ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์  (อ่าน 12063 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 10:32:21 am »


๘. หมวดพัน
THE THOUSANDS


๑๐๐. สหสฺสํ อปิ เจ วาจา
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ ๑๐๐ ฯ

คำพูดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์ตั้งพันคำ
ก็สู้คำพูดที่มีประโยชน์คำเดียวไม่ได้
เพราะฟังแล้วทำให้จิตใจสงบ

Better than a thounsand useless words
Is one beneficial single word,
Hearing which one is pacified.

๑๐๑. สหสฺสํ อปิ เจ คาถา
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ ๑๐๑ ฯ

บทกวีตั้งพันโศลก
แต่ไร้ประโยชน์
ไม่เท่าบทกวีบรรทัดเดียว
ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ

Better than a thounsand verses,
Comprising useless words,
Is one beneficial single line,
Hearing which one is pacified.

๑๐๒. โย จ คาถาสตํ ภาเส
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ ๑๐๒ ฯ

บทกวีบรรยายธรรมบทเดียว
ที่ทำให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
ประเสริฐกว่าบทกวีที่ท่องจำได้ตั้งร้อยโศลก
แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว

Should one recite a hundred verses,
Comprising useless words,
Better is one single word of the Dhamma,
Hearing which one is pacified.

๑๐๓. โย สหสฺสํ สหสฺเสน
สงฺคาเม มานุเส ชิเน
เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ
ส เว สงฺคามชุตฺตโม ฯ ๑๐๓ ฯ

ถึงจะรบชนะข้าศึกเป็นพันๆ ราย
ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล
แต่ผู้ที่เอาชนะจิตใจตน
จึงเรียก "ยอดขุนพล" แท้จริง

Though one should conquer in battle
A thounsand times a thounsand men,
Yet should one conquer just oneself
One is indeed the greatest victor.

๑๐๔-๕. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ยาจายํ อิตรา ปชา
อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส
นิจฺจํ สญฺญตจาริโน
เนว เทโว น คนฺธพฺโพ
น มาโร สห พฺรหฺมุนา
ชิตํ อปชิตํ กยิรา
ตถารูปสฺส ชนฺตุโน ฯ ๑๐๔-๕ * ฯ

เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐ
ผู้ที่ฝึกตนได้ ระวังระไวตลอดเวลา
ถึงเทวดา คนธรรพ์ และพระพรหม
ก็เอาชนะไม่ได้

Better indeed is it to conquer oneself,
Neither a god nor a Gandharva
Neither Mara nor Brahma
Could turn into defeat the victory of one
Who is self-madtered and self-controlled.

* โปสสฺส (โปส + สฉัฏฐีวิภัติ) ย่อมาจาก ปุริส ซึ่งยืมมาจากศัพท์
เฉพาะในอุปนิษัทอีกที (ปุรฺษ>ปุรุษ>ปุริส>โปสฺส>โปส) คำ
โปส นี้ มีใช้เฉพาะในภาษาร้อยกรอง ส่วนภาษาร้อยแก้วมักใช้
ปุริส มากกว่า

๑๐๖. มาเส มาเส สหสฺเสน
โย ยเชถ สตํ สมํ
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ
มุหุตฺตมฺปิ ปูชเย
ยญฺเจว วสฺสตํ หุตํ ฯ ๑๐๖ * ฯ

การบูชาท่านผู้ฝึกตน แม้เพียงหนึ่งครั้ง
บังเกิดผลมหาศาล
ยิ่งกว่าสละทรัพย์บูชายัญเดือนละพัน
เป็นเวลาติดต่อกันถึงร้อยปี

Though, month after month with a thousand,
One should sacrifice for a hundred years,
Yet,if, only for a moment,
One should honour the self-restrained,
That honour, indeed, is better
Than a century of sacrifice.

* คำว่า ปูชนา ไม่นิยมใช้ในที่อื่นนอกจากภาษาร้อยกรอง
ที่ถูกควรมีรูปเป็น ปูชา

๑๐๗. โย จ วสฺสสตํ ชนฺตุ
อคฺคึ ปริจเร วเน
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ
มุหุตฺจมฺปิ ปูชเย
สา เยว ปูชนา เสยฺโย
ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ ฯ ๑๐๗ ฯ

การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงครู่เดียว
บังเกิดผลมหาศาล
ยิ่งกว่าการบูชาไฟในป่า
เป็นเวลาตั้งร้อยปี

Though one , for a century,
Should tend the fire in the forest,
Yet, if ,only for a moment,
He should honour the self-restrained,
Thai honour,indeed,is better
Than a century of sacrifice.

๑๐๘. ยงฺกิญฺจิ ยิฎฺฐํ ว หุตํ ว โลเก
สํวจฺฉรํ ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข
สพฺพมฺปิ ตํ น จตุภาคเมติ
อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย ฯ ๑๐๘ ฯ

ไม่ว่ายัญชนิดไหน ที่ผู้ใคร่บุญพึงบูชาตลอดปี
การบูชายัญนั้นมีค่าไม่เท่าหนึ่งในส่ของการยกมือไหว้
ท่านผู้ปฏิบัติตรงตามอริยมาาคแม้เพียงครั้งเดียว
การไหว้บุคคลเช่นนั้นประเสริฐกว่าเป็นไหนๆ

Whatever oblationnns and sacrifices
One might offer for a year,
Seeking merit thereby,
All that is not worth a single quarter
Of homage towards the upright
Which is far more excellent.

๑๐๙. อภิวาทนสีลิสฺส
นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ
อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ ๑๐๙ * ฯ

ผู้กราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตัว
ต่อผู้ใหญ่เป็นนิจศีล
ย่อมเจริญด้วยคุณธรรมสี่ประการคือ
อายุ ชื่อเสียง สุข และกำลัง

For one who is in the habit of
Ever honouring and respecting the elders,
Four qualities increase;
Loong life,Fame, happiness and strength.

* วณฺโณ ธรรมบทฉบับคันธารี จัดพิมพ์โดยศาสตราจารย์
จอห์น บราฟ เขียน กิตฺติ ซึ่งแปลว่าเกียรติ วณฺณ แปลได้หลาย
นัยคือ ผิวพรรณ, อักษร, เกียรติ ข้าพเจ้าเห็นว่าความหมาย
อย่างหลังนี้ เหมาะและมีเหตุผลดีกว่า จึงถือตามนี้ ซึ่งไม่ตรง
กับมติที่ยึดถือกันมานานในประเทศนี้ ขอฝากไว้พิจารณาด้วย

๑๑๐. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
ทุสฺสีโล อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ ๑๑๐ ฯ

ผู้มีศีล มีสมาธิ
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของคนทุศีล ไร้สมาธิ

Though one should live a hundred years,
Without conduct and concentration,
Yet,better is a single day's life
Of one who is moral and meditative.

๑๑๑. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ ๑๑๑ ฯ

ผู้มีปัญญา มีสมาธิ
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ทรามปัญญา ไร้สมาธิ

Though one shold live an hundred years,
Without wisdom and concentration,
Yet, better is a single day's life
Of one who is wise and meditative.

๑๑๒. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
วีริยํ อารภโต ทฬฺหํ ฯ ๑๑๒ ฯ

ผู้มีความเพียรมั่นคง
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสิรฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้เกียจคร้าน ไร้ความเพียร

Though one should live a hundred years,
Sluggish and inactive
Yet,better is a single day's life
Of one who intensely exerts himself.

๑๑๓. โย วสฺสสตํ ชีเว
อปสฺสํ อุทยพฺพยํ
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
ปสฺสโต อุทยพฺพยํ ฯ ๑๑๓ ฯ

ผู้พิจารณาเห็นความเกิด-ดับแห่งสังขาร
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ไม่พิจารณาเห็น

Better is a single day;s life of one
Who discerns the rise and fall of things
Than a hundred years'life of one
Who is not comprehending.

๑๑๔. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
อปสฺสํ อมตํ ปทํ
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
ปสฺสโต อมตํ ปทํ ฯ ๑๑๔ ฯ

ผู้พบทางอมตะ
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ไม่พบ

Better is a single day's life of one
Who sees the Deathless
Than a hundred years's life of one
Who sees not that state.

๑๑๕. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
อปสฺสํ ธมฺมมุตฺตมํ
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
ปสฺสโต ธมฺมมุตฺตมํ ฯ ๑๑๕ ฯ

ผู้เห็นพระธรรมอันประเสริฐ
มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของผู้ไม่เห็น

Better is a single day's life of one
Who understands the truth sublime
Than a hundred years's life of one
Who knows not that truth, so high.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 10:42:42 am »

๙. หมวดบาป
EVIL


๑๑๖. อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ
ปาปา จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธํ หิ กรโต ปุญฺญํ
ปาปสฺมึ รมตี มโน ฯ ๑๑๖ ฯ

พึงรีบเร่งกระทำความดี
และป้องกันจิตจากความชั่ว
เพราะเมื่อกระทำความดีช้าไป
ใจจะกลับยินดีในความชั่ว

Make haste in doing gook,
And check your mind from evil,
Whoso is slow in making merit-
His mind delights in evil.

๑๑๗. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา
น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ
ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย ฯ ๑๑๗ ฯ

ถ้าหากจำต้องทำชั่วไซร้
ก็ไม่ควรทำบ่อยนัก
และไม่ควรพอใจในการทำชั่วนั้น
เพราะการสะสมบาป นำทุกข์มาให้

Should a man commit evil,
Let him not do it again and again,
Nor turn his heart to delight therein;
Painful is the heaping-up of evil.

๑๑๘. ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา
กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย ฯ ๑๑๘ ฯ

ถ้าหากจะทำความดี
ก็ควรทำดีบ่อยๆ
ควรพอใจในการทำความดีนั้น
เพราะการสะสมความดีนำสุขมาให้

Should a man perform merit,
Let him do it again and again,
And trun his mind to delight therein;
Blissful is the piling-up of merit.

๑๑๙. ปาโปปิ ปสฺสตี ภทฺรํ
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ
อถ ปาโป ปาปานิ ปสฺสติ ฯ ๑๑๙ ฯ

เมื่อบาปยังไม่ส่งผล
คนชั่วก็เห็นว่าเป็นของดี
ต่อเมื่อมันเผล็ดผลเมื่อใด
เมื่อนั้นแหละเขาจึงรู้พิษสงของบาป

For the evil-doer all is well,
While the evil ripens not;
But when his evil yields its fruit,
He sees the evil results.

๑๒๐. ภทฺโรปิ ปสฺสตี ปาปํ
ยาว ภทฺรํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ภทฺรํ
อถ ภทฺโร ภทฺรานิ ปสฺสติ ฯ ๑๒๐ * ฯ

เมื่อความดียังไม่ส่งผล
คนดีก็มองเห็นความดีเป็นความชั่ว
ต่อเมื่อใดความดีเผล็ดผล
เมื่อนั้นแหละเขาจึงจะเห็นผลของความดี

For the good man, perhaps, all is ill,
While as yet his good is not ripe;
But when it bears its fruit,
He sees the good results.

* ภทฺร เป็นคำสํสกฤต สะกดแบบบาลีเป็น ภทฺท คำอย่างนี้มีปะปน
ในภาษาบาลีเสมอ เช่น วิจิตฺต เขียน วิจิตฺร เป็นต้น

๑๒๑. มาวมญฺเญถ ปาปสฺส
น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน
อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส
โถกํ โถกมฺปิ อาจินํ ฯ ๑๒๑ ฯ

อย่าดูถูกความชั่วเล็กน้อยว่าจักไม่สนองผล
น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ยังเต็มตุ่มได้
คนพาลทำความชั่วทีละเล็กละน้อย
ย่อมเต็มด้วยความชั่วได้เช่นกัน

Despise not evil,
Saying, 'It will not come to me';
Drop by drop is the waterpot filled,
Lidewise the fool, gathering little by little,
Fills himself with evil.

๑๒๒. มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส
น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน
อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส
โถกํ โถกมฺปิ อาจินํ ฯ ๑๒๒ ฯ

อย่าดูถูกบุญเล็กน้อยว่าจักไม่สนองผล
น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ยังเต็มตุ่มได้
นักปราชญ์สะสมบุญทีละเล็กละน้อย
ย่อมเต็มด้วยบุญได้เช่นกัน

Despise not merit,
Saying, 'It will not come to me';
Drop by drop is the waterpot filled,
Likewise the man, gathering little by little
Fills himself with merit.

๑๒๓. วาณิโชว ภยํ มคฺคํ
อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน
วิสํ ชีวิตุกาโมว
ปาปานิ ปริวชฺชเย ฯ ๑๒๓ ฯ

พ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย
ละเว้นทางที่มีภัย
คนรักชีวิตละเว้นยาพิษ ฉันใด
บุคคลพึงละบาป ฉันนั้น

As a rich merchant, with small escort,
Avoids a dangerous path,
As one who loves life avoids poison,
Even so should one shun evil.

๑๒๔. ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส
หเรยฺย ปาณินา วิสํ
นาพฺพณํ วิสมเนฺวติ
นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต ฯ ๑๒๔ ฯ

เมื่อมือไม่มีแผล
บุคคลย่อมจับต้องยาพิษได้
ยาพิษนั้นไม่สามารถทำอันตรายได้
บาปก็ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป

If no wound there be in the hand,
One may handle poison;
Poison does not affect one who has no wound;
There is no ill for him who does no wrong.

๑๒๕. โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ
สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโต ฯ ๑๒๕ ฯ

บาปก็ย่อมตามสนองผู้โง่เขลา
ซึ่งทำร้ายบุคคลที่ไม่ทำร้ายตอบ
ผู้หมดจด ปราศจากกิเลส
ดุจธุลีที่ซัดทวนลม (วกกลับมาหาผู้ซัด)

Whosoever offends a harmless person,
One pure and guiltles,
Upon that very fool the evil recoils
Even as fine dust thrown against the wind.

๑๒๖. คพฺภเมเก อุปปชฺชนฺติ
นิรยํ ปาปกมฺมิโน
สคฺคํ สุคติโน ยนฺติ
ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา ฯ ๑๒๖ ฯ

สัตว์บางพวกกลับมาเกิดอีก
พวกที่ทำบาป ไปนรก
พวกที่ทำดี ไปสวรรค์
พวกที่หมดอาสวกิเลส ปรินิพพาน

Some are born in teh womb again;
The evil-doers are born in hell;
The good go to heaven;
The Undefiled Ones attain Nibbana.

๑๒๗. น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ
น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส
ยตฺรฏฺฐิโต มุจฺเจยฺย ปาปกมฺมา ฯ ๑๒๗ ฯ

ไม่ว่าบนท้องฟ้า
ไม่ว่าท่ามกลางสมุทร
ไม่ว่าในหุบเขา
ไม่มีแม้แต่แห่งเดียว
ที่ผู้ทำกรรมชั่วอาศัยอยู่
จะหนีพ้นกรรมไปได้

Neither in the sky nor in mid-ocean,
Nor in the clefts of the rocks,
Nowhere in the world is a place to be found
Where abiding one may escape from
(the consequences of) an evil deed.

๑๒๘. น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชุเฌ
น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส
ยตุรฏฺฐิตํ นปฺปสเหยฺย มจฺจุ ฯ ๑๒๘ ฯ

ไม่ว่าบนท้องฟ้า
ไม่ว่าท่ามกลางสมุทร
ไม่ว่าในหุบเขา
ไม่มีแม้สักแห่งเดียว
ที่คนเราอาศัยอยู่แล้ว
จะหนีพ้นความตายได้

Neither in the sky no in mid-ocean,
Nor in the clefts of the rocks,
Nowhere in the world is found that place
Where abiding one will not be overcome by death.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 11:45:21 am »


๑๐. หมวดลงทัณฑ์
PUNISHMENT


๑๒๙. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส
สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา
น หเนยฺย น ฆาตเย ฯ ๑๒๙ ฯ

สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์
สัตว์ทั้งหมดกลัวความตาย
เปรียบตนเองกับผู้อื่นอย่างนี้แล้ว
ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า

All tremble at punishment;
All fear death;
Comparing others with oneself,
One should neither kill nor cause to kill.

๑๓๐. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส
สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา
น หเนยฺย น ฆาตเย ฯ ๑๓๐ ฯ

สัตว์ทั้งหมดกลัวโทษทัณฑ์
สัตว์ทั้งหมดรักชีวิตของตน
เปรียบตนเองกับคนอื่นอย่างนี้แล้ว
ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรสั่งให้คนอื่นฆ่า

All tremble a punishment;
To all life is dear;
Comparing others with oneself,
One should neither kill nor cause to kill.

๑๓๑. สุขกามานิ ภูตานิ
โย ทณฺเฑน วิหึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน
เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ ฯ ๑๓๑ ฯ

สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องการความสุข
ผู้ที่ต้องการความสุขแก่ตน
แต่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ตายไปแล้วย่อมไม่ได้รับความสุข

Whoso, himself seeking happiness,
Harms pleasure-loving beings-
He gets no happiness
In the world to come.

๑๓๒. สุขกามานิ ภูตานิ
โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน
เปจฺจ โส ลภเต สุขํ ฯ ๑๓๒ ฯ

สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องการความสุข
ผู้ที่ต้องความสุขแก่ตน
ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ตายไปแล้วย่อมได้รับความสุข

Whoso, himself seeking happiness,
Harms not pleasure-loving being-
He gets happiness
In the world to come.

๑๓๓. มาโวจ ผรุสํ กญฺจิ
วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ
ทุกฺขา หิ สารมฺภกถา
ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ตํ ฯ ๑๓๓ ฯ

อย่ากล่าวคำหยาบแก่ใครๆ
เมื่อถูกท่านด่าว่า เขาจะโต้ตอบท่าน
การพูดจากร้าวร้าวกันเป็นเหตุก่อทุกข์
อาจลุกลามถึงขั้นลงมือประทุษร้ายกัน

Speak not harshly to anyone.
Those thus addressed will retort.
Painful, indeed, is vindictive speech.
Blows in exchange may bruise you.

๑๓๔. สเจ เนเรสิ อตฺตานํ
กํโส อุปหโต ยถา
เอส ปตฺโตสิ นิพฺพานํ
สารมฺโภ เต น วิชฺชติ ฯ ๑๓๔ ฯ

ถ้าเธอทำตนให้เงียบเสียงได้
เหมือนฆ้องแตก
ก็นับว่าเธอเข้าถึงนิพพานแล้ว
เธอก็จะไม่ต้องทะเลาะเบาะแว้งกับใครอีก

If you silence yourself
As a broken gong,
You have already attained Nibbana.
No contention will be found in you.

๑๓๕. ยถา ทณฺเฑน โคปาโล
คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ
อายุ ปาเชนฺติ ปาณินํ ฯ ๑๓๕ ฯ

ความแก่และความตาย
ไล่ต้อนอายุสัตว์ทั้งหลายไป
เหมือนเด็กเลี้ยงโค ถือท่อนไม้
คอยไล่ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน

As with a staff the cowherd drives
His cattle out to pasture-ground,
So do old age and death comple
The life of beings (all around).

๑๓๖. อถ ปาปานิ กมฺมานิ
กรํ พาโล น พุชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ
อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ ฯ ๑๓๖ ฯ

คนพาล เวลาทำชั่ว
หาสำนึกถึงผลของมันไม่
คนทรามปัญญามักเดือดร้อน
เพราะกรรมชั่วของตัว
เหมือนถูกไฟไหม้

When a fool does wicked deeds,
He does not know their future fruit.
The witless one is tormented by his own deeds
As if being burnt by fire.

๑๓๗. โย ทณฺเฑร อทณฺเฑสุ
อปฺปทุฎฺเฐสุ ทุสฺสติ
ทสนฺนมญฺญตรํ ฐานํ
ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ ฯ ๑๓๗ ฯ

ผู้ทำร้ายลงทัณฑ์แก่บุคคล
ผู้ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายใคร
ย่อมได้รับผลสนองสิบอย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่งทันตาเห็น

He who inflicts punishment on those
Who are harmless and who offend no one
Speedily comes to one of these ten states;

๑๓๘. เวทนํ ผรุสํ ชานึ
สรีรสฺส จ เภทนํ
ครุกํ วาปิ อาพาธํ
จิตฺตกฺเขปํว ปาปุเณ ฯ ๑๓๘ ฯ

(ความต่อจากคาถาที่แล้ว)
ได้รับเวทนาอย่างรุนแรง
ได้รับความเสท่อมเสีย
ถูกทำร้ายร่างกาย
เจ็บป่วยอย่างหนัก
กลายเป็นคนวิกลจริต

To grievous bodily pain,
To disaster,
To bodily injury,
To serious illness,
To loss of mind,
Will he come.

๑๓๙. ราชโต วา อุปสคฺคํ
อพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ
ปริกฺขยํ ว ญาตีนํ
โภคานํ ว ปภงฺคุณํ ฯ ๑๓๙ ฯ

(ความต่อจากสองคาถาที่แล้ว)
ต้องราชภัย
ถูกกล่าวหาอย่างรุนแรง
ไร้ญาติพี่น้อง
ทรัพย์สมบัติก็พินาศฉิบหาย

To oppression by the king,
to grave accusation,
To loss of relatives,
To destruction of wealth,
(will he come).

๑๔๐. อถวาสฺส อคารานิ
อคฺคิ ฑหติ ปาวโก
กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโญ
นิรยํ โส อุปปชฺชติ ฯ ๑๔๐ ฯ

(ความต่อจากสามคาถาที่แล้ว)
หรือไม่บ้านเรือนของเขาย่อมถูกไฟไหม้
ตายไป เขาผู้ทรามก็ตกนรก

Or his house will be burnt up with fire,
And that unwise one will pass to hell
In the world to come.

๑๔๑. น นคฺคจริยา น ชฎา น ปงฺกา
นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา
รโชชลฺลํ อุกฺกุฎิกปฺปธานํ
โสเธนฺติ มจฺจํ อวิติณฺณกงฺขํ ฯ ๑๔๑ ฯ

ไม่ใช่ประพฤติตนเป็นชีเปลือย ไม่ใช่มุ่นชฏา
ไม่ใช่เอาโคลนทาร่างกาย ไม่ใช่การอดอาหาร
ไม่ใช่นอนบนดิน ไม่ใช่คลุกฝุ่นธุลี ไม่ใช่นั่งกระโหย่ง
ที่ทำให้คนผู้ยังไม่ข้ามพ้นความสงสัย บริสุทธิ์

Not nakedness, nor matted hair,
Nor dirt,nor fasting,
Nor llying on the ground,
Nor besmearing oneself with ashes,
Nor squatting on the heels,
Can purity a mortal
Who has not overcome doubts.

๑๔๒. อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจานี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺรามหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกขุ ฯ ๑๔๒ ฯ

ถึงจะแต่งกายแบบใดๆ ก็ตาม
ถ้าใจสงบระงับ ควบคุมตัวได้
มั่นคง บริสุทธิ์ ไม่เบียดเบียนคนอื่น
เรียกว่า พราหมณ์ สมณะ หรือ ภิกษุ

In whatever he be decked,
If yet he cultivates traquilty of mind,
Is calm, controlled, certain and chaste,
And has ceased to injure all other beings,
He is indeed, a brahmana, a samana, a bhikkhu.

๑๔๓. หิรีนิเสโธ ปุริโส
โกจิ โลกสฺมึ วิชฺชติ
โย นิทฺทํ อปโพเธติ
อสฺโส ภทฺโร กสามิว ฯ ๑๔๓ * ฯ

ผู้หักห้ามใจไม่ทำชั่วเพราะละอายบาป
หาได้น้อยนักในโลกนี้
คนเช่นนี้ย่อมปลุกตัวเองจากหลับอยู่เสมอ
เหมือนม้าดี ระวังตัวเองให้พ้นแส้

Rarely is found in this world anyone
Who is restrained by shame and wide-awake,
As a thoroughbred horse avoids the whip.

* กสามิว (กสามฺ + อิว) อิทธิพลภาษาสํสกฤต มีหลงเหลืออยู่ คือ
แทนที่จะเป็น กสํ แบบบาลีกลับเป็น กสามฺ แบบสํสกฤต คำ
ประเภทนี้ไม่ค่อยพบบ่อยนัก

๑๔๔. อสฺโส ยถา ภทฺโร กสานิวิฎฺโฐ
อาตาปิโน สํเวคิโน ภวาถ
สทฺธาย สีเลน จ วีริเยน จ
สมาธินา ธมฺมวินิจฺฉเยน จ
สมฺปนฺนวิชฺชาจรณา ปฎิสฺสตา
ปหิสฺสถ ทุกฺขมิทํ อนุป์ปกํ ฯ ๑๔๔ ฯ

ธรรมดาม้าดี เมื่อถูกลงแส้ครั้งหนึ่ง ย่อมสำนึก
(ความผิดครั้งแรก) และพยายาม (วิ่งให้เร็ว)
พวกเธอก็จงทำตนเช่นนั้น อาศัยศรัทธา, ศีล,
ความเพียรสมาธิ, การวินิจฉัยธรรม, ความสมบูรณ์ด้วย
ความรู้และความประพฤติ, และอาศัยสติ
พวกเธอจักละทุกข์ได้ไม่น้อยเลย

Even as a thoroughbred horse once touched by the whip
Becomes agitated and exerts himself greatly,
So be strenuous and filled with religious emotion,
By confidance, virtue, effort and concentration,
By the investigation of the Doctrine,
By being endowed with knowledge and conduct
And by keeping your mind alert,
Will you leave this great suffering behind.

๑๔๕. อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารุ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ฯ ๑๔๕ ฯ

ชาวนา ไขน้ำเข้านา
ช่างศร ดัดลูกศร
ช่างไม้ ถากไม้
คนดี ฝึกตนเอง

Irrigaors lead water;
Fletchers fashion shafts;
Carpenters bend wood;
The good tame themselves.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 05:29:47 am »


๑๑. หมวดชรา
OLD AGE


๑๔๖. โกนุ หาโส กิมานนฺโท
นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ
อนฺธกาเรน โอนทฺธา
ปทีปํ น คเวสถ ฯ ๑๔๖ ฯ

จะมัวร่าเริง สนุกสนานกันทำไม
ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิตย์
พวกเธอถูกความมืดมิดปิดบังตา
ไยไม่แสวงหาแสงสว่างกันเล่า

What this laughter, what this joy
When the world is ever on fire?
Shrouded all about by darkness,
Will you not then look for light?

๑๔๗. ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ
อรุกายํ สมุสฺสิตํ
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ
ยสฺส นตฺถิ ธุวํ ฐิติ ฯ ๑๔๗ ฯ

จงดูร่างกายที่ว่าสวยงามนี้เถิด
เต็มไปด้วยแผล สร้างขึ้นด้วยกระดูก
มากด้วยโรค มากด้วยความครุ่นคิดปรารถนา
หาความยั่งยืนถาวรมิได้

Behold this beautiful body,
A mass of sores, a bone-gathering,
Diseased and full of hankerings,
With no lasting, no persisting.

๑๔๘. ปริชิณฺษมิทํ รูปํ
โรคนิฑฺฒํ ปภงฺคุณํ
ภิชฺชติ ปูติสนฺเทโห
มรณนฺตํ หิ ชีวิตํ ฯ ๑๔๘ ฯ

ร่างกายนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นที่อาศัยของโรค
แตกทำลายง่าย ร่างกายอันเน่าเหม็นนี้
จักแตกสลายพังภินท์
เพราะขีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย

Thoroughly worn out is this body,
A net of diseases and very frail.
This heap of corruption breaks to pieces.
For life indeed ends in death.

๑๔๙. ยานีมานิ อปตฺถานิ
อลาพูเนว สารเท
กาโปตกานิ อฏฺฐีนิ
ตานิ ทิสฺวาน กา รติ ฯ ๑๔๙ ฯ

กระดูกเหล่านี้ มีสีขาวเหมือนสีนกพิราบ
ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
ดุจน้ำเต้าในฤดูสารท
ดูแล้วไม่น่าปรารถนายินดี

As gourds are cast away in autumn,
So are these dove-hued bones.
What pleasure is there found
For one who looks at them?

๑๕๐. อฏฺฐีนํ นครํ กตํ
มํสโลหิตเลปนํ
ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ
มาโน มกฺโข จ โอหิโต ฯ ๑๕๐ ฯ

ร่างกายนี้เป็น "อัฐินคร" (เมืองกระดูก)
ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต
เป็นที่สถิตแห่ง ชรา มรณะ
ความเย่อหยิ่ง และความดูถูกบุญคุณกัน

Of bones is this city made,
Plastered with flesh and blood.
Herein dwell decay and death,
Pride and detraction.

๑๕๑. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา
อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ฯ ๑๕๑ ฯ

ราชรถ อันวิจิตรงดงาม ยังเก่าได้
แม้ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ
แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้แล

Splendid royal chariots wear away,
The body too comes to old age.
But the good's teaching knows not decay.
Indeed, the good tech the good in this way.

๑๕๒. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส
พลิวทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ
ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ ฯ ๑๕๒ ฯ

คนโง่แก่เปล่า
เหมือนโคถึก
มากแต่เนื้อหนังมังสา
แต่ปัญญาหาเพิ่มขึ้นไม่

Just as the ox grows old,
So ages he of little learning,
His flesh increases,
His wisdom is waning.

๑๕๓. อเนกชาติสํสารํ
สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ ฯ ๑๕๓ ฯ

เมื่อไม่พบนายช่างผู้สร้างเรือน
เราได้เวียนว่ายตายเกิด
ในสงสารนับชาติไม่ถ้วน
การเกิดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์

Through many a birth
I wandered in Samsara,
Seeking but not finding the Housebuilder,
Painful is birth ever again and again.

๑๕๔. คหการก ทิฏฺโฐสิ
ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา
คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ ๑๕๔ ฯ

นายช่างเอย บัดนี้เราพบท่านแล้ว
ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก
จันทัน อกไก่ เราทำลายหมดแล้ว
จิตของเราบรรลุนิพพาน
หมดความทะยานอยากแล้ว

O Housebuilder, you have been seen,
You shall not build the house again.
Your rafters have been broken,
Your ridge-pole demolished too.
My mind has now attained the Unconditioned,
And reached the end of all craving.

๑๕๕. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ
ชิณฺณโกญฺจาว ฌายนฺติ
ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล ฯ ๑๕๕ ฯ

เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว
ไม่ทำตัวให้ดีและไม่หาทรัพย์ไว้
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนั่งซบเซา
เหมือนนกกะเรียนแก่
จับเจ่าอยู่ริมสระที่ไร้ปลา

Having led neither a good life,
Nor acquired riches while young,
They pine away as aged herons
Around a fishless pond.

๑๕๖. อจริตฺวา พฺรหฺมจริยํ
อลทฺธา โยพฺพเน ธนํ
เสนฺติ จาปาติขีณาว
ปุราณานิ อนุตฺถุนํ ฯ ๑๕๖ ฯ

เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว
ไม่ทำตัวให้ดี และไม่หาทรัพย์ไว้
พอถึงวัยแก่เฒ่า พวกเขาย่อมนอนทุกข์
ทอดถอนใจรำพึงถึงความหลัง
เหมือนธนูหัก (ใช้ยิงอะไรก็ไม่ได้)

Having led neither a good life,
Nor acquired riches while young,
They lie about like broken bows,
Sighing about the past.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 05:38:15 am »


๑๒. หมวดตน
THE SELF


๑๕๗. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา
รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ
ติณฺณมญฺญตรํ ยามํ
ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๗ ฯ

ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก
พึงรักษาตนไว้ให้ดี
บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้
ไม่ทั้งสามวัยใดวัยหนึ่ง

If one holds oneself dear,
One should protect oneself well.
During any of the three watches(of life)
The wise should keep vigil.

๑๕๘. อตฺตานเมว ปฐมํ
ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย
น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๑๕๘ ฯ

ควรปฏิบัติตนให้ดีก่อน
แล้วค่อยสอนคนอื่น
บัณฑิตเมื่อทำได้อย่างนี้
จึงจะไม่สร้างมลทินแก่ตน

One should first establish oneself
In what is proper,
And then instruct others.
A wise man who acts in this way
Shall never get defiled.

๑๕๙. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา
ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ
อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ฯ ๑๕๙ ฯ

สอนคนอื่นอย่างใด
ควรทำตนอย่างนั้น
ฝึกตนเองแล้วค่อยฝึกคนอื่น
เพราะตัวเราเองฝึกยากยิ่งนัก

As he instructs others
He should himself act.
Himself fully controlled,
He should control others.
Difficult indeed is to control oneself.

๑๖๐. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself ideeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectedly trained,
One obtains a refuge hard to gain.

๑๖๑. อตฺตนาว กตํ ปาปํ
อตฺรชํ อตฺตสมฺภวํ
อภิมตฺถติ ทุมฺเมธํ
วชิรํวมฺหยํ มณึ ฯ ๑๖๑ ฯ

บาปที่ตนทำเอง เกิดในตนเอง
และตนเองเป็นผู้สร้างไว้
ย่อมทำลายคนโง่ให้ย่อยยับ
เหมือนเพชร ทำลายแก้วมณี

The evil, done by oneself,
Self-begotten and self-produced,
Crushes the witless one,
As the diamond grinds a hard gem.

๑๖๒. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ
มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ
กโรติ โส ตถตฺตานํ
ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส ฯ ๑๖๒ ฯ

คนทุศีล ก็เหมือนกับต้นไม้
ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก
เขาทำตัวให้วอดวายเอง
มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้

An exceedingly corrupted man is like
A creeper strangling a tree.
Surely, he does unto himself
What his enemy would wish for him.

๑๖๓. สุกรานิ อสธูนิ
อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ
ตํ เว ปรมทุกฺกรํ ฯ ๑๖๓ ฯ

กรรมไม่ดี ทั้งไม่มีประโยชน์แก่ตน ทำง่าย
แต่กรรมดีและมีประโยชน์ ทำได้ยากยิ่ง

Easy to do are those karmas
Which are bad and not benefitting oneself.
But those which are good and beneficial
Are dificult indeed to be performed.

๑๖๔. โย สาสนํ อรหตํ
อริยานํ ธมฺมชีวินํ
ปฏิกฺโกสติ ทุมฺเมโธ
ทิฏฺฐึ นิสฺสาย ปาปิกํ
ผลานิ กณฺฏกสฺเสว
อตฺตฆญฺญาย ผลฺลติ ฯ ๑๖๔ ฯ

คนทรามปัญญา มีความเห็นผิด ติเตียนคำสอน
ของเหล่าพระอริยะผู้อรหันต์ ผู้มีชีวิตอยู่โดยธรรม
เขาย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตัวเขาเอง
เหมือนชุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น

Whoso on account of false views
Scorns the teaching of the Noble Ones,
The Worhty and Righteous Ones.
He, the foolish man, destroys himself
Like the bamboo, seeding, finds its end.

๑๖๕. อตฺตนาว กตํ ปาปํ
อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
อตฺตนา อกตํ ปาปํ
อตฺตนาว วิสุชฺฌติ
สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย ฯ ๑๖๕ ฯ

ตนทำบาปเอง ตนก็เศร้าหมองเอง
ตนไม่ทำบาปตนก็บริสุทธิ์เอง
ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
คนอื่นจะให้คนอื่นบริสุทธิ์แทนไม่ได้

By oneself is evil done,
By oneself does one get defiled.
By oneself is evil left undone,
By oneself is one purified.
Purity or impurity depends on oneself,
No one can purify anther.

๑๖๖. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน
พหุนาปิ น หาปเย
อตฺตทตฺถมภิญฺญาย
สทตฺถปสุโต สิยา ฯ ๑๖๖ ฯ

ถึงจะทำประโยชน์แก่คนอื่นมากมาย
ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน
เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางของตนแล้ว
ก็ควรใฝ่ใจขวนขวาย

Fall not away from one's own purpose
For the sake of another, however great,
When once one has seen one's own goal,
One should hold to it fast and firm.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 05:46:04 am »


๑๓. หมวดโลก
THE WORLD


๑๖๗. หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย
ปมาเทน น สํวเส
มิจฺฉาทิฏฺฐึ น เสเวยฺย
น สิยา โลกวฑฺฒโน ฯ ๑๖๗ * ฯ

อย่าประพฤติสิ่งเลวทราม
อย่าอยู่ด้วยความประมาท
อย่ายึดถือความเห็นผิด
อย่าทำตนเป็นคนรกโลก

Do not follow mean things.
Do not live in heedlessness.
Do not embrace false views,
Do not be a 'world-upholder'.

* โลกวฑฒโน แปลตามตัวอักษรว่า "ยังโลกให้เจริญ" "ยังโลก
ให้สูงขึ้น" หมายความว่า คนประเภทนี้ย่อมเวียนว่ายตายเกิด
ไม่รู้จบสิ้น ทิ้งซากศพไว้เต็มโลก เพราะฉะนั้นจึงนิยมแปลกันว่า "คนรกโลก"

๑๖๘. อุตฺติฏฺเฐ นปฺปมชฺเชยฺย
ธมฺมํ สุจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๑๖๘ ฯ

ลุกขึ้นเถิด อย่ามัวประมาทอยู่เลย
จงประพฤติสุจริตธรรม
เพราะผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

Arise! Be not negligent!
Lead a righteous life.
For one who lives a righteous life
Dwells in peace here and hereafter.

๑๖๙. ธมฺมญฺจเร สุจริตํ
น ตํ ทุจฺจริตํ จเร
ธมฺมจารี สุขํ เสติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๑๖๙ ฯ

จงประพฤติสุจริตธรรม
อย่าประพฤติทุจริต
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

By Dharma should one lead one's life
And not embrace corrupted means.
For one who lives a Dharma life
Dwells in peace here and hereafter.

๑๗๐. ยถา พุพฺพุฬกํ ปสฺเส
ยถา ปสฺเส มรีจิกํ
เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ
มจฺจุราชา น ปสฺสติ ฯ ๑๗๐ ฯ

ผู้ที่มองเห็นโลก
ว่าไม่จีรังและหาสาระอะไรมิได้
เช่นเดียวกับคนมองฟองน้ำและพยับแดด
คนเช่นนี้พญามารย่อมตามหาไม่พบ

Whoso would look upon the world
Just as one would see a bubble,
And as one would view a mirage-
Him the King of Death finds not.

๑๗๑. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ
จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ
นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ ฯ ๑๗๑ ฯ

สูเจ้าทั้งหลาย จงมาเถิดมาดูโลกนี้
อันวิจิตรพิสดาร เหมือนกับราชรถทรง
ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกมุ่นอยู่
แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่

Come you all and behold this world
Like an ornamented royal chariot,
Wherein the fools are deeply sunk.
But for those who know there is no bond.

๑๗๒. โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา
ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ
อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา ฯ ๑๗๒ ฯ

ผู้ที่เคยประมาทในกาลก่อน
แต่ภายหลังไม่ประมาท
เขาย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ

Whoso was previously negligent
But afterwards practises vigilance-
He illumines the world here and now
Like the moon emerging from the cloud.

๑๗๓. ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ
กุสเลน ปหียติ
โสมํ โลกํ ปภาเสติ
อพฺภา มุตฺโต จนฺทิมา ฯ ๑๗๓ ฯ

ผู้ใดทำบาปไว้แล้ว
ละได้ด้วยการทำดี
ผู้นั้นย่อมส่องโลกนี้ให้สว่าง
เหมือนพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ

Who by his wholesome deeds
Removes the evil done-
He illumines the workd here and now
Like the moon emerging from the cloud.

๑๗๔. อนฺธภูโต อยํ โลโก
ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
สกุนฺโต ชาลมุตฺโตว
อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ ฯ ๑๗๔ ฯ

โลกนี้ มืดมน น้อยคนจักเห็นแจ้ง
น้อยคน จะไปสวรรค์
เหมือนนกติดข่ายนายพราน
น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้

Blind is this world,
Few are they who clearly see.
As the birds escaping from a net,
Few are they who go to heaven.

๑๗๕. หํสาทิจฺจปเถ ยนฺติ
อากาเส ยนฺติ อิทฺธิยา
นียนฺติ ธีรา โลกมฺหา
เชตฺวา มารํ สวาหนํ ฯ ๑๗๕ ฯ

พระยาหงส์ เหินฟ้าไปหาพระอาทิตย์
ผู้มีฤทธิ์ เหาะเหินเดินอากาศ
นักปราชญ์ ออกไปจากโลก
เพราะเอาชนะพญามารพร้อมทั้งกองทัพ

Swans fly on the path of the sun,
Magicians pass through the air.
The wise go forth out of the world,
Having conquered Mara with all his troop.

๑๗๖. เอกธมฺมมตีตสฺส
มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน
วิติณฺณปรโลกสฺส
นตฺถิ ปาปํ อการิยํ ฯ ๑๗๖ ฯ

คนที่ล่วงศีลข้อที่สี่
มักพูดเท็จ ไม่คำนึงถึงปรโลก
จะไม่ทำความชั่ว ไม่มี

By him who breaks the fourth precept,
Who at all time speaks untruth,
Who regards not the world beyond,
There is no evil that cannot be done.

๑๗๗. น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน
เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺถ ฯ ๑๗๗ ฯ

แน่นอน คนตระหนี่ไม่มีโอกาสไปเทวโลก
แน่นอน คนโง่ ไม่สรรเสริญการให้
แต่คนฉลาด ยินดีให้ทาน
นี่แลที่บันดาลให้เขาได้รับสุขในปรภพ

Verily, the misers go not to celestial realms.
Fools do not indeed praise liberality.
The wise, however, rejoice in giving
And thereby become happy hereafter.

๑๗๘. ปฐพฺยา เอกรชฺเชน
สคฺคสฺส คมเนน วา
สพฺพโลกาธิปจฺเจน
โสตาปตฺติผลํ วรํ ฯ ๑๗๘ ฯ

ยิ่งกว่า เอกราชย์ทั่วทั้งแผ่นดิน
ยิ่งกว่า ขึ้นสวรรคาลัย
ยิ่งกว่า อธิปไตยใดในโลกทั้งปวง
คือ พระโสดาปัตติผล

Than sole sovereignty over the earth,
Than going to celestial worlds,
Than lordship over all the worlds,
Better is the fruit of a Stream-Winner.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 06:00:34 am »


๑๔. หมวดพระพุทธเจ้า
THE ENLIGHTENED ONE


๑๗๙. ยสฺส ชิตํ นาวชียติ
ชิตมสฺส โน ยาติ โกจิ โลเก
ตํ พุทฺธมนนฺตโคจรํ
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ ฯ ๑๗๙ ฯ

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ทรงชนะกิเลสได้เด็ดขาด
กิเลสที่ทรงชนะแล้วไม่ติดตามพระองค์ไปอีก
พระพุทธเจ้าองค์นั้น
ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้
ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว
พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า

Whose conquest is not turned into defeat,
Whom not even a bit of conquered passion follows-
That trackless Buddha of infinite range,
By which way will you lead him?

๑๘๐. ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา
ตณฺหา นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว
ตํ พุทฺธมนนฺตโคจรํ
อปทํ เกน ปเทน เนสฺสถ ฯ ๑๘๐ ฯ

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ไม่มีตัณหาดังตาข่าย อันมีพิษสงร้ายกาจ
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณหาที่สุดมิได้
ไม่ไปตามทางของกิเลสแล้ว
พวกเธอจะนำท่านไปตามทางไหนเล่า

Whom no entangling and poisonous
Passions can lead astray-
That trackless Buddha of infinite range,
By which way will you lead him?

๑๘๑. เย ฌานปฺปสุตา ธีรา
เนกฺขมฺมูปสเม รตา
เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ
สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ ฯ ๑๘๑ ฯ

เหล่าเทวดาย่อมรักธีรชน
ผู้ขวนขวายในกรรมฐาน
ยินดีในนิพพานอันสงบ
มีสติและรู้แจ้งจบสัจธรรม

Absorbed in meditation pratice,
Delighting in the peace of Nibbana
Mindful, wise and fully enlightened-
Such men even the gods hold dear.

๑๘๒. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท ฯ ๑๘๒ ฯ

ยาก ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
ยาก ที่ชีวิตสัตว์อยู่สบาย
ยาก ที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
ยาก ที่พระสัมพุทธจะอุบัติมา

Hard is it to be born as a man,
Hard is the life of mortals,
Hard is it to hear the Truth Sublime,
Hard as well is the Buddha's rise.

๑๘๓. สพฺพปาปสฺส อกรณํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนฺ
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ ๑๘๓ ฯ

ไม่ทำความชั่วทุกชนิด
ทำแต่ความดี
ทำใจให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

Abstention from all evil,
Cultivation of the wholesome,
Purification of the heart;
This is the Message of the Buddhas.

๑๘๔. ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพฃิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ ๑๘๔ ฯ

ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยอด
นิพพาน ท่านผู้รู้กล่าวว่าเป็นยอด
ผู้ที่ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต
ผู้ที่ยังเบียดเบียนคนอื่นอยู่ ไม่จัดว่าเป็นสมณะ

Forbearance is the highest ascetic practice,
'Nibbana is supreme'; say the Buddhas.
he is not a 'gone forth' who harms another.
He is not a recluse who molests another.

๑๘๕. อนูปวาโท อนูปฆาโต
ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ ๑๘๕ ฯ

ไม่ว่าร้ายใคร
ไม่กระทบกระทั่งใคร
ระมัดระวังในปาติโมกข์
บริโภคพอประมาณ
อยู่ในสถานสงัด
ฝึกหัดจิตให้สงบ
นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

To speak no ill,
To do no harm,
To observe the Rules,
To be moderate in eating,
To live in a secluded abode,
To devote onself to meditation-
This is the Message of the Buddhas.

๑๘๖. น กหาปณวสฺเสน
ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ
อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา
อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต ฯ ๑๘๖ ฯ

ถึงแม้เงินตราจะไหลมาดังห่าฝน
ความอยากของคนก็หาอิ่มไม่
กามวิสัยทั้งหลายมีความสุขจริงๆ น้อย
เต็มไปด้วยความทุกข์สารพัด
(ความต่อยังคาถาถัดไป)

Not in a rain of golden coins
Is satisfaction to be found.
'Of little joy, but painful are sensual pleasures';
Thus the wise man clearly comprehends.

๑๘๗. อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ
รตึ โส นาธิคจฺฉติ
ตณฺหกฺขยรโต โหติ
สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ฯ ๑๘๗ ฯ

(ความต่อจากคาถาที่แล้ว)
รู้ชัดดังนี้แล้ว สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมไม่ยินดีในกามารมณ์แม้ที่เป็นทิพย์
หากแต่ยินดีในทางสิ้นกิเลสตัณหา

Even in the heavenly pleasures
He finds no satisfaction.
In the destruction of all desires,
The Fully Awakened One's disciple delights.

๑๘๘. พหู เว สรณํ ยนฺติ
ปพฺพตานิ วนานิ จ
อารามรุกฺขเจตฺยานิ
มนุสฺสา ภยตชุชิตา ฯ ๑๘๘ ฯ

(ความต่อเนื่องกันในคาถาที่ ๑๘๘-๑๙๒)
คนเป็นจำนวนมาก เมื่อภัยมาถึงตัว
พากันยึดเอาสิ่งต่างๆเป็นที่พึ่ง
อาทิ ภูเขา ป่าไม้ สวน
ต้นไม้ และเจดีย์

Many men in their fear
Betake themselves for a refuge
To hills, woods, gardens
Sacred trees and shrines.

๑๘๙. เนตํ โข สรณํ เขมํ
เนตํ สรณมุตฺตมํ
เนตํ สรณมาคมฺม
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ฯ ๑๘๙ ฯ

(ความต่อเนื่องกันในคาถาที่ ๑๘๘-๑๙๒)
นั่นมิใช่ที่พึ่งอันปลอดภัย
นั่นมิใช่ที่พึ่งอันสูงสุด
อาศัยที่พึ่งชนิดนั้น
ก็ไม่พ้นทุกข์ทั้งปวงได้

Such a refuge is not secure,
Such a refuge is not supreme.
To such a refuge shoulf one go,
One is not released from all sorrow.

๑๙๐. โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ
สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ
สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ฯ ๑๙๐ ฯ

๑๙๑. ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ
ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ
ทุกฺขูปสมคาทินํ ฯ ๑๙๑ ฯ

(ความต่อเนื่องกันในคาถาที่ ๑๘๘-๑๙๒)
ผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ย่อมเห็นอริยสัจด้วยปัญญาอันชอบ คือ
ทุกข์, เหตุของทุกข์, ความดับทุกข์ และ
อริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางดับทุกข์

He who takes refuge in
The Buddha, the Dharma and the Sangha
Sees with wisdom the Four Noble Truths:
Suffering, The Cause of Suffering,
The Cessation of Suffering,
The Noble Eightfold Path leading to
The Cessation of Suffering.

๑๙๒. เอตํ โข สรณํ เขมํ
เอตํ สรณมุตฺตมํ
เอตํ สรณมาคมฺม
สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ฯ ๑๙๒ ฯ

(ความต่อเนื่องกันในคาถาที่ ๑๘๘-๑๙๒)
นั่นแลคือที่พึ่งอันปลอดภัย
นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด
คนเราอาศัยที่พึ่งชนิดนั้น
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

Such indeed is a refuge secure,
Such indeed is a refuge supreme.
To such a refuge should one go,
One is released from all sorrow.

๑๙๓. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ
น โส สพฺพตฺถ ชายติ
ยตฺถ โส ชายตี ธีโร
ตํ กุลํ สุขเมธติ ฯ ๑๙๓ ฯ

บุรษอาชาไนย หาได้ยาก
เขาย่อมไม่เกิดในตระกูลทั่วไป
คนฉลาดเช่นนี้ เกิดในตระกูลใด
ตระกูลนั้นย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยความสุข

Hard to find is the Man Supreme,
He is not born everywhere.
But where such a wise one is born,
That family thrives happily.

๑๙๔. สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท
สุขา สทฺธมฺมเทสนา
สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
สมคฺคานํ ตโป สุโข ฯ ๑๙๔ ฯ

การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้เกิดสุข
การแสดงพระสัทธรรมให้เกิดสุข
ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข
ความพยายามของหมู่ที่พร้อมเพรียงกันให้เกิดสุข

Happy is the birth of the Buddha,
Happy is the preaching of the Sublime Dharma,
Happy is the unity of the Sangha,
Happy is the striving of the united ones.

๑๙๕. ปูชารเห ปูชยโต
พุทฺเธ ยทิจ สาวเก
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต
ติณฺณโสกปริทฺทเว ฯ ๑๙๕ ฯ

๑๙๖. เต ตาทิเส ปูชยโต
นิพฺพุเต อกุโตภเย
น สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตุ
อิเมตฺตมปิ เกนจิ ฯ ๑๙๖ ฯ

ผู้บูชาท่านที่ควรบูชา
คือพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้ล่วงพ้นกิเลสเครื่องขวางกั้น
หมดโศกหมดปริเทวนา สงบระงับ
ปลอดภัยโดยประการทั้งปวง
ใครๆ ไม่สามารถจะคำนวณบุญของบุคคลผู้นี้ว่า
"เขาได้บุญประมาณเท่านี้"

He who venerates those venerable ones,
Be they the Buddhas or disciples;
Those who have overcome obstacles
And gone beyond distress and lamentation,
Those who are serene and all-secure-
No one is able to calculate
His merit as 'such and such'.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 06:22:09 am »


๑๕. หมวดความสุข
HAPPINESS


๑๙๗. สุสุขํ วต ชีวาม
เวริเนสุ อเวริโน
เวริเนสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อเวริโน ฯ ๑๙๗ ฯ

ในหมู่มนุษย์ ผู้จองเวรกัน
พวกเราไม่จองเวรใคร
ช่างอยู่สบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ผู้เต็มไปด้วยเวร
พวกเราอยู่อย่างปราศจากเวร

Happily indeed do we live
Unhating among those hating men.
Among many hate-filled men,
Thus we dwell unhating.

๑๙๘. สุสุขํ วต ชีวาม
อาตุเรสุ อนาตุรา
อาตุเรสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนาตุรา ฯ ๑๙๘ ฯ

ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราหมดกิเลสแล้ว
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีกิเลส
พวกเราอยู่ปราศจากกิเลส

Happily indeed do we live
Not yearning among those who yearn.
Among many yearning men,
Thus we dwell unyearning.

๑๙๙. สุสุขํ วต ชีวาม
อุสฺสุกฺเกสุ อนุสฺสุกา
อุสฺสุกฺเกสุ มนุสฺเสสุ
วิหราม อนุสฺสุกา ฯ ๑๙๙ ฯ

ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราไม่กระวนกระวาย
ช่างอยู่เป็นสุขสบายจริงหนอ
ในหมู่มนุษย์ ผู้มีความกระวนกระวาย
พวกเราอยู่ปราศจากความกระวนกระวาย

Happily indeed do we live
Not anxious among those anxious men.
Among many anxious men,
Thus we dwell unanxious.

๒๐๐. สุสุขํ วต ชีวาม
เยสํ โน นตฺถิ กิญฺจนํ
ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม
เทวา อาภสฺสรา ยถา ฯ ๒๐๐ ฯ

พวกเราไม่มีกิเลสเศร้าหมองใจ
ช่างอยู่สุขสบายจริงหนอ
พวกเรามีปีติเป็นภักษาหาร
เปรียบปานเหล่าอาภัสรพรหม

Happily indeed do we live-
We that call nothing our own.
Feeders on joy shall we be
Even as the Abhassara gods.

๒๐๑. ชยํ เวรํ ปสวติ
ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
อุปสนฺโต ชยปราชยํ ฯ ๒๐๑ *

ผู้แพ้ย่อมก่อเวร
ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้ละความแพ้และความพ่ายเสีย
มีใจสงบระงับนั่นแหละเป็นสุข

The victor begets hate,
While the defeated lives in distress.
Happily the peaceful lives,
Having given up victory and defeat.

* คำว่า "แพ้" แปลว่า ชนะ "พ่าย" แปลว่า แพ้ สองคำนี้เป็น
ภาษาไทยโบราณ ซึ่งมีความหมายไม่ตรงกับที่ใช้ในปัจจุบัน
ผู้แปลจงใจใช้อย่างนี้


๒๐๒. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ
นตฺถิ โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ฯ ๒๐๒ ฯ

ไม่มีไฟใดเสมอด้วยราคะ
ไมีมีโทษใดเสมอด้วยโทสะ
ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์
ไม่มีสุขใดเสมอด้วยความสงบ

No fire is there like lust,
No crime like hatred,
No ill like the Five Aggregates,
No higher bliss than Nibbana's peace.

๒๐๓. ชิฆจฺฉาปรมา โรคา
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญตฺวา ยถาภูตํ
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๓ *

ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
รู้ความจริงข้อนี้แล้ว
(คนฉลาด จึงทำพระนิพพานให้แจ้ง)
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง


Of all diseases hunger is the greatest,
Of all pains the comp[ounded things,
Knowing this (the wise realize Nibbana)
Which is the bliss supreme.

* คาถานี้ไม่มีกริยาคุมพากย์ หรือ finite verb เข้าใจว่าคงคัด
ลอกกันมาผิด ได้เติมข้อความเท่าที่เห็นว่าควรเติมพอให้ได้ความ


๒๐๔. อาโรคฺยปรมา ลาภา
สนฺตุฏฺฐีปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ญาติ
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ฯ ๒๐๔ ฯ

ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง
ความรู้จักพอ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง
ความไว้วางใจกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง
พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

Health is the highest gain,
Contentment is the greatest wealth,
Trustful are the best kinsmen,
Nibbana is the highest bliss.

๒๐๕. ปวิเวกรสํ ปิตฺวา
รสํ อุปสมสฺส จ
นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป
ธมฺมปีติรสํ ปิวํ ฯ ๒๐๕ ฯ

เมื่อได้ลิ้มรสแห่งวิเวก
และรสพระนิพพานอันสงบ
ได้ดื่มรสแห่งความอิ่มเอมในพระธรรม
บุคคลย่อมจะหมดบาป หมดทุกข์ร้อน

Having tasted the flavour of
Seclusion and Nibbana's peace,
Woeless and stainless becomes he,
Drinking the taste of the Dharma's joy.

๒๐๖. สาธุ ทสฺสนมริยานํ
สนฺนิวาโส สทา สุโข
อทสฺสเนน พาลานํ
นิจฺจเมว สุขี สิยา ฯ ๒๐๖ ฯ

การพบพระอริยเจ้าเป็นความดี
การอยู่ร่วมกับท่านให้เกิดสุขทุกเมื่อ
เมื่อไม่คบคนพาลเสียได้
คนเราพึงมีความสุขเป็นนิจนิรันดร์

Good is it to see the Noble Ones,
To dwell with them is happiness,
By not seeing foolish men,
One may ever be happy.

๒๐๗. พาลสงฺคตจารี หิ
ทีฆมทฺธาน โสจติ
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
อมิตฺเตเนว สพฺพทา
ธีโร จ สุขสํวาโส
ญาตีนํว สมาคโม ฯ ๒๐๗ ฯ

เพราะผู้คบคนพาล ย่อมเศร้าโศกนาน
การอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ความทุกข์
เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู
การอยู่ร่วมกับนักปราญ์มีแต่ความสุข
เหมือนสมาคมของญาติ

Frequenting the company of fools
One surely grieves for long;
For association with fools is ever ill
Just as ever that of foes.
But to dwell with the wise is happiness
Just as relatives together met.

๒๐๘. ตสฺมา หิ
ธีรญฺจ ปญญญฺจ พหุสฺสุตญจ
โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมา ฯ ๒๐๘ *

เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ์
ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มีศีลาจารวัตร
เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์

Therefore-
Him the intelligent, the wise, the learned,
The devout, the dutiful and the Noble One-
Such a wise and intelligent man
Should one ever follow
As the moon follows the track of stars.

* "พระจันทร์ไปตามทางของกล่มนักขัตฤกษ์ทั้งหลาย" หมายความ
ว่า วิถีโคจรของดวงจันทร์เดินเหมือนดาวพระเคราะห์อื่นๆ
ยกเว้นดาวเกตุ กับดาวราหู คือเดินทวนเข็มนาฬิกา ส่วนราหูกับ
เกตุนั้นเป็นเพียงฉายาเคราะห์ ไม่ใช่ดาวพระเคราะห์แท้ และเดิน
ตามเข็มนาฬิกา


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2011, 06:42:40 am »


๑๖. หมวดความรัก
AFFECTIONS


๒๐๙. อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ
โยคสฺมิญฺจ อโยชนํ
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี
ปิเหตตฺตานุโยคินํ ฯ ๒๐๙ ฯ

พยายามในสิ่งที่ไม่ควรพยายาม
ไม่พยายามในสิ่งที่ควรพยายาม
ละเลยสิ่งที่เป็นประโยชน์ ติดอยู่ในปิยารมณ์
คนเช่นนี้ก็ได้แต่ริษยาผู้ที่พยายามช่วยตัวเอง

Exerting oneself in what should be shunned,
Not exerting where one should exert,
Rejecting the good and grasping at the pleasant,
One comes to envy those who exert themselves.

๒๑๐. มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ
อปฺปิเยหิ กุทาจนํ
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ
อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ฯ ๒๑๐ ฯ

อย่าติดอยู่ในสิ่งที่เรารัก หรือไม่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เป็นทุกข์
การพบเห็นแต่สิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์

Be not attached to the beloved
And never with the unbeloved.
Not to meet the beloved is painful
As also to meet with the unbeloved.

๒๑๑. ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ
ปิยาปาโย หิ ปาปโก
คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ
เยสํ นตฺถิ ปิยาปิยํ ฯ ๒๑๑ ฯ

เพราะฉะนั้น ไม่ควรรักสิ่งใด
เพราะพลัดพรากจากของรัก เป็นทุกข์
ผู้ที่หมดความรักและความไม่รักแล้ว
เครื่องผูกพัน ก็พลอยหมดไปด้วย

Therefore hold nothing dear,
For separation from the beloved is painful.
There are no bonds for those
To whom nothing is dear or not dear.

๒๑๒. ปิยโต ชายเต โสโก
ปิยโต ชายเต ภยํ
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๒ ฯ

ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีของรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีของรักเสียแล้ว
โศกภัย ก็ไม่มี

From the beloved springs grief,
From the beloved springs fear;
For him who is free from the beloved
There is neither grief nor fear.

๒๑๓. เปมโต ชายเต โสโก
เปมโต ชายเต ภยํ
เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๓ ฯ

ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความรัก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความรักเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี

From love springs grief,
From love spring fear;
For him who is free from love
There is neither grief nor fear.

๒๑๔. รติยา ชายเต โสโก
รติยา ชายเต ภยํ
รติยา วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๔ ฯ

ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความยินดี ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความยินดีเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี

From attachment springs grief,
From attachment sprighs fear;
For him who is free from attachment
There is neither grief nor fear.

๒๑๕. กามโต ชายเต โสโก
กามโต ชายเต ภยํ
กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๕ ฯ

ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความใคร่ ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความใคร่เสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี

From lust springs grief,
From lust springs fear;
For him who is free from lust
There is neither grief nor fear.

๒๑๖. ตณฺหาย ชายเต โสโก
ตณฺหาย ชายเต ภยํ
ตณฺหาย วิปฺปมุตฺตสฺส
นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ ฯ ๒๑๖ ฯ

ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีโศก
ที่ใดมีความทะยานอยาก ที่นั่นมีภัย
เมื่อไม่มีความทะยานอยากเสียแล้ว
โศก ภัย ก็ไม่มี

From craving springs grief,
From craving springs fear;
For him who is free from craving
There is neither grief no fear.

๒๑๗. สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ
ธมฺมฏฺฐํ สจฺจวาทินํ
อตฺตโน กมฺมกุพฺพานํ
ตํ ชโน กุรุเต ปิยํ ฯ ๒๑๗ ฯ

ผู้ประพฤติดี มีความเห็นถูกต้อง
มั่นอยู่ในคลองธรรม พูดคำสัตย์
ปฏิบัติหน้าที่ของคนสมบูรณ์
คนย่อมเทิดทูนด้วยความรัก

He who is perfect in virtue and insight,
Is established in the Dharma;
Who speaks the truth and fulfills his won duty-
Him do people hold dear.

๒๑๘. ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต
มนสา จ ผุโฏ สิยา
กาเมสุ อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ ฯ ๒๑๘ ฯ

พระอนาคามีผู้ใฝ่พระนิพพาน
สัมผัสผ่านผลสามด้วยใจ
หมดปฏิพัทธ์รักใคร่ในกาม
จึงได้สมญานามว่า "ผู้ทวนกระแส"

He who has developed a wish for Nibbana,
He whose mind is thrilled (with the Three Fruits),
He whose mind is not bound by sensual pleasures,
Such a person is called 'Upstream-bound One'.

๒๑๙. จิรปฺปวาสึ ปุริสํ
ทูรโต โสตฺถิมคตํ
ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ
อภินนฺทนฺติ อาคตํ ฯ ๒๑๙ ฯ

บุรษผู้จากไปนาน
เมื่อกลับมาจากไพรัชสถานโดยสวัสดี
ญาติ และมิตรสหายย่อมยินดีต้อนรับ

After a long absence
A man returns home
Safe and sound from afar,
Kinsmen and friends gladly welcome him.

๒๒๐. ตเถว กตปุญฺญมฺปิ
อสฺมา โลกา ปรํ คตํ
ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ
ปิยํ ญาตึว อาคตํ ฯ ๒๒๐ ฯ

บุญที่ได้ทำไว้ในโลกนี้
ย่อมต้อนรับผู้ที่จากไป
เหมือนญาติที่รักมาจากที่ไกล
ฝูงชนย่อมเต็มใจต้อนรับ

Likewise, good deeds well receive the doer
Who has gone from here to the next world,
As kinsmen receive a dear friend on his return.


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 01:26:23 pm »

๑๗. หมวดความโกรธ
ANGER


๒๒๑. โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
สํโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺฒมานํ
อกิญฺจนธํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา ฯ ๒๒๑ ฯ

ควรละความโกรธ และมานะ
เอาชนะกิเลสเครื่องผูกมัดทุกชนิด
ผู้ที่ไม่ติดอยู่ในรูปนาม หมดกิเลสแล้ว
ย่อมคลาดแคล้วจากความทุกข์

One should give up anger and pride,
One should overcome all fetters.
Ill never befalls him who is passionless,
Who clings not to Name and Form.

๒๒๒. โย เว อุปฺปติตํ โกธํ
รถํ ภนฺตํว ธารเย
ตมหํ สารถึ พฺรูมิ
รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน ฯ ๒๒๒ ฯ

ผู้ใดยับยั้งความโกรธที่เกิดขึ้นได้ทันที
เหมือนสารถีหยุดรถที่กำลังแล่นไว้ได้
ผู้นั้นไซร้เราเรียกว่า "สารถี"
ส่วนคนนอกนี้ได้ชื่อเพียง "ผู้ถือเชือก"

Whoso, as rolling chariot, checks
His anger which has risen up-
Him I call charioteer.
Others merely hold the reins.

๒๒๓. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ
อสาธุ สาธุนา ชิเน
ชิเน กทริยํ ทาเนน
สจฺเจนาลิกวาทินํ ฯ ๒๒๓ * ฯ

พึงเอาชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
พึงเอาชนะความร้าย ด้วยความดี
พึงเอาชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
พึงเอาชนะคนพูดพล่อย ด้วยคำสัตย์

Conquer anger by love,
Conquer evil by good,
Conquie the miser by liberality,
Conquer the liar by truth.

* อรรถกถาต้องการให้แปลว่า พึงเอาชนะคนมักโกรธด้วยความ
ไม่โกรธ พึงเอาชนะคนไม่ดีด้วยความดี...เป็นเรื่องเอาชนะคน
ประเภทต่างๆ ซึ่งก็ฟังเข้าทีดี

๒๒๔. สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย
ทชฺชา อปฺปมฺปิ ยาจิโต
เอเตหิ ตีหิ ฐาเนหิ
คจฺเฉ เทวาน สนฺติเก ฯ ๒๒๔ ฯ

ควรพูดคำสัตย์จริง ไม่ควรโกรธ
แม้เขาขอเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรให้
ด้วยการปฏิบัติทั้งสามนี้
เขาก็อาจไปสวรรค์ได้

One should speak the truth.
One should not give way to anger.
If asked for little one should give.
One may go, by these three means,
To the presence of celestials.

๒๒๕. อหึสกา เย มุนโย
นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ
ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร ฯ ๒๒๕ ฯ

พระมุนี ผู้ไม่เบียดเบียนใคร
ควบคุมกายอยู่เป็นนิจศีล
ย่อมไปยังถิ่นที่นิรันดร
ที่สัญจรไปแล้ว ไม่เศร้าโศก

Those sages who are harmless
And in body ever controlled
Go to the Everlasting State
Where gone they grieve no more.

๒๒๖. สทา ชาครมานานํ
อโหรตฺตานุสิกฺขินํ
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ อาสวา ฯ ๒๒๖ ฯ

สำหรับท่านผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา
สำเหนียกศึกษาทุกทิพาราตรี
มีใจน้อมไปสู่พระนิพพาน
อาสวะย่อมอันตรธานหมดสิ้น

Of those who are wide-awake
And train themeselves by night and day
Upon Nibbana ever intent-
The defilements fade away.

๒๒๗. โปราณเมตํ อตุล
เนตํ อชฺชตนามิว
นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ
นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต ฯ ๒๒๗ ฯ

อตุลเอย เรื่องอย่างนี้มีมานานแล้ว
มิใช่เพิ่งจะมีในปัจจุบันนี้
อยู่เฉยๆ เขาก็นินทา
พูดมาก เขาก็นินทา
พูดน้อย เขาก็นินทา
ไม่มีใครในโลก ที่ไม่ถูกนินทา

Not only today, O Atula,
From days of old has this been so;
Sitting silent-him they blame,
Speaking too much-him they blame,
Talking little-him they blame,
There is no one in the world who is not blamed.

๒๒๘. น จาหุ น จ ภวิสฺสติ
น เจตรหิ วิชฺชติ
เอกนฺตํ นินฺทิโต โปโส
เอกนฺตํ วา ปสํสิโต ฯ ๒๒๘ ฯ

ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
คนที่ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียว
หรือถูกนินทา โดยส่วนเดียว ไม่มี

There never was, and never will be,
Nor is there now to be found
A person who is wholly blamed
Or wholly praised,

๒๒๙. ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ
อนุวิจฺจ สุเว สุเว
อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ
ปญฺญาสีลสมาหิตํ ฯ ๒๒๙ ฯ

๒๓๐. นิกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว
โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ
พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต ฯ ๒๓๐ ฯ

นักปราชญ์พิจารณารอบคอบแล้ว
จึงสรรเสริญผู้ใด ผู้ดำเนินชีวิตหาที่ติมิได้
ฉลาด สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล
ผู้นั้น เปรียบเสมือนแท่งทองบริสุทธิ์
ใครเล่าจะตำหนิเขาได้ คนเช่นนี้
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหม ก็สรรเสริญ

He whom the intelligent praise
After careful examination,
He who is of flawless life, wise,
And endowed with knowledge and virtue-
Who would dare to blame him
Who is like refined gold?
Even the gods praise him,
By Brahma too he is admired.

๒๓๑. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺย
กาเยน สํวุโต สิยา
กายทุจฺจริตํ หิตฺวา
กาเยน สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๑ ฯ

พึงควบคุม ความคะนองทางกาย
พึงสำรวม การกระทำทางกาย
พึงละกายทุจริต
ประพฤติกายสุจริต

One should guard against bodily hastiness,
One should be restrained in body.
Giving up bodily misconduct,
One should be of good bodily conduct.

๒๓๒. วจีปโกปํ รกฺเขยฺย
วาจาย สํวุโต สิยา
วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา
วาจาย สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๒ ฯ

พึงควบคุม ความคนองทางวาจา
พึงสำรวม คำพูด
พึงละวจีทุจริต
ประพฤติวจีสุจริต

One should guard aginst hastiness in words,
One should be restrained in words.
Giving up verbal misconduct,
One should be of good verbal conduct.

๒๓๓. มโนปโกปํ รกฺเขยฺย
มนสา สํวุโต สิยา
มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา
มนสา สุจริตํ จเร ฯ ๒๓๓ ฯ

พึงควบคุม ความคะนองทางใจ
พึงสำรวม ความคิด
พึงละมโนทุจริต
ประพฤติมโนสุจริต

One should guard against hastiness of mind,
One should be restrained in thought.
Giving up mental misconduct,
One should be of good mental conduct.

๒๓๔. กาเยน สํวุตา ธีรา
อโถ วาจาย สํวุตา
มนสา สํวุตา ธีรา
เต เว สุปริสํวุตา ฯ ๒๓๔ ฯ

ผู้มีปัญญา ย่อมสำรวมกาย วาจา ใจ
ท่านเหล่านั้น นับว่า ผู้สำรวมดีแท้จริง

The wise are restrained in deed,
In speech too they are restrained,
They are restrained in mind as well-
Verily, they are fully restrained.