อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > มาลาบูชาครู
แด่เธอ... ผู้รู้สึกตัว โดย หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
ฐิตา:
แล้วให้เราเห็น เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ (การรู้สึก-การจำได้-การปรุงแต่ง-การรับรู้)
เห็นมัน รู้มัน และสัมผัสมัน เข้าใจสิ่งนี้จริงๆเราไม่ต้องสงสัย
บัดนี้ จะเกิด ปีติ (ความยินดี) ขึ้นเล็กน้อย แต่ปีติเป็นอุปสรรคของการปฏิบัติในชั้นสูง เราไม่ต้องสนใจกับปีตินั้น
เราต้องมาดูความคิด นี้คือจุดเริ่มต้นของอารมณ์ปรมัตถ์ของการเจริญสติแบบนี้ของผู้มีปัญญา
ดูความคิดต่อไป จะเกิดความรู้หรือ ญาณ หรือ ญาณปัญญา(ความรู้ของการรู้) ขึ้น
เห็น รู้ และเข้าใจ กิเลส (ยางเหนียว) ตัณหา (ติด, หนัก)
อุปาทาน (ไปยึดไปถือ)
และ กรรม (การกระทำหรือการเสวยผล) ดังนั้นความยึดมั่นถือมั่นจะจืดลง จะหลุดตัวออก จะจางหายไป
เหมือนดังสีที่คุณภาพเสื่อมไปแล้ว ไม่สามารถจะย้อมติดผ้าได้อีก
จะเกิดปีติขึ้นอีก เราต้องไม่สนใจในปีตินั้น ถอนความพอใจและความไม่พอใจออกเสีย
ดูความคิดต่อไป ดูจิตใจที่กำลังนึกคิดอยู่ จะเกิดญาณชนิดหนึ่งขึ้นเห็น รู้ และเข้าใจ
ศีล ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ หรือ
อธิศีลสิกขา (ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัด อบรมในทางความประพฤติอย่างสูงๆ”)
อธิจิตตสิกขา (“ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมในทางจิตเพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง”)
อธิปัญญาสิกขา (“ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมในทางจิต เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูงในทางหลุดพ้นหรือถอนราก”)
ขันธ์ หมายถึง รองรับหรือต่อสู้สิกขา หมายถึง บดให้ละเอียดหรือถลุงให้หมดไป
ฐิตา:
ดังนั้น ศีล (ความเป็นปกติ) เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ
กิเลสอย่างหยาบ คือ โทสะ โมหะ โลภะ ตัณหา อุปาทาน กรรม เมื่อสิ่งเหล่านี้จืดลง
จางลง และคลายลง ศีลจึงปรากฏ
สมาธิ เป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างกลาง คือ ความสงบ
เห็น รู้ และเข้าใจ กามาสวะ (อาสวะ คือ “ความใคร่ ความอยาก”)
ภวาสวะ (อาสวะ คือ “ความเป็น”) และ
อวิชชาสวะ (“อาสวะคือ การไม่รู้”) เพราะกิเลสนี้เป็นกิเลสอย่างกลางซึ่งทำให้จิตใจสงบ
นี้คืออารมณ์หนึ่งของการเจริญสติวิธีนี้ เมื่อเรารู้และเห็นอย่างนี้ เราจะรู้ ทาน (“การ-ให้”)
การรักษาศีลและกระทำกรรมฐาน (“การภาวนา”)ทุกแง่ทุกมุมแล้ว
ญาณปัญญา จะเกิดขึ้นในจิตใจ ฯลฯ
จบอารมณ์ของการเจริญสติวิธีนี้ มันจะเป็นอย่างมหัศจรรย์และยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งมีอยู่ในจิตใจของคนทุกคนไม่ยกเว้น ถ้าเรายังคงไม่รู้เดี๋ยวนี้ เมื่อใกล้จะหมดลมหายใจ เราต้องรู้อย่างแน่นอนที่สุด ผู้ที่เจริญสติ เจริญปัญญามีญาณจะรู้ ส่วนผู้ที่ไม่เคยเจริญสติ เจริญปัญญา เมื่อใกล้จะหมดลมหายใจมันจะเป็นอย่างเดียวกัน แต่เขาไม่รู้ เพราะว่าเขาไม่มีญาณรู้อย่างแจ่มแจ้ง และเห็นอย่างแท้จริง มิใช่เป็นเพียงการจำหรือการรู้จัก รู้ด้วยญาณปัญญาของการเจริญสติที่แท้ สามารถรับรองตัวเองได้
กล่าวกันว่าเมื่อถึงที่สุดแล้ว ญาณย่อมเกิดขึ้น ให้ระมัดระวังความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น
ให้รู้สึกตัวของเธอเองอย่าได้ยึดติดในความสุขหรือสิ่งใดๆ ที่เกิดขึ้น
ความสุขก็ไม่เอา ความทุกข์ก็ไม่เอา เพียงกลับมาทบทวนอารมณ์บ่อยๆ จากรูป-นาม จนจบทีละขั้นๆและรู้ว่าอารมณ์มีขั้นมีตอน
แน่นอนทีเดียว ถ้าเธอเจริญสติอย่างถูกต้อง การปฏิบัติอย่างนานที่สุดไม่เกิน ๓ ปี อย่างกลาง ๑ ปี
และอย่างเร็วที่สุด ๑ วัน ถึง ๙๐วัน เราไม่จำต้องพูดถึงผลของการปฏิบัตินี้ ความทุกข์ไม่มีจริงๆ
ฐิตา:
มีการปฏิบัติกรรมฐานต่างๆ อยู่หลายวิธี ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติวิธีต่างๆมาเป็นอันมาก แต่วิธีเหล่านั้นไม่นำไปสู่ปัญญา
บัดนี้วิธีที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นี้คือวิธีที่นำไปสู่ปัญญาโดยตรง ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ถ้าเขารู้วิธีการอย่างถูกต้อง เมื่อปัญญาเกิดขั้นเขาจะรู้ เห็น และเข้าใจด้วยตัวของเขาเอง ดังนั้นวิธีของการพลิกมือขึ้นและลงนี้ คือวิธีสร้างสติ เจริญปัญญา
เมื่อมีการปฏิบัติอย่างทั่วถึงโดยตลอดแล้ว มันก็จะสมบูรณ์และเป็นไปเอง
ทุกคนสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ยกเว้น ไม่ว่าเขาจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่ว่าเขาจะทำงานอะไร ไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาไหน เขาสามารถปฏิบัติได้ทุกคนมีร่างกายและจิตใจ ร่างกายคือวัตถุที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตา เราอาจเรียกมันว่ารูป แต่จิตใจเราไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา เราไม่สามารถสัมผัสด้วยมือเราอาจเรียกมันว่า นาม ทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวกัน
เมื่อเราสร้างสติ เจริญสติ ปัญญาจะเกิดขึ้นและรู้ด้วยตัวของมันเองเพียงแต่ให้สิ่งที่มีอยู่แล้วได้เติบโตงอกงามขึ้น สิ่งที่ไม่เป็นจริงเราไม่ต้องทำมันขึ้นมา เมื่อเรารู้รูป-นาม เรารู้ทุกสิ่งและเราสามารถแก้ทุกข์ได้จริงๆ
ยกตัวอย่างเช่น เราจะไม่ยึดติดใจสมมุติ เมื่อรู้สิ่งนั้นแล้ว เราปฏิบัติความรู้สึกตัวให้มากขึ้นเคลื่อนไหวมือดังที่ข้าพเจ้าแนะนำเธอ บัดนี้ทำให้เร็วขึ้น ความคิดเป็นสิ่งที่เร็วที่สุด มันเร็วยิ่งกว่ากระแสไฟฟ้า
ฐิตา:
เมื่อสติปัญญาเพิ่มขึ้น มันจะรู้ เห็นและเข้าใจโทสะ โมหะ โลภะ
เมื่อเรารู้มัน ทุกข์ในจิตใจจะลดลง
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดและคิดว่า โทสะ โลภะและโมหะ เป็นสิ่งปกติ
แต่ผู้รู้กล่าวว่า โทสะ โมหะ โลภะ เป็นทุกข์ เป็นของน่าเกลียดสกปรก
ดังนั้นเขาจะไม่ให้สิ่งนั้นมาเข้าใกล้นี้เรียกว่า การรู้ชีวิตจิตใจของตนเองซึ่งมีความสะอาด สว่างและสงบ
เมื่อเรารู้จุดนี้ มันจะเกิดศักยภาพอันยิ่งใหญ่เหมือนดังลำธารสายเล็กๆ ไหลลงกลายเป็น แม่น้ำใหญ่
ดังนั้น วิธีของการปฏิบัติคือ มีความรู้สึกตัวมากขึ้นๆ รู้อิริยาบถของร่างกาย
และการเคลื่อนไหวเล็กๆ เช่น กะพริบตา เหลียวซ้ายแลขวาหายใจเข้าและหายใจออก
การเคลื่อนไหวทั้งหมดเหล่านี้สามารถเห็นได้ด้วยตา แต่เราไม่อาจเห็นความคิดด้วยตาได้
เราเพียงสามารถรู้และเห็น ด้วยสมาธิ สติปัญญา สมาธิที่ข้าพเจ้ากำลังพูดถึงอยู่นี้
มิใช่การนั่งหลับตา สมาธิ หมายถึงการตั้งจิตใจเพื่อให้รู้สึกถึงตัวของเราเอง
เมื่อเรามีความรู้สึกตัว อย่างต่อเนื่องนี้ เรียกว่า สมาธิ หรืออาจเรียกว่า สติ
เมื่อจิตใจคิดเราจะรู้ความคิดทันที และความคิดจะสั้นเข้าๆ เหมือนดังบวกกับลบ
ถ้าหากจะพูดก็มีเรื่องจะต้องพูดอีกมาก
แต่ข้าพเจ้าประสงค์ให้พวกเธอทั้งหมดปฏิบัติการเคลื่อนไหว ปฏิบัติด้วยตัวของเธอเอง
โดยวิธีของการเคลื่อนไหว ผลจะเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง
การแสวงหาพระพุทธเจ้าก็ตาม แสวงหาพระอรหันต์ก็ตาม
แสวงหา " มรรคผลนิพพาน " ก็ตาม อย่าไป " แสวงหา " ที่ๆ มันไม่มี
แสวงหาตัวเรานี้
ให้เราทำความรู้สึก ตื่นตัว อยู่เสมอนี่แหละจะรู้จะเห็น
Pics by : http://portal.in.th/i-dhamma/pages/10183/
: Google
ข้อความทั้งหมดนี้ได้คัดลอกจากหนังสือ “แด่เธอผู้รู้สึกตัว”
ของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ (พันธ์ อินทผิว)
หน้าที่ ๙๓-๑๑๓ และประวัติของท่าน
พร้อมรายชื่อวัดในสายงานของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ
โดยได้รับอนุญาตจากพระภิกษุฉัตรชัย จันทรสโร
รองประธานมูลนิธิฝ่ายบรรพชิต
ตามหนังสือมูลนิธิ, ลงวันที่ ๒พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่แนบ
http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1129.php
miracle of love
อกาลิโก โฮม บ้านที่แท้จริง agaligo home
สุขใจดอทคอม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version