ผู้เขียน หัวข้อ: พระเถรีสมัยพุทธกาล  (อ่าน 26819 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 09:03:56 pm »




สิงคาลมาตาออกบวช

ต่อมา สิงคาลมาตา หลังจากที่สามีได้ถึงแก่กรรมแล้ว และบุตรชายของนาง
ก็เข้าถึงพระรัตนตรัย นางได้ฟังพระธรรมกถาของพระบรมศาสดา
แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า จึงเข้าไปกราบทูลขอบรรพชา
อุปสมบทในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงอนุญาต
ให้ไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์ ครั้นบวชแล้วศรัทธาของนางกลับเพิ่มทวียิ่งขึ้น

วันหนึ่ง นางไปยังพระวิหารที่ประทับของพระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรม
เมื่อเห็นพระพุทธองค์เท่านั้น ยังมิทันที่จะเข้าไปกราบถวายบังคม
ได้แต่ยืนเพ่งมองดู
พระสิริสมบัติของพระทศพล อยู่ด้วยกำลังศรัทธาอย่างแรงกล้า

ขณะนั้น พระบรมศาสดาทรงทราบว่านางเป็นผู้ดำรงมั่นในศรัทธา
จึงตรัสพระธรรมเทศนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แม้นางเองก็อาศัย
ศรัทธาเป็นที่ตั้ง
ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ได้บรรลุพระอรหัตผลในขณะที่ยืนอยู่นั้น

ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณี
ทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ได้ทรงสถาปนา พระสิงคาลมาตาเถรี
ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่ายศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา 




ที่มา : www.84000.org
Credit by : http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?s=01240d71241e01926ba1b75189f2a204&t=8994&page=2
Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 03:11:08 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2010, 10:12:17 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:03:52 am »




พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู

พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา ( พุทธมารดา) พระประยูรญาติถวายพระนามว่า “ โคตมี ” เป็นทั้งพระน้านางและมารดาเลี้ยง

พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษกเป็นพระมเสีของพระเจ้าสุทโธทนะศากยราช แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมหามายาราชเทวี พอประสูติพระราชโอรสคือเจ้าชายสิทธิธัตถะได้เพียง ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคตไปบังเกิดเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้นดุสิต พระเจ้าสุทโธทนะทรงมอบการเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีศักดิ์เป็นพระมาตุจฉา ( พระน้านาง ) ซึ่งต่อมมาได้สถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “ นันทกุมาร ” และพระธิดานามว่า “ รูปนันทา

ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัพดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดงธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระโสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาและพระน้านางยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติผลและในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลงพระพุทธบิดาทรงบรรลุเป็นบุคคลชั้นพระอนาคามี

ขอบวชแต่ผิดหวัง
ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธีอาวาหมงคลอภิเษกสมรสนันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนบทกัลยาณี เมื่อพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนันทกุมารไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหูลกุมารออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนักเพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์

ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อมีการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมีรู้สึกว้าเหว่พระทัย มีพระประสงค์จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นิโครธาราม กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สัตรีบวชในพระพุทธศาสนา พระนางกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์

พระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

พระอานนท์ช่วยกราบทูลจึงได้บวช
ขณะนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้มีพระทัยศรัทธา รับสั่งให้ช่างกัลบกมาปลงพระเกษาแล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากยนารีเป็นบริวารประมาณ ๕๐๐ พระองค์ ( นางกษัตริย์เหล่านี้สวามีออกบวชไปก่อนแล้ว ) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอ้อนวอนขออุปสมบท ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ยังไม่ทรงอนุญาต จึงเสด็จออกมายืนร้องไห้อยู่ที่หน้าซุ้มประตู ขณะนั้นพระอานนท์ผ่านมาพบจึงสอบถามความโดยตลอดแล้ว พระเถระรู้สึกสงสารคิดจะช่วยพระนาง จึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า
“ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่พระเจ้าข้า ? ”
“ ดูก่อนอานนท์ อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นควรจะอนุเคราะห์แก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นคุณูปการบำรุงเลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด พระเจ้าข้า ”
ดูก่อนอานนท์ ถ้าปชาบดีโคตมีรับประพฤติครุธรรม ๘ ประการได้ ตถาคตก็อนุญาตให้อุปสมบทได้

ลำดับนั้น พระเถระได้ศึกษาครุธรรม ๘ ประการ จากพระผู้มีพระภาคโดยลำดับ คือ
๑ ภิกษุณี แม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไหว้ พระภิกษุ แม้อุปสมบทได้วันเดียว
๒ ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในโอวาสที่มีพระภิกษุ
๓ ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
๔ ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ( ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
๕ ภิกษุณี ถ้อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรมต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย

๖ ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมา มารักษาสิกขาบท ๖ ประการ คือ
๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒ เว้นจากการลักขโมย ๓ เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔ เว้นจากการพูดเท็จ ๕ เว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา ๖ เว้นจาการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล
ทั้ง ๖ ประการนี้ มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี ถ้าบกพร้องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่


๗ ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกาถาคือด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้
๘ ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้โอวาสภิกษุมิได้

พระเถระจดจำนำเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางได้สดับแล้วมีพระทัยผ่องใสโสมนัสยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมทั้งศากยขัตติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด

เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นภิกษุณีแล้วเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป และได้บำเพ็ญกิจพระศาสนาเต็มกำลังความสามารถ


ลำดับต่อมมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณีในตำแหน่งเอตทัคคะหลายตำแหน่ง พระพุทธองค์ทรงพิจราณาเห็นว่า พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เป็นผู้มันวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสมการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น จึงทรงสถาปนาพระนางในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน........


dhammajak.net




พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

.......พระเถรีแม้รูปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ ก็ยังเกิดในเรือนผู้มีสกุล กรุงหังสวดี รู้เดียงสาแล้วกำลังฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศของภิกษุณีผู้รัตตัญญู ทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวดขึ้นไปแล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น ทำบุญมีทานเป็นต้นจนตลอดชีวิต เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ได้บังเกิดเป็นหัวหน้าทาสี ๕๐๐ ในกรุงพาราณสี ในโลกซึ่งว่างพระพุทธเจ้าในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ กับพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลาย

ครั้งนั้นนางได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ในวันเข้าพรรษา ลงจากเงื้อมเขานันทมูลกะมาที่อิสิปตนะ แล้วเที่ยวบิณฑบาตในเมือง ก็กลับไปอิสิปตนะอีก แสวงหาหัตถกรรมเพื่อสร้างกุฏิใน วันเข้าพรรษา ได้ชักชวนหญิงรับใช้เหล่านั้นและสามีของตนให้ช่วยกันสร้างกุฏิ ๕ หลัง พร้อมด้วยบริวารมีที่จงกรมเป็นต้น ตั้งเตียงตั่งน้ำฉันน้ำใช้และภาชนะเป็นต้นไว้เสร็จ นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่ออยู่ จำพรรษาตลอดไตรมาสในที่นั้นนั่นเอง

จึงตั้งภิกษาไว้ถวายตามวาระกัน หญิงคนใดไม่สามารถจะถวายภิกษาในวันที่ถึงวาระของตนได้ นางก็นำเอาภิกษาจากเรือนของตนไปถวายแทน นางปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดไตรมาส เมื่อถึงวันปวารณาให้นางทาสีแต่ละคนสละผ้าสาฏกคนละผืน รวมเป็นผ้าสาฏก เนื้อหยาบ ๕๐๐ ผืน ให้จัดผ้าเหล่านั้นทำเป็นไตรจีวรถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ พระปัจเจก-พุทธเจ้าทั้ง ๕ องค์ ได้เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ต่อหน้าหญิงเหล่านั้นแล

หญิงเหล่านั้นทุกคนได้ทำกุศลจนตลอดชีวิตแล้วไปบังเกิดในเทวโลก หัวหน้าหญิงเหล่านั้นจุติจากเทวโลกนั้นไปบังเกิดในเรือนของหัวหน้าช่างหูกในหมู่บ้านช่างหูก กรุงพาราณสี รู้เดียงสาแล้วได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระนางปทุมวดี รู้สึกนึกรัก ไหว้ท่านทุกองค์แล้วถวายภิกษา ท่านฉันเสร็จ ก็กลับไปยังภูเขาคันธมาทน์

หญิงหัวหน้าทาสีนั้น ทำกุศลจนตลอดชีวิต เที่ยวเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ถือปฏิสนธิในพระราชมณเฑียรของพระเจ้ามหาสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ ก่อนแต่พระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติ ได้มีพระนามตามโคตรว่า โคตมี เป็นกนิษฐภคนีของ พระนางมหามายา แม้พวกหมอดูลักษณะได้พยากรณ์ไว้ว่า ทารกทั้งหลายที่อยู่ในท้องของหญิงทั้งสองนี้จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงทำมงคลทั้งสองพระองค์แล้ว นำไปยังพระราชมณเฑียรของพระองค์ในเวลาเจริญพระชนม์

ต่อมาเมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้น ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ ทำการอนุเคราะห์โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายในที่นั้นๆ โดยลำดับ ทรงอาศัยกรุงเวสาลี ประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงทำให้แจ้งพระอรหัตแล้ว เสด็จปรินิพพานภายใต้พระมหาเศวตฉัตร

.......ครั้งนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมีมีพระประสงค์จะผนวช เมื่อทูลขอบรรพชากะพระศาสดาครั้งแรกไม่ได้ ครั้งที่สองให้ตัดพระเกศาแล้วทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ พอจบการแสดง "กลหวิวาทสูตร" ได้เสด็จไปกรุงเวสาลีกับพวกหญิงบาทปริจาริกาของศากยกุมาร ๕๐๐ ซึ่งประสงค์จะบวชด้วยกัน ได้ให้พระอานนท์ทูลอ้อนวอนพระศาสดา จึงได้บรรพชาและอุปสมบทด้วย ครุธรรม ๘ ประการ ส่วนหญิงนอกนี้ได้อุปสมบทพร้อมกันทั้งหมด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2011, 02:14:38 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:06:46 am »



ฝ่ายพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้อุปสมบทอย่างนี้แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้นพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนางแล้ว พระนางทรงเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระศาสดา พากเพียรภาวนาอยู่ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตที่แวดล้อมด้วยอภิญญาและปฏิสัมภิทา ส่วนภิกษุณี ๕๐๐ ที่เหลือได้อภิญญา ๖ เมื่อจบ นันทโกวาทสูตร ภายหลังวันหนึ่ง

พระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะในพระเชตวันมหาวิหาร กำลังทรงสถาปนาภิกษุณีไว้ในตำแหน่ง จึงทรงสถาปนาพระมหาปชาบดีโคตรมีเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศของภิกษุณี ฝ่ายรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน พระนางทรงยับยั้งอยู่ด้วยผลสุข และด้วยนิพพานสุข ดำรงอยู่ในความกตัญญู

ในวันหนึ่ง เมื่อจะทรงพยากรณ์พระอรหัตโดยมุข คือทำการสรรเสริญพระคุณและความที่มีอุปการะก่อนแก่พระศาสดาให้แจ่มแจ้งจึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า

“ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง หม่อมฉันขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้ทรงช่วยปลดเปลื้องหม่อมฉันและชนอื่นเป็นอันมากให้พ้นจากทุกข์ หม่อมฉันกำหนดรู้ทุกข์ทั้งปวงแล้ว เผาตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ให้เหือดแห้งแล้ว ได้เจริญมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ได้บรรลุนิโรธแล้ว ชนทั้งหลายเป็นมารดา เป็นบุตร เป็นธิดา เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นปู่ย่าตายายกันมาในชาติก่อนๆ หม่อมฉันไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่พบที่พึ่ง จึงท่องเที่ยวไป ก็หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว

อัตภาพนี้เป็นอัตภาพสุดท้าย ชาติสงสารสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ มีความพร้อมเพรียงกัน การทำโลกุตรธรรมให้ประจักษ์แก่ตนอย่างนี้ เป็นการถวายบังคมต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระนางเจ้ามหามายาเทวีได้ประสูติพระโคดมมา เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ เพราะพระองค์ได้ทรงบรรเทากองทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ถูกพยาธิและมรณะทิ่มแทงแล้ว”

บางคราว พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี พระองค์เองก็ประทับอยู่ สำนักภิกษุณี กรุงเวสาลี ในเวลาเช้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาต เสวยภัตตาหารแล้วก็ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติตามเวลาที่กำหนดไว้ในสถานที่พักกลางวันของพระองค์ ออกจากผลสมาบัติ พิจารณาการปฏิบัติของพระองค์เกิดโสมนัส รำพึงอายุสังขารของพระองค์อยู่ ก็ทรงรู้ว่าอายุสังขารเหล่านั้นสิ้นแล้ว ทรงดำริอย่างนี้ว่า

ถ้ากระไรจำเราจะไปพระวิหาร ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว อำลาพระเถระทั้งหลายและเพื่อนสหพรหมจารีทุกรูป ซึ่งเป็นที่เจริญใจของตน พึงมาปรินิพพานเสียในที่นี้นี่แหละ ภิกษุณี ๕๐๐ รูป ผู้เป็นบริวารของพระนางก็ได้มีความปริวิตกเหมือนพระเถรี

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นประทีปส่องโลกให้สว่างไสวเป็นสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระมหาโคตมีภิกษุณีพระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้า อยู่ในสำนักนางภิกษุณีในพระบุรีอันรื่นรมย์นั้นพร้อมด้วยภิกษุณี ๕๐๐ รูป ซึ่งพ้นจากกิเลสแล้ว พระมหาปชาบดีโคตมีนั้น อยู่ในที่สงัดตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า

การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของพระอัครสาวกก็ดี ของพระราหุล พระอานนท์ และพระนันทะก็ดี เราจะไม่ได้เห็น จำเราที่พระโลกนาถผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้ว นิพพานก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าหรือคู่พระอัครสาวก พระมหากัสสป พระนันทะ พระอานนท์ และพระราหุล พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ได้ตรึกอย่างนั้นเหมือนกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2011, 03:33:47 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:11:14 am »



แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น ก็ได้ตรึกเช่นนี้เหมือนกัน ครั้งนั้นเกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์ บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพที่สิงอยู่ในสำนักภิกษุณี ถูกความโศกบีบคั้น พร่ำเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร หลั่งน้ำตาแล้วในที่นั้น ภิกษุณีทุกๆ รูป พร้อมด้วยทวยเทพเหล่านั้นเข้าไปหาพระมหาโคตมีภิกษุณี ซบศีรษะแทบพระบาทแล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระแม่เจ้า พวกเราถูกหยดน้ำคือวิมุตติรดแล้วในสำนักพระภิกษุณีนั้นมาด้วยกัน อยู่ในที่ลับ แผ่นดินนั้นก็ไหวหวั่นสั่นสะเทือน กลองทิพย์ ก็บันลือลั่นขึ้นเอง และเราได้ยินเสียงคร่ำครวญ ข้าแต่พระโคตมีจะต้องมีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่”

ครั้งนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสบอกถึง เหตุตามที่ตนปริวิตกแล้วทุกประการ ลำดับนั้นพระภิกษุณีทุกๆ รูป ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนปริวิตกแล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจการนิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระอนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพพร้อมด้วยพระแม่เจ้า ก็จักไปสู่นิพพานบุรี อันยอดเยี่ยมพร้อมๆ กันกับพระแม่เจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพานเราจักว่าอะไรเล่า” แล้วได้ออกจากสำนักภิกษุณีไปพร้อมกับภิกษุณีทั้งหมด

ในครั้งนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักภิกษุณีว่า “จงอดโทษแก่เราเถิด การเห็นสำนักภิกษุณีของเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย ในที่ใดไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการประกอบด้วยสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่า เป็นอสังขตสถาน

พระโอรสของพระสุคตทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนางนั้นเป็น ผู้โศกกำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอ พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย สำนักนางภิกษุณีนี้จะว่างเปล่า เว้นภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลายไม่ปรากฏในเวลาสว่างฉะนั้น พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูป เหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น

อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีศรัทธาเห็นพระโคตมีภิกษุณีนั้น กำลังเสด็จไปตามถนนได้พากันออกจากเรือนหมอบแทบเท้าแล้วกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าทั้งหลายเลื่อมใสในพระแม่เจ้า พระแม่เจ้าจะละทิ้งข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ให้เป็นคนอนาถาเสียแล้ว พระแม่เจ้ายังไม่สมควรที่จะปรินิพพาน”

อุบาสิกาเหล่านั้นถูกความอยากให้ท่านอยู่บีบคั้น แล้วเพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้นละเสียซึ่งความโศก พระเถรีจึงได้กล่าวอย่างเพราะพริ้งว่า

“อย่าร้องไห้ไปเลยลูกเอ๋ย วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย ความทุกข์เราก็กำหนดรู้แล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เราก็เว้นขาดแล้ว ความดับทุกข์เราก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว ทั้งมรรค เราก็ได้อบรมดีแล้ว พระศาสดาเราก็ได้บำรุงแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราก็ได้ทำเสร็จแล้ว ภาระอันหนักเราก็ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปในภพเราก็ถอนเสียแล้ว คนทั้งหลายออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราก็บรรลุแล้วโดยลำดับ สังโยชน์ทุกอย่างก็หมดไป


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2013, 02:21:47 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:14:37 am »


พระพุทธเจ้าและพระสัทธรรมของพระองค์มิได้บกพร่อง ยังดำรงอยู่ตราบใด กาลเวลาที่เรานิพพานก็ดำรงอยู่ตราบนั้น ลูกเอ๋ย อย่าได้ เศร้าโศกถึงเราเลย พระโกณฑัญญะ พระอานนท์และพระนันทะเป็นต้นก็ยังอยู่ พระราหุลพุทธชิโนรสก็ยังอยู่ พระสงฆ์ก็อยู่ร่วมกันเป็นสุข พวกเดียรถีย์ก็ยังโง่ หายกระด้างแล้ว”

“ลูกเอ๋ย..ยศของพระผู้เป็นวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช ถูกยกย่องว่า ย่ำยีผู้เป็นมาร กาลเวลาสำหรับการนิพพาน เป็นสมบัติของเรามิใช่หรือ?”

“ลูกเอ๋ย..ความปรารถนาอันใดของเรา มีมาเป็นเวลาช้านาน ความปรารถนาอันนั้น ก็สำเร็จแก่เราในวันนี้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะลั่นกลองอานันทเภรี (ตีกลองแสดงความยินดี) น้ำตาของท่านทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรเล่า ถ้าท่านทั้งหลายจะมีความเอ็นดู ทั้งมีความกตัญญูในเราไซร้ ขอให้ท่านทุกคน จงทำความเพียรมั่น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรมเถิด พระสัมพุทธเจ้าอันเราทูลอ้อนวอน จึงได้ประทานบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราร่าเริงฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงเจริญรอยตามซึ่งความร่าเริงนั้นฉันนั้นเถิด”

ครั้นพระเถรีพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านี้แล้ว เสด็จนำหน้าภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า

“ข้าแต่พระสุคต หม่อมฉันเป็นพระมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน”
“ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน”
“ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด”


“ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว พระองค์อันหม่อมฉันให้ดูดดื่มนม อันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ ส่วนหม่อมฉัน พระองค์ก็โปรดให้ดูดดื่มน้ำนมคือธรรมอันสงบอย่างยิ่งแล้ว

“ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ชื่อว่า มิได้ทรงเป็นหนี้หม่อมฉัน เพราะการรักษาไว้ซึ่งพันธะ อันสตรีทั้งหลายผู้อยากได้บุตรวอนขออยู่ ก็ย่อมจะได้บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดาของพระนราธิบดีมีพระเจ้ามันธาตุราชเป็นต้น ชื่อว่าเป็นมารดาในห้วงมหรรณพคือภพ”

“ข้าแต่พระโอรส หม่อมฉันผู้จมดิ่งอยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ อันพระองค์ให้ข้ามสาครคือภพแล้ว พระนามว่ามเหสีพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้ง่าย พระนามว่า พระพุทธมารดา สตรีทั้งหลายได้ยากอย่างยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีระ ก็พระนามว่าพระพุทธมารดานั้นหม่อมฉันได้แล้ว ความปรารถนาไม่ว่าน้อยใหญ่ของหม่อมฉันทั้งหมดนั้น หม่อมฉันได้บำเพ็ญแล้วกับพระองค์ หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้นิพพาน”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2011, 09:02:28 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #46 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:17:52 am »


ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทำที่สุดทุกข์ เป็นผู้นำ ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตแก่หม่อมฉันเถิด ขอได้โปรดทรงเหยียดออกซึ่งพระยุคลบาท อันเกลื่อนกล่นไปด้วยลายจักร และธงอันละเอียดอ่อนเหมือนกับดอกบัวเถิด หม่อมฉันจะถวายบังคมพระยุคลบาทนั้น จะขอทำความรักเยี่ยงโอรสแด่พระองค์”

“ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ ขอพระองค์โปรดทรงแสดงพระวรกายทำพระสรีระที่สุกปลั่ง ดังกองทองให้เป็นเหตุปรากฏ หม่อมฉันจึงจะเข้าสู่ปรินิพพานพระเจ้าข้า”

พระชินพุทธเจ้าก็ได้ทรงแสดงพระวรกาย ที่ประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ประดับด้วยพระรัศมี อันงามเหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงอ่อนๆ ในยามสนธยา กะพระมาตุจฉาเจ้า ลำดับนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระบาทอันเป็นประกาย คล้ายดอกบัวบานมีพระรัศมีงามดังดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ พระนางได้กราบทูลว่า

“หม่อมฉันขอน้อมนมัสการ พระผู้เป็นอาทิตย์วงศ์จอมนรชน ผู้ทรงเป็นธงไชยแห่งอาทิตยวงศ์ หม่อมฉันมรณะเป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจะไม่ได้เห็นพระองค์อีก ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศแห่งโลก ธรรมดาสตรีทั้งหลายล้วนแต่ก่อโทษทุกอย่างแล้ว ก็พากันตายไป ถ้าโทษไรๆ ของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอพระองค์ได้โปรดกรุณาอดโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด”

“อนึ่ง หม่อมฉันได้ทูลซ้ำๆ ซากๆ ให้สตรีทั้งหลายได้บวช ข้าแต่พระนราสภ ถ้าโทษของ หม่อมฉันในข้อนี้มีอยู่ ขอได้โปรดอดโทษนั้นด้วยเถิด ข้าแต่พระมหาวีระทรงไว้ซึ่งการอดโทษ ภิกษุณีทั้งหลายอันหม่อมฉันสั่งสอนแล้ว ตามที่พระองค์ทรงอนุญาต ถ้าในข้อนั้นมีการแนะนำยาก ขอได้โปรดทรงอดโทษข้อนั้นด้วยเถิด”

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า

“ดูก่อนโคตมี ผู้ประดับไปด้วยคุณโทษที่พึงอดยังจะมีอะไรในเมื่อบอกกล่าวเสีย เมื่อท่านจะไปนิพพาน ตถาคตจักกล่าวอะไรแก่ท่านให้มากไปเล่า เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ไม่บกพร่อง ท่านจะออกไปเสียจากโลกนี้ก็ควร เหมือนเพราะเห็นในเวลาที่ยังมีแสงสว่างของอาทิตย์ที่อัสดงคตแล้ว รอยในดวงจันทร์ก็ออกไป”

ฉะนั้นภิกษุณีทั้งหลายนอกจากพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีพากันทำประทักษิณพระชินพุทธเจ้าผู้เลิศ พระองค์เหมือนหมู่ดาวที่ติดตามดวงจันทร์ เวียนขวาภูเขาสิเนรุ ฉะนั้น หมอบลงแทบพระบาทแล้ว ยืนจ้องดูพระพักตร์ของพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า

“จักษุของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยการเห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยภาษิตของพระองค์ จิตของหม่อมฉันทั้งหลายดวงเดียวเท่านั้น อิ่มด้วยรสแห่งธรรมของพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นจอมนรชน เมื่อพระองค์บันลืออยู่ในบริษัท กำจัดเสียซึ่งทิฏฐิและมานะชนเหล่าใดเห็นพระพักตร์ของพระองค์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงมีพระคุณ ชนเหล่าใดประณตน้อมพระยุคลบาทของพระองค์ซึ่งมีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระบาทยาว แม้ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ”

“ข้าแต่พระนโรดม ชนเหล่าใดได้สดับพระดำรัสของพระองค์อันไพเราะน่าปลื้มใจ กำจัดโทษเป็นประโยชน์เกื้อกูล ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันเอาใจใส่การบูชาพระบาทของพระองค์ ข้ามพ้นทางกันดารคือสงสารได้ ด้วยพระสุนทรกถาของพระองค์ผู้ทรงศิริ จึงชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ”



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2011, 09:10:31 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:21:36 am »


ลำดับนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้มีวัตรอันงามประกาศในหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้ว ไหว้ พระราหุล พระอานนท์ และพระนันทะ และได้ตรัสดังนี้ว่า

“ลูกเอ๋ย แม่เบื่อหน่ายในร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของอสรพิษ เป็นที่พักของโรค เป็นเรือนร่างของทุกข์ เป็นที่โคจรของชราและมรณะ อาเกียรณ์ไปด้วยมลทินโทษต่างๆ ต้องอาศัยผู้อื่นปราศจากเรี่ยวแรง ด้วยเหตุนั้น แม่จึงปรารถนาจะนิพพานเสีย”

“ลูกเอ๋ย พ่อจงเข้าใจแม่เถิด พระนันทเถระและพระราหุลผู้น่ารัก เป็นผู้ปราศจากความโศก ไม่มีอาสวะ ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีปัญญามีความเพียรก็ได้คิดถึงธรรมดาว่าน่าติโลก ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ปราศจากแก่นสาร เปรียบด้วยต้นกล้วย เช่นเดียวกับมายากลและพยัพแดด นอกจากนี้ยังไม่มั่นคง”


พระปชาบดีโคตมีเถรี พระมาตุจฉาของพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้าก็ต้องถึงมรณะ ซึ่งไม่เที่ยงเป็นสังขตธรรมทุกอย่างในที่ใด ก็ครั้งนั้นท่านอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็น พระอุปัฏฐากของพระชินพุทธเจ้าเป็นพระเสขบุคคล (ผู้ยังต้องศึกษา) อยู่ ท่านหลั่งน้ำตาร้องไห้ คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร ณ ที่นั้นว่า พระโคตมีเถรีตรัสอยู่หลัดๆ ก็เสด็จไปนิพพานไม่นานเลย เปรียบเหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้วฉะนั้น พระโคตรมีเถรีได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ผู้มีสุตะคือปริยัติอันล้ำลึก ดังสาคร (พหูสูตร) เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าซึ่งพร่ำรำพันอยู่ดังกล่าวว่า

“ลูกเอ๋ย เมื่อกาลร่าเริงปรากฏขึ้นแล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของแม่ การนิพพานของแม่ใกล้เข้ามาแล้วลูกเอ๋ย พระศาสดา พ่อได้ทูลเชื้อเชิญแล้วจึงได้ทรงอนุญาตให้แม่บวช ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเสียใจไปเลย ความยากลำบากของพ่อมีผล มีบทใดอาจารย์ฝ่ายเดียรถีย์เก่าๆ ไม่เห็น บทนั้นเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗ ขวบก็รู้แจ้งประจักษ์แล้ว พ่อจงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ แม่เห็นพ่อครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บุคคลไปในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ แม่ก็จะไปในทิศนั้นนะลูก”

“ในกาลบางคราว พระนายกผู้เลิศในโลกกำลังทรงแสดงธรรมอยู่ทรงไอแล้ว ครั้งนั้นแม่เกิดสาสารกล่าววาจาถวายพระพรว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงมีพระชนม์อยู่นานๆ ข้าแต่พระมหามุนีขอพระองค์จงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อความเกื้อกูลและประโยชน์แก่โลกทั้งปวงเถิด ขออย่าให้พระองค์ทรงพระชราและปรินิพพานเลย”

“พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสกะแม่ผู้กราบทูลเช่นนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนโคตมี พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่บุคคลจะพึงไหว้เหมือนอย่างที่เธอไหว้อยู่ดอก แม่ได้ทูลถามว่า ก็แลด้วยประการไรเล่า พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่พึงไหว้ พระองค์อันหม่อมฉันทูลถามแล้ว โปรดตรัสบอกเหตุนั้นแก่หม่อมฉันเถิด พระองค์ตรัสตอบว่า เธอจงดูพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียรมีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์พร้อมเพรียงกัน นี้เป็นการไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อแต่นั้นแม่ก็ไปสำนักภิกษุณีอยู่ผู้เดียว ก็คิดได้ว่า พระนาถะผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพ ทรงป้องกันบริษัทที่สามัคคีกัน เอาเถิด แม่จักปรินิพพานเสีย ขออย่าได้เห็นความวิบัตินั้นเลย”

“แม่ครั้นคิดดังนั้นแล้วได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระผู้เป็นฤาษีพระองค์ที่ ๗ แล้วได้กราบทูลถึงกาลเป็นที่ปรินิพพานกะพระผู้นำพิเศษ ลำดับนั้นพระองค์ได้ทรงอนุญาตว่า จงรู้กาลเอาเองเถิดโคตมี แม่เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกได้เหมือนช้างพังตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่แม่มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชาสาม แม่ก็บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าแม่ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ แม่ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า แม่ได้ทำเสร็จแล้ว”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2011, 09:36:39 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #48 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:53:13 am »


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแล้ว “ดูก่อนโคตมี คนพาลเหล่าใดสงสัยในการตรัสรู้ธรรมของสัตว์ทั้งหลาย เธอจงแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อให้คนพาลเหล่านั้นละทิฏฐิเสีย”

ครั้นนั้นพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นไปสู่อัมพรแสดงฤทธิ์เป็นอันมากตามพระพุทธานุญาต คือองค์เดียวเป็นหลายองค์ก็ได้ หลายองค์เป็นองค์เดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ทำภูเขาสิเนรุให้เป็นคัน พลิกมหาปฐพีพร้อมด้วยราก ทำให้เป็นร่ม กั้นร่มเดินจงกรมในอากาศ

ทำโลกให้เป็นควันประหนึ่งเวลาอาทิตย์ ๖ ดวง อุทัยขึ้น และทำโลกนั้นเกลื่อนด้วยพวงดอกไม้ตาข่ายเหมือนคล้องพวงดอกไม้ไว้ยอดเขายุคนธร เอาพระหัตถ์ข้างเดียวกำภูเขามุจลินท์ ภูเขาสิเนรุ ไว้ในระหว่างมูลนทีทั้งหลาย เหมือนดังกำเมล็ดพันธุ์ผักกาดเอาปลายนิ้วบังดวงอาทิตย์ พร้อมทั้งดวงจันทร์ไว้ ทัดทรงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไว้ตั้งพันดวง เหมือนทัดทรงพวงมาลัยฉะนั้น แบกน้ำในสาครทั้ง ๔ ไว้ได้ด้วยฝ่าพระหัตถ์ข้างเดียว บันดาลฝนตกห่าใหญ่มีอาการปานประหนึ่งหลั่งน้ำเหนือยอดเขายุคนธร

พระเถรีนั้นเนรมิตเป็นพระเจ้าจักพรรดิพร้อมด้วยบริษัท ณ พื้นนภากาศ แสดงให้เป็นครุฑ คชสาร ราชสีห์ ต่างบันลือเสียงกึกก้องอยู่ องค์เดียวเนรมิตให้เป็นคณะภิกษุณีนับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์เดียว กราบทูลพระมหามุนีว่า

“ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีพระจักษุ พระมาตุจฉาของพระองค์เป็นผู้ทำตามคำสอนของพระองค์ บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับแล้ว ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์”

พระเถรีนั้นครั้นแสดงฤทธิ์ต่างๆ แล้วลงจากพื้นนภากาศถวายบังคมพระผู้ส่องโลกแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า

“ข้าแต่พระมหามุนีผู้นำโลก หม่อมฉันมีอายุได้ ๑๒๐ ปีนับแต่เกิด เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว หม่อมฉันจักขอทูลลานิพพาน”


ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้นต่างพิศวงยิ่งนักจึงได้พากันกระทำอัญชลีถามว่า

“ข้าแต่พระแม่เจ้า เป็นอย่างไรพระแม่เจ้า จึงบากบั่นแสดงฤทธิ์ที่ไม่มีอะไรเทียบได้”


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2011, 09:56:34 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระเถรีสมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 04:55:50 am »


พระมหาปชาบดีเถรีได้กล่าวบุรพจรรยาของพระองค์ดังต่อไปนี้ว่า

ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระชินพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้มีจักษุในธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลอำมาตย์ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปการะทุกสิ่ง มั่งคั่ง รุ่งเรือง ร่ำรวย ในกรุงหังสวดี บางครั้งข้าพเจ้าพร้อมด้วยบิดานำหน้าหมู่ทาสีมีบริวารมาก เข้าไปเฝ้าพระนราสภพระองค์นั้น ได้เห็นพระชินพุทธเจ้าผู้ปานดังท้าววาสวะ ยังฝนคือธรรมให้ตกอยู่

พระองค์เป็นผู้ไม่มีอาสวะเกลื่อนกล่นไปด้วยระเบียบแห่งรัศมี เช่นกับดวงอาทิตย์ในสรทกาลแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใส และสดับสุภาษิตของพระองค์ เห็นพระผู้นำนรชนทรงสถาปนานางภิกษุณีผู้เป็นพระมาตุจฉาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ จึงถวายปัจจัยเป็นอันมากเป็นมหาทาน แด่พระผู้เลิศกว่านรชนผู้คงที่พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน แล้วได้หมอบลงแทบพระบาทมุ่งปรารภตำแหน่งนั้น

สมเด็จพระปทุมุตตระตรัสพยากรณ์
     ลำดับนั้นองค์สมเด็จพระปทุมุตตระได้ตรัสในบริษัทใหญ่ว่า สตรีใดได้นิมนต์พระผู้นำโลกพร้อมด้วยพระสงฆ์ ให้ฉันตลอด ๗ วัน เราจักพยากรณ์สตรีนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวไว้ให้ดี ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระศาสดาพระนามว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากาช จักเป็นศาสดาในโลก สตรีผู้นั้น จักได้เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักได้เป็นสาวิกาของพระศาสดามีพระนามว่า โคตมี จักได้เป็นพระมาตุจฉาบำรุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักได้ความเป็นเลิศของภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายผู้รู้ราตรีนาน

ครั้งนั้นข้าพเจ้าได้สดับพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว มีใจปราโมทย์บำรุงพระชินพุทธเจ้าด้วยปัจจัยทั้งหลายตราบเท่าสิ้นชีวิต ต่อจากนั้นข้าพเจ้าได้ทำกาลกิริยา (ตาย) ไปบังเกิดในพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ ผู้ซึ่งให้สำเร็จสิ่งน่าใคร่ได้ทุกประการ ล่วงล้ำทวยเทพอื่นๆ ด้วยองค์ ๑๐ ประการ คือ ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ อายุ วรรณะ สุข ยศและรุ่งเรืองล้ำทวยเทพอื่นๆ ด้วยอธิปไตยความเป็นใหญ่ ข้าพเจ้าได้เป็นพระมเหสีผู้น่าเอ็นดูของท้าวอมรินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น

ก็ข้าพเจ้าท่องเที่ยวอยู่ในสงสารเป็นผู้อันพายุคือกรรมพัดพาไปเกิดในตำบลบ้านของทาสในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี ครั้งนั้นทาส ๕๐๐ ถ้วนอาศัยอยู่ในบ้านนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ได้เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑาต ข้าพเจ้ากับญาติทุกคน เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็มีความยินดีช่วยกันสร้างกุฏิ ๕๐๐ หลัง อุปัฏฐากอยู่ ๔ เดือน แล้วถวายไตรจีวร ข้าพเจ้ากับสามีก็พากันท่องเที่ยวไป จุติจากนั้นข้าพเจ้าพร้อมกับสามีก็ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บัดนี้ภพสุดท้ายข้าพเจ้าเกิดในกรุงเทวทหะ พระชนกของข้าพเจ้าพระนามว่า อัญชนศากยะ พระชนนีของข้าพเจ้า พระนามว่า สุลักขณา

ต่อมาข้าพเจ้าได้ไปพระราชนิเวศน์ของพระจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ สตรีนอกนั้นเกิดในตระกูลศากยะ แล้วก็ไปเรือนของพวกเจ้าศากยะด้วยกัน แต่ข้าพเจ้าประเสริฐกว่าสตรีทุกคน ได้เป็นผู้บำรุงเลี้ยงพระชินพุทธเจ้า พระโอรสของข้าพเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นผู้นำพิเศษ ภายหลังข้าพเจ้าพร้อมด้วยเจ้าสากิยาณี ๕๐๐ จึงได้บวช แล้วก็ได้ประสบสันติสุขพร้อมด้วยเจ้าสากิยาณีผู้เป็นบัณฑิต
สามีของข้าพเจ้าที่ได้ทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติก่อนในครั้งนั้น เป็นผู้ทำมหาสมัยประชุมใหญ่อันพระสุคตทรงอนุเคราะห์แล้ว ก็พากันบรรลุพระอรหัต


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2011, 10:22:01 am โดย ฐิตา »