ผู้เขียน หัวข้อ: พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กม.เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคหรือเครื่องมือทวงหนี้ใหม่  (อ่าน 2825 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กม.เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคหรือเครื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน (?)

นางสาวเรวดี ขวัญทองยิ้ม นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ

พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคหรือคเรื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน (?)

นางสาวเรวดี ขวัญทองยิ้ม นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ

นับตั้งแต่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน ก็ได้มีเสียงสะท้อนจากสังคมเกี่ยวกับผลของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้โดย เฉพาะประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ "เอื้อ" ต่อนายทุนโดยเฉพาะธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่ประกอบธุรกิจการให้กู้ยืมเงินในรูปแบบของการออกบัตรเครดิต ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือ ต้องการให้คดีผู้บริโภคสามารถฟ้องได้โดยสะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย จึงเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตซึ่งอยู่ใน ฐานะ "นายทุน" ใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อฟ้องคดีกับผู้ใช้คดีบัตรเครดิตที่เป็นประชาชนทั่วไป และอยู่ในฐานะ "ผู้บริโภค" ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น

ผู้เขียนในฐานะของฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ในฐานะเป็นผู้ร่วมพิจารณาร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ต้น ขอยืนยันการกระทำดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ที่มุ่งคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้บริภคเป็นสำคัญ

เมื่อพิจารณาจากสถิติคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม พบว่า ในขณะนี้ในมีการฟ้องคดีผู้บริโภคเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นว่าคดีแพ่งที่เคยฟ้องเข้าสู่ศาล เป็นคดีแพ่งสามัญ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีมโนสาเร่ มีจำนวนลดน้อยลงกว่า 80 เปอร์เซนต์ แต่มีคดีผู้บริโภคเข้ามาแทนที่ ( เรียกว่าคดี "ผบ" หมายถึงคดีผู้บริโภค สำนวนใช้ปกสีฟ้าเข้ม สำนวนใช้กระดาษขนาด A4) และในปริมาณคดีผู้บริโภคที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมากนั้นเมื่อ พิจารณาในรายละเอียดแล้วจะพบว่า "โจทก์" ส่วนใหญ่ก็คือ ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตฟ้อง (Non Bank) และ "จำเลย" คือประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้บริโภคนั่นเอง จนเกิดคำกล่าวว่าพระรชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของนายทุน และทำให้ศาลทำหน้าที่เสมือนเป็น "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หรือ "เจ้าพนักงานเร่งรัดหนี้สิน" ให้แก่นายทุนเลยทีเดียว

ดังนั้น ผู้เขียนในฐานะที่มีส่วนร่วมในการยกร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น จึงใคร่จะชี้แจง ที่มา แนวคิด หลักการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นมาบนพื้นฐานของความมุ่งมั่นและความปรารถนาดีอย่างจริง ใจของทุกๆ ฝ่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อต้องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคซึ่งถือเป็นผู้ที่อยู่ในสถานะที่เป็น ฝ่ายเสียเปรียบกว่าผู้ประกอบธุรกิจทั้งในทางเทคนิคทางธุรกิจและสถานะทาง เศรษฐกิจเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ยังคงเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมดังเจตนารมณ์ของผู้ยกร่างกฎหมายตลอดไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.ที่มาของร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.....

ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.....ได้ริเริ่มโดยสำนักงานศาลยุติธรรม อันเนื่องมาจากในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าและ บริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของคุณภาพสินค้าหรือบริการ ตลอดจนเทคนิคการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งยังขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการทำ ให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ

นอกจากนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ ผู้บริโภคที่จะต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตนเอง อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจนบางครั้งนำไปสู่การใช้วิธีการที่ รุนแรงและก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับกลุ่มผู้บริโภค ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมอันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศสมควร ให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวด เร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของ สินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น

โดยในการเขียนบทความฉบับนี้ ผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้ที่มีส่วนได้รับรู้และเห็นพัฒนาการของร่างกฎหมาย ฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น จึงได้มีโอกาสรับรู้ว่าในกระบวนการยกร่างกฎหมายฉบับนี้จนสำเร็จย่อมต้องได้ รับความร่วมมือด้วยดีจากบุคคลคนหลายฝ่ายแต่ผู้เขียนอยากจะใช้โอกาสนี้บันทึก และกล่าวสดุดีถึงผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ได้ทุ่มเท ทั้งแรงกายและแรงใจเพื่อผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับโดยไม่หวังผล ใดๆ ตอบแทน นั่นคือ นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการยกร่างกฎหมายฉบับนี้มาตั้งแต่ในชั้นคณะกรรมการยกร่าง กฎหมายของสำนักงานศาลยุติธรรม

เนื่องจากผู้เขียนได้เห็นถึงความทุ่มเทของท่านด้วยตัวของผู้เขียนเอง ที่ได้กระทำในทุกวิถีทางเพื่อผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้จนมีผลใช้บังคับใน ปัจจุบัน กล่าวคือ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสภาฯ ในยุคของ สนช.ดังนั้น การดำเนินการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ตั้งแต่ในชั้นสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาและสภาฯ ก็ต้องดำเนินการด้วยความเร่งด่วน ซึ่งในชั้นการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ของคณะกรรมาธิการฯ นายชาญณรงค์ฯ ได้ประสบอุบัติเหตุกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ

แต่ด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่และความทุ่มเทเพื่อผลักดันร่างกฎหมาย ฉบับนี้ ทำให้ท่านต้องขออนุญาตแพทย์ที่ทำการรักษา ออกมาจากโรงพยาบาลเพื่อมาทำหน้าที่ผู้ชี้แจงรายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้ ต่อคณะกรรมาธิการฯ แล้วจึงเข้ารับการรักษาต่อ ณ โรงพยาบาล ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว อาจไม่มีใครรับรู้มากนัก แต่ผู้เขียนอยากบันทึกไว้เป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในความเป็นมาของร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของบุคคลที่มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายที่ ความมุ่งมั่นและมีเจตนาที่ดีเพื่อต้องการกฎหมายฉบับนี้ออกมามีผลใช้บังคับ โดยเร็วเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม




.

http://www.matichon.co.th/news_detai...id=no&catid=02

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
2.สาระสำคัญเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของพระราชบัญญัติวิธี พิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551

พระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดระบบวิธีพิจารณาคดีที่ เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความสะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการที่จะใช้สิทธิทาง ศาล อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกันเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนา คุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นอันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนอีกทางหนึ่ง

3.ปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติ

จากที่ได้กล่าวถึงความเป็นมาและสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มาแล้ว ในส่วนนี้ผู้เขียนขอสรุปปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราช บัญญัติดังกล่าวโดยมุ่งถึงประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในขณะนี้ คือ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ "เอื้อ" ต่อนายทุน โดยเฉพาะธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่ประกอบธุรกิจการให้กู้ยืมเงินในรูปแบบของการออกบัตรเครดิต ให้คดีผู้บริโภคสามารถฟ้องได้โดยสะดวก รวดเร็วและเสียค่าใช้จายน้อย เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจาก การวิพากษ์วิจารณ์ในทำนองดังกล่าวนั้น สร้างความกระทบกระเทือนต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้เป็นอย่างมาก

แม้ว่าบทบัญญัติโดยทั่วไปของพระราชบัญญัติฉบับนี้จะได้กำหนดกระบวน พิจารณาคดีที่ให้การดำเนินคดีผู้บริโภคเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและประหยัดความสะดวก รวดเร็ว อันเป็นประโยชน์แก่ "คู่ความทั้งสองฝ่าย" แต่ละได้กำหนดบทบัญญัติหลายประการอันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการใช้สิทธิของ ผู้บริโภคในกรณีที่ "ผู้บริโภค" ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจมากกว่ากรณีของผู้ประกอบธุรกิจในการฟ้องผู้บริโภค เช่น การกำหนดให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้โดยไม่ต้อง มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือแม้ในกรณีที่สัญญามิได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 10 และมาตรา 11)
การกำหนดให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์เกี่ยวกับอายุความในการฟ้องร้อง ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพหรืออนามัยโดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกาย หรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสองอาการ (มาตรา 13)
ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาล (มาตรา 18)

ผู้บริโภคสามารถฟ้องคดีผู้บริโภคโดยผ่านผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ บริโภคได้ (มาตรา 19) ผู้บริโภคไม่ต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต การประกอบการออกแบบ การให้บริการหรือการดำเนินการใดๆ ที่ข้อเท็จจริงอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรา 29)

ผู้บริโภค (ในคดีใหม่) ได้รับประโยชน์จากผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลในคดีก่อน หากมีการฟ้องผู้ประกอบธุรกิจรายเดียวกันเป็นคดีผู้บริโภคอีกและข้อเท็จจริง ที่พิพาท (ในคดีใหม่นั้น) เป็นอย่างเดียวกับคดีก่อนซึ่งศาลได้วินิจฉัยไว้แล้ว (มาตรา 30) ในคดีที่ผู้บริโภคเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องให้ถูกต้องหรือกำหนดวิธีการ บังคับให้เหมาะสมได้ แม้จะเกินกว่าคำขอบังคับก็ตาม (มาตรา 39) เป็นต้น

แต่การกำหนดนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" หมายความว่า คดีแพ่งระหว่าง "ผู้บริโภค" กับ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 นั้น นำมาสู่ปัญหาสำคัญสำคัญที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ โดยเมื่อพิจารณาบทนิยามดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า ข้อพิพาทที่จะเป็นคดีผู้บริโภคตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้ บริโภค พ.ศ. 2551 ได้นั้น คู่ความฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้บริโภคและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจ และนอกจากการพิจารณาถึงสถานะของคู่ความดังกล่าวข้างต้นแล้ว ข้อพิพาทที่จะถือว่ามีลักษณะเป็นคดีผู้บริโภคจะต้องเป็นข้อพิพาททางแพ่งซึ่ง พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับการบริโภค สินค้าหรือบริการ

ทั้งนี้ ความหมายของคำว่า "ผู้บริโภค" และ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ก็เป็นไปตามนัยที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดว่า "ผู้บริโภค" ได้แก่ ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการผู้ได้รับการเสนอหรือชักชวนเพื่อให้ซื้อสินค้า หรือบริการผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการ และผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ในขณะที่ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ได้แก่ ผู้ขายหรือผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้าเพื่อขาย ผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า ผู้ให้บริการและผู้ประกอบกิจการโฆษณา

จากเงื่อนไขทั้งสองประการของคดีผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้น คดีผู้บริโภคตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจึงครอบคลุมทั้งกรณี "ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ" และกรณี "ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภค" ด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการฟ้องบังคับชำระหนี้จากผู้บริโภคตามสัญญาซื้อ สินค้าหรือสัญญาบริการต่างๆ จึงสามารฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภคและได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ แม้ว่าในการฟ้องร้องหรือดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในบางเรื่อง ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับประโยชน์น้อยกว่าผู้บริโภคบ้างก็ตาม แต่ผู้ประกอบธุรกิจก็สามารถใช้ช่องทางตามกฎหมายฉบับนี้โดยอาศัยประโยชน์ จากกระบวนพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วและความคล่องตัวในการฟ้องและดำเนินคดี ต่อผู้บริโภค ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงผลการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติที่ บิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายฉบับนี้

นอกจากนั้น กรณีดังกล่าวยัเงป็นผลสืบเนื่องนำมาซึ่งการฟ้องคดีจำนวนมหาศาลและต่อเนื่อง ของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อฟ้องบังคับชำระหนี้จากผู้บริโภค อันนำมาซึ่งปัญหาในทางปฏิบัติของศาลในการกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วเพื่อให้ เป็นไปตามกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 9 ของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาดังกล่าว ว่าจะกระทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งหากคดีผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคมีจำนวนมากซึ่งเป็นคดี ที่เกิดขึ้นแทบทุกวัน กระบวนพิจารณาคดีผู้บริโภคย่อมไม่อาจที่จะดำเนินไปตามกำหนดเวลาแห่งข้อกำหนด ของประธานศาลฎีกาได้ ทำให้บทบัญญัติที่กำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาไม่มีผลบังคับใช้โดยปริยาย ทั้งๆ ที่มีบทบัญญัติกำหนดไว้โดยชัดเจน

ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ก็ได้มีการพิจารณาถึงประเด็นปัญหานี้โดยละเอียด และในที่สุดคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีมติว่า หากจะมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคโดยการจะออกกฎหมายให้ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบการ ได้แต่เพียงฝ่ายเดียว ย่อมขัดต่อหลักความเป็นธรรมอันเป็นหลักสำคัญของกฎหมายวิธีพิจารณาความ ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบการฟ้องคดีผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภค ได้ จึงนำมาสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นผู้มีส่วนในกระบวนการร่างกฎหมายฉบับนี้ เห็นว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นบทเรียนสำคัญของการร่างกฎหมาย เนื่องจาก ผลของการบังคับใช้กฎหมายขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นสิ่งที่นักร่างกฎหมายพึงระวังเป็นอย่างยิ่งแม้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้จะมุ่งคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญและ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้ร่างกฎหมายไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าผู้ ประกอบการจะใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นเครื่องมือ "เร่งรัดหนี้สิน" โดยเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ปัญหาดังกล่าวนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากกระบวนการร่างกฎหมายที่ยังไม่ รัดกุมและรอบคอบเพียงพอ ทำให้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

4.ข้อเสนอแนะบางประการเพื่อการปรับปรุงพระราชบัญญัติ

จะเห็นได้ว่าประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากปัญหาทางข้อกฎหมายเกี่ยวกับนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ นั่นเอง เนื่องจากหากพระราชบัญญัติมิได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้มีความเหมาะสมตาม สมควรได้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอย่างแท้จริงแล้ว ปัญหาจำนวนคดีผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคย่อมจะมีแนวโน้มที่ สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีและแม้กระทั่งการ ปฏิบัติหน้าที่ของศาลเอง อันอาจจะส่งผลถึงประสิทธิภาพของกาดรำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อมิให้ผู้ประกอบการใช้กฎหมายฉบับนี้เป็น เครื่องมือ "เร่งรัดหนี้สิน" นั้น ผู้เขียนเห็นว่า มีแนวทาง 2 ประการได้แก่

1.การใช้อำนาจแก่ประธานศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ว่า "ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใดๆ ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น..."
ดังนั้น จึงมีข้อพึงวินิจฉัยว่าจะใช้อำนาจของประธานศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ได้หรือไม่ โดยการให้ประธานศาลอุทธรณ์กำหนดแนวทางการฟ้องคดีผู้บริโภคโดยกำหนดให้เฉพาะ แต่กรณีผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้นที่จะสามารถใช้กระบวนการ พิจารณาคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้ได้

แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น มีข้อพิจารณาว่า เนื่องจากบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ได้กำหนดไว้โดยชัดเจนว่า "คดีผู้บริโภค" หมายความว่า คดีแพ่งระหว่าง "ผู้บริโภค" กับ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 8 จะกำหนดให้อำนาจแก่ประธานศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวินิจแยว่าคดีใดเป็นคดีผู้ บริโภคหรือไม่ก็ตาม แต่การใช้ดุลพินิจของประธานศาลอุทธรณ์ย่อมอยู่ในกรอบของบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภคและประธานศาลอุทธรณ์ก็ไม่อาจตีความหรือวินิจฉัยให้ขัดกับบท บัญญัติลายลักษณ์อักษณที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้งในพระราชบัญญัติ ซึ่งบัญญัติให้คดีผู้บริโภคหมายความว่าคดีแพ่ง "ระหว่าง" ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ (ที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับการบริโภค สินค้าหรือบริการ)

ประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ ก็ยังได้กำหนดรองรับสิทธิในการฟ้องคดีผู้บริโภคของผู้ประกอบธุรกิจไว้อย่าง ชัดแจ้ง อันเป็นการยืนยันขอบเขตของคดีผู้บริโภคตามนิยามดังกล่าวว่าครอบคลุมทั้งกรณี ที่คู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บริโภคและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจ ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญของพระราชบัญญัตินี้ ประกอบกับในทางปฏิบัตินั้น ก็ได้มีคำวินิจแยของประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นแนวทางไว้แล้วว่า กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคนั้น ถือเป็นคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้

ดังนั้น การจะอาศัยอำนาจในการตีความหรือการวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์เพื่อแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติจึงมีข้อจำกัดและไม่อาจแก้ ปัญหาได้อย่างแท้จริงแต่ประการใด

2.การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 โดยการแก้ไขบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ให้สอดรับกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติและยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 17 น่าจะเป็นวิธีการที่ควรนำมาใช้เพื่อให้การใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสมตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติในการคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดยการแก้ไขนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ให้จำกัดแต่เฉพาะกรณีผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจอันเกี่ยวกับสิทธิหรือ หน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ เท่านั้น

แต่แนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าว ก็มีข้อควรพิจารณาว่า การกำหนดให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องผู้ประกอบการเป็นคดีผู้บริโภคได้แต่เพียง ฝ่ายเดียวนั้น จะมีความเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักการสำคัญของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ฯ แล้วจะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกระบวนพิจารณาที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้นแต่ พระราชบัญญัติดังกล่าวก็ยังคงหลักการของวิธีพิจารณาความในส่วนที่เกี่ยวกับ ความเป็นธรรมไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หลักการฟ้องความทั้งสองฝ่ายหลักการพื้นฐานว่าด้วยกฎหมายพยานหลักฐาน เป็นต้น
ประกอบกับในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ได้กำหนดว่า กระบวนพิจารณาคดีผู้บริโภคให้เห็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้และข้อ กำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 6 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การแก้ไขบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ให้หมายความเฉพาะคดีที่ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ จึงมีความเหมาะสม เป็นธรรม และสามารถคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ

โดยในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องบังคับให้ผู้บริโภคชำระหนี้ก็ให้ ฟ้องเป็นคดีแพ่งสามัญและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งทั่วไป ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจย่อมอยู่ในสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่จะสามารถเผชิญกับ อุปสรรคหรือความยุ่งยากที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวได้มากกว่า ผู้บริโภค



.


http://www.matichon.co.th/news_detai...id=no&catid=02
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
นักกฎหมายกฤษฎีกาเผยคดีวิธีพิจารณาผู้บริโภคพุ่ง อึ้ง! แบงก์-นอนแบงก์ใช้เป็นเครื่องมือไล่ฟ้องผู้บริโภค

นัก กฎหมายกฤษฎีกาหวั่นพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯผิดวัตถุ ประสงค์ของกฎหมาย หลังพบสถิติคดีของศาลยุติธรรมพุ่ง แต่โจทก์กลับเป็นธนาคารและนอนแบงก์ที่ทำบัตรเครดิตไล่ฟ้องประชาชนผู้บริโภค กลายเป็น"เครื่องมือ" สำคัญของนายทุนไปโดยปริยาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ นางสาวเรวดี ขวัญทองยิ้ม นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เขียนบทความ "พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 : กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคหรือเครื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน?

ผู้เขียนระบุในบทความตอนหนึ่งว่า นับตั้งแต่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน ก็ได้มีเสียงสะท้อนจากสังคมเกี่ยวกับผลของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้โดย เฉพาะประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ "เอื้อ" ต่อนายทุนโดยเฉพาะธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่ประกอบธุรกิจการให้กู้ยืมเงินในรูปแบบของการออกบัตรเครดิต ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือ ต้องการให้คดีผู้บริโภคสามารถฟ้องได้โดยสะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย จึงเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตซึ่งอยู่ใน ฐานะ "นายทุน" ใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อฟ้องคดีกับผู้ใช้คดีบัตรเครดิตที่เป็นประชาชนทั่วไป และอยู่ในฐานะ "ผู้บริโภค" ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น

ผู้เขียนในฐานะของฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ในฐานะเป็นผู้ร่วมพิจารณาร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ต้น ขอยืนยันการกระทำดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ที่มุ่งคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้บริภคเป็นสำคัญ

เมื่อพิจารณาจากสถิติคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม พบว่า ในขณะนี้ในมีการฟ้องคดีผู้บริโภคเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นว่าคดีแพ่งที่เคยฟ้องเข้าสู่ศาล เป็นคดีแพ่งสามัญ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีมโนสาเร่ มีจำนวนลดน้อยลงกว่า 80 เปอร์เซนต์ แต่มีคดีผู้บริโภคเข้ามาแทนที่ ( เรียกว่าคดี "ผบ" หมายถึงคดีผู้บริโภค สำนวนใช้ปกสีฟ้าเข้ม สำนวนใช้กระดาษขนาด A4)

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปริมาณคดีผู้บริโภคที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมากนั้นเมื่อ พิจารณาในรายละเอียดแล้วจะพบว่า "โจทก์" ส่วนใหญ่ก็คือ ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตฟ้อง (Non Bank) และ "จำเลย" คือประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้บริโภคนั่นเอง จนเกิดคำกล่าวว่าพระรชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของนายทุน และทำให้ศาลทำหน้าที่เสมือนเป็น "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หรือ "เจ้าพนักงานเร่งรัดหนี้สิน" ให้แก่นายทุนเลยทีเดียว




.

http://www.matichon.co.th/news_detai...rpid=&catid=05

.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~