ผู้เขียน หัวข้อ: ศีลบารมีปฏิบัติ  (อ่าน 2362 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ศีลบารมีปฏิบัติ
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 08:59:45 pm »
ศีลบารมีปฏิบัติ

ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล และสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปขอให้ท่านทั้งหลายรวบรวมกำลังใจของท่าน ตั้งใจสดับการศึกษาใน บารมี ๑๐ เพราะว่า บารมี ๑๐ นี้มีความสำคัญมาก ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเจริญพระกรรมฐานมาสักกี่แสนปีแล้วก็ตาม ถ้าหากว่า บารมี ๑๐ ของท่านยังไม่ครบถ้วน คำว่า พระอริยเจ้า ย่อมไม่มีกับท่าน

ในที่นี้ก็จะต้องเข้าใจคำว่า บารมี เสียก่อน คำว่า บารมี นี่หมายถึง กำลังใจ หมายความว่าท่านทั้งหลายต้องมีกำลังใจทรงความดีทั้ง ๑๐ ประการไว้ในใจครบถ้วนทุกอย่างไม่บกพร่อง คำว่า ทรงความดี นี่ไม่ได้หมายความว่าจำได้ ต้องทำได้ให้จิตทรงอารมณ์เป็นปกติ ขอทบทวนอีกนิดหนึ่ง บารมี ๑๐ ประการคือ
   ๑. ทานบารมี ได้แก่ การให้ทาน
๒. ศีลบารมี คือการทรงศีลให้บริสุทธิ์
๓. เนกขัมมบารมี คือการถือบวช
๔. ปัญญาบารมี คือทรงปัญญารู้เท่าทันตามสภาวะตามความเป็นจริงคือ อริยสัจ ๔
๕. วิริยบารมี คือมีความเพียรไม่ท้อถอย
๖. ขันติบารมี คือมีความอดทน
๗. สัจจบารมี คือมีความจริงใจ
๘. อธิษฐานบารมี คือมีความตั้งใจ

๙. เมตตาบารมี คือมีจิตใจเมตตาปรานี มีความรักในคนและสัตว์เป็นปกติ
๑๐. อุเบกขาบารมี ได้แก่การวางเฉย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดจบก็คือ อุเบกขาบารมี ในที่นี้ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ คือวางเฉยในสังขาร

สำหรับ ทานบารมี ได้พูดกับบรรดาท่านทั้งหลายมาแล้ว หวังว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจพอ ได้โปรดทราบนะ คำพูดทุกอย่างที่ผมพูดไปทุกคำ ผมถือว่าพวกท่านเข้าใจดีพอ และก็ทำได้ด้วย เพราะว่าถ้าหากว่าเราทำไม่ได้ เราก็จะอยู่ในเขตของพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์อะไร เพราะในเขตของพุทธศาสนานั้น ต้องการคนดี ไม่ได้ต้องการคนเลว คำว่าดีในเขตของพระพุทธศาสนาคือต้องทรง บารมี ๑๐ ครบถ้วน สำหรับวันนี้จะพูดถึง ศีลบารมี

http://www.praruttanatri.com/meditation_club/sila/silabody.htm
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีลบารมีปฏิบัติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 09:01:28 pm »
ศีล แปลว่า ปกติ ถ้าเราเป็นฆราวาส ถ้าหากว่าเป็นฆราวาสปกติของ ปุถุชน หมายถึงเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ผู้เข้าถึงไตรสรณาคมน์ กัลยาณชน หมายถึงผู้ทรงฌาน อริยชน ๒ ขั้นแรกหมายถึงพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี อย่างนี้ต้องมีศีล ๕ เป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต้องทรงศีล ๕ เป็นปกติจึงจะชื่อว่าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี สำหรับอารมณ์จิตถ้าเข้าถึงพระอนาคามี ตอนที่เข้าถึงพระอนาคามีนี่จะมีศีล ๘ เป็นปกติ เพราะว่าพระอนาคามีเป็นผู้ตัด กามฉันทะ กับปฏิฆะ อารมณ์แห่งกามารมณ์ ย่อมไม่มีในพระอริยเจ้าระยะนี้คือพระอนาคามี สำหรับพระอรหันต์ไม่ต้องพูดกัน

สำหรับพระภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน ภิกษุสามเณรมีศีลคงที่ แต่มีจิตดีขึ้นเพราะทรงศีลบริสุทธิ์ เป็นอันว่า ศีล แปลว่า ปกติ หมายความว่าคนทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ถ้าไม่ต้องการการขาดทุน หมายถึงว่าเราเกิดมาเป็นคนแล้ว ถ้าตายจากคนกลับไปเกิดเป็นสัตว์นรกหรือว่าไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน หรือว่าเกิดเป็นคนแต่มีสภาวะเท่าเดิม อย่างนี้ถือว่าขาดทุน

ฉะนั้น ปกติของคนจะต้องปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์ ถ้าจะกลับมาเกิดเป็นคนอีกก็ต้องเกิดเป็นคนดีกว่านี้ คำว่าดีกว่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีโภคะมากไปกว่านี้ แต่เนื้อแท้จริงๆ ถ้าปฏิบัติในศีลบริสุทธิ์จะต้องมีโภคสมบัติดีกว่านี้ มีรูปร่างหน้าตาสวยกว่านี้ และต้องมีทุกสิ่งทุกอย่างดีกว่าทั้งหมด คือ

๑. มีอายุยืนยาวตลอดอายุขัย ไม่ป่วยไข้ไม่สบาย และก็ไม่ตายก่อนอายุขัย
๒. มีทรัพย์สินสมบูรณ์บริบูรณ์ ทรัพย์สินทุกอย่างจะไม่มีอันตรายจากไฟไหม้ จากน้ำท่วม จากลมพัด จากโจรผู้ร้าย
๓. คนในปกครองจะอยู่ด้วยดี ไม่มีใครดื้อด้าน อยู่ในโอวาททุกอย่าง
๔. วาจาศักดิ์สิทธิ์ วาจาหอมหวนเป็นที่ปรารถนาในการรับฟังของคนดีทั่วไป อย่าลืมนะผมพูดว่าสำหรับคนดีทั่วไป สำหรับคนเลวไม่ต้องไปคำนึงถึง คนเลวเราจะพูดดีขนาดไหนมันก็เลวขนาดนั้น อย่าไปสนใจ
๕. แล้วก็จะต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีกว่านี้

นี่หมายถึงว่าถ้าเรามีศีลบริสุทธิ์ ทีนี้มาว่ากันถึง ศีลบารมี ความจริงมี ศีลบารมีข้อเดียวก็จะไปนิพพานได้ ถ้าเราฉลาดเหมือนกับที่ผมพูดมาแล้วในทานบารมี ถ้าเรามีทานบารมีเคร่งครัด เราก็จะไปนิพพานได้ ทีนี้ขึ้นชื่อว่าบารมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเราจะสร้างให้ครบถ้วนจริงๆ ก็ต้องอาศัยบารมีอีก ๙ อย่างเข้ารวมตัวกัน แต่ว่าเรื่องนี้ผมพูดไว้แล้วใน บารมี ๑๐ แต่นี่เรามาพูดกันถึงด้านปฏิบัติ ด้านปฏิบัติจำต้องพูดกันละเอียดสักหน่อย เพราะถือว่าการสอนพระกรรมฐานชุดนี้ เป็นกรรมฐานชุดสุดท้าย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการสอน บารมี ๑๐ ก็หมายถึงว่าการสอนให้ท่านเป็น พระอริยเจ้า กันนั้นเอง

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมรู้ตัวผมดีว่า ผมคงไม่มีเวลามานั่งพูดให้ท่านฟังอีกนานนัก เพราะเวลานี้ร่างกายมันกรอบเต็มทนแล้ว ภารกิจก็มาก ขันธ์ ๕ ก็เสื่อมโทรมหนัก อายุขัยมันก็ใกล้จะหมด ฉะนั้น การสอน บารมี ๑๐ ขอให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่า ผมสอนเทกระเป๋า ทั้งนี้หมายความว่า ผมจะตายหรือไม่ตายก็ตาม ถือว่าเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย ในการปฏิบัติของท่านทั้งหลาย

ในการปฏิบัติ บารมี ๑๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อ ศีล เราจะต้องเทียบกันเป็น ๒ ระยะเหมือนกันว่า บารมีต้น หรือ ปรมัตถบารมี ก่อนที่เราจะนึกถึงศีลว่า ทำไมเราจะต้องปฏิบัติในศีลนั้นด้วย การเจริญบารมีเขาคิดกันอย่างนี้นะว่า ทำไมเราจึงต้องมีศีล คนอื่นที่เขาบกพร่องในศีล เขาร่ำรวยเยอะถมไป บางคนที่บกพร่องในศีล เขาเป็นคนมีอำนาจวาสนาบารมี มียศศักดิ์ใหญ่โตก็เยอะถมไป คนที่บกพร่องในศีลอาจจะมีอำนาจวาสนามาก ปกครองคนทั้งประเทศก็ถมไป แต่ว่าเราเป็นคนมีศีลกลับมีอะไรไม่ดีเท่าเขา

ถ้าคิดอย่างนี้ละก็ ขอประทานอภัย โปรดตั้งใจเตรียมตัวไว้ว่าท่านต้องการนรกขุมไหน เตรียมตัวว่าตายคราวนี้เราไปนรกแน่ๆ การปฏิบัติ บารมี ๑๐ เราไม่ได้ปรารภโลกธรรม คือ ไม่ได้ต้องการยศ ไม่ต้องการความร่ำรวย ไม่ต้องการมีอำนาจวาสนาในทางโลกีย์วิสัย เราปฏิบัติในศีลเพราะต้องการความบริสุทธิ์ของใจ

นี่คำว่า ศีล ท่านย่อมรู้กันแล้ว ก็มานั่งดูทีว่า ทำไมคนเราจึงต้องมีศีล ศีลเป็นคุณหรือเป็นโทษ ต้องใช้ปัญญาพิจารณากันหน่อย หรือว่าต้องใช้ปัญญานำหน้าสัญญา คำว่า สัญญา คือความจำ ปัญญา คือความคิด ต้องใช้ปัญญานำหน้าสัญญา ปัญญานั้นความจริงมันนำอยู่แล้ว แสดงว่าสัญญาจะทรงความดีไว้ได้จะต้องมีปัญญาเป็นตัวนำ เราก็มานั่งใคร่ครวญเรื่องศีล โดยเฉพาะ ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ สำหรับ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ จะไม่พูดถึงเพราะว่าพระก็ดี เณรก็ดี ถ้าเณรทรงศีล ๑๐ ไม่ครบ พระทรงศีล ๒๒๗ ไม่ครบ เขาไม่เรียกพระ เขาไม่เรียกเณร เขาเรียก เถน

เถนในที่นี้ใช้นอหนูสะกดแปลว่า หัวขโมย คือขโมยเอาเพศของพระมาใช้ ขโมยเอาเพศของเณรมาใช้ เป็นอันว่าทุกท่านที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้เรียกว่า มนุสสเปโต หรือ มนุสสติรัจฉาโน หมายความว่า ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเปรต ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นสัตว์เดรัจฉาน ตายจากความเป็นมนุษย์ ก็เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน

สำหรับพระเณรต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว ผมจะไม่ปรารภถึง จะวัดศีลสำหรับฆราวาส และพระเณรก็ต้องดูด้วยนะว่าท่านทั้งหลายที่บวชอยู่นี้ มีศีล ๕ บริสุทธิ์หรือเปล่า ที่ผมพบมา ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ในบรรดาพระเณรที่พบ ประกาศตนว่าเป็นคนมีศีล ๒๒๗ แต่ว่าเนื้อแท้จริงๆ ศีล ๕ ไม่ครบ ถ้าศีล ๕ ไม่ครบจะมีศีล ๒๒๗ ได้อย่างไร ก็ถ้าใครไปไหว้คนประเภทนี้ก็ถือว่าไหว้สัตว์นรก ไหว้เปรต ไหว้อสุรกาย ไหว้สัตว์เดรัจฉานนั้นเอง เพราะท่านผู้นั้นตายจากความเป็นคน ไม่มีโอกาสจะได้เกิดเป็นคน ไปตั้งต้นมาจากนรกใหม่

ตอนนี้ก็มาพูดกัน ปรึกษาหารือกัน ว่าศีลมีความสำคัญอย่างไร มาพูดกันถึงศีล ๕ และศีล ๘ เสียก่อน ต้องใช้ปัญญาพิจารณาด้วย ไม่ใช่ว่าจะไปนั่งภาวนาว่า "สีลัง สีลัง สีลัง" อย่างนี้มันเป็นเรื่องนกแก้วนกขุนทอง เพราะพูดตามที่เขาพูด แต่ไม่ใช่ภาษาของเขา เขาไม่รู้เรื่อง บอกให้เขาเรียก "พ่อจ๋า แม่จ๋า" นกแก้วนกขุนทองก็เรียก "พ่อจ๋า แม่จ๋า ขอข้าวกินหน่อย" แกก็พูดขอข้าวกินทั้งวัน ทั้งๆ ที่แกไม่หิว เพราะว่าเขาสอนอย่างนั้น

นักปฏิบัติและนักบวชในพุทธศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าไปนั่งจำแต่ชื่อของศีลหรือนั่งภาวนาแต่ชื่อของศีล มันอาจจะมีผลเป็นฌานสมาบัติได้เหมือนกัน แต่ทว่าถ้าศีลบกพร่อง ฌานสมาบัติมันก็ไม่มี สมาธิเล็กน้อยมันก็ไม่เกิด

นี่ก่อนที่เราจะมาทรงศีลกัน เราจะต้องรู้จักศีลเสียก่อน สำหรับภิกษุสามเณร ถ้าหากเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ท่านบอกว่าทุกคนจะปราศจาก วิปฏิสาร คือความเดือดร้อน พระเณรที่มีความยุ่งๆ ขาดการเคารพนับถือของบรรดาประชาชนทั้งหลาย ก็เพราะว่าเป็นพระเป็นเณรที่ขาดศีลนั่นเอง เป็นชั้นเลวที่สุด พระเณรที่ไม่มีศีลบริสุทธิ์ เขาถือว่าเป็นพระเป็นเณรที่เลวที่สุด ไม่ใช่เป็นพระเป็นเณรที่ดีที่สุด

ท่านที่มีศีลบริสุทธิ์จงคิดว่าเรายังเลวมากเกินไป เพราะความดีของเราทรงไว้ได้แค่กามาวจรสวรรค์เท่านั้น ศีล ๑๐ ก็ดี ศีล ๒๒๗ ก็ดี ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี มันก็เหมือนกัน แต่ถ้าหากว่าถ้าดีไปกว่านั้น จิตทรงศีลบริสุทธิ์ไม่ใช่ไปนั่งภาวนาว่า "สีลัง" ศีลทุกสิกขาบท ทรงอารมณ์จิตบริสุทธิ์ จิตรักษาไว้ได้บริสุทธิ์โดยไม่ละเมิดศีลด้วยเจตนา ในจิตเราคำนึงนึกอยู่เสมอว่า เราจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่าชีวิต จิตคิดถึงศีลเป็นปกติอย่างนี้ จัดเป็นฌานใน สีลานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้เป็นพรหมได้

แต่ว่าสำหรับ ศีลบารมี ในที่นี้ ไม่ต้องการได้กามาวจรสวรรค์ แล้วก็ไม่ได้หมายให้ต้องการพรหมโลก ที่ศึกษา ศีลบารมี เพื่อต้องการเป็น พระอริยเจ้า คือ พระอรหันต์ ฉะนั้น ก่อนที่เราจะนั่งปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ ก็ต้องดูผลของศีลว่า ถ้าเราปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์มันมีความสุขหรือความทุกข์ ถ้าหากว่าปฏิบัติศีลไม่บริสุทธิ์ มันมีความสุขหรือมีความทุกข์ เขาเอาดีกันตรงนี้ ไม่ใช่ไปนั่้งเอาดีอวดศีลกัน ถ้าบวชเข้ามาแล้วก็คุยบอกว่าฉันมีศีล ๒๒๗ ดีไม่ดีแค่ศีล ๕ ก็ยังไม่ครบ ในเมื่อศีล ๕ ไม่ครบจะเอาอะไรมาเป็นศีล ๒๒๗

ปาณาติปาตาเวรมณี

ตอนนี้เราก็มานั่งมองศีล สำหรับพระทุกสิกขาบทอย่าเคลื่อน เรามาดูศีล ๕ กันก่อน ศีล ๕ ท่านว่า ปาณาติปาตาเวรมณี เราจะงดเว้นฆ่าสัีตว์ตัดชีวิต และเบียดเบียนสัตว์ให้ได้รับความลำบาก มานั่งนึกดูว่าพระพุทธเจ้าทำไมบอกอย่างนี้ ที่การไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันมันเป็นผลของความสุข มันไม่ยาก คนที่มีศีลข้อนี้ต้องมีเมตตานำหน้า เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มุทิตา มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยากัน อุเบกเขา มีอารมณ์วางเฉย

นั่นหมายความว่า เราเห็นสัตว์ที่ควรจะฆ่าได้ เราก็ไม่ฆ่าเพราะความรัก เราจะประทุษร้ายก็ไม่ประทุษร้ายเพราะความสงสาร ไอ้เราจะไม่ฆ่าเขา เราจะไม่ทำร้ายเขา ด้วยอารมณ์ของเราไม่มีความอิจฉาริษยาใคร เห็นเขาได้ดีเราก็ไม่อิจฉาเขา เรายินดีกับความดี ถ้าเขาทำเป็นที่ไม่ถูกใจเราก็เฉย คิดว่าเขาจะชั่วก็ให้ชั่วแต่ตัวของเขา เราไม่ชั่วด้วย อันนี้เป็นอารมณ์ของปัญญา อารมณ์ของปัญญาต้องไปล้วงเอา เมตตา ความรัก กรุณาความสงสาร เข้ามาควบ ศีลจึงจะปรากฏ คือในศีลข้อที่ ๑ หรือทุกข้อนั่นแหละ ศีลทุกข้อจะต้องมี พรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน จึงจะมีศีลบริสุทธิ์ นี่เราว่าใน ศีลบารมี เพื่อความเป็นอรหันต์

ทีนี้มาถึง ศีล ข้อที่ ๑ ถ้าเราละเมิดล่ะจะเป็นอย่างไร ถ้าเราปราศจากความเมตตาปรานี เป็นคนใจร้ายประทุษร้ายเขา อยากจะฆ่าเขา ถ้าเราทำกับสัตว์ตัวเล็กๆ มันก็จะต้องหมายถึงเรารอผลชาติหน้า หรือว่าฆ่าสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ มันก็ต้องรอผลชาติหน้า แต่ผลของชาตินี้ที่เรามองไม่เห็นก็คือความเลวของจิต มีอารมณ์อำมหิต มีความโหดร้าย เรามองกันไม่ค่อยเห็น เราจะมองเห็นกันได้แต่เฉพาะที่ต้องทำกับสัตว์ที่สนองเราได้ นั่นหมายความว่า เราจะต้องพบกับคู่ต่อสู้ของเรา

ทีนี้เราก็ลองมาทำกับคนบ้าง ทีแรกเรามีความเมตตา เรามีความรัก เจอะหน้าใครเราก็ยิ้มแย้มแจ่มใสยกมือไหว้ มันของไม่ยากความดี เราอยากจะให้คนไหว้เราไม่ยาก เรายกมือไหว้เขา เขาก็ยกมือไหว้เรา ยิ้มให้เขา เขาก็ยิ้มให้เรา พูดวาจาไพเราะให้เขา เขาก็พูดวาจาไพเราะให้เรา เป็นอันว่าถ้าหากว่าเราทำตามนั้น ลองนึกดู สำหรับตัวเรา ถ้าเขามาทำกับเราอย่างนั้น จิตใจของเราจะมีความรู้สึกยังไง เจอหน้าคน คนไหว้ เจอหน้าคน เขายิ้มให้ เจอหน้าคน เขาพูดจาอ่อนหวาน จิตใจของเรามีความสุขหรือจิตใจของเราจะมีความทุกข์ ตอนนี้ต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดี

มาดูอีกตอนหนึ่ง มาดูลักษณะตรงข้าม ถ้าเราเจอหน้าใคร ใครเขาก็ด่าเรา พบหน้าเขา เขาก็ชกหน้าเรา เป็นอันว่าเราจะมีความรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาด่าเรา ถ้าเรากำลังใจไม่ดีพอ ถ้าไม่ถึงอนาคามี เราก็ไม่ชอบใจ แต่ถ้าเขามาตีเรา มาชกหน้าเรา มาทำร้ายเรา เราก็ไม่ชอบใจเหมือนกัน อารมณ์ประเภทนั้นมันเป็นอารมณ์ของความสุขหรืออารมณ์ของความทุกข์ เราก็จะมองเห็นว่าแม้แต่ศีลข้อที่ ๑ ถ้าเราละเมิดมันก็จะพบความทุกข์อย่างมหันต์

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีลบารมีปฏิบัติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 09:01:52 pm »
แล้วทีนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป เราควรจะเป็นคนมีศีลหรือคนไม่มีศีล เจอะหน้ากันยิ้มเข้าหากันดี หรือบึ้งเข้าหากัน เจอหน้ากันพูดดีเข้าหากัน หรือว่าด่ากันดี เจอหน้ากันต่างคนต่างอ่อนน้อมแสดงความเคารพซึ่งกันและกันดี หรือว่าชกหน้ากันดี ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ท่านก็จะต้องตอบว่า พบหน้ากันยิ้มเข้าหากันนั่นแหละดี หรือว่ามีการอ่อนน้อมซึ่งกันและกันนั่นแหละดี พูดจาอ่อนหวานซึ่งกันและกันนั่นแหละดี นี่เราก็มองเห็นชัดๆ ถ้าเรามีศีลแล้ว อารมณ์ใจก็จะมีความสุข

ศีลจะมาจากไหนได้ต้องไปหาเหตุ การสร้างความดีในพุทธศาสนาต้องมีเหตุและมีผล ไม่ใช่ว่ามานั่งๆ อยู่จะรู้สึกว่ามีศีล ฉะนั้น ตอนเย็นจะให้เปิดพระวินัยให้ฟังกันอยู่เสมอ สำหรับพระจะได้เข้าใจในเรื่องการปฏิบัติ ฉะนั้น ขอท่านผู้ใช้ขยายเสียงตามสาย ตอนเย็นทุกเย็นจะต้องใช้ระเบียบและวินัยทุกวัน อย่าเว้น ที่จะให้ฟังอย่างเดิมไม่ได้หมายต้องการให้เบื่อ เปิดให้ฟังอยู่เสมอก็ไม่แน่ว่าท่านจะปฏิบัติได้ครบถ้วน ถ้ายังอยู่วัดนี้ปฏิบัติวินัยไม่ครบถ้วน ก็วงเล็บไว้ได้ว่าตายลงเอวจี

วันนี้ว่ากันถึงศีลข้อที่ ๑ มันก็ไม่จบ เรามาดูเหตุดูผลว่าการปฏิบัติศีลนี่ดี ดีกว่าละเมิดศีล แล้วทำไมจึงต้องปฏิบัติในศีล มันก็ต้องมานั่งคิดดูว่าชีวิตเราที่เกิดมานี้ ว่ามันจะทรงตัวอยู่ตลอดกาลตลอดสมัยไหม นั่งมองหาความจริงว่า คนที่เขาเกิดมาก่อนเราตายไปบ้างแล้วมีหรือเปล่า แล้วคนที่เกิดมาพร้อมกับเราตายไปบ้างมีหรือเปล่า คนเกิดทีหลังเราตายไปมีบ้างหรือเปล่า ก็ต้องทราบว่ามี

แล้วก็มานั่งดูชีวิตินทรีย์ว่าร่างกายของเรามันแก่เป็นไหม มันป่วยไข้ไม่สบายเป็นไหม แล้วมันตายเป็นไหม เคยคิดถึงความตายบ้างไหม ถ้าหากว่าท่านไม่นึกถึงความตายในแต่ละวัน ก็จัดว่าเป็นคนที่เลวที่สุดในเขตของพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะความตายมีแก่เราทุกขณะลมหายใจเข้าออก เป็นอันว่าวันนี้เรื่องของศีลข้อที่ ๑ ไม่จบเพราะมันหมดเวลา เป็นอันว่าการศึกษาใน ศีลบารมี วันนี้ก็ขอยุติเท่านี้ ฉะนั้น ต่อจากนี้ไปขอให้ท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าท่านจะเห็นว่าเวลานั้นสมควรจะพัก

จากหนังสือเร่งรัดการปฏิบัติ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
ศีล ๕
๑. เว้นจากการทำลายชีวิต
๒. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ศีล ๘
๑. เว้นจากการทำลายชีวิต
๒. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากการร่วมประเวณี
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย 

อุโบสถศีล

ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด

ศีล ๑๐

๑. เว้นจากการทำลายชีวิต
๒. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากการร่วมประเวณี
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากของเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
๘. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
๙. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย
๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน

* สำหรับหัวข้อ ศีล ๒๒๗ จักกล่าวต่อไปโดยละเอียดในหัวข้อ ปาฏิโมกขสังวรศีล ในส่วน ธรรมะคำสอน
จากพจนานุกรมพุทธศาสน์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีลบารมีปฏิบัติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 09:02:28 pm »
ในการขึ้นพระกรรมฐาน ก็คือการสมาทานพระกรรมฐาน เป็นการแสดงว่าจะเข้ามาปฏิบัติในธรรมปฏิบัติ ด้านปรมัตถปฏิบัติในเขตพระพุทธศาสนา เพราะว่าการบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนานี้มี ๓ ขั้นคือ

๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

ในการบำเพ็ญกุศลแต่ละขั้น ย่อมมีอานิสงส์ไม่เสมอกัน แต่ว่าทั้ง ๓ ประการนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทต้องทำควบคู่กันไปเสมอ เช่น ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน อย่างที่ท่านพุทธบริษัทนำเอาสิ่งของทั้งหลายมาถวาย สังฆทาน จัดว่าเป็น ทานมัย การสมาทานศีล จัดเป็น สีลมัย การเจริญพระกรรมฐาน เป็น ภาวนามัย

สำหรับการอานิสงส์ย่อมต่างกันคือ ทานมัย เป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวจรสวรรค์ และก็ เป็นปัจจัยให้เกิดโภคสมบัติมาก ปราศจากความยากจนเข็ญใจ และเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่สนับสนุนให้เข้าสู่พระนิพพานได้เร็ว คือเป็นปัจจัยทำลายความโลภ สีลมัย เป็นการปฏิบัติอุกฤษฏ์ขึ้นมาจาก ทานมัย อันดับหนึ่ง คือมาควบคุมจริยาทาง กาย วาจา และควบคุมใจในอันดับต่ำ ต้องอาศัยมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน จึงจะปฏิบัติ สีลมัย ได้ครบถ้วน ฉะนั้น สีลมัย จึงเป็นปัจจัยกำจัดโทสะ และพยาบาท

ทีนี้ถ้าหากว่าทรง สีลมัย หรืออารมณ์ที่เข้าสูงสุดจัดเป็นอารมณ์ของฌาน ก็จัดว่าสามารถเกิดเป็นพรหมได้ สำหรับ ภาวนามัย นี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำให้ถึงที่สุด ย่อมเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน

๏ ศีล นี่เขาแปลว่าปกติ ทำใจให้มันปกติเสียก่อน ไอ้การคิดจะไปฆ่าเขา ไปลักขโมยเขา แย่งคนรักของเขา โกหกเขา กินเหล้าเมายานี่ใจมันไม่สงบ เราต้องเป็นปกติ และใจเป็นปกติ .. รวมความว่าอันดับแรก ต้องปรับปรุงใจให้มีศีลเสียก่อน ถ้ามีศีลแล้ว อารมณ์ก็สงบจากอารมณ์ชั่ว ถ้าอารมณ์สงบจากอารมณ์ชั่วจิตก็เป็นสมาธิ คืออารมณ์ความดีทรงตัว คำว่า "สมาธิ" นี่เขาแปลว่า การตั้งใจ จะตั้งใจให้จิตมันอยู่ในด้านของความดี ตัวนี้มันก็เป็นสมาธิ สมาธิเกิดเพราะศีลบริสุทธิ์ เมื่อสมาธิมันเกิดขึ้น จิตก็มีความเยือกเย็น ความวุ่นวายของจิตไม่มี เมื่อจิตมีความเยือกเย็น ตัวปัญญามันก็เกิด

๏ การเจริญความดีในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าต้องมี ศีล สมาธิ ปัญญา จะเป็นตัวทำลายเหตุของความทุกข์ ได้แก่ สมุทัย คือทำลาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ท่านบอกต้องใช ้มรรค ๘ มรรค ๘ ย่อลงมาเป็น ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

๏ วิปัสสนาภาวนา จะต้องควบทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา ปัญญานี่เรียก "วิปัสสนาภาวนา" สมาธิเขาเรียก "สมถภาวนา" อย่าไปนั่งเถียงกันนะ คือคนเราจะเจริญวิปัสสนาญาณล้วนน่ะไม่ได้ ไม่มีทาง วิปัสสนาญาณล้วนเป็นการคิดตัดกิเลส ใครคิดตัดกิเลสถ้าไม่มีอารมณ์สมถภาวนาคุมไม่มีผลเลย ที่เขาบอกว่าที่นี่ไม่มีสมถะ ที่นี่มีแต่วิปัสสนาอย่างเดียว ก็จงอย่าเชื่อเลย ไม่มีที่ไหนเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวได้ เพราะว่าอารมณ์ที่คุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่านตัวนั้นแหละสมถะ แต่บางทีท่านผู้ปฏิบัติท่านจะไม่รู้จักเท่านั้นเอง คือ "สมถะ" แปลว่า อุบายเป็นเครื่องสงบใจ

อาการอย่างใดก็ตามที่เราบังคับใจให้มันอยู่ในขอบเขตการพิจารณา อารมณ์ใจที่อยู่ในขอบเขตการพิจารณานั่นคือตัว สมถภาวนา ตัวที่ใช้ปัญญาพิจารณาขันธ์ ๕ หรือสภาวะต่างๆ ให้เกิดความรู้สึกว่า มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็น อนัตตา อันนี้เป็นตัววิปัสสนา มันอยู่คู่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจิตจะทรงตัวอยู่ได้ต้องมีศีลควบคุม ถ้าไม่มีศีลควบคุม จิตจะรวมตัวเข้าเป็นสมาธิไม่ได้เลย
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีลบารมีปฏิบัติ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 09:04:15 pm »
ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกฝ่าย ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทุกวันทุกเวลาให้ พยายามชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์หมดจดด้วยกำลังของศีล นึกดูให้ดีว่า ศีล ที่เราจะต้องศึกษา มีกี่สิกขาบท ฉะนั้นทุกสิกขาบท จะต้องผ่องใสอยู่เสมอ สำหรับพระถ้าสิกขาบทตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ลงมา เวลาก่อนจะนอนก่อนจะหลับก็ควรจะพิจารณาว่า ตั้งแต่เช้าถึงวันเวลานี้มีสิกขาบทใดบ้างที่เราบกพร่อง เมื่อบกพร่องก็ไปแสดงกับเพื่อนพระ คำแสดงกับเพื่อนก็ควรบอกเป็นภาษาไทยดีที่สุด ว่าวันนี้เราละเมิดจิตเราละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งตามที่เราทราบ และขอให้สัญญานับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผมจะไม่ทำอย่างนี้อีก ผมจะไม่พูดอย่างนี้อีก ผมจะไม่คิดอย่างนี้อีก ตั้งจิตไว้ในขอบเขตของ จรณะ ๑๕ ประการ
จรณะ ๑๕

๑. สีลสัมปทา
๒. อินทรียสังวรณ์
๓. โภชเนมัตตัญญุตา
๔. ชาคริยานุโยค
๕. ศรัทธา
๖. หิริ
๗. โอตตัปปะ
๘. พาหุสัจจะ
๙. วิริยะ
๑๐. สติ
๑๑. ปัญญา
๑๒. ปฐมฌาน
๑๓. ทุติยฌาน
๑๔. ตติยฌาน
๑๕. จตุตถฌาน    ถึงพร้อมด้วยศีล คือปฏิบัติในศีลไม่บกพร่อง
สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ
รู้ความพอดีในการกิน รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ คือมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนบริบูรณ์
มีความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า มีความเชื่อมั่นในผลการปฏิบัติ ไม่มีความเคลื่อบแคลงสงสัย
มีความละอายต่อบาป ละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล
มีความเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล
มีความทรงจำของผู้มีสมาธิดีอยู่เป็นปกติ สั่งสมวิชาการต่างๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี
มีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
มีสติสมบูรณ์
มีปัญญารอบรู้ในวิทยาการที่ได้ศึกษา และรู้แจ้งในอริยสัจ
ได้ฌานที่ ๑
ได้ฌานที่ ๒
ได้ฌานที่ ๓
ได้ฌานที่ ๔

คนที่พูดเท็จเสมอและคนที่ได้ทำไปแล้ว
แต่พูดว่าฉันไม่ได้ทำ ก็ตกนรกเหมือนกัน
มนุษย์ทั้งสองจำพวกนี้ ตายไปแล้ว
มีกรรมชั่วติดตัวไปเหมือนกัน ในโลกหน้า    

ผู้ที่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์มีเป็นจำนวนมาก
ที่ประพฤติชั่ว ไม่สำรวม คนชั่วเหล่านั้น
ย่อมตกนรก เพราะกรรมชั่วของตน    

กลืนก้อนเหล็กแดงที่ร้อนลุกเป็นไฟ
ยังดีกว่าการเป็นผู้ทุศีลไม่สำรวม
และบริโภคอาหารบิณฑบาตของชาวบ้าน
หญ้าคาที่จับไม่ดีย่อมบาดมือได้ฉันใด
ชีวิตพรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติไม่ดี
ย่อมดึงลงสู่นรกได้ ฉันนั้น    

ทำอะไรหละหลวม มีข้อวัตรปฏิบัติเศร้าหมอง
ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่เต็มใจ
ปฏิปทาเช่นนี้ไม่เป็นไปเพื่อผลอันไพศาล    

ถ้าจะกระทำ ก็จงกระทำจริงๆ
และพยายามมั่นคงจริงๆ
เพราะเพศบรรพชิตที่หละหลวม
รังแต่จะเกลี่ยธุลีคือกิเลสใส่ตัว

๏ การปฏิบัติตนเพื่อหนีนรก หากต้องการเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวไปนิพพานได้เลย ท่านให้ปฏิบัติตามนี้คือ "ให้รักษาอารมณ์เดิมที่ปฏิบัติในตอนที่ ๑ ไว้ให้คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง และให้ปฏิบัติเพิ่มเติมจาก ศีล ๕ เป็น กรรมบถ ๑๐ ดังต่อไปนี้"

๑. เจริญมรณานุสสติ คือคิดว่าชีวิตเรานี้อาจจะตายวันนี้ไว้เป็นปกติ เมื่อตื่นจากที่นอนตอนเช้ามืด
๒. เมื่อคิดว่าเราอาจจะต้องตาย เราไม่ทำความชั่วในวันนี้ และใช้ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ให้เข้าใจในความดีของท่านจริงๆ ไม่สงสัยต่อไป ยอมรับนับถือท่านด้วยความเคารพด้วยความจริงใจ
๓. รักษากรรมบถ ๑๐ ประการให้ครบถ้วน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีลบารมีปฏิบัติ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2010, 09:05:07 pm »
กรรมบถ ๑๐

กายกรรม ทำทางกาย ๓ ประการ
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นฆ่า และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นฆ่าแล้ว
๒. ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น โดยที่เจ้าของไม่อนุญาติด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นถือเอา และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นถือเอาของเขาแล้ว
๓. ไม่ละเมิดกามารมณ์ในบุตร ภรรยา สามี ของผู้อื่น ไม่ยุคนอื่นละเมิด และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดแล้ว
ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นการปฏิบัติทางกาย ให้ละเว้นโดยเด็ดขาด

วจีกรรม กล่าวทางวาจา ๔ ประการ
๑. ไม่พูดวาจาที่ไม่เป็นความจริง
๒ . ไม่พูดวาจาหยาบคายให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้รับฟัง
๓ . ไม่พูดวาจาส่อเสียด ยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน หรือไม่นินทาคนอื่น
๔ . ไม่พูดจาที่ไม่มีประโยชน์ คือวาจาใดที่พูดไปไร้ประโยชน์จะไม่พูดวาจานั้น
ทั้ง ๔ ประการนี้ จะไม่พูดเองด้วย ไม่ยุให้คนอื่นพูดด้วย และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นพูดแล้วด้วย

มโนกรรม คือการคิดทางใจ ๓ ประการ
๑ . ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตให้ด้วยความเต็มใจ คือไม่คิดลักขโมย ยื้อแย่ง คดโกง เป็นต้น
๒ . ไม่คิดจองล้าง จองผลาญ จองเวร จองกรรม ผู้ใด คือไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นในทุกๆ กรณีนั่นเอง
๓ . มีความเห็นตรงต่อคำสอนพระพุทธเจ้า ไม่มีอารมณ์คัดค้านคำสอนของพระองค์ และปฏิบัติตามจนมีผลตามที่ต้องการ
ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ๓ ประการนี้ไม่คิดเองด้วย ไม่ยุให้ผู้อื่นคิดด้วย และไม่ยินดีเมื่อมีผู้อื่นคิดแล้ว

จากหนังสือหนีนรก หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ. อุทัยธานี

๏ อารมณ์ของความชั่ว คืออารมณ์ที่ชอบทำลายศีลด้วยตัวเอง หรือว่ายุชาวบ้านให้เขาทำลายศีล เมื่อเห็นบุคคลอื่นทำลายศีลแล้วดีใจว่า เขาไม่รักษาศีล ทำลายศีลเสียได้ก็ดี อารมณ์ชั่วอย่างนี้อย่าให้มี เราจะต้องควบคุมว่า เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตัวเอง ศีลของใครมีเท่าไรรู้ไว้ด้วย เราจะไม่คิดยุยง ให้คนอื่นทำลายศีล เราจะไม่ดีใจในเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว

๏ ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ

๏ ตั้งใจกำหนดรักษาศีลจนรักศีลยิ่งกว่าชีวิต โดยกำหนดจิตรักษาศีลโดยมั่นคง อย่านั่งคิดนอนตรองเฉย ๆ ต้องรอการประสบการณ์ด้วย เมื่อประสบการณ์เกิดขึ้นจนคิดว่า นี่ถ้าเป็นในกาลก่อนแต่นี้ ถ้าเหตุการณ์อย่างนี้ปรากฏ เราเห็นจะยั้งใจไม่ไหว แต่นี่ถูกรุกรานขนาดนี้ อารมณ์ใจยังแจ่มใสเสมือนไม่มีอะไรมากระทบใจ ถ้าอารมณ์จิตใจเป็นอย่างนี้ จัดว่าพอใช้ได้แล้ว

๏ เราสมาทานศีลจงตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ อย่าสักแต่ว่าสมาทาน แล้วการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่เฉพาะเวลานี้ ถือว่าการสมาทานศีลครั้งแรกในชีวิต เราก็ต้องรักษากันไปตลอดจนวันตาย อย่างนี้จึงจะชื่อว่าใช้ได้ รวมทั้งพระเณรก็เหมือนกัน การเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ย่อมเป็นปัจจัยตัดความเดือดร้อน เรามีศีลบริสุทธิ์นึกถึงศีลเป็นปกติ พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นผู้เจริญ สีลานุสสติกรรมฐาน

๏ ถ้าจิตของเราทรงอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ ศีลจะบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผล มีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ รู้จักอายความชั่ว เกรงกลัวความชั่ว

๏ เมื่อมีศีลเป็นปกติแล้ว ก็พยายามกำจัดนิวรณ์ ๕ ประการ แล้วทรงฌานตามที่ได้ศึกษา โดยมีพรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์ คอยควบคุมรักษาจิตใจให้ชุ่มชื่น เป็นการประคับประคองศีลและฌานสมาบัติผ่องใสไม่บกพร่อง ระดับของสมาธิที่จะทรงฌาน ทรงญาณให้ดีเด่นบริบูรณ์ไม่่บกพร่องต้องทำอย่างนี้

๏ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะนำให้วางนินทาและสรรเสริญทั้งสองประการเสีย ใครเขาจะว่าอย่างไรก็ช่าง ดูใจของเราว่ามันดีหรือมันชั่ว ดูใจของเราว่ามีพรหมวิหาร ๔ หรือเปล่า ศีล บริสุทธิ์ไหม จิตว่างจาก นิวรณ์ ไหม จิตเราเกาะอยู่ใน ขันธ์๕ ไหม จิตยังหวั่นไหวต่อนินทา และสรรเสริญไหม ถ้าเป็นอย่างนี้เราเลว

๏ นักบวชที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นบัณฑิต ก็คือท่านนักบวชที่ต้องทรงความดี ๓ ประการคือ

๑. อธิศีลสิกขา รักษาศีลบริสุทธิ์
๒. อธิจิตสิกขา ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ฌาน
๓. อธิปัญญาสิกขา มีวิปัสสนาญาณยอมรับนับถือกฎของธรรมดา

แล้วก็มีจิตใจมุ่งปรารถนาอย่างเดียวคือ ความดับไม่มีเชื้อ หมายความว่าดับกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ถึงแม้ว่าท่านจะยังดับกิเลสไม่หมด แต่ยังมุ่งเพื่อการดับกิเลส ปฏิบัติอยู่ในศีลดี สมาธิดี มีจิตใจดี ตามอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ ไม่เมาในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์

การมีศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
การมีศีลเป็นปัจจัยให้มีความเจริญในโภคทรัพย์
การมีศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย

จากหนังสือ รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ. อุทัยธานี

http://www.praruttanatri.com/meditation_club/sila/silabody.htm
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ศีลบารมีปฏิบัติ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2010, 12:24:36 am »
 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม^^
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~