อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล
ประวัติของภิกษุณี
แปดคิว:
ประวัติของภิกษุณี
โดย...พระปิฏกโกศล ( นิกร มโนกโร ป.ธ. ๙ )
คำว่า ภิกษุณี หมายถึงผู้หญิงที่ได้รับการอุปสมบทหรือพระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เป็นบริษัทฝ่ายบรรพชิตคู่กับภิกษุ หญิงผู้จะบวชเป็นภิกษุณีต้องผ่านพิธีการรับเข้าหมู่อย่างเข้มงวดกวดขัน มีขั้นตอนและใช้เวลานาน โดยขั้นตอนแรกเปิดโอกาสให้หญิงผู้สมัครใจทดลองวิถีชีวิตนักบวช รักษาศีล ๑๐ ข้อ เรียกว่าสามเณรี พอถึงอายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ให้รักษาอนุธรรม ๖ ข้�
ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นภายหลังบริษัทอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ล่วงพรรษาที่ ๑�
ไม่มีการกล่าวถึงภิกษุณีมากนัก แต่มีหลักฐานที่ศึกษาได้จากโบราณคดีและประวัติศาสตร์ระบุว่ามีภิกษุณี เช่นว่าหลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดีย พระสังฆมิตตาเถรี พะราชธิดาของพระอโศกมหาราช บวชเป็นภิกษุณีและได้เดินทางไปประกาศศาสนาที่ประเทศศรีลังกา
วิธีอุปสมบทของภิกษุณี ๓ วิธี
วิธีอุปสมบทในพระพุทธศาสนามี ๘ วิธี มีวิธีอุปสมบทของภิกษุณี ๓ วิธี คือ ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา และทูเตนอุปสัมปท�
๑. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางปชาบดีโคตมี มีบันทึกไว้ว่า หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ พระนางประชาบดีโคตมีเสด็จเข้าเฝ้าและทูลขออนุญาตให้สตรีออกบวชในพระธรรมวินัยได้ แต่ไม่ทรงอนุญาตทรงตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ละความพยายาม ถึงกับปลงพระเกศานุ่งห่มผ้ากาสายะเสียเอง ออกเดินทางพร้อมเจาหญิงศากยะจำนวนมากไปยังเมืองเวสาลี ได้มายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา พระบาทและพระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากมาพบเข้า สอบถามทราบความแล้วจึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้า แต่กระนั้นก็ยังถูกพระองค์ตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง ที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้วจะสามารถบรรลุพระโสดาปัตติผลถึงพระอรหันต์ได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าได้ พระอานนท์อ้างเหตุผลนั้นทั้งการที่พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระมาตุจฉาเคยเลี้ยงพระองค์มาในสมัยทรงพระเยาว์ จากนั้นพระอานนท์จึงขอให้สตรีออกบวชได้ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีจะต้องรับปฏิบัติครุธรรม ๘ ข้อ และถือว่าครุธรรม ๘ ข้อนี้ เป็นกรอุปสมบทของพระนา�
<!-- / message -->
<!-- / message -->ครุธรรม คือ ธรรมอันหนัก เป็นหลักปฏิบัติสำหรับนางภิกษุณีที่จะต้องปฏิบัติตลอดชีวิต
มี ๘ ข้อ ได้แก่
๑. ภิกษุณีแม้บวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องกราบภิกษุแม้ผู้บวชในวันเดียว
๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
๓. ภิกษุณีต้องไปสอบถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจสงสัย
๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย ฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ๑๕ วัน
๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าปริยายไรๆ
๘. ภิกษุณีต้องไม่ว่ากล่าวภิกษุ แต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
๒. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา
วิธีนี้ทรงมีพุทธานุญาตให้เป็นวิธีอุปสมบทของภิกษุณีโดยประกอบด้วยจตุตถกรรมวาจา ๒ ครั้ง คือ อุปสมบทในสำนักภิกษุครั้งหนึ่งจากนั้นไปขออุปสมบทในสำนักภิกษุณีสงฆ์ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามพุทธานุญาตว่า ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่า�
สตรีผู้ปรารถนาบวชด้วยวิธีนี้ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพราะมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้ปรารถนาจะต้องมีศรัทธาที่แน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ต้องมีความอดทนอย่างแรงกล้าทั้งกายใจจึงจะสามารถผ่านขั้นตอนการอุปสมบทวิธีนี้ได้ ซึ่งต้องอาศัยการเตรียมตัว ๒ ปี แยกเป็น ๔ ตอน คือ
๒.๑ ขั้นเป็นสามเณรี สตรีผู้ปรารถนาเข้ามาบวช ต้องได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ผู้หญิงเรียกว่า สามเณรี โดยมากอายุไม่ครบ ๒๐ รับการบรรพชาในสำนักภิกษุณีถือสิกขาบท ๑๐ เหมือนสามเณ�
๒.๒ ขั้นเป็นสิกขมานา ต้องรักษาสิกขาบท ๖ ข้อ ตลอด ๒ ป�
๒.๓ ขั้นขออุปสมบท สตรีผู้เป็นสิกขมานารักษาสิกขาสมมติ ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี ตามพระพุทธานุญาตและได้รับสมมติจากสงฆ์เพื่ออุปสมบทแล้ว จึงควรได้รับการอุปสมบทต่อไป ดังพุทธานุญาตว่า เราอนุญาตให้สงฆ์สมมติการอุปสมบทแก่สิกขมานาผู้ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ป�
๒.๔ การขออุปสมบทในสำนักภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธบัญญัติว่า เราอนุญาตให้ภิกษุบวชภิกษุณ�
<!-- / message -->
<!-- / message -->
แปดคิว:
๓. ทูเตนอุปสัมปท�
วิธีนี้ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทอย่างเดียวกับวิธีอัฏฐวาจิกาทุกอย่าง ต่างแต่ผู้ปรารถนาจะบวชไม่สามารถไปรับอุปสมบทในสำนักของภิกษุได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีภัยอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้ต้องการจะบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ส่งนางภิกษุณีตัวแทนของสตรีผู้ได้รับอุปสมบทจากภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวไปสำนักภิกษุสงฆ์ ตัวแทนที่ทำหน้าที่เป็นทูตในการให้อุปสมบทนั้น จะต้องเป็นผู้ฉลาดสามารถที่จะสามารถทำกิจของตนดังกล่าวให้สำเร็จได้
ภิกษุณีในพระพุทธศาสนา
ความหมาย
ภิกษุณี หมายถึง พระผู้หญิงหรือสตรีที่บวชในพระพุทธศาสนา ในนิกายเถรวาท รักษาศีล ๓๑๑ ข้อ ภิกษุณีมีสภาพแตกต่างจากผู้ครองเรือน มีชีวิตอยู่โดยอาศัยผู้อื่นเลี้ยงดูเช่นเดียวกับภิกษุ ภิกษุณีต้องปลงผม ตัดเล็บ ไม่ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องหอม ครองผ้าย้อมน้ำผาดเพียง ๕ ผืน อยู่อาศัยในอาวาสใกล้กับภิกษุ และรับโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
ภิกษุณี หมายถึง หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เทียบ ภิกษุ
(พระ,ธรรรปิฏก ป.อ.ปยุตฺโต,พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘)
ภิกษุณี หมายถึง หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันไม่มีแล้ว (คณะผู้จัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ, พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์วัฒนาพานิช (พิมพ์ครั้งที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐)
ภิกษุณี หมายถึง พระผู้หญิงของพระพุทธศาสนา เป็นบริษัทที่ ๒ ในบริษัท ๔ เป็นพระที่บวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ จากภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์ รักษาสิกขาบท (ศีล) ๓๑๑ สิกขาบท( พันตรี ป.หลงสมบุญ, พจนานุกรมไทย-มคธ ฉบับสำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร อาทรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๐)
ประวัติความเป็นมาของ ปฐมภิกษุณี
พระบาลีคัมภ์จุลวรรค พระวินัยปิฏกแห่งภิกษุณีขันธกะและในพระบาลีคัมภีร์อังคุตตรนิกาย อัฏฐนิบาต สันธานวรรคที่ ๑ แห่งโคตมีสูตร มีเรื่องเล่าโดยพิสดารว่า
หลังจากที่พระพุทธเจ้า ทรงถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดาแล้ว ยังประทับอยู่ ณ วิหารนิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
วันหนึ่ง พระนางมหาปชาบดีโคตมี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ประทับยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทรงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานวโรกาส พระเจ้าข้า ขอให้สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วเถิด พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามว่า ดูก่อนพระนางโคตมี พระนางอย่าทรงพอพระทัยที่จะให้สตรีออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้เลย
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้ทรงกราบทูลเป็นครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสห้ามอีกและพระนางจึงทรงกราบทูลเป็นครั้งที่ ๓ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสห้ามอีกเช่นเดียวกันเมื่อพระนางไม่ได้รับพระพุทธานุญาตให้สตรีบรรพชาใพระพุทธศาสนา ก็ทรงเป็นทุกข์เสียพระทัย มีพระพักตร์ไหลนองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกรรแสง พร้อมกับพลางถวายพระพรลาเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ต่อมาเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม ในกรุงกบิลพัสด์ ตามพุทธประสงค์แล้ว จึงได้เสด็จจาริกไปทางพระนครเวสาลีและได้ทรงประทับ ณ กูฎาคารศาลา ในป่ามหาวันพระนครเวสาลี (บางแห่งเรียก ไพศาลี)
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี โปรดให้ปลงพระเกศาของพระนาง และทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ทรงตั้งเจตนาบรรพชาพร้อมกับนางสากิยาณีเป็นจำนวนมาก ได้เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปที่กูฎาคารศาลา ในป่ามหาวัน พระนครเวสาลี เวลานั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้ง ๒ พองพระกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี ทรงเป็นทุกข์เสียพระหทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอกวิหาร
พระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีจึงถามว่า ขอถวายพระพร เหตุไรพระนางจึงมีพระบาททั้ง ๒ ข้างพองขึ้นมีพระกายเกลือกกลั้วด้วยฝุ่นละอองทรงเป็นทุกข์เสียพระหทัยมีพระอัสสุชลไหลออกจากดวงพรพะเนตร เสด็จมาประทับยืนทรงกรรแสงอยู่ที่นี่ ขอถวายพระพร
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้มีพระราชดำรัสตอบว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่อนุญาตให้สตรีบรรพชา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเจ้าค่ะ
พระอานนท์เถระ ถวายพระพรว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพระนางจงทรงรออยู่ที่นี่สักครู่หนึ่ง จนกว่าอาตมาจะกราบทูลขออนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สตรีได้บรรพชาเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ขอถวายพระพร
หลังจากพระอานนท์กล่าวอย่างนั้นแล้ว จึงเจ้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่งลง ณ สถานที่ที่สมควรแก่ตน แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้ง ๒ พอง พระกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี ทรงเป็นทุกข์ เสียพระหทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกรรแสงอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอกวิหาร ด้วยพระนางทรงน้อยพระหทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบรรพชา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ขอประทานวโรกาส ขอให้สตรีได้บรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วเถิด พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลยอานนท์ เธออย่าพอใจให้สตรีบรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้เลย
แปดคิว:
พระอานนท์เถระ ได้กราบทูลขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้สตรีได้บรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วเถิด พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามเช่นนั้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสห้าม พระอานนท์เถระ ก็ได้กราบทูลเหมือนอย่างนั้นเป็นครั้งที่ ๓ และพระองค์ก็ตรัสห้ามโดยนัยนั้นเหมือนกัน
พระอานนท์เถระ คิดใคร่ครวญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบรรพชาเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตที่ทรงประกาศไว้แล้ว ถึงอย่างไรก็ดีเราจะต้องกราบทูลขออนุญาตให้สตรีได้บรรพชา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วให้ได้ พอคิดใครครวญดังนี้แล้ว จึงกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สตรีออกจากเรือนบรรพชาเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตที่ทรงประกาศไว้แล้ว อาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ สตรีได้บรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว ก็อาจทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้
พระอานนท์เถระ จึงกราบทูลขึ้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบรรพชาเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตที่ทรงประกาศไว้แล้ว สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และพระอรหัตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีอุปการคุณมาก ทรงประคบประหงม เลี้ยงดู
ทรงถวายข้าวป้อนและขีรธาราแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นับตั้งแต่พระชนนีของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสวรรคต ขอประทานวโรกาส ขอได้โปรดให้สตรีได้บรรพชาเถิด พระเจ้าข้า
มีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสห้ามว่า อย่าเลยพระนางโคตมี (การบรรพชาของมาตุคาม) อย่าได้เป็นที่ทรงพอพระราชหฤทัยของพระนางเลยบริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ย่อมมี ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มิใช่หรือ ?
มีคำตอบว่า บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งปวงมี ๔ ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระราชประสงค์จะทรงกระทำพระนางมหาปชาบดีโคตรมี ให้ทรงได้รับความยากลำบากเสียก่อนแล้วจึงทรงอนุญาต เพื่อทรงกระทำให้เห็นเป็นของสำคัญสตรีทั้งหลายจะได้คิดว่า บรรพชานี้พวกเราได้มาโดยยากแล้วจะรักษาบรรพชาไว้โดยชอบเพราะเราได้วิงวอนขอร้องแล้วมากครั้งจึงทรงอนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามเสียดังนั้น
มีข้อความปรากฏ ในพระบาลีคัมภีร์จุลลวรรค พระวินัยปิฎก และพระบาลีคัมภีร์อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต กล่าวถึงเรื่องครุธรรม ๘ ประการ ต่อไปความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตรมีทรงยอมรับ ครุธรรม (คือธรรมอันหนัก หรือหลักความประพฤติสำหรับภิกษุณีที่จะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต) ๘ ประการ เหล่านี้ จึงเป็นการอปสมบท คือ
๑. ภิกษุณีแม้บวชแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชในวันนั้น
๒. ภิกษุณีจะอยู่จำพรรษาในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถ และไปรับฟังโอวาทจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ได้แก่ ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์ และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่ายหนึ่งปักษ์(๑๕วัน)
๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา ผู้ศึกษาธรรม ๖ ประการสิ้น ๒ ปีแล้ว
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่บริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง
๘. ภิกษุณีจะว่ากล่าวภิกษุไม่ได้ แต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงยอมรักครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ ก็จะเป็นการอุปสมบทของพระนาง
พระอานนท์เถระ จำครุธรรม ๘ ประการได้แล้ว จึงกลับไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี แล้วบอกพระนางว่า ขอถวายพระพร พระนางทรงรับครุธรรม ๘ ประการนี้ได้ ก็เป็นอันว่าพระนางได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุณีแล้ว ขอถวายพระพร
<!-- / message -->
แปดคิว:
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ตรัสตอบว่า ข้าแต่พระอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเลยตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ของแต่งตัว อาบน้ำสระศีรษะแล้วได้ดอกบัว พวกดอกมะลิ หรือพวกดอกลำดวนแล้ว พึงประคองมือทั้งสองขึ้นรับตั้งไว้บนศีรษะด้วยความยินดี ฉันใด ดิฉันก็ยินดีรับครุธรรม ๘ ประการ ฉันนั้น เจ้าค่ะ
พระอานนท์เถระ ได้รับฟังดังนั้น จึงเข้าไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว เป็นอันว่าพระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอุปสมบทแล้ว พระเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงรับครุธรรม ๘ ประการ ในกาลใด พระนางชื่อว่าได้อุปสมบทแล้ว ในกาลนั้น
ดังนั้น จึงนับได้ว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็น ปฐมภิกษุณี หรือ ภิกษุณีรูปแรก ในพระพุทธศาสนา
มูลเหตุที่สตรีออกบวชในพระพุทธศาสนา
ประเพณีโบราณของชาวอินเดียอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบวช ถือว่าช่วงชีวิตของบุคคลหนึ่งที่เกิดในวรรณะสูง ๓ วรรณะ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ จะต้องได้ดำรงชีวิตให้ครบ ๔ ขั้น ที่เรียกว่า อาศรม ๔ ได้แก่
๑. ระยะถือพรหมจรรย์ เรียกว่า พรหมจารี
๒. ระยะครองเรือน เรียกว่า คฤหัสถ์
๓. ระยะออกไปอยู่ป่า เรียกว่า วนปรัสถ์
๔. ระยะสละสมบัติออกบวช เรียกว่า สันยาสี
การประพฤติตามหลักอาศรม ๔ อย่างนี้ จะมุ่งเพียงฝ่ายชายเท่านั้น ฝ่ายหญิงนั้นได้ถูกห้ามศึกษาพระเวทซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์สำคัญ จึงทำให้สตรีไม่มีโอกาสออกบวช แต่ในพระพุทธศาสนาไม่ปิดโอกาสเช่นนั้น
วิธีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา ถือว่า การบวชเป็นความดี การบวช คือ การออกจากทุกข์ที่เกิดขึ้นและเป็นหนทางไม่ให้ความทุกข์ใหม่เกิดขึ้นอีก
นักบวชในพระพุทธศาสนา เรียกว่า ภิกษุ มีการดำเนินชีวิตคล้ายกับนักบวชประเภทสันยาสี คือ มีความเป็นอยู่เรียบง่าย นักบวชต้องปลงผมและหนวดเคราเกลี้ยงเกลา นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด นอนบนเตียงไม้ หรือแคร่ เที่ยวภิกขาจารเลี้ยงชีวิตบริโภคอาหารเพียงเพื่อเลี้ยงร่างกาย ให้มีกำลังอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ การดำเนินชีวิตต้องอาศัยชาวบ้านนักบวชไม่สามารถหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ตามต้องการเมื่อต้องการของร้อนจะได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นจะได้ของร้อน ชีวิตนักบวชเป็นชีวิตที่ฝืดเคืองการบวชเป็นสิ่งกระทำได้ยากถึงแม้บวชแล้วความยินดีก็เป็นสิ่งกระทำได้ยากเช่นกันบวชเป็นเรื่องฝืนกระแสโลก
<!-- / message -->[/FONT][/size]
แปดคิว:
อุปสัมปทา คือ การรับเข้าหมู่ หรือ วิธีบวชในพระพุทธศาสนา หมายถึง การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุ หรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี วิธีอุปสมบท หรืออุปสัมปทาในพระพุทธศาสนามี ๘ วิธีคือ
๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ โดยพระองค์ทรงเปล่งพระวาจาว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด เพียงเท่านั้นก็ชื่อว่าได้บวชแล้ว
นอกจากนี้ หากหากมีผู้บวชคนเดียวใช้คำว่า เอหิ ภิกขุ แปลว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด
จึงเรียกการบวชนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ผู้บวชมีหลายคนใช้คำว่า เอถ ภิกขโว ซึ่งก็ยังเรียกว่าการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ดังเช่น อุปสัมปทาพระปัญจวัคคีย์ (บวชพระอัญญาโกณทัญญะ) ว่า เอหิ ภิกขุ และบวชพระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหามานะ พระอัสสชิว่า เอถ ภิกขโว (วินย. ม.๔/๑๘๑๙/๑๖๑๗)
๒. ติสรณคมนปสัมปทา วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้พระสาวกจัดทำครั้งต้นพุทธกาล ซึ่งเวลานั้นคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก ทรงให้สาวกต่างรูปต่างเป็นอุปัชฌาย์บาชให้เป็นกุลบุตรผู้ประสงฆ์จะบวชต่อมาเปลี่ยนวิธีนี้ให้เป็นการบวชสามเณร
๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทำพิธีบวชให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวช และเป็นวิธีที่ใช้สืบกันมาจนถึงทุกวันนี้
๔. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้ทรงกระทำโดยการประทานโอวาทให้กุลบุตร ผู้ประสงค์จะบวชรับไปปฏิบัติวิธีนี้พระพุทธเจ้าประทานให้เป็นวิธีอุปสมบทของพระมหากัสสปะเพียงผู้เดียว
๕. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงทำด้วยการให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวชตอบปัญหาที่พระองค์ตรัสถาม เมื่อตอบปัญหาได้ก็เป็นอันว่าบวชแล้ว วิธีนี้เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าอนุญาตแก่
โสปากสามเณร
๖. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา วิธีนี้ที่พระพุทธทรงทำด้วยการให้ผู้ประสงค์จะบวชรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดีโคตมี
๗. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา วิธีนี้เป็นวิธีบวชของภิกษุณี หมายถึง การบวชต้องกล่าววาจา ๘ ครั้ง คือ ทำญัตติจตุตถกัมมวาจา ๒ ครั้งฝ่ายละ ๔ ครั้ง กล่าวคือ จากฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑ ครั้ง และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์อีก ๑ ครั้ง
๘. ทูเตนอุปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงกระทำด้วยการให้ผู้แทนพระองค์ไปบวชแก่ผู้ที่ประสงค์จะบวช เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของนางคณิกา ชื่อ อัฑฒกาสี(วินัย.อ.๑/๔๕/๒๕๔)
การให้อุปสมบทที่เป็นกรณีพิเศษนอกจากวิธีเหล่านี้ ใสฝ่ายภิกษุมีสามเณร ๒ รูป คือ สามเณร สุมนะกับสามเณรโสปากะ ได้บรรลุพระอรหัตผลขณะที่ท่านมีอายุ ๗ ปี ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุได้ในขณะนั้น เรียกวิธีบวชนี้ว่า ทายัชชอุปสัมปทา (ธ.อ.๘/๙๙)
วิธีอุปสมบทของภิกษุณี
วิธีอุปสมบททั้ง ๘ วิธี ดังกล่าวแล้วข้างต้น มีวิธีอุปสมบทของภิกษุณี ๓ วิธี ได้แก่
ครุธรรม ปฏิคคหณูปสัมปทา ๑ อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา ๑ ทูเตนอุปสัมปทา ๑ ซึ่งจะศึกษาต่อไป
๑. ครุธรรมปฏิคคณูปสัมปทา
วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดี ดังได้อธิบายไว้แล้วในข้อว่าด้วย ประวัติความเป็นมาของปฐมภิกษุณี สาเหตุที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ กำกับไว้ ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระธรรมวินัย เหมือนคนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไม่ให้ไหลล้นออกไป จากการศึกษาพบว่า หากถือตามสภาพสังคมในสมัยนั้น พระองค์จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวช แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถ โดยธรรมชาติที่จะบรรลุธรรมจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้
การอุปสมบทด้วยวิธีรับครุธรรม ๘ ประการดังกล่าว ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก เพียงแต่ให้สตรีที่ต้องการอุปสมบทยอมรับว่า จะปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ อย่างเคร่งครัดจนตลอดชีวิต ก็เป็นอันว่าได้อุปสมบทเป็นในพระพุทธศาสนา วิธีนี้เป็นวิธีอุปสมบทสตรีในระยะแรก โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาท หรือครุธรรม ๘ ประการ คือ พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอุปัชฌาย์
วิธีบวชด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา มีพระพุทธานุญาตให้เป็นการอุปสมบทแก่เจ้าหญิงศากยะ ซึ่งเป็นข้าราชบริพารของพระนางมหาปชาบดีโคตมี คือ ภายหลังจากที่พระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ทำการอุปสมบทเจ้าหญิงศากยะที่เหลือ ด้วยวิธีญัตติจตุตถกัมมวาจา หรือญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา ส่วนกรรมวิธีในการอุปสมบทนั้นไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าจะมีวิธีการบวชอย่างเดียวกันกับวิธีอุปสมบทของราธพราหมณ์ คือ วิธีญัตติจตุตตกัมมวาจา เพราะสมัยนั้นเป็นระยะแรกที่ทรงมีพระพุทธานุญาตให้สตรีบวชได้จึงยังไม่มีการกำหนดแบบอย่างไว้โดยเฉพาะเพราะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
การอุปสมบทด้วยวิธีนี้ เป็นการขออุปสมบทด้วยการประกาศขอความเห็นจากสงฆ์ ๓ ครั้ง รวมทั้งญัตติอีก ๑ ครั้ง เรียกอีกอย่างว่า กรรมมีวาจาครบ ๔เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้ามอบความเป็นใหญ่ให้สงฆ์ดำเนินการ ผู้อุปสมบทวิธีนี้ จะต้องมีพระอุปัชฌาย์และมีพระสงฆ์อื่น เป็นผู้ให้ความเห็นชอบ การอุปสมบทด้วยวิธีนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บวชราธพราหมณ์
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version