ผู้เขียน หัวข้อ: หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ  (อ่าน 2173 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ
« เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 08:10:37 pm »
หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์
โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา
อันเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต
เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ3 อุดมการณ์4 และวิธีการ6 ดังนี้

หลักการ 3 คือ

1. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่งดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง
    ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ10  ทางแห่งความชั่วมีสิบประการ
    อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
     ความชั่วทางกาย   ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
     ความชั่วทางวาจา  ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
     ความชั่วทางใจ    ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท
                               และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดี
    ทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ10 เป็นแบบของการทำฝ่ายดี มี10อย่าง
    อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ

    การทำความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
    การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม

    การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง
    พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ

    การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาท
    มีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดี และมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น
    เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

3. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส
    ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี 5 ประการ ได้แก่
    1. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
    2. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
    3. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
    4. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุธธัจจะกุกกุจจะ) และ
    5. ความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี ความชั่วว่ามีผลจริงหรอืไม่

     วิธีการทำจิตให้ผ่องใสที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศีลและบำเพ็ญกุศล
    ให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

อุดมการณ์ 4
     1. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกายวาจาและใจ
     2. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
     3. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
     4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
         เกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์8

วิธีการ6
      1. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือกล่าวโจมตีใคร
      2. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
      3. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย
          รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
      4. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร หรือ การใช้สอยสิ่งต่างๆ
      5. อยู่ในสสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
      6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพ คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

คัดลอกจากหนังสือสูจิบัตร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ฉบับเนื่องในวันมาฆบูชา "ธรรมยาตรา คุ้มครองโลก"

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 08:13:43 pm »
อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย

ความสงสัยไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน
หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย
ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้
ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น

เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม
ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น
แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นทุกข์ไปได้ พอเริ่มปฏิบัติ
ทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อน
ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้ว
มันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำไฉน
การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฎชัดแก่เราได้...?

ขอนำทางพ้นทุกข์ ย่อจากพระธรรมเทศนาหลวงปู่ชา สุภัทโทมาฝากครับ

ธรรมชาติของจิตฝึกได้เสมอ

ธรรมชาติของใจนี้มันฝึกกันได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้ เปรียบได้กับต้นไม้ในป่า
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติของมัน เราก็จะเอามันมาสร้างบ้านไม่ได้
จะเอามาทำแผ่นกระดานก็ไม่ได้ หรือทำอะไรอย่างอื่นที่จะใช้สร้างบ้านก็ไม่ได้
แต่ถ้าช่างไม้ผ่านมาต้องการไม้ไปสร้างบ้าน เขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้
และตัดต้นในป่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย
การปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตก็คล้ายกันอย่างนี้
ก็ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึกเหมือนไม้ในป่านี่แหละ มาฝึกมัน จนมันละเอียดประณีตขึ้น
รู้ขึ้น และว่องไวขึ้น ทุกอย่างมันเป็นไปตามภาวะธรรมชาติของมัน
เมื่อเรารู้จักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ เราก็เปลี่ยนมันได้ ทิ้งมันก็ได้
ปล่อยมันไปก็ได้ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

จิตยึดมั่นมันก็สับสนวุ่นวาย

ธรรมชาติของใจเรามันก็อย่างนั้น เมื่อใดที่เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่นถือมั่น
ก็จะเกิดความวุ่นวายสับสน เดี๋ยวมันก็จะวิ่งวุ่นไปโน่นไปนี่
พอมันวุ่นวายสับสนมากๆเข้า เราก็คิดว่าคงจะฝึกอบรมมันไม่ได้แล้ว
แล้วก็เป็นทุกข์ นี่ก็เพราะไม่เข้าใจว่ามันต้องเป็นของมันอย่างนั้นเอง
ความคิด ความรู้สึก มันจะวิ่งไปวิ่งมาอยู่อย่างนี้ แม้เราจะพยายามฝึกปฏิบัติ
พยายามให้มันสงบ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
เมื่อเราติดตามพิจารณาดูธรรมชาติของใจอยู่บ่อยๆ ก็จะค่อยๆเข้าใจว่าธรรมชาติของใจ
มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต

พระองค์ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่กายที่ใจของเรา ธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน
อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละ ดังนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง
เอาจริงเอาจังให้ใจมันผ่องใสขึ้น สว่างขึ้น ให้มันเป็นใจอิสระ ทำความดีอะไรแล้วก็ปล่อยมันไป
อย่าไปยึดไว้ หรืองดเว้นการทำชั่วได้แล้ว ก็ปล่อยมันไป พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้
ที่นี้และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรือนาคต
คำสอนที่เข้าใจผิดกันมาก แล้วก็ถกเถียงกันมากที่สุด
ตามความคิดเห็นของตนก็คือเรื่อง "การปล่อยวาง"
หรือ "การทำงานด้วยจิตว่าง" นี่แหละ การพูดอย่างนี้เรียกว่าพูด "ภาษาธรรม"
เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้น ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบละซิ
ความจริงมันมีความหมายอย่างนี้ อุปมาเหมือนว่าเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก
แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันก็ได้ แต่แบกอยู่อย่างนั้นแหละ พอมีใครบอกว่า ให้โยนมันทิ้งเสียซี
ก็มาคิดอีกแหละว่า "เอ...ถ้าเราโยนทิ้งไปแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ" ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง

ประโยชน์ของการปล่อยวาง

ถ้าจะมีใครบอกว่า โยนทิ้งเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้
เราก็ยังไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละ เพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ
ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้ จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มที
จนแบกไม่ไหวแล้วก็เลยปล่อยมันตกลง ตอนที่ปล่อยให้มันตกลงนี้แหละ
ก็จะเกิดความรู้เรื่องการปล่อยวางขึ้นมาเลย เราจะรู้สึกเบาสบาย
แล้วก็รู้ได้ด้วยตนเองว่า การแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใด
แต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้นเราไม่รู้หรอก ว่าการปล่อยวางมีประโยชน์เพียงใด

ดังนั้นถ้ามีใครมาบอกให้ปล่อยวาง คนที่ยังมืดอยู่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอก
ก็จะหลับหูหลับตาแบกก้อนหินก้อนนั้นยังไม่ยอมปล่อย
จนกระทั่งมันหนักจนเหลือที่จะทนนั่นแหละ ถึงจะยอมปล่อยแล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตนเอง
ว่ามันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้ ต่อมาเราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้
แต่ตอนนี้เราพอรู้แล้วว่า ผลของการแบกนั้นเป็นอย่างไร เราก็ปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้น
ความเข้าใจในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม
และความเบาสบายของการปล่อยวางนี่แหละ คือตัวอย่างที่แสดงถึงการรู้จักตัวเอง

ถ้ายึดมั่นเข้าเราก็ถูกกัด

เรื่องของใจมันเป็นอย่างนี้ บางทีก็คิดดี บางทีก็คิดชั่ว ใจมันหลอกลวง เป็นมายา
จงอย่าไว้ใจมัน แต่จงมองเข้าไปที่ใจ มองให้เห็นความเป็นอยู่อย่างนั้นของมัน
ยอมรับมันทั้งนั้น ทั้งใจดีใจชั่ว เพราะมันเป็นของมันอย่างนั้น ถ้าเราไม่ไปยึดถือมัน
มันก็เป็นของมันอยู่แค่นั้น แต่ถ้าเราไปยึดมันเข้า เราก็จะถูกมันกัดเอา แล้วเราก็เป็นทุกข์
ถ้าใจเราเป็นสัมมาทิฎฐิแล้วก็จะมีแต่ความสงบ จะเป็นสมาธิ จะมีความฉลาด
ไม่ว่าจะนั่งหรือจะนอน ก็จะมีแต่ความสงบ ไม่ว่าจะไปไหน ทำอะไรก็จะมีแต่ความสงบ

ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

วิธีปฏิบัติธรรมมีมากมายเป็นล้านๆวิธี พูดเรื่องการภาวนาไม่มีที่จบ
สิ่งที่จะทำให้เกิดความสงสัยมีมากมายหลายอย่าง แต่ให้กวาดมันออกไปเรื่อยๆ
แล้วจะไม่เหลือความสงสัย เมื่อเรามีความเข้าใจถูกต้องเช่นนี้ ไม่ว่าจะนั่งหรือจะเดิน
ก็มีแต่ควาสงบ ความสบาย ไม่ว่าจะปฏิบัติภาวนาที่ไหน ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
อย่าถือว่าจะปฏิบัติภาวนาแต่เฉพาะขณะนั่งหรือเดินเท่านั้น
ทุกสิ่งทุกอย่างทุกหนทุกแห่งเป็นการปฏิบัติได้ทั้งนั้น

ฝึกใจได้ใจจักปราศจากกิเลส

ถ้าท่านปฏิบัติได้อย่างนี้ ท่านก็จะเหมือนกับบ้านว่าง
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นี่คือใจว่าง เป็นใจที่ว่างและอิสระจากกิเลส
ความชั่วทั้งหลาย เราเรียกว่าใจว่าง แต่ไม่ใช่ว่างเหมือนว่าไม่มีอะไร
มันว่างจากกิเลส แต่เต็มไปด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไร
ก็ทำด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา จะมีแต่ปัญญาเท่านั้น

ถ้าท่านทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายไซร้
ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำบาปกรรม ทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย
ถ้าท่านทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้
ท่านทั้งหลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์เลย

กุมารกสูตร พุทธอุทาน

ขอบพระคุณที่มา  http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=library&date=22-08-2008&group=7&gblog=4

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2010, 09:18:38 pm »
 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~