ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล  (อ่าน 60003 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:02:55 am »



มหาปรินิพพานอันสูงสุดนั้น

เป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยม  ถาวร  สงบ  และรุ่งเรืองสว่างไสว

คนสามัญและคนเขลา  หลงเรียกนิพพานนั้นว่าความตาย

ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิก็ถือเอาตามชอบใจว่า นิพพานนั้น เป็นความขาดสูญ

พวกที่เป็นฝ่ายสาวกยาน  และปัจเจกพุทธยาน

เห็นพระนิพพานว่าเป็นสิ่งที่  "ไม่มีการกระทำ"

ทั้งหมดนี้  เป็นเพียงการคำนวนเอาด้วยสติปัญญาของคนสามัญ

และย่อมจะสร้างรากฐาน  แห่งมิจฉาทิฏฐิ  62 ประการขึ้นมา.

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงชื่อต่างๆ ที่คิดเดาเอาเอง ประดิษฐ์ขึ้นเอง

ในขณะที่เขาไม่รู้จะทำอย่างไรต่อสัจจธรรมอันสูงสุดนั้น

เฉพาะพวกที่มีใจสูงเหนือสิ่งทั้งหลายเท่านั้น

ที่อาจจะเข้าใจได้ถูกต้องว่า  นิพพานนั้นคืออะไรกันแน่.และวางตนไว้ 

ในลักษณะที่เข้าพัวพันด้วยก็ไม่ใช่ เฉยเมยก็มิใช่ทั้งสองอย่าง*50


*50 ข้อนี้ท่านดิปิเซ่ ให้อรรถธิบายไว้ว่า เมื่อคนสามัญหลงอยู่ในวังวนของการเวียนเกิด  เวียนตาย, พวกสาวกและพวกปัจเจกพุทธะ  แสดงทีท่าเกลียดชัง อาการอันนี้. ทำเช่นนี้ไม่ถูกทั้งสองพวก ผู้ดำเนินไปในมรรคปฏิปทา  ย่อมไม่ติดใจ  ในการเกิดเป็นสัตว์เพื่อเสวยอารมณ์  แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการจงเกลียดจงชังอะไรแก่สิ่งนี้.  เพราะความถือว่ "ตัวตน" หรือว่า "สัตว์บุคคล" ย่อมไม่มีแก่ผู้นี้ และเพราะว่า ท่านผู้นี้เสียสละได้ทั้งท่าทีแห่งการอยากได้ 

และท่าทีแห่งการเฉยเมยต่อสิ่งทั้งปวง. วิมุติ จึงอยู่ในกำมือของท่านตลอดเวลา,  และท่านอยู่เป็นผาสุขได้ในทุกๆ สถานการณ์ที่แวดล้อม. ท่านอาจผ่านไปในกระแสของการเกิดตาย แต่กระแสนั้น ไม่อาจพัวพันท่าน และสำหรับท่าน ปัญหาเรื่องเกิดตายไม่เป็นปัญหาอะไรเลย.  คนชนิดนี้แหละที่ควรเรียกว่ามีใจสูงเหนือสิ่งทั้งปวง (ได้พบพระนิพพานแล้ว)  ดิปิงเซ่ ผุ้บรรยายจีน

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:04:08 am »

Volcanic Lightning
ภูเขาไฟ Pinatubo ในประเทศฟิลิปปินส์ ระเบิด ในปี 1991

ท่านเหล่านั้น  ย่อมรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้า

และสิ่งที่เรียกกันว่า  "ตัวตน"  อันเกิดขึ้นจากการประชุมพร้อมของขันธ์ทั้งห้านั้น

รวมทั้งวัตถุและรูปธรรมภายนอกทุกชนิด

และทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ของศัพท์และสำเนียง

ล้วนแต่ของเทียม  ดั่งเช่นความฝันและภาพมายา เสมอกันหมด

ท่านเหล่านั้นไม่เห็นว่ามีอะไรแตกต่างกัน  ระหว่างพระมุนีกับคนธรรมดา

หรือจะมีความคิดเดาเอาเอง ในเรื่องนิพพาน  ก็หาไม่.





ท่านเหล่านี้  ย่อมอยู่เหนือ "การรับ"  และ  "การปฏิเสธ"

และท่านเหล่านี้  ทำลายเครื่องกีดขวาง ทั้งที่เป็นอดีต  ปัจจุบัน และอนาคต

ท่านเหล่านี้ ย่อมใช้อวัยวะเครื่องทำความรู้สึก  ของท่านในเมื่อมีเรื่องต้องใช้

แต่ว่าความรู้สึกยึดถือใน  "การใช้" นั้น มิได้เกิดขึ้นเลย



ท่านเหล่านั้น อาจระบุเจาะจงสิ่งต่างๆ ได้ทุกชนิด.

แต่ว่าความรู้สึกยึดถือใน "การระบุเจาะจง" นั้น มิได้เกิดขึ้นเลย

ขณะที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ในที่สุดของกัลป์, เมื่อท้องมหาสมุทรแห้งไป

หรือขณะที่ลมมหาประลัยพัดทำลายโลก  จนภูเขาล้มชนกันระเกะระกะ

ศานติสุขอันแท้จริงและยั่งยืน ของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์"

และความสุดสิ้นของความเปลี่ยนแปลง"แห่งนิพพาน, ย่อมยังคงอยู่ในสภาพเดิม

ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย.



นี่ฉันได้พยายามอธิบายแก่ท่าน ถึงสิ่งบางสิ่ง ที่เหลือที่จะพูดออกมาได้

เพื่อให้ท่านสามารถกำจัดความเห็นผิดของท่านเสีย.

แต่ถ้าท่านไม่ตีความแห่งคำพูดของฉันให้ตรง ตามความหมายแล้ว

ท่านอาจเรียนรู้ความหมายของนิพพาน  แต่เพียงกะจิริด นิดหนึ่งเท่านั้น
 

       เมื่อได้ฟังโศลกนี้แล้ว  ภิกษุ ฉิต่าว  ได้มีความสว่างไสวในธรรมอย่างสูง เธอรับฟังคำสอน
ด้วยใจอันปราโมทย์ และลาจากไป

***********
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2010, 04:03:23 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:06:18 am »


ภิกษุ ฮังฉิ อาจารย์องค์หนึ่งในนิกายธยานนี้ เกิดที่อันเซ้งแห่งกัตเจา ในตระกูลหลิว.  เมื่อได้ยินข่าวเล่าลือว่า  คำสอนของพระสังฆปริณายก ได้ทำให้คนจำนวนมากมีความสว่างไสวในธรรม  ท่านจึงได้ตรงมายังตำบลโซกายทันที  เมื่อทำความเคารพแล้ว  ได้ตั้งคำถามขึ้นว่า  "ผู้ปฏิบัติควรส่งจิตของตนพุ่งไปยังสิ่งใด  อันจะทำให้การบรรลุธรรมของเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดได้ด้วย  "เครื่องวัดคุณวิเศษ" ตามที่คนทั่วไปเขารู้กัน?"

        พระสังฆปริณายกถามว่า  ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า?

        ภิกษุ ฮังฉิ ตอบว่า แม้ธรรมคืออริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุกๆองค์สอนไว้  ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเข้าไปแตะต้องด้วย

        พระสังฆปริณายกถามต่อไปว่า แล้วก็เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน "ชั้นแห่งคุณวิเศษ" ชั้นไหนเล่า?

        ภิกษุ ฮังฉิ ย้อนว่า จะมี "ชั้นคุณวิเศษ" อะไรที่ไหนเล่า ในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เข้าเกี่ยวข้องด้วย  แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้?


        การตอบโต้อย่างทันควันของภิกษุฮังฉิ ได้ทำให้พระสังฆปริณายกเกิดความนับถือ
ถึงกับยกเธอขึ้นเป็นหัวหน้าคณะ.

        วันหนึ่ง พระสังฆปริณายกได้กล่าวแก่ท่านผู้นี้  ว่าท่านควรจะไปประกาศธรรม
ในท้องถิ่นของท่านเอง

 เพื่อว่าคำสอนจะไม่ลับหายสิ้นสุดไป  เพราะเหตุนั้น ภิกษุฮังฉิ ได้กลับไปภูเขาชิงอัน อันเป็นภูมิลำเนาของเท่าน.

 พระธรรม (แห่งนิกายนี้) ถูกมอบหมายทอดช่วงไปยังท่าน.

ท่านได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง และเป็นการทำให้คำสอนแห่งครูอาจารย์ของท่านลงรากอย่างมั่นคง

เพราะเหตุนั้น  เมื่อท่านมรณภาพแล้ว เขาพากันยกสมัญญาให้แก่ท่านว่า

"ฮุงไซ่ ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกายธยาน"

**********
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 31, 2010, 04:13:49 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #63 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:19:50 am »

ภิกษุ เว่ยยาง  อาจารย์ในนิกายธยานอีกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลเต๋า ในกิมเจา เมื่อไปเยี่ยมท่านเว่ยออนแห่งภูเขาซุงซาน   ซึ่งเป็น "อาจารย์ประจำเมือง"  ได้ถูกท่านผู้นี้บังคับให้มายังตำบลโซกาย  เพื่อสนทนากับพระสังฆปริณายก

        ครั้นมาถึง และได้ทำความเคารพตามธรรมเนียมแล้ว ก็ถูกพระสังฆปริณายก ถามว่า มาจากไหน 
ตอบว่า  มาจากซุงซาน

        ถามว่า  สิ่งที่มานั้นเป็นอะไร มาได้อย่างไร         
 ตอบว่า  จะว่ามันเหมือนกับอะไร ก็เป็นการผิดทั้งนั้น

        ถามว่า  เป็นสิ่งที่ลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตนหรือ     
 ตอบว่า  มิใช่เป็นการสุดวิสัยที่จะลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตน  แต่ว่าเป็นการสุดวิสัยจริงๆ ที่จะทำสิ่งนี้ไห้เศร้าหมองมีมลทิน

        เมี่อได้ฟังดังนั้น  พระสังฆปริณายกได้เปล่งเสียงขึ้นดังๆว่า มันได้แก่สิ่งที่ไม่รู้จักเศร้าหมองนี้จริงๆ ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เอาพระทัยใส่ ถึงท่านก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน ถึงแม้ข้าพเจ้าก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน พระสังฆปริณายกชื่อ  ปรัชญาตาระ แห่งอินเดีย ได้ทำนายไว้ว่า ลูกม้า*51ตัวหนึ่งจะออกมาจากใต้ฝ่าเท้าของท่าน และจะกระโจนเหยียบย่ำมหาชนไปทั่วโลก  ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องพยากรณ์ความข้อนี้เร็วเกินไป  เพราะว่าคำพยากรณ์นั้น ท่านหาดูได้ในใจของท่าน

        ภิกษุ เว่ยยาง  มีความเข้าใจปรุโปร่งในคำพูดของพระสังฆปริณายก ได้เข้าใจซึมทราบแจ่มแจ้งว่าพระสังฆปริณายกพูดหมายถึงอะไร  ตั้งแต่วันนั้นมา ได้เป็นศิษย์ติดสอยห้อยตามพระสังฆปริณายกอยู่เป็นเวลา 15 ปี มีความรู้ในทางพระพุทธศาสนาลึกซึ้งยิ่งขึ้นๆ ทุกๆวัน  ต่อมาได้ตั้งสำนักขึ้นที่เฮ็งชาน ทำการเผยแพร่คำสอนของพระสังฆปริณายกออกไปอย่างกว้างขวาง  เมื่อถึงมรณภาพแล้ว  ทางการแห่งราชสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ์


ได้ถวายสมัญญาแก่ท่านว่า "ไถ่ไหว่ ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกายธยาน"





**********



*51ข้อนี้หมายถึงศิษย์อันมีชื่อเสียงของภิกษุเว่ยยาง ที่ชื่อว่า "ม้า โซ่"
อันเป็นผู้ที่ได้แผ่คำสอนของนิกายธยานไปจนทั่วประเทศจีน ผู้คัดลอกจีนว่องมูล่ำ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:21:46 am »



อาจารย์นิกายธยาน  ชื่อ หยวนกว็อก แห่งวิงกา  เกิดในตระกูลไต๋  ในเว็นเจา  เมื่อยังหนุ่มได้ศึกษาในสูตรและศาสตร์เป็นอันมาก เป็นผู้แตกฉาน ในหลักสมถะ  และวิปัสสนาแห่งนิกายเท็นดาย  โดยที่ได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร  ท่านได้ทราบถึงข้อลี้ลับ  แห่งใจของท่านเองอย่างปรุโปร่ง

        มีภิกษุรูปหนึ่ง มีนามว่า อันแช็ก เป็นศิษย์ของพระสังฆปริณายกเผอิญได้ไปเยี่ยมนมัสการท่านอาจารย์ผู้นั้น เมื่อได้มีธรรมสากัจฉากันเป็นเวลานานแล้ว ภิกษุอันแช็กได้สังเกตเห็นว่า  ถ้อยคำของคู่สนทนานั้นลงกันได้ดีกับคำสอนต่างๆ ของพระสังฆปริณายก  จึงถามขึ้นว่า "ผมใคร่จะทราบนามอาจารย์ของท่าน ซึ่งได้สั่งสอนธรรมให้แก่ท่าน"

        หยวนกว็อกได้ตอบว่า  ผมมีอาจารย์มากมายที่สอนผม ในขณะที่ผมศึกษาสูตรและศาสตร์ต่างๆ แห่งสำนักไวปูลยะ, แต่หลังจากนั้นมาเป็นเพราะได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร  ผมจึงมองเห็นแจ่มแจ้งถึงความสำคัญของนิกายพุทธจิตตะ (คือนิกายธยาน)  แล้วในตอนนี้  ผมยังไม่มีอาจารย์คนใดที่จะพิสูจน์และยืนยันความรู้ของผม

        ภิกษุอันแช็กกล่าวขึ้นว่า ถ้าในยุคก่อนหน้าพระภิสมครรชิตศวร พระพุทธเจ้าองค์แรก ก็พอจะเป็นไปได้  ที่ใครๆจะรู้ธรรมได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับอาจารย์  แต่หลังจากนั้นมาแล้ว  ผู้ที่บรรลุธรรมโดยไม่อาศัยความช่วยเหลือและยืนยันของอาจารย์คนใดคนหนึ่งแล้ว (ดูเหมือนจะ) ใช้ไม่ได้เป็นธรรมดา

        หยวนกว็อกได้ถามว่า ถ้าดังนั้นท่านช่วยเป็นผู้พิสูจน์การรู้ธรรมของผมได้ไหมเล่า?

        ภิกษุอันแช็กตอบว่า  คำพูดของผมไม่มีน้ำหนัก  ที่ตำบลโซกาย มีพระสังฆปริณายกองค์ที่หก อยู่ที่นั่น  คนจำนวนมากมาหาท่านจากทิศต่างๆ ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน คือเพื่อรับเอาธรรม ถ้าท่านใคร่จะไปที่นั่น ผมยินดีที่จะไปเป็นเพื่อน

        ในเวลาอันสมควร  ภิกษุทั้งสองก็ได้ไปถึงโซกาย  และพบปะกับพระสังฆปริณายก  สำหรับท่านหยวนกว็อกนั้น  เมื่อได้เดินเวียนรอบๆ พระสังฆปริณายกสามครั้งแล้ว ก็หยุดยืนถือไม้เท้านิ่งอยู่ (ปราศจากการแสดงความเคารพแต่อย่างใด)

        พระสังฆปริณายกเห็นเช่นนั้น  จึงกล่าวขึ้นว่า  ก็ภิกษุย่อมเป็นที่เกาะอาศัยของศีลสิกขาบทสามพันข้อ  และสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ อีกแปดพันข้อ  ผมสงสัยเหลือเกินว่าท่านมาจากสำนักไหน และมีอะไรที่ทำให้ท่านถือตัวถึงเพียงนี้

        ท่านหยวนกว็อกได้ตอบว่า  ปัญหาเกี่ยวกับการเวียนเกิดไม่รู้สิ้นสุด เป็นปัญหาด่วนจี๋ และความตายอาจจู่มาถึงขณะจิตใดก็ได้ (ผมจึงไม่มีเวลามากพอที่จะเสียไปในการทำพิธีรีตองเช่นนั้น)

        พระสังฆปริณายกถามไปว่า  แล้วทำไมท่านไม่ทำความแจ่มแจ้งในหลักธรรมเรื่อง  "ความไม่เกิด" และแก้ไขความยุ่งยากแห่งความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตให้หมดไปด้วยธรรมนั้นเล่า?

        ท่านหยวนกว็อกเสนอว่า  การเห็นแจ้งจิตเดิมแท้เป็นการทำตนให้เป็นอิสระจากการเวียนเกิด จัดการกับปัญหาข้อนี้ให้ลุล่วงไปเพียงข้อเดียว ปัญหาเรื่องความไม่เที่ยง ก็จะไม่มีเหลืออีกต่อไป

        พระสังฆณายกได้ตอบรับว่า ถูกแล้ว ถูกแล้ว




        ในตอนนี้ หยวนกว็อกได้ยอมทำความเคารพอย่างเต็มที่ตามธรรมเนียม  ไม่กี่อึดใจก็กล่าวคำอำลาพระสังฆปริณายก

        พะรสังฆปริณายกถามว่า  ท่านกำลังจะกลับเร็วเกินไปเสียแล้ว ใช่ไหมล่ะ?

        หยวนกว็อกย้อนว่า  "ความเร็ว" จะมีได้อย่างไรกัน  ในเมื่อความเคลื่อนไหวเอง ก็มิได้มีเสียแล้ว

        ย้อนกลับไปว่า ใครเล่า ที่จะรู้ว่าการเคลื่อนไหวก็มิได้มี?

        สวนมาว่า  ท่านขอรับ กระผมหวังว่าท่านจะไม่ชี้ระบุตัวตนอะไรที่ไหน

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวสรรเสริญท่านหยวนกว็อกว่า  สามารถมีความเข้าใจในเรื่อง "ความไม่เกิด" (คือพระนิพพาน) ได้อย่างกว้างขวางปรุโปร่ง  แต่ท่านหยวนกว็อกได้ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาอีกว่า ก็ใน "ความไม่เกิด" นั้น มี "ความเข้าใจ" อยู่ด้วยหรือ?

        พระสังฆปริณายกย้อนตอบไปว่า ไม่มี "ความเข้าใจ"แล้ว ใครเล่าที่สามารถชี้ระบุตัวตน?

        ท่านหยวนกว็อกตอบว่า สิ่งที่ชี้ระบุตัวตนนั้น หาใช่ "ความเข้าใจ" ไม่

        พระสังฆปริณายกร้องขึ้นว่า สาธุ แล้วได้ขอร้องให้ท่านหยวนกว็องยับยั้งการกลับไว้ก่อน  และค้างคืนด้วยกันสักคืนหนึ่ง เพราะเหตุนี้เอง ท่านหยวนกว็อก.จึงเป็นผู้ที่พวกเพื่อนๆ ในสมัยเดียวกันขนานนามว่า "ผู้รู้ ซึ่งเคยค้างคืนกับพระสังฆปริณายก"

        ต่อมาภายหลัง ท่านหยวนกว็อกได้ประพันธ์วรรณกรรมอันมีชื่อเสียงเรื่อง "บทขับเกี่ยวกับการบรรลุทางฝ่ายใจ"  ซึ่งแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง เมื่อมรณภาพแล้ว ท่านได้รับสมัญญาว่า  "ปรมาจารย์ วู่เช็ง (ซึ่งแปลว่าผู้อยู่เหนือสิ่งต่างๆ ในโลก) พวกเพื่อนๆสมัยเดียวกันกับท่าน พากันเรียกท่านอีกว่า  ธยานาจารย์ ชุนกว็อก (ซึ่งแปลว่า ท่านที่รู้จริงๆ)


************

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2011, 06:50:17 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #65 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:23:45 am »



ภิกษุ จิหว่าง เป็นนักศึกษาผู้หนึ่งในนิกายธยาน  หลังจากได้สอบถามพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า (เกี่ยวกับการก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของตน)  แล้วก็เข้าใจเอาเองว่าตนได้บรรลุสมาธิ  ดังนั้น ท่านผู้นี้จึงเก็บตัวอยู่ในวิหารเล็กๆ แห่งหนึ่ง  เป็นเวลาถึงยี่สิบปี และเฝ้าแต่นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลา

        มีศิษย์ของพระสังฆปริณายกองค์ที่หกผู้หนึ่งชื่อ ภิกษุอันแช็ก จาริกไปทางฝั่งเหนือของแม่น้ำฮวงโห  ได้ยินเรื่องราวของท่านผู้นี้ จึงเข้าไปเยี่ยมถึงที่วัดนั้น

        ภิกษุอันแช็กได้ถามว่า "ท่านทำอะไรอยู่ที่นี่"
        ภิกษุจิหว่างได้ตอบว่า "ข้าพเจ้ากำลังเข้าสมาธิอยู่"

        ภิกษุอันแช็กกล่าวขึ้นว่า "ท่านว่าท่านกำลังเข้าสมาธิอยู่อย่างนั้นหรือ? ข้าพเจ้าอยากทราบว่า ท่านทำสมาธิอยู่ด้วยความรู้สึก  หรือว่าปราศจากความรู้สึก เพราะว่าถ้าท่านทำสมาธิอยู่  โดยไม่มีความรู้สึก มันก็หมายความว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งปวง เช่น เครื่องกระเบื้อง, ก้อนหิน, ต้นไม้, และผักหญ้าทั้งหลาย ก็ลุถึงสมาธิได้เหมือนกัน. หรือไม่อย่างนั้น ถ้าท่านทำสมาธิอยู่โดยมีความรู้สึก, แล้วตัวสัตว์ที่มีชีวิตหรือมนุษย์ก็ตาม ทั้งหมดนั้น ก็จะพลอยเป็นผู้อยู่ในสมาธิไปด้วยทั้งสิ้น."




ภิกษุจิหว่างได้กล่าวขึ้นว่า  "เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในสมาธินั้น ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเลยว่า 
มีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึก"

ภิกษุอันแช็กจึงพูดว่า  "ถ้าเอาอย่างที่ท่านว่า มันต้องเป็นความสงบตลอดกาล,
ซึ่งในภาวะเช่นนั้นไม่มีทั้งการเข้าอยู่และการออกมา.อาการที่ท่านยังเข้าๆ ออกๆ ได้อยู่นั้น
ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเยี่ยม"

ภิกษุจิหว่างรู้สึกงง หลังจากที่นิ่งอึ้งไปขณะหนึ่ง, แล้วท่านจึงได้ถามขึ้นว่า
"ข้าพเจ้าขอทราบว่าใครเป็นอาจารย์ของท่าน"
ภิกษุอันแช็กตอบว่า "อาจารย์ของข้าพเจ้า คือพระสังฆปริณายกองค์ที่หกแห่งโซกาย"

ภิกษุจิหว่างถามต่อไปว่า "อาจารย์ของท่าน ได้กล่าวสรูปความในเรื่องธยาน และ สมาธิ ไว้อย่างไรเล่า"
ภิกษุอันแช็กกล่าวตอบว่า  "คำสอนของอาจารย์มีว่า ธรรมกายเป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยมและสงบ.

ตัวแท้และการทำหน้าที่ของธรรมกาย ย่อมอยู่ในภาวะแห่ง "ความคงที่เสมอ" 
ขันธ์ทั้งห้า เป็นของว่างโดยแท้จริง  และอายตนะภายนอกทั้งหก เป็นของไม่มีอยู่

ในสมาธิไม่มีทั้งการเข้า และไม่มีทั้งการออก ไม่มีทั้งความเงียบ และไม่มีทั้งความวุ่นวาย.
ธรรมชาติของธยานไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่ ดังนั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2011, 09:10:26 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #66 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:30:58 am »
 

เราควรจะขึ้นไปให้เหนือภาวะแห่ง "การเข้าอยู่ในความสงบแห่งธยาน"
ธรรมชาติของธยานนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้,

ดังนั้น เราควรจะขึ้นไปให้เหนือความคิดแห่ง "การสร้างภาวะของธยาน"
ภาวะของจิตนั้นเอาจเปรียบได้กับอวกาศ, แต่มันเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด,

ดังนั้น จิตจึงมีอยู่โดยปราศจากการจำกัดเขตของอวกาศ.


        เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุจิหว่างจึงออกเดินทางไปยังโซกาย เพื่อไต่ถามพระสังฆปริณายก
เมื่อสังฆปริณายกถามว่า มาแต่ไหนแล้ว, ภิกษุจิหว่าง ก็ได้เล่าเรื่องราวที่ตนได้สนทนากับภิกษุอันแช็ก
ให้พระสังฆปริณายกฟังโดยละเอียด

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวว่า ข้อความที่อันแช็กพูดนั้น ถูกต้องทีเดียว.

จงทำใจของท่าน ให้อยู่ในสภาพเหมือนกับความว่างอันหาขอบเขตไม่ได้,
แต่อย่าให้มันเข้าไปติดในทิฏฐิว่า "ดับสูญ" จงให้ใจทำหน้าที่ของมันอย่างอิสระ.

ไม่ว่าท่านจะกำลังทำงานหรือหยุดพัก จงอย่างให้ใจของท่านเกาะเกี่ยวในสิ่งใด. 
จงอย่าไปรู้สึกว่า มีความแตกต่างระหว่างอริยบุคคล กับบุคคลธรรมดา

อย่าไปคิดว่ามีความแตกต่างระหว่าตัวผู้กระทำ กับสิ่งที่ถูกกระทำ.
จงปล่อยจิตเดิมแท้และสิ่งทั้งปวง ไว้ในสภาพแห่ง "ความเป็นเช่นนั้น"*52

แล้วท่านก็จะอยู่ในสมาธิตลอดเวลา


เมื่อได้ฟังดังนั้น จิหว่างก็มีความสว่างไสวในใจถึงที่สุด ความคิดที่ว่าตนได้บรรลุสมาธิมาแล้วตั้งยี่สิบปีแล้วนั้น
บัดนี้ ได้สูญสิ้นไป. ในคืนวันนั้นเองพวกชาวบ้านโฮเป่ย (ทางฝั่งเหนือของแม่น้ำเหลือง)

ได้ยินเสียงอัศจรรย์ในท้องฟ้า ซึ่งแสดงว่าท่านอาจารย์จิหว่างแห่งนิกายธยาน ได้รู้ธรรมในวันนั้น

        ต่อมาอีกไม่นาน ภิกษุจิหว่างได้อำลาพระสังฆปริณายกกลับไปโฮเป่ย อันเป็นที่
ซึ่งท่านได้สั่งสอนมหาชนหญิงชาย เป็นจำนวนมากทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์สืบมา





*52 "ความเป็นเช่นนั้น" หรือ "ตถตา" นั้น คือความที่ถ้าเป็นสังขาร ก็ปรุงแต่งหรือเกิดดับกันไป
ถ้าเป็นวิสังขาร ก็ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีการเกิดดับ ผู้แปลไทย พุทธทาส

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #67 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:32:15 am »




ครั้งหนึ่ง มี ภิกษุองค์หนึ่ง ถามพระสังฆปริณายกว่า
บุคคลประเภทไหนที่สามารถรับเอาใจความสำคัญของคำสอน แห่งว่องมุ่ย
คือ พระสังฆปริณายกที่ห้าได้

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า "ผู้ที่สามารถเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้า
นั่นแหละ คือผู้ที่จะสามารถรับเอาได้

        ภิกษุนั้นถามอีกว่า  "ก็ใต้เท้าเล่า ได้รับแล้วหรือเปล่า?"

        ท่านได้ตอบว่า "ฉันไม่รู้ (สึกว่ามี) ธรรมะของพระพุทธเจ้าเลย"

**********



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2011, 09:11:01 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #68 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:36:48 am »

วันหนึ่ง พระสังฆปริณายกต้องการจะซักจีวร ที่ได้รับมอบเป็นมรดกตกทอดมานั้น แต่ท่านไม่สามารถหาลำธารที่เหมาะๆ ได้ในที่นั้น ดังนั้น ท่านจึงได้เดินไปยังที่แห่งหนึ่ง ทางหลังวัดประมาณห้าไมล์, ที่นั่น ท่านได้สังเกตเห็นว่า  ผักหญ้า และต้นไม้งอกงามหนาแน่น และสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นที่อันเหมาะสม. ท่านได้สั่นไม้เท้าประจำตัวของท่าน (ซึ่งทำให้เกิดเสียงดัง  กริ่ง กริ่ง เพราะมีลูกพรวนจำนวนหนึ่งผูกอยู่ที่ด้ามไม้เท้านั้น) แล้วปักมันลงที่แผ่นดิน. ทันใดนั้น ก็มีน้ำพุ่งขึ้นมา ไม่นานก็กลายเป็นสระน้ำ

        ขณะที่ท่านคุกเข่าลงบนก้อนหิน เพื่อจะซักจีวร, ในทันใดนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมาปรากฏขึ้นตรงหน้าของท่าน  และทำความเคารพท่าน.



        ภิกษุองค์นั้นได้กล่าวว่า "กระผมชื่อ ฟองปิน เป็นชาวเสฉวน เมื่อครั้งกระผมอยู่ที่ประเทศอินเดียตอนใต้, กระผมได้พบ พระสังฆปริณายกโพธิธรรม, ท่านได้แนะนำให้กระผมกลับมายังประเทศจีน. ท่านได้บอกแก่กระผมว่า  "ธรรมหฤทัยอันถูกต้อง พร้อมทั้งจีวรบาตร (อันเป็นเครื่องหมายแห่งนิกายธยาน) อันเราได้รับมอบต่อๆลงมาจากพระมหากัสสปะเถระนั้น บัดนี้ ได้ตกทอดไปถึงพระสังฆปริณายกองค์ที่หก ซึ่งบัดนี้อยู่ที่ตำบลโซกาย แห่งชิวเจา. ท่านจงไปที่นั่นเพื่อจะได้ดูสิ่งเหล่านั้น และได้ถวายความเคารพแก่พระสังฆปริณายกองค์นั้น" กระผมเดินทางเป็นเวลานานจนมาถึงที่นี่ ขอให้กระผมได้เห็นจีวรและบาตรที่ใต้เท้าได้รับมอบเป็นทอดๆ ลงมานั้นเถิด?"

        เมื่อได้ให้ดูเจดีย์วัตถุทั้งสองอย่างนั้นแล้ว พระสังฆปริณายกได้ถามภิกษุฟองปินว่า เขามีความเชี่ยวชาญในงานชนิดไหนบ้าง. ภิกษุฟองปินได้ตอบว่า "กระผมถนัดมือในทางงานแกะสลัก ขอรับ" พระสังฆปริณายก ได้ระบุความต้องการของท่านออกไปว่า "ถ้าอย่างนั้น จงทำอะไรให้ฉันดูสักอย่างหนึ่ง"

        ภิกษุฟองปินรู้สึกหัวหมุนในขณะนั้น แต่ต่อมา 2-3 วัน ท่านก็สามารถและสลักรูปพระสังฆปริณายกอย่างประณีต เหมือนกับมีชีวิตอยู่จริงๆ ขึ้นได้สำเร็จรูปหนึ่ง สูงประมาณเจ็ดนิ้ว เป็นงานชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของการแกะสลัก



        เมื่อได้เห็นรูปสลักรูปนั้น พระสังฆปริณายกได้หัวเราะ และกล่าวแก่ฟองปินว่า "เธอมีความรู้เชี่ยวชาญในด้านหนึ่งของวิชาการแกะสลักจริงๆ แต่ดูเหมือนว่า เธอไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวอันลึกซึ้งของพระพุทธเจ้าเสียเลย" แล้วพระสังฆปริณายกได้เอื้อมมือไปลูบศีรษะของภิกษุฟองปิน (เป็นวิธีให้พรตามแบบของพุทธบริษัท) และได้ประกาศขึ้นว่า "เธอจงเป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ตลอดกาลนานเป็นนิจเถิด"

        นอกไปจากนั้น พระสังฆปริณายกได้ตอบแทนงานชิ้นของภิกษุฟองปินนั้น ด้วยการมอบจีวรผืนหนึ่งเป็นรางวัล ซึ่งภิกษุฟองปินได้ตัดแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งได้ตบแต่งรูปสลักนั้น, ส่วนหนึ่งสำหรับใช้เอง และอีกส่วนหนึ่งท่านได้ห่อมันด้วยใบลาน แล้วฝังลงในดิน. ขณะที่ทำการฝังลงไป ท่านได้ประกาศคำอธิษฐานออกมาว่า เมื่อใดผ้านี้ถูกขุดขึ้น  เมื่อนั้นขอให้ท่านได้เกิดใหม่ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น และให้ได้รับภาระซ่อมแซมพระเจดีย์และโบสถ์วิหารทั้งปวง


****************



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระสูตรเว่ยหล่าง พุทธทาสภิกขุ แปล
« ตอบกลับ #69 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2010, 04:38:22 am »


 

ภิกษุรูปหนึ่งนำโศลกซึ่งแต่งขึ้น  โดยธยานาจารย์รูปหนึ่ง ชื่อ ออหลุน
มาท่องบ่นอยู่ว่า:-

 ออหลุน มีวิธีและเครื่องมือ
ที่จะกั้นจิตเสียจาก ความนึกคิดทั้งปวง

เมื่ออารมณ์ต่างๆ มิได้กลุ้มรุมจิต
ต้นโพธิ(เครื่องหมายแห่งปัญญา) ก็จะงอกงามอย่างเป็นล่ำสัน

        พระสังฆปริณายก ได้ยินโศลกนี้ จึงพูดว่า "โศลกนี้ ย่อมแสดงว่า
ผู้แต่งยังไม่เห็นจิตเดิมแท้อย่างเต็มที่



ถ้าใครรับเอาข้อความนี้มาถือปฏิบัติ ก็จะไม่ได้รับความหลุดพ้น
แต่จักกลับผูกรัดตัวเองแน่นหนายิ่งขึ้น"

แล้วพระสังฆปริณายก ได้บอกโศลกบทหนึ่งให้แก่ภิกษุรูปนั้นไว้ท่องบ่น 
ว่าดังนี้:-



เว่ยหล่าง ไม่มีวิธี และเครื่องมือ
ที่จะกั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง

อารมณ์ต่างๆย่อมกลุ้มรุมจิตของข้าพเจ้าอยู่เสมอ
และข้าพเจ้าสงสัยว่าต้นโพธิจะงอกงามได้อย่างไรกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2011, 06:59:45 pm โดย ฐิตา »