ผู้เขียน หัวข้อ: พระเถรีสมัยพุทธกาล  (อ่าน 26817 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:52:42 pm »




โต้วาทีกับพระสารีบุตร

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตะวันวิหาร กรุงสาวัตถี
ฝ่ายนางกุณฑลเกสา ก็ดินทางมาถึงกรุงสาวัตถี
แล้วปักกิ่งหว้าบนกองทรายประกาศท้าโต้วาทะเหมือนเดิม แล้วออกไปหาอาหารบริโภค

ขณะนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เดินผ่านมาเห็นเด็ก ๆ กำลังยืนรุมล้อมดูกิ่งหว้า
บนกองทรายพร้อมกับวิจารณ์กันเซ็งแซ่
เกิดความสงสัยจึงเข้าไปถามเด็ก ๆ ได้ทราบความโดยตลอดแล้วจึงบอกกับเด็ก ๆ
ว่า :- “เจ้าหนูทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเหยียบกิ่งหว้านั้นเถิด”
“พวกกระผมกลัวขอรับ พระคุณเจ้า”
“ไม่ต้องกลัวหรอก พวกเจ้าเป็นคนเหยียบ เราจะเป็นผู้แก้ปัญหาเอง”

เด็กบางพวกไม่กล้า บางพวกก็กลัว ๆ กล้า ๆ แต่ผลที่สุดก็ช่วยกันเหยียบกิ่งหว้า
และกองทรายนั้นจนกระจัดกระจาย นางชัมพุปริพาชิกา มาเห็นแล้ว ก็ดุต่อว่าเด็กเหล่านั้น
แต่พอเด็ก ๆ บอกว่า “พระคุณเจ้ารูปนั้น ใช้ให้เหยียบ” นางจึงเข้าไปถามพระเถระว่า:-

“พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านจักโต้วาทะถามปัญหากับดิฉันหรือ ?” 
“ใช่แล้ว น้องหญิง” พระเถระตอบ นางฟังคำของพระเถระแล้วคิดว่า
“เราควรจะให้ชาวพระนครสาวัตถีได้รู้กำลังปัญญาของเราว่ายิ่งใหญ่หาผู้เทียมทานไม่ได้”
จึงแจ้งให้ชาวเมืองมาชมมาฟังกันให้มาก ๆ
ชาวพระนครพอทราบข่าว ต่างก็พากันไปห้อมล้อมจนแน่นขนัด 

ลำดับนั้น พระเถระได้ให้โอกาสแก่นางชัมพุปริพาชิกา เป็นผู้ถามปัญหาขึ้นก่อน
นางก็ถามศิลปวิทยาที่ตนเรียนรู้มาตามลัทธิตน
ถามจนหมดความรู้ที่นางมีอยู่ พรเถระก็ตอบแก้ได้ทั้งหมด นางก็ตกใจ
เพราะไม่เคยถามใครมากอย่างนี้มาก่อนเลย จึงนิ่งเฉยอยู่ พระเถระจึงกล่าวว่า
“ท่านถามเราหมดแล้ว ต่อไปนี้เราจะขอถามท่านบ้าง”  “ถามเถิด พระคุณเจ้า”
“ที่ชื่อว่า หนึ่ง นั้นคืออะไร ?” “พระคุณเจ้า ดิฉันไม่ทราบ เจ้าข้า”



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 11:16:22 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:54:49 pm »




ขอบวชในพระพุทธศาสนา

นางชัมพุปริพาชิกา ยอมพ่ายแพ้ต่อพระเถระด้วยปัญหาเพียงข้อเดียวเท่านั้น
นางหมอบลงกราบแทบเท้าพระเถระ
ขอศึกษาวิชาพุทธมนต์ในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งขอบรรพชาและถึงพระเถระเป็นสรณะ

แต่พระเถระบอกว่าขอให้นางถึงพระพุทธองค์เป็นสรณะเถิด แล้วพานางไปยังพระวิหารเชตวัน
นำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พระพุทธองค์ทรงทราบจริยาอัธยาศัยของนางดีแล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนาคาถาภาษิตว่า:-

“ผู้ใดกล่าวคาถาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา
ผู้กล่าวคาถาที่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เพียง
คาถาเดียว
ยังผู้ฟังให้สงบระงับได้ ชื่อว่า ประเสริฐกว่าแล”



พอจบพระธรรมเทศนาคาถาภาษิต ทั้งที่นางกำลังยืนอยู่นั้น ยังไม่ทันจะนั่งลง
ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในขณะนั้น แล้วกราบทูลขอบรรพชา
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วส่งนางให้ไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์

เมื่อนางบวชแล้ว ได้ชื่อว่า “กุณฑลเกสาเถรี” ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า
“พระภัททากุณฑลเกสาเถรีนี้ ยิ่งใหญ่จริงหนอ บรรลุพระอรหัตผลในเวลาจบคาถาเพียง ๔ บาทเหล่านั้น”
พระศาสดาทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงสถาปนาพระภัททากุณฑลเกสาเถรี ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 11:18:19 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:55:39 pm »




พระภัททกาปิลานีเถรี

เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

พระภัททกาปิลานีเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีชื่อโกสิยพราหมณ์ ในนครสาคลนคร
มารดาชื่อสุจิบดี เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ทำอาวาหมงคลเป็นภรรยาของปิปผลิมานพ ตระกูลสัสสปะ

เรียกชื่อตามตระกูลว่า “กัสสปะ” นับว่าเป็นสามีภรรยาที่แปลกเพราะทั้งคู่ไม่ยินดี
ในการถูกเนื้อต้องตัวกัน แม้จะนอนบนเตียงเดียวกันแต่ก็ขึ้นคนละข้าง
และมีแจกันดอกไม้กั้นตรงกลาง อยู่ครองคู่กันจนบิดามารดาของทั้งส่องฝ่ายถึงแก่กรรม

ทรัพย์สมบัติทั้งหลายจึงตกอยู่ในปกครองดูแลรับผิดชอบของคนทั้งสอง


ไม่ทำบาปแต่ต้องคอยรับบาป
เนื่องด้วยตระกูลทั้งสองนั้น เป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมเป็นตระกูลเดียวกัน
ก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยง
และคนงานจำนวนมาก ทั้งสองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง

วันหนึ่ง ขณะที่กัสสปะผู้สามีออกไปตรวจดูการทำไร่ไถนาอยู่นั้น
เห็นนกกาจิกกินสัตว์เล็กสัตว์น้อย แล้วรู้สึกสลดใจที่ตนเองจะต้องคอย
รับบาปกรรมที่คนอื่นทำ
แม้นางภัททกาปิลานี ใช้ให้ทาสและกรรมกรนำเมล็ดถั่วเมล็ดงามาตากที่ลานหน้าบ้าน
เห็นนกกามาจิกกินตัวหนอนก็เกิดสลดใจเช่นกัน

ดังนั้น เมื่อสองสามีภรรยาอยู่กันพร้อมหน้าจึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นตรงกันว่า
ไม่ควรจะมานั่งคอยรับบาปกรรมที่คนอื่นกระทำเพื่อตนเลย
จึงพร้อมใจกันมอบทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แน่หมู่ญาติและทาสกรรมกรแบ่งกันไปดูแล

ส่วนตนทั้งสองได้ปลงผมแล้วนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ อธิษฐานเพศบรรพชิต
บวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินทางออกจากบ้านไปด้วยกัน
พอถึงทางแยกสองแพร่ง กัสสปะได้ไปทางขวา และได้พบพระบรมศาสดา
ที่ใต้ร่วมพหุปุตตนิโครธ แล้วกราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 11:20:13 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:56:06 pm »




บวชในสำนักปริพาชก

ส่วนนางภัททกาปิลานี แยกไปทางซ้าย เดินทางไปพบสำนักของปริพาชก
จึงบวชอยู่ในสำนักนั้นถึง ๕ ปี

เนื่องด้วยขณะนั้นพระพุทธองค์ยังมิทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา
ต่อมาเมื่อพระนางปชาบดีโคตมีได้บวชแล้ว นางจึงได้มาบวชในสำนักของนางภิกษุณี

ได้ศึกษาพระกรรมฐานบำเพ็ญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔
วิโมกข์ ๓ อภิญญา ๖ เป็นผู้ชำนาญในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติ

ดังนั้นพระบรมศาสดา ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อ ทรงสถาปนา
ภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระภัททกาปิลานีเถรี

ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ



วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประการ

๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาคือความว่าง

๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจังแล้วถอนนิมิตได้

๓.อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์แล้วถอนความปรารถนาได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 11:21:52 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:56:44 pm »




พระภัททากัจจานาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงอภิญญา

พระภัททากัจจานาเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งโกลิยวงศ์
ในพระนครเทวทหะ
เป็นพระกนิษฐภคินีของพระเทวทัต บรรดาพระประยูรญาติ
ได้ขนานพระนามว่า
“ภัททากัจจานา” หรือที่นิยมเรียกพระนามว่า “ยโสธราพิมพา




พอประสูติโอรสพระสามีก็หนีบวช

เมื่อพระนางเจริญวัยขึ้นจนมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ได้รับอภิเษกเป็นอัครมเหสี
ของเจ้าชายสิทธัตถะ บรมโพธิสัตว์ แห่งศากยวงศ์ ในพระนครกบิลพัสดุ์
และเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า “พระราหุลกุมาร”

ในวันที่พระราหุลกุมารประสูตินั้นเจ้าชายสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ได้เสด็จออกทรงผนวช
และทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ ปี ก็ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์

จากนั้นพระพุทธองค์ ก็ทรงจาริกไปตามคามนิคมต่าง ๆ เพื่อเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์
ให้ได้บรรลุอมฤตธรรม ตามสมควรแก่อำนาจวาสนาบารมี แล้วได้เสด็จสงเคราะห์
พระประยูรญาติ ณ กบิลพัสดุ์บุรี ยังพระประยูรญาติศากยวงศ์ มีพระเจ้าสุทโธทนะ
พุทธบิดาเป็นประธาน ได้ดื่มน้ำอมฤตธรรม จนได้บรรลุอริยภูมิตั้งแต่พระโสดาบันจนถึง
พระอรหันต์เป็นจำนวนมาก

ในคราวที่พระบรมศาสดา เสด็จโปรดพระประยูรญาติครั้งนี้ พระราหุลกุมาร
ก็ได้ติดตามองค์พระบิดาบรรพชาเป็นสามเณร นอกจากนี้ศากยกุมารทั้งหลาย
จากสกุลอื่น ๆ ก็เสด็จออกบวชเป็นจำนวนมาก
ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว จากนั้น
พระนางมหาปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยขัติยนารีชาวศากยะ ๕๐๐ นาง
ก็พากันเสด็จออกบรรพชาในสำนักพระศาสดากันทั้งสิ้น

ทางด้านพระนครกบิลพัสดุ์ ก็ว่างเว้นกษัตริย์ที่จะปกครองดูแล หมู่อำมาตย์ราชปุโรหิต
ทั้งหลายได้ประชุมปรึกษาเห็นพ้องต้องกัน ได้ทำพิธีราชาภิเษกอัญเชิญเจ้าชายมหานามศากยราช
ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ขึ้นครอบครองราชย์สมบัติในกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อไป



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 11:50:09 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:57:40 pm »




ออกบวชตามพระสวามีและโอรส

ฝ่ายพระนางยโสธราพิมพาราชเทวี พระชนนีของพระราหุลกุมาร ทรงว้าเหว่าโศกาดูร
ด้วยพระดำริว่า “โลกสันนิวาสนี้ มิมีอะไรแน่นอน
พระสวามีและลูกน้อยต่างก็ได้เสด็จออกบรรพชา อีกทั้งพระประยูรญาติทั้งชายหญิง

ก็พากันออกบวชตามเสด็จ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีประโยชน์อะไรแก่เราในเพศฆราวาส
เราควรสละสมบัติทั้งปวงแล้วออกบวชโดยเสด็จพระภัสดาในบัดนี้ จะประเสริฐกว่า”

พระนางจึงเสด็จเข้าไปกราบทูลลาพระเจ้ามหานามะ แล้วพร้อมด้วยพระนางรูปนันทาชนบทกัลยาณี
และสาวสนมกำนัล รวมประมาณ ๕๐๐ นาง เสด็จไปยังพระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี

ถวายอัญชลีแล้วกราบทูลขออุปสมบท  สมเด็จพระบรมศาสดาประทานสงเคราะห์
ด้วยครุธรรม ๘ ประการ
พระนาง ครั้นบวชแล้วได้นามปรากฏว่า “ภัททากัจจานาเถรี” ได้เรียนพระกรรมฐาน

ในสำนักพระบรมศาสดาแล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง
๔ ประการ เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
ปรากฏว่าพระเถรีเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญในอภิญญาทั้งหลาย นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว

สามารถระลึกชาติได้ถึงหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป
เมื่อคุณความสามารถปรากฏเช่นนั้น
พระบรมศาสดา ได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระเถรีนี้
ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 11:59:00 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:58:16 pm »




พระกีสาโคตมีเถรี

เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

พระกีสาโคตมีเถรี ถือกำเนิดในสกุลคนเข็ญใจในกรุงสาวัตถี
บิดามารดาตั้งชื่อให้นางว่า “โคตมี”
แต่เพราะความที่นางเป็นผู้มีรูปร่างผอมบอบบาง คนทั่งไปจึงพากัน
เรียกนางว่า “กีสาโคตมี”


เงินทองของเศรษฐีกลายเป็นถ่าน

ในกรุงสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่งมีทรัพย์สินเงินทองมากมายถึง ๔๐ โกฏิ แต่ต่อมา
ทรัพย์เหล่านั้นกลายสภาพเป็นถ่านไปทั้งหมด เศรษฐีจึงเกิดความเสียดาย
เศร้าโศกเสียใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมไปจากเดิม มีสหายคนหนึ่ง
มาเยี่ยมเยียนได้ทราบสาเหตุความทุกข์ของเศรษฐีแล้ว
จึงแนะนำอุบายที่จะให้ถ่านเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินเป็นทองดังเดิมว่า:-

“แน่ะสหาย ท่านจงนำถ่านทั้งหมดนี้ออกไปวางที่ริมถนนในตลาด ทำทีประหนึ่งว่า
นำสินค้าออกมาขาย ถ้ามีคนผ่านไปผ่านมาพูดว่า “คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ท่านกลับเงินเอาทองมานั่งขาย
ถ้าคนที่พูดนั้นเป็นหญิงสาว ท่านก็จงสู่ขอนางมาเป็นสะใภ้ แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่เธอ
ท่านก็จงอาศัยเลี้ยงชีพอยู่กับเธอนั้น แต่ถ้าคนที่พูดเป็นชายหนุ่ม
ท่านก็จงยกธิดาของท่าน ให้แก่เขาแล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เขาโดยทำนองเดียวกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 12:02:59 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 08:59:16 pm »




ถ่านกลับเป็นเงินเป็นทองดังเดิม

เศรษฐีได้ฟังสหายแนะนำแล้วเห็นดีด้วย จึงทำตามสหายแนะนำทุกอย่าง
ประชาชนที่ผ่านไปผ่านมาต่างก็พูดกันว่า ““คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ท่านกลับมานั่งขายถ่าน”
เศรษฐีตอบว่า “ก็เรามีแต่ถ่านอย่างเดียว สิ่งอื่น ๆ ของเราไม่มี”

วันนั้น นางกีสาโคตมีเดินเข้าไปธุระในตลาดเห็นเศรษฐีแล้วนึกประหลายใจ
จึงถามว่า “คุณพ่อ คนอื่น ๆ คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ทำไมคุณพ่อกลับเงินเอาทองเล่า”

“เงินทองที่ไหนกัน แม่หนู” เศรษฐีกล่าว
“คุณพ่อ ก็ที่กองอยู่นี่ไง” พูดแล้วนางก็กอบเต็มมือให้เศรษฐีดู ทันใดนั้น
เศรษฐีก็เห็นถ่านในกำมือของนางกลายเป็นเงินเป็นทองจริง ๆ

จากนั้น เศรษฐีได้สอบถามถึงสถานที่อยู่และตระกูลของนางแล้ว ได้สู่ขอนาง
มาทำพิธี อาวาหมงคลกับบุตรชายของตนแล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏินั้น
ให้แก่นาง ทรัพย์เหล่านี้ก็กลับเป็นเงินเป็นทองดังเดิม





อุ้มศพลูกหาหมอรักษา

นางได้อยู่ร่วมกับสามีจนมีบุตรหนึ่งคนในขณะที่บุตรของนางอยู่ในวัยพอเดินได้
เท่านั้นก็ถึงแก่ความตาย นางห้ามมิให้คนนำบุตรของนางไปเผาหรือไปทิ้งในป่าช้า
เพราะนางไม่เคยเห็นคนตาย จึงอุ้มร่างบุตรชายที่ตายแล้วนั้นเที่ยวเดินถาม
ตามบ้านเรือนต่าง ๆ ว่ามียารักษาบุตรของนางบ้างหรือไม่ คนทั้งหลายพากันคิดว่า
“นางคงจะเป็นบ้า จึงเที่ยวหายารักษาคนตายให้ฟื้น”
อุบาสกผู้มีปัญญาคนหนึ่งเห็นกิริยาของนางแล้วก็คิดว่า “นางคงจะมีบุตรคนแรก
จึงรักบุตรมาก และคงจะไม่เคยเห็นคนตาย จึงไม่รู้ว่าความตาย
เป็นอย่างไร เราควรจะแนะนำทางให้นางดีกว่า” จึงกล่าวกับนางว่า:-

“แม่หนู ฉันเองไม่รู้จักยารักษาลูกของเธอหรอก แต่พระสมณโคดม ขณะนี้
ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน พระองค์ท่านรู้จักยาที่รักษาลูกของเธอได้”
นางรู้สึกดีใจที่ทราบว่ามีคนสามารถรักษาลูกของนางให้หายได้ จึงอุ้มลูกน้อย
รีบมุ่งหน้าตรงไปยังพระวิหารเชตวัน เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดา
แล้วทูลถามหายาที่จะมารักษาลูกของนางให้หายได้

พระพุทธองค์รับสั่งให้นางไปหาเมล็ดพันธุผักกาดหยิบมือหนึ่ง มาเป็นเครื่อปรุงยา
แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ที่ได้จากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมาก่อนเท่านั้นจึงสามารถใช้เป็นเครื่องปรุงยาได้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 12:22:24 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 09:00:19 pm »




พระศาสดาบอกยาให้

ในดวงจิตของนางคิดว่า ของสิ่งนี้หาไม่ยาก นางอุ้มร่างลูกน้อยเข้าไปในหมู่บ้าน
ออกปากขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งแต่บ้านหลังแรกเรื่อยไป ปรากฏว่าทุกบ้าน
มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งนั้น แต่พอถามว่าที่บ้านนี้เคยมีคนตายหรือไม่ เจ้าของบ้าน
ต่างก็ตอบเหมือนกันอีกว่า “ที่บ้านนี้ คนที่ยังเหลือยู่นี้น้อยว่าคนที่ตายไปแล้ว”

เมื่อทุกบ้านต่างก็ตอบนอย่างนี้นางจึงเข้าใจว่า “ความตายนั้นเป็นอย่างไร
และคนที่ตาย ก็มิใช่ว่าจะตายเฉพาะลูกของเธอเท่านั้น
ทุกคนเกิดมาก็ต้องตายเหมือนกันหมด” นางจึงวางร่างลูกน้อยไว้ในป่า
แล้วกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า
“ไม่สามารถจะหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านเรือนที่ไม่เคยมีคนตายได้”

พระพุทธองค์ได้สดับคำกราบทูลของนางแล้วตรัสว่า:-

“โคตมี เธอเข้าใจว่าลูกของเธอเท่านั้นหรือที่ตาย อันความตายนั้น
เป็นของธรรมดาที่มีคู่กับสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลก
เพราะว่ามัจจุราชย่อมฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยเต็มเปี่ยม
ไปด้วยกิเลสตัณหา
ให้ลงไปในมหาสมุทรคือ อบายภูมิ อันเป็นเสมือนว่าห้องน้ำใหญ่ ฉะนั้น”

นางได้ฟังพระดำรัสของพระบรมศาสดาจบลงก็ได้บรรลุอริยผลดำรงอยู่
ในพระโสดาบัน แล้วกราบทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดา
รับสั่งให้ไปบรรพชาในสำนักของภิกษุณีสงฆ์ นางบวชแล้วได้นามว่า
กีสาโคตมีเถรี

วันหนึ่งพระเถรีได้ไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เห็นแสงประทีปที่จุดอยู่
ลุกโพลงขึ้นแล้วหรี่ลงสลับกันไป นางจึงถือเอาดวงประทีปนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐานว่า
สัตว์โลกก็เหมือนกับแสงประทีปนี้
มีเกิดขึ้นและดับไป แต่ผู้ถึง
พระนิพพาน
ไม่เป็นอย่างนั้น”




ขณะนั้น พระผู้มีประภาคประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎิ ทรงทราบด้วยพระญาณว่า
นางกำลังยึดเอาเปลวดวงประทีปเป็นอารมณ์กรรมฐานอยู่นั้น
จึงทรงแผ่พระรัศมีไปปรากฏประหนึ่งว่าพระองค์ประทับนั่งตรงหน้าของนางแล้วตรัสว่า:-


“อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและดับไป
เหมือนเปลวดวงประทีปนี้ แต่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น

ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะเดียวของผู้เห็นพระนิพพาน
ย่อมประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานนั้น”

เมื่อสิ้นสุดพระพุทธดำรัส นางก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ดำรงตนเป็นพระเถรี
ผู้เคร่งครัดในการใช้สอยบริขาร ยินดีเฉพาะผ้าไตรจีวร
ที่มีสีปอน ๆ และเศร้าหมองเที่ยวไปทุกหนทุกแห่ง
ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงได้ประทานแต่งตั้งพระเถรีนี้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 02:34:11 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 09:03:30 pm »




พระสิงคาลมาตาเถรี

เอตทัคคะในฝ่ายผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา
พระสิงคาลมาตาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์
เดิมมีชื่ออย่างไรไม่ปรากฏ

เมื่อเจริญวัยได้แต่งงานกับชายหนุ่มผู้มีชาติตระกูลและทรัพย์เสมอกัน
อยู่ครองเรือน จนมีบุตรหนึ่งคน
บรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อบุตรชายของนางว่า “สิงคาลกุมาร”
ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลายจึงเรียกนางว่า “สิงคาลมาตา


สิงคาลกุมารไหว้ทิศ ๖

สิงคาลกุมาร เมื่อเจริญวัยเติบโตขึ้น เป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติ
ไหว้ทิศทั้ง ๖ เป็นประจำทุกวัน คือ

๑. ทิศเบื้องหน้า (ทิศตะวันออก)
๒. ทิศเบื้องขวาง (ทิศใต้)
๓. ทิศเบื้องหลัง (ทิศตะวันตก)
๔. ทิศเบื้องซ้าย (ทิศเหนือ)
๕. ทิศเบื้องล่าง
๖. ทิศเบื้องบน

วันหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระวิหารเวฬุวันเข้าไปบิณฑบาต
ในกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาละ ผู้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่
มีผมและเสื้อผ้าเปียก กำลังประคองอัญชลีไหว้ทิศทั้ง ๖ อยู่จึงตรัสถามว่า
“สิงคาละ เพราะเหตุไร เธอจึงลุกขึ้นแต่เช้า
ทั้งผมและเสื้อผ้าเปียกชุ่มทำการไหว้ทิศทั้ง ๖ อยู่อย่างนี้

สิงคาลกุมาร กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก่อนที่บิดาของพระพุทธเจ้าจะตายได้สั่งให้ข้าพระองค์
ไหว้ทิศทั้ง ๖ เหล่านี้
ข้าพระองค์สักการะ เคารพ นับถือ และบูชาคำสั่งของบิดา
จึงทำอย่างนี้พระเจ้าข้า”

สิงคาละ ตามธรรมเนียมแบบแผนของพระอริยะนั้น เขาไม่ไหว้ทิศ ๖ กันอย่างนี้
แต่ทิศทั้ง ๖ ของพระอริยะนั้น คือ

๑. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา
๒. ทิศเบื้องขวาง ได้แก่ ครูอาจารย์
๓. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา
๔. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย
๕. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ทาสกรรมกร
๖. ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์

ซึ่งกุลบุตรจะต้องบำรุงดูแลรักษาและป้องกันตามสมควรแก่ฐานะ
และหน้าที่อย่างถูกต้องเหมาะสม แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัส
พระคาถาภาษิต ยังสิงคาละให้รื่นเริงบันเทิงใจ
เกิดศรัทธาเลื่อมใสประกาศตน
เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วเสร็จกลับสู่พระเวฬุวัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 02:48:17 pm โดย ฐิตา »