ผู้เขียน หัวข้อ: คุณรู้จักโรคแพ้ตึกมากแค่ไหน  (อ่าน 1318 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด

"โรคแพ้ตึก" หรือ Sick Building Syndrome (SBS)อาจจะฟังดูเป็นคำใหม่ที่ไม่ค่อยคุ้นหูกันนัก แต่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ยอมรับแล้วว่ากำลังเป็นภาวะที่คุกคามสุขภาพคนทำงานอย่างรุนแรงขึ้นทุกวัน

โรคแพ้ตึกไม่สามารถบ่งบอกกลุ่มอาการหรือสาเหตุของโรคที่ชัดเจนได้ แต่อธิบายได้เพียงลักษณะกลุ่มอาการบางอย่าง เช่น ไม่สบายตัว ปวดหัว แสบตา ระคายเคืองจมูกและคอ ไอแห้ง ๆ เวียนหัว อยากอาเจียน และอ่อนเพลียอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งอาการทั้งหมดเหล่านี้จะบรรเทาลงเมื่อออกจากห้องหรือตึก และจะยิ่งหายเป็นปลิดทิ้งเมื่อได้อยู่ในสภาพแวดล้องดี ๆ ใกล้ชิดธรรมชาติ

ส่วนอาการอีกอย่างหนึ่งที่คล้ายกับโรคแพ้ตึกคือ การเจ็บป่วยที่มีสาเหตุมาจากตึกเป็นพิษ หรือ " Building Related Illness" (BRI) ซึ่งมีความต่างกันอยู่บ้างตรงที่ผู้ป่วยจะมีอาการไอ เป็นไข้ แน่นหน้าอก และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงได้ (เช่น ได้รับสารเคมีหรือไอระเหยอันตราย) ร่างกายต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นตัวจึงจะกลับคืนสู่สภาพเดิม แต่ทั้งสองกลุ่มอาการก็เป็นผลจากตึกเป็นพิษ ซึ่งมาจากหลายปัจจัย เช่น
การระบายอากาศไม่ดีพอโดยเฉพาะอาคารสำนักงานที่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา และไม่มีหน้าต่างเพื่อให้ลมเข้าหรือระบายอากาศได้เลย
ไอระเหย (พิษ)จากเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น พรม ตู้โต๊ะที่ทำจากไม้อัดกาว เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด น้ำยาปรับอากาศ ซึ่งจะปล่อยไอระเหยที่เป็นสารพิษต่าง ๆ ออกมา โดยเฉพาะสารประกอบฟอร์มาลดีไฮด์
การปนเปื้อนอื่น ๆ เช่น สารเคมีจากภายนอก เชื้อรา แบคทีเรียต่าง ๆ ที่เกิดจากความชื้นในห้อง ซึ่งอาจแก้ไขดังนี้
จัดให้มีการระบายอากาศเพิ่มมากขึ้น เช่น ติดตั้งพัดลมดูดอากาศ หรือติดหน้าต่างเพิ่มเพื่อเปิดให้มีการหมุนเวียนของอากาศใหม่บ้าง (ในวันที่พนักงานไม่ได้ทำงาน)
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นต้นกำเนิดของไอระเหยพิษให้น้อยที่สุด หรือเลือกวัสดุชนิดอื่นทดแทน
จัดบริเวณที่มีสารอันตรายแยกจากห้องทำงานของพนักงาน เช่น ห้องถ่ายเอกสาร ห้องพรินท์งาน ห้องเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น
ทำความสะอาดให้มากขึ้น เพื่อลดฝุ่น เชื้อรา แบคทีเรียต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศและพัดลมดูดอากาศ ควรทำความสะอาดให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
หาต้นไม้ในร่มมาปลูกและตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ในห้องเพื่อช่วยฟอกอากาศและกำจัดสารพิษ ถ้าสามารถเลือกไม้ประดับดูดสารพิษมาปลูกได้จะยิ่งดีมาก
 
เพราะสุขภาพที่ดีควรจะเกิดขึ้นทุกที่ทั้งที่บ้านและที่ทำงานคะ
 
 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ชีวจิต
ขอบคุณภาพประกอบ : Getty Images
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====