ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอนพระพุทธเจ้า  (อ่าน 1731 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
คำสอนพระพุทธเจ้า
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2010, 03:48:59 am »
คำสอนพระพุทธเจ้า


--------------------------------------------------------

ให้ลูกหลานทั้งหลายจงจดจำคิดว่า
"โลกนี้เป็นอนิจจัง  ทุกอย่างไม่มีอะไรเที่ยง มันไม่มีการทรงตัวโลกนี้ 
ถ้าเราเอาจิตเข้าไปยึดถือมันก็เป็นทุกข์" ให้ทุกคนทำกำลังใจแข็งไว้ว่า
เราจะไม่ยอมแพ้ความชั่ว จะไม่ยอมให้ความชั่วเข้ามาเป็นเจ้านายหัวใจ
เราจะทรงกำลังใจ ไว้แต่เพียงความดี เมื่อจิตใจมันเข้มแข็งอย่างนี้
ความชั่วมันเป็นเจ้านายไม่ได้  สิ่งใดที่เคยทำผิดพลาดไปแล้ว
พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ให้ลืมเสียทุกอย่างไม่ตามนึกถึงมัน
มุ่งหน้าเฉพาะความดีที่ให้ภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี้
ให้นึกถึงความดีอย่างเดียว ไอ้ความที่ไม่ดี อาจแลบเข้ามาบ้าง
เป็นของธรรมดา เราก็นึกถึงความ ดีให้มาก ไม่ตามนึกถึงมัน
มันก็ไม่เกาะใจเรา ใจเราเกาะเฉพาะบุญใช่ไหม เกาะเฉพาะบุญ
เวลาตาย บุญก็นำเราไปก่อน ไปสวรรค์ก่อนอย่างน้อย
การปฏิบัติพระกรรมฐานนี้ มีความสำคัญมากเพราะว่า เราทุกคน
ถ้าก่อนจะตาย ถ้าจิตจับอารมณ์ที่เป็นบาป อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในขณะนั้นแล้วก็ตาย อย่างนี้ตายไปอบายภูมิแน่
ถึงแม้จะทำบุญไว้มากสักเพียงไรก็ตาม ต้องไปนรกก่อน
เราจะไปสวรรค์ก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีชีวิตอยู่
ถ้ามีความฉลาด ถึงแม้ว่าเราจะบาปมากจะมีบุญน้อย ก็ควบคุมอารมณ์
ที่เป็นบุญไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าทุกคนตั้งใจ
ไว้เฉพาะพระนิพพาน ถึงแม้เราจะมีบุญน้อย
เราก็สามารถไป พระนิพพานได้ พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ว่า
ท่านทั้งหลายจงอย่านึกถึงความชั่ว ที่ทำมาแล้ว ความชั่วก็คือ บาป
บาปก็คือ ความชั่วเราไม่ยอมนึกถึงมัน นึกถึงความดีอย่างเดียว
ควบคุมจิตให้เป็นฌาน ให้ได้ทุกวัน ฌานก็ได้แก่ อารมณ์ชิน
คิดไว้เสมอว่า เราจะเจริญสมาธิภาวนาได้ทุกอย่างเป็นพุทโธ
วันหนึ่งเราสามารถทำได้สัก10 นาที 20 นาทีก็ตาม แม้จะมีเวลาน้อย
และถ้าทำได้ ให้นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งที่เราชอบ
แล้วภาวนาอย่างนี้ทุกวันจนชิน อย่างนี้เรียกว่า เป็นฌาน
ถ้าทำได้แบบนี้ทุกวัน ถึงแม้จะบาป มากขนาดไหนก็ตาม
ก่อนตายแทนที่จะเห็นภาพ ที่เราเคยทำบาป บาปจะเข้ามาไม่ได้
มันมีแต่ภาพของบุญอย่างนี้ไปสวรรค์แน่ เป็นอย่างต่ำ
การเจริญพระกรรมฐานอันดับแรก ให้ทุกคนกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ออก
เวลาหายใจเข้ารู้อยู่หายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่หายใจออก
การภาวนาไม่จำกัดใคร จะภาวนาว่า อย่างไรก็ไม่เป็นไร
ตามถนัดแต่ว่าก่อนภาวนา ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อนถือเป็นพุทธานุสสติ
เวลาภาวนาจะใช้เวลาไหนบ้างก็ตามชอบ ใจถ้าเวลาอื่นไม่มี ก็นอนอย่าลืม
ถ้าศรีษะถึงหมอน ภาวนาพุทโธทันที นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง
ที่เราชอบ คิดว่าองค์นี้คือ พระพุทธเจ้า แล้วก็ภาวนา อาจจะภาวนา "พุทโธ"
หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" สัก 2-3 ครั้งก็ได้
ตามความพอใจมากก็ได้น้อยก็ได้แล้วก็หลับไป พอตื่นขึ้นมาใหม่ๆ
ก็นึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอีกแล้วก็ภาวนาว่า "พุทโธ" อีก ทำอย่างนี้ทุกวัน
จนกระทั่งวันไหน ถ้าเราไม่มีโอกาสจะทำ วันนั้นรำคาญ ต้องทำเป็นอารมณ์ชิน
อย่างนี้ ถือว่า ทรง ฌานในพุทธานุสสติกรรมฐานแล้ว
แม้ศีลมันจะขาดมันจะบกพร่องบ้าง ถึงยังไงก็ตาม ตายแล้วต้องไปสวรรค์แน่นอน
ญาติโยมพุทธบริษัทบางท่าน ที่ไม่สามารถจะรักษาศีล 5 ได้ครบถ้วน
ก็ให้จับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนึ่งพุทธานุสสติกรรมฐาน
อย่าทิ้งพระพุทธเจ้า และประการที่สองให้จับอารมณ์สังฆทาน มีภาพแบบไหน
มีอะไรบ้างว่าเรา เคยถวายสังฆทานแล้วในชีวิตนี้ จับอารมณ์ให้ทรงตัวส่วนนี้
เป็นส่วนหนึ่ง ที่พาท่านไปนิพพานได้โดยง่ายเหมือนกัน
และจงอย่าลืมคิด ตามความเป็นจริง ตามอริยสัจว่า การเกิดมันเป็นทุกข์
ความแก่เป็นทุกข์ ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรัก
ของชอบใจเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ถ้าเราจะเกิดอย่างนี้ อีกกี่ชาติ
ก็จะมีทุกข์อย่างนี้ เมื่อเวลาใกล้จะตาย จิตอย่าลืมนิพพาน ต้องยึดไว้ทุกวัน
นิพพานนี้ นึกให้เป็นอารมณ์ไปจนชินตัว นึกว่าถ้าตายจากโลกนี้เมื่อไหร่
ขอไปนิพพานเมื่อนั้นให้จิตเป็นฌานที่ เรียกว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน
อย่างนี้ทุกคนจะไม่พลาดนิพพาน ที่นี้การฝึกอารมณ์บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท
ส่วนใหญ่ มักจะไปบ่นว่าอารมณ์ไม่ทรงตัวบ้าง อารมณ์ไม่สงัดบ้าง
อย่างนี้เป็นความคิดมากเกินไป คนที่มีอารมณ์สงัดจริงๆ นะมีเฉพาะ
พระอรหันต์ขึ้นไปเท่านั้น ถ้าต่ำกว่าพระอรหันต์จะถือว่า อารมณ์สนิททรงตัวสนิท
ไม่คิดอะไรอีก ไม่มีอรหัตมรรค ยังมีอารมณ์ฟุ้งซ่าน คนที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน คือ พระอรหัตผล
ในเมื่อเรายังไม่เป็นพระอรหันต์จิตก็ต้องฟุ้งซ่าน เป็นของธรรมดาที่มีการที่จะทรงตัว
ให้อารมณ์อยู่เป็นปกติ ก็ต้องใช้เวลาน้อยๆ วันหนึ่งถ้าเราสามารถ ทรงสมาธิได้จริงๆ
สัก 5 นาทีหรือ10 นาที ก็ควรจะพอใจเพราะว่า เวลาที่จิตทรงสมาธิ เวลานั้น
พระพุทธเจ้าถือว่า จิตว่างจากกิเลส ที่พระพทธเจ้าทรงตรัสกับพระสารีบุตรว่า
"สารีปุตตะ ดูก่อนสารีบุตร บุคคลใดมีจิตว่างจาก กิเลส วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง
ตถาคตถือว่า บุคคลนั้นมีจิตไม่ว่างจากฌาน"
สมเด็จรพระจอมไตรองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า
ถ้าเราต้องการหมดความทุกข์ ต้องการมีความสุขก็จงอย่า คิดว่า โลกนี้เป็นของเรา
ร่างกายนี้เป็นของเรา ร่างกายของบุคคลอื่น เป็นเราของเรา
จงคิดว่า ร่างกายมันเป็นพียงธาตุ 4 มันเข้ามาประชุมกัน
เห็นร่างกายภายใน คือ ร่างกายของเรา ก็ทำความรู้สึกเพียงสักแต่ว่าเห็น
คือ ไม่สนใจ ไม่ยึดถือว่ามัน กับเราจะอยู่ด้วยกันตลอดกาลตลอดสมัย
ตัดความโลภเสียด้วยการให้ทาน ตัดความโกรธเสียด้วยการเห็นใจซึ่งกันและกัน
ตัดความหลงคือยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ขอบพระคุณคุณnarissara :07:

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอนพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2010, 07:30:07 pm »

ทำอย่างไรชีวิตจึงจะไม่มีทุกข์?

ครั้งหนึ่งได้มีผู้ไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
คำสอนทั้งหมดของพระองค์จะสรุปลงได้ว่าอย่างไร?
ซึ่งพระองค์ทรงตรัสตอบว่าคำสอนโดยสรุปของพระองค์นั้น
สรุปอยู่ในประโยคที่ว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเรา-ของเรา”.
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้หมายถึงอะไรบ้าง? ก็หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างไม่เว้นสิ่งใด
โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นชีวิตจิตใจของเราเองก็ยึดถือไม่ได้
ยิ่งเป็นทรัพย์สมบัติ บุตร ภรรยา หรือสามีก็ยิ่งยึดถือไม่ได้.
ทำไมจึงยึดถือไม่ได้ ก็ในเมื่อมันเป็นตัวเรา-ของเรา
ไม่ได้เป็นของคนอื่นนี่นา? ซึ่งเหตุที่ยึดถือไมได้ก็เพราะ
แท้จริงสิ่งทั้งหลายนั้นมันเป็นเพียง “สิ่งที่ธรรมชาติปรุงแต่งสร้างสรรค์ขึ้นมา
ตามเหตุตามปัจจัยเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น” หาได้เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้
ถาวรหรือตั้งอยู่ตลอดไปตามที่เราต้องการไม่ เมื่อสิ่งที่เรารัก
เราพอใจยังคงอยู่กับเรา เราก็ยังพอที่จะมีความสุขอยู่บ้าง
แต่พอสิ่งที่เรารัก เราพอใจนั้นเปลี่ยนแปลงไป หรือพลัดพรากจากเราไป
ตามเหตุตามปัจจัยของมัน ซึ่งเราก็ไม่สามารถห้ามมันได้
ก็จะทำให้ตัวเราที่ไปยึดถือนั้นเป็นทุกข์ตามไปด้วย ถ้ารักน้อยก็ทุกข์น้อย
ถ้ารักมากก็ทุกข์มาก ถ้ารักหมดชีวิตก็เป็นทุกข์หมดชีวิตเหมือนกัน
อย่างเช่นถ้าสิ่งที่เรารักยิ่ง หรือคนที่เรารักมากได้จากเราไป
อย่างไม่มีวันหวนกลับ เราก็ย่อมที่จะมีความเศร้าโศกเสียใจอย่างใหญ่หลวง
จนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือแทบจะฆ่าตัวตายก็ได้
ถ้าสิ่งนั้นเรารักมากจนหมดชีวิต หรือถ้าเราแก่เฒ่าลง
ความแก่ชราของร่างกายย่อมเป็นที่น่ารังเกียจทั้งแก่ตัวเราเองและแก่ผู้อื่น
คนที่แก่เฒ่าจึงมีแต่ความเศร้าซึม ที่เรียกว่าเป็นโรคซึมเศร้า
หรือคนที่เจ็บป่วยหรือพิกลพิการตาบอด หูหนวก ที่นอนซมอยู่
มีทุกข์ทางกายอยู่ มีความยากลำบากทางกายอยู่
ก็ย่อมที่จะมีความทุกข์ตรม หรือเศร้าใจ หรือเบื่อหน่ายชีวิต
หรือแม้คนที่รู้ตัวว่าจะต้องตายในเร็ววัน ก็ย่อมที่จะเศร้าโศกเสียใจอย่างยิ่ง
ที่ต้องพลัดพรากจากทุกสิ่งที่รักที่พอใจไปอย่างไม่มีวันได้กลับมาอีก เป็นต้น
หรืออย่างน้อย ถ้าสิ่งที่รักยังไม่จากเราไป มันก็ทำให้เราต้องเป็นห่วง
กังวล เครียด หรือต้องลำบากคอยติดตามดูแลรักษาอยู่เสมอ
ซึ่งนั่นก็ทำให้เราต้องเกิดความทุกข์เล็กๆน้อยอยู่เสมอ
อีกทั้งถ้ายังต้องทำงานมากขึ้นเพื่อหาทรัพย์มาเลี้ยงดูสิ่งที่เรารัก
ก็ทำให้เพิ่มความเหนื่อยยากให้มากขึ้นอีก ถ้าเพียงกินน้อยใช้น้อย
ก็ยังไม่ต้องเหนื่อยยากเท่าไร แต่ถ้าสิ่งที่เรารักกินมากใช้มากเกินความจำเป็น
ก็ทำให้เราต้องเหนื่อยยากมากขึ้น บางทีถ้าบำรุงบำเรอสิ่งที่เรารักไม่เป็นที่พอใจ
สิ่งที่เรารักก็อาจจะจากเราไปได้ จึงทำให้เราต้องทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
ผิดศีลธรรม อันเป็นเหตุให้ถูกโทษหรือสังคมประณาม
ซึ่งก็ทำให้ต้องมีความทุกข์ใจมากขึ้นอีก ความทุกข์นั้นก็มีทั้งอย่างรุนแรง
คือทำให้เศร้าโศก เสียใจ ทุกข์ทรมานใจ ร้อนใจ และอย่างกลางๆคือเครียด
กลุ้มใจ หนักใจ กระวนกระวายใจ เบื่อหน่ายไม่สบายใจ
รวมทั้งอย่างบางๆคือเป็นเพียงความหงุดหงิดรำคาญใจ หรือไม่สงบ ขุ่นมัว
ไม่แจ่มใส ว้าวุ่นใจ ลังเลสงสัย และความฟุ้งซ่านจนน่ารำคาญ
รวมทั้งความหดหู่เซื่องซึม ซึ่งปรกติในวันหนึ่งๆนั้น
เราจะถูกความทุกข์ชนิดบางๆนี้ครอบงำอยู่เกือบจะทั้งวัน
และที่เหลือส่วนมากก็จะมีอย่างกลางๆเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ
ซึ่งเราก็คงพอทนกันได้ ส่วนความทุกข์ที่รุนแรงนั้นนานๆจึงจะเกิดขึ้น
ถ้าความทุกข์ที่รุนแรงเกิดขึ้นบ่อยๆหรือนานๆ ตลอดทั้งวัน
เราก็คงเป็นบ้าตายกันไปหมดแล้ว ซึ่งความทุกข์ทั้งหมดนี้
ล้วนมีสาเหตุมาจากความยึดถือว่ามีตัวเรา-ของเราทั้งสิ้น
คือเพราะมีความรัก และมีของรักจึงได้มีทุกข์ และในทางตางกันข้าม
ถ้าไม่มีความรักใดๆและไม่มีของรัก ก็จะไม่มีทุกข์ ซึ่งจิตที่ไม่มีทุกข์นั้น
เราก็รู้กันอยู่แล้วว่ามันรู้สึกอย่างไร ซึ่งมันก็ตรงข้ามกับความรู้สึกที่เป็นทุกข์
คือสงบ เย็น เบา ปลอดโปร่ง แจ่มใส ซึ่งในทางศาสนาจะเรียกว่า นิพพานนั่นเอง
บางคนอาจกล่าวว่า “จริงอยู่ที่ว่า ‘ สิ่งที่รักทำให้เกิดความทุกข์’
แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อสิ่งที่รักนั้นมันให้ความสุขแก่เรา
และเราก็ติดใจหลงใหลในความสุขนั้นเสียแล้วจนห้ามใจไม่ได้
ถึงจะมีความทุกข์ตามมามากมายในภายหลังก็ยอมรับได้
ซึ่งก็คงจะดีกว่าถ้าไม่มีสิ่งที่รักหรือไม่มีความรัก ชีวิตก็คงจะแห้งเหี่ยว
หรือเป็นทุกข์มากกว่าการที่เราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เรารักนั้นไปเป็นแน่
ใช่หรือไม่?” ถ้าใครคิดว่า “ยอมเป็นทุกข์เพื่อแลกกับความสุขจากการมีความรัก”
ก็เป็นสิทธิ์ของเขา แต่ถ้าใครคิดว่ามันไม่คุ้มกันกับการที่มีความสุขเพียงเล็กน้อย
แต่ต้องมีความทุกข์อย่างมากมายเป็นผล ก็ลองมาศึกษาวิธีการเอาชนะความรักนี้ดู
เผื่อบางทีเราอาจจะอยู่เหนืออำนาจของความรักได้ ไม่เป็นทาสของความรัก
ให้ความรักมันกดขี่ ข่มเหง บีบคั้น หรือใช้ทำงานหนัก
เหมือนกับเป็นทาสผู้ซื่อสัตย์ที่น่าสงสารได้  มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้ว
ก็เป็นธรรมดาที่ชีวิตต้องการความสุข ซึ่งความสุขก็เกิดขึ้นได้จากการเห็นรูป,
ฟังเสียง, ดมกลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย, และคิดนึกทางจิตใจ

แต่ถ้าจะสรุปแล้วความสุขของโลกก็มีอยู่ ๓ ประเภท คือ

(๑) เรื่องกาม คือสุขจากเรื่องของสวยของงาม น่ารักน่าใคร่ น่าพอใจทั้งหลาย
โดยมีจากเพศตรงข้ามเป็นสิ่งสูงสุด
(๒) เรื่องกิน ซึ่งหมายถึงเรื่องวัตถุที่ไม่ใช่กาม แต่เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต
เช่น วัตถุเครื่องใช้ ทรัพย์สิน เงินทอง บ้าน รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ
เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เป็นต้นและ
(๓) เรื่องเกียรติ คือเรื่องเกียรติยศ ชื่อเสียง ความเด่นดัง ความมีอำนาจ

สิ่งทั้ง ๓ คือ กาม กิน เกียรตินี้เรียกว่าเป็นวัตถุนิยม คือเป็นที่ตั้งของความนิยมชมชอบ
ของคนทั้งหลายในสังคม ผู้คนทั้งหลายล้วนแสวงหาความสุขจากวัตถุนิยมเหล่านี้
คนที่เป็นคนดีก็แสวงหาในทางที่ดี ส่วนคนที่ชั่วก็แสวงหาในทางที่ชั่ว
บางคนก็แสวงหาทั้งในทางทีดีและชั่วปะปนกัน การแสวงหาในทางทีดี
ก็คือไม่เอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเป็นสุข ส่วนในทางที่ชั่ว
ก็คือเอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์
วัตถุนิยมทั้งหลายนี่เองที่เป็นสิ่งที่ให้ความสุขและทำให้เราเกิดความรัก
ความพอใจ และลุ่มหลงติดใจอย่างยิ่ง ซึ่งการที่จะเอาชนะความรักความพอใจ
ในสิ่งเหล่านี้ได้ก็ต้องใช้แรงดันกับแรงดึง ซึ่งแรงดันก็คืออำนาจที่จะผลักให้เราออกไป
จากความติดใจหลงใหลในสิ่งที่รักที่เป็นวัตถุนิยม ส่วนแรงดึงก็คืออำนาจที่จะดึงเรา
ให้ไปรักหรือพอใจในสิ่งอื่นที่ให้ความสุขเหมือนกันแต่ว่าไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ
เหมือนกับสิ่งที่รักหรือวัตถุนิยม สิ่งที่จะเป็นแรงดันนั้นก็คือทุกข์และโทษ
จากที่ได้บรรยายไปแล้วตอนต้น ซึ่งเราจะต้องหมั่นพิจารณาให้มากอยู่เสมอ
จนจิตเกิดความเบื่อหน่ายต่อความสุขจากวัตถุนิยม หรือกลัวต่อทุกข์และโทษของมัน
ทั้งที่อาจจะกำลังเกิดอยู่จริง และหรือที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน
ส่วนแรงดึงนั้นก็คือความสุขที่ดีกว่า หรือมีทุกข์ มีโทษน้อยกว่า
โดยเริ่มจากการละเว้นเรื่องกามก่อน เพราะมีโทษมากกว่าเรื่องกิน
คือให้พิจารณาเห็นโทษจากการมีคู่ หรือมีคนรัก หรือจากการมีเพศสัมพันธ์ให้มาก
เช่น ถึงได้คู่ครองดีก็ต้องมีภาระมากขึ้น ทำงานหนักมากขึ้น ต้องทนอยู่ด้วยกัน
ไปจนตลอดชีวิตเพราะความรักจางคลายลงไปแล้ว ต้องลำบากในการมีลูก
ในการเลี้ยงดูลูก ต้องเอาใจคู่ครองหรือครอบครัวของคู่ครอง เป็นต้น
แต่ถ้าได้คู่ครองไม่ดีก็ต้องเครียด ต้องปวดหัว ต้องเป็นทุกข์ ต้องทะเลาะเบาะแว้ง
ซึ่งอาจจะทำร้าย หรือนำโรคร้ายแรงมาให้เราได้ เป็นต้น
เมื่อเห็นทุกข์และโทษจากเรื่องกามแล้วก็ไปแสวงหาความสุขจากเรื่องกิน
หรือเรื่องวัตถุสิ่งของที่ไม่ใช่เรื่องกามแทน ที่มีโทษน้อยกว่า เช่น
สะสมวัตถุสิ่งของที่ชื่นชอบ ปลูกต้นไม้ ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์เลี้ยง วาดรูป
เขียนหนังสือ ฝึกซ่อมเครื่องใช้ต่างๆ หรือรับจ้างทำงานพิเศษที่ตนเองถนัด
หรือคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น หรือใครที่ยังเป็นนักเรียนนักศึกษา
หรือทำหน้าที่การงานอยู่ ก็มุ่งมั่นอยู่แต่ในเรื่องการเรียน หรือการทำงาน
โดยไม่สนใจเรื่องเพศตรงข้ามก็ยิ่งดี ก็จะทำให้หลุดพ้นจากเรื่องกามได้โดยง่าย
แต่เรื่องกินก็ยังมีโทษ เช่น ทำให้ห่วงกังวลกลัวจะสูญหาย หรืออาจจะไม่ได้ผล
ดังที่เราคาดหวังไว้ก็ได้ หรือถ้าเกิดความสูญเสียไปเราก็ยังเป็นทุกข์
หรืออาจเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาก็ได้ หรือเมื่อเราต้องจากมันไป
เราก็ยังเป็นทุกข์อยู่ดี เป็นต้น และเมื่อเห็นโทษของเรื่องกินแล้ว
ก็ให้เปลี่ยนมาแสวงหาความสุขจากเรื่องเกียรติแทน คือ การสร้างคุณงามความดี
ให้สังคมยกย่อง เช่น ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ตนเองมีแก่คนด้อยโอกาส
ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก อุทิศตนเพื่อสังคม เป็นต้น
ซึ่งก็จะทำให้จิตหลุดพ้นจากเรื่องกินได้ แต่เรื่องเกียรติก็ยังมีโทษ เช่น
อาจไม่ได้มีคนยกย่องเสมอไป ถ้าเกิดถูกคนกลั่นแกล้งนินทาว่าร้าย
ก็อาจทำให้ถูกสังคมดูหมิ่นดูแคลนได้ และแม้ความมีเกียรติ
ก็ต้องขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคม ดังนั้นแน่นอนว่าในอนาคตสังคม
ก็ย่อมที่จะลืมเลือน แล้วเราก็ต้องกลายเป็นคนต่ำต้อยด้อยเกียรติขึ้นมาทันที
แล้วเราก็ต้องเป็นทุกข์อีกจนได้ และถ้าเราจะตายเราก็ยังเป็นทุกข์อยู่อีกนั่นเอง เป็นต้น

แล้วอะไรที่จะดึงเราให้หลุดพ้นจากอำนาจของเรื่องเกียรติได้?
คำตอบก็คือ “ปัญญา ศีล สมาธิ” ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว
ปัญญาก็คือ ความรอบรู้เรื่องการดับทุกข์ โดยมีหัวใจอยู่ที่ความเข้าใจว่า
“แท้จริงมันไม่มีตัวเราอยู่จริง” ส่วนศีลก็คือการรักษากายกับวาจาของเรา
ไม่ให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ส่วนสมาธิก็คืออาการที่จิต
“ไม่มีความยึดถือว่ามีตัวเราอยู่อย่างมั่นคง” ซึ่งปัญญา ศีล สมาธินี้
สามารถทำให้จิตหลุดพ้นจากอำนาจของความสุขจากวัตถุนิยมทั้งหลาย
ได้อย่างถาวรเลยทีเดียว

จุดสำคัญอันดับแรกก็คือ เราจะต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อนว่า
ความจริงแล้วร่างกายและจิตใจทั้งของเราและของผู้อื่น
รวมทั้งของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายนี้ เป็นเพียง “สิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นมา
จากเหตุปัจจัยหลายๆอย่างเท่านั้น” ดังนั้นเมื่อมันเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งสร้างสรรค์ขึ้นมา
มันจึงไม่มีอะไรที่จะมาเป็นตัวตนของมันเองได้เลย(อนัตตา) และเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว
มันก็ไม่สามารถที่จะตั้งอยู่อย่างถาวรหรือคงอยู่ไปชั่วนิรันดรได้(อนิจจัง)
และไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องแตกสลายหรือดับหายไปอย่างแน่นอน ซ้ำเมื่อยังตั้งอยู่
มันก็ยังต้องมีแต่ความยากลำบากในการดำรงชีวิต (ทุกขัง)อยู่อีกด้วย
ความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตานี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา
เพราะความรู้นี้เป็นความรู้ที่จะช่วยให้เรามองเห็นความจริงของธรรมชาติ
เรื่องที่ว่าทำไมจึงยึดถือสิ่งทั้งหลายโดยเฉพาะร่างกาย
และจิตใจของเรา(ตามที่สมมติเรียก)เองนี้ไม่ได้ ถ้าใครยังไม่เข้าใจเรื่องนี้
ก็เท่ากับยังไม่รู้จักพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแท้จริง
และไม่มีทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง และเมื่อมีความเข้าใจเรื่องนี้แล้ว
การปฏิบัติศีลกับสมาธิก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเรียนรู้หลักการนิดหน่อย
ก็สามารถไปปฏิบัติเองได้ทันทีโดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับใคร
หรือไม่ต้องมีพิธีรีตรองใดๆ และถึงแม้เราจะเป็นชนชาติใด ภาษาใด
หรือนับถือลัทธิศาสนาใดอยู่ก็ตาม ถ้ามีความเข้าใจหลักการดับทุกข์นี้แล้ว
ก็สามารถนำหลักการนี้ไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองทันที
โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอก หรือการกระทำทางกาย
และวาจาใดๆ คือทุกอย่างภายนอกจะเหมือนเดิม จะเปลี่ยนแปลง
ก็เพียงจิตใจที่มีความเข้าใจต่อธรรมชาติอย่างถูกต้องขึ้นเท่านั้น

 :07:ขอบพระคุณคุณnarissara

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: คำสอนพระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 02:45:09 am »
 :13: อนุโมทนาครับพี่เล็ก
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~