อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
พระเถรีสมัยพุทธกาล
ฐิตา:
[youtube]! Private video[/youtube]
พระธรรมทินนาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
พระธรรมทินนาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้ว
ได้เป็นภริยาของวิสาขเศรษฐี
ผู้ซึ่งเป็นพระสหายของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งพระนครราชคฤห์นั้น
ฐิตา:
ถูกสามีตัดเยื่อใยจึงออกบวช
วิสาขเศรษฐี ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้งแรกโดยการชักชวนของพระเจ้าพิมพิสาร
และได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนาด้วยกัน เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงแล้ว
วิสาขเศรษฐีได้บรรลุโสดาปัตติผล ต่อมาภายหลัง
ได้ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์อีกและได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
เมื่อกลับจากวัดมายังบ้าน โดยปกติทุก ๆ ครั้ง นางธรรมทินนา
จะยืนคอยท่าอยู่ที่เชิงบันได เมื่อวิสาขเศรษฐีมาถึงก็ยื่นมือให้เกาะกุม
แล้วขึ้นบันไดไปด้วยกัน แม้วันนั้นนางธรรมทินนาก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม
แต่ฝ่ายวิสาขเศรษฐีผู้สามีไม่เกาะมือ และไม่แสดงอาการยิ้มแย้ม
ดังเช่นเคยทำมา แม้แต่เวลาบริโภคอาหาร
ซึ่งนางคอยนั่งปฏิบัติอยู่ ท่านเศรษฐีก็ไม่ยอมพูดจาอะไรทั้งสิ้น
ทำให้นางคิดหวั่นวิตกว่า “ตนคงจะทำผิดต่อสามี” ครั้นวิสาขเศรษฐีผู้สามี
บริโภคอาหารเสร็จแล้วนางจึงถามว่า:-
“ข้าแต่นาย ดิฉันทำสิ่งใดผิดหรือ วันนี้ท่านจึงไม่จับมือและพูดจาอะไรเลย ?”
ท่านเศรษฐีกล่าวตอบว่า:-“ธรรมทินนา เธอไม่มีความผิดอะไรหรอก
แต่นับตั้งแต่วันนี้ เราไม่ควรนั่งไม่ควรยืนในที่ใกล้เธอ ไม่ควรถูกต้องสัมผัสเธอ
และไม่ควรให้เธอนำอาหารมาให้ แล้วนั่งเคี้ยวกินในที่ใกล้ ๆ เธอ ต่อแต่นี้ไป
ถ้าเธอประสงค์จะอยู่ที่เรือนนี้ ก็จงอยู่ต่อไปเถิด แต่ถ้าไม่ประสงค์จะอยู่ก็จงรวบรวม
เอาทรัพย์สมบัติตามความต้องการ แล้วกลับไปอยู่ที่ตระกูลของเธอเถิด”
นางธรรมทินนา จึงกล่าวว่า “ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ขอรับเอาขยะหยากเยื่อ
อันเปรียบเสมือนน้ำลายที่ท่านถ่มทิ้งแล้วมาเทินบนศีรษะหรอก
เมื่อเป็นเช่นนี้ขอท่านได้โปรดอนุญาตให้ดิฉันบวชเถิด”
วิสาขเศรษฐี ได้ฟังคำของนางแล้วก็ดีใจ ได้กราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร
ขอพระราชทานวอทอง นำนางธรรมทินนา ไปยังสำนักของนางภิกษุณี
เพื่อขอบรรพชาอุปสมบท
เมื่อนางธรรมทินนา ได้บรรพชาอุปสมบทสมดังความปรารถนาแล้ว
อยู่ในสำนักของอุปัชฌาย์ (ภิกษุณีสงฆ์) เพียง ๒-๓ วัน ก็ลาไปจำพรรษา
อยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
ฐิตา:
Peaceful Nature Part 2
พระสกุลาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีทิพยจักษุ
พระสกุลาเถรี เกิดในตระกูลพราหมณ์ ผู้มีฐานะอยู่ในขั้นมหาเศรษฐี บิดามารดาตั้งชื่อว่า
“สกุลา” เป็นผู้มีจิตศรัทธาน้อมไปในการบรรพชาอันเป็นผลมาจากบุญกุศลเก่าในอดีตชาติอยู่แล้ว
ออกบวชเพราะเบื่อโลก
ครั้นเมื่อ พระบรมศาสดา เสด็จเที่ยวจาริกเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ไปตามคามนิคมน้อยใหญ่ต่าง ๆ
ยังหมู่สัตว์ทั้งหลายให้บรรลุมรรคผล ตามอุปนิสัยอำนาจวาสนาบารมีของแต่ละคน
เสด็จมายังพระนครสาวัตถี ประทับ ณ พระมหาวิหารเชตวันที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย
นางได้เห็นพระบรมศาสดาผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี
แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้แสดงตนเป็นอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ต่อมาภายหลัง ได้ฟังธรรมในสำนักของพระอรหันต์องค์หนึ่งแล้วเกิดความสลดใจในโลกสันนิวาส
จึงได้ออกบรรพชาในสำนักของภิกษุณี
อุตส่าห์บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมทั้งวิชชา ๓ และอภิญญา ๖
ฐิตา:
ได้รับการยกย่องเป็นเลิศทางทิพยจักษุ
พระสกุลาเถรี เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่า
เป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ทั้งหลาย
มีทิพยจักขุญาณ ทิพยโสตญาณ และบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น
ทั้งนี้ ก็ด้วยอานิสงส์จากอดีตชาติ ครั้งพระศาสนาพระพุทธเจ้านามว่า กัสสปะ
นางได้บวชเป็นปริพาชิกา คือ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา
นางได้จุดประทีบโคมไฟถวายบูชาพระเจดีย์ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ด้วยศรัทธาเลื่อมใส จึงเป็นผลส่งให้นางมีความชำนาญในทิพยจักขุญาณ
สามารถมองทะลุฝ่า ทะลุกำแพง และภูเขาได้ตามความปรารถนา ด้วยเหตุนี้
พระผู้มีพระภาคจึงทรงประกาศยกย่องพระสกุลาเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ
วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๓ คือ
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น
ฐิตา:
พระภัททากุณฑลเกสาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ตรัสรู้เร็วพลัน
พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เป็นธิดาของเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์
บิดามารดาตั้งชื่อให้ว่า “ภัททา”
ลูกปุโรหิตเกิดฤกษ์โจร
ในวันที่นางเกิดนั้น ได้มีบุตรของปุโรหิตในกรุงราชคฤห์เกิดในวันเดียวกันนี้ด้วย ขณะที่
เขาคลอดจากครรภ์มารดา ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ บรรดาอาวุธทั้งหลายในบ้านของปุโรหิตเอง
และในบ้านคนอื่น ๆ ตลอดจนถึงในพระราชนิเวศน์ต่าง ๆ ก็เกิดแสงประกายรุ่งโรจน์ไปทั่วพระ
นครตลอดคืนยันรุ่งปุโรหิตทราบในบุพนิมิตดีว่า บุตรของตนเกิดฤกษ์โจร เมื่อเขาโตขึ้นจะต้อง
เบียดเบียนทำความเดือดร้อนฉิบหายแก่ชาวเมือง จึงเข้าเฝ้าพระราชาแต่เช้าตรู่กราบทูลความ
ให้ทรงทราบโดยตลอดแล้วทูลเสนอแนะว่า ขอพระองค์โปรดรับสั่งให้ประหารชีวิตเขาเสีย เพื่อ
มิให้เป็นภัยแก่ชาวเมืองในอนาคต แต่พระราชาตรัสว่า เมื่อเขายังไม่ได้เบียดเบียนเราก็ไม่เป็นไร
อย่าไปฆ่าเขาเลย ปุโรหิตจึงเลี้ยงดูบุตรต่อไป โดยได้ตั้งชื่อให้ว่า “สัตตุกะ”
สัตตุกะเมื่อโตขึ้นอยู่ในวัยเด็ก นายสัตตุกะก็ได้ ตัดช่องย่องเบาลักขโมยทรัพย์และสิ่งของมีค่า
น้อยบ้างมากบ้างตามแต่จะได้มาเป็นเครื่องเลี้ยงชีพจนได้ชื่อว่าไม่มีบ้างหลังใดที่ไม่ถูกย่องเบา
ลักขโมยเลย ความเดือดร้อนของชาวเมืองทราบไปถึงพระราชา จึงรับสั่งให้หน้าที่ติดตาม
จับกุมโจรชั่วนั้นให้ได้ พวกเจ้าหน้าที่ทั้งหลายจึงออกติดตามสืบพบหาจนจับตัวได้แล้วนำมา
ถวายพระราชาเพื่อทรงวินิจฉัยตัดสินโทษ พระราชา รับสั่งให้โบยโจรพร้อมทั้งนำตัวตระเวนออก
ไปตามถนน ให้ทั่วทั้งพระนครก่อนแล้วจึงนำออกไปประหารที่เหวสำหรับทิ้งโจร
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version