ริมระเบียงรับลมโชย > มหัศจรรย์แห่งธรรมะ (Miracles of Dhamma)

Life is Beautiful .. ยิ้มไว้ ♥ โลกนี้..ไม่มี..สิ้นหวัง! .. ('_^)b

(1/2) > >>

ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ:

Life :19: is Beautiful.. :13:

:43: ยิ้มไว้ ♥ โลกนี้..ไม่มี..สิ้นหวัง!



Life is Beautiful – ชีวิตที่สวยงาม กับ คำโกหกอันแสนหวาน .. :13:

.. หัวใจ :19: ของผู้เป็นพ่อ และ สามี .. ที่โลกใบนี้มิกล้าประณาม แต่กลับ ต้องสรรเสริญและยกย่อง  :27: ซาบซึ้งประทับใจ และ หลั่งน้ำตาให้กับเขาผู้นี้! :07:





(คำเตือน  - บทความนี้เปิดเผยส่วนสำคัญของหนัง)

Life is Beautiful ..(1997, Roberto  Benigni) เล่าถึงชายคนหนึ่งนามว่า “กุยโด” ชายผู้เปี่ยมไปด้วยความร่าเริงสดใส  ชายผู้มองโลกในแง่ดี ชายที่เปี่ยมล้นไปด้วยจินตนาการอันไม่สิ้นสุด  ชายผู้ที่มักจะพูดจาทีเล่นทีจริงอยู่เสมอ ชายผู้ที่เรียกดอร่า-คนรักของเขาว่า  “เจ้าหญิง” จนในที่สุดก็ได้แต่งงานกันและมีลูกชายนามว่า “โจชัว”  จนเมื่อกาลล่วงเลยมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2  ชีวิตของชายผู้นี้ต้องถึงคราวเคราะห์เพียงเพราะว่าเขามีเชื้อสาย “ยิว“ 

เช่นเดียวกับหนังที่เล่าถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วๆไป  หนังจึงมีการแสดงถึงความโหดร้ายจากภาวะสงคราม ท่ามกลางกระแสคลั่งลัทธิฟาสซิสต์  ผู้นำทางเผด็จการอย่างฮิตเลอร์, มุสโสลินี และนายพลโตโจกำลังเป็นใหญ่  มีการกวาดล้างชาวยิว  (ว่ากันว่าฮิตเลอร์ทวีความเกลียดชังต่อคนยิวด้วยเหตุผลที่ว่าเขาติดโรคซิฟิลิสจากชาวยิว)  ในหนัง-ร้านของคนยิวถูกคนเข้ามาอาละวาดทำลายข้าวของ,  ม้าของคนยิวถูกสีขีดเขียนให้เลอะเทอะ, กุยโดและโจชัวถูกเกณฑ์ไปในค่ายกักกันชาวยิว  ที่ผู้กำกับสร้างบรรยากาศของค่ายที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกอึดอัด  ไม่ว่าจะเป็นการใช้โทนภาพที่ดูแห้งแล้ง ห้องนอนของคนยิวที่ดูสกปรกและมืดทึบ  (แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอีกฉากในงานเลี้ยงของพวกคนเยอรมันที่ดูหรูหรา)  หรือการแสดงออกทางสีหน้าของคนในค่าย  ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวที่หน้าตาเหมือนคนไร้ซึ่งความหวัง  พวกทหารเยอรมันที่ตีสีหน้าทมิงถึงอยู่ตลอดเวลา  แม้แต่เด็กๆในค่ายที่ดูจะไม่มีความสุขนัก 

ยกเว้นแต่เพียงคนเดียวที่แสดงสีหน้าชื่นบานได้ตลอดทั้งเรื่อง  นั่นคือกุยโด

นี่จึงเป็นข้อแตกต่างของหนังเรื่องนี้จากเรื่องอื่นๆ เช่น The  Pianist หรือ Salo … The Pianist (2002, โรมัน โปลันสกี –  ได้รับรางวัลปาล์มทองคำจากคานส์ปี 2002)  ใช้หนังแสดงความโหดร้ายของการกวาดล้างคนยิวกระแทกกระทั้นจิตใจคนดู  ด้วยฉากจับคนยิวมาเรียงแถว แล้วยิงทิ้งทีละคน ส่วน Salo (1975, เปียร์ เปาโล  ปาโซลินี่)  ช็อคคนดูด้วยเรื่องราวของวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ถูกชนชั้นขุนนางลัทธิฟาสซิสต์จับไปทรมานในคฤหาสน์ถึง  3 ครั้ง 3 ครา 3 วิธีการ (ผ่านวงเวียนแห่ง “การเสพสังวาส” “อาจม” และ “เลือด”)  แต่ใน Life is Beautiful กุยโดกลับพูดกับลูกหน้าตาเฉยว่าสงครามมันเป็นเพียงแค่  “เกม” 

ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้แตกต่างจากเรื่องอื่นๆก็คือ  “การมองโลกในแง่ดี” และการถ่ายทอดออกมาอย่าง  “งดงาม”

กุยโดผูกเรื่องราวขึ้นมาว่าเขาและลูกถูกจับมาค่ายกักกันเพื่อเล่มเกมชิงรถถัง  ผู้ใดทำคะแนนได้ถึงหนึ่งพันคะแนนก่อนจะได้มันไป  บทภาพยนตร์แสดงความเฉลียวฉลาดด้วยการที่กุยโดต้องแก้สถานการณ์ต่างๆไปตลอดทั้งเรื่อง  อีกนัยคือเขาต้อง “สร้างเรื่อง” หรือ “โกหก” ลูกชายของเขาเพิ่มขึ้นๆ  ดังเช่นเมื่อโจชัวงอแงจะกลับบ้าน เขาก็ใช้กลที่ว่า “คะแนน”  ของทั้งสองกำลังจะใกล้ถึง “เป้าหมาย” แล้ว จึงทำให้โจชัวยอม “เล่นเกม” ต่อ 

นั่นคือหนังมุ่งเน้นให้กุยโดเป็น “ผู้ดำเนินเกม” ในเรื่อง  กุยโดคือชายผู้ร่าเริง-มีอารมณ์ขัน-มองโลกในแง่ดี  (เมืองที่กุยโดอยู่มีร้านเขียนป้ายว่า “ห้ามคนยิวเข้า”  แต่หน้าร้านหนังสือของเขากลับเขียนว่า “ร้านคนยิว”)  แต่บางเวลาหนังแสดงให้เห็นด้านที่ว่ากุยโดก็เป็นมนุษย์ธรรมดา  ดังเช่นฉากที่กุยโดต้องแบกเหล็กที่ทั้งหนักทั้งร้อน เขาก็เอาแต่บ่นตลอดทาง  (ถึงกระนั้นก็ยังเป็นการบ่นแบบเจืออารมณ์ขัน) และที่สำคัญกุยโดเป็นคนฉลาด  ไม่ว่าจะเป็นการปั้นเสริมเติมแต่งเรื่องของเกมในค่ายกักกันให้โจชัวฟัง  การที่เขาชอบเล่นถามตอบปัญหาเชาว์  หรือฉากที่เสนอตัวออกไปแปลประโยคที่ทหารเยอรมันพูด ที่เขาสามารถ “โม้”  ได้อย่างสดๆและสุดๆ

เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่ส่งเสริมว่าหนึ่งในสารที่หนังอาจจะต้องการเสนอก็คือ  ความฉลาดหลักแหลมของชาวยิว หลักฐานในทางรูปธรรมเราก็พบเห็นได้จริง อัลเบิร์ต  ไอสไตน์คิดค้นทฤษฎีสัมพันธภาพ หรือผู้กำกับสตีเวน  สปิลเบิร์กที่สามารถเนรมิตหนังได้หลากหลายแนวจนได้ฉายา “พ่อมดแห่งฮอลลีวูด”  (ครั้งหนึ่งสปิลเบิร์กก็เคยทำหนังเกี่ยวกับการกวาดล้างยิวมาแล้วใน Schindler ’s  List (1993)  ซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากออสการ์ไป)

อีกสารที่ผู้กำกับสอดแทรกเข้ามาในหนัง  อย่างฉากในงานเลี้ยงที่มีการแสดงชุด “ม้าเอธิโอเปีย”  นัยว่าต้องการเสียดสีระบบล่าอาณานิคม เพราะในสมัยนั้นอิตาลีได้เข้าไปยึดโอธิโอเปีย  และจากนั้นก็รีบขโมยซีนด้วยการให้กุยโดขี่ม้าขาวมารับดอร่าพาหนีไปจากงานแต่งงาน  ดังนั้นกุยโดจึงถือเป็นอัศวินขี่ม้าขาวตัวจริง

นอกจากจะมีการใช้สัญลักษณ์  (Symbolic) ในรูปของฉาก-บรรยากาศ หรือการแสดงทางสีหน้าแล้ว ยังมีการใช้ “สี”  เป็นตัวขับเน้นเรื่องราวด้วย เช่น  ในฉากที่ดอร่าตัดสินใจจะขึ้นรถที่พาชาวยิวไปค่ายกักกันเพื่อตามสามีและลูกของเธอไป  ขณะนั้นเธอใส่ชุดสีแดง ที่ดูโดดเด่นมีสีสันและชีวิตชีวา  ไม่เข้ากับบริเวณที่มีกลิ่นอายแห่งความสิ้นหวังแห่งนั้น นั่นคือการแสดงความแปลกแยก  (alienation) ว่าดอร่าไม่ใช่คนยิว  แต่ในที่สุดไม่ว่าจะเป็นชนชาติไหนเธอก็ยอมร่วมรับชะตากรรมและรับรู้ความทุกข์ยากไปพร้อมๆกับสามีและลูกด้วย  (ภายหลังเธอจึงได้ใส่ชุดโทรมๆเหมือนคนยิว) 

สีแดงยังถูกใช้ในฉากพรมแดงที่กุยโดปูให้ดอร่าเดินผ่านซึ่งใช้อารมณ์ในลักษณะโรแมนติกปนเหนือจริง  (surreal) ที่ทำให้คนดูเกิดอารมณ์ร่วม ทั้งนี้สีแดงนั้นเป็นหนึ่งในสีที่มี  ”พลังทางภาษาภาพยนตร์” มากที่สุดสีหนึ่ง ดังเห็นได้จาก In the mood for love (2000,  หว่องกาไว) สีแดงถูกใช้อธิบายอารมณ์ของคนสองคนที่ตกอยู่ห้วงอารมณ์รัก, Hero (2002,  จางอี้โหมว) สีแดงเป็นใช้เครื่องแต่งกาย สีของฉาก ในช่วงตอนที่มีอารมณ์รุนแรง  เป็นไปด้วยความโกรธ-ความเกลียด-ราคะ-ตัณหา, Irreversible (2002, กัสแปร์ โนว์)  อุโมงค์ที่นางเอกถูกข่มขืนมีสีแดงฉาน ขับเน้นความเจ็บปวดของตัวละคร หรือล่าสุดกับ  The Village (2004, เอ็ม. ไนต์ ชัยมาลาน) สีแดงแทนค่าของสัตว์ประหลาดชั่วร้าย 

ในช่วงท้ายของหนังฝ่ายเยอรมัน-อิตาลีและญี่ปุ่น เป็นฝ่ายพ่ายสงคราม  หลังจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิโดยฝีมือของมหาอำนาจอย่างอเมริกา  ค่ายกักกันยิวไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป การกวาดล้างชาวยิวครั้งสุดท้ายจึงเกิดขึ้น  (แม้กระนั้นหนังก็ไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงฉากชาวยิวถูกยิงตายต่อหน้า  หรือชาวยิวนอนจมกองเลือด) เกมสงครามของมหาประเทศจบแล้ว  แต่ว่าเกมของกุยโดและโจชัวยังไม่จบ เกมของโจชัวคือการทำคะแนนหนึ่งพันแต้มเพื่อรถถัง  เกมของกุยโดคือการรักษาชีวิตของลูกชาย เงื่อนไขทั้งสองจึงหลอมรวมกันคือ  กุยโดบอกกับลูกชายว่าหากเขาซ่อนตัวอยู่ในตู้โดยไม่ให้ใครเห็น  และออกมาต่อเมื่อไม่มีใครข้างนอก เขาจะชนะและได้รถถัง

ใกล้ตอนจบ  (ทั้งของหนังและของกุยโด) กุยโดถูกทหารเยอรมันจับตัวได้ ระหว่างถูกพาตัวไป  เมื่อเดินผ่านโจชัว เขาก็ยังมิวายจะส่งรอยยิ้มให้ลูก พร้อมกับการโบกมือลา  เป็นทั้งการโบกมือลาลูกชาย ลาจากเกม และลาจากโลกอันแสนวุ่นวายใบนี้  คงจะไม่เกินไปนักหากจะคิดว่ากุยโดยังมองโลกในแง่ดีจนถึงวาระสุดท้าย  เขาส่งยิ้มให้ลูก (ให้กับคนดู และให้กับโลก)  เพื่อให้ลูกเขาจดจำภาพสุดท้ายของพ่อในภาพของความประทับใจ

เสียงปืนดัง …  เกมจบ … กุยโดตาย … คนดูหัวใจสลาย

ณ จุดนี้น่าย้อนคิดไปถึงคำถามของกุยโด  “อะไรเอ่ย เมื่อพูดออกมา ชื่อของฉันก็ไม่อยู่ตรงนั้นแล้ว” คำตอบคือ “ความเงียบ”  เช่นเดียวกันเมื่อเสียงปืนดังขึ้น ความเงียบสูญสลาย  ความโศกเศร้าสะเทือนใจเข้ามาแทนที่ แต่ในอีกทาง-ชีวิตของกุยโดดับสูญ  ไม่มีเสียงพูดคุยล้อเล่นของเขาอีกต่อไป เขาเหลือเพียงความเงียบงัน  และที่สำคัญสิ่งสุดท้ายที่เขาทิ้งไว้คือ  “ความเสียสละ”

เช้าวันถัดมาโจชัวออกมาจากตู้ โลกภายนอกไม่เหลืออะไร  ไม่มีผู้คน ไม่มีเสียงนกร้อง ไม่มีอะไรนอกจากความว่างเปล่า  เป็นฉากที่เน้นย้ำว่าสงครามไม่ให้อะไรนอกจาก “ความสูญเสีย” และ  “ความว่างเปล่า”

ฉากสุดท้ายสองแม่ลูกได้พบกันอีกครั้ง  ดอร่าและโจชัวเข้าโผกอดกัน ปากพร่ำว่า “เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว” 

…ไม่ใช่ชัยชนะในเกมที่โจชัวได้รถถัง
…ไม่ใช่ชัยชนะของอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่  2

แต่เป็นชัยชนะของกุยโดที่สามารถใช้ “ความเสียสละ” ทำให้ “ชีวิตหนึ่ง”  รอดพ้นภัยและมีวันพรุ่งนี้ต่อไปได้  (รวมถึงชัยชนะบนเวทีออสการ์ในรางวัลนักแสดงนำชายและรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม  – ถึงตรงนี้น่าคิดว่าธงชาติอเมริการที่ปลิวไสวกับลักษณะของทหารอเมริกาที่ดูใจดี  อบอุ่น  จนเหมือนบุคคลในโลกอุดมคติในตอนท้ายมีผลต่อรางวัลหรือไม่)

ดังนั้นรางวัลที่แท้จริงของโจซัวจึงไม่ใช่  “รถถัง” แต่เป็น “ชีวิต” ของเขา

ท้ายสุดหนังเป็นเสียงบรรยาย (voice over)  ของโจชัวในวัยหนุ่มกล่าวว่า “นั่นคือเรื่องราวของพ่อของผม พ่อผู้เสียสละ”  หากไม่เพราะความเสียสละของกุยโด โจชัวคงไม่ได้มานั่งบรรยายเรื่องราวของพ่อของเขา ณ  ตรงนี้  และถ้าจำกันได้ในกลางเรื่องกุยโดเปิดร้านหนังสือโดยให้โจชัวมีบทบาทเสมือนเจ้าของร้านอยู่เสมอ  หากเขาคิดจะเขียนหนังสือ  เล่มแรกที่เขาจะเขียนและวางขายในร้านต้องเป็นชีวประวัติ-วีรกรรมของพ่อเป็นแน่นอน 

หลังจากดูหนังจบ สิ่งหนึ่งที่คำนึงได้ก็คือ หนังเต็มไปด้วย “คำโกหก”  …มีคนเคยถามว่าคำโกหกของกุยโดเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

มีใครบางคนกล่าวว่า  Song is a beautiful lie
Plabo Picasso กล่าวว่า Art is the lie that helps us  understand the truth
ดังนั้นภาพยนตร์ที่เป็นศิลปะแขนงที่เจ็ด  จึงถือเป็นคำโกหกได้เช่นเดียวกัน แต่เป็นคำโกหกที่สวยงาม  ช่วยให้เราลืมโลกความเป็นจริงเมื่อเราชมมัน  แต่เมื่อมันจบเราจะต้องกลับมาตระหนักถึงความจริงและกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริงอีกครั้ง

เราจึงมิอาจตัดสินได้ว่าการโกหกของกุยโด  “ถูก” หรือ “ผิด” แต่เราสรุปได้ว่าการโกหกของเขาช่างงดงามและเต็มไปด้วยความเสียสละ  หนังจึงอาจจะมีอีกชื่อหนึ่งได้ว่า Lie is Beautiful

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่ากุยโดจะทำให้เราเห็นว่าชีวิตท่ามกลางสงครามก็มีความงดงามเกิดขึ้นได้  แต่สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ หนังมหาปรัชญาเรื่องล่าสุดแห่งไตรภาค qatsi (หลังจาก  Koyaaniqatsi และ Powaqqatsi) ของก็อดฟรีย์ เรจิโออย่าง Naqoyqatsi (2003)  นั้นเป็นภาษาอินเดียนแดงที่แปลได้ว่า “Life as War”

คนเราทุกวันนี้ยังอยู่ท่ามกลางภาวะสงคราม !!


แด่.. กุยโด และ ทุกชีวิตที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ..ในสงคราม…ทุกสมรภูมิ



ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ:
[youtube] http://www.youtube.com/watch?v=KF9O4QbKIe4[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=cw1QEWZ2QL8&NR=1[/youtube]

ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ:
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=d7rn-TrXblg&feature=related[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ek5RAEJx7Jc&feature=related[/youtube]

ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ:
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=v7hZXvlMucg&feature=related[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=C1yghfg8wx0&feature=related[/youtube]

ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ:
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=TXppLYYc_FY&feature=related[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=G-Azi9m_zj8&feature=related[/youtube]


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version