ผู้เขียน หัวข้อ: จุดประกายเซนในเมืองไทย โดย สุภารัตถะ (๓)  (อ่าน 1806 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


เซนอยู่รอดได้อย่างไร
โดย สุภารัตถะ
ถ้านับพระสังฆปรินายกจากทางสายอินเดีย ท่านเว่ยหล่างเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 33 หรือเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 หากนับจากทางสายจีน และเป็นสังฆปรินายกองค์สุดท้ายที่ได้รับ บาตร จีวร สังฆาฏิ และการถ่ายทอดธรรมะจากสังฆปรินายกองค์ก่อน เนื่องด้วยเพราะนิกายเซนสมัยเริ่มแรกในจีนยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย จึงมีการสืบทอดตำแหน่งด้วย บาตร จีวรและสังฆาฏิ แต่พอมาถึงยุคของท่านนั้น สิ่งเหล่านี้ กลับกลายเป็นวัตถุสัญลักษณ์ของตำแหน่งสังฆปรินายก แทนที่จะเป็นพระธรรมอันสำคัญแท้จริง ทำให้เกิดการแย่งชิงตำแหน่งสังฆปรินายก โดยการแก่งแย่งเพื่อที่จะครอบครองวัตถุเหล่านี้แทน วัตถุเหล่านี้ซึ่งจะเป็นต้นเหตุแห่งภัยภิบัติที่จะเกิดขึ้นอย่างใหญ่หลวง สังฆปรินายกองค์ที่ 6 จึงยุติการสืบทอดตำแหน่งสังฆปรินายกลงเสีย และมอบสิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือการรู้แจ้งฉับพลัน ให้กับศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก นับเป็นยุคเจริญสูงสุดของเซนอย่างไม่มีประมาณ
 
ปี พ.ศ. 1081 ในคืนที่ท่านเว่ยหล่างได้จุติลงมาเกิดนั้น มารดาของท่านนิมิตฝันเห็นดอกไม้หน้าบ้านบานขาวสะพรั่งไปหมด ส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรไปทั่วเมือง หงษ์ขาวสองตัวบินร่อนอยู่บนฟากฟ้า นางเกิดศรัทธาจึงถือศีลกินเจ และอุ้มท้องอยู่นานถึง 6 ปี จึงคลอดบุตรออกมาเป็นผู้ชาย ขณะที่คลอดบุตรชายนั้น มีแสงสว่างพวยพุ่งเป็นรัศมีออกจากบ้านเด่นตระหง่านท่ามกลางนภาอยู่จนถึงรุ่งเช้าอย่างมหัศจรรย์ มีภิกษุแปลกหน้า 2 รูป ได้เดินทางมาถึงบ้าน และบอกบิดาของท่านว่า ฉันรู้ว่าภรรยาของท่านคลอดบุตรชายเป็นเด็กที่มีบุญมาก ฉันขอตั้งชื่อให้ว่า “เว่ยหล่าง”หมายถึงมีเมตตากรุณาในการให้ธรรมะเป็นทานไปยังสรรพสัตว์ และมีความสามารถที่จะทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า ภิกษุทั้งสองกล่าวลาและหายออกไปจากบ้านทันที
 
เมื่อท่านเว่ยหล่างอายุ 3 ขวบ บิดาท่านถึงแก่กรรม มารดาท่านต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูบุตรด้วยความยากลำบาก ไม่สามารถส่งบุตรให้ศึกษาเล่าเรียนได้ ท่านเว่ยหล่างจึงไม่สามารถอ่านเขียนได้
 
เมื่อท่านเว่ยหล่างเติบโต จึงเลี้ยงดูมารดาด้วยการตัดฟืนขาย จนกระทั่งอายุ 24 ปี ได้พบอุบาสกท่านหนึ่งกำลังสาธยายพระสูตรวัชรปรัชญาปารมิตา เมื่อท่านได้ยินข้อความในพระสูตร จิตใจของท่านบังเกิดความสว่างไสวในพระธรรม จึงถามชายผู้นั้นว่าได้ศึกษาพุทธรรมจากที่ไหน..ท่านได้ฝากเพื่อนบ้านดูแลมารดา และออกเดินทางไปพบท่านหงเญิ่น สังฆปรินายกองค์ที่ 5 ที่เขาหวงเหมย มณฑลเหอเป่ย ท่านรีบเข้าไปนมัสการและมอบตัวเป็นศิษย์ แต่ท่านหงเญิ่นเอ่ยว่า “มาจากเมืองซันโจว มณฑลกว้างตุ้ง เป็นคนบ้านนอกคอกนา (ชาวใต้) จะบรรลุธรรมได้หรือ” ท่านเว่ยหล่างจึงตอบว่า “คนแบ่งเป็นชาวเหนือชาวใต้ แต่การบรรลุธรรมไม่แบ่งแยก พุทธภาวะในตัวมิได้ต่างกัน” ท่านหงเญิ่นรับรู้ถึงสติปัญญาของท่านเว่ยหล่างแต่มิได้แสดงออก สั่งให้ท่านเว่ยหล่างไปทำงานตัดฟืนตำข้าวถึง 8 เดือนโดยมิได้ให้บวช
 
จนกระทั่งวันหนึ่ง ท่านหงเญิ่นเรียกประชุมศิษย์เพื่อให้เขียนโศลกธรรม ใครเป็นผู้บรรลุธรรม ท่านจะมอบบาตรและจีวรให้ ในบรรดาศิษย์ของท่านนั้นมีท่านเสินชิ่ว เป็นผู้ที่ทุกคนคาดหมายว่าจะได้รับสืบทอดบาตรและจีวร ดังนั้นบรรดาศิษย์ทั้งหลายจึงไม่ได้คิดจะเขียนโศลกเข้าแข่งขัน ท่านเสินชิ่วเขียนโศลกขึ้นที่ฝาผนังว่า

กายหรือคือต้นโพธิ์
จิตเหมือนกระจกเงาใส
หมั่นเพียรเช็ดปัดไว้
อย่าปล่อยให้เกิดธุลี

 
วันหนึ่งท่านเว่ยหล่างได้ยินภิกษุผู้หนึ่งท่องโศลกบทนี้ ท่านจึงถามว่าเป็นโศลกของผู้ใด ช่วยพาท่านไปดูด้วยเถิด และขอร้องให้เขียนโศลกของท่านไว้ที่ฝาผนังด้วย แม้จะถูกดูถูกว่าเป็นคนต่ำต้อย จะมีปัญญาแต่งโศลกได้หรือ ท่านก็ตอบว่า คนต่ำต้อยอาจมีปัญญาสูงส่ง คนสูงส่งอาจไม่มีปัญญาก็ได้ ท่านเว่ยหล่างได้กล่าวโศลกให้เขียนลงบนผนังว่า
 
โพธิ์นั้นเดิมไร้ต้น
กระจกใสหาใช่มี
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่า
ธุลีเล่าจักเกิดตรงที่ใด

 
เมื่อภิกษุทั้งหลายได้อ่านโศลกนี้ถึงกับตะลึงในภูมิธรรมของท่าน และคิดว่าท่านเป็นโพธิสัตว์จุติลงมาเกิด อาจารย์หงเญิ่นทราบเข้าจึงให้ลบโศลกนี้ทิ้ง และมิให้ใครเห็นว่าโศลกนี้สำคัญ ด้วยเกรงว่าท่านเว่ยหล่างจะมีภัย จากนั้นสามวันถัดมา ท่านนัดแนะท่านเว่ยหล่างเวลาเที่ยงคืน ให้มาหาที่ห้องของท่านโดยไม่ให้ใครรู้ คืนนั้นท่านได้อธิบายข้อธรรมอันลึกซึ้งในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร เมื่อถึงข้อความที่ว่า…คนเราควรใช้จิตตน ในวิถีทางที่เป็นอิสระจากเครื่องข้องทั้งหลาย…ฉับพลันนั้นท่านเว่ยหล่างก็บรรลุธรรมโดยสมบูรณ์ เมื่อเห็นว่าท่านเว่ยหล่างบรรลุธรรมแล้ว ท่านหงเญิ่นจึงกล่าวว่า ผู้ที่รู้จิตตนและเห็นด้วยญาณปัญญาในธรรมชาติแท้ของตน ผู้นั้นย่อมเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ท่านได้กล่าวต่อว่า เมื่อท่านโพธิธรรมเดินทางมาสู่ประเทศจีน ชาวจีนส่วนใหญ่ไม่เคารพศรัทธา บาตรและจีวรนี้จึงเกิดเป็นธรรมเนียม สืบทอดต่อกันในฐานะที่เป็นเครื่องหมาย แต่สำหรับธรรมะนั้นถ่ายทอดจากจิตสู่จิต ไม่เกี่ยวกับคัมภีร์และผู้รับมอบ ผู้นั้นต้องเห็นธรรมะด้วยความพยายามของตนเองโดยเฉพาะ นับแต่อดีตกาล พระพุทธเจ้าก็จะมอบหัวใจคำสอนของพระองค์ ให้แก่ผู้ที่จะสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป แม้สังฆปรินายกองค์ต่อๆ มา ก็ย่อมมอบคำสอนอันเร้นลับโดยตัวต่อตัวด้วยความรู้ทางใจ ส่วนบาตรและจีวรนี้ ท่านจะเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับ ชีวิตของท่านกำลังอยู่ท่ามกลางอันตราย ขอจงไปเสียจากที่นี่โดยเร็วที่สุด
 
เมื่อได้รับมอบบาตรและจีวรแล้ว ท่านหงเญิ่นได้มาส่งท่านเว่ยหล่างออกเดินทาง ก่อนจากกันท่านสำทับว่า อย่าด่วนทำการเผยแพร่ให้เร็วเกินไป เพราะว่าพุทธธรรมนี้ (เซน) ไม่เป็นของที่จะเผยแพร่ได้ง่าย ท่านเว่ยหล่างต้องระหกระเหินและหลบซ่อนตัวอยู่ในป่าถึง 15 ปี ด้วยสาเหตุจากการแย่งชิงบาตรและจีวรเพื่อตำแหน่งสังฆปรินายก จากผู้ที่ไม่สามารถจะเข้าถึงความสำคัญแท้จริงของพระธรรม หากแต่มุ่งหวังในตำแหน่งเกียรติยศที่หาประโยชน์อันใดไม่ได้ ซึ่งบุคคลเช่นนี้ ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ก็ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยสูญหาย
 
ท่านเว่ยหล่างซ่อนตัวอยู่กับพวกพรานป่า ที่ตำบลโซกาย จนกระทั่งวันหนึ่งท่านได้รำพึงในใจว่า ไม่ควรซ่อนตัวเช่นนี้ตลอดไป ท่านควรจะประกาศธรรม จึงออกจากสถานที่นั้นเดินทางไปสู่อาวาสฟัดฉิ่น นครกวางตุ้ง ขณะนั้นภิกษุเยนซุงกำลังเทศนาด้วยมหาปรินิรวารสูตร ในวันนั้นมีลมพัดธงริ้วสะบัดพลิ้วอยู่ พระภิกษุสองรูปจึงถกเถียงกันว่า สิ่งที่กำลังไหวอยู่นั้นได้แก่ลมหรือธงกันแน่ ท่านเว่ยหล่างได้ยินเช่นนั้น จึงตอบว่าไม่ใช่ลมและธง แท้จริงที่สั่นไหวอยู่คือจิตของเธอทั้งสอง ทำให้ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมพากันตื่นตะลึงกับคำตอบที่ท่านเว่ยหล่างกล่าว ภิกษุเยนซุงจึงอาราธนาท่านสู่อาสนะอันสูง และได้ซักถามปัญหาในพระสูตรสำคัญๆ หลายพระสูตร เมื่อได้รับคำตอบที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง เป็นคำตอบที่ลึกซึ้งสูงยิ่งไปกว่าความรู้ที่จะหาได้จากตำรา ภิกษุเยนซุง จึงกล่าวแก่ท่านเว่ยหล่างว่า ท่านจะต้องเป็นบุคคลพิเศษเหนือธรรมดา ท่านคือผู้ที่รับบาตร จีวรและธรรมะจากสังฆปรินายกองค์ที่ 5 เป็นผู้ที่ได้เดินทางลงมาทางทิศใต้เสียแน่แล้ว ท่านเว่ยหล่างได้แสดงกริยายอมรับ ภิกษุเยนซุงขอให้ท่านเว่ยหล่างนำบาตรและจีวร ออกมาให้ในที่ประชุมดู และถูกซักถามถึงพระธรรมเร้นลับที่ได้รับมอบจากสังฆปรินายกองค์ก่อน ท่านตอบว่า นอกจากการขุดคุ้ยด้วยเรื่องการเห็นแจ้งชัดในจิตเดิมแล้ว ท่านไม่ได้ให้คำสอนอะไรอีก
 
หลังจากการถามตอบและแสดงธรรมจนเป็นที่พอใจ ท่านเยนซุงถึงกับกล่าวว่า “คำอธิบายในพระสูตรที่ข้าพเจ้าอธิบายไปแล้วนั้น ไร้มูลค่าเช่นเดียวกับกองขยะอันระเกะระกะ ส่วนคำอธิบายของท่านเปรียบเหมือนทองคำเนื้อบริสุทธ์” จากนั้นท่านได้จัดการประกอบพิธีปลงผมและอุปสมบทให้ท่านเว่ยหล่างเป็นภิกษุในพุทธศาสนา และขอร้องให้ท่านเว่ยหล่างรับท่านเป็นศิษย์ จากนั้นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ท่านเว่ยหล่างครูบาก็เริ่มประกาศธรรม แม้ว่าจะต้องตกระกำลำบากเท่าใดท่านก็มิได้ย่อท้อ ท่านเว่ยหล่างเดินทางมายังเมืองเฉ้าชี บรรดาศิษยานุศิษย์สร้างสถานธรรมถวาย ท่านจึงพำนักและแสดงธรรมอยู่ที่นั่น
 
สำนักบรรลุฉับพลัน นิกายใต้ ของท่านเว่ยหล่าง เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ธรรมะออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ศิษย์ของท่านเว่ยหล่างมีโดดเด่นอยู่ 5 ท่าน คือ ท่านหวยญ่างแห่งหนันย่วน ท่านซิงซือแห่งชิงหยวน ท่านสวนเจี๋ยแห่งหย่งเจีย ท่านฮุยจงแห่งหนันหยาง และท่านเสินฮุ่ยแห่งเหอเจ๋อ
 
เมื่อท่านหวยญ่างบรรลุธรรม ท่านเว่ยหล่างได้กล่าวแก่ท่านหวยญ่างว่า สังฆปรินายกองค์ที่ 27 พระปัญญาตาระเถระ ได้พยากรณ์ไว้ว่าศิษย์ของท่านหวยญ่างผู้หนึ่ง จะเป็นประดุจม้าอาชาไนย ผาดโผนไปทั่วแผ่นดิน นั่นก็คือท่านหม่าจูเต้าอี
 
ท่านไป่จ้าง ศิษย์คนสำคัญของท่านหม่าจูเต้าอี เมื่อท่านได้เป็นอาจารย์ใหญ่ต่อจากท่านหม่าจู คณะสงฆ์เซนเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก ทำให้ท่านได้กำหนดระเบียบข้อปฏิบัติของภิกษุนิกายเซน โดยเรียกกันภายหลังว่า “ปาริสุทธิ์วินัยไป่จ้าง” นับว่าเป็นรากฐานการจัดระเบียบการรวมกลุ่มเป็นหมู่คณะของสงฆ มีข้อกำหนดหน้าที่และกิจวัตรประจำวันของเจ้าอาวาสและลูกวัดไว้โดยละเอียด ทั้งยังบัญญัติไว้ด้วยว่า ผู้ที่จะออกบวชต้องรักษาศีล 5 ให้บริบูรณ์ และรักษาศีลของสามเณรเพิ่มอีก 5 ข้อ คือ ไม่กินอาหารยามวิกาล ไม่นอนบนที่นอนสูงใหญ่ ไม่ใช้เครื่องหอม ไม่ดูการฟ้อนรำ และไม่จับต้องเงินทอง อีกทั้งกำหนดให้ภิกษุเซนทำนาปลูกผัก แม้แต่เจ้าอาวาสก็ต้องทำ นับเป็นกฎระเบียบที่ปรับให้เหมาะกับประเทศจีนอย่างยิ่ง อีกทั้งมีความสำคัญ ซึ่งทำให้นิกายเซนอยู่รอดโดยไม่ต้องพึ่งพาการบิณฑบาต โดยเฉพาะฤดูหนาวที่อากาศหนาวเหน็บนั้น แม้แต่ชาวบ้านก็ยากลำบากต่อการทำมาหาเลี้ยงครอบครัวตัวเอง
 
ท่านเว่ยชานหลิวอิ้ว ศิษย์คนสำคัญของท่านไป่จ้าง ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเซนสำนักเว่ยหล่าง ต้องเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดกับชาวพุทธครั้งใหญ่ ปี พ.ศ. 1288 พระเจ้าถังหวู่จงดำเนินการกวาดล้างพุทธศาสนา โดยอ้างว่าเศรษฐกิจย่ำแย่ วัด 44,600 กว่าแห่งถูกทำลาย ภิกษุและภิกษุณีถูกจับสึก บ้างถูกจับไปเป็นทาส มหันตภัยครั้งนี้ ทำให้พุทธศาสนานิกายอื่นๆ เสื่อมโทรมถูกทำลาย แต่นิกายเซนยังคงอยู่รอด เพราะเซนไม่ติดคัมภีร์ ไม่ติดวัตถุ แม้สิ่งเหล่านั้นถูกทำลาย ชาวพุทธนิกายเซนก็ยังคงปฏิบัติธรรมได้ อีกทั้งภิกษุแลภิกษุณีนิกายเซน ทำนาปลูกผักพึ่งพาตัวเอง ไม่ต้องอาศัยฆราวาส นับเป็นญานทัศนะอันยาวไกลของท่านไป่จ้าง ที่เข้าใจระบบสังคมจีน ยังประโยชน์มหาศาลในการปฏิบัติพุทธนิกายเซน ให้สามารถดำรงอยู่แม้ในยามคับขัน และสามารถถ่ายทอดหัวใจคือแก่นของพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบมา โดยไม่ต้องติดยึดกับเปลือกภายนอกอย่างแท้จริง



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=suparatta&month=11-2005&date=17&group=14&gblog=4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2016, 11:05:41 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: จุดประกายเซนในเมืองไทย โดย สุภารัตถะ (๓)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2010, 10:25:38 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~