คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > บทเพลงเยียวยา คีตาบำบัด
นาวัง เคช็อค ( Nawang Khechog ) ศิลปิน นักภาวนา นักศาสนา ฯลฯ ชาวทิเบต
(1/1)
มดเอ๊กซ:
ขลุ่ยของนาวัง บทบรรเลง ขลุ่ยดิน ถิ่นทิเบตยามพลัดพราก ประเทศ เขตต์ขอบขัณฑ์ขลุ่ยนาวัง พริ้วดัง กังวาลกรรณโดนทั่งจันทร์ ดารา พรากแผ่นดิน๙๙๙๙๙
นาวัง เคช็อค ( Nawang Khechog ) ศิลปิน นักภาวนา นักศาสนา ฯลฯ ชาวทิเบต ผู้ซึ่งพลัดพรากบ้านเกิดเมืองนอนในถิ่นทิเบต จากการรุกรานของจีนแผ่นดินใหญ่ ครั้งอดีตสมัยเหมา เซ ตุง จีนเข้ายึดครองลาซา (เมืองหลวงทิเบต) และเข่นฆ่าผู้คน พระสงฆ์ ทิเบตเป็นจำนวนมาก และกวาดต้อนผู้คนให้ต้องทิ้งแผ่นดิน ไปถิ่นอื่น ทั้งประเทศใกล้เคียง อินเดีย พม่า และ ประเทศใกล้เคียง แม้กระทั่งองค์ทะไลลามะเองก็มิเว้น ต้องแอบหลบหนี โดยการปลอมตัวเป็นผู้คนธรรมดา ออกมาจากแผ่นดินซึ่งเป็นที่รักของตนเอง
ทะไลลามะ พยายามเจรจาเพื่อขอดินแดนนี้คืน มาจากจีนหลายครั้งตั้งแต่ท่านยังเป็นหนุ่มครั้งสมัย นายยาวหราหน์ เนรูห์ ผู้นำรัฐบาลอินเดียสมัยนั้น( บิดา นางอินทิรา คานธี)ปกครองและเพิ่งประกาศอิสระภาพมาจากอังกฤษเจ้าอาณานิคมสมัยนั้น นำโดย มหาตมะ คาธีแต่การเจรจากับจีนทุกสมัย ไม่เคยประสบความสเร็จเนื่องจากจีนเบี่ยงเบนประเด็นตลอดจนทำให้รับบาลจีน กับ อินเดียสมัยนั้นเริ่มผิดใจกัน
นาวัง เคช๊อค คือ หนึ่งในผู้หลบหนีออกมาจากดินแดนซึ่งตนคุ้นเคย มายังประเทศอินเดียนาวังเริ่มฝึกหัดขลุ่ยไม้ไผ่ และบวชเรียนอยู่ 11 ปี ปลีกวิเวก ถึง 4 ปี และเฝ้าภาวนาต่อมาเรื่อยๆเพื่อความสันติสุขแก่แผ่นดินและมนุษย์ ตามคำบัญชาขององค์ทะไลลามะ จวบจนปัจจุบันนาวังเป็นทั้งอาจารย์ ศิลปิน และนักศาสนา ในตำแหน่งอาจารย์ นาวัง สอนวิชาภาวนาตามแนวทางทิเบต ที่มหาลัย นาโรปะ สหรัฐฯ ซึ่งเกิดจากแนวความคิดของ เชอเกียม ตรุลปะ รินโปเช ผู้เขียนหนังสือ Shambhala อันลือลั่น
นาวัง เคช็อค ยังเป็น เซียนขลุ่ย ใช้อุปกณ์ดนตรีประเภทจำพวกเป่า รูปทรงประหลาดๆ ซึ่งเพลงที่นาวังบรรเลง ล้วนแต่ออกแนววิเวก นิ่ง อุปกรณ์ประกอบในดนตรีของเขาไม่มีอะไรมากมาย แค่เครื่องเป่า ที่เขาถนัด กลองรูปแบบโบราณ ซึ่งนั่นเป็นเพลงจากดินแดนลี้ลับซึ่งอยู่บนหลังคาโลกอย่างแท้จริง แปลก ฟังยาก เข้าถึงยาก แต่เขาบอกว่านั่นเป็นหนทางหนึ่งในการเข้าถึงพุทธะ ของชนชาวทิเบต จอมยุทย์จากดินแดนขุนเขาทะลุเมฆนี้ สามารถสร้างความประหลาดใจแก่ชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากภาวะภายใน การภาวนาอย่างเข้าถึง จนทำให้ชาวตะวันตกสนใจในศาสตร์แห่งทิเบตย่างมากมายในปัจจุบัน
มดเอ๊กซ:
นาวัง เคช็อค เคยมาสัมนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่เมืองไทยหลายครั้งจากการเชิญขงสมาคม องค์กรพุทธศาสนาต่างๆในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับเชิญจากอาจารย์ ส.ศิวรักษ์ มาบรรยาย พุทธศาสนานิกายวัชรยานเป็นส่วนมาก และก็เคยมาแสดงเพลงขลุ่ยแห่งจอมยุทธ์จากดินแดนลี้ลับในอดีต ในมหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต (คอนเสริต์เขาใหญ่) ด้วย นาวัง หวังเพื่อสันติภาพในใจมนุษย์ชาติ ตามแนวทางพุทธศาสนา และการคงอยู่ของจิตวิญญาณทิเบต ต่อไป บทเพลงแต่ละเพลงของนาวังเปรียบเสมือนบทกวี ใส่ทำนอง มีห้วงจังหวะ อารมณ์สะเทือนใจ ตลอดเวลา บทเพลงซึ่งไม่มีเนื้อร้อง คือ เสียงแห่งบทกวีอันไร้ตัวตนฉันนั้น
" May Be All Kind To Each Other"
Nawang Khechog
พีร์ ระพิชญ์* ข้อมูลประมวล จาก หนังสือ "อิสระถาพจากการลี้ภัย" นิพนธ์ โดย องค์ทะไลลามะ เว็บไซต์ ของนาวัง www.nawangkhechog.com/
ชมเพลงขลุ่ยของนาวัง
Nawang Khechog
http://www.oknation.net/blog/Ravi/2007/10/24/entry-1
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:45: ขอบคุณครับพี่มด^^
มดเอ๊กซ:
:yoyo108:
year in tibet by nawang khechog
Flute Music by Nawang Khechog-ReMix
nawang khechog ❤☮ quiet mind
Sound of Peace
Elephant Magazine Interview: Nawang Khechog 1
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
Go to full version