ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia)  (อ่าน 1713 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด
ธาลัสซีเมีย จะเรียกว่าโลหิตจางหรือที่เรียกว่าเลือดจาง หรือโรคซีด เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงผิดปกติ โดยการถ่ายทอดจากพ่อแม่ทางกรรมพันธุ์ พบมากในประเทศไทย

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย มี 2 แบบ

1. คนที่เป็นพาหะโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย คือ ผู้ที่มีพันธุกรรมผิดปกติแฝงอยู่ ผู้ที่เป็นพาหะจะมีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป แต่สามารถถ่ายทอดโรคนี้ต่อให้ลูกได้ มนประเทศไทยมีผู้เป็นพาหะประมาณ 18 ล้านคน
2. คนที่เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย จะมีอาการซีด ตาเหลือง ตับ ม้ามโต ใบหน้าละเปลี่ยน คือจมูกแบน กระโหลกศรีษะหนาโหนกแก้มสูง คางและกระดูก ขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น รวมทั้งกระดูกบาง เปราะหักง่าย ผิวหนังดำคล้ำ ร่างกายเติบโตช้ากว่าคนปกติ ในประเทศไทยมีผู้เป็นโรคประมาณ 5 แสนคน
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย แบ่งได้หลายชนิด บางชนิดรุนแรงมาก ทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือหลังคลอดไม่เกิน 1 วัน บางชนิดทำ ให้ผู้ป่วยซีดมาก ต้องให้เลือดเป็นประจำ บางชนิดแทบไม่มีอาการผิดปกติเลย
โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
ถ้าทั้งพ่อแม่เป็นพาหะ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 25% หรือ 1 ใน 4 โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับ 50% หรือ 2 ใน 4 โอกาสที่ลูกปกติสมบูรณ์เท่ากับ 25% หรือ 1 ใน 4
ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะคนเดียว โอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะเท่ากับ 50% หรือ 1 ใน 2 โอกาสที่จะมีลูกปกติเท่ากับ 50% หรือ 1 ใน 2
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นพาหะของโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
- ถ้ามีญาติ พี่ น้องเป็นโรคนี้ ก็มีโอกาสที่จะเป็นพาหะสูง
- ถ้าคู่สามี-ภรรยา มีลูกเป็นโรคนี้ แสดงว่าทั้ง 2 คนเป็นพาหะ
- ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคมีลูก ลูกทุกคนต้องเป็นพาหะแน่นอน
เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นพาหะของโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
- ดูจากประวัติครอบครัว
- จากการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษ
การรักษาผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
รักษาสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง รับประทานวิตามินโฟลิควันละเม็ด ห้ามรับประทานยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก แพทย์จะให้เลือดเมื่อมีอาการซีดมากและมีอาการเหนื่อย ผู้ป่วยที่ต้องให้เลือดบ่อยและม้ามโตมาก แพทย์จะแนะนำให้ตัดม้าม ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงซีดมากต้องให้เลือดบ่อยจะมีภาวะธาตุเหล็กเกิน ต้องฉีดยาขับเหล็กเช่น เดสเฟอร์ริอ๊อกซามีน ออกจากร่างกาย
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
แม้ว่าโรคโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ยังรักษาให้หายขาดไม่ได้ ผู้ป่วยไม่ควรตื่นตกใจเพราะบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยควรรับประทานผักดิบ ไข่ นม มากๆ ดื่มน้ำชาหลังอาหารเพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เนื่องจากฟันผุง่าย หลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือการเล่นรุนแรง งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา ถ้ามีอาการปวดท้องที่ชายโครงขวารุนแรงมีไข้และเหลืองมากขึ้น แสดงว่าถุงน้ำดีอักเสบ ควรไปพบแพทย์อาจเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงได้ง่าย เมื่อมีไข้สูงควรเช็ดตัวกินยาลดไข้และยาปฏิชีวนะแล้วไปพบแพทย์
คำแนะนำสำหรับผู้เป็นพาหะโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
ผู้เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดโรคนี้ไปสู่ลูกได้ จึงควรวางแผนก่อนมีลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีลูก ถ้าคู่สามีภรรยาเป็นพาหะทั้งสองคน เมื่อตั้งครรภ์ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอด ผู้เป็นพาหะควรแนะนำให้ญาติ พี่ น้อง ไปตรวจเลือดด้วย
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
การที่ร่างกายแข็งแรงและสุขภาพดี ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันว่าท่านไม่ได้เป็นพาหะของโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ดังนั้นเพื่อป้องกันการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรไปตรวจเลือดก่อนที่ท่านจะวางแผนการแต่งงานหรือวางแผนการมีบุตรต่อไป
 
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====