ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล  (อ่าน 59999 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ (〃ˆ ∇ ˆ〃)

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 328
  • พลังกัลยาณมิตร 199
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 04:21:35 pm »
สาธุ อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม :07:

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 03:00:39 pm »



การดำรงใจไว้ให้เป็นอิสระจากอำนาจของกิเลส  ในทุกๆลักษณะของสิ่งที่แวดล้อมรอบตัวเรา  นี้เรียกว่า  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  ใจของเราลอยอยู่สูงเหนือสิ่งต่างๆ  ที่แวดล้อมเรา  และในทุกกรณี  เราไม่ยอมให้สิ่งเหล่านั้นมามีอิทธิพลครอบงำ  ในการที่ใจของเราของเราจะทำหน้าที่ของมัน  แต่ว่ามันเป็นความผิดอย่างใหญ่หลวง  ในการบีบบังคับใจไม่ให้คิดอะไรเสียหมด  เพราะว่าแม้เราจะทำได้สำเร็จในการบังคับเช่นนั้น  และเราดับจิตลงไปในขณะนั้น  เราก็ยังคงต้องเกิดใหม่  ในภพใดภพหนึ่งอยู่ดี 

จงกำหนดความข้อนี้ไว้เถิดบรรดาท่านผู้เดินทางทั้งหลาย  มันเป็นความชั่วอย่างพอตัวทีเดียว  สำหรับคนที่ทำอย่างผิดพลาด  เนื่องมาจากไม่เข้าใจความหมายของธรรมบัญญัติข้อนั้น  แล้วมันจะเป็นความชั่วมากขึ้นไปเพียงใดอีก  ในการเร้าใจให้ผู้อื่นพากันทำตามเป็นบริวารของตน  เมื่อหลงเสียแล้ว  เขาก็มองไม่เห็นอะไร  และยิ่งกว่านั้นเขายังแถมเป็นผู้กล่าวตู่พระพุทธวจนะ  อยู่ตลอดกาลเป็นนิจด้วย  เหตุฉะนั้นแหละ  เราจึงถือเอา  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  ว่าเป็นผลที่จำนงหวังของเรา

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อาตมาจะอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก  ว่าทำไมเราจึงถือเอา  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"  มาเป็นผลที่จำนงหวังของเรา  เพราะเหตุว่ามีคนเขลาบางประเภท  ได้โอ้อวดว่าเห็นแจ้ง  จิตเดิมแท้  แต่ก็กำลังถูกอารมณ์ที่แวดล้อมลากเอาตัวไป  วิตกต่างๆ เกิดขึ้นในใจของเขา  ถูกแวดล้อมอยู่ด้วยมิจฉาทิฏฐิ  อันเป็นกระแสแห่งความหลงและกิเลสทุกๆชนิด




ก็ใน จิตเดิมแท้ (ซึ่งเป็นตัวสำแดงแห่งความว่าง) นั้น ไม่มีอะไรสำหรับ
ให้ใครลุถึงเสียเลย 
ฉะนั้น  การที่มาเอ่ยอ้างว่ามีการลุถึง  และกล่าวพล่อยๆถึงความดีหรือความชั่ว 

เหล่านั้นล้วนแต่เป็นมิจฉาทิฎฐิและกิเลส 

เพื่อผลอันนี้เอง  เราจึงได้ถือเอา  "ความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตก"
ว่าเป็นผลที่จำนงหวังในนิกายของเรา



        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  (ก็ในเรื่องความไม่เป็นไปตามอำนาจของวิตกนั้น)  อะไรเล่าเป็นสิ่งที่เราควรสลัดเสียให้สิ้นเชิง  และอะไรเล่า  ที่เราควรปักใจของเราลงไป  เราควรสลัด  "ของที่เป็นคู่ๆอย่างตรงกันข้ามต่อกัน"(*20) เสียให้สิ้นเชิง  พร้อมทั้งอกุศลเจตสิกทุกๆอย่าง  และเราควรปักใจของเราลงไปที่ภาวะแท้จริงของ  ตถตา (ความเป็นแต่อย่างนั้นอย่างเดียว  เป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้)  เพราะเหตุว่า  ตถตา นั่นแหละ  เป็นตัวการแท้ของวิตก  และวิตกเป็นผลแห่งการไหวตัวของ ตถตา

ตัวแท้ของตถตา  ซึ่งเบ่งบานขึ้นถึงระดับเด่นชัดนั้นต่างหาก  ที่ทำให้วิตกนั้นเกิดขึ้น  หาใช่เพราะอวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์นั้นๆไม่  ตถตา ย่อมทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะของตัวมันเอง  ฉะนั้น มันจึงสามารถให้กำเนิดแก่วิตก  ปราศจาก ตถตา เสียแล้ว อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์  และอารมณ์นั้น (*21) ย่อมสลายลงทันที. ผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เพราะเหตุที่คุณลักษณะของ ตถตา  ต่างหากที่ให้กำเนิดแก่วิตก  ฉะนั้น  อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ต่างๆ  ของเราไม่จำเป็นจะต้องพลอยด่างพร้อยหรือเศร้าหมองไปด้วย  ในทุกๆเหตุการณ์  แม้ว่ามันจะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการดู  การฟัง การสัมผัส การรู้ฯลฯ ก็ตาม,  และตัวภาวะแท้ของเรา  ก็อาจยัง  "แสดงตัวเองให้ปรากฏได้"  ทุกเวลา  เพราะเหตุฉะนั้น  พระสูตรนั้นจึงกล่าวว่า  ผู้ทีคล่องแคล่วในการแยกแยะธรรมลักษณะนานาประการ  เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องได้  จักเป็นผู้ตั้งอยู่อย่างไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน  ใน "ธรรมอันเอก" (กล่าวคือถิ่นอันสงบเย็นของพระอริยะหรือนิพพาน)


*20 ของคู่ในที่นี้  คือของที่เป็นสุดโต่งฝ่ายข้างหนึ่ง  ก็สุดโต่งฝ่ายข้างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น  บวก-ลบ โง่-ฉลาด ร้อน-เย็น  นรก-สวรรค์ ฯลฯ (พุทธทาส)

*21 อวัยวะสำหรับรู้สึกอารมณ์ หรือ Sense Organs ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ อารมณ์  หรือ Sense objects ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ คำเหล่านี้เป็นคำบัญญัติเฉพาะในพุทธศาสนา อาจไม่ตรงกับที่บัญญัติเฉพาะวิชาแขนงอื่นก็ได้ (พุทธทาส)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2013, 01:35:16 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 03:04:52 pm »



บัวหิมะ บนเทือกเขาซินเกียง

หมวดที่ 5 ว่าด้วย ธฺยานะ

**********

วันหนึ่ง  พระสังฆปริณายกได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง  ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-

        ในระบบการเจริญกัมมัฏฐานภาวนาของเรานั้น  เรามิได้กำหนดลงไปที่จิต (จิตปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างอย่างตรงกันข้าม กับจิตเดิมแท้)  หรือกำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์  หรือว่าเราจะไปจับเอาตัวความหยุดนิ่ง  ปราศจากความเคลื่อนไหวทุกประการ  ก็หามิได้  สำหรับการกำหนดจดจ่อลงไปที่จิตนั้น  ไม่ควรทำ  เพราะจิตเป็นของมืดมัวมาเสียก่อนแล้ว  เมื่อเรามองเห็นชัดว่ามันเป็นเพียงตัวมายาตัวหนึ่งเท่านั้นแล้ว  ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะไปจดจ่อกับมัน  สำหรับการกำหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์นั้นเล่า  ตัวธรรมชาติแท้ของเราก็บริสุทธิ์อย่างแท้จริงอยู่แล้ว  และตลอดเวลาที่เราขับไล่อกุศลวิตกออกไปเสียให้สิ้นเชิง  มันก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในตัวเรา  นอกจากความบริสุทธิ์ย่างเดียวเพราะว่ามันเป็นด้วยอกุศลวิตก  กำหนดลงไปที่ความบริสุทธิ์  เราก็มีแต่จะสร้าง  อวิชชาอันใหม่ขึ้นมาอีกอันหนึ่ง  เท่านั้น  คืออวิชชาแห่งความบริสุทธิ์  เพราะเหตุที่อวิชชาเป็นสิ่งที่ไม่มีที่ตั้งอาศัย  จึงเป็นความเขลาที่เราจะไปอิงอาศัยมัน,  ตัวความบริสุทธิ์นั้นไม่มีสัณฐาน  ไม่มีรูปร่าง  แต่มีคนบางคนที่อุตริถึงกับประดิษฐ์  "รูปร่างของความบริสุทธิ์" ขึ้นมา  แล้วก็กุลีกุจออยู่กับมันในฐานะเป็นปัญหาสำคัญของความหลุดพ้น  เมื่อถือหลักความคิดเช่นนี้  คนเหล่านั้นก็กลายเป็น ผู้ขับไล่ไสส่งความบริสุทธิ์ เสียเองแล้ว  จิตเดิมแท้ของเขา  ก็ถูกทำให้เศร้าหมองไปเพราะเหตุนั้น

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  พวกที่ฝึกตัวอยู่ใน "ความแน่วไม่หวั่นไหว"  นั้น  แม้จะได้เผชิญกับคนทุกชนิด  เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็นความผิดของผู้อื่นอยู่เสมอ  เขาไม่มีอะไรวิปริตผิดแปลกไปจากเดิม  เมื่อประสบบุญหรือบาป  ความดีหรือความชั่ว ของผู้อื่น  เพราะลักษณะเช่นนี้  ย่อมอนุโลมต่อ "ความแน่วไม่หวั่นไหว" ของจิตเดิมแท้ ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  คนทีมีจิตยังมืดนั้นอาจสงบเฉพาะทางร่างกายภายนอก  แต่พอเผยอริมฝีปากเท่านั้น  เขาก็ติชมวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นด้วยเรื่องบุญบาป  ความสามารถ  ความอ่อนแอ  ความดีหรือความชั่ว  ของคนเหล่านั้นๆ  นี่แหละ  เขาเฉออกไปนอกทางแห่งสัมมาปฏิบัติอย่างนี้เอง  อีกฝ่ายหนึ่ง  การที่จดจ่อง่วนอยู่ ที่จิตของตนเอง  หรือที่ความบริสุทธิ์  ก็กลายเป็นสิ่งสะดุดกีดขวางในหนทาง  ด้วยเหมือนกัน


        ในสมัยอื่นอีก  พระสังฆปริณายก ได้แสดงธรรมแก่ผู้มาชุมนุมฟัง ด้วยข้อความดังต่อไปนี้:-
        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อย่างไรเรียกว่า  การนั่ง  เพื่อการกัมมัฏฐานภาวนา?  ในนิกายของเรานี้  การนั่ง  หมายถึงการได้รับอิสรภาพอันเด็ดขาด  และมีจิตสงบได้ในทุกๆ กรณีที่แวดล้อมเข้ามาจากภายนอก  ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายข้างดี หรือเป็นอย่างใดมา การกัมมัฏฐานภาวนา นั้น หมายถึงการเห็นชัดแจ้งในภายใน  ต่อ "ความแน่วไม่หวั่นไหว ของจิตเดิมแท้ ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อะไรเรียกว่า ธฺยาน (ฌาน) และสมาธิ? ธฺยาน หมายถึงการหลุดจากความพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอก(*22) ทุกประการ และ สมาธิ หมายถึงการได้รับศานติในภายใน 

ถ้าเราพัวพันอยู่กับอารมณ์ภายนอก  จิตภายในก็จะปั่นป่วน  เมื่อเราหลุดจากการพัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกอย่างแล้ว  จิตก็จะตั้งอยู่ในศานติ  จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์อยู่แล้วอย่างแท้จริง  แล้วเหตุผลที่ว่า  ทำไมเราจึงปั่นป่วนนั้น  ก็เพราะเรายอมตัว  ให้อารมณ์ซึ่งแวดล้อมเราอยู่  ลากเอาตัวเราไป  ผู้ที่สามารถรักษาจิตของตนไว้ไม่ให้ปั่นป่วนได้  ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิดไหนหมด  นั่นแหละ ชื่อว่าได้บรรลุถึงสมาธิ

        การเป็นอิสระไม่พัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกอย่าง  ชื่อว่า  ธฺยาน  การลุถึงศานติในภายใน  ชื่อว่า สมาธิ  เมื่อใดเราอยู่ในฐานะที่จะเล่นฌาน และดำรงจิตในภายในให้ตั้งอยู่ในสมาธิ     เมื่อนั้น จึงชื่อว่าเราได้ลุถึง  ธฺยานและสมาธิ  ข้อความในโพธิสัตวสีลสูตร  มีอยู่ว่า  "จิตเดิมแท้ของเรานั้น เป็นของบริสุทธิ์แท้จริง" ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เราจงเห็นชัดความข้อนี้เพื่อตนเองทุกเมื่อเถิด  เราจงฝึกตัวเอง  ฝึกฝนมันด้วยตัวเอง  และลุถึงพุทธภาวะ  ด้วยความพยายามของตนเองเถิด[/size]

*22 อารมณ์ภายนอก  หมายถึงสิ่งทุกสิ่งนอกจากจิต  ฉะนั้นแม้แต่ความคิดในจิตหรือของจิตก็เรียกว่าอารมณ์ภายนอกในที่นี้เหมือนกัน ไม่ต้องกล่าวถึง รูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นของภายนอกชัดๆ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 18, 2012, 09:13:38 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 03:10:48 pm »



หมวดที่ 6
ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)
************************

   ครั้งหนึ่ง  พวกที่ใฝ่ใจในการศึกษา  และพวกชาวบ้าน  จากกวางเจา ชิวเจา และที่อื่นๆ ได้มาประชุมกันอย่างคับคั่ง  เพื่อฟังคำเทศนาของพระสังฆปริณายก  เมื่อพระสังฆปริณายกเห็นดั่งนั้น  ก็ได้ขึ้นธรรมมาสน์  และแสดงธรรมเป็นข้อความดังต่อไปนี้:-

        การปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น เราควรตั้งต้นที่  จิตเดิมแท้  ของเราตลอดเวลา  เราต้องชำระจิตของเราติดต่อกันทุกขณะจิต  ไต่ไปตามมรรคปฎิปทาด้วยน้ำพักน้ำแรง  ของเราเอง  ให้เห็นประจักษ์ชัดแจ้งในธรรมกายของเรา  ให้เห็นประจักษ์ชัดแจ้งต่อองค์พระพุทธเจ้าในใจของเรา  รื้อขนเองด้วยต่างคนต่างสมาทานศีล  แล้วการมาสู่ที่นี่ของพวกท่านทั้งหลาย  ก็จะมิเป็นการมาเปล่า  เนื่องจากท่านทั้งหลายมาจากที่ไกล  ด้วยกันทุกคน   ข้อที่เราได้มาพบกันที่นี่  ย่อมแสดงว่าเป็นการได้มีการสมาคมกันอย่างประเสริฐ  ฉะนั้นพวกเราทั้งหมดจงนั่งลงตามท่านั่งชาวอินเดีย  อาตมาจะได้แสดงเรื่องวิธีการ สำนึกบาป(*23) (อันเป็นทางใจล้วน) ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม (เช่นกิริยาท่าทางเป็นต้น) แก่ท่านทั้งหลาย เมื่อทุกคนนั่งเรียบร้อยแล้ว  พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า:-




คันธสาระ(*24) ข้อต้นนั้น คือ ศีล  ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเรา  ปราศจากรอยด่างๆของทุจริต 
ความชั่ว ความริษยา ความตระหนี่ ความโกรธ การใช้กำลังข่มขู่  และการผูกเวร
คันธสาระ  ข้อที่สองนั้นคือ สมาธิ  ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเรา  ไม่มีอาการหวั่นไหวในทุกเหตุการณ์ 
ที่เข้ามาแวดล้อมเรา  ไม่ว่ามาดีหรือมาร้าย
คันธสาระ ข้อที่สาม คือปัญญา ซึ่งหมายถึงการที่จิตของเรา
เป็นอิสระจากเครื่องหุ้มห่อรึงรัด 
หมายถึงการที่เราส่องปัญญาของเราอยู่เนืองนิจ  ลงที่จิตเดิมแท้ของเรา
 
หมายถึงความที่เราเป็นผู้พ้นเด็ดขาดจากการที่จะทำความชั่วทุกประเภท
หมายถึงความที่แม้ว่า เราจะทำความดีทุกสิ่งทุกอย่าง 
ถึงกระนั้นเราก็ไม่ปล่อยให้ใจของเราเกี่ยวเกาะอยู่ที่ผลของความดีนั้นๆ

และหมายถึงวาเรายอมเคารพนับถือผู้ทีสูงกว่าเรา  อ่อนน้อมต่อผู้ที่ต่ำต้อยกว่าเรา
เห็นอกเห็นใจคนที่หมดวาสนาและคนยากจน



คันธสาระ ข้อที่สี่ คือความหลุดพ้น(วิมุติ) ซึ่งหมายถึงความที่ใจของเรา
ขึ้นถึงขั้นเป็นอิสระเด็ดขาด 
ไม่เกี่ยวเกาะอยู่กับสิ่งใด ไม่ผูกพันตัวเองอยู่กับความดีและความชั่ว 
คันธสาระข้อที่ห้า คือความรู้ อันเราได้รับในขณะที่ลุถึงความหลุดพ้น
เมื่อจิตของเราไม่เกี่ยวเกาะกับความดีและความชั่วแล้ว เรายังจะต้องระวังไม่ปล่อยให้จิตนั้น
อิงอยู่กับความว่างเปล่า  หรือตกลงไปสู่ความเฉื่อย 

ยิ่งกว่านั้นเรายังจะต้องเพิ่มพูนการศึกษา และขยายความรู้ของเราให้กว้างออกไป
จนกระทั่งเราสามารถ รู้จักจิตของเราเอง สามารถเข้าใจโดยทั่วถึง
ในหลักแห่งพุทธธรรม ทำตนเป็นญาติมิตรกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ที่เราเกี่ยวข้องด้วย
บำบัดความรู้สึกว่า  "ตัวตน" และความรู้สึกว่ามี ว่าเป็น เสียให้หมดสิ้น

และเห็นแจ้งชัดว่า จำเดิมแต่ต้นมาจนกระทั่งถึงเวลาที่เราได้บรรลุโพธินั้น 



"ธรรมชาติที่แท้จริง" (หรือจิตเดิมแท้) ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ดั่งนี้ ชื่อว่าคันธสาระแห่ง  "ความรู้อันเราได้รับในขณะที่ลุถึงความหลุดพ้น"
คันธสาระอันประกอบไปด้วยองค์ห้าประการนี้
ย่อมอบกลิ่นออกมาจากภายใน  และเราไม่ควรแสวงหามันจากภายนอก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2013, 09:10:51 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 03:14:59 pm »



ทีนี้อาตมาจะได้แสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึงเรื่อง "บาปสำนึก*25 อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม" อันเป็นวิธีที่จะไถ่ถอนเสียได้ซึ่งปวงบาป  อันเราทั้งหลายได้กระทำกันในชาติเป็นปัจจุบัน  ชาติอดีต  และอนาคต  และจะชำระมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ของเราให้หมดจด

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย, จงทำตามอาตมา  และว่าดังๆ พร้อมกันทุกคนเหมือนที่อาตมาจะว่านำ:-



*23 คำว่า Formless Repentence ในที่นี้แปลว่า  วิธีการสำนึกบาป (อันเป็นทางใจล้วน) ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม (เช่นกิริยาท่าทางเป็นต้น) นี้หมายถึงการซักล้างหรือเปลี่ยนกลับที่เกี่ยวกับใจภายในใตล้วนๆ  ด้วยอำนาจของปัญญาเป็นต้น  ไม่เกี่ยวกับกิริยา  เช่น  ประกอบพิธี  ขอขมาในโบสถ์หรือเกี่ยวกับวัตถุ  เช่นไถ่ตัวด้วยของทำบุญเป็นต้น  หรือเกี่ยวกับบุคคล  เช่น  อ้อนวอนผู้มีอำนาจเบื้องบนเป็นต้น  ท่านเรียกของท่านว่า Formless ซึ่งตามตัวว่า  "ไม่มีรูป"  นับว่าเป็นคำที่แปลยากที่สุดในหนังสือเล่มนี้  และมีอยู่ทั่วไปแทบทุกบท  ต่อไปนี้จะแปลเพียงสั้นๆ ว่า  "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"  มีอธิบายดังที่กล่าวมาแล้ว  ให้ผู้อ่านถือเป็นหลักใหญ่ๆ  ไว้อย่างหนึ่งว่าสังฆปริณายกเว่ยหล่างที่กล่าวถึงองค์นี้  ท่านมุ่งจะสอนทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นธรรมาธิษฐาน คือเรื่องจิต หรือตัวจริงไปหมด  ไม่ให้เป็นรูปบุคคลาธิฐาน  ซึ่งสมมุติขึ้นเป็นบุคคล หรืออิงอยู่กับวัตถุ  (ผู้แปลไทย  พุทธทาส)

*24 คันธสาระ ในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มีกลิ่นหอมทั่วไป  ใช้จุดเพื่อให้อากาศหอม ผู้อ่านที่สังเกตจะเห็นได้ว่า คันธสาระห้าอย่างนี้  โดยชื่อ ก็คือที่เรียกกันในฝ่ายเถรวาทว่าธรรมสาระห้านั่นเอง ได้แก่ ศีล. สมาธิ ปัญญา. วิมุต  และวิมุติญาณทัสสะ แต่คำอธิบายเดินคนละชั้นคนละแนว (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

*25 คำว่า บาปสำนึก  หรือการสำนึกบาปนี้  หมายถึงความสลดสังเวชในบาปที่ทำมาแล้ว ถึงขนาดที่จะทำใจให้เปลี่ยนกลับตัวเป็นคนๆ ใหม่ แต่ท่านหมายความสูงถึงการทำใจให้พ้นจาการถือในบาปในบุญเอาเสียทีเดียว จงพยายามชี้ให้เห็นว่า ใจต้องข้ามพ้นจากบาปและบุญ  จึงจะสามารถทำใจ ให้เกลี้ยงเกลาจากบาปได้  ซึ่งในที่อื่นข้างหน้า ท่านชี้ให้เห็นว่า บุญกับบาปนั้นเป็นของอย่างเดียวกัน  คือเป็นเพียงสังขาร  และออกมาจากอวิชชาด้วยกันทั้งสองอย่าง ผู้แปลไทย พุทธทาส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 22, 2013, 03:09:26 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 06:40:48 am »



      ขอให้เราทั้งหลาย บรรดาสาวกที่ไม่ได้ระบุนามเหล่านี้ จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล จากรอยด่างของความไม่รู้และรู้ผิด  เราได้สำนึกแล้วในบาปและกรรมชั่วทั้งหลายของเรา อันเราได้ประกอบแล้ว เพราะอำนาจแห่งความรู้ผิด หรือความไม่รู้ ขอให้บาปทั้งปวงนั้นจงเป็นสิ่งไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้  และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

        ขอให้เราทั้งหลาย  จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล จากรอยด่างของความเย่อหยิ่งและความอวดดี  เราสำนึกได้แล้วในจริตอันเย่อหยิ่งและโอ่อวด  อันเราทั้งหลายได้ประพฤติมาแล้วในอดีต  ขอให้บาปทั้งมวลนั้น  จงเป็นสิ่งที่ไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้ และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

        ขอให้เราทั้งหลาย  จงเป็นผู้เป็นอิสระตลอดกาล  จากรอยด่างของความริษยา และความเคียดแค้น  เราสำนึกได้แล้วในบาป  และกรรมชั่วทั้งหลายของเรา  อันเราได้ประกอบขึ้นแล้วด้วยใจอันเต็มไปด้วยความริษยาและความเคียดแค้น  ขอให้บาปทั้งมวลนั้น จงเป็นสิ่งที่ไถ่ถอนหมดสิ้นแล้วในทันทีนี้  และขออย่าให้กลับเกิดมีมาอีกเลย

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  นี่แหละที่เราเรียกว่า  "เซ็น-ฝู่ อันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"
อะไรเล่าเป็นความหมายของ  เซ็น และ ฝู่ (กฺษมยติ) ในที่นี้?

เซ็น นั้นถึงความสำนึกบาปอันเป็นอดีต  การสำนึกถึงตัวบาปและกรรมชั่วทั้งปวงในอดีต 
อันเราได้ประกอบขึ้นแล้ว  ด้วยอำนาจความรู้ผิด ความไม่รู้  ความเย่อหยิ่ง  ความอวดดี 
ความเคียดแค้น  หรือความริษยาและอื่นๆ ได้ ฯลฯ  จนถึงกับทำความสิ้นสุดให้แก่บาปเหล่านี้ได้เรียกว่า เซ็น. 

ฝู่ นั้นเล็งถึงการสำนึกบาปส่วนที่จะเกิดขึ้นด้วยการกระทำในอนาคตของเรา 
เมื่อเห็นแจ้งชัดถึงธรรมชาติอันเราอาจล่วงละเมิดได้ (ในอนาคต) 
เราย่อมตั้งปฏิญาณว่าแต่นี้ต่อไป  เราขอทำความสุดสิ้น แก่กรรมชั่ว ทุกประเภท 
อันเกิดขึ้นมาจากความรู้ผิด  ความไม่รู้ ความเย่อหยิ่ง  ความอวดดี  ความเคียดแค้น  หรือความริษยา 
และว่า เราจะไม่ก่อบาปขึ้นอีกต่อไป  นี้เรียกว่า ฝู่

        เนื่องจากความไม่รู้และรู้ผิดเป็นเหตุ คนทั้งหลายย่อมไม่เห็นชัดแจ้งว่าในการทำความสำนึกบาปนั้น  เขาไม่ควรจะเพียงแต่รู้สึกเสียใจ  เพราะบาปกรรมที่ทำมาแล้วอย่างเดียว  แต่เขาควรจะละเว้นเด็ดขาดจากการทำบาปใหม่ในอนาคตด้วย  เนื่องจากเขาไม่ใส่ใจสำรวมถึงการกระทำในอนาคตนั่นเอง  เขาประกอบบาปขึ้นใหม่ ก่อนแต่ที่จะไถ่ถอนบาปเก่าให้สิ้นไป  เราจะเรียกการกระทำเช่นนั้นว่า  "การสำนึกบาป"  ได้อย่างไรกันเล่า?




ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อได้มีการสำนึกบาปชำระตัวแล้ว
เราควรจะตั้งไว้ซึ่ง
ปฏิญาณรวบยอด 4 ประการ*26 ดังต่อไปนี้


เราขอปฏิญาณ ที่จะปลดปล่อย สัตว์มีวิญญาณ
มีปริมาณไม่จำกัด อันเป็น ของ แห่งใจ ของเราเอง.

        เราขอปฏิญาณ ที่จะเพิกเสีย ซึ่งกิเลส มีปริมาณคณานับไม่ได้ 
ในใจของเราเอง

        เราขอปฏิญาณ ที่จะศึกษา ระบอบธรรม อันนับไม่ถ้วน
แห่งจิตเดิมแท้ของเรา

        เราขอปฏิญาณ ที่จะเข้าให้ถึง พุทธภาวะ  อันสูงสุด
แห่งจิตเดิมแท้ของเรา




*26 ปฏิญาณรวบยอด 4 ประการ นั้น คำว่ารวบยอดหมายความว่า
กินหมดถึงหลักทุกๆ หลักในการปฏิบัติ หรือตัวศาสนาก็ตาม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2012, 11:15:54 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 06:48:21 am »



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  บัดนี้เราทั้งหมดได้ประกาศออกไปแล้วว่าเราปฏิญาณในอันที่จะปลดปล่อยสัตว์มีวิญญาณ  อันมีประมาณไม่จำกัด  แต่นั้นหมายความว่าอย่างไรเล่า? มันมิได้หมายความว่า อาตมา,เว่ยหล่าง  กำลังจะปลดปล่อยสัตว์นั้น. และอะไรเล่าคือสัตว์มีวิญญาณเหล่านั้น  อันมีอยู่ในใจของเรา?

สัตว์เหล่านั้นคือ  ใจที่หลงผิด ใจที่เป็นมายา ใจชั่วร้ายและใจอื่นๆ ทำนองนั้น เหล่านี้ทั้งหมด  เรียกว่าสัตว์ที่มีวิญญาณ *27  สัตว์เหล่านี้แต่ละตัวจำจะต้องปลดปล่อยตัวมันเอง  โดยอาศัยอำนาจแห่งจิตเดิมแท้ของมัน แล้วการปลดปล่อยนั้น  ก็จะเป็นการปลดปล่อยอันเลิศแท้.

        ในเรื่องนี้  การปลดปล่อยตัวเองโดยอาศัยจิตเดิมแท้ของตัวเองนั้น  หมายความว่าอย่างไรเล่า? มันหมายถึงการหลุดรอดของสัตว์ที่โง่เขลา ที่หลงผิด ที่หลงทรมาน อันมีอยู่ในใจเรา  ออกไปได้โดยอาศัยสัมมาทิฏฐิ   โดยได้อาศัยสัมมาทิฏฐิและปัญญา  สิ่งกางกั้นต่างๆที่สัตว์ผู้ไร้ความรู้และรู้ผิดเหล่านั้นแต่ละตัว จะอยู่ในฐานะปลดปล่อยตัวเองออกไปได้  ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัว ผู้ผิดจงปลดปล่อยตัวเองได้  ด้วยอาศัยความถูก ผู้รู้ผิดจงปลดปล่อยตัวเองได้ ด้วยอาศัยความรู้แจ้ง  ผู้ไม่รู้  ด้วยอาศัยปัญญา  และผู้เต็มอยู่ด้วยโทษ  ด้วยการอาศัยคุณนี้คือการปลดปล่อยอันเลิศแท้.

        สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า  "เราขอปฏิญาณที่จะเพิกเสียซึ่งกิเลสอันชั่วร้ายภายในใจ  อันมีปริมาณคณานับไม่ได้"  นั้น ย่อมเล็งถึงการปลดออกเสียซึ่งกลุ่มของความคิดอันเชื่อถือไม่ได้  และเป็นมายาหลอกลวง  โดยนำเอาปัญญาแห่งจิตเดิมแท้เข้ามาใส่แทนที่.

        สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า "เราขอปฏิญาณที่จะศึกษาระบบธรรม อันนับไม่ถ้วน"  นั้น  ควรจะวางหลักลงไปว่า  การศึกษาที่แท้จริงจะยังมีไม่ได้  จนกว่าเราจะได้เผชิญหน้ากับจิตเดิมแท้ของเราเสียก่อน.  และจนกว่าเราจะมีความเป็นไปของเรากลมเกลียวกันได้กับธรรมะอันถูกต้อง ในทุกโอกาสเสียก่อน

        สำหรับข้อปฏิญาณที่ว่า  "เราขอปฏิญาณที่จะเข้าให้ถึงพุทธภาวะอันสูงสุด" นั้น อาตมาปรารถนาที่จะชี้ ให้ท่านทั้งหลายเห็นชัดว่า เมื่อเราสามารถน้อมจิตของเรา ไปตามทางแห่งธรรมะอันแท้  และถูกตรงในทุกโอกาส  และเมื่อปัญญาแจ่มแจ้งอยู่ในใจของเราไม่ขาดสาย  จนกระทั่งเราสามารถตีตัวออกห่างเสียได้ทั้งจากความรู้แจ้งและความไม่รู้ ไม่ข้องแวะด้วยกับทั้งความจริงและความเท็จ เมื่อนั้นแหละ  เราอาจจะถือว่าตัวเราได้รู้แจ่มชัดแล้วในธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ *28 หรืออีกนัยหนึ่ง  ได้ลุถึงแล้วซึ่งพุทธภาวะ


*27 การที่เรียกใจที่ชั่วร้ายนานาชนิด  ว่าสัตว์มีวิญญาณในที่นี้  เป็นสำนวนศาสนาชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าสิ่งทั้งปวงสำคัญอยู่ที่ใจ สำเร็จอยู่ที่ใจ หรือออกไปจากใจ และเป็นสิ่งที่น่าสงสารที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญญา พิจารณาเห็น  ผู้แปลไทย พุทธทาส

*28ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ หรือพุทธภาวะ ซึ่งมีประจำอยู่ที่จิตเดิมแท้  สองคำนี้ เป็นคำที่อธิบายยาก  ท่านจึงต้องชี้ไว้ด้วยลักษณะอาการ ทำนองการอนุมานว่า เมื่อใดจิตสะอาดและฉลาดและสงบ ถึงขนาดที่มองเห็นว่า  ความจริงกับความเท็จก็เป็นของไม่น่ายึดถือ  เท่ากัน ความตรัสรู้  กับความโง่เขลาก็เป็นของไม่น่ายึดถือ เท่ากัน  เมื่อนั้น ใจนั้นชื่อว่า อยู่ในมาตรฐานที่รู้จักพุทธภาวะ อันมีอยู่เองแล้ว  ในจิตเดิมแท้ของคนทุกคน ผู้แปลไทย พุทธทาส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 14, 2012, 09:07:02 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 07:12:23 am »



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เราควรจะสำเหนียกอยู่ในใจให้ได้เสมอไปว่า  เรากำลังไต่ไปเรื่อยๆตามทางแห่งมรรคปฏิปทา  เพราะว่าการทำในใจเช่นนั้นย่อมเพิ่มกำลังให้แก่ปฏิญาณของเรา  บัดนี้  เนื่องจากเราได้ตั้งไว้ ซึ่งปฏิญาณรวมยอด 4 ประการ  เหล่านี้แล้ว  อาตมาจะได้แสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึง "เครื่องส่องทาง *29 มีองค์สามประการอันไม่เกี่ยวกับรูปธรรม *30" สืบต่อไป

เราถือเอา "การรู้แจ้ง(ตรัสรู้) ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา
เพราะว่านั่นแหละ
คือยอดสุดทั้งของบุญและปัญญา

        เราถือเอา "ความถูกต้องตามธรรมแท้"  ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา
เพราะว่านั่นแหละ
คือหนทางที่ดีที่สุดแล้ว ของการรื้อถอนตัณหา.

        เราถือเอา  "ความบริสุทธิ์" ว่าเป็นเครื่องนำทางของเรา
เพราะว่านั่นแหละ
คือคุณชาติอันประเสริฐที่สุดของการได้เกิดเป็นมนุษย์

ต่อไปนี้จงถือเอาท่านที่ตรัสรู้แล้ว  เป็นครูของเรา  ในทุกกรณี  เราไม่ควรรับเอาพญามาร  (บุคคลาธิษฐานแห่งความชั่ว) หรือมิจฉาทิฏฐิบุคคลอื่นใดว่าเป็นผู้นำของเรา  ข้อนี้เราอาจน้อมนำเข้ามาสู่ใจเราได้  โดยการน้อมระลึกถึงอยู่เนืองนิจใน "รัตนะทั้งสาม"  แห่งจิตเดิมแท้ของเรา  ซึ่งในรัตนะเหล่านี้เอง  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อาตมาแนะนำให้ท่านทั้งหลายถือเอาเป็นที่พึ่ง รัตนะเหล่านั้นคือ:-



พระพุทธเจ้า  ซึ่งเป็นตัวแทนของ  "ความรู้แจ้ง(ตรัสรู้)"
         พระธรรม  ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ความถูกต้องตามธรรมแท้"
         พระสงฆ์  ซึ่งเป็นตัวแทนของ  "ความบริสุทธิ์"


   การน้อมใจของเราให้ถือเอา  "ความรู้แจ้ง" เป็นที่พึ่งได้
จนถึงกับความรู้สึกที่ชั่วร้าย  และผิดธรรมไม่อาจเกิดขึ้นได้ 
ตัณหาห่างจากไป  ความตึงเครียดไม่ปรากฏ
ราคะและโลภะไม่รึงรัดอีกต่อไป  นั่นแหละคือยอดสุด ทั้งของบุญและปัญญา

        การน้อมใจของเราให้ถือเอา  "ความถูกต้องตามธรรมแท้"  เป็นที่พึ่งได้ 
จนถึงกับเราเป็นอิสระอยู่เสมอ  จากความเห็นผิด
(ซึ่งถ้าปราศจากความเห็นผิดแล้ว  ก็ไม่อาจจะเกิดความยึดถือตัวตน  ความเย่อหยิ่ง
หรือความทะเยอทะยานขึ้นมาได้
)
นั่นแหละ คือหนทางอันประเสริฐที่จะถอนเสียได้ซึ่งตัณหา.


        การน้อมใจของเรา  ให้ถือเอา  "ความบริสุทธิ์" เป็นที่พึ่งได้ 
จนถึงกับ ไม่ว่าสถานะการณ์อันใดจะเข้ามาแวดล้อมใจ ก็ไม่ถูกทำให้เปื้อน
ด้วยวัตถุอารมณ์ 
อันน่าขยะแขยง  ด้วยความทะเยอทะยานและตัณหา
นั่นแหละ  คือคุณชาติอันประเสริฐสุดของการได้เกิดมาเป็นคน



*29 เครื่องส่องทาง Guidance ในที่นี้โดยความหมายก็ตรงกับคำว่า สรณะ เพราะสรณะก็คือเครื่องสำหรับให้ใจหน่วงไป หรือดึงดูดใจไปหา.  แต่ข้าพเจ้าคงแปลว่า "เครื่องส่องทาง" อนุโลมตามรูปศัพท์ในภาษาอังกฤษ ทั้งๆ ที่เชื่อว่าต้นฉบับเดิมในภาษาจีนใช้คำที่ตรงกับคำว่า สรณะ  ผู้แปลไทย พุทธทาส

*30 "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"  ในตอนนี้มีอธิบายชัดอยู่ในตัวแล้ว  คือคำว่าพระพุทธเจ้า ก็ไม่หมายเอาองค์หรือร่างกายพระพุทธเจ้า  แต่หมายเอาตัวความรู้  พระธรรม ก็ไม่ได้หมายเอาคัมภีร์หรือเสียง หรือภาพ แต่หมายเอาตัวความถูกต้อง  พระสงฆ์ไม่ไม่หมายเอาผ้าเหลืองหรือตัวคน  แต่หมายเอาตัวความบริสุทธิ์ เช่นนี้ทำให้เราเข้าใจความหมายของคำว่า "Formless" หรือ "ไม่เกี่ยวกับรูปธรรม"  ตามความหมายของพระสังฆปริณายก นั้นได้ง่ายขึ้น ผู้แปลไทย พุทธทาส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2012, 11:41:21 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 07:21:22 am »



     การปฏิบัติใน  "เครื่องส่องทางมีองค์สาม" ตามวิธีที่กล่าวมาแล้วนี้ ย่อมหมายถึงการทำที่พึ่งในตัวของตัวเอง (คือในจิตเดิมแท้ของผู้นั้นเอง)*31 พวกคนเขลาพากันถือสรณะ  "เครื่องส่องทางมีองค์สาม"  ทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่เขาหาเข้าใจในสิ่งนี้ไม่ ถ้าเขากล่าวว่า เขาถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้า เขาทราบหรือว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? ถ้าเขาไม่สามารถเห็นพระพุทธเจ้าได้ แล้วเขาจะสามารถถือที่พึ่งในพระองค์ได้อย่างไร?  การที่เขายืนยันเช่นนั้นมิกลายเป็นเท็จไปหรือ?

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายแต่ละคนควรจะพิจารณา และสอบสวนข้อเท็จจิรงในแง่นี้ให้แจ้งชัด  เพื่อตัวท่านเอง  และอย่างปล่อยให้กำลังกายและกำลังความคิดของท่าน  ถูกใช้ไปผิดทาง  พระสูตรได้กล่าวไว้ชัดแล้วว่า*31 เราควรจะถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าภายในตัวเราเอง  ไม่ได้กล่าวสอนไว้เลยว่าให้ถือพระพุทธเจ้าอื่นๆ นอกจากนี้เป็นที่พึ่ง ยิ่งกว่านั้นถ้าหากว่าเราไม่ถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าภายในตัวเราเองแล้ว  ก็ไม่มีที่อื่นใดอีก  ที่จะถือเอาเป็นที่พึ่งที่ต้านทานแก่เราได้เมื่อได้พิจารณาเห็นความจริงในข้อนี้  โดยกระจ่างแล้วเราทั้งหลายแต่ละคนจงถือเอาที่พึ่งใน "รัตนะทั้งสาม" ภายในตัวเราเองเถิด  ในภายในเราบังคับใจของเราเอง   ภายนอก   เรานอบน้อมต่อผู้อื่น นี่แหละ  คือวิถีทางแห่งการถือที่พึ่งภายในตัวเราเอง

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อท่านทุกคนได้ถือเอา  "เครื่องส่องทางมีองค์สาม"  นี้แล้ว  อาตมาก็จะได้กล่าวแก่ท่านทั้งหลาย  ถึงเรื่องตรีกาย (กายสามอย่าง) ของพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้ สืบไป  เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะสามารถเห็นกายทั้งสามนี้ แล้วจะเห็นแจ้งในจิตเดิมแท้อย่างชัดเจนด้วย จงตั้งใจฟังให้ดี  และว่าตามดังๆ พร้อมกันทุกคน  เหมือนที่อาตมาจะว่านำ:-




ด้วยกายเนื้อของเรานี้ 
เราขอถือที่พึ่งในธรรมกายอันบริสุทธิ์ (คือกายแก่น)
ของ พระพุทธเจ้า

ด้วยกายเนื้อของเรานี้ 
เราขอถือที่พึ่งในสัมโภคกายอันสมบูรณ์(คือการแสดงออก)
ของ พระพุทธเจ้า

ด้วยกายเนื้อของเรานี้ 
เราขอถือที่พึ่งในนิรมานกายอันมากมายตั้งหมื่นแสน(กายเปลี่ยนรูปต่างๆ)
ของ พระพุทธเจ้า



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  กายเนื้อของเรานี้  อาจเปรียบกันได้กับโรงพักแรก (คือที่อาศัยชั่วคราว)  ดังนั้นเราจึงไม่สามารถยึดเอาเป็นที่พึ่ง ในภายในจิตเดิมแท้ของเรา  เราอาจหาพบกายทั้งสามนี้ และเป็นของสาธารณะทั่วไปสำหรับทุกคน  แต่เนื่องจากใจ(ของคนธรรมดาสามัญ) ทำกิจอยู่ด้วยความรู้ผิด เขาจึงไม่ทราบถึงธรรมชาติแท้ ในภายในกายของเขา  ผลจึงเกิดมีว่า เขาไม่รู้จักตรีกาย ภายในตัวของเขาเอง (มิหนำซ้ำยังเชื่อผิดๆ อีก) ว่าตรีกายนั้นเป็นสิ่งที่ต้องแสวงหาจากภายนอก  ท่านจงตั้งใจฟังเถิด อาตมาจะแสดงให้ท่านเห็นว่าในตัวท่านเอง  ท่านจะหาพบตรีกายเป็นปรากฏการณ์  อันแสดงออกของจิตเดิมแท้  อันเป็นสิ่งที่ ไม่อาจหาพบได้ จากภายนอก


*31 พระสังฆปริณายกต้องการจะชี้ให้เห็นว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดที่เป็นรูปธรรมนั้น คนละอย่างต่างจากตัวพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  ที่เป็นลักษณะของจิตเดิมแท้  และท่านสอนสาวกของท่านให้ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างนัยหลัง จึงขัดกัน  อย่างที่จะเข้ากันไม่ได้  หรือฟังกันไม่ถูกกับพวกที่ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชนิดที่เป็นรูปธรรม และด้วยเหตุนี้เอง  ท่านจึงต้องใช้คำว่า "Formless" กำกับอยู่เสมอทุกแห่งในหัวข้อคำสอนของท่าน ผู้แปลไทย พุทธทาส

*31 พระสูตร ในที่นี้หมายถึงสูตรฝ่ายมหายาน  และโดยเฉพาะหมายถึงวัชรเฉทิกสูตรซึ่งข้าพเจ้าจะได้หาโอกาสสอบดูต่อไป พระสูตรเล่มจีน เรียก กิมกังเก็ง ผู้แปลไทย พุทธทาส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 26, 2012, 08:41:24 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 08:05:36 am »

  ในที่นี้  อะไรเล่าชื่อว่าธรรมกายอันบริสุทธิ์? จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์จริงแท้  ทุกสิ่งทุกอย่าง  เป็นเพียงอาการแสดงออกของจิตนี้กรรมดีกรรมชั่ว  เป็นเพียงผลของความคิดดีและคิดชั่วตามลำดับ  ฉะนั้น ภายในจิตเดิมแท้ สิ่งทุกสิ่ง (ย่อมบริสุทธิ์จริงแท้) เหมือนกับสีของท้องฟ้ากับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์  ซึ่งเมื่อเมฆผ่านมาบังความแจ่มนั้นดูประหนึ่งว่าถูกทำให้มัวไป  แต่เมื่อเมฆผ่านไปแล้ว  ความแจ่มกลับปรากฏอีก และสิ่งต่างๆก็ได้รับแสงที่ส่องมาเต็มที่อย่างเดิม  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  จิตชั่วของเราเปรียบเหมือนกับเมฆ  ความรู้แจ้งแทงตลอด  และปัญญาของเราเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ตามลำดับ  เมื่อเราพัวพันอยู่กับอารมณ์ภายนอก

จิตเดิมแท้ของเรา  ก็ถูกบดบังไว้ด้วยความรู้สึกที่ติดรสของอารมณ์  ซึ่งย่อมเป็นการปิดกั้นความรู้แจ้งแทงตลอด และปัญญาของเราไว้  มิให้ส่องแสงออกมาภายนอกได้ แต่เผอิญเป็นโชคดีแก่เราอย่างเพียงพอ ที่ได้พบกันกับครูผู้รอบรู้และอารีที่ได้นำธรรมะอันถูกต้องตามธรรมมาให้เราทราบ  เราจึงสามารถกำจัดอวิชชาและความรู้ผิดเสียได้  ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา  จนถึงกับเราเป็นผู้รู้แจ้งสว่างไสว  ทั้งภายในและภายนอก  และธรรมชาติแท้ของสิ่งทั้งปวง  ปรากฏ ตัวมันเองอยู่ภายในจิตเดิมแท้ของเรา  นี่แหละคือสิ่งซึ่งบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ได้เผชิญหน้ากันกับจิตเดิมแท้  และนี่แหละ  คือสิ่งซึ่งเรียกว่า  ธรรมกายอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  การถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าที่จริงแท้นั้น ก็คือการถือที่พึ่งในจิตเดิมแท้  ของเราเอง ผู้ที่ถือที่พึ่งเช่นนี้ ย่อมจะพรากสิ่งต่อไปนี้ออกเสียจากจิตเดิมแท้ ของตน คือจิตชั่วต่ำ จิตริษยา จิตสอพลอ คดๆ งอๆ ความยึดถือตัว ความคดโกงและมดเท็จ  ความดูถูก ดูแคลน ความโอหัง ความเห็นผิด  ความเย่อหยิ่งจองหอง  และความต่ำทรามอื่นๆ อันจะมีเกิดขึ้นใจจิตไม่ว่าในเวลาใดๆ  การถือที่พึ่งในตัวเราเองนั้น  คือการระวังระไวอยู่ตลอดเวลาในการที่จะไม่ทำชั่วทำผิด  และงดขาดจากการวิพากษ์วิจารณ์ความดี  หรือความผิดของบุคคลอื่น  ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตัวอยู่เสมอทุกโอกาส มีอัธยาศัยสุภาพต่อคนทุกๆคน ย่อมเป็นผู้ที่ได้เห็นจิตเดิมแท้ของเขาอย่างทั่วถึงแล้ว ทั่วถึงจริงๆ  จนถึงกับหนทางข้างหน้าของเขาจะปราศจากอุปสรรคทุกประการ  นี่แหละคือวิถีทางที่จะทำที่พึ่ง ในตนเอง

                       

        อะไรเล่า  ชื่อว่าสัมโภคกายอันสมบูรณ์  ในที่นี้ขอให้เรานึกถึงตะเกียงเป็นภาพเปรียบ  แม้แต่แสงตะเกียงเพียงดวงเดียว ก็ยังสามารถทำลายความมืด ที่มืดมานับพันๆปีได้ ฉะนั้น ประกายแห่งปัญญาย่อมสามารถทำลายอวิชชาที่มืดมาเป็นยุคๆ ได้เช่นกัน  เราไม่ต้องวิตกกังวลถึงอดีต  เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ล่วงพ้นมาแล้ว  และไม่สามารถเอากลับคืนมาได้ สิ่งที่ต้องการความสนใจจากเราคืออนาคต ฉะนั้น จงให้ความคิดของเราเป็นสิ่งที่กระจ่าง และกลมกล่อมอยู่ทุกขณะจิตเถิด  และให้เห็นอย่างเผชิญหน้าอยู่กับจิตเดิมแท้ทุกเมื่อเถิด  ความดีกับความชั่วเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามต่อกันและกันอยู่ก็จริง แต่ว่าตัวเนื้อแท้ส่วนลึกของมันนั้น ไม่สามารถจะแยกออกเป็นสองฝ่าย*32 ธรรมชาติชั้นที่เราไม่สามารถแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายนี่เอง  คือตัวธรรมชาติแท้ (กล่าวคือความจริงแท้อันเด็ดขาด) ซึ่งไม่สามารถถูกทำให้เปื้อนด้วยความชั่ว หรือวิปริตไปอย่างใดอย่างหนึ่ง  ด้วยอำนาจของความดี นี่แหละคือสิ่งซึ่งเรียกว่า สัมโภคกายของพระพุทธเจ้า



*32 ข้อความวรรคนี้  คงจะเข้าใจยากยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นกับธรรมประเภทนี้  ว่ามีความดีกับความชั่ว  เป็นของที่เห็นชัดว่าผิดตรงข้าม  แต่ส่วนเนื้อแท้ส่วนลึกของมันเป็นอันเดียวกัน ไม่สามารถแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายนั้น  คือว่า ปรากฏการณ์ข้างนอกของความดีความชั่ว  หรือผลอันจะเกิดจากความดีความชั่วแก่เรา  หรือลักษณะอื่นๆ ก็ตามล้วนแต่ตรงกันข้าม จนคนทั่วไปเรียกว่าเป็นของคู่  คือคนละอย่างตรงกันข้าม แต่เมื่อปัญญาแทงตลอดลงไปถึงตัวจริงส่วนลึก(Quintessence)ของมันแล้ว  การกลับปรากฏไปเสียว่ามาจากตัณหาด้วยกัน  เป็นสังขารด้วยกัน  อวิชชาปรุงแต่งขึ้นด้วยกัน ไม่อาจแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายในขั้นนี้ซึ่งเป็นขั้นรากเง้าของมัน  ใครเห็นชัดความจริงในส่วนนี้ ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้าแห่งจิตเดิมแท้  ในส่วนสัมโภคกายของพระองค์ คำว่า Quintessence นั้น ตามตัวอักษรแปลว่า  อายตนะที่ห้า  หรือมูลธาตุที่ห้า ดิน น้ำ ลม ไฟ คือสี่ธาตุ ธาตุที่ห้า คือใจ  เมื่อใช้กับวัตถุ หมายถึงส่วนที่เป็นตัวแท้ของมัน  ที่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ข้างนอก  ในที่นี้ใช้กับความดี ความชั่ว คำนี้จึงหมายถึง "ตัวแท้ชั้นในหรือชั้นลึก"ของสิ่งนี้ ผู้แปลไทย พุทธทาส