ผู้เขียน หัวข้อ: หลงโลกจึงทุกข์ :จากหนังสือ อริยธรรม :หลวงพ่อชา  (อ่าน 3348 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



หลงโลกจึงทุกข์
(หลวงพ่อชา สุภัทโท)
ปกติของจิต ~ ความสงบนิ่ง

การปฏิบัติเรื่องจิตนี้ ... ความจริงจิตนี้ไม่เป็นอะไร มันเป็นประภัสสรของมันอยู่อย่างนั้น มันสงบอยู่แล้ว ที่จิตไม่สงบทุกวันนี้ เพราะจิตมันหลงอารมณ์

ตัวจิตแท้ๆ นั้นไม่มีอะไร เป็นธรรมชาติอยู่เฉยๆ เท่านั้น ที่สงบไม่สงบ ก็เป็นเพราะอารมณ์มาหลอกลวง จิตที่ไม่ได้ฝึกก็ไม่มีความฉลาด มันก็โง่ อารมณ์ก็มาหลอกลวงไปให้เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ จิตของคนตามธรรมชาตินั้นไม่มีความดีใจ เสียใจ ที่มีความดีใจเสียใจนั้นไม่ใช่จิต แต่เป็นอารมณ์ที่มาหลอกลวง จิตก็หลงไปตามอารมณ์โดยไม่รู้ตัว แล้วก็เป็นสุขเป็นทุกข์ไปตามอารมณ์ เพราะยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ฉลาด แล้วเราก็นึกว่าจิตเราเป็นทุกข์ นึกว่าจิตเราสบาย ความจริงมันหลงอารมณ์ พูดถึงจิตของเราแล้วมันมีความสงบอยู่เฉยๆ มีความสงบยิ่งเหมือนกับใบไม้ที่ไม่มีลมมาพัด ก็อยู่เฉยๆ ถ้ามีลมมาพัดก็กวัดแกว่ง เป็นลมมาพัด และก็เป็นเพราะอารมณ์ มันหลงอารมณ์ ถ้าจิตไม่หลงอารมณ์แล้ว จิตก็ไม่กวัดแกว่ง ถ้ารู้เท่าอารมณ์แล้วมันก็เฉย เรียกว่าปกติของจิตเป็นอย่างนั้น ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุขจิตเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์

ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์ ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบ เรื่องแค่นี้เองที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้

เรื่องของจิตนี้เป็นเรื่องสลับซับซ้อน เมื่อพูดตามความรู้สึกของคน จิตที่มันรู้ จิตที่มันไม่รู้ มันสลับซับซ้อน เรื่องจิตนี้ถ้าพูดกันง่ายๆ มันก็มีแต่ว่าเรื่องที่มันเกิดทุกข์ กับเรื่องที่มันดับทุกข์เท่านั้นเอง เรื่องจิตที่มันไม่รู้มันก็ยุ่ง เรื่องมันรู้มันก็ไม่เป็นเรื่องเป็นราว เช่นว่า เสียงนกมันร้องอยู่ในป่า มนุษย์ไม่เคยนึกรำคาญเพราะไม่่สืบเนื่อง มันร้องแล้วมันก็หายไป เป็นเรื่องธรรมดาของมัน แต่ถ้าเป็นเสียงมนุษย์ มนุษย์ได้ิยินแล้วสืบเนื่อง ก็มีความสำคัญมั่นหมายในเสียงนั้นต่อไป

ธรรมชาติของจิต : ไม่แบกก็ไม่หนัก

เรื่องจิตนี้ตามธรรมชาติของมันแท้ มันไม่มีอะไร ถ้าหากมันเข้าใจในตัวมันเองแล้ว มันเข้าใจในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของมันแล้ว ก็ไม่มีอะไร มันก็มีแต่เรื่องเกิดแล้วดับไป

เรื่องทั้งหลายซึ่งมันจะสำคัญมั่นหมายนั้น คล้ายๆ กับก้อนหินก้อนหนึ่งที่มันวางอยู่ข้างหน้าเรา มันจะหนักเป็นตันก็ช่างมันเถิด แม้น้ำหนักมันมี แต่เมื่อเราไม่ไปยก มันก็ไม่หนัก จะหนักมันก็หนักเฉพาะมัน

เรื่องทุกอย่างอารมณ์ทุกอย่างมันก็เหมือนกัน ดีหรือชั่วก็ปล่อยไปตามเรื่องของมัน มันไม่รู้เรื่องของมัน เหมือนก้อนหินที่มันหนัก มันจะหนักกี่ตันกี่กิโลกรัมก็ช่างมัน ถ้าเราไม่ยกมันก็ไม่หนัก แต่ว่ามันก็ยังมีน้ำหนักของมันอยู่ ทว่ามันไม่ทำให้มนุษย์หนัก

อารมณ์ทั้งหลายนี้ก็เหมือนกันฉันนั้นแหละ อารมณ์ที่ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง เป็นต้นตอที่มันจะหนักขึ้นมา แต่ความจริงนั้น อารมณ์มันก็เสมอเก่าของมันนั่นแหละ อารมณ์นี้ให้มนุษย์ชอบ อารมณ์นี้ไม่ให้มนุษย์ชอบใจ มันก็ไม่ได้แสดงอะไรของมัน แต่ความมั่นหมายของมนุษย์เข้าไปยึดมั่นถือมั่น นับว่าอันนี้เราชอบมัน อันนี้เราไม่ชอบมันเท่านี้แหละ แต่อารมณ์นั้นมันก็อย่างนั้นแหละ มันก็เป็นอย่างเดียวเท่านั้น คือเป็นอารมณ์เท่านั้น มันจะดีหรือชั่ว มันไม่มีอะไรของมัน มันเป็นเพียงอารมณ์เท่านั้น ที่มันจะเกิดดีชั่วมานั้นก็เพราะเราเข้าไปหมายมั่นมัน ถ้าเราเข้าไปหมายมั่นว่ามันดีมันชั่วก็เท่ากับเข้าไปแบกมัน เมื่อไปแบกมันมันก็หนัก ถ้าปล่อยวางมัน มันก็ไม่หนัก ความเป็นจริงนั้นมันมีความสำคัญมั่นหมายเฉพาะตัวเรา อารมณ์ต่างๆ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมชาติของมัน เกิดแล้วก็ดับไป ไม่มีดีมีชั่ว

โลกนี้มันก็สม่ำเสมอดีอยู่หรอก ที่มันไม่สม่ำเสมอนั้น เพราะจิตของเราหลงไปอุปาทานมั่นหมายมันเสียแล้ว เช่นต้นไม้ในป่านี้แหละ ต้นนี้มันโตไป ต้นนี้มันเล็กไป ต้นนี้มันสูงไป ต้นนี้มันเตี้ยไป นี่เราก็พูดแต่เรื่องของเรา ต้นไม้มันก็ไม่ว่าของมันยาวหรือสั้น มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เรื่องเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่น มันจึงเกิดเรื่องขึ้นมา ไปอุปาทานมั่นหมายเกิดภพเกิดชาติขึ้นมาก็เพราะความยึดมั่นถือมั่น เหมือนก้อนหินที่มันหนักนั่นแหละ เป็นเพราะเราเข้าไปแบกมัน มันจึงหนัก แต่ถ้าเราไม่ได้ไปแบกมันมันก็ไม่หนัก แต่น้ำหนักของมันคงมีอยู่

อารมณ์เกิดมาจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็เป็นอยู่ของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าจิตมันรู้เรื่องแล้วก็ปล่อยๆ มันไป ทางตาก็ดี ทางหูก็ดี ทางจมูกก็ดี ทางลิ้นก็ดี ทางกายก็ดี ทางใจก็ดี ถ้าเห็นสภาพมันเป็นอย่างนั้น มันก็ปล่อย รับรู้แล้วมันก็ปล่อย อารมณ์ทั้งหลายนั้นมันก็เสมอกันไม่มีอะไรดีไม่มีอะไรชั่ว มันจะดีหรือมันจะชั่วก็เพราะเราไปมีอุปาทานมั่นหมายมันเท่านั้น ตัวอารมณ์มันเป็นอยู่อย่างนั้นของมัน ถูกสมมติขึ้นมาในจิตใจของเรา เราก็ไปสำคัญมั่นหมายว่ามันเป็นที่จิตอย่างนั้น จากนั้นเราไปแบกมัน มันก็หนัก ความหนักนั้นก็ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมา ทีนี้จะวางก็วางไม่ได้ ทำไมจึงวางไม่ได้ ก็เพราะนึกว่าของหนักนั้นมันดี คิดว่าวางแล้วมันจะไม่ได้ดีจึงไม่ยอมวางมัน อย่างบุรุษคนหนึ่งแบกต้นไม้มา ถามว่าหนักไหม หนักก็วางมันเสียที่นี่ เขาไม่ยอมวางเพราะกลัวจะไม่ได้ สิ่งที่ได้จากการวางนั้นมีอยู่ แต่เขาไม่เห็น มันก็แบกไปด้นไปจนกว่าจะตายนั่นเอง

จิตของพระอริยบุคคล : รู้จักใช้รู้จักวาง

พระพุทธเจ้าของเราทรงสอนว่า ให้วางเสีย อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมันเลย แต่มนุษย์ทั้งหลายกลัวจะไม่ได้ ยังอยากได้อยู่ จึงยังมีความขัดข้องอยู่ ความเป็นจริงพระพุทธเจ้าทรงสอนให้สบายนั่นแหละ แต่จิตใจของมนุษย์เราที่มีอวิชชาตัณหา ก็ไม่ยอมวาง

จิตของพระอริยบุคคลเมื่อเทียบกับของปุถุชนแล้ว จิตของปุถุชนนั้นก็เป็นของปลอมไปเสีย ดังนั้น เมื่อปุถุชนพูดถึงจิตของพระอริยบุคคล มันก็เป็นของปลอมไปหมดเลย เข้ากันไม่ได้

เพราะฉะนั้นลักษณะจิตนี้มันจึงพูดยากนึกลำบาก ถ้ามันเป็นอย่างเดียวกันละก็ มันจึงพูดง่าย ดังนั้นคนเราจึงเข้าใจว่าธรรมะยาก แต่ครั้นเข้าใจแล้วก็เป็นของง่าย เช่นว่าท่านให้วาง คนทั้งหลายเข้าใจไปว่าให้ทิ้งหมด ไม่เข้า่ใจว่า "วาง" ไว้ ไม่ "แบก" ไว้ เมื่อเราใช้แล้วก็วาง แต่คนเราคิดไม่ออก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2012, 11:30:20 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ที่อยู่ของพระพุทธเจ้าของเรา ที่อยู่ของพระอริยเจ้าของเรา
คนคิดไม่ออกเพราะคนติดอยู่ในภพ

เทียบกับเรื่องสูงต่ำ ถ้าขึ้นไปมันก็ถึงจุดสูง ลงมาจากนี้ มันก็เกิดลงมาถึงต่ำ ตรงนี้ ที่ตรงกลางนี่ ที่พระท่านอยู่ คนมองไม่เห็นแล้วก็ไม่นึกจะอยู่ด้วย แบบนี้เืมื่อสุขก็สุขไปเลย เมื่อทุกข์ก็โดดลงมาเลย ตรงนี้ ตรงไม่สุขไม่ทุกข์นี้มองไม่เห็น ไม่นึกว่าจะอยู่จะมีเสียด้วย เมื่อสูงก็สูงเลย สุขก็ติดสุขอยู่ในโน้น เมื่อลงจากสุขก็ทุกข์เลย เมื่อพ้นจากทุกข์ก็สุขเลย ตรงนี้ ตรงที่ว่างๆ นี่ผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เห็น ไม่เจอ เพราะว่าฐานเดิมคืออวิชชามันดันขึ้นไป มันดันลงมา แล้วก็ดัินขึ้นไป ทำให้พ้นจากความพอดี ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้วาง ฟังไม่ออก กลัวว่าจะทิ้งของเสีย หมดของเสีย จะไม่ได้อะไรเสีย

ความจริงแล้วคล้ายๆ กับว่า ถ้าเราใช้ของให้ถูกสัดส่วนหน้าที่ของมันแล้วก็มีความสบาย เช่น ขันน้ำกับโอ่ง โอ่งสำหรับเก็บน้ำ ขันสำหรับตักน้ำมาดื่ม ดื่มแล้วก็วางขันไว้ เท่านั้นมันก็พอดี ขันไม่ใช่น้ำ น้ำไม่ใช่ขัน เมื่อดื่มแล้วก็วางขันไว้ แต่คนเราไม่ยอมทิ้งขันไว้ กลัวจะไม่ได้กินน้ำ จึงแบกไว้ยึดไว้ ก็เลยจะไปดื่มขันเหมือนน้ำ ก็เลยเกิดทุกข์ขึ้นมา ตามธรรมดาขันก็เป็นขัน น้ำก็เป็นน้ำ โอ่งก็เป็นโอ่ง ถ้าเราใช้ตามระบอบพอดีก็ไม่มีอะไร จับขันมาก็ตักน้ำดื่ม แล้วก็วางขันไว้ ก็ไม่มีทุกข์เดือดร้อนอะไร

ของสมมติก็เช่นกัน เอามาใช้แล้วก็วางไว้ ท่านให้วาง ลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี มีอยู่แต่ท่านให้วาง เอามาใช้แล้วก็วางไว้ ถ้าทำถูกเรื่องดังนี้ก็ไม่มีอะไร

สภาวธรรม : โลกเป็นอยู่อย่างที่มันเป็น

พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้รู้แจ้งในโลก คือโลกนี้แจ้งอยู่แล้ว มันเป็นเรื่องเป็นราวตามสภาวะของมันอยู่แล้ว เรากลับจะมาบังคับโลกนี้

โลกนี้ก็คืออารมณ์นั่นแหละ เราไม่รู้จักอารมณ์ เมื่ออารมณ์ดีเราก็ชอบใจ อารมณ์ไม่ดีเราก็เป็นทุกข์ไม่ชอบใจ อันนี้มันเป็นโลก

พระพุทธเจ้าท่านทรงเป็น "โลกวิทู" คือมีความรู้แจ้งโลก คือความที่แจ้งในโลกนี้เอง แต่เราไปหลงโลก คือหลงอารมณ์นี้

ความเป็นจริงอารมณ์มันก็แจ้งของมันอยู่แล้ว เราทำให้มันแจ้งซึ่งอารมณ์ เท่านี้มันก็เป็นความรู้จักโลกแล้ว ไม่ไปรู้ที่ไหน สภาวะของโลกมีพร้อมอยู่บริบูรณ์ ถ้าทุกคนมารู้ตามธรรมดาของโลกก็หมดปัญหา ที่มันมีปัญหาก็เพราะเราไปยึดว่าอันนั้นเป็นเรา อันนั้นของเรา ว่าอันนั้นข้าชอบ อันนั้นข้าไม่ชอบอยู่เสมอ

คล้ายๆ เราสร้างบ้านหลังหนึ่งเป็นบ้านของเรา เราอยากอยู่คนเดียว แมงมุม จิ้ิงจก ตุ๊กแก มันมาอาศัยอยู่ มันก็ว่าบ้านของมัน คนก็ว่าที่อยู่ของคน อันความเป็็นจริงไม่ใช่ที่อยู่ของใคร มันเป็นของกลางๆ อยู่อย่างนั้น อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้าเราปล่อยมันไปตามสม่ำเสมอของมัน มันก็เป็นตามเรื่องของมัน ให้รู้แจ้งอย่างนั้น

พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้รู้แจ้งอย่างนี้ กายอยู่อย่างหนึ่ง จิตอยู่อย่างหนึ่ง ก็อยู่ในโลกนี้แหละ ถ้าเราไม่รู้จักโ่ลกเราก็เป็นทุกข์ ถ้าเรารู้จักโลก แจ้งโลกแล้วก็ไม่มีอะไร ไม่ให้ไปรู้ธรรมะที่ไหน แต่ให้รู้ว่าโลกที่เราอยู่นี้มันคืออะไร สมมตินี้มันก็อยู่ที่สมมติ แค่เรารู้จักสมมตินี้ มันก็เป็นวิมุตติ สมมติวิมุตติ สมมติิวิมุตติ ... อยู่อย่างนี้เรื่อยไป ถ้ามีแต่สมมติเรื่อยไปมันก็เป็นทุกข์ ถ้ามีสมมติก็ต้องมีวิมุตติอยู่ในโลกอันนี้

อย่างให้รู้เท่าทัน พระพุทธองค์ว่ารู้รอบอยู่ รู้รอบคือความเป็นอยู่นี้ ธรรมะมันก็เป็นอยู่อย่างนี้ แต่พอเราพูดไปไกลเกินไป มันก็ไกลมาก แต่ความเป็นจริงแล้วมันหลงอารมณ์นี้เองไม่ใช่อื่นไกล จึงได้ไปยึดถือมั่น ไม่ยอมปล่อยวาง กลัวมันจะไม่ได้ กลัวมันจะเสียหาย ความเป็นจริงสิ่งที่มันจะสบายนั้นคนไม่รู้จัก

ทุกขสัจจ์ : รู้จักทุกข์จึงเห็นทางพ้นทุกข์

พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงสอนให้อยู่ในโลกนี้ ศึกษาโลกนี้ ให้รู้โลกที่เป็นอยู่ ผู้มีปัญญายิ่งศึกษายิ่งเข้าใจ ถึงแม้โลกมันจะวุ่นวายก็ยิ่งได้ศึกษามาก

เมื่อมีความทุกข์ขึ้นมานั่นแหละ ได้ศึกษาอารมณ์อยู่กำลังศึกษาธรรมะอยู่ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาเมื่อไรมันก็ต้องให้คิด เมื่อคิดมันก็ต้องเกิดปัญญารู้จักแก้ปัญหาในอารมณ์นั้นอันนั้นได้ สมกับที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่าทุกขสัจจ์ ทุกข์เป็นสัจจธรรมอันหนึ่งเหมือนกัน ท่านจึงสอนมนุษย์ให้รู้จักทุกข์

ถ้าไม่รู้จักทุกข์...มันก็ทุกข์ ถ้ารู้จักทุกข์...มันก็ไม่ทุกข์

แต่ว่าคนเราไม่ยอมศึกษา ถ้าทุกข์ละข้าไม่เอา ไม่ชอบใจข้าก็ไม่เอา หาเอาแต่สิ่งที่เราชอบใจนั่นเอง อันนี้มันเดินคนละข้างเลยทีเดียว มันไม่ได้ศึกษาอะไรเลย

พระพุทธเจ้าทรงสอนเราไม่ให้หลบหลีกเหตุการณ์ ถ้าทุกข์แสดง ให้เราพิจารณาเอาทุกข์นั้นมาศึกษาว่าทุกข์นั้นคืออะไร อย่างนี้มันเกิดขึ้นตรงไหน อะไรพามันทุกข์ ใครเป็นคนรับทุกข์มา ทุกข์มันจบลงที่ตรงไหน ให้เราศึกษา ตาเห็นรูปเราก็ศึกษา หูได้ยินเสียงเราก็ศึกษา จมูกดมกลิ่นเราก็ศึกษา กายถูกต้องเราก็ศึกษา ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิตเราก็ศึกษา การศึกษานี้เป็นของสำคัญมาก ศึกษาในเมื่อเรามีชีวิตอยู่เป็นธรรมทั้งนั้น

ถ้าเราเห็น ก็ประจักษ์ใจนี่แหละ อยู่ใกล้ๆ นี้เอง แต่เราไม่ค่อยรู้จัก เช่น เรานั่งเขียนหนังสืออยู่ใต้ร่มไม้นี่ สายๆ มาตะวันค่อยๆ เลื่อนไป จนร่มเงาหนีจากตัวเราไป เราก็ถูกแดด เราก็รู้สึกว่าร้อน เมื่อร้อนก็รู้สึกว่าทุกข์ เมื่อทุกข์ก็คิดจะย้ายโต๊ะไปเข้าร่มต่อไป นั่นก็ออกจากทุกข์แล้ว เมื่อตะวันเลื่อนไปอีก แดดมาถูกเราอีกเราก็ร้อนอีก ทุกข์อีก เมื่อทุกข์ก็คิดว่าจะเคลื่อนไปที่ไหนดี มันก็เป็นเช่นนี้

คนเรามันจะเดินไปไหน ยืนเดินนั่งนอน มันก็ต้องศึกษาทั้งนั้น ถ้าเรามีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่ มีความรู้ตัวอยู่เสมอแล้วก็คือเราได้ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นไม่ควรคิดว่าธรรมะอยู่ไกล ถ้าเราเห็นสิ่งเหล่านี้ สักแต่ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เท่านี้ปัญญามันก็เกิด

ถ้าอารมณ์สุขขึ้นมา ทุกข์ขึ้นมา ชอบใจขึ้นมา ไม่ชอบใจขึ้นมา เรานึกเห็นมันทุกข์อย่างว่ามันก็เท่านั้นแหละ สุขมันก็เท่านั้นแหละ ทุกข์ก็เท่านั้นแหละ ก็แปลว่าเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว

แล้วเมื่อเห็นแล้วเราก็ไม่ยึดไม่ถือ คลี่คลายจาก ราคะ โทสะ โมหะ อยู่เรื่อยไป เรียกได้ว่าเราปฏิบัติอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งยืนเดินนั่งนอน มีความรู้อยู่ มีความเห็นอยู่ มีความพร้อมเพรียงอยู่ มีความปฏิบัติอยู่ พิจารณาอยู่ ภาวนาอยู่ตลอดเวลา...


จากหนังสือ อริยธรรม ฉบับที่ ๔ (๑ มิ.ย. ๒๕๓๘)



http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2377.msg8704#msg8704
miracle of love
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม  * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2012, 10:54:24 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: หลงโลกจึงทุกข์ (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 11:00:03 pm »
 :45: ขอบคุณครับพี่แป๋ม  อนุโมทนาครับ
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~