แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์

มิลินทปัญหา

<< < (66/78) > >>

ฐิตา:


   คุณแห่งธุดงค์ ๒๘ ประการ

   " ขอถวายพระพร ธุดงค์ประกอบด้วยคุณเหล่าใด ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการคุณแห่งธุดงค์เหล่านั้น มีอยู่ ๒๘ ประการคือ

   ๑. การหาเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
   ๒. มีผลเป็นสุข
   ๓. เป็นของไม่มีโทษ
   ๔. บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย
   ๕. เป็นของไม่มีภัย

   ๖. เป็นของไม่เบียดเบียน
   ๗. มีแต่เจริญฝ่ายเดียว
   ๘ ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม
   ๙. ไม่ขุ่นมัว
   ๑๐. เป็นเครื่องป้องกัน

   ๑๑. ให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา
   ๑๒. กำจัดเสียซึ่งอาวุธทั้งปวง
   ๑๓. มีประโยชน์ในทางสำรวม
   ๑๔. สมควรแก่สมณะ
   ๑๕. สงบนิ่ง

   ๑๖ พ้นจากความเศร้าหมองใจ
   ๑๗. เป็นเหตุให้สิ้นราคะ
   ๑๘ เป็นเหตุให้สิ้นโทสะ
   ๑๙. ทำโมหะให้พินาศ
   ๒๐. กำจัดเสียซึ่งมานะ
   
   ๒๑. เป็นเหตุตัดเสียซึ่งวิตกชั่ว
   ๒๒. ทำให้ข้ามสงสัยเสียได้
   ๒๓. กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
   ๒๔. กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
   ๒๕. เป็นเหตุให้อดทน

   ๒๖. เป็นของชั่งไม่ได้
   ๒๗. เป็นของหาประมาณมิได้
   ๒๘. ทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

ฐิตา:


   องค์ ๑๘ ของผู้สมาทานธุดงค์

   ขอถวายพระพร บุคคลเหล่าใดสมาทานถือมั่นธุดงคคุณ บุคคลเหล่านั้นย่อมประกอบด้วยองค์ ๑๘ คือ

   ๑. มีมรรยาทบริสุทธิ์
   ๒. มีปฏิปทาบริบูรณ์ดี
   ๓. รักษากาย วาจา ดี
   ๔. มีใจบริสุทธิ์ดี
   ๕. ประคองความเพียรดี

   ๖. ระงับความกลัว
   ๗. ปราศจากความยึดถือในตัวตน
   ๘. ระงับความอาฆาต
   ๙. มีจิตเมตตา
   ๑๐. รอบรู้อาหาร

   ๑๑. เป็นที่เคารพแห่งสัตว์ทั้งปวง
   ๑๒. เป็นผู้รู้จักพอดีในโภชนะ
   ๑๓. เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร
   ๑๔. ไม่ห่วงที่อยู่
   ๑๕. อยู่ที่ไหนสบายก็อยู่ที่นั่น

   ๑๖. เกลียดชังความชั่ว
   ๑๗. ยินดีในวิเวก
   ๑๘. ไม่ประมาทเนือง ๆ

ฐิตา:


   ผู้ควรแก่ธุดงคคุณ ๑๐

   ขอถวายพระพร
   บุคคลผู้ที่ควรแก่ธุดงคคุณ มีอยู่ ๑๐ คือ

    ๑. ผู้มีศรัทธา
    ๒. ผู้มีหิริ ( ละอายชั่ว )
    ๓. ผู้มีความอดทน
    ๔. ผู้ไม่คดโกง
    ๕. ผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล

    ๖. ผู้ไม่ละโมภ
    ๗. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
    ๘. ผู้มีใจมั่นคง
    ๙. ผู้ไม่ชอบยกโทษผู้อื่น
   ๑๐. ผู้อยู่ด้วยเมตตา

   ขอถวายพระพร พวกคฤหัสถ์ที่กระทำให้แจ้งนิพพานทั้งสิ้น ล้วนได้กระทำให้ธุดงคคุณ ๑๓ ไว้ในชาติก่อน ๆ แล้วทั้งนั้น มาในชาตินี้ได้กระทำความประพฤติ และการปฏิบัติให้บริสุทธิ์ซึ่งอีก จึงจะสำเร็จนิพพานได้
   อุปมาธุดงคคุณ เปรียบเหมือนพวกนายขมังธนูผู้ฉลาดได้ฝึกหัดวิชาธนูไว้ก่อนแล้ว ครั้งเข้าไปสู่พระราชฐาน ก็ยิงถวายพระมหากษัตริย์ได้แม่นยำ แล้วได้รับพระราชทานรางวัลเป็นอันมาก

   ฉะนั้นผู้ไม่ได้กระทำในธุดงค์ไว้เมื่อชาติก่อน ย่อมไม่สำเร็จอรหันต์ในชาตินี้ จะสำเร็จก็เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น
   อีกประการหนึ่ง ผู้ได้กระทำธุดงค์ ๑๓ ไว้ในชาติก่อนมาชำนาญแล้ว มาชาตินี้ได้อบรมความประพฤติและข้อปฏิบัติซ้ำอีก ก็กระทำให้แจ้งนิพพานได้ เหมือนกับแพทย์ที่เรียนจนชำนิชำนาญในสำนักอาจารย์มาแล้ว ก็รักษาโรคได้ดีฉะนั้น

   การสำเร็จธรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ เหมือนกับการไม่งอกขึ้นแห่งพืชด้วยไม่ถูกรดน้ำฉะนั้น
   หรือเหมือนกับการไปสู่สุคติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำกุศลไว้ฉะนั้น ขอถวายพระพร

-http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=205.345
(ต่อที่ # ๓๔๕ หน้า ๒๔ ธุดงคคุณ)

mmm:
สาธุครับ  :07: :07: :07:

ฐิตา:


   ธุดงคคุณ
   
   เปรียบเหมือนปฐพี เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผู้มุ่งความบริสุทธิ์   
   และเปรียบเหมือนน้ำ เพราะเป็นเครื่องชำระกิเลสมลทิน   
   เปรียบเหมือนไฟ เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนลม เพราะเป็นเครื่องพัดเอามลทินคือกิเลสไป   
   เปรียบเหมือนยาแก้พิษงู เพราะเป็นเครื่องแก้ความเจ็บไข้คือกิเลส
   
   เปรียบเหมือนดังน้ำอมฤต เพราะทำลายกิเลสทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนนา เพราะเป็นที่งอกขึ้นแห่งคุณของสมณะทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนแก้วมโนหรจินดา เพราะให้สำเร็จสมบัติตามความปรารถนา   
   เปรียบเหมือนเรือ เพราะให้ข้ามฟากคือสงสารได้   
   เปรียบเหมือนเครื่องป้องกันภัย เพราะทำให้เกิดความเบาใจแก่ผู้กลัวชรามรณะ
   
   เปรียบเหมือนมารดา เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์ ซึ่งผู้กำจัดกิเลสแห่งทุกข์   
   เปรียบเหมือนบิดา เพราะทำให้เกิดผลแห่งความเป็นสมณะ   
   เปรียบเหมือนมิตร เพราะไม่ทำให้ผิดพลาด จากการแสวงหาคุณธรรม   
   เปรียบเหมือนดอกปทุม เพราะไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส   
   เปรียบเหมือนของหอม ๔ อย่าง เพราะกำจัดกลิ่นเหม็นคือกิเลส
   
   เปรียบเหมือนพระยาเขาสิเนรุราช เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘   
   เปรียบเหมือนอากาศ เพราะปราศจากการยึดถือในสิ่งทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนแม่น้ำ เพราะเป็นที่ล้างเครื่องเศร้าหมองคือกิเลส   
   เปรียบเหมือนผู้นำทางเพราะช่วยให้ข้ามพ้นหนทางที่กันดาร คือหลงผิดไปกับการเกิด   
   เปรียบเหมือนหมู่เกวียนเพราะส่งให้ถึงพระนครคือนิพพาน อันประเสริฐอันไม่มีภัย ไม่มีกิเลสและกองทุกข์
   
   เปรียบเหมือนกระจกที่บริสุทธิ์สะอาดเพราะทำให้เห็นความจริงแห่งสังขารทั้งหลาย   
   เปรียบเหมือนโล่ห์ เพราะเป็นเครื่องกั้นซึ่งไม้ค้อน ลูกศร อาวุธ คือกิเลศ   
   เปรียบเหมือนดวงจันทร์เพราะทำให้เกิดความเย็นใจ   
   เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ เพราะกำจัดความมืดทั้งปวง
   
   ขอถวายพระพร ธุดงคคุณย่อมมีคุณมาก เป็นของทำความเกื้อกูล ทำความสบาย ทำความรัก ทำความไม่มีโทษ ทำให้ไปจากบาป เป็นที่ตั้งนำมาซึ่งยศ นำมาซึ่งสุข มีสุขเป็นผล มีคุณมากมายก่ายกอง มีพระคุณหาประมาณมิได้ เป็นของประเสริฐในที่ทั้งปวง เป็นเครื่องกำจัดภัย กำจัดโศก กำจัดทุกข์ กำจัดความกระวนกระวาย กำจัดความเร่าร้อน กำจัดความไม่ยินดีทางธรรม กำจัดภพ กำจัดตะปู กำจัดราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ กำจัดอกุศลทั้งปวง ขอถวายพระพร

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version