ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวประวัติ & ธรรมบรรยายท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ฟังออนไลน์  (อ่าน 3441 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

น้อมถวายธรรมทานนี้เป็นพุทธบูชา
'ชีวประวัติอันน่าอัศจรรย์ของ อ.เสถียร โพธินันทะ
https://www.youtube.com/watch?v=9i2rxUHx45Y

ตอน ๑
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1608172316069708&set=a.1608174316069508.1073741965.100006308642013&type=1

ตอน ๒
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1608176289402644&set=a.1413796045507337.1073741846.100006308642013&type=1

ธรรมบรรยาย
ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ
ฟังออนไลน์ได้ที่ ;

http://www.puthakun.org/puthakun/index.php?option=com_content&view=article&id=1129%3A2012-08-31-02-53-55&catid=155%3A2012-08-31-02-48-54&Itemid=182

มีหัวเรื่องดังต่อไปนี้ ;


๐๐๑ ชีวประวัติอาจารย์ เสถียร โพธินันทะ

๐๐๒ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ กำเนิดปรัชญามหายาน

๐๐๓ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ วิวัฒนาการปรัชญามหายาน

๐๐๔ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ หลักของสุญญตา

๐๐๕ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ สุญญาตาในลัทธิมหายาน

๐๐๖ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ อภิธรรมฝ่ายมหายาน

๐๐๗ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ คัมภีร์มหายาน

๐๐๘ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ปรัวญาชิน

๐๐๙ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ พระถังซำจั่ง ตอน 1

๐๑๐ เรื่องเกี่ยวกับมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะพระถังซำจั่ง ตอน 2

๐๑๑ ประวัติพุทธศาสนา ประวัติมนุษยชาติเเละศาสนา

๐๑๒ ประวัติพุทธศาสนา ศาสนาของชนชาติอริยะโบราณ

๐๑๓ ประวัติพุทธศาสนา การตั้งถิ่นฐานเเละศาสนาของชาวอารยัน

๐๑๔ ประวัติพุทธศาสนา เหตุการณ์สมัยพุทธกาล

๐๑๕ ประวัติพุทธศาสนา ปฐมสังคยนา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๑๖ ประวัติพุทธศาสนา ทุติยสังคายนา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๑๗ ประวัติพุทธศาสนา การรุกรานของพวกกรีกเเละพระเจ้าอโศก

๐๑๘ ประวัติพุทธศาสนา ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา

๐๑๙ ประวัติพุทธศาสนา การแผ่ขยายของพุทธศาสนา

๐๒๐ ประวัติพุทธศาสนา การเสื่อมสลายของพุทธศาสนา

๐๒๑ ประวัติพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาลังกาวงศ์

๐๒๒ ปฐมเหตุของโลก โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๓ พุทธศาสนาในอินเดีย ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๓ กำเนิดโลก กำเนิดชีวิต โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๔ พุทธศาสนาในอินเดีย ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๕ พุทธศาสนาในอิหร่าน อินเดีย ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๖ พุทธศาสนาในอิหร่าน อินเดีย ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๗ ลัทธิลังกาวงศ์ในสุวรรณภูมิ ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๘ ลัทธิลังกาวงศ์ในสุวรรณภูมิ ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๒๙ พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ๓ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๐ ศาสนาสมัยอยุธยารัตนโกสินทร์ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๑ พุทธศาสนาในธิเบต โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๒ พุทธศาสนาในประเทศจีน ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๓ พุทธศาสนาในประเทศจีน ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๔ พุทธศิลป์ในประเทศจีน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๕ พระถังซำจั๋ง ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๖ พระถังซำจั๋ง ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๗ พุทธศาสนาในญี่ปุ่น โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๘ นิกายมหายาน ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๓๙ นิกายมหายาน ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๔๐ พระไตรปิฎกมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๔๑ อภิธรรมมหายาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๔๘ วิจัยเวสสันดรชาดก โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๔๙ ตอบปัญหาเรื่องพระเจ้า โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๐ สารพัดปัญหา ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๑ สารพัดปัญหา ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๒ สารพัดปัญหา ๓ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๓ สารพัดปัญหา ๔ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๔ สารพัดปัญหา ๕ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๕ สารพัดปัญหา ๖ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๖ สารพัดปัญหา ๗ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๗ สารพัดปัญหา ๘ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๘ สารพัดปัญหา ๙ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๕๙ สารพัดปัญหา ๑๐ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๐ สารพัดปัญหา ๑๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๑ สุนทรียถาพในพระพุทธศาสนา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๒ พุทธวิธีในการปฏิรูป โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๓ อาการจิต โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๔ ขันธวาที โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๕ สุญญตา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๖ หลักของสุญญตา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๗ ปกติวาที สมยวาที โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๘ ปรปัจจัย โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๖๙ ปฏิจจสมุปบาท ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๐ ปฏิจจสมุปบาท ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๑ ปฏิจจสมุปบาท ๓ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๒ ปฏิจจสมุปบาท ๔ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๓ ตรรกวิทยา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๔ เหตุการณ์ก่อนพุทธปรินิพพาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๕ เหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพาน โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๖ ทุติยสีงคายนา ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๗ ทุติยสีงคายนา ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๘ ประวัติพุทธศาสนา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๗๙ งานพระธรรมฑูต ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๐ งานพระธรรมฑูต ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๑ ปฏิจจสมุปบาท ตอนที่ ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๒ ปฏิจจสมุปบาท ตอนที่ ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๓ ปฏิจจสมุปบาท ตอนที่ ๓ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๔ ปฏิจจสมุปบาท ตอนที่ ๔ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๕ คัมภีร์คถาวัตถุ ตอนที่ ๑   โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๖ คัมภีร์คถาวัตถุ ตอนที่ ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๗ ขันทวาที โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๘ ปกติวาทีสมวายวาที โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๘๙ ไวยทิกวาทะ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๐ การวิจัยเรื่อง พระเวสสันดรชาดก โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๑ ปรปัจจัย โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๒ การตอบปัญหาเรื่องพระเจ้า โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๓ พุทธาคมกัยไสยเวทย์ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๔ เรื่องของพระอินทร์ที่ควรศึกษา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๕ อภินิหารธรรม โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๖ อาการจิต โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๗ โลกธาตุ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๘ ปฐมเหตุของโลก โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๐๙๙ ตักกวิทยา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๐๐ การเวียนว่ายตายเกิด โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๐๑ วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ตอนที่ ๑ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๐๒ วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ตอนที่ ๒ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๐๓ วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ตอนที่ ๓ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๐๔ วิจัยคัมภีร์กถาวัตถุ ตอนที่ ๔ โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๐๕ พุทธศาสนาในเอเซียบูรพาตอนที่ ๑ 

๑๐๖ พุทธศาสนาในเอเซียบูรพาตอนที่ ๒

๑๐๗ พุทธศาสนาในจีน ตอนที่ ๑

๑๐๘ พุทธศาสนาในจีน ตอนที่ ๒

๑๐๙ พุทธศาสนาในธิเบต บรรยายธรรม โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๑๐ พุทธศาสนาในญี่ปุ่น บรรยายธรรม โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๑๑ พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ

๑๑๒ พุทธศาสนาในประเทศไทย

๑๑๓ สุนทรียภาพในพระพุทธศาสนา

๑๑๔ พุทธวิธีในการปฎิรูป  โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๑๕ บรรยายธรรมสารพันปัญหา โดยอาจารย์เสถียร โพธินันทะ

๑๑๖ สารพันปัญหาธรรม ๐๑

๑๑๗ สารพันปัญหาธรรม ๐๒

๑๑๘ .สารพันปัญหาธรรม ๐๓

๑๑๙ สารพันปัญหาธรรม ๐๔

๑๒๐ สารพันปัญหาธรรม ๐๕

๑๒๑ สารพันปัญหาธรรม ๐๖

๑๒๒ สารพันปัญหาธรรม ๐๗

๑๒๓ สารพันปัญหาธรรม ๐๘

๑๒๔ สารพันปัญหาธรรม ๐๙

๑๒๕ สารพันปัญหาธรรม ๑๐

๑๒๖ สารพันปัญหาธรรม ๑๑

๑๒๗ สารพันปัญหาธรรม ๑๒

น้อมถวายธรรมทานนี้เป็นพุทธบูชา'
>>> F/B พุทธ 3 มิติ(ลึก_กว้าง_สูง) : Budhism 3 Dimension
        โพธิ นิรันดร์ยะภาค
        5 มีนาคม เวลา 1:48 น.

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
ชิเน กทริยํ ทาเนน


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
อาจารย์เสถียร โพธินันทะ บุคคลของพระพุทธศาสนา 
ปองพล อิทธิปรัชาบุ  รวบรวม
คัดลอกจาก http://buddhism.hum.ku.ac.th/book/bodhinanta.htm

ในบรรดาบุคคลผู้เป็นฆราวาส ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์แห่งวงการศาสนานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ หากนับที่คุณสมบัติก็คงไม่มีผู้ใดเป็นเลิศเกินกว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ด้วยท่านผู้นี้เป็นอุดมบุรุษที่น่าอัศจรรย์ในหลาย ๆ ด้าน สมบูรณ์พร้อมทั้งความสามารถและสติปัญญาจนกระทั่งได้ชื่อว่าเป็น “ปราชญ์ในวงการศาสนา” และ “ตู้พระไตรปิฎกเคลื่อนที่” เมื่อมีอายุเพียง ๑๙ ปีเท่านั้น อีกทั้งยังมีความรู้แตกฉานในสรรพวิทยาการหลายหลาก สามารถอ่านและพูดได้ถึง ๗ ภาษา เป็นคนหนุ่มที่มีปัญญาลึกล้ำดั่งมหาสมุทรจนเป็นที่ยกย่องของบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ยังเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมอย่างผู้ที่บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น แม้ว่าท่านจะได้ถึงแก่กรรมไปนานสามสิบปีเศษแล้ว แต่เกียรติคุณและผลงานยังคงอยู่เป็นมรดกให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึงอยู่เสมอ

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่บ้านในตรอกอิศรานุภาพ บริเวณตลาดเก่าเยาวราช ใกล้ ๆ กับวัดกันมาตุยาราม แขวงสัมพันธวงศ์ บิดาเป็นชาวจีนชื่อนายตั้งเป็งท้ง มารดาชื่อนางมาลัย กมลมาลย์ มีพี่สาวสองคน ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อมารดาตั้งครรภ์อาจารย์เสถียร บิดาก็มีเหตุจำเป็นต้องเดินทางกลับไปประเทศจีนและได้ถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา

ด้วยอาศัยที่มารดาเป็นคนดีมีความรู้ความสามารถ ได้ปกครองดูแลร้านค้าที่มีอยู่สืบต่อมา ร้านค้าของบิดามารดาอาจารย์เสถียรชื่อ “ท.วัฒนา” หรือ “ตั้งท่งฮวด” เป็นร้านค้าปลีกและส่งของชำ รวมถึงเครื่องกระป๋องที่มีกิจการเจริญรุ่งเรืองดีร้านหนึ่งในตลาดเก่า นับแต่สิ้นสามี มารดาอาจารย์เสถียรก็สามารถปกครองและอำนวยร้านค้าให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา ทั้งยังเลี้ยงดูบุตรธิดาให้มีความสุขความเจริญตามสมควรแก่ฐานะ ต่อมาเมื่อบุตรสาวทั้งสองคนเจริญวัยก็ได้แต่งงานและแยกครอบครัวออกไป คงเหลือแต่อาจารย์เสถียรและมารดากับคุณยายอีกคนหนึ่ง ต่อมาไม่นานคุณยายผู้ชราก็ได้ถึงแก่กรรมไป

ในวัยเด็ก เด็กชายเสถียรใช้นามสกุลว่า “กมลมาลย์” ตามมารดา จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่อมีอายุได้ ๒๐ ปี จึงได้เปลี่ยนนามสกุลตนเองเป็น “โพธินันทะ” อันหมายถึงผู้ยินดีในความรู้แจ้ง ด้วยประสงค์จะให้ใกล้ชิดกับพระศาสนาและได้ใช้นามสกุลนี้ตลอดมาจนถึงแก่กรรม
เมื่อมีอายุพอจะรับการศึกษาได้ มารดาจึงได้นำไปฝากให้เรียนในโรงเรียนราษฎรเจริญของครูชม เปาโรหิตย์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับวัดจักรวรรดิราชาวาส หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุขจนจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ ๕ จึงได้ลาออก

การลาออกทั้งที่มีโอกาสและทุนทรัพย์พอที่จะศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้นั้น เป็นความประสงค์ของอาจารย์เสถียรเองที่ต้องการความเป็นอิสระ และปรารถนาจะมีเวลาทำการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ที่ต้องการด้วยตนเอง โดยเฉพาะความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่

ประวัติชีวิตในช่วงนี้ นายแพทย์ตันม่อเซี้ยงได้เล่าว่า “คุณเสถียรเริ่มรู้จักกับข้าพเจ้าเมื่ออายุ ๑๕ ปี ครั้งนั้นคุณเสถียรกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนวัดบพิตรพิมุข เป็นเด็กฉลาดเฉียบแหลม มีปฏิภาณดีมาก และมีความจำยอดเยี่ยมด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่คุณเสถียรได้รู้จักคุ้นเคยกับอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ แต่ครั้งยังอุปสมบทอยู่ที่วัดกันมาตุยาราม ซึ่งคุณเสถียรได้ศึกษาหาความรู้ทางพระพุทธศาสนาเถรวาทจากอาจารย์ท่านนี้ เพียงระยะเวลาไม่นานก็มีความรู้ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทั้งนี้ได้จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเยี่ยมท่านหนึ่ง ประกอบกับสติปัญญาอันเฉียบแหลมของคุณเสถียรเองด้วย”

จากคำบอกเล่าของนายแพทย์ตันม่อเซี้ยง ทำให้เราได้ทราบว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ มีความใฝ่ใจในทางพระศาสนามาแต่เยาว์วัย นอกจากนี้ยังมีเกร็ดประวัติโดยคุณบุญยง ว่องวานิช อีกว่า “ข้าพเจ้าเคยถามคุณแม่ (คุณมาลัย) ของคุณเสถียรว่า เพราะเหตุไรคุณเสถียรจึงสนใจในพระพุทธศาสนาและเริ่มตั้งแต่อายุเท่าไร ? คุณแม่ตอบว่า สาเหตุนั้นไม่ทราบ แต่สนใจมาแต่เล็กแต่น้อย เมื่ออายุประมาณ ๓ ขวบ ก็เริ่มนำดอกไม้ธูปเทียนไปไหว้พระแล้ว และสนใจศึกษาเรื่อยมา”

มีเรื่องเล่าว่าในสมัยเด็ก เมื่ออยู่ในที่แวดล้อมเป็นคนจีนเด็กชายเสถียรก็ชอบเล่นแต่งกายเป็นพระจีน การวาดเขียนที่ชอบมากคือเขียนรูปพระพุทธเจ้าและรูปบุคคลประกอบเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา เมื่ออายุได้ ๑๓–๑๔ปีก็ชอบท่องเที่ยวไปตามวัดต่าง ๆ ทั้งวัดจีน วัดญวน และวัดไทย วัดไทยที่ชอบไปคือวัดจักรวรรดิราชาวาสเพื่อไปสนทนาไต่ถามเรื่องราวต่าง ๆ ทางศาสนากับพระสงฆ์ โดยเฉพาะวัดจีนและวัดญวนนั้นชอบไปดูพิธีทิ้งกระจาด การทำกงเต๊ก และการสวดมนต์ เด็กชายเสถียรรู้ดีว่าพระจีนพระญวนรูปไหนทำพิธีเก่ง ทำท่ามุทรา ได้งดงามมาก นอกจากนั้นการออกเสียงในภาษาจีนและภาษาญวนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างไร เช่น “โพธิสัตว์ มหาสัตว์” ออกเสียงจีนว่า “พู่สัก ม่อฮอสัก” หรือคำว่า “สารีบุตร” ออกเสียงภาษาญวนว่า “ช้าเหล่ยพัก” เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เด็กชายเสถียรล้วนจดจำได้ดี

เนื่องจากยังไม่ได้เรียนหนังสือจีน เพียงแต่พูดได้อย่างเดียว จึงยังอ่านหนังสือจีนไม่ออก เด็กชายเสถียรได้ศึกษาความรู้เรื่องพระพุทธศาสนามหายานจากหนังสือลัทธิของเพื่อน ของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป แต่ก็รู้จักใช้ถ้อยคำสำนวนได้ถูกต้องตามหลักวิชา ประกอบกับมีความจำเป็นเลิศจึงจดจำเรื่องราวที่อ่านไว้ได้มาก สามารถอธิบายรูปปฏิมาต่าง ๆ ในวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ได้ถูกต้องและถี่ถ้วน ยิ่งกว่านั้นการซักถามพระจีนพระญวนที่มีความรู้โดยละเอียดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้มีความรู้ในเรื่องของจีนและญวนแตกฉานขึ้น

ภายหลังจบชั้นมัธยมปีที่ห้าแล้ว จึงได้เข้าศึกษาภาษาจีนที่โรงเรียนเผยอิง ชั่วเวลาเพียงสองปีก็มีความรู้ภาษาจีนแตกฉาน สามารถใช้ศัพท์สูง ๆ ยาก ๆ ในภาษาจีนกลางได้ดี สามารถอ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาจีนซึ่งอุดมไปด้วยสำนวนโวหารโบราณที่ลึกซึ้งได้อย่างเข้าใจ ทักษะทางด้านภาษาจีนนี้ถือเป็นอัจฉริยภาพอีกประการหนึ่งของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ซึ่งในเวลาต่อมาเรื่อง

ความรู้ความสามารถในภาษาจีนกลางและความรู้ทางพุทธศาสนามหายานของอาจารย์เสถียรได้ลือเลื่องไปถึงไต้หวัน ดังปรากฏเรื่องเล่าว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงไม่นานนัก รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนอพยพไปยังเกาะไต้หวันใหม่ ๆ ทางไต้หวันประสงค์จะทราบถึงประวัติวัดสำคัญบนเกาะไต้หวันวัดหนึ่ง แต่ไม่มีใครทราบประวัติแน่นอน จึงได้มีจดหมายมาถามอาจารย์เสถียร และอาจารย์ก็ได้บอกประวัติของวัดนั้นไปให้โดยละเอียด นอกจากนี้ “เมื่อมีพระจีนเดินทางมาและแสดงธรรมกถาเป็นภาษาจีน นายเสถียร โพธินันทะ ก็แปลเป็นไทย เมื่อจะติดต่อกับใคร นายเสถียรก็แปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนกลางให้ฟังอีกต่อหนึ่ง ที่เล่าลือกันมากก็ในข้อที่ว่าพูดสำเนียงจีนกลางได้เหมือนคนปักกิ่ง”

จากข้อเขียนของนายแพทย์ตันม่อเซี้ยงได้เล่าว่า “เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าไปแสดงปาฐกถาที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณเสถียรได้ทำหน้าที่ล่ามให้ถึง ๓ ครั้ง ครั้งแรกคุณเสถียรมีอายุเพียง ๑๗ ปีเท่านั้น แต่ก็สามารถถ่ายทอดคำปาฐกถาจากภาษาจีนสู่พากย์ไทยได้อย่างดียิ่ง สามารถแปลได้ถูกต้องและครบถ้วนตามเจตจำนงของข้าพเจ้าทุกกระบวนความ คุณเสถียรได้แสดงความเป็นปราชญ์ให้เป็นที่ปรากฏแก่คนทั้งหลายแต่เยาว์วัยทีเดียว และได้แสดงปาฐกถาด้วยตนเองครั้งแรกที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเมื่ออายุ ๑๘ ปี”

ดังได้กล่าวมาแล้วว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ มีความจำเป็นเลิศมาแต่วัยเยาว์ เมื่ออ่านหนังสือหรือนวนิยายอะไรก็สามารถเล่าได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ในขณะที่เป็นนักเรียนอยู่เพื่อน ๆ จึงชอบตีวงล้อมฟังเด็กชายเสถียรเล่านิทานและเรื่องราวต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน กระทั่งเมื่อ “ยาขอบ” แต่งเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ลงพิมพ์ในสมัยนั้น เด็กชายเสถียรก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความสามารถเล่าเรื่องผู้ชนะสิบทิศตามสำนวนของยาขอบได้ดีอย่างแทบไม่น่าเชื่อ เมื่อไปที่บ้านไหนที่มีเด็กมาก ๆ จึงมักถูกขอร้องให้เล่าเรื่องต่าง ๆ จากหนังสือที่ได้อ่านมาให้ฟัง และเป็นที่ถูกอกถูกใจกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้เกียรติคุณด้านปาฐกถาของอาจารย์เสถียรเลื่องลือมาตั้งแต่อายุยังน้อย เริ่มต้นจากการเป็นผู้มีวาทศิลป์ในการเล่าเรื่อง จนถึงได้แสดงปาฐกถาอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นสู่การเป็นนักปาฐกถาธรรมในเวลาต่อมา

ความสามารถในการปาฐกถาและการเขียนของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ นี้ เป็นผลมาจากความใฝ่รู้ ชอบการศึกษาค้นคว้า และที่สำคัญที่สุดก็คือการเป็นนักอ่านมาแต่เยาว์วัย ในสมัยยังเป็นเด็กนักเรียนได้ประหยัดเงินค่าขนมที่มารดาให้เพื่อไปซื้อหนังสืออ่าน และการอ่านของอาจารย์เสถียรก็ไม่ใช่อ่านนิทานอย่างเด็ก ๆ จะพึงสนุก เพราะอ่านแล้วจำได้เข้าใจยิ่งขึ้นทุกที

อาจารย์เสถียรได้สะสมหนังสือประเภทที่เกี่ยวกับวิชาความรู้ไว้มาก ทั้งทางศาสนา วรรณคดี และประวัติศาสตร์ เช่น หนังสือประวัติศาสตร์พม่าที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนิพนธ์ไว้ก็มีครบชุด หนังสือทางพุทธศาสนาอย่างพระไตรปิฎกฉบับแปลของโรงพิมพ์พิมพ์ไทก็ได้ซื้อไว้ตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน นอกจากนี้ยังมีหนังสือฉบับแปลจาก The Thai Rase ของหมดดอดจ์ พระราชพงศาวดาร ศิลาจารึก แทบทุกเล่มที่พอจะหาซื้อได้ กล่าวกันว่าหนังสือบางเล่มที่หายากก็ตามไปซื้อถึงหอพระสมุดแห่งชาติเลยทีเดียว

มีผู้ยกย่องว่า อาจารย์เสถียร โพธินันทะ เป็นนักประวัติศาสตร์ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะหนังสืออีกประเภทหนึ่งที่ท่านชอบมาตั้งแต่เด็กคือเรื่องประวัติศาสตร์ แม้จะเป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจ แต่อาจารย์เสถียรกล่าวว่าท่านอ่านได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินที่สุด ใครอ่านหนังสือตำราประวัติศาสตร์เล่มหนา ๆ กินเวลาหลายวัน แต่เด็กชายเสถียรจะใช้เวลาเพียง ๒-๓ ชั่วโมงเท่านั้นก็อ่านจบแล้วเล่าเรื่องได้ตลอด ถ้าตรงส่วนไหนชอบมากก็จะอ่านซ้ำ ๆ จนขึ้นใจหรือท่องจำเอาไว้เลย ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ไทยยุคไหน ตั้งแต่สมัยน่านเจ้า สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ เมื่อเล่าประวัติศาสตร์สมัยไหนก็คล้ายตนเองได้เกิดและได้พบเห็นเรื่องราวนั้นด้วยตนเอง เป็นเหตุให้ผู้ฟังปาฐกถาในระยะหลัง ๆ มักจะรู้สึกอัศจรรย์ไปตาม ๆ กันว่าเหตุไฉนจึงจำได้แม่นยำนัก ความจำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เหล่านี้สืบมาแต่สมัยที่ยังเป็นเด็กเป็นส่วนมาก

อย่างไรก็ตาม ลำพังการจดจำประวัติศาสตร์ไทยได้ละเอียดละออ ก็อาจจะดูไม่น่าแปลกใจนักเพราะถึงอย่างไรก็เป็นเรื่องของชาติตนเอง ทว่าที่น่าอัศจรรย์ไปกว่านั้นก็คือเด็กชายเสถียรยังจดจำประวัติศาสตร์ยุโรปตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน หรือเรื่องของอียิปต์ บาบิโลเนียน จนถึงประวัติศาสตร์จีนและอินเดียซึ่งมีเนื้อหากว้างขวางที่สุด ทั้งยังสามารถลำดับเรื่องราวประวัติศาสตร์พม่าตามพระราชพงศาวดารได้ถี่ถ้วน จดจำลำดับราชวงศ์กษัตริย์และเหตุการณ์ได้ตรงตามรายละเอียดในตำราทุกอย่าง นอกจากนี้ยังจำประวัติศาสตร์ญวน ทั้งชื่อกษัตริย์และขุนนางญวนตามลำดับเหตุการณ์ได้อย่างแทบไม่น่าเชื่อ ทั้งที่ชื่ญวนนั้นออกเสียงยากมาก เรื่องราวเหล่านี้เด็กชายเสถียรสนใจจำได้มาตั้งแต่ก่อนออกจากโรงเรียนวัดบพิตรพิมุขแล้ว

ในช่วงเรียนอยู่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุขอาจารย์เสถียร โพธินันทะ มีโอกาสได้พบกับปราชญ์สำคัญทางพุทธศาสนาของไทยอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ หรืออดีตพระสุชีโว ภิกขุ แห่งวัดกันมาตุยาราม เนื่องจากมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งเป็นศิษย์ของท่านสุชีโว ภิกขุ จึงได้มีโอกาสได้ติดตามไปที่วัดและรู้จักท่านสุชีโวภิกขุจากการแนะนำของเพื่อนคนนั้น จนในที่สุดก็มากลายเป็นศิษย์คอยติดตามสุชีโว ภิกขุไปกิจนิมนต์ต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ประวัติตอนนี้ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (อดีตพระสุชีโว ภิกขุ) ได้เล่าไว้ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพของอาจารย์เสถียรว่า

“วันแรกที่นายเสถียร โพธินันทะ ไปที่วัดกันมาตุยาราม ได้ตั้งปัญหาถามเกี่ยวกับข้อความที่สำคัญในพระสูตรหลายสูตร เช่น โปฏฐปาทสูตร ในฑีฆนิกาย ศีลขันธวรรค และอัคคัญญสูตร ในฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ซึ่งได้ทำความแปลกใจให้แก่ผู้ถูกถามเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กอายุยังน้อย เหตุไฉนจึงมีความรู้ความสนใจในพระพุทธศาสนามากอย่างนั้น ความรู้สึกประทับใจและเอ็นดูในเด็กชายผู้แสดงปรีชาสามารถให้ปรากฏในวันแรกที่ได้พบปะและรู้จักกันนั้น เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ไปหาและผู้ต้อนรับทั้ง ๒ มีความเกี่ยวข้องกันทั้งในทางส่วนตัวและในทางพระพุทธศาสนา จนกระทั่งวาระสุดท้ายที่นายเสถียร โพธินันทะ ได้จากไป…”

เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้ริเริ่มก่อตั้งคณะยุวพุทธิกะ โดยการรวมตัวของเยาวชนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งจากสถานที่ต่าง ๆ กัน ทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัย พ่อค้า ข้าราชการ ที่มีความเห็นตรงกันคือสนใจในพระพุทธศาสนา และต่อมาจึงได้จัดตั้งเป็นยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนาที่มีบทบาทสำคัญมาจนทุกวันนี้
เกียรติคุณด้านความรอบรู้ในทางวิชาการพระพุทธศาสนาของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้แผ่ขยายออกไปสู่สังคม เมื่ออายุได้ ๒๓ ปีจึงได้รับเชิญจากสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ให้ไปเป็นอาจารย์ผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์พุทธศาสนา และวิชาพุทธศาสนามหายาน เป็นอาจารย์ที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาการศึกษา ฯ แต่ก็ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดียิ่ง

ในระหว่างที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ อาจารย์เสถียรได้เขียนบทความและหนังสือไว้เป็นอันมาก ซึ่งผลงานเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งต่อวงการศึกษาพุทธศาสนา ที่ใช้เป็นตำราประกอบการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงมาจนทุกวันนี้ หนังสือเล่มสำคัญ ๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา , พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย , ปรัชญามหายาน , พุทธศาสนาในอาเซียกลาง และบทความทั้งสั้นและยาวรวมเล่มอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ หนังสือเมธีตะวันออกของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ก็ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และมีการพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และผลงานสำคัญที่สุดที่ถือได้ว่าเป็นผลงานอมตะคืองานแปลพระสูตรฝ่ายมหายานจากภาษาจีน คือ วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร และ วิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของมหายานที่ “คุณเสถียรได้แปลขึ้นด้วยความวิริยะอุตสาหะ…แต่ก็สามารถถ่ายทอดออกสู่พากย์ไทยเป็นประหนึ่งแปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตฉะนั้น นับว่าเป็นความสามารถอย่างยอดเยี่ยมในตัวคุณเสถียร ซึ่งจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก…” ใครก็ตามที่ได้อ่านย่อมเห็นพ้องต้องกันว่ามีสำนวนโวหารที่ไพเราะ ยังความซาบซึ้งในอรรถรสแห่งภาษาแก่ผู้อ่านได้อย่างดียิ่ง

นอกจากหน้าที่ในการเป็นอาจารย์แล้ว อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ยังเป็นนักปาฐกถาอีกด้วย งานสำคัญที่ปฏิบัติตลอดมาคือการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา และประวัติศาสตร์ และก็เป็นนักปาฐกถาชั้นเยี่ยมที่มีคนนิยมมาก เพราะเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง มีความจำดี ชอบค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งยังชอบขบคิดหรือค้นคว้าเรื่องยาก ๆ เรื่องอะไรที่เห็นว่าสำคัญพอจะท่องจำไว้ได้ก็ท่องจำไว้ทีเดียว และด้วยมีความรู้หลายภาษาจึงสามารถศึกษาได้กว้างขวางลุ่มลึกกว่าผู้อื่น เป็นที่ถูกอกถูกใจแก่บรรดาปัญญาชนผู้ใฝ่หาความรู้ เมื่อมีประกาศทางหนังสือพิมพ์ว่าอาจารย์เสถียรจะไปพูด ณ ที่ใด ก็จะมีคนติดตามไปฟังแน่นขนัดเสมอจนถึงกับต้องเสริมเก้าอี้หรือไม่ก็ยืนตามระเบียงห้องประชุม

งานแสดงปาฐกถานี้เป็นงานที่กระทำต่อเนื่องกว่าสิบปี ทั้งที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย และที่พุทธสมาคมอื่น ๆ หลายแห่ง รวมถึงตามมหาวิทยาลัยคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้รับเชิญเป็นครั้งคราว นอกจากนี้ท่านยังได้เป็นผู้บรรยายตามโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งปรากฏว่าเด็กและเยาวชนให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากท่านรู้จักใช้วิธีการพูดให้เหมาะสมกับวัยวุฒิและคุณวุฒิของผู้ฟัง จึงปรากฏว่าสามารถสื่อสารเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับได้ด้วยดี
ความสามารถทางด้านการพูดนี้ต้องถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของอาจารย์เสถียร โพธิ นันทะ ที่ยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน แม้เรื่องที่พูดจะเป็นเรื่องที่ยากและลึกซึ้งอย่างที่สุด แต่ท่านก็สามารถ

อธิบายขยายความออกมาให้คนทั่วไปได้เข้าใจได้โดยง่าย ในข้อนี้พระนิสิตในชั้นเรียนดูเหมือนจะใกล้ชิดและซาบซึ้งมากที่สุด ดังปรากฏในข้อเขียนไว้อาลัยของพระนิสิตว่า “ทุก ๆ วันเสาร์ของสัปดาห์ เราได้สดับวาทะที่น่าฟังของท่านที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผล อลังการไปด้วยปรัชญาเล็ก ๆ น้อย ๆ ในวันเสาร์หนึ่งเราถามท่านว่า “ทำไมอาจารย์จึงเปรื่องปราดนัก อ่านได้ทั้งภาษาอังกฤษ จีน บาลี ญี่ปุ่น และสันสกฤต” ต่อข้อถามของเรา ทำให้อาจารย์ “พระไตรปิฎกเคลื่อนที่” ยิ้มละไมพร้อมกับพูดออกมาโดยไม่ต้องคิดว่า “ฉันทะตัวเดียวแหละครับ” ถูกล่ะฉันทะตัวเดียว แต่ว่าเมื่อคิดดูแล้ว มันเป็นอิทธิบาทที่ทำให้ท่านผู้นี้กลายเป็นปรัชญาเมธีไปเสียแล้ว พวกเราอยากเรียกท่านว่า “เอนไซโคลปิเดียเคลื่อนที่” มากกว่า เพราะท่านผู้นี้ไม่ใช่รู้เฉพาะเรื่องราวทางศาสนา หากแต่รู้ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา ฯลฯ ด้วย ใครจะโต้มาในเหลี่ยมไหน มุมไหน เป็นต้องจำนนต่อเหตุผลและได้ความกระจ่างกลับไป เข้าในหลักที่ว่า “เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดนั่นเอง”

อีกเรื่องหนึ่งที่เล่าขานกันในหมู่พระนิสิตคือในการสอนแต่ละครั้งของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ไม่ปรากฏว่าจะมีเลยสักครั้งเดียวที่ท่านจะนำตำราหรือเอกสารประกอบการสอนเข้าห้องบรรยาย “เมื่อท่านเข้าห้องบรรยาย เรามักจะได้ยินท่านบอกว่า “กลางกระดาษครับ” หรือ “จดต่อ” ทั้ง ๆ ที่สอนหลายชั้นแต่ก็ไม่เคยฟั่นเฝือ แม้ว่าบางครั้งระยะห่างของการบรรยายจะห่างกันเป็นสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ แต่ก็สอนต่อได้ทันที ไม่เคยมีสักครั้งเดียวที่ท่านจะพกตำราเข้าไปในห้องบรรยาย หากแต่ออกมาจาก “ตู้คือหทัย” ทั้งสิ้น”

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ เป็นผู้ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา และระลึกถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขารเป็นนิตย์ ดูเหมือนว่าท่านจะรู้ตัวว่าคงจะมีอายุไม่ยืนยาว จึงได้ปรารภกับมารดาอยู่เนือง ๆ โดยมารดาท่านเล่าว่าท่านอาจารย์เสถียรพูดอยู่เสมอว่าตนจะถึงแก่กรรมก่อนมารดา เมื่อมารดาแสดงความเป็นห่วงว่าถ้าหากตนถึงแก่กรรมไปก่อน อาจารย์เสถียรคงจะลำบากเพราะไม่ได้สนใจในกิจการของร้านค้าเลย แต่ท่านก็มันใจว่าถึงอย่างไรตนก็จะต้องถึงแก่กรรมก่อนมารดาเป็นแน่นอน

และแล้วก็เป็นดังเช่นวาจาที่ท่านกล่าวไว้ วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๙ อาจารย์เสถียร โพธินันทะได้กลับมาบ้านในเวลา ๒๑.๐๐ น. แล้วอาบน้ำชำระร่างกาย จากนั้นเมื่อเลยเที่ยงคืนไปแล้วจึงได้เข้านอน ถึงวันรุ่งขึ้นในเวลาเช้า เด็กรับใช้ขึ้นไปเรียกเห็นเงียบก็ลงมาบอก มารดาเข้าใจว่ายังหลับอยู่จึงออกไปซื้อของนอกบ้าน จนสายราว ๘.๐๐ น. กลับมาเห็นยังไม่ตื่นจึงได้ขึ้นไปดูเห็นนอนนิ่ง เมื่อเข้าไปดูใกล้ ๆ ก็ตกใจ จึงให้หลานชายไปตามแพทย์มาตรวจ แพทย์สันนิษฐานว่าสิ้นลมมาราว ๖-๗ ชั่วโมงแล้ว

ลักษณะการถึงแก่กรรมของท่านเหมือนคนนอนหลับธรรมดา หน้าตาเปล่งปลั่งมีรอยยิ้มน้อย ๆ ไม่มีร่องรอยว่ามีทุกขเวทนาใด ๆ เลย แม้เมื่อนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดจักรวรรดิราชาวาสแล้วและยังมิได้ปิดฝา ในหัวค่ำวันที่ ๑๐ ธันวาคมนั้น ใคร ๆ ไปเยี่ยมศพก็จะเห็นว่าร่างท่านสมบูรณ์ยังมีหน้าตาเปล่งปลั่งมีเลือดฝาดเหมือนกับคนนอนหลับ แทบไม่น่าเชื่อว่าถึงแก่กรรม นับได้ว่าจากไปด้วยอาการอันสงบ เมื่อนึกถึงคุณความดีของท่านเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ก็น่าคิดว่า บุคคลผู้ทำความดีไว้เช่นนี้ย่อมมีผลดีเป็นผลานิสงส์บ้างเป็นธรรมดา แม้จะสิ้นอายุก็สิ้นไปด้วยอาการอันดีงาม
ภายหลังจากถึงแก่กรรมแล้ว มารดาได้ไปค้นเอกสารในห้องก็พบกระดาษเขียนด้วยลายมือเป็นคำสั่งเสียเรื่องการศพของท่านเอง ดังนี้

“การปลงศพของข้าพเจ้า ขอให้จัดการโดยใช้ฌาปนกิจ เมื่อข้าพเจ้าตายไปแล้ว ๑๕ วัน ระหว่าง ๑๕ วันนั้นขอให้นิมนต์พระมาสวดทุกวัน และถวายภัตตาหารเจ อย่าให้มีของสดคาว และทุกครั้งที่ทำบุญขอให้ตรวจน้ำอุทิศให้ข้าพเจ้าด้วย ให้ปล่อยสัตว์ นก ปลา ฯลฯ ทุกวันจนถึงวันเผา และในวันเผาขอให้บวชพระให้องค์หนึ่งอุทิศกุศลให้ข้าพเจ้า”
กระดาษแผ่นนั้นลงวันที่ไว้ตั้งแต่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๓ ก่อนหน้าวันถึงแก่กรรมถึง ๑๗ ปี อย่างไรก็ตาม ทางคณะเจ้าภาพก็ได้จัดการให้ตามความประสงค์

เมื่อข่าวการถึงแก่กรรมของท่านแพร่สะพัดไป ก็ได้มีพุทธศาสนิกชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตต่างพากันหลั่งไหลไปเยี่ยมที่ตั้งศพทั้งกลางวันกลางคืน มีผู้รับเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลเป็นเจ้าภาพสวด เจ้าภาพบำเพ็ญสัตตมวารอย่างน่าชื่นใจว่าท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะได้รับความอาลัยรัก และความเคารพนับถือเป็นอันมากเพราะคุณความดีซึ่งได้กระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจอย่างแท้จริง จนกระทั่งวันพระราชทานเพลิงศพก็มีผู้รักและอาลัยมาร่วมงานจนกระทั่งบริเวณเมรุวัดเทพศิรินทราวาสคับแคบไปถนัด นอกจากนี้ยังมีผู้พิมพ์หนังสือมาร่วมแจกเป็นที่ระลึกในงานนี้มากกว่า ๑๐ รายโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อนเลย

แม้ว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ จะถึงแก่กรรมไปทั้ง ๆ ที่อายุยังน้อย แต่ช่วงเวลาเพียง ๓๘ ปีในชีวิตของท่าน ได้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและพระพุทธศาสนามากมาย มีน้อยคนนักที่จะทำได้เช่นนี้ คล้ายกับว่าท่านจะรู้ตัวว่าจะมีอายุไม่ยืนยาว จึงเร่งสร้างสรรค์คุณความดีฝากไว้แก่โลก ในยามที่ท่านจากไปจึงมีแต่คนอาลัยรัก
หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล ได้ทรงเขียนความรู้สึกที่มีต่อการจากไปของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ เป็นคำไว้อาลัยว่า

         ในชีวิตอันสั้นของเสถียรนี้ ไม่ได้เสียประโยชน์เลยสักระยะเดียว เพราะเขาได้เรียนมากขึ้นเท่าใด เขาก็ได้ทำงานถวายพระพุทธศาสนาเท่านั้น นับได้ว่าผู้มีอายุเท่าเขาที่ได้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ต่อพระศาสนาเช่นเขานั้นจะหาได้ยากเต็มที เสถียรเป็นคนถวายชีวิตแก่พระพุทธศาสนาจริงพร้อมทั้งกายและใจ ไม่มีการเอาเปรียบไม่มีโอ้อวดเห็นแก่ตัว คนโดยมากจะได้รู้จักแต่งานของเขาโดยที่ไม่เคยเห็นตัวเขาเลย ข้าพเจ้าได้ทราบการตายของเขาจากหมอตันม่อเซี้ยง ด้วยความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่เป็นพุทธแล้วก็คงจะปล่อยอารมณ์ออกมาด้วยการร้องไห้โฮใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะเสียดายคนดีซึ่งหาได้ยาก โดยเฉพาะในเวลาที่โลกกำลังต้องการอยู่อย่างแรงกล้า ทำให้รู้สึกว่าเราชาวพุทธกำลังขาดกำลังไป ๑ แรงแล้ว…
อาจารย์เสถียร โพธินันทะ  เป็นคนดีที่ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จากชีวประวัติของท่านมีสิ่งที่น่าศึกษาและควรยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตหลายประการ พอจะสรุปได้ดังนี้

๑ เป็นคนใฝ่ใจในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ตั้งแต่วัยเยาว์ท่านเป็นคนรักการอ่าน สนใจสิ่งที่เป็นความรู้ ได้ศึกษาจนมีความแตกฉานหลายภาษา รู้จักคิดและเขียน โดยมีบทความตีพิมพ์ลงนิตยสารธรรมจักษุในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งในขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๑๗ ปี ด้วยความที่เป็นคนรักการอ่าน และชอบซักถามในเรื่องราวที่เป็นสาระความรู้ ทำให้ท่านมีความรู้กว้างขวางและลุ่มลึก จนมีผู้ยกย่องให้เป็นปราชญ์ตั้งแต่อายุยังน้อย

๒ เป็นคนมีความกตัญญู แม้ว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ จะมิได้ช่วยมารดาในกิจการร้านค้าเลย คงสนใจแต่เรื่องของศาสนา แต่เมื่อมีรายได้พอสมควรแก่อัตภาพ ก็ได้นำไปมอบให้มารดาเป็นประจำ มารดาของท่านเล่าว่า เมื่อมารดาไม่พอใจหรือว่ากล่าวก็จะไม่โต้เถียงเลย และจะถือโอกาสขอโทษมารดาที่ทำให้ไม่พอใจ ทั้งนี้เป็นผลจากการปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งทำให้มารดามีความอาลัยรักมากเมื่อถึงแก่กรรม

๓ มีจิตใจเมตตากรุณา โดยปกติแล้ว อาจารย์เสถียร จะบริจาคทรัพย์ปล่อยปลาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่เล็กมาก็เป็นคนไม่ชอบทำร้ายหรือทารุณสัตว์ ถ้ามีโอกาสก็จะถือศีลกินมังสวิรัตสม่ำเสมอ ในคำสั่งเสียเรื่องงานศพของท่านยังได้สั่งให้ปล่อยนกปล่อยปลาทุกวันจนกว่าจะถึงวันเผา และภัตตาหารที่จะถวายพระให้เป็นภัตตาหารเจ อย่าให้มีของสดคาว ทั้งนี้ก็ด้วยประสงค์จะไม่เบียดเบียนชีวิตอื่นให้ตกล่วงไปเพราะมรณะกรรมของตน

๔ อารมณ์แจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ พระนิสิตที่ได้เรียนกับท่านกล่าวว่า “ใบหน้าของท่านผู้นี้อิ่มเอิบผ่องใส เราไม่เคยเห็นรอยบึ้งสักครั้งเดียว คราวใดที่ถูกต้อนด้วยคำถามหนัก ๆ ท่านกลับหัวเราะและตอบออกมาได้อย่างสบายใจ แสดงออกถึงการปล่อยวาง ไม่แปรปรวนไปตามกระแสโลก อันวนเวียนอยู่กับความสุขและความทุกข์ ใครเห็นก็อยากจะมาผูกมิตรด้วยเพราะทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้รู้สึกสบายใจ

๕ มีปัญญาอันยอดเยี่ยม สามารถอ่านหนังสือเพียงครั้งเดียวแล้วจดจำสาระสำคัญไว้ได้ทั้งหมด จนเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่คนทั่วไป มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งคุณบุญยง ว่องวานิชได้รับการร้องขอจากหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ให้เขียนบทความเกี่ยวกับปราสาทหินพิมาย คุณบุญยงเขียนไปได้ไม่เท่าไรก็ติดขัด เนื่องจากไม่ทราบประวัติดีนัก ครั้นไปค้นตามห้องสมุดก็ไม่พบ เมื่อจนปัญญาจึงได้โทรศัพท์ไปหาอาจารย์เสถียร ท่านก็บอกว่าให้รีบหากระดาษมาจด แล้วก็เล่าประวัติทั้งปี พ.ศ. ตลอดจนชื่อกษัตริย์ผู้สร้างได้ถูกต้องทั้งหมด เหตุการณ์เช่นนี้คนใกล้ชิดท่านมักจะได้ประสบอยู่เสมอ ๆ ซึ่งคุณบุญยงกล่าวว่า “ความสามารถอันยอดเยี่ยมเช่นนี้ ข้าพเจ้ายังไม่เคยพบที่ไหนอีกเลย”

ในข้อนี้ ท่านศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ก็ได้กล่าวรับรองไว้เช่นเดียวกันว่า “คุณเสถียร โพธินันทะ เป็นบุคคลผู้มีคุณลักษณะพิเศษอย่างยิ่งคนหนึ่งที่ผมได้พบเห็นและรู้จัก คำบรรยายเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่ท่านได้กล่าวออกมาแก่เรา มีลักษณะเหมือนภาพถ่ายพระธรรมคัมภีร์ที่ท่านได้อ่านทราบมา ความรู้ที่ท่านได้รับจากพระธรรมคัมภีร์เหล่านั้นดูเหมือนท่านจะได้ถ่ายภาพประกับเข้ากับจิตใจของท่าน แล้วท่านก็ส่องภาพนั้น ๆ ออกมาให้เราเห็นชัดเจนแจ่มใส ลักษณะอย่างนี้ฝรั่งเขาเรียกว่า PHOTOGRAPHIC MIND อันเป็นคุณลักษณะที่หาได้ยากมาก…”

๖ ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายสมถะ ท่านดำรงตนดังเช่น “ฆราวาสมุนี” คือเป็นฆราวาสผู้บำเพ็ญธรรม มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ้งเฟ้อ ไม่เคยเห็นผูกนาฬิกาข้อมือ แต่งกายเรียบ ๆ ปอน ๆ แต่สะอาดสะอ้าน เคยมีผู้ถามท่านว่าทำไมไม่แต่งกายให้หรูหราหรือภูมิฐานกว่านี้ ท่านก็ยิ้มน้อย ๆ และตอบว่า “ไม่ไหวละครับ ผมไม่ต้องการประชันสังคม เขามีอะไรก็มีไปเถอะ สิ่งใดไม่จำเป็นจริง ๆ ผมจะสลัดออกให้หมด แม้ว่าผมจะไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ผมก็ไปชุดนี้…ผมเป็นคนประพฤติธรรม เป็นฆราวาสมุนี ขอใช้ชีวิตโดดเดี่ยว และให้วิทยาเป็นทานเรื่อยไป”

๗ เป็นคนเห็นความสำคัญของเวลา ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการปาฐกถาหรือบรรยายในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ท่านจะเป็นคนรักษาเวลาดีมาก จะเข้าบรรยายตรงเวลา และออกเมื่อหมดเวลา ไม่เคยมาสายให้ใคร ๆ ต้องรอ ถ้ามีเวลาว่างก็ไม่ปล่อยให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่จะใช้ศึกษาหาความรู้ หรือไม่ก็เรียบเรียงตำรับตำราที่มีคุณค่าได้เป็นจำนวนมาก เวลาแต่ละวันของท่านอุทิศเพื่อทำประโยชน์แก่สังคมและพระศาสนา จะหาเวลาเพื่อความสุขสำราญส่วนตนนั้นน้อยนัก ท่านไม่มีครอบครัว ไม่เที่ยวเตร่ดื่มกินดังเช่นที่คนวัยหนุ่มนิยมกัน จึงมีเวลาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้มาก

๘ เป็นผู้ปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนา นับว่าอาจารย์เสถียร โพธินันทะ เป็นบุคคลแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาของชาติไทย ที่ริเริ่มการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบใหม่ ทำให้เยาวชนหันมาสนใจพระศาสนาอย่างได้ผล สามารถสถาปนาองค์กรฆราวาสที่เข้มแข็งขึ้นมาเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระศาสนาได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งท่านมีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะผลักดันให้ความสำเร็จบังเกิดขึ้นได้

คุณปรก อัมระนันท์ อดีตนายกยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยได้เล่าว่า
คุณเสถียรเกิดมาในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชาติ ในระยะที่วิวัฒนาการทางวัตถุเจริญรวดเร็วขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในระยะอันความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิวัติทางการสอนพุทธศาสนารุนแรงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในระยะที่ความเลื่อมใสทางศาสนาในหมู่เยาวชนกำลังเสื่อมลง แต่คุณเสถียรสามารถเปลี่ยนทัศนะของคนสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้นต่ำสุดถึงสูงสุด ให้เข้ามาเป็นพุทธบุตรได้เป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ผลสะท้อนนี้สะเทือนไปทั่วประเทศและแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่นเกิดยุวพุทธิกสมาคม ฯ ขึ้นทั่วราชอาณาจักร เกิดการปฏิรูปทางการสอนศาสนา เช่นแบบโรงเรียนวันอาทิตย์ขึ้น เกิดกลุ่มศึกษาพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ขึ้นเป็นต้น แน่นอนคุณเสถียรมิใช่ผู้เดียวที่สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้น แต่ก็ยากที่เราจะปฏิเสธได้ว่า ถ้าไม่มีคุณเสถียร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นมาได้เท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน…
เอกสารอ้างอิง

ปองพล อิทธิปรัชาบุ. 2546. อาจารย์เสถียร โพธินันทะ
บุคคลของพระพุทธศาสนา. ลานธรรมเสวนา :
http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok_hist/ubasok-07.htm