แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์

พุทธวจนะในธรรมบท โดย เสฐียรพงษ์

<< < (5/7) > >>

ฐิตา:

๑๘. หมวดมลทิน
IMPURITY

๒๓๕. ปณฺฑุปลาโสว ทานิสิ
ยมปุริสาปิ จ ตํ อุปฏฺฐิตา
อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺฐสิ
ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ ฯ ๒๓๕ ฯ

บัดนี้ เธอแก่ดังใบไม้เหลือง
ยมทูตกำลังเฝ้ารออยู่
เธอกำลังจะจากไปไกล
แต่เสบียงเดินทางของเธอไม่มี

Like a withered leaf are you now,
Death's messangers wait for you.
You are going to travel far away,
But provision for your journey you have none.

๒๓๖. โส กโรหิ ทีปมตฺตโน
ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว
นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ
ทิพฺพํ อริยภูมิเมหิสิ ฯ ๒๓๖ ฯ

เธอจงสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง
รีบพยายามขวนขวายหาปัญญาใส่ตัว
เมื่อเธอหมดมลทิน หมดกิเลสแล้ว
เธอก็จักเข้าถึงทิพยภูมิของพระอริยะ

Make a refuge unto yourself
Quickly strive and become wise.
Purged of taint and free from stain,
To heavenly state of the Noble will you attain.

๒๓๗. อุปนีตวโยว ทานิสิ
สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติกํ
วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา
ปาเถยฺยมมฺปิ จ เต น วิชฺชติ ฯ ๒๓๗ ฯ

บัดนี้ เธอใกล้จะถึงอายุขัยแล้ว
เธอย่างเข้าใกล้สำนักพญามัจจุราชแล้ว
ที่พักระหว่างทางของเธอก็ไม่มี
เสบียงเดินทาง เธอก็ไม่ได้หาไว้

Your life has come near to an end now,
To the presence of Death you are setting out.
No halting place is there for you on the way,
And provision for your journey you have none.

๒๓๘. โส กโรหิ ทีปมตฺตโน
ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว
นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ ฯ ๒๓๘ ฯ

จงสร้างที่พึ่งแก่ตัวเอง
รีบขวนขวายหาปัญญาใส่ตัว
เมื่อเธอหมดมลทิน หมดกิเลสแล้ว
เธอก็จักไม่มาเกิดมาแก่อีกต่อไป

Make a refuge unto yourself,
Quickly strive and become wise.
Purged of taint and free from stain,
To birth-and-decay will you not come again.

๒๓๙. อนุปุพฺเพน เมธาวี
โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ
กมฺมาโร รชตสฺเสว
นิทฺธเม มลมตฺตโน ฯ ๒๓๙ ฯ

คนมีปัญญา
ควรขจัดมลทินของตน
ทีละน้อยๆ
ทุกๆ ขณะ
โดยลำดับ
เหมือนนายช่างทอง
ปัดเป่าสนิมแร่

By gradual practice,
From moment to moment,
And little by little,
Let the wise man blow out
His own impurities,
Just as a smith removes
The dross of ore.

๒๔๐. อยสาว มลํ สมุฏฺจิตํ
ตทุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ
เอวํ อติโธนจารินํ
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๒๔๐ ฯ

สนิมเกิดแต่เหล็ก
กัดกินเหล็กฉันใด
กรรมที่ตนทำไว้
ย่อมนำเขาไปทุคติฉันนั้น

As rust, springing from iron,
Eats itself away, once formed,
Even so one's own deeds
Lead one to states of woe.

๒๔๑. อสชฺฌายมลา มนฺตา
อนุฏฺฐนมลา ฆรา
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
ปมาโท รกฺขโต มลํ ฯ ๒๔๑ ฯ

ความเสื่อมของมนตรา อยู่ที่การไม่ทบทวน
ควาามเสื่อมของเรือน อยู่ที่ไม่ซ่อมแซม
ความเสื่อมของความงาม อยู่ที่เกียจคร้านตบแต่ง
ความเสื่อมของนายยาม อยู่ที่ความเผลอ

Non-recitation is the bane of scriptures.
Non-repair is the bane of houses.
Sloth is the bane of beauty.
Negligence is the bane of a watcher.

๒๔๒. มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
มจฺเฉรํ ททโต มลํ
มลา เว ปาปกา ธมฺมา
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ ฯ ๒๔๒ ฯ

ความประพฤติเสียหาย เป็นมลทินของสตรี
ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้
ควาามชั่วทุกชนิด เป็นมลทิน
ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า

Misconduct is defilement of a woman.
Strininess is defilement of a donor.
Tainted indeed are all evil things,
Both in this world and the world to come.

๒๔๓. ตโต มลา มลตรํ
อวิชฺชา ปรมํ มลํ
เอตํ มลํ ปหตฺวาน
นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโว ฯ ๒๔๓ ฯ

มลทินที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น คือความโง่เขลา
ความโง่เขลา นับเป็นมลทินชั้นยอด
ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงละมลทินชนิดนี้
เป็นผู้ปราศจากมลทินเถิด

A greater taint than these is ignorance,
The worst taint of all.
Rid yourselves of ignorance, monks,
And be without taint.

๒๔๔. สุชีวฺ อหิริเกน
กากสูเรน ธํสินา
ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน
สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ ฯ ๒๔๔ ฯ

คนไร้ยางอาย กล้าเหมือนกา
ชอบทำลายผู้อื่นลับหลัง ชอบเอาหน้า
อวดดี มีพฤติกรรมสกปรก
คนเช่นนี้ เป็นอยู่ง่าย

Easy is the life of a shameless one
Who is as bold as a crow,
A back-biting, a forward,
An arrogant and a corrupted one.

๒๔๕. หิรีมตา จ ทุชฺชีวํ
นิจฺจํ สุจิคเวสินา
อลีเนนปฺปคพฺเภน
สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา ฯ ๒๔๕ ฯ

ส่วนคนที่มีหิริ ใฝ่ความบริสุทธิ์เป็นนิตย์
ไม่เกียจคร้าน อ่อนน้อมถ่อมตน
มีความเป็นอยู่บริสุทธิ์ มีปัญญา
คนเช่นนี้เป็นอยู่ลำบาก

Hard is the life of a modest one
Who ever seeks after purity,
Who is strenous, humble,
Cleanly of life, and discerning.

๒๔๖. โย ปาณมติปาเตติ
มุสาวาทญฺจ ภาสติ
โลเก อทินฺนํ อาทิยติ
ปรทารญฺจ คจฺฉติ ฯ ๒๔๖ ฯ

๒๔๗. สุราเมรยปานญฺจ
โย นโร อนุยุญฺชติ
อิเธวเมโส โลกสฺมึ
มูลํ ขนติ อตฺตโน ฯ ๒๔๗ ฯ

ผู้ใด ฆ่าสัตว์ พูดเท็จ ลักทรัพย์
ประพฤติล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น
ดื่มสุราเมรัยเป็นนิจศีล
ผู้นั้นนับว่าขุดรากถอนโคนตนเองในโลกนี้ทีเดียว

Whoso destroys life,
Tells lies,
Takes what is not given,
Commits sexual misconduct,
And is addicted to intoxicating drinks-
Such a one roots out oneself in this very world.

๒๔๘. เอวํ โภ ปุริส ชานิหิ
ปาปธมฺมา อสญฺญตา
มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ
จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุ ฯ ๒๔๘ ฯ

จงรู้เถิด บุรุษผู้เจริญเอ๋ย ความชั่วร้าย
มิใช่สิ่งที่จะพึงควบคุมได้ง่ายๆ
ขอความโลภและความชั่วช้า
อย่าได้ฉุดกระชากเธอ
ไปหาความทุกข์ตลอดกาลนานเลย

Know this, O good man,
Not easy to control are evil things.
let not greed and wickedness drag you
To protacted misery.

๒๔๙. ททาติ เว ยถาสทฺธํ
ยถาปสาทนํ ชโน
ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ
ปเรสํ ปานโภชเน
น โส ทิวา วา รตฺตึ วา
สมาธึ อธิคจฺฉติ ฯ ๒๔๙ ฯ

ประชาชนย่อมให้ทานตามศรัทธา
ใครคิดอิจฉาในข้าวและน้ำของคนอื่น
เขาย่อมไม่ได้รับความสงบใจ
ไม่ว่ากลางวัน หรือ กลางคืน

People give according to their faith
And as they are pleased.
Whoso among them is envious
Of others' food and drink-
He attains no peace of mind
Either by day or by night.

๒๕๐. ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ
มูลฆจฺฉํ สมูหตํ
ส เว ทิวา วา รตฺตึ วา
สมาธึ อธิคจฺฉติ ฯ ๒๕๐ ฯ

ผู้ใดเลิกคิดเช่นนั้นแล้ว
ผู้นั้น ย่อมได้รับความสงบใจ
ทั้งในกลางวันและกลางคืน

He who thinks not
In such a way
Gains peace of mind
Every night and day.

๒๕๑. นตฺ ราคสโม อคฺคิ
นตฺถิ โทสสโม คโห
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ
นตฺถิ ตณฺหาสมา นที ฯ ๒๕๑ ฯ

ไม่มี ไฟใด เสมอราคะ
ไม่มี เคราะห์ใด เสมอโทสะ
ไม่มี ข่ายดักสัตว์ใด เสมอโมหะ
ไม่มี แม่น้ำใด เสมอตัณหา

No fire is there like lust.
No captor like hatred.
No snare like delusion.
No torrent like craving.

๒๕๒. สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ
อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
ปเรสํ หิ โส วชฺชานิ
โอปุนาติ ยถา ภุสํ
อตฺตโน ปน ฉาเทติ
กลึว กิตวา สโฐ ฯ ๒๕๒ ฯ

โทษคนอื่นเห็นได้ง่าย
โทษตนเห็นได้ยาก
คนเรามักเปิดเผยโทษคนอื่น
เหมือนโปรยแกลบ
แต่ปิดบังโทษของตน
เหมือนนักเลงเต๋าโกงซ่อนลูกเต๋า

Easy to perceive are others' faults,
One's own, however, are hard to see.
Like chaff one winnows others's faults,
But conceals one's own
Just as a cheating gambler hides
An ill-thrown dice.

๒๕๓. ปรวชฺชนุปสฺสิสฺส
นิจฺจํ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ
อารา โส อาสวกฺขยา ฯ ๒๕๓ ฯ

ผู้ที่เพ่งแต่โทษคนอื่น
คอยจับผิดอยู่ตลอดเวลา
เขาย่อมหนาด้วยกิเลสอาสวะ
ไม่มีทางเลิกละมันได้

He who sees others' faults
And is ever censorious-
Defilements of such a one grow
Far is he from destroying them.

๒๕๔. อากาเสว ปทํ นตฺถิ
สมโณ นตฺถิ พาหิโร
ปปญฺจาภิรตา ปชา
นิปฺปปญฺจา ตถาคตา ฯ ๒๕๔ ฯ

ไม่มีรอยเท้าในอากาศ
ไม่มีสมณะภายนอกศาสนานี้
สัตว์พากันยินดีในกิเลสที่กีดขวางนิพพาน
พระตถาคตทั้งหลาย หมดกิเลสชนิดนั้นแล้ว

No track is there in the sky.
No samanas are there outside.
In obstacles mankind delights.
The Tathagatas leave them behind.

๒๕๕. กากาเสว ปทํ นตฺถิ
สมโณ นตฺถิ พาหิโร
สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ
นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ ฯ ๒๕๕ ฯ

ไม่มี รอยเท้าในอากาศ
ไม่มี สมณะนอกศาสนานี้
ไม่มี สังขารที่เที่ยงแท้
ไม่มี ความหวั่นไหวสำหรับพระพุทธเจ้า

No track is there in the sky.
No samanas are there outside.
No etenal compounded thing.
No instability is there in the Buddhas.

ฐิตา:

๑๙. หมวดเที่ยงธรรม
THE JUST

๒๕๖. น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ
เยนตฺถฺ สหสา นเย
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ
อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโต ฯ ๒๕๖ ฯ

ผู้ที่ตัดสินความโดยหุนหันพลันแล่น
ไม่จัดเป็นผู้เที่ยงธรรม
ส่วนผู้ที่ฉลาด วินิจฉัยรอบคอบ
ทั้งฝ่ายถูก และฝ่ายผิด
(จึงจัดเป็นผู้เที่ยงธรรม)

He who hastily arbitrates
Is not known as 'just'
The wise investigating right and wrong
(Is known as such).

๒๕๗. อสาหเสน ธมฺเมน
สเมน นยตี ปเร
ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี
ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๕๗ ฯ

บัณฑิตผู้ตัดสินผู้อื่นโดยรอบคอบ
โดยเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ
ถือความถูกต้องเป็นใหญ่
ผู้นี้ได้สมญาว่า ผู้เที่ยงธรรม

He who judges others other with due deliberation,
With judgement righteous and just-
Such a wise one, guardian of the law,
Is called righteous.

๒๕๘. น เตน ปณฺฑิโต โหติ
ยาวตา พหุ ภาสติ
เขมี อเวรี อภโย
ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๕๘ ฯ

เพียงแต่พูดมาก ไม่จัดว่าเป็นบัณฑิต
คนที่ประพฤติตนให้เกษม
ไม่มีเวร ไม่มีภัย
จึงจะเรียกว่า เป็นบัณฑิต

A man is not called wise
Merely because he speaks much.
Secure, hateless and fearless-
Such a man is called wise.

๒๕๙. น ตาวาตา ธมฺมธโร
ยาวตา พหุ ภาสติ
โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน
ธมฺมํ กาเยน ปสฺสติ
ส เว ธมฺมธโร โหติ
โย ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ ฯ ๒๕๙ ฯ

บุคคลไม่นับว่าผู้ทรงธรรม
ด้วยเหตุเพียงพูดมาก
ส่วนผู้ใด ถึงได้สดับตรับฟังน้อย
แต่เห็นธรรมด้วยใจ
ไม่ประมาทในธรรม
ผู้นั้นแล เรียกว่า ผู้ทรงธรรม

He is not versed in the Dharma
Merely because he speaks much.
He who hears little of the teaching
But mentally sees the Truth,
And who is not heedless of the Truth-
He is indeed versed in the Dharma.

๒๖๐. น เตน เถโร โหติ
เยนสฺส ปลิตํ สิโร
ปริปกฺโก วโย ตสฺส
โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ ฯ ๒๖๐ ฯ

เพียงมีผมหงอก
ยังไม่นับว่า เถระ
เขาแก่แต่วัยเท่านั้น
เรียกได้ว่า คนแก่เปล่า

A man is not an elder
Merely because his head is grey.
Ripe is his age,
And old-in-vain is he called.

๒๖๑. ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ
อหึสา สญฺญโม ทโม
ส เว วนฺตมโล ธีโร
โส เถโรติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๖๑ ฯ

ผู้ใดมี สัจจะ คุณธรรม ไม่เบียดเบียน
สำรวม ข่มใจ ฉลาด ปราศจากมลทินโทษ
ผู้นั้นแล เรียกว่า เถระ

In whom there are truth, virtue, harmlessness,
Self-mastery, and self-restraint
Who is free from defilements and is wise-
He, indeed, is called an elder.

๒๖๒. น วากฺกรณมตฺเตน
วณฺณโปกฺขรตาย วา
สาธุรูโป นโร โหติ
อิสฺสุกี มจุฉรี สโฐ ฯ ๒๖๒ ฯ

ไม่ใช่เพราะพูดคล่อง
ไม่ใช่เพราะมีผิวพรรณสวย
ที่ทำให้คนเป็นคนดีได้
ถ้าหากเขายังมีความริษยา
มีความตระหนี่ เจ้าเลห์
(เขาก็เป็นคนดีไม่ได้)

Not by mere cloquence,
Nor by beautiful complexion
Does a man become good-natured,
Should he be jealous, selfish and deceitful.

๒๖๓. ยสฺส เจตํ สมุจฺฉินฺนํ
มูลฆจฺฉํ สมูหตํ
ส วนฺตโทโส เมธาวี
สาธุรูโปติ วุจฺจติ ฯ ๒๖๓ ฯ

ผู้ใดเลิกละความอิจฉาเป็นต้น
ได้อย่างเด็ดขาดแล้ว
คนฉลาด ปราศจากมลทินเช่นนี้
เรียกว่า คนดี

In whom such behaviour
Is cut off and wholly uprooted,
That wise man who has cast out impurities,
Is indeed called good-natured.

๒๖๔. น มุณฺฑเกน สมโณ
อพฺพโต อลิกํ ภณํ
อิจฺฉา โลภสมาปนฺโน
สมโณ กึ ภวิสฺสติ ฯ ๒๖๔ ฯ

คนศีรษะโล้นไร้ศีลวัตร
พูดเท็จ ไม่นับเป็นสมณะ
เขามีแต่ความอยากและความโลภ
จักเป็นสมณะได้อย่างไร

Not by a shaven head does a man,
Undisciplined and lying, become an ascetic.
How can he, full of desire and greed,
Become an ascetic?

๒๖๕. โย จ สเมติ ปาปานิ
อณุถูลานิ สพฺพโส
สมิตตฺตา หิ ปาปานํ
สมโณติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๖๕ ฯ

ผู้ที่ระงับบาปทั้งหลาย
ทั้งน้อยและใหญ่
เรียกว่าเป็นสมณะ
เราะเลิกละบาปได้

Whosoever makes an end of all evil,
Both small and great-
He is called an ascetic,
Since he has overcome all evil.

๒๖๖. น เตน ภิกฺขุ โส โหติ
ยาวตา ภิกฺขเต ปเร
วิสฺสํ ธมฺมํ สมาทาย
ภิกฺขุ โหติ น ตาวตา ฯ ๒๖๖ ฯ

เพียงขอภิกษาจากผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ
ถ้ายังประพฤติตนเหมือนชาวบ้านอยู่
ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ

A man is not a bhikkhu
Simply because he begs from others.
By adapting householder's manner,
One does not truly become a bhikkhu.

๒๖๗. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ
พาเหตฺวา พฺรหฺมจริยวา
สงฺขาย โลเก จรติ
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ฯ ๒๖๗ ฯ

ผู้ใดละบุญละบาปทุกชนิด
ครองชีวิตประเสริฐสุด
อยู่ในโลกมนุษย์ด้วยปัญญา
ผู้นี้แลเรียกว่า ภิกษุ

He who has abandoned both merit and demerit,
He who is leading a pure life,
He who lives in teh world with wisdom-
He indeed is called a bhikkhu.

๒๖๘. น โมเนน มุนิ โหติ
มูฬฺหรูโป อวิทฺทสุ
โย จ ตุลํว ปคฺคยฺห
วรมาทาย ปณฺฑิโต ฯ ๒๖๘ ฯ

๒๖๙. ปาปานิ ปรวชฺเชติ
ส มุนิ เตน โส มุนิ
โย มุนาติ อุโภ โลเก
มุนิ เตน ปวุจฺจติ ฯ ๒๖๙ ฯ

คนโง่เขลา ไม่รู้อะไร
นั่งนิ่งดุจคนใบ้ ไม่นับเป็นมุนี
ส่วนคนมีปัญญาทำตนเหมือนถือคันชั่ง
เลือกชั่งเอาแต่ความดี ละทิ้งความชั่วช้า
ด้วยปฏิปทาดังกล่าวเขานับว่าเป็นมุนี
อนึ่งผู้ที่รู้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
จึงควรแก่สมญาว่า มุนี

Not by silence does one become a sage
If one be both ignorant and dull.
But the wise who, as if holding a pair of scales,
Embraces the best and shuns evil-
He is indeed, for that reason, a sage.
He that understands both worlds is called a sage.

๒๗๐. น เตน อริโย โหติ
เยน ปาณานิ หึสติ
อหึสา สพฺพปาณานํ
อริโยติ ปวุจฺจติ ฯ ๒๗๐ ฯ

ถ้ายังเบียดเบียนสัตว์อยู่
บุคคลไม่นับว่า เป็นอารยชน
เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง
เขาจึงได้ชื่อว่า อารยชน

By harming living beings
Not thus is one a noble man.
By harmlessness towards all beings
One is then called a noble man.

๒๗๑. น สีลพฺพตมตฺเตน
พาหุสจฺเจน วา ปน
อถวา สมาธิลาเภน
วิวิตฺตสยเนน วา ฯ ๒๗๑ ฯ

๒๗๒. ผุสามิ เนกฺขมฺมสุขํ
อปุถุชฺชนเสวิตํ
ภิกฺขุ วิสฺสาสมาปาทิ
อปฺปตฺโต อาสวกฺขยํ ฯ ๒๗๒ ฯ

ภิกษุเอย เพียงมีศีลาจารวัตร
เพียงมีภูมิปริยัติคงแก่เรียน
เพียงพากเพียรปฏิบัติจนได้ฌาน
เพียงอยู่ในสถานสงบสงัด
ถ้าขจัดกิเลสไม่ได้หมด เธออย่านิ่งนอนใจ
ว่า เธอได้รับสุขในบรรพชา
ที่สามัญชนทั่วไปมิได้สัมผัส

Not by mere conduct and vows,
Nor again by much learning,
Nor even by gaining concentration,
Nor by living alone in solitude,
At the thought; 'I enjoy the bliss of remunciation
Not resorted to by the worlding',
Should you, O monks, rest content
Without reaching the extinction of corruption.

ฐิตา:

๒๐. หมวดทาง
THE PATH

๒๗๓. มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ
สจฺจานํ จตุโร ปทา
วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ
ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ฯ ๒๗๓ ฯ

ยอดแห่งมรรคา คืออัษฎางคิกมรรค
ยอดแห่งสัจจะ คืออริยสัจสี่ประการ
ยอดแห่งธรรม คือความปราศจากราคะ
ยอดแห่งมนุษย์ คือพระผู้เห็นแจ้ง

Best of paths is the Eightfold Path.
Best of truths is the Four Noble Truths.
Best of conditions is Passionlessness.
Best of men is the Seeing One.

๒๗๔. เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ
ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ
มารสฺเสตํ ปโมหนํ ฯ ๒๗๔ ฯ

มีทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น
ที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งทัศนะ
พวกเธอจงเดินตามทางนี้เถิด
ทางสายนี้พญามารมักเดินหลงเสมอ

This is the only way;
None other is there for the purity of vision.
Do you enter upon this path,
Which is the bewilderment of Mara.

๒๗๕. เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา
ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ
อกฺขาโต เว มยา มคฺโค
อญฺญาย สลฺลสตฺถนํ ฯ ๒๗๕ ฯ

เมื่อเดินตามทางสายนี้
พวกเธอจักหมดทุกข์
ทางสายนี้ เราได้ชี้บอกไว้
หลังจากที่เราได้รู้วิธีถอนลูกศรคือกิเลส

When walking along this path,
You shall make an end of suffering
This is the Way made known by me
When I had learnt to remove all darts.

๒๗๖. ตุมฺเหติ กิจฺจํ อาตปฺปํ
อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ
ฌายิโน มารพนฺธนา ฯ ๒๗๖ ฯ

พวกเธอจงพยายามทำความเพียรเถิด
พระตถาคต เป็นเพียงผู้ชี้บอกทางเท่านั้น
ผู้บำเพ็ญฌานเดินตามทางสายนี้
ก็จะพ้นจากเครื่องผูกของพญามาร

You yourselves should make an effort,
The Tathagatas can but show the Way.
The meditative ones who walk this path
Are released from the bonds of Mara.

๒๗๗. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข
เอส มคฺโค วิใทฺธิยา ฯ ๒๗๗ ฯ

"สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยงแท้"
เมื่อใด บุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้
เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์
นี้เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

'Impermanent are all conditioned things',
When thus one sees with wisdom,
Then is one disgusted with ill.
This is the path to purity.

๒๗๘. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข
เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ ๒๗๘ ฯ

"สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์"
เมื่อใด บุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้
เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์
นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

'Full of Ill are conditioned things',
When thus one sees with wisdom,
Then is one disgusted with Ill.
This is the path to purity.

๒๗๙. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข
เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ฯ ๒๗๙ ฯ

"ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา"
เมื่อใด บุคคลเห็นแจ้งด้วยปัญญาดังนี้
เมื่อนั้น เขาย่อมหน่ายในทุกข์
นี่เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์

'Lacking permanent entity are all events',
When thus one sees with wisdom,
Then is one disgusted with Ill.
This is the path to purity.

๒๘๐. อุฎฺฐานกาลมฺหิ อนุฏฺฐหาโน
ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต
สํสนฺนสงฺกปฺปม กุสีโต
ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ ฯ ๒๘๐ ฯ

คนเราเมื่อยังหนุ่มแน่น
แข็งแรงแต่เกียจคร้าน
ไม่ขยันในเวลาที่ควรขยัน
มีความคิดตกต่ำ
คนเกียจคร้านเฉื่อยชาเช่นนี้
ย่อมไม่พบทางแห่งปัญญา

The idler who strives not when he should strive,
Who though young and strong is slothful,
Who is feeble in maintaing right-mindedness,
And who is sluggish and inert-
Such a one finds not the way to wisdom.

๒๘๑. วาจานุรกฺขี มนสา สุสํวุโต
กาเยน จ อกุสลํ น กยิรา
เอเต ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย
อาราธเย มคฺคํ อิสิปฺปเวทิตํ ฯ ๒๘๑ ฯ

พึงระวังวาจา พึงสำรวมใจ
ไม่พึงทำบาปทางกาย
พึงชำระทางกรรมทั้งสามนี้ให้หมดจด
เมื่อทำได้เช่นนี้ เขาพึงพบทาง
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแสดงไว้

Ever watchful in speech,
Restrained in mind let him be,
Let him commit no evil in deed.
These three ways of action let him purify,
And so win the way proclaimed by the Buddhas.

๒๘๒. โยคา เว ชายเต ภูริ
อโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ เทฺวธาปถํ ญตฺวา
ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย
ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ ฯ ๒๘๒ ฯ

ปัญญาเกิดมีได้ เพราะตั้งใจพินิจ
เสื่อมไป เพราะไม่ได้ตั้งใจพินิจ
เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของปัญญาแล้ว
ควรจะทำตนโดยวิถีทางที่ปัญญาจะเจริญ

Indeed from concentration springs wisdom,
Without concentration wisdom wanes.
Knowing this twofold way of loss and gain,
Let him so conduct himself
That wisdom may grow well.

๒๘๓. วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ
วนโต ชายเต ภยํ
เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ
นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว ฯ ๒๘๓ * ฯ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงถางป่า (ราคะ)
แต่อย่าตัดต้นไม้ (จริงๆ) ภัยย่อมเกิดจากป่า (ราคะ)
พวกเธอทำลายป่า และพุ่มไม้เล็กๆ (ราคะ) ได้แล้ว
จักเป็นผู้ไม่มีป่า (ราคะ)

Cut down the forest(of passion) but not real trees,
In the forest(of passion) is danger.
Cut the forest and brushwood(of passion),
Be forestless, O bhikkhus.

* คาถานี้เป็นการเล่นคำ วน กับ นิพฺพน วน แปลว่า ป่าหรือกิเลส
นิพฺพน แปลว่า ไม่มีป่าหรือไม่มีกิเลส อันได้แก่นิพพาน (นิพฺพน>นิพฺพาน)

๒๘๔. ยาวญฺหิ วนโถ น ฉิชฺชติ
อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ
ปฏิพทฺธมโนว ตาว โส
วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริ ฯ ๒๘๔ ฯ

ตราบใดบุรุษยังตัดความกำหนัด
ต่ออิสตรีแม้นิดหน่อยยังไม่ขาด
ตราบนั้น เขาก็ยังคงมีจิตผูกพันอยู่ในภพ
เหมือนลุกโคยังไม่หย่านมติดแม่โคแจฉะนั้น

As long as the brushwood of lust, however small,
Of a man towards a woman is not destroyed,
So long is his mind attached(to existence)
As a sucking calf to its mother-cow.

๒๘๕. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน
กุมุทํ สารทิกํว ปาณินา
สนฺติมคฺคเมว พฺรูหย
นิพฺพานํ สุคเตน เทสิตํ ฯ ๒๘๕ ฯ

จงถอนความรักของตน
เหมือนคนถอนดอกบัวที่เกิดในฤดูสารท
จงเพิ่มพูนแนวทางแห่งสันติ คือ นิพพาน
ที่พระสุคตเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว

Root out your affection
As an autumn lily is plucked.
Cultivate the Path of Peace
Made known by the Blessed One.

๒๘๖. อิธ วสฺสํ วสิสฺสามิ
อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ
อิติ พาโล วิจินฺเตติ
อนฺตรายํ น พุชฺฌติ ฯ ๒๘๖ ฯ

"เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูฝน
เราจักอยู่ที่นี่ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อน"
คนโง่มักคิดเช่นนี้
หารู้อันตรายจะมาถึงตัวเองไม่

'Here shall I live in the rains,
Here in the autumn and in the summer',
Thus thinks the fool, and does not realize
The danger of his own life.

๒๘๗. ตํ ปุตฺตปสุสมฺมตฺตํ
พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
สุตฺตํ คามํ มโหโฆว
มจฺจํ อาทาย คจฺฉติ ฯ ๒๘๗ ฯ

ผู้ที่มัวเมาอยู่ในบุตรและปศุสัตว์
มีมนัสติดข้องอยู่ ย่อมถูกมฤตยูฉุดคร่าไป
เหมือนชาวบ้านที่หลับไหล
ถูกกระแสน้ำใหญ่พัดพา

On children and flocks
Whose mind is attached and set,
Him Death carries away
As a great flood a sleeping village.

๒๘๘. น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย
น ปิตา นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส
นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา ฯ ๒๘๘ ฯ

บุตรก็ป้องกันไม่ได้
บิดาหรือญาติก็ป้องกันไม่ได้
คนเราเมื่อถึงคราวจะตาย
หมู่ญาติก็ป้องกันไม่ได้

No sons are there for protection,
Neither father nor even kinsmen.
For one who is assailed by death
No protection is there found among kinsmen.

๒๘๙. เอตมตฺถวสํ ญตฺวา
ปณฺฑิโต สีลสํวุโต
นิพฺพานคมนํ มคฺคํ
ขิปฺปเมว วิโสธเย ฯ ๒๘๙ ฯ

เมื่อรู้ความจริงข้อนี้แล้ว
คนฉลาดผู้สำรวมในศีล
ไม่ควรชักช้า
ในการตระเตรียมทาง
ไปสู่พระนิพพาน

Thoroughly knowing this fact,
The wise man, restrained in the rules,
Delays not to clear the way
That leads to Nibbana.

ฐิตา:

๒๑. หมวดเบ็ดเตล็ด
MISCELLANEOUS

๒๙๐. มตฺตาสุขปริจฺจาคา
ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร
สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ ฯ ๒๙๐ ฯ

ถ้าเห็นว่า จะได้สุขอันยิ่งใหญ่
ด้วยการสละสุขเล็กๆ น้อยๆ
นักปราชญ์ก็ควรสละสุขเล็กน้อย
เพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่

If fy giving up a slight happiness
One may behold a greater one,
Let the wise man renounce the lesser,
Having regard to the greater.

๒๙๑. ปรทุกฺขูปธาเนน
โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ
เวรา โส น ปริมุจฺจติ ฯ ๒๙๑ ฯ

ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน
โดยการก่อทุกข์ให้คนอื่น
ผู้นั้นมักเกี่ยวพันด้วยเวรไม่รู้สิ้น
ไม่มีทางพ้นทางเวรไปได้

Whosoever wishes his own happiness
Yet inflicts suffering on others-
He is not free from hatred,
Entangled in the tangles of anger.

๒๙๒. ยํ หิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ
อกิจฺจํ ปน กยีรติ
อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ
เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา ฯ ๒๙๒ ฯ

สิ่งที่ควรทำไม่ทำ
กลับทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
อาสวะย่อมเจริญแก่พวกเขา
ผู้ถือตัวและมัวเมาประมาท
(ต่อคาถาที่ ๒๙๓)

What ought to be done is left undone;
What ought not to be done is done,
For those who are naughty and heedless
Corruptions greatly progress.

๒๙๓. เยสญฺจ สุสมารทฺธา
นิจฺจํ กายคตา สติ
อกิจฺจํ เต น เสวนฺติ
กิจฺเจ สาตจฺจการิโน
สตานํ สมฺปชานานํ
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ อาสวา ฯ ๒๙๓ ฯ

(ต่อจากคาถาที่ ๒๙๒)
ส่วนชนเหล่าใด เจริญสติในกายเป็นนิตย์
ไม่ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำเฉพาะสิ่งที่ควรทำเสมอ
สำหรับชนผู้มีสติ สัมปชัญญะพร้อมมูลเหล่านั้น
อาสวะมีแต่จะหมดไป

Those who develop well mindfulness of the body,
who never do what ought not to be done,
And ever do what ought to be done-
of those mindful and reflective ones
Defilements come to extinction.

๒๙๔. มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา
ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย
รฏฺฐํ สานุจรํ หนฺตฺวา
อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ ฯ ๒๙๔ * ฯ

พราหมณ์ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่าขัตติยราชอีกสององค์
ทำลายรัฐ พร้อมทั้งผู้ครองรัฐเสียแล้ว
ย่อมสัญจรไป อย่างไร้ทุกข์

Having slain mother and father,
And two warrior kings,
Having destroyed a country,
With its governor,
Ungrieving goes a brahmana.

* "ฆ่ามารดา" หมายถึง ฆ่าตัณหา
"ฆ่าบิดา" หมายถึง ฆ่าอัสมิมานะ หรือความถือตัว
"ฆ่าขัตติยราชอีกสององค์" หมายถึง ฆ่าสัสตทิฐิ และอุจเฉทิฐิ
"ทำลายรัฐ" หมายถึง ควบคุมอายตนะภายใน และภายนอก
"ผู้ครองรัฐ" หมายถึง นันทิราคะ หรือความกำหนัดยินดี

๒๙๕. มาตรํ ปิตรํ หนฺตฺวา
ราชาโน เทฺว จ โสตฺถิเย
เวยฺยคฺฆปญฺจมํ หนฺตฺวา
อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ ฯ ๒๙๕ * ฯ

พราหมณ์ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา
ฆ่ากษัตริย์ ผู้คงแก่เรียนอีกสององค์
ทำลายทางเดินห้าสายของพยัคฆ์ร้าย
ย่อมสัญจรไป อย่างปลอดภัย

Having slain mother and father,
And two learned kings,
Having destroyed the five ways of a tiger,
Scatheless goes the brahmana.

* "ทางเดินของพยัคฆ์ร้ายห้าสาย" ได้แก่นิวรณ์ ๕
คือ กามฉันท์, พยาบาท, ถินมิทธะ, อุทธัจจะกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา

๒๙๖. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ
สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ
นิจฺจํ พุทฺธคตา สติ ฯ ๒๙๖ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
ผู้รำลึกถึงพระพุทธคุณ
เป็นนิจศีล ทั้งกลางวันกลางคืน
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake
Are the disciples of Gotama
Who ever day and night
Recollect the Buddha's virtues.

๒๙๗. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ
สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ
นิจฺจํ ธมฺมคตา สติ ฯ ๒๙๗ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
ผู้รำลึกถึงพระธรรมคุณ
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake
Are the disciples of Gotama
Who ever day and night
Recollect the Dharma's virtues.

๒๙๘. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ
สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ
สทา สงฺฆคตา สติ ฯ ๒๙๘ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
ผู้ระลึกถึงพระสังฆคุณ
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake
Are the disciples of Gotama
Who ever day and night
Recollect the Sangha's virtues.

๒๙๙. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ
สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ
สทา กายคตา สติ ฯ ๒๙๙ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
ผู้รำลึกถึงสภาพเป็นจริงของร่างกาย
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake
Are the disciples of Gotama
Who ever day and night
Recollect the body's nature.

๓๐๐. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ
สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ
อหึสาย รโต มโน ฯ ๓๐๐ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
ผู้มีใจยินดีในความไม่เบียดเบียน
เป็นนิจศีลทั้งกลางวันกลางคืน
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake
Are the disciples of Gotama
Whose mind ever day and night
Takes delight in harmlessness.

๓๐๑. สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ
สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ
ภาวนาย รโต มโน ฯ ๓๐๑ ฯ

พระสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
ผู้มีใจยินดีในภาวนา
เป็นนิจศีลทั้งกลางวัน กลางคืน
ตื่นดีแล้วเสมอ

Ever well awake
Are the disciples of Gotama
Whose mind ever day and night
Takes delight in meditation.

๓๐๒. ทุปฺปพฺพชฺชํ ทุรภิรมํ
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
ทุกฺโขสมานสํวาโส
ทุกฺขานุปติตทฺธคู
ตสฺมา น จทฺธคู สิยา
น จ ทุกฺขานุปติโต สิยา ฯ ๓๐๒ ฯ

การสละโลกียวิสัยออกบวช ก็ยาก
การจะยินดีในเพศบรรพชิต ก็ยาก
การครองเรือนไม่ดี เป็นทุกข์
การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกัน ก็เป็นทุกข์
ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ก็เป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น ไม่ควรท่องเที่ยวในสังสารวัฏ
และไม่ควรแส่หาความทุกข์ใส่ตน

Hard is th 'going forth'.
Hard is it to delight therein.
Hard is household life.
Ill is association with unequals.
Ill also is to wander in Samsara.
Be therefore no more a wanderer
Nor be a pursuer of suffering.

๓๐๓. สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน
ยโสโภคสมปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ
ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต ฯ ๓๐๓ ฯ

ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
เพียบพร้อมด้วยยศและโภคทรัพย์
ไปประเทศใดๆ ย่อมได้รับความนับถือ
ในประเทศนั้นๆ

He who is full of faith and virtue.
Possessed of repute and wealth-
He is hanoured everywhere.
In whatever land he travels.

๓๐๔. ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ
หิมวนฺโต ว ปพฺพโต
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ
รตฺติขิตฺตา ยถา สรา ฯ ๓๐๔ ฯ

คนดี ย่อมปรากฏเด่น
เหมือนภูเขาหิมพานต์
คนไม่ดี ถึงอยู่ใกล้ ก็ไม่ปรากฏ
เหมือนลูกศรที่เขายิงไปในราตรี

The good shine from far away
Just as the Himalayan peaks.
The wicked are not seen, though near,
Just as an arrow shot at night.

ฐิตา:

๒๒. หมวดนรก
HELL

๓๐๖. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห
อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ
นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ ฯ ๓๐๖ ฯ

คนที่พูดเท็จเสมอ กับคนที่ทำแล้ว
พูดว่า "ฉันไม่ได้ทำ" ตกนรกเหมือนกัน
มนุษย์สองจำพวกนั้น ตายไปแล้ว
มีกรรมชั่วเหมือนกัน ในโลกหน้า

He who always lies goes to hell
And he who denies what he has done.
These tow, the men of base actions,
Share the same destiny in the world to come.

๓๐๗. กาสาวกณฺฐา พหโว
ปาปธมฺมา อสญฺญตา
ปาปา ปาเปหิ กมฺเมหิ
นิรยฺ เต อุปปชฺชเร ฯ ๓๐๗ ฯ

คนนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์มีเป็นจำนวนมาก
ที่ประพฤติชั่ว ไม่สำรวม
คนชั่วเหล่านั้นย่อมตกนรก
เพราะกรรมชั่ว

Clad in the yellow robes,
Ill-behaved and uncontrlooed,
By evil deeds, those evil ones,
Shall go to the realm of woe.

๓๐๘. เสยฺโย อโยคุโฬ ภุตฺโต
ตตฺโต อคฺคิสิขูปํโม
ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ทุสฺสีโล
รฏฺฐปิณฺฑํ อสญฺญโต ฯ ๓๐๘ ฯ

คนทุศีล ไม่สำรวม
กลืนก้อนเหล็กแดงที่ลุกเป็นไฟ
ยังดีเสียกว่าบริโภคข้าว
ที่ชาวบ้านถวาย

Better for an immoral
And uncontrlled person
To eat a red-hot and flaming ball
Than to eat the alms of people.

๓๐๙. จตฺตาริ ฐานานิ นโร ปมตฺโต
อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี
อปุญฺญลาภํ น นิกามเสยฺยํ
นินฺทํ ตตียํ นิรยํ จตุตฺถํ ฯ ๓๐๙ ฯ

คนที่มัวเมา ผิดเมียท่านเป็นนิตย์
ย่อมได้รับเคราะห์ร้าย สี่สถานคือ
หนึ่งได้รับบาป สองนอนไม่เป็นสุข
สามเสียชื่อเสียง สี่ตกนรก

Four misfortunes befll that man
Who, heedless, courts the neighbour's wife:
Aczuisition of demerit is acquired by him,
He has a bad sleep at night,
Ill-repute he, thirdly, gains,
And hell, fourthly, he attains.

๓๑๐. อปุญฺญลาโภ จ คตี จ ปาปิกา
ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิกา
ราฃา จ ทณฺฑํ ครกํ ปเณติ
ตสฺมา นโร ปรทารํ น เสเว ฯ ๓๑๐ ฯ

สถานหนึ่ง ได้บาป
สถานสอง ได้ภพชาติชั่วร้ายในอนาคต
สถานสาม ทั้งคู่มีสุขชั่วแล่นแต่สะดุ้งใจเป็นนิตย์
สถานสี่ พระราชาย่อมลงโทษอย่างหนัก
เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรผิดภริยาของคนอื่น

There is a gain of demerit and evil destiny,
Brief is the joy of frightened couple,
And the king imposes heavy punishment.
Therefore let no man commit adultery.

๓๑๑. กุโส ยถา ทุคฺคหิโต
หตฺถเมวานุกนฺตติ
สามญฺญํ ทุปฺปรามฏฺฐํ
นิรยายูปกฑฺฒติ ฯ ๓๑๑ ฯ

หญ้าคา ที่จับไม่ดี
ย่อมบาดมือได้ ฉันใด
พรหมจรรย์ที่ประพฤติไม่ดี
ย่อมลากลงสู่นรก ฉันนั้น

As Kusa grass when wrongly grasped
Cuts the seizing hand,
So a recluse's life when wrongly handled
Drags one to hell.

๓๑๒. ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ
สงฺกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ
สงฺกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ
น ตํ โหติ มหปฺผลํ ฯ ๓๑๒ ฯ

ทำอะไรหละหลวม
มีข้อวัตรปฏิบัติเศร้าหมอง
ประพฤติพรฟมจรรย์ โดยไม่เต็มใจ
ไม่เป็นไปเพื่อผลอันไพศาล

An act loosely performed,
A vow corruptly observed,
A Holy Life unwillingly lived-
This yields not much fruit.

๓๑๓. กยิรา เจ กยิราเถนํ
ทฬฺหเมนํ ปรกฺกเม
สถิโล หิ ปริพฺพาโช
ภิยฺโย อากิรเต รชํ ฯ ๓๑๓ ฯ

ถ้าจะกระทำ ก็จงกระทำจริงๆ
และพยายามมั่นคงจริงๆ
เพราะเพศบรรพชิตที่หละหลวม
รังแต่จะเกลี่ยธุลีคือกิเลสใส่ตัว

Let one do with all one's might
What ought to be performed.
A loose monastic life stirs up
The dust of passions all the more.

๓๑๔. อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย
ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ
กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ ฯ ๓๑๔ ฯ

ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยเป็นดี
ทำแล้วย่อมเดือดร้อนภายหลัง
มาทำความดีกันดีกว่า
ทำแล้ว ไม่เดือดร้อน

Better left undone is an evil deed,
For it torments one afterwards.
Better done is a wholesome deed,
After doing which one feels no remorse.

๓๑๕. นครํ ยถา ปจฺจนฺตํ
คุตฺตํ สนฺตรพาหิรํ
เอวฺ โคเปถ อตฺตานํ
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
ขณาตีตา หิ โสจนฺติ
นิรยมฺหิ สมปฺปิตา ฯ ๓๑๕ ฯ

เธอจงป้องกันตนให้ดีเหมือนเมืองชายแดน
ที่เขาป้องกันแข็งแรงทั้งภายในภายนอก
เธออย่าปล่อยโอกาสให้ล่วงเลยไปเปล่า
เพราะผู้ที่พลาดโอกาสเมื่อตกนรกย่อมเศร้าโศก

Just as a border city
Is well-guarded within and withourt,
Even so do you guard yourselves.
Do not let slip this opportunity.
For those missing the opportunity grieve,
Having been consigned to hell.

๓๑๖. อลชฺชิตาเย ลฺชชนฺติ
ลชฺชิตาเย น ลชฺชเร
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา
สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๓๑๖ ฯ

ละอายในสิ่งที่ไม่ควรละอาย
ไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย
ผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างนี้
ย่อมไปสู่ทุคติ

Of what is not shameful they are ashamed,
But of the shameful they are not ashamed.
Embracing false views as such,
Those beings go to a woeful realm.

๓๑๗. อภเย ภยทสฺสิโน
ภเย จ อภยทสฺสิโน
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา
สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๓๑๗ ฯ

สิ่งที่ไม่น่ากลัว เห็นว่าน่ากลัว
สิ่งที่น่ากลัว กลับเห็นว่า ไม่น่ากลัว
ผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างนี้
ย่อมไปทุคติ

What is not to be feared they fear,
What is fearsome they fear not.
Embracing false views as such.
Those beings go to a woeful fealm.

๓๑๘. อวชฺเช วชฺชมติโน
วชฺเช จ อวชฺชทสฺสิโน
มิจฺฉาทิฏฺฐิสมาทานา
สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ ฯ ๓๑๘ ฯ

สิ่งที่ไม่มีโทษ เห็นว่ามีโทษ
สิ่งที่มีโทษ กลับเห็นว่าไม่มีโทษ
ผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างนี้
ย่อมไปสู่ทุคติ

They think there is harm where there is none,
And they do not see where harm exists.
Embracing false views as such,
Those beings go to a woeful realm.

๓๑๙. วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
อวฺชชญฺจ อวชฺชโต
สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ ๓๑๙ ฯ

เห็นโทษ เป็นโทษ
เห็นถูก เป็นถูก
ผู้ที่มีความเห็นชอบเช่นนี้
ย่อมไปสู่สุคติ

Perceiving wrong as wrong.
Perceiving right as right,
Beings of such right views
In a blissful realm arise.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version