ผู้เขียน หัวข้อ: หมอนรองกระดูก ภัยเงียบ! คุกคามคนออฟฟิศ  (อ่าน 1412 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Plusz

  • กล่องแก้วแจ้วเจรจา
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 1555
  • พลังกัลยาณมิตร 376
  • Love yourself cuz no one will
    • extionary
    • Plusz009
    • ดูรายละเอียด
หมอนรองกระดูก กำลังกลายเป็นภัยเงียบคุกคามคนออฟฟิศ สาเหตุหนึ่งเพราะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ยกของหนัก เล่นกีฬาผิดท่าหรือรุนแรง แพทย์เตือนอาการปวดหลัง ปวดคอ ชาตามแขน หรือขา เป็นสัญญาณร้ายต้องรีบรักษาด่วน!!


เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจาก นพ.ธีรศักดิ์ พื้นงาม ศัลยแพทย์ระบบประสาทไขสันหลัง เครือโรงพยาบาลพญาไท ว่า โรคภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน หรืออาจถึงขั้นพิการได้ เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หรือการก้มตัวเพื่อยกของหนัก หรือเล่นกีฬาที่ผิดท่าหรือรุนแรง ก่อให้เกิดอาการปวดคอ หรือปวดหลังเรื้อรัง ปวดร้าวชาลงแขน หรือขา กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณร้ายของภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท นพ.ธีรศักดิ์ แนะนำว่า เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว แพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียดด้วยเครื่อง “MRI Spine” หรือเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตรวจหาความผิดปกติของหมอนรองกระดูก เพื่อวางแผนรักษาโดยไม่เปิดแผลผ่าตัด (Non Opening Surgery) ซึ่งมี 2 ทางเลือก กล่าวคือ หากผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเรื้อรัง และมีอาการปวดร้าวลงขา อันเนื่องมาจากมีส่วนของหมอนรองกระดูกยื่นไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง "แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้กล้องขนาดเล็ก หรือกล้องเอ็นโดสโคป ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุด เจาะและสอดกล้องที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 4 มิลลิเมตร ซึ่งมีเลนส์ติดอยู่ที่ส่วนปลายของกล้องผ่านใยกล้ามเนื้อ ไปยังหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาท และใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปตัดหมอนรองกระดูกโดยตรง ไม่ต้องเลาะกล้ามเนื้อหรือตัดกระดูกสันหลัง แผลจึงมีขนาดเล็กเพียง 8 มิลลิเมตร ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวเร็วภายใน 1-2 วัน ไม่เหมือนอดีตต้องขาดงาน 1-2 เดือน" ไม่เพียงเท่านั้น หากแพทย์วินิจฉัยพบว่ามีภาวะของหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทไม่มาก แนะนำให้รักษาวิธีนิวคลีโอพลาสตี้ เป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผลเช่นกัน ทำได้โดยใช้เข็มขนาดเล็ก 2.5 มิลลิเมตร สอดเข้าไปในหมอนรองกระดูกที่มีปัญหา แล้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุผ่านเข็ม ซึ่งจะเกิดความร้อนที่ปลายเข็ม ทำให้เกิดการสลายหมอนรองกระดูกส่วนหนึ่งออกไป จะทำให้ลดภาวะการกดทับเส้นประสาท วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่ทำเอ็มอาร์ไอแล้วพบว่ามีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่ในบริเวณระดับของหมอนรองกระดูก ข้อดีไม่ต้องผ่าตัดเปิดแผลและไม่มีแผล ปลอดภัยสูง ค่าใช้จ่ายไม่มากผ่าตัดเสร็จกลับบ้านได้ เทคนิคผ่าตัดอาการโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทด้วยกล้องเอ็นโดสโคปรายแรกในประเทศไทยเริ่มเมื่อปี 2550 ปัจจุบันแพทย์รักษาด้วยวิธีนี้ไปแล้วกว่า 100 ราย และตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 เป็นต้นมา ศูนย์ระบบประสาทไขสันหลัง (Mini Spine Center) ได้ทำการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทแบบใช้กล้องเอ็นโดสโคปแบบไม่ต้องวางยาสลบ ให้เพียงยาชาเฉพาะที่นั้น มีข้อดีหลายอย่าง อาทิ ลดความเสี่ยงกรณีผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือร่างกายไม่แข็งแรง คนไข้จะไม่มีอาการแทรกซ้อน ฟื้นตัวได้เร็ว อีกทั้งระหว่างผ่าตัดผู้ป่วยยังรู้สึกตัว โต้ตอบ หรือทดสอบการขยับแขนขาได้ ทำให้มีความปลอดภัยสูงกว่าการผ่าตัดที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว "เมื่อทำการรักษาแล้ว มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หลักการสำคัญของการป้องกัน ควรจัดท่านั่งทำงานหรือกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง พยายามให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเสมอ หลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อหลังมากๆ หมั่นบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอ เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนไหวมากเกินไป" นพ.ธีรศักดิ์ ยังย้ำถึงวิธีการป้องกันว่า คนวัยทำงานควรนั่งหลังตรงชิดเก้าอี้ ขาวางติดพื้น แป้นพิมพ์และเม้าส์คอมพิวเตอร์ควรอยู่ในระนาบเดียวกัน ทำมุม 45 องศากับจอคอมพิวเตอร์ สลับกับการปรับเปลี่ยนท่านั่ง หรือมีการเคลื่อนไหวทุกๆ 1 ชั่วโมง หมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อคอ เฉพาะวัย 40 ปีขึ้นไปเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กมลทิพย์ ใบเงิน รายงาน
มีความสุข
ทุกครั้งที่เป็นตัวของตัวเอง

===== ได้เวลาวิ่ง วิ่งนะวิ่งนะแฮมทาโร่ =====                                       ===== ได้เวลาวิ่ง กลิ้งนะกลิ้งนะแฮมทาโร่ =====