคำพูดและความในใจของข้าพเจ้า คนที่เข้าใจเต๋าของข้าพเจ้าอย่างแท้จริง นับว่ามีน้อยมาก อาจเป็นเพราะเต๋าที่ข้าพเจ้าพูดลึกซึ้งเกินไปก็ได้ นักปราชญ์เปรียบดั่งคนที่ร่างกายภายนอกคลุมด้วยเสื้อผ้าเก่า ๆ แต่ภายในกายเต็มไปด้วยแก้วมณี

บทที่ 71โรคโอ้อวด
คนที่รู้แจ้ง “เต๋า” แล้ว แต่ยังคิดว่าตนเองไม่รู้แจ้ง “เต๋า” ก็คือคนที่รู้แจ้ง “เต๋า” อย่างแท้จริง คนที่ยังไม่รู้แจ้ง “เต๋า” แต่กระหยิ่มใจและยังคุยว่าตนเองรู้แจ้ง “เต๋า” ก็คือผู้ป่วยเป็นโรคโอ้อวด มีแต่ผู้รู้ที่ทราบว่า การโอ้อวดเป็นโรคชนิดหนึ่ง จึงไม่ป่วยเป็นโรคนี้ นักปราชญ์ก็คือคนประเภทนี้ เพราะเขารู้ว่าการโอ้อวดเป็นโรคชนิดหนึ่ง จึงไม่ป่วยเป็นโรคนี้

บทที่ 72 รักถนอมกายแท้
ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วโดยไม่เกรงกลัวสิ่งใด มิช้าผองภัยก็จักมาเยือน นี้เป็นการรนหาหนทางบาปกรรมและวินาศฉิบหายแก่ตนโดยแท้ ท่านอย่าทำให้เส้นทางเดินในกาลภายหน้าตีบตันควรเปิดใจให้กว้างดั่งว่า ทุกคนในโลกล้วนพี่น้องท่านอย่าทอดทิ้งกายแท้ (จิตวิญญาณ) ควรรีบขัดเกลาจิต เพื่อให้กายแท้หลุดพ้นจากเวียนว่ายตายเกิดเพราะมีแต่การไม่ทอดทิ้งกายแท้เท่านั้น ฟ้าดินถึงจะไม่ทอดทิ้งท่าน ปราชญ์แสวงหาแต่ความหลุดพ้น มิให้กิเลสตัณหามาครอบงำจิตใจ นี้คือการรักถนอมชีวิตแห่งกายแท้ของปราชญ์ มิให้ตกอยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏ ฉะนั้น เขาจึงไม่สนใจในความเสน่หาอาลัยอันจอมปลอมและลาภยศสรรเสริญทางโลก แต่แสวงหาความหลุดพ้นแห่งกายแท้อันอมตะนิรันดร์กาล 

บทที่ 73 ตาข่ายแห่งกรรม
ผู้ที่ทำตัวเป็นนักเลงอันธพาลเที่ยวก่อกรรมชั่ว จักต้องพบกับภัยพิบัติจนตัวตาย ผู้ที่สงบเสงี่ยมเจียมตัว ไม่กล้าแสดงอำนาจบาตรใหญ่ก็จักรักษาตัวรอดปลอดภัย คนสองแบบข้างต้น แบบหนึ่งส่งผลดีกับตนเองแบบหนึ่งส่งผลร้ายกับตนเอง ฟ้าเบื้องบนไม่ชอบคนเกเรก้าวร้าว ชอบก่อเรื่องราว แม้ฟ้าจะไม่พูด แต่ก็การตอบสนองที่มิอาจขัดขวางอยู่อย่างหนึ่ง โดยท่านไม่ต้องเชื้อเชิญ มันก็ย่อมจักลงมาเอง นั้นคือตาข่ายแห่งกรรมที่ฟ้าเบื้องบนปล่อยลงมา ทั้งถี่และกว้างใหญ่ ผลกรรมใด ๆ ก็มิอาจเล็ดลอดไปได้แม้แต่น้อย

บทที่ 74 ทรราช (1) 
ถ้าผู้นำประเทศปกครองอย่างทรราช ประชาชนย่อมมิอาจทนต่อการบีบคั้น ถ้าถึงจุดที่ประชาชนมิอาจดำเนินชีวิตตามปกติต่อไปได้ ก็จะคิดต่อต้านหรือปฏิวัติโดยไม่กลัวตาย เมื่อถึงเวลานั้น แม้รัฐบาลจะฆ่าคนเพื่อข่มขวัญประชาชนก็ไร้ประโยชน์ ถ้าประชาชนดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข ปกติย่อมจะกลัวตาย หากผู้ใดทำผิดร้ายแรง รัฐบาลใช้กฎหมายอย่างโปร่งใสยุติธรรม คร่ากุมผู้นั้นส่งศาลพิจารณาตัดสินลงโทษประหารชีวิต ใครจะไปว่ากระไร แต่ภายใต้การปกครองระบบทรราช สถานการณ์ทุกอย่างเปลี่ยนไป โดยพบว่ามีทั้งการประหารชีวิตโดยคำสั่งของศาลและมีการฆ่าคนโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม อุปมาดั่งช่างไม้ที่มิใช่คนตัดฟืน แต่ต้องไปตัดฟืนแทนน้อยนักที่จะไม่บาดถูกมือตัวเอง

บทที่ 75 ทรราช (2)
ภายใต้การปกครองระบบทรราช รัฐบาลไร้คุณธรรมมุ่งแต่แสวงหาประโยชน์ ในเวลานั้นการเก็บภาษีย่อมจะสูงกว่ารายได้ของประชาชน ในสถานการณ์ที่ประชาชนมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ทั้งที่ได้ทำงานหนักเต็มที่แล้วย่อมจะเกิดความอดอยากสาหัสสากรรจ์ เนื่องเพราะรัฐบาลไร้คุณธรรม จึงทำให้ประชาชนมีเล่ห์เหลี่ยมกัน เมื่อนั้นรัฐก็จะบริหารงานยาก ถ้าถึงจุดที่ประชาชนไม่อาจดำเนินชีวิตตามปกติต่อไปได้ ประชาชนย่อมจะไม่กล้ากลัวตายกัน เนื่องเพราะผู้นำในรัฐบาลเอาแต่สุขสำราญอย่างฟุ่มเฟือย ก็มีแต่การลดละกิเลสตัณหา กินอยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ถึงจะเป็นการรักถนอมชีวิตของตนโดยแท้จริง

บทที่ 76 อ่อนแข็ง
คนขณะมีชีวิต ร่างกายอ่อนนุ่ม หลังจากตายแล้วร่างกายจึงเปลี่ยนเป็นแข็งทื่อ สรรพสิ่งก็ดุจเดียวกัน เช่น***กไม้ ต้นไม้ ต้นหญ้า ขณะมีชีวิตก็อ่อนนิ่ม มีแต่ตายแล้วเท่านั้นจึงจะเปลี่ยนเป็นแข็ง จากหลักการข้างต้น แสดงให้รู้ว่าผู้ที่ยืดอยู่กับความแข็งกร้าวดื้อรั้น ก็คือ คนที่ใกล้จะตาย คนที่ยอมอ่อนและลดราวาศอก ถึงจะเป็นการเดินสู่เส้นทางอันนิรันดร์ ประเทศที่กระหายสงคราม ชอบอวดแสดงกำลังทางทหาร ย่อมไม่ได้รับชัยชนะ ดั่งเช่นต้นไม้ขนาดใหญ่ มักจะถูกโค่นล้ม คนที่ชอบอวดตัวเป็นอันธพาล มักจะถูกคนรังเกียจดูหมิ่นดูชัง คนอ่อนน้อมถ่อมตน ย่อมจะได้รับการยอมรับนับถือ

บทที่ 77 ความน่าอัศจรรย์ของเต๋า
ความมหัศจรรย์ของเต๋า ดั่งการน้าวสายธนูเตรียมจะยิง ถ้าเป้าหมายอยู่เบื้องบน ก็น้าวสายธนูลงล่าง ถ้าเป้าหมายอยู่เบื้องล่าง ก็จะน้าวสายธนูขึ้นบน ถ้าระยะใกล้ การน้าวสายธนูจะออกแรงน้อย ถ้าระยะไกล การน้าวสายธนูก็จะออกแรงมากหน่อย ความอัศจรรย์ของเต๋าก็ดุจกัน สิ่งใดถึงที่สุดย่อมวกกลับวนเวียนมิรู้จบ ทว่าชาวโลกมิเป็นเช่นนั้น การดำเนินชีวิตมักจะไปทำในสิ่งที่เกินจำเป็น แต่เรื่องการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ซึ่งเป็นงานสำคัญกลับไม่ค่อยมีใครทำกัน มีใครสามารถเอาสติปัญญาและกำลังทรัพย์ที่มีล้นเหลือเอื้อเฟื้อแก่คนยากไร้บ้าง ข้าพเจ้าคิดว่า คงมีแต่ผู้มีคุณธรรมเท่านั้นถึงจะทำได้

บทที่ 78 ประโยชน์ของความอ่อน
สิ่งที่อ่อนนิ่มที่สุดในโลก ไม่มีสิ่งใดเหนือไปกว่าน้ำ แม้ว่าน้ำจะอ่อนนิ่ม แต่ถ้ามีของแข็งแกร่งใดโจมตีมันสุดท้ายมันย่อมชนะอยู่ดี เช่น โยนก้อนหินลงในน้ำ ก็จะถูกมันกลบไว้ ไฟเจอน้ำก็จะดับ ดินเจอน้ำก็จะอ่อนตัว ไม้แช่ในน้ำก็จะเปื่อย เหล็กกล้าแช่ในน้ำก็จะขึ้นสนิม ไม่ว่าน้ำจะอยู่ที่ใดความอ่อนของมันย่อมไม่มีเปลี่ยนแปร ดังกล่าวข้างต้น เป็นทฤษฎีที่แสดงว่าอ่อนสามารถชนะแข็ง ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ทุกคนต่างก็รู้ดี แต่น้อยคนนักท่าสามารถฝึกแบบน้ำ นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า “คนที่สามารถรองรับความสกปรกและอัปยศของคนทั้งประเทศได้ ถึงจะชื่อว่าเป็นเจ้าของประเทศ” “สามารถรับภาระในเภทภัยของประเทศได้ ถึงจะชื่อว่าเป็นราชาแห่งใต้หล้า” ถ้อยคำถ่อมตัวฉะนี้ ก็คือความอ่อนโยนอันแท้จริงของปราชญ์

บทที่ 79 คุณธรรมแห่งฟ้า
การปรองดองที่เกิดจากการไกล่เกลี่ยโดยไม่เต็มใจย่อมไม่อาจถือเป็นบทสรุปที่งดงาม ปราชญ์นั้นอยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ยุ่งกับใครถ้ามีคุณูปการต่อชาวโลก ก็ไม่ได้เก็บมาคิด ส่วนคนธรรมดานั้นต่างกัน เหมือนดั่งคนทวงหนี้ยืมเท่าไหร่ก็ต้องเอาคืนเท่านั้น ไม่มีการผ่อนผันแม้แต่น้อยไม่ผิดแผกจากคนไร้คุณธรรม ที่ทำบุญอะไรหน่อย ก็หวังแต่ผลตอบแทน มีแต่คุณธรรมแห่งฟ้าที่น่าสรรเสริญ เพราะหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งโดยเท่าเทียมกัน

บทที่ 80 โลกแห่งสันติสุข
จะฟื้นคืนสู่โลกแห่งสันติสุขอย่างไรหนอ? เหมือนเช่นเดียวกับประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อย ซึ่งทุกคนดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ยามนั้น ถ้ามีมหาบุรุษเรืองปัญญาสิบคนถึงร้อยคนก็ไม่ต้องใช้สติปัญญาของพวกเขา ยามนั้น ประชาชนต่างอยู่กันอย่างสงบสุข ไม่คิดที่จะย้ายถิ่นฐาน ยามนั้นแม้จะมีรถมีเรือ ก็ไม่มีใครแย่งกันขึ้นโดยสารแม้จะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ ก็ไม่รู้จะเก็บไว้ที่ใด ประชาชนได้กลับสู่โลกแห่งสันติสุข ยามนั้นประชาชนกินข้าวเปล่าก็ยังรู้สึกหวาน ใส่เสื้อผ้าหยาบก็ยังสึกโก้หรู อยู่บ้านก็รู้สึกสุขสบาย วัฒนธรรมประเพณีก็ดีงามกับประเทศเพื่อนบ้าน ก็มีสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน ได้ยินเสียงไก่เสียงสุนัขถึงกัน ยามนั้นประชาชนอยู่ดีมีสุข อยู่จนแก่เฒ่าไร้เสียงบ่นและไม่คิดจะย้ายถิ่นฐานอีกแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 16, 2017, 11:42:42 am โดย ฐิตา »