ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 107282 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #360 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 04:42:09 pm »


   อุปมากถาปัญหา   
   กุญชรวรรคที่ ๔
   
   องค์ แห่งปลวก   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งปลวกได้แก่อะไร ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา ปลวก ย่อมทำหลังคาปิดตัวเองแล้วอาศัยอยู่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำหลังคา คือศีลสังวรปิดใจของตนอยู่ฉันนั้น เพราะเมื่อปิดใจของตนด้วยศีลสังวรแล้ว ย่อมล่วงพ้นภัยทั้งปวงได้ อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งปลวก
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า   
   " พระโยคีกระทำเครื่องมุงใจ คือศีลสังวรแล้ว ไม่ติดอยู่ในอะไร ย่อมพ้นจากภัยได้ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "

   
   องค์ ๒ แห่งแมว   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งแมวได้แก่อะไร ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา แมว เวลาไปที่ถ้ำหรือที่ซอก ที่รู ที่โพรง ที่ระหว่างถ้ำก็ดี ก็แสวงหาแต่หนูฉันใด พระโยคาวจรผู้ไปอยู่ที่บ้าน ที่ป่า หรือที่โค่นต้นไม้ ที่แจ้ง ที่ว่างบ้านเรือน ก็ไม่ควรประมาท ควรแสวงหาโภชนะ คือกายคตาสติ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งแมว
   
   ธรรมดาแมว ย่อมแสวงหาอาหารในที่ใกล้ ๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณาขันธ์ ๕ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีความตั้งขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งแมว   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า   
   " ไม่ต้องกล่าวไปให้ไกลแต่นี้นัก ภวัคคพรหม ( พรหมชั้นสูงสุด) จักทำอะไรได้ ควรเบื่อหน่ายเฉพาะในกายของตน อันมีอยู่ในปัจจุบันนี้แหละ" ดังนี้ ขอถวายพระพร "



   องค์ ๑ แห่งหนู   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งหนูได้แก่อะไร ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา หนู ย่อมเที่ยวหาอาหารข้างโน้นข้างนี้ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ก็ควรแสวงหาโยนิโสมนสิการฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งหนู
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า   
   " ผู้แสวงหาธรรม ผู้เห็นธรรมต่าง ๆ ผู้ไม่ย่อท้อ ผู้สงบ ย่อมมีสติอยู่อยู่ทุกเมื่อ"
   ดังนี้ ขอถวายพระพร"   
   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #361 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 04:57:45 pm »


  องค์ ๑ แห่งแมงป่อง    
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งแมงป่อง ได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา แมงป่อง ย่อมมีหางเป็นอาวุธ ย่อมชูหางของตนเที่ยวไปฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีญาณเป็นอาวุธ ควรชูญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแมงป่อง
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า   
   " ภิกษุผู้ถือเอาพระขรรค์ คือญาณ ผู้เห็นธรรมด้วยอาการต่าง ๆ ย่อมพ้นจากภัยทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมอดทนสิ่งที่ทนได้ยากในโลก" ดังนี้ ขอถวายพระพร "


  องค์ ๑ แห่งพังพอน   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งพังพอนนี้ได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา พังพอน เมื่อจะไปสู้กับงู ย่อมมอมตัวด้วยยาเสียก่อนจึงเข้าไปใกล้งู เพื่อจะสู้กับงูฉันใด พระโยคาวจรเมื่อจะเข้าไปใกล้โลก อันมากไปด้วยความบาดหมาง ความทะเลาะวิวาท ก็ทาอวัยวะด้วยยา คือ เมตตาเสียก่อน จึงจะให้โลกทั้งปวงดับความเร่าร้อนได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งพังพอน
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า   
   " พระภิกษุควรมีเมตตาแก่ตนและผู้อื่นควรแผ่จิตเมตตาไป อันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ดังนี้ ขอถวายพระพร"


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #362 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 05:06:35 pm »


   องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอกได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา สุนัขจิ้งจอก ได้โภชนะแล้วย่อมไม่เกลียดชัง ย่อมกินพอความประสงค์ฉันใด พระโยคาจรได้โภชนะแล้ว ก็ไม่ควรเกลียดชัง ไม่ว่าชนิดไหน ควรฉันพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งสุนัขจิ้งจอก
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระมหากัสสปเถระ ว่า   
   " เวลาเราออกจากเสนาสนะเข้าไปบิณฑบาตถึงบุรุษโรคเรื้อนที่กำลังกินข้าวอยู่ กำเอาคำข้าวด้วยมือเป็นโรคเรื้อนมาใส่บาตรให้เรา เราก็นำไปฉัน ไม่เกลียดชังอย่างไร " ดังนี้   
   "ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกได้โภชนะแล้ว ย่อมไม่เลือกว่าเลวดีอย่างไรฉันใด พระโยคาวจรได้โภชนะแล้ว ก็ไม่เลือกว่าเลวดี ยินดีตามที่ได้ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งสุนัขจิ้งจอก
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถระ ว่า   
   " บุคคลควรยินดีแม้ด้วยของเลว ไม่ควรปรารถนาอย่างอื่น ใจของผู้ข้องอยู่ในรสทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดีในฌาน ความสันโดษตามมีตามได้ ย่อมทำให้เป็นสมณะบริบูรณ์ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #363 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 05:15:00 pm »


   องค์ ๓ แห่งเนื้อในป่า
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ที่ ๓ แห่งเนื้อในป่าได้แก่อะไร? "
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา เนื้อในป่า ย่อมเที่ยวไปในป่า ในเวลากลางคืน ในที่แจ้งฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอยู่ในป่าในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนควรอยู่ในที่แจ้ง อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเนื้อในป่า
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
   " ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมอยู่ในที่แจ้งเวลากลางคืนหน้าหนาว ส่วนกลางวันอยู่ในป่า สำหรับเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เวลากลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง เวลากลางคืนเราอยู่ในป่า
   "ธรรมดาเนื้อในป่า ย่อมรู้จักหลบหลีกลูกศรฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักหลบหลีกกิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งเนื้อในป่า
   
   ธรรมดาเนื้อในป่า ได้เห็นมนุษย์แล้วย่อมวิ่งหนี ด้วยคิดว่าอย่าให้มนุษย์ได้เห็นเราฉันใด พระโยคาวจรได้เห็นพวกทุศีล พวกเกียจคร้าน พวกยินดีในหมู่คณะ ก็ควรหนีไปด้วยคิดว่า อย่าให้พวกนี้ได้เห็นเรา อย่าให้เราได้เห็นพวกนี้ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งเนื้อในป่า
   
   ข้อนี้สมกับคำอัน พระสารีบุตรเถระ กล่าวไว้ว่า   
   " เรานึกว่าคนมีความต้องการในทางลามก คนเกียจคร้าน คนท้อถอย คนสดับน้อย คนประพฤติไม่ดี คนไม่สงบ อย่าได้พบเห็นเราเลย" ดังนี้ ขอถวายพระพร "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #364 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 05:32:21 pm »


   องค์ ๔ แห่งโค
   
   " ข้อแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งโคได้แก่อะไร ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา โค ย่อมไม่ทิ้งคอกของตนฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรทิ้งโอกาสของตนฉันนั้น คือไม่ควรทิ้งซึ่งการนึกว่า กายนี้มีการขัดสีอบรมอยู่เป็นนิจมีการแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งโค
   ธรรมดาโคย่อมถือเอาแอก ย่อมนำแอกไปด้วยความสุขและความทุกข์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต ด้วยการสู้สุขสู้ทุกข์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งโค
   
   ธรรมดาโคย่อมเต็มใจดื่มน้ำฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเต็มใจฟังคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งโค
   ธรรมดาโคเมื่อเจ้าของฝึกหัดให้ทำอย่างไรย่อมทำตามทุกอย่างฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีรับคำสอนของภิกษุด้วยกัน หรือของอุบาสกชาวบ้านฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งโค
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า   
   " ถึงผู้บวชในวันนั้นมีอายุเพียง ๗ ขวบสอนเราก็ตาม เราก็ยินดีรับคำสอน เราได้เห็นผู้นั้น ก็ปลูกความพอใจ ความรักอย่างแรงกล้า ยินดีนอบน้อมว่าเป็นอาจารย์แล้วแสดงความเคารพเนือง ๆ " ดังนี้ "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #365 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2012, 06:20:38 pm »


   องค์ แห่งสุกร
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งสุกรได้แก่อะไร ? "
   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา สุกร ย่อมชอบนอนแช่น้ำในฤดูร้อนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอบรมเมตตาภาวนาอันเย็นดี ในเวลาจิตเร่าร้อนตื่นเต้นฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งสุกร   
   ธรรมดาสุกรย่อมขุดดินด้วยจมูกของตน ทำให้เป็นรางน้ำในที่มีน้ำ แล้วนอนแช่อยู่ในรางฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณากายไว้แล้วฝังอารมณ์ให้นอนอยู่ภายในใจฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งสุกร
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ว่า
   " ภิกษุผู้เล็งเห็นสภาพแห่งกายแล้ว ควรหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว แล้วนอนอยู่ในภายในอารมณ์ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "


ต่อที่ หน้า ๒๗ #๓๙๐ องค์ ๕ แห่งช้าง
-http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=205.390


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #366 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2012, 04:18:08 pm »


 องค์ ๕ แห่งช้าง
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งช้างได้แก่อะไร ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา ช้าง เมื่อเที่ยวไป ย่อมเอาเท้ากระชุ่นดินฉันใด พระโยคาวจรผู้พิจารณากาย ก็ควรทำลายกิเลสทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งช้าง
   
   ธรรมดาช้าง ย่อมแลไปตรง ๆ ไม่แลดูทิศโน้นทิศนี้ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรเหลียวดูทิศโน้นทิศนี้ ไม่ควรแหงนดู ก้มดู ควรดูเพียงชั่วระยะแอกฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งช้าง   
   ธรรมดาช้าง ย่อมไม่นอนประจำอยู่ในที่แห่งเดียว เที่ยวหากินในที่ใด ไม่พักนอนในที่นั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรนอนประจำคือไม่ควรห่วงใยในที่เที่ยวบิณฑบาต ถ้าได้เห็นที่ชอบใจ คือปะรำ หรือโคนต้นไม้ หรือถ้ำ หรือเงื้อมเขา ก็ควรเข้าพักอยู่ในที่นั้น แล้วไม่ควรห่วงใยในที่นั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งช้าง
   
   ธรรมดาช้าง เวลาลงน้ำย่อมเล่นน้ำตามสบายฉันใด พระโยคาวจรเวลาลงสู่สระโบกขรณี คือมหาสติปัฏฐาน อันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำอันประเสริฐ คือพระธรรมอันเย็นใสอันดาษไปด้วยดอกไม้ คือวิมุตติ ก็ควรเล่นอยู่ด้วยการพิจารณาสังขาร อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งช้าง   
   ธรรมดาช้าง ย่อมมีสติทุกเวลายกเท้าขึ้นวางเท้าลงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีสติสัมปชัญญะทุกเวลายกเท้าขึ้นวางเท้าลงทุกเวลาเดินไปมา คู้เหยียด แลเหลียว ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งช้าง

   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า
   " การสำรวมกาย วาจา ใจ เป็นของดี การระวังในสิ่งทั้งปวงเป็นของดี ผู้ระวังในสิ่งทั้งปวง ผู้มีความละอาย เรียกว่า ผู้รักษากาย วาจา ใจ ดีแล้ว " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
   
   จบกุญชรวรรคที่ ๔


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #367 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2012, 04:23:28 pm »


   อุปมากถาปัญหา    
   สีหวรรคที่ ๕
   
   องค์ ๗ แห่งราชสีห์   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๗ แห่งราชสีห์ได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา ราชสีห์ ย่อมมีกายขาวบริสุทธิ์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้มีจิตขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความรำคาญฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งราชสีห์
   
   ธรรมดาราชสีห์ ย่อมเที่ยวไปด้วยเท้าทั้ง ๔ มีการเที่ยวไปงดงามฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเที่ยวไปด้วยอิทธิบาท ๔ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งราชสีห์   
   ธรรมดาราชสีห์ ย่อมมีไกรสรคือสร้อยคอสีสวยงามยิ่งฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีไกรสรคือศีลอันสวยงามยิ่งฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งราชสีห์
   
   ธรรมดาราชสีห์ถึงจะตาย ก็ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อใครฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรอ่อนน้อมต่อใคร เพราะเห็นแก่ปัจจัย ๔ ถึงจะสิ้นชีวิตก็ช่าง อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งราชสีห์   
   ธรรมดาราชสีห์ ย่อมเที่ยวหาอาหารไปตามลำดับ ได้อาหารในที่ใดก็กินให้อิ่มในที่นั้นไม่เลือกกินเฉพาะเนื้อที่ดี ๆ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตระกูล ไม่ควรเลือกตระกูลและอาหารฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งราชสีห์
   
   ธรรมดาราชสีห์ ย่อมไม่สะสมอาหารกินคราวหนึ่งแล้วไม่เก็บไว้กินอีกฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรสะสมอาหารฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๖ แห่งราชสีห์   
   ธรรมดาราชสีห์เวลาหาอาหารไม่ได้ ก็ไม่ทุกข์ร้อน ได้แล้วก็ไม่ติดฉันใด พระโยคาวจรเวลาหาอาหารไม่ได้ ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน เวลาได้ก็ไม่ควรติดใจรสอาหาร ควรฉันด้วยการพิจารณา เพื่อจะออกจากโลก อันนี้เป็นองค์ที่ ๗ แห่งราชสีห์
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกาย ว่า
   " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกัสสปนี้ย่อมยินดีด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้สรรเสริญความยินดีในบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่แสวงหาบิณฑบาตในทางไม่ชอบ เมื่อไม่ได้ก็ไม่ควรทุกข์ร้อน เวลาได้ก็ไม่ติดในรสอาหาร รู้จักพิจารณาโทษแห่งอาหาร" ดังนี้ ขอถวายพระพร "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #368 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2012, 04:27:29 pm »


   องค์ที่ ๓ แห่งนกจากพราก
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งนกจากพรากได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา นกจากพราก ย่อมไม่ทิ้งเมียจนตลอดชีวิตฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการจนตลอดชีวิตฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนกจากพราก
   
   ธรรมดานกจากพราก ย่อมกินหอย สาหร่าย จอกแหน เป็นอาหารด้วยความยินดี จึงไม่เสื่อมจากกำลังและสีกาย ด้วยความยินดีนั้นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรยินดีตามมีตามได้ฉันนั้น เพราะผู้ยินดีตามมีตามได้ย่อมไม่เสื่อมจากศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และกุศลธรรมทั้งปวง อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนกจากพราก
   
   ธรรมดานกจากพราก ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทิ้งท่อนไม้และอาวุธ ควรมีความละลาย มีใจอ่อน นึกสงเคราะห์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนกจากพราก

   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน จักกวากชาดก ว่า   
   " ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาในสัตว์ทั้งหลาย เวรย่อมไม่มีแก่ผู้นั้นด้วยเหตุใดๆ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #369 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2012, 04:35:23 pm »


   องค์ ๒ แห่งนางนกเงือก    
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งนางนกเงือกได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา นางนกเงือก ย่อมให้ผัวอยู่เลี้ยงลูกในโพรงด้วยความหึงฉันใด พระโยคาวจรเมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของตนก็ควรเอาใจของตนใส่ลงในโพรง คือการสำรวมโดยชอบ เพื่อความกั้นกางกิเลส แล้วอบรมกายคตาสติไว้ด้วยมโนทวาร อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนางนกเงือก
   
   ธรรมดานางนกเงือก เวลากลางวันไปเที่ยวหากินในป่า พอถึงเวลาเย็นก็บินไปหาเพื่อนฝูง เพื่อรักษาตัวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรหาที่สงัดโดยลำพังผู้เดียว เพื่อให้หลุดพ้นจากสังโยชน์ เมื่อได้ความยินดีในความสงัดนั้น ก็ควรไปอยู่กับหมู่สงฆ์ เพื่อป้องกันภัย คือการว่ากล่าวติเตียนฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนางนกเงือก
   
   ข้อนี้สมกับคำที่ ท้าวสหัมบดีพรหม ได้กล่าวขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าว่า   
   " พระภิกษุควรอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด เพื่อปลดเปลื้องจากสังโยชน์ ถ้าไม่ได้ความยินดีในที่สงัดนั้น ก็ควรไปอยู่ในหมู่สงฆ์ ควรมีสติรักษาตนให้ดี " ดังนี้ ขอถวายพระพร "


   องค์ ๑ แห่งนกกระจอก   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งนกกระจอกได้แก่อะไร? "
   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา นกกระจอก ย่อมอาศัยอยู่ในเรือนคน แต่ไม่เพ่งอยากได้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งของคน มีใจเป็นกลางเฉยอยู่ มากไปด้วยความจำฉันใด พระโยคาวจรเข้าไปถึงตระกูลอื่นแล้ว ก็ไม่ควรถือเอานิมิตในเตียง ตั่ง ที่นั่ง ที่นอน เครื่องประดับประดา เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เครื่องกิน ภาชนะใช้สอยต่าง ๆ ของสตรีหรือบุรุษในตระกูลนั้น ควรมีใจเป็นกลาง ควรใส่ใจไว้แต่ในสมณสัญญาฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งนกกระจอก
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน จูฬนารทชาดก ว่า   
   " ภิกษุเข้าไปสู่ตระกูลอื่นแล้ว ควรขบฉันข้าวน้ำตามที่เขาน้อมถวาย แต่ไม่ควรหลงใหลไปในรูปต่างๆ" ดังนี้ ขอถวายพระพร "