ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ภาค ๑ กลับคืนสู่ต้นกำเนิด  (อ่าน 6799 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว
THE ONE STRAW REVOLUTION
ผู้เขียน : Masanobu Fukuoka 1975
ผู้แปล : รสนา โตสิตระกูล ๒๕๓๐
พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๓๐



เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรม
ไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล
แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์
แห่งความเป็นมนุษย์
คำนำ


คำนำสำนักพิมพ์้

คำนิยม

คำชี้แจงของผู้แปล
อารัมภกถาำ

บทนำ

บันทึกเกี่ยวกับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ

--------------------------------------------------------------------------------

จาก

http://olddreamz.com/bookshelf/onestraw/onestraw.html

 
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
คำนำสำนักพิมพ์


                เมื่อใดที่สังคมเกิดวิกฤตการณ์อันไม่อาจแก้ไขได้ด้วยแนวคิดและวิธีการแบบเดิม เมื่อนั้นผู้คนย่อมคาดหวังว่า "การปฏิวัติ" จะสามารถเป็นทางออกของยุคสมัยได้ คนจำนวนไม่น้อยมองไปที่การปฏิวัติโครงสร้างของสังคม และแล้วเราก็ได้เห็นการปฏิวัติทางการเมืองและเศรษฐกิจครั้งแล้วครั้งเล่าในหลายศตวรรษที่ผ่านมา คนอีกมากมีความหวังกับการปฏิวัติทางเทคโนโลยีและแล้วก็เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติเขียว ล่าสุดคือการปฏิวัติทางสารสนเทศโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสัญลักษณ์ แต่แล้ววิกฤตการณ์ต่าง ๆ ก็ยังเวียนวนไม่จบสิ้น โครงสร้างต่าง ๆ แม้จะถูกถอนรากถอนโคน แต่วิกฤตการณ์ต่าง ๆก็ยังเวียนมาอีกเช่่นเคย เผด็จการโดยคนกลุ่มน้อยผลัดเปลี่ยนกันมาอย่างซ้ำซากโดยที่การปฏิวัติเขียวก็ไม่ช่วยให้ความอดอยากหิวโหยสูญไปจากโลก ซ้ำกลับทำให้การเบียดบังเอาเปรียบคนยากไร้เป็นไปอย่างหนักข้อยิ่งขึ้น

            การปฏิวัติที่แท้จริงนั้น มิได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมหรือการเนรมิตเทคโนโลยีอันมหัศจรรย์ สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปมักมองข้ามก็คือการปฏิวัติทางทัศนคติอย่างถึงรากฐาน วิกฤตการณ์ในปัจจุบัน โดยเนื้อแท้แล้วเป็นวิกฤตการณ์ทางด้านแนวคิดและทัศนคติขั้นปฐมฐาน เราจำเป็นต้องกลับมามองที่ทัศนคติพื้นฐานของเรา อันได้แก่ ทัศนคติต่อธรรมชาติ และทัศนคติต่อตัวเราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เป็นเพราะเราเห็นธรรมชาตินั้นไร้ชีวิตจิตใจ เราจึงครอบงำเบียดบังธรรมชาติเพียงเพื่อปรนเปรอตัณหาและสนองความยิ่งใหญ่ที่เราเข้าใจว่ามีอยูในตัวเรา โดยไม่คำนึงถึงความพินาศของระบบนิเวศน์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก เป็นเพราะเราเข้าใจอย่างฉาบฉวยว่า ธรรมชาติเป็นดังเครื่องจักรที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่แยกจากกันดังฟันเฟือง เราจึงแยกทุกสิ่งทุกอย่างออกเป็นส่วน ๆ แยกสัตว์ออกจากป่า แยกต้นไม้ออกจากภูเขา แยกมนุษย์ออกจากธรรมชาติ จนแม้กระทั่งกายและใจก็ถูกแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ จนต่อกันแทบไม่ติด แล้วเราก็ปรนเปรอตัวเองด้วยวัตถุที่ตักตวงจากธรรมชาติอย่างมโหฬาร จนเกิดวิกฤตการณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และในระบบนิเวศน์ทั้งระบบ

            เราจำต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติขั้นพื้นฐาน เราจะต้องลดความเชื่อมั่นในโลหะและคอนกรีต และหันมาศรัทธาในพื้นดิน ลำธาร และต้นไม้กันให้มากขึ้น มองให้เห็นถึงคุณค่าและศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่แฝงอยู่ในธรรมชาติอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน และจะต้องร่วมมือกับธรรมชาติยิ่งกว่าที่จะเอาชนะคะคานธรรมชาติ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติอย่างประสานกลมกลืน ยิ่งกว่าที่จะตั้งตัวเป็นเอกเทศเพื่อครองความเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติในที่สุด

            ปฎิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เป็นเรื่องของชาวนาผู้หนึ่งซึ่งได้ผ่านการปฏิวัติทางทัศนคติอย่างถึงรากฐาน เป็นการปฏิวัติอันเนื่องจากฟางข้าว ซึ่งได้แสดงให้เขาประจักษ์ว่า ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่กว่าสารเคมีและประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ทั้งปวง การค้นพบดังกล่าวมิเพียงแต่จะมีความหมายต่อเกษตรกรรม ซึ่งกำลังมาถึงจุดอุดตัน มันเป็นผลจากการปฏิวัติเขียวที่เห็นเทคโนโลยีเป็นคำตอบเท่านั้น หากยังมีความหมายต่ออารยธรรมมนุษย์อย่างสำคัญ ในยุคสมัยที่มนุษย์ทั้งมวลกำลังประสบกับความอับจนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ชนิดที่อาจมีผลทำลายมนุษยชาติให้สูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปนั้น มาซาโนบุ ฟูกูโอกะได้บอกให้เรารู้ว่า ฟางข้าวนั้นสามารถปฏิวัติยุคสมัยให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ การปฏิวัติดังกล่าวก็คือการปฏิวัติทางทัศนคติ ที่มีความตระหนักและสำนึกในคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ซึ่งดูเผิน ๆ แล้วเหมือนว่าไร้ค่า ดังที่เราทั่วไปมักมองเช่นนั้นกับฟางข้าวในท้องทุ่ง นี้แหละคือการปฏิวัติที่แท้จริงที่ยุคสมัยของเรากำลังต้องการอย่างยิ่งยวด

            ปฎิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เป็นงานเล่มแรกของ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะที่สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองได้พิมพ์เผยแพร่ต่อผู้อ่านชาวไทย เพื่อเสนอแนวคิดใหม่อันสามารถเป็นทางออกสำหรับสังคมปัจจุบันได้ พอ ๆ กับที่เป็นทางออกของกลุ่มบุคคลหรือปัจเจกชนที่ปรารถนาสังคมใหม่ที่มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อมนุษย์และสรรพชีวิต ........

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
คำนิยม


                หากถือตามหลักพุทธศาสนา สรรพสิ่งย่อมเป็นอนิจจัง นั่นคือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้งหรือรวดเร็วก็อาจเรียกว่า "การปฏิวัติ" ได้ ซึ่งการปฏิวัตินั้นเองก็อาจกลายเป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ต่อเนื่องกันไปได้อีกเป็นลูกโซ่ ดังเช่น "การปฏิวัติอุตสาหกรรม" ในยุโรปเมื่อคริสตศตวรรษที่ ๑๘ นำไปสู่การขยายตัวของลัทธิอาณานิคมและต่อมาเป็นชนวนให้เกิดมหาสงครามโลกขึ้น เป็นต้น

            ในด้านการเกษตรนั้น การเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดที่อาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติก็คือ "การปฏิวัติเขียว" (The Green Revplution) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ ๖ คือประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมานี้ โดยเริ่มต้นจากเทคโนโลยีการผลิต เช่น การผสมพันธุ์พืชสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ตลอดจนสุขภาพอนามัยและระบบนิเวศวิทยาของโลก

            จุดเด่นของการปฏิวัติเขียวอยู่ที่การนำเอาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เละเทคโนโลยี มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอย่างได้ผลชััดเจนดังเช่นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของพันธุ์ข้าว "มหัศจรรย์" ต่าง ๆ เป็นต้น แต่จุดอ่อนของมันก็คือละเลยต่อผลกระทบด้านอื่น ๆ เช่น สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาซึ่งมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง

            โดยอาศัยเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในที่สุด ระบบการเกษตรในแนวทาง "การปฏิวัติเขียว" ก็กลายเป็นนโยบายหลักของแทบทุกประเทศ และประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเกษตรกรต่างถูกชักจูงให้ยอมรับระบบการเกษตรดังกล่าวด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งผ่านระบบการศึกษาและสื่อสารมวลชนนานาชนิด จนกระทั่งกลายเป็นกระแสหลักของระบบการเกษตรในปัจจุบัน

            กล่าวโดยสรุป ระบบการเกษตรปัจจุบันตั้งอยู่บนหลักการใหญ่ ๆ เพียง ๒ ประการคือ ความมักง่ายและความรุนแรง

            "ความมักง่าย" แสดงออกโดยการมองทุกสิ่งอย่างแยกส่วน เช่น มองเห็นดินเป็นเพียงพื้นที่สำหรับพืชอาศัยยืนต้นและเป็นแหล่งธาตุอาหารเท่านั้นเมื่อดินขาดความอุดมสมบูรณ์ก็เพียงแต่ใส่ธาตุอาหารลงไปโดยตรงในรูปของปุ๋ยเคมี ซึ่งในที่สุดก็พัฒนามาจนไม่ต้องปลูกพืชบนดินก็ได้ กล่าวคือ ปลูกบนกกรวดทรายที่มีสารละลายของธาตุอาหารหล่อเลี้ยงอยู่แทน (Hydroponic)

            ส่วน "ความรุนแรง" จะเห็นได้จากการแก้ปัญหาศัตรูพืช เช่น โรครา แมลง วัชพืชหรือสัตว์อื่น ๆ เช่นหนูนา โดยการฆ่าหรือทำลายโดยตรงด้วยสารเคมีพิษชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยากำจัดเชื้อรา ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช หรือยาเบื่อหนูก็ตาม

            ระบบการเกษตรปัจจุบันพยายามแยกตัวออกจากธรรมชาติ โดยใช้วิธีการควบคุมและบังคับธรรมชาติไปในทิศทางที่มนุษย์ต้องการ เพียงเพื่อสนอง "ความต้องการเทียม" ของคนกลุ่มน้อยที่มีกำลังซื้อ ตัวอย่างเช่น การปลูกพืชเมืองร้อนในประเทศเขตหนาว หรือปลูกพืชเมืองหนาวในประเทศเขตร้อน รวมทั้งการบังคับให้ต้นไม้ออกผลนอกฤดูกาล เป็นต้น

            รูปธรรมอันเป็นผลจากระบบการเกษตรดังกล่าวที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน ก็คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกิจการกลุ่มบรรษัทผลิตสารเคมีและเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตร การล่มสลายของเกษตรกรรายย่อย หนี้สินต่างประเทศของประเทศเกษตรกรรม ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วไปในฐานะผู้บริโภคผลจากระบบการเกษตรนี้

            และเมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปอีกก็พบว่าแท้จริงแล้ว ระบบการเกษตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้กลับมิได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นดังที่กล่าวอ้างกันมาแต่ต้น หากแต่เป็นระบบที่ด้อยประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากการผลิตอาหารให้ได้พลังงาน ๑ แคลอรี่นั้น จะต้องใช้พลังงานในการผลิตถึง ๗ แคลอรี่ ในขณะที่ระบบการเกษตรดั้งเดิมนั้นใช้พลังงานการผลิตเพียง ๑ แคลอรี่ แต่ผลิตอาหารได้พลังงานถึง ๕๐ แคลอรี่ ดังนั้น ระบบการเกษตรในปัจจุบันจึงใช้ทรัพยากรของโลกอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและไม่อาจหมุนเวียนกลับมาใช้้ใหม่ได้อีก เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดของเของเสียซึ่งเป็นพิษต่อดิน น้ำ อากาศ ตลอดจนปนเปื้อนมากับอาหารที่ผลิตได้ เป็นพิษภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย

            ปัญหาอันเกิดจากระบบการเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ทวีความรุนแรงและคับขันยิ่งขึ้นทุกขณะ จนอาจกล่าวได้ว่าใกล้ถึงจุด "วิกฤต" แล้ว เช่นเดียวกับปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ฯลฯ

            ทางออกของ "วิกฤตการณ์" ดังกล่าวก็คือ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "การปฏิวัติ" ครั้งใหม่ในระบบการเกษตรของโลก

            ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นทั้งแนวความคิดและรูปธรรมในการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านดังกล่าว แต่เป็นการปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียว กล่าวคือเปลี่ยนระบบการเกษตรปัจจุบัน เป็นระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming) นั่นเอง

            ฟูกูโอกะเชื่อว่าแท้จริงแล้วมนุษย์ไม่รู้อะไรเลย และไม่อาจเข้าใกล้ธรรมชาติได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นกิจกรรมทุกชนิดของมนุษย์จึงไร้ประโยชน์และสูญเปล่า นอกจากกิจกรรมประเภท "อกรรม" (Do-nothing) ซึ่งเป็นการร่วมมือกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องและส่งเสริมซึ่งกันและกันเท่านั้น

            เกษตรกรรมธรรมชาติคือตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมชนิดอกรรม ซึ่งมิได้หมายถึงการไม่ทำอะไรเลย หรือปล่อยตามยถากรรม หากแต่เป็นการงดเว้นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นทุกชนิด ใช้แรงงานที่มีอยู่โดยไม่ใช้แรงงานจากสัตว์หรือเครื่องจักร ไม่พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และไม่แยกทุกสิ่งออกจากธรรมชาติ เป็นต้น

            ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายแต่สูงส่งในด้านจิตวิญญาณ มีเวลาเหลือเฟือสำหรับพักผ่อนและทำงานอดิเรกที่เขารัก เช่น การเขียนกวีไฮกุหรือแต่งบทเพลง ฟูกูโอกะได้แสดงให้เราเห็นว่า มนุษย์แต่ละคนมีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยมสำหรับการดำรงชีวิตที่เป็นอิสระและสมบูรณ์ โดยอาศัยเกษตรกรรมธรรมชาติเป็นหนทางที่จะนำไปสู่วิถีชีวิตดังกล่าว

            ดังนั้น ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว จึงไม่ใช่เพียงเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดหรือประสบการณ์ด้านเกษตรเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องชีวิตทั้งชีวิตของชาวนาญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีอดีตเป็นนักวิทยาศาสตร์ และมิใช่เรื่องส่วนตัวหรือเฉพาะสำหรับประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องสากลสำหรับมนุษยชาติทั้งปวงบนโลกใบน้อยดวงเดียวกันและยุคสมัยเดียวกันนี้

            สำหรับหนังสือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียวนี้ ทราบมาว่าผู้แปลใช้เวลาหลายเดือนในการถอดความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ด้วยความอุตสาหะและพิถีพิถัน จนทำให้สามารถรักษาอรรถรสและความหมายตามต้นฉบับไว้ได้ครบถ้วน ทั้ง ๆ ที่มิได้สันทัดหรือมีพื้นฐานด้านเกษตรกรรมมาก่อนเลย นับว่าสมควรได้รับการชื่นชมอย่างจริงใจ

            เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลงแล้ว หลายคนคงมีความรู้สึกคล้ายคลึงกันคือเกิดแรงบันดาลใจที่จะเข้าร่วมในขบวนการ "ปฏิวัติ" ด้วยวิถีทางเกษตรกรรมธรรมชาตินี้บ้าง แต่คงจะมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่กล้าอุทิศตนดำเนินชีวิตไปตามแรงบันดาลใจดังกล่าวอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่หรือ "การปฏิวัติ" ที่แท้จริงทั้งหลาย ต่างก็เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ด้วยกันทั้งนั้นมิใช่หรือ

เดชา ศิริภัทร
๘ มีนาคม ๒๕๓๐

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
คำชี้แจงของผู้แปล


                ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว มีชื่อในพากย์อังกฤษว่า The One Straw Revolution ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในภาษาญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และถอดความเป็นพากย์อังกฤษในปีรุ่งขึ้น ส่วนฉบับแปลไทยนี้ตีพิมพ์เผยแพร่โดยมีระยะเวลาห่างจากต้นฉบับเดิมถึง ๑๒ ปี แต่กระนั้น เนื้อหาสาระที่มาซาโนบุกูโอกะตั้งใจสื่อสารกับผู้อ่านยังคงความมีชีวิตชีวา ที่ไม่ล้าสมัยไปตามวันเวลาที่ผ่านไป ทั้งยังกลับจะเป็นการเสนอทางออกให้กับยุคแห่งความตีบตันของเราในขณะนี้อย่างสมสมัย

            ข้าพเจ้าเชื่อว่าใครก็ตามที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ย่อมจะได้รับแรงบันดาลใจจากทัศนคติอันลุ่มลึก และประสบการณ์อันน่าทึ่งผ่านงานเกษตรกรรมของฟูกูโอกะ ดังเช่นที่ข้าพเจ้าได้ประสบสัมผัสจากการอ่านและแปลงานของเขาเล่มนี้ สิ่งที่ฟูกูโอกะได้สื่อสารกับเราด้วยการใช้ชีวิตตลอด ๕๐ ปีกับงานเกษตรกรรมที่เขาได้เลือกแล้วก็คือ "การปฏิวัติ" ที่แท้จริงสามารถเริ่มต้นขึ้นได้จากคนเล็ก ๆ คนหนึ่ง และจากสิ่งธรรมดาสามัญที่ดูเสมือนไร้คุณค่าดังเช่นฟางข้าวในท้องทุ่ง ขอเพียงแต่เราแลเห็นคุณค่าในสิ่งธรรมดาสามัญนั้นอย่างแท้จริง

           ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เป็นหนังสือหนึ่งในจำนวน ๕ เล่มของฟูกูโอกะ ที่ได้รับการตีพิมพ์ออกมาในขณะนี้ และในจำนวนดังกล่าวมี ๓ เล่มที่ได้รับการถ่ายทอดเป็นพากย์อังกฤษแล้ว ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เป็นหนังสือเล่มแรกของฟูกูโอกะ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นข้อเขียนที่เสนอความคิดที่เป็นแม่บทของเขาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ งานเขียนหลังจากนั้นล้วนเป็นการเพิ่มเติมและลงรายละเอียดต่อความคิดพื้นฐานดังกล่าว

            ในฉบับแปลเป็นไทยนี้ ข้าพเจ้าได้ทำนามานุกรมชื่อพืชและสัตว์เฉพาะที่เป็นอาหารเพิ่มเติมไว้ท้ายเล่ม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความรกรุงรังจากการกำกับชื่ออังกฤษไว้ในเนื้อหา ชื่อเหล่านี้ได้พยายามเทียบให้เป็นไทยมากที่สุด แต่กระนั้นก็ยังมีบางส่วนที่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเป็นพืชและสัตว์ที่หาไม่ได้ในประเทศไทย ซึ่งก็ใช้วิธีเรียกชื่อทับศัพท์ตามต้นฉบับอังกฤษ แม้ชื่อที่ได้เทียบเป็นไทยแล้ว ก็ขอให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจด้วยว่า ชื่อของพืชและสัตว์เหล่านั้นมิได้เป็นชนิดเดียวกันเสียทีเดียวกับที่พบในบ้านเรา โดยมากจะเป็นพืชและสัตว์ที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน ส่วนชนิดพันธุ์อาจแตกต่างกันบ้าง สำหรับพืชและสัตว์ที่ชาวไทยไม่คุ้นเคย ข้าพเจ้าได้พยายามหารายละเอียดเพิ่มลงในนามานุกรมเท่านี้จะสามารถหาข้อมูลได้ โดยหวังว่าเนื้อหาในส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านชาวไทยบ้าง นอกจากนี้ยังได้ทำเชิงอรรถเพิ่มเติมในบทแปลนี้ โดยกำกับต่อท้ายว่า ผู้แปล ส่วนเชิงอรรถนอกนั้นเป็นเชิงอรรถของผู้แปลเป็นอังกฤษได้ทำไว้แต่เดิม

            ข้าพเจ้าขอกราบขอบคุณ พระไพศาล วิสาโล ขอขอบคุณ คุณเดชา ศิริภัทร ที่กรุณาช่วยอ่านต้นฉบับ ตรวจแก้และให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับศัพท์เฉพาะทางเกษตรกรรม ขอขอบคุณ คุณสมยศ สุภาพรเหมินทร์ ที่ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มใจในการทำนามานุกรมชื่อพืชและสัตว์ ด้วยการเทียบชื่ออังกฤษให้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์จากนั้นจึงเทียบกลับมาเป็นชื่อไทย ซึ่งเป็นงานที่ใช้เวลาและต้องอาศัยความอุตสาหะอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเอื้อเฟื้อรูปถ่ายของฟูกูโอกะเป็นภาพประกอบในเล่ม ข้าพเจ้ายังได้รับภาพประกอบบางส่วนจาก คุณพิภพ ธงไชย และคุณมานะ วิทยาวัชรินทร์ ซึ่งทั้งสามท่านมีโอกาสได้พบกับฟูกูโอกะที่ไร่นาของเขาเมื่อคราวไปดูงานที่ญี่ปุ่น ข้าพเจ้าขอถือโอกาสขอบคุณในน้ำใจและความเอื้อเฟื้อ คนสุดท้ายที่ข้าพเจ้าไม่อาจจะละเลยกล่าวถึงในที่นี้คือคุณพจนา อรุณสันติโรจน์ ที่ได้อดหลับอดนอนเร่งดีดพิมพ์ต้นฉบับ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ให้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ข้าพเจ้าขอขอบคุณ เพื่อนคนอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่ของสำนักพิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามในที่นี้ ด้วยความสำนึกว่าความสำเร็จของหนังสือเล่มนี้ล้วนได้รับความเอื้อเฟื้อและช่วยเหลือจากบุคคลเหล่านี้

รสนา โตสิตระกูล
๙ มีนาคม ๒๕๓๐

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

อารัมภกถา


                ผู้อ่านที่คาดหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกษตรเท่านั้น คงจะรู้สึกประหลาดใจที่พบว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ คุณค่าทางวัฒนธรรม ตลอดจนข้อจำกัดของความรู้ของมนุษย์อีกด้วย ส่วนท่านที่อ่านเพราะได้รับคำบอกเล่าว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับปรัชญา ก็คงจะรู้สึกประหลาดใจที่พบว่า หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยความรู้ทางภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการปลูกข้าว ธัญพืชฤดูหนาว ส้ม และพืชผักสวนครัวในไร่นาของญี่ปุ่น

            นี้เป็นความคาดหวังโดยปกติวิสัย เพราะว่าเราคุ้นเคยที่จะคาดหวังบุคคลในลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ และหนังสือที่มีเนื้อหาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังที่เราต้องการ จากหนังสือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าต่อเราเพราะมันเป็นทั้งคู่มือการปฏิบัติและมีเนื้อหาทางปรัชญาในขณะเดียวกัน เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเกษตรที่จำเป็นและให้แรงบันดาลใจ ด้วยเหตุที่ว่ามันมิใช่เพียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเกษตรเท่านั้น

            ผู้อ่านที่มีความรู้ย่อมจะตระหนักได้ว่า เทคนิควิธีการของฟูกูโอกะไม่อาจนำมาใช้ได้โดยตรงกับไร่นาส่วนใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็ไม่ถูกต้องหากสรุปว่าความรู้ภาคปฏิบัติในหนังสือนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่าสำหรับเราเพียงเพราะเหตุผลดังกล่าว สิ่งเหล่านี้ควรค่าแก่การใส่ใจ ด้วยเหตุที่ว่ามันได้เสนอตัวอย่างอันวิเศษว่ามีอะไรที่เราสามารถทำได้บ้าง เมื่อผืนดิน สภาพอากาศและพืชพันธ์ได้รับการพินิจพิจารณาด้วยความสนอกสนใจ ด้วยสายตาแห่งความเข้าใจ และด้วยการเกี่ยวข้องอย่างถูกต้องเหมาะสม หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าเพราะได้ให้คำแนะนำที่น่าใคร่ครวญ และเสริมสร้างแรงบันดาลใจแก่เรา เกษตรกรคนใดก็ตามหากได้อ่านหนังสือเล่มนี้ย่อมจะพบว่า ความคิดของเขาถูกโน้มนำครั้งแล้วครั้งเล่าจากหน้าหนังสือสู่ไร่นาของตน และจากจุดนั้น จะก่อให้เกิดจุดเชื่อมต่อกับระบบทั้งหมดของการเกษตรกรรมในอเมริกา

            ฟูกูโอกะก็เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ คนในประเทศนี้ ที่มีความเข้าใจล้ำหน้ากว่าคนส่วนใหญ่ที่แลเห็นว่า เราไม่สามารถแยกด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตออกจากด้านอื่น ๆ เมื่อเราเปลี่ยนแปลงวิถีการเพาะปลูกธัญญาหารของเรา เท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนแปลงค่านิยมของเราไปด้วย ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่ให้ความใส่ใจต่อเรื่องราวความสัมพันธ์ ต่อสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล และต่อความรับผิดชอบในสิ่งที่แต่ละคนรู้

            สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับงานเขียนทางด้านเกษตรกรรมอินทรีย์ (Organic Farming) คงจะแลเห็นความคล้ายคลึงระหว่างงานของฟูกูโอกะกับงานของเซอร์อัลเบิร์ต โฮวาร์ด ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานศาสตร์แห่งเกษตรอินทรีย์ในโลกตะวันตก เช่นเดียวกับโฮวาร์ด ฟูกูโอกะก็เริ่มต้นด้วยการเป็นนักวิทยาศาสตร์ในห้องทดลอง และเริ่มมองเห็นข้อจำกัดของห้องทดลองในเวลาต่อมา โฮวาร์ดได้นำงานของเขาออกจากห้องทดลองมาสู่ไร่นา และเมื่อเขาได้ตระหนักว่าความรับผิดชอบทำให้เขาต้องเริ่มต้นทำตามความเห็นของเขาก่อนที่จะนำเสนอสิ่งนี้ต่อผู้อื่น นี้ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไป ฟูกูโอกะก็ทำในสิ่งเดียวกัน "ในท้ายที่สุดผมได้ตัดสินใจที่จะทำให้ความคิดของผมปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น โดยการนำมันมาสู่การปฏิบัติ เพื่อที่จะตัดสินว่าความเข้าใจของผมถูกหรือผิด ผมตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตด้วยการทำการเกษตร.....และนี่คือวิถีทางที่ผมเลือกเดิน" เขายังกล่าวอีกว่า "แทนที่จะพูดอธิบายเป็นร้อย ๆ ครั้ง สู้ลงมือทำตามความเชื่อจะมิเป็นวิธีที่ดีกว่าหรือ" เมื่อผู้เชี่ยวชาญตัดสินใจที่จะทำตามความเชื่อของตัวเองและเริ่มทำในสิ่งที่เขาพูด เขาได้ทำลายกำแพงแห่งความเป็นผู้เชี่ยวชาญของเขาลง เรายอมรับฟังเขาอย่างที่เราไม่เคยทำมาก่อน นั่นเพราะว่าเขาพูดด้วยหลักฐานซึ่งไม่ใช่จากความรู้เพียงอย่างเดียว เป็นหลักฐานที่ได้จากความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน

            เมื่อฟูกูโอกะพูดถึงเกษตรกรรมแบบ "ไม่กระทำ" (do-nothing) ชาวตะวันตกอาจระลึกได้ถึงข้อความในเซนต์ แมทธิว ๖:๒๖: ที่ว่า "จงดูนกที่บินอยู่บนฟ้าสิ มันไม่ต้องหว่าน ทั้งไม่ต้องเก็บเกี่ยว หรือเก็บสะะสมไว้ในยุ้งฉางแต่กระนั้นพระบิดาบนสวรรค์ก็ประทานอาหารให้มันจนเพียงพอ" ข้าพเจ้ายกตัวอย่างทั้งสองนี้เพื่อจะเตือนให้เราระลึกถึงสถานะอันเหมาะสมของเราในบรรดาสิ่งทั้งหลาย เรามิใช่เป็นผู้สร้างโลกหรือตัวเราเอง เรามีชีวิตอยู่ด้วยการใช้ชีวิต หาใช่สร้างชีวิตไม่ แต่แน่นอนล่ะ เกษตรกรไม่อาจทำการเกษตรโดยไม่ทำงาน เช่นเดียวกับนกที่ไม่อาจมีอาหารโดยไม่ออกหากิน นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ฟูกูโอกะยอมรับอย่างมีอารมณ์ขันว่า "ผมประกาศสนับสนุนเกษตรกรรมแบบ "ไม่กระทำ" และมีคนจำนวนมากมาที่นี่โดยคิดว่าเขาจะได้พบกับดินแดนในฝัน (Utopia) ที่ซึ่งเขาสามารถมีชีวิตอยู่โดยไม่ต้องทำอะไรแม้แต่เพียงการลุกขึ้นจากเตียง คนเหล่านี้ต้องพบกับความประหลาดใจอย่างยิ่ง" ประเด็นโต้แย้งในที่นี้ไม่ใช่การคัดค้านการทำงาน แต่เป็นการคัดค้านงานที่ไม่จำเป็น บางครั้งคนเราทำงานเกินจำเป็นเพื่อให้ได้สิ่งที่เขาปรารถนา และบางสิ่งที่เขาปรารถนาก็เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับเขา และ "การไม่กระทำ" นี้ยังเป็นปฏิกิริยาของสามัญสำนึกที่ตอบโต้อำนาจของผู้เชี่ยวชาญ ปฏิกิริยานี้ก็คือ "ลองไม่ทำสิ่งนี้ดูสิ ลองไม่ทำสิ่งนั้นดูสิ" นั่นคือวิธีคิดของผม นี่เป็นอาการต่อต้านของเด็ก และคนแก่บางคนที่มีความไม่ไว้วางใจต่อ "ความสมัยใหม่ที่ซับซ้อน" ที่มุ่งรุดไปข้างหน้าโดยปราศจากการตั้งคำถามว่า "เพื่ออะไร"

            ฟูกูโอกะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สงสัยในวิทยาศาสตร์หรือดังที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นวิทยาศาสตร์ นี่มิได้หมายความว่าเขาเป็นพวกไม่ปฏิบัติจริงหรือดูถูกในความรู้ แต่ทว่า ความลังเลสงสัยของเขาเกิดจากการปฏิบัติจริง และจากสิ่งที่เขารู้ ฟูกูโอกะก็เป็นเช่นเดียวกับ เซอร์ อัลเบิร์ต โฮวาร์ดที่กล่าวตำหนิความรู้ที่เป็นส่วน ๆ ของบรรดาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งหลาย เช่นเดียวกับโฮวาร์ด เขาต้องการที่จะสืบค้นเรื่องราวที่เขาเกี่ยวข้องอยูในลักษณะที่เป็นองค์รวมของสิ่งนั้น (Wholeness) และเขาไม่ลืมว่าความเป็นองค์รวมนั้นรวมถึงสิ่งที่เขารู้ และสิ่งที่เขาไม่รู้อยู่ด้วย สิ่งที่เขาหวาดเกรงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์สมัยใหม่ก็คือ ความรู้สึกดูถูกในสิ่งที่เป็นรหัสยนัย ความสมัครใจที่จะลดส่วนของชีวิตมาสู่สิ่งที่สามารถรู้ได้และมีสมมติฐานว่าสิ่งที่ไม่รู้สามารถละเลยได้โดยไมมีผลเสียแต่อย่างไร เขากล่าวว่า "ธรรมชาติที่ถูกรับรู้โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นธรรมชาติที่ได้ถูกทำลายไปแล้ว เปรียบเหมือนภูตผีที่มีแต่โครงกระดูก แต่ปราศจากวิญญาณ" ข้อความดังกล่าวช่างคล้ายคลึงกับน้ำเสียงที่แสดงความไม่วางใจในแบบฉบับแห่งวัฒนธรรมของเรา ซึ่งเขียนขึ้นโดยเวิร์ดสเวิธ :

ความฉลาดอันอยู่ไม่สุขของเรา
ได้ทำลายรูปทรงแห่งความงามของสรรพสิ่ง
เรากระทำฆาตกรรมด้วยการผ่าทุกสิ่งออกศึกษา

            วิธีการของฟูกูโอกะเป็นวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นและสิ้นสุดลงด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ด้วยความตระหนักรู้ว่า สิ่งที่มนุษย์เข้าใจได้ ย่อมมีน้อยกว่าสิ่งที่มีอยู่จริง ดูเหมือนสิ่งที่เขาต้องการจะกล่าวก็คือ หาใช่ความรู้ไม่ แต่เป็นความรื่นรมย์ต่างหากที่ให้ความรู้สัมผัสกับความเป็นหนึ่งของสรรพสิ่ง ซึ่งจะปรากฏขึ้นก็แต่ในขณะแห่งการไม่ยึดมั่นเท่านั้น เราสามารถพบข้อความที่ยืนยันความจริงข้อนี้ได้ในพระคัมภีร์ และในบทกวีของ วิลเลียม เบลก :

ผู้ซึ่งติดยึดอยู่กับความรื่นรมย์
ได้ทำลายปีกแห่งชีวิต
แต่ผู้ซึ่งจุมพิตความรื่นรมย์ขณะที่มันบินจากไป
จะมีชีวิตสถิตในนิรันดรภาพแห่งแสงอรุณ

            ความงดงามเช่นนี้แหละคือต้นธารแห่งปรีชาญาณ (insight) ในทางเกษตรกรรมของฟูกูโอกะ "เมื่อใดก็ตามที่บุคคลประจักษ์แก่ใจในความจริงที่ว่า ความรื่นรมย์และความสุขจะมลายหายไปเมื่อพยายามจะครอบครองมันไว้ เมื่อนั้นสาระของเกษตรกรรมธรรมชาติก็จะเป็นที่เข้าใจได้"

            และเกษตรกรรม "ธรรมชาติ" ซึ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นต้นกำเนิดและเป็นจุดสิ้นสุดนี้เอง ที่มีความเป็นมนุษย์และความเมตตากรุณาในทุกหนทุกแห่ง มนุษย์จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อเขาทำเพื่อความดีงามของมนุษย์ไม่ใช่เพื่อ "ผลผลิตที่สูงขึ้น" หรือเพื่อ "เพิ่มประสิทธิภาพ" ซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินงานของเกษตรกรรมแบบอุตสาหกรรม ฟูกูโอกะกล่าวว่า "เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์" เขาได้กล่าวถึงเกษตรกรรมในฐานะที่เป็นมรรควิถีว่า "การอยู่ที่นี่ ดูแลทุ่งนาเล็ก ๆ ด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวันทุก ๆ วัน นี้คือวิถีดั้งเดิมของเกษตรกรรม" งานเกษตรกรรมซึ่งมีความสมบูรณ์เป็นหนึ่งเดียวจะหล่อเลี้ยงบุคคลทั้งร่างกายและวิญญาณ เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว

เวนเดล แบร์รี่

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

บทนำ


                ใกล้กับหมู่บ้านเล็ก ๆ บนเกาะชิโกกุในภาคใต้ของญี่ปุ่น มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ได้พัฒนาวิธีการทำเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ ซึ่งสามารถช่วยทวนกระแสของเกษตรกรรมแผนใหม่ที่กำลังตกต่ำลงทุกที เกษตรกรรมธรรมชาติไม่ต้องใช้เครื่องจักร สารเคมี และอาศัยการกำจัดวัชพืชเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ฟูกูโอกะไม่ไถพรวนดิน และไม่ใช้ปุ๋ย เขาไม่กักน้ำไว้ในนาข้าวระหว่างฤดูเพาะปลูกดังที่ชาวนาทั้งในตะวันออกและทั่วโลกกระทำกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ดินในที่นาของเขาไม่เคยถูกไถพรวนมาเป็นเวลากว่า ๒๕ ปีแล้ว แต่กระนั้นผลผลิตที่เขาได้นั้นเมื่อเทียบกับที่นาที่ให้ผลผลิตสูงสุดในญี่ปุ่นแล้ว แทบไม่มีความแตกต่างกันเลย วิธีการเพาะปลูกของเขาใช้แรงงานน้อยกว่าวิธีอื่น ๆ ทั้งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงด้วย

            เมื่อผมได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับฟูกูโอกะในตอนแรกๆ นั้น ผมเกิดความรู้สึกสงสัยไม่แน่ใจ จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะเพาะปลูกข้าวและธัญพืชฤดูหนาวที่ให้ผลผลิตสูงในแต่ละปี โดยทำเพียงแค่การหว่านเมล็ดพันธุ์ไปบนที่นาที่ไม่มีการไถพรวน มันต้องมีวิธีการอะไรที่มากกว่านี้แน่

            ผมใช้ชีวิตอยู่กับกลุ่มเพื่อน ๆ ในที่นาแห่งหนึ่งทางเขตภูเขาทางเหนือของเมืองเกียวโตเป็นเวลาหลายปี เราใช้วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นในการปลูกข้าวเจ้า ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ถั่วเหลือง และผักสวนครัวหลายชนิด อาคันตุกะที่แวะเยี่ยมไร่นาของเรามักจะพูดถึงงานของฟูกูโอกะ แต่คนเหล่านี้ไม่มีใครเลยที่เคยอยู่ในไร่นาของฟูกูโอกะนานพอที่จะเรียนรู้รายละเอียดทางเทคนิคของเขา แต่ว่าคำพูดของพวกเขาก็กระตุ้นความสนใจใคร่รู้ของผม

            ยามใดก็ตามที่ว่างจากการงานในไร่นา ผมจะออกเดินทางไปยังภาคอื่น ๆ ของประเทศ แวะเยี่ยมเยียนไร่นาและชุมชนต่าง ๆ และหางานครึ่งเวลาทำไปด้วยในระหว่างเดินทาง มีอยู่ครั้งหนึ่งของการเดินทางในลักษณะนี้ ผมได้แวะเยี่ยมที่ไร่ของฟูกูโอกะเพื่อจะเรียนรู้การทำงานของชายคนนี้ด้วยตัวผมเอง

            ผมไม่แน่ใจนักว่าได้คาดหวังว่าเขาจะเป็นคนอย่างไร แต่หลังจากที่ได้ยินเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับครูผู้ยิ่งใหญ่คนนี้ ผมก็ต้องประหลาดใจที่ได้เห็นเขาสวมรองเท้าหุ้มข้อในเครื่องแต่งกายชุดทำงานชองชาวนาญี่ปุ่นโดยทั่วไป ยิ่งกว่านั้นหย่อมเคราสีขาว ผนวกกับท่าทีที่ว่องไว และเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นของเขา ได้ทำให้เกิดเป็นภาพบุคลิกของบุรุษที่แสนพิสดารที่สุดคนหนึ่ง

            ในการเยี่ยมครั้งแรกนั้น ผมใช้เวลาอยู่ในไร่นาของฟูกูโอกะเป็นเวลาหลายเดือน ทำงานอยู่ในนาและในสวนส้ม และในบ้านที่ผนังสร้างจากดินแห่งนั้น เราใช้เวลายามเย็นในการพูดคุยถกเถียงร่วมกับนักศึกษาที่มาทำงานในไร่นาคนอื่น ๆ และจากการพูดคุยนั้น ที่รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีการของฟูกูโอกะ รวมทั้งปรัชญาเบื้องหลังการกระทำเหล่านั้นก็ค่อย ๆ ปรากฏชัดเจนต่อผม

            สวนผลไม้ของฟูกูโอกะตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งมองลงไปเห็นอ่าวมัทซึยาม่า นี่คือ "ภูเขา" ที่นักเรียนของเขาพักอาศัยและทำงาน พวกเขาส่วนใหญ่มาในลักษณะเดียวกับผม สะพายเป้มาบนหลัง และก็ไม่รู้ว่าจะคาดหวังอะไรบ้างจากการมา บางคนมาอยู่ไม่กี่วัน หรือไม่กี่อาทิตย์ ก็เผ่นลงจากเขาไป แต่ทีนั่นก็ยังมีกลุ่มแกนราว ๔-๕ คนที่มาอยู่อาศัยเป็นปีหรือมากกว่านั้น หลายปีที่ผ่านมามีผู้คนทั้งชายและหญิงพากันมาอยูที่นี่และทำงาน

            ที่นี่ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกแบบสมัยใหม่ น้ำดื่มต้องใช้ถังหิ้วเอามาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ อาหารหุงขึ้นจากเตาถ่าน และแสงสว่างยามค่ำคืนได้จากเทียนและตะเกียงน้ำมันก๊าด ภูเขาแถบนี้อุดมไปด้วยสมุนไพรและพืชผัก ปลาและหอยสามารถหาได้จากลำธารใกล้ ๆ และสาหร่ายทะเลได้จากทะเลสาบที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ไมล์

            การงานจะเปลี่ยนไปตามอากาศและฤดูกาล เวลาทำงานเริ่มจาก ๘ โมงเช้า และหยุดพักเที่ยง ๑ ชั่วโมง (๒-๓ ชั่วโมงในช่วงที่ร้อนที่สุดกลางฤดูร้อน) นักศึกษาเหล่านั้นจะเลิกงานกลับสู่กระท่อมก่อนค่ำมืด นอกจากงานด้านเกษตรแล้วยังมีงานบ้านที่ต้องทำทุกวัน คือ การตักน้ำ ผ่าฟืน ทำอาหาร เตรียมน้ำร้อนสำหรับอาบ ดูแลแพะ ให้อาหารไก่และเก็บไข่ ดูแลรังผึ้ง ซ่อมแซมบ้านหรือบางครั้งก็ช่วยกันสร้างบ้านใหม่ และทำเต้าเจี้ยว (มิโซะ) กับเต้าหู้

            ฟูกูโอกะใช้เงิน ๑๐,๐๐๐ เยน (ประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ บาท)* ในแต่ละเดือนเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับความเป็นอยู่ในชุมชน ส่วนใหญ่จะใช้ไปในการซื้อซีอิ๊วที่ทำจากถั่วเหลือง น้ำมันพืช และของใช้จำเป็นอื่น ๆ ที่ไม่สามารถทำกันเองในชุมชนขนาดเล็ก สิ่งจำเป็นอื่น ๆ นอกนั้น นักศึกษาเหล่านั้นต้องพึ่งจากพืชพันธุ์ที่พวกเขาผลิตขึ้นทั้งหมด วัตถุดิบที่หาได้ในบริเวณนั้น และความสามารถส่วนตัวของเขา ฟูกูโอกะเจตนาที่จะให้นักศึกษาของเขาใช้ชีวิตในลักษณะกึ่งบรรพกาลแบบนี้ เช่นเดียวกับที่เขาเป็นอยู่มาเป็นเวลาหลายปี เพราะเขาเชื่อว่าวิถีชีวิตเช่นนี้จะพัฒนาประสาทสัมผัสที่ละเอียดอ่อนอันจำเป็นต่อการทำไร่นาตามวิธีแบบธรรมชาติของเขา

            บริเวณของเกาะชิโกกุที่ฟูกูโอกะอยู่อาศัย พื้นที่สำหรับปลูกข้าวจะอยู่บริเวณที่ราบริมฝั่งทะเล ส่วนสวนส้มจะปลูกตามเชิงเขารอบ ๆ ไร่นาของฟูกูโอกะจะประกอบด้วยพื้นที่ปลูกข้าว ๑ ๑/๔ เอเคอร์ (๓.๑ ไร่) และสวนส้มอีก ๑๒ ๑/๒ เอเคอร์ (๓๑.๒ ไร่) พื้นที่ขนาดนี้อาจจะดูไม่มากสำหรับข้าวนาในตะวันตก แต่เนื่องจากการทำงานในไร่นาแห่งนี้อาศัยเครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้านแบบญี่ปุ่น จึงต้องการแรงงานมากสำหรับการดูแลไร่นา แม้จะมีจำนวนพื้นที่ไม่มากนักก็ตาม

            ฟูกูโอกะจะทำงานร่วมกับนักศึกษาทั้งในนาและในสวน แต่ไม่มีใครรู้อย่างแน่นอนว่าเขาจะมาในเวลาใด ดูเหมือนเขาจะมีความสามารถพิเศษที่จะมาปรากฏตัวในเวลาที่คนไม่คิดว่าเขาจะมา เขาเป็นคนที่ว่องไวกระปรี้กระเปร่าและมักจะคุยเกี่ยวกับเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่เสมอ บางครั้งเขาจะเรียกนักศึกษามาชุมนุมพูดคุยถกเถียงกันถึงงานที่กำลังทำอยู่ และมักจะชี้แนะแนวทางที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยวิธีที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น บางครั้งเขาจะพูดให้ฟังเกี่ยวกับวงจรชีวิตของวัชพืชและโรคเชื้อราในสวน และมีบางครั้งที่เขาจะหยุดเพื่อระลึกและสะท้อนเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำการเกษตร นอกจากจะอธิบายถึงเทคนิควิธีการแล้ว ฟูกูโอกะยังสอนให้รู้จักทักษะพื้นฐานของงานเกษตรอีกด้วย เขาย้ำอยู่เสมอถึงความสำคัญในการดูแลรักษาเครื่องมืออย่างดี และไม่เคยเบื่อหน่ายที่จะสาธิตให้เห็นการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านั้น

            หากว่าคนมาใหม่คาดหวังว่า "เกษตรกรรมธรรมชาติ" คือการปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยมีเขานั่งดูอยู่เฉย ๆ ละก็ ฟูกูโอกะจะสอนให้เขารู้ว่ายังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้และกระทำอีกมากมาย ถ้าจะพูดให้ถูกต้องตามความหมายจริง ๆ แล้ว เกษตรกรรม "ธรรมชาติ" นั้นมีอยู่ชนิดเดียว คือการเสาะหาล่าสัตว์และเก็บเกี่ยวจากพืชผลที่เกิดขึ้นเอง การปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารนั้นถือเป็นประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม ที่ต้องอาศัยความรู้และความเพียรพยายามอันไม่ลดละ ข้อแตกต่างขั้นพื้นฐานก็คือ ฟูกูโอกะทำเกษตรกรรมด้วยการประสานร่วมมือกับธรรมชาติ ยิ่งกว่าการพยายามที่จะ "ปรับปรุง ธรรมชาติอย่างผู้มีชัยเหนือกว่า
            มีอาคันตุกะจำนวนมากที่แวะมาเยี่ยมเยียนเพียงแค่ครึ่งวันเท่านั้น กระนั้นฟูกูโอกะก็มีความอดทนในการพาอาคันตุกะเหล่านั้นเดินชมรอบไร่นาของเขา ไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะเห็นเขาก้าวเดินอาด ๆ ไปตามทางเดินขึ้นเขาพร้อมด้วยกลุ่มคนอีก ๑๐-๑๕ คน ที่เดินหอบฮัก ๆ ตามหลัง อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้มีแขกมาเป็นจำนวนมาก ๆ บ่อยนัก ฟูกูโอกะติดต่อกับโลกภายนอกหมู่บ้านของเขาน้อยมากในระหว่างหลายปีที่เขากำลังพัฒนาวิธีการของเขาอยู่

            เมื่อครั้งยังหนุ่ม ฟูกูโอกะได้จากบ้านในชนบทและเดินทางไปจนถึงเมืองโยโกฮาม่า ที่นั่นเขาทำงานเป็นนักวิจัยทางจุลชีววิทยา เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคพืช และทำงานอยู่ในห้องทดลองเป็นเวลาหลายปีในฐานะผู้ตรวจสอบสินค้าเกษตรของกรมศุลกากร ในเวลานั้น ขณะที่ฟูกูโอกะเป็นชายหนุ่มวัย ๒๕ ปี เขาก็ได้พบกับประสบการณ์แห่งการประจักษ์แจ้ง ซึ่งกลายเป็นฐานของงานชั่วชีวิตของเขา และเป็นสาระหลักของหนังสือเล่มนี้ด้วย เขาลาออกจากงานและกลับไปยังบ้านเกิดอีกครั้งเพื่อทดลองพิสูจน์ความจริงในสิ่งที่เขาพบโดยประยุกต์ความคิดนั้นกับการทำเกษตรกรรม

            ความคิดพื้นฐานปรากฏแก่เขาในวันหนึ่ง ขณะที่เขาเดินผ่านทุ่งนารกร้างแห่งหนึ่งที่ดินไม่เคยถูกไถพรวนมาเป็นเวลาหลายปี ที่นั่นเขาแลเห็นต้นข้าวที่แข็งแรงแทงยอดออกมาท่ามกลางกอหญ้าของวัชพืช จากนั้นเป็นต้นมา เขาเลิกกักน้ำไว้ในนาเพื่อที่จะปลูกข้าว เขาเลิกหว่านเมล็ดข้าวในฤดูใบไม้ผลิ แต่เปลี่ยนมาหว่านเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วงแทน และหว่านเมล็ดลงไปบนท้องนาโดยตรงซึ่งเมล็ดเหล่านั้นจะตกลงไปบนผืนดินโดยธรรมชาติ แทนที่จะไถพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช เขาเรียนรู้ที่จะควบคุมมันโดยการใช้พืชคลุมดินจำพวกถั่ว เช่นไวท์โคลเวอร์ และฟางข้าว เมื่อเขาแลเห็นว่าสภาพเช่นนั้นมีแนวโน้มที่เป็นประโยชน์ต่อพืชผลของเขา ฟูกูโอกะจะเข้าไปแทรกแซงพืชผลรวมทั้งชุมชนของสัตว์ในไร่นาของเขาน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

            ด้วยเหตุที่ชาวตะวันตกแม้แต่ในบรรดาเกษตรกรด้วยกัน ก็คงจะไม่คุ้นเคยกับการปลูกข้าวเจ้าและธัญพืชฤดูหนาวหมุนเวียนกัน และเพราะว่าฟูกูโอกะได้พูดถึงการปลูกข้าวเจ้าไว้มากในหนังสือเล่มนี้ ก็คงจะเป็นประโยชน์หากจะได้พูดถึงการทำเกษตรกรรมแบบพื้นบ้านของญี่ปุ่นไว้บ้าง

            แรกทีเดียวเมล็ดข้าวเจ้าจะถูกโปรยหว่านลงบนที่ราบลุ่มนาท่วมถึงในระหว่างฤดูมรสุม ในที่สุดที่ดินส่วนที่เป็นก้นแอ่งจะกลายเป็นชั้นลดหลั่นสามารถจะกักเก็บน้ำไว้สำหรับการเพาะปลูกแม้ว่าน้ำจากฤดูน้ำหลากจะผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม

            วิธีเพาะปลูกแบบพื้นบ้านของญี่ปุ่น ซึ่งเคยกระทำกันมาตั้งแต่อดีตตราบจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เมล็ดข้าวจะถูกหว่านลงบนแปลงเพาะที่มีการไถพรวนเตรียมไว้ ปุ๋ยหมักและมูลสัตว์จะถูกโปรยบนหน้าดิน แล้วปล่อยน้ำเข้าและไถคราดจนมีลักษณะข้นเหนียว เมื่อต้นกล้าสูงประมาณ ๘ นิ้ว ก็จะถูกนำไปปักดำในที่นา ชาวนาที่มีความชำนาญจะสามารถปักดำได้ถึงวันละ ๑/๓ เอเคอร์ (๐.๘ ไร่) แต่งานปักดำโดยมากใช้วิธีช่วยกันทำทีละหลาย ๆ คน

            เมื่อต้นกล้าถูกนำมาปักดำแล้ว จะมีการไถดินอีกเพียงเล็กน้อยระหว่างแถวของต้นกล้า จากนั้นก็ต้องคอยถอนวัชพืชและคลุมดินด้วยฟาง ที่นานั้นจะปล่อยให้น้ำท่วมขังสูงประมาณ ๑ นิ้วหรือมากกว่านั้นเป็นเวลา ๓ เดือน การเก็บเกี่ยวข้าวก็อาศัยเคียว รวงข้าวจะถูกมัดเป็นฟ่อนและแขวนไว้กับราวไม้ หรือไม้ไผ่เป็นเวลาหลายอาทิตย์เพื่อตากให้แห้งก่อนการนวด นับตั้งแต่การปักดำมาจนถึงการเก็บเกี่ยว ทุกตารางนิ้วในทุ่งนาผ่านมือชาวนา ๔ เที่ยวเป็นอย่างน้อย

            ทันทีที่การเก็บเกี่ยวสิ้นสุดลง พื้นดินจะถูกไถ และดินจะถูกปราบให้เรียบเป็นแนวกว้างประมาณ ๑ ฟุต และถูกคั่นด้วยร่องระบายน้ำ เมล็ดข้าวไรย์หรือข้าวบาร์เลย์จะถูกหว่านลงบนสันร่องและคลุมด้วยดิน การปลูกพืชหมุนเวียนเช่นนี้เป็นไปได้ ก็เพราะมีการกำหนดระยะเวลาในการเพาะปลูกไว้เป็นอย่างดี มีการดูแลที่นาให้ได้รับอินทรีย์วัตถุ รวมทั้งสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เป็นที่น่าสังเกตว่า การใช้วิธีเพาะปลูกแบบพื้นบ้านเช่นนี้ ชาวนาญี่ปุ่นสามารถปลูกข้าวเจ้าและธัญพืชฤดูหนาวในแต่ละปี บนผืนดินผืนเดิมมาเป็นเวลานับศตวรรษโดยไม่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดน้อยลงไป

            แม้ว่าเขาจะแลเห็นข้อดีหลายอย่างของการทำนาแบบพื้นบ้าน แต่ฟูกูโอกะก็ยังรู้ดีกว่ามีงานที่ไม่จำเป็นหลายอย่างอยู่ในวิธีการแบบนี้ เขาพูดถึงวิธีการของเขาว่าเป็นการทำเกษตรกรรมแบบ "ไม่กระทำ" (do-nothing farming) และยังบอกว่าวิธีการเช่นนี้ใคร ๆ ก็ทำได้ แม้แต่คนที่เป็นชาวนาแค่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ก็สามารถปลูกข้าวพอเลี้ยงดูคนทั้งครอบครัวได้ อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้หมายความว่าการทำนาแบบเขานั้น สามารถเป็นไปได้โดยปราศจากความพยายามเสียเลย ไร่นาของเขาดำเนินไปได้ ก็เพราะมีการกำหนดตารางเวลาขึ้นเป็นประจำสำหรับงานแต่ละอย่างในนา งานที่ทำต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง และด้วยความละเอียดอ่อน เมื่อเกษตรกรได้ตัดสินใจที่จะใช้ที่ดินแปลงหนึ่งสำหรับปลูกข้าวหรือผัก และได้หว่านเมล็ดแล้ว เขาจะต้องรับผิดชอบในการดูแลที่ดินแปลงนั้น การทำลายธรรมชาติแล้วก็ละทิ้งไป เป็นการกระทำที่อันตรายและเป็นความไม่รับผิดชอบ

            ในฤดูใบไม้ร่วง ฟูกูโอกะจะหว่านเมล็ดข้าวเจ้า พืชคลุมดินจำพวกถั่วพวกไวท์ โคลเวอร์ และธัญพืชฤดูหนาวลงบนที่ดินผืนเดียวกัน แล้วจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวให้หนา ๆ ข้าวบาร์เลย์หรือข้าวไรย์รวมทั้งพืชจำพวกถั่วเช่นโคลเวอรจะงอกขึ้นก่อนในขณะที่เมล็ดข้าวเจ้าจะนอนสงบนิ่งอยู่จนถึงฤดูใบไม้ผลิ

            ในขณะที่ธัญพืชฤดูหนาวเติบโตขึ้น และกำลังสุกอยู่ในที่นาข้างล่าง สวนผลไม้ตามเนินเขาก็กำลังเป็นที่ชุมนุมของกิจกรรมทั้งหลาย การเก็บผลส้มจะมีระยะตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน

            ข้าวไรย์และข้าวบาร์เลย์จะเก็บเกี่ยวในเดือนพฤษภาคม และจะแผ่ผึ่งแดดอยู่ในนาประมาณ ๗-๑๐ วัน หลังจากนั้นก็จะนำมานวด ฝัด และเก็บใส่กระสอบไว้ ฟางทั้งหมดจะนำมาโปรยคลุมพื้นที่นาเอาไว้โดยไม่ต้องสับ แล้วจึงปล่อยน้ำให้ท่วมขังในนาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในระหว่างฤดูมรสุมในเดือนมิถุนายนเพื่อทำให้พืชคลุมดินจำพวกถั่วและวัชพืชเฉาลง และเปิดโอกาสให้ต้นข้าวแตกหน่อแทงยอดออกมา เมื่อปล่อยน้ำออกจากที่นา พืชคลุมดินจะฟื้นตัวขึ้นมาใหม่และงอกงามอยู่ภายใต้ต้นข้าว จากช่วงนี้จนถึงหน้าเก็บเกี่ยว จะเป็นช่วงงานหนักของเกษตรกรโดยทั่วไป แต่งานในที่นาของฟูกูโอกะจะมีเพียงการดูแลทางระบายน้ำและถางหญ้าตามทางเดินระหว่างคันนาเท่านั้น

            ข้าวเจ้าจะเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคม รวงข้าวจะถูกแขวนผึ่งแดดให้แห้งก่อนจะนำมานวด การหว่านเมล็ดธัญพืชในฤดูใบไม้ร่วงจะเสร็จสิ้นลงเล็กน้อยก่อนที่ส้มแมนดารินชนิดต่าง ๆ จะเริ่มสุกและพร้อมที่จะเก็บ

            ผลผลิตข้าวเจ้าของฟูกูโอกะจะอยู่ระหว่าง ๑๘ ถึง ๒๒ บูเชล (๕๐๐-๕๙๐.๙ กิโลกรัม) ต่อพื้นที่ ๑ ๑/๔ เอเคอร์ (๐.๖ ไร่) ซึ่งเท่ากับผลผลิตที่ได้จากพื้นที่เพาะปลูกที่ใช้สารเคมี และวิธีแบบพื้นบ้านในเขตที่เขาอยู่อาศัย ส่วนผลผลิตธัญพืชฤดูหนาวของเขามักจะสูงกว่าชาวนาที่อาศัยสารเคมี และชาวนาที่เพาะปลูกแบบพื้นบ้าน ซึ่งเกษตรกรรมทั้งสองแบบล้วนแต่ใช้วิธียกแปลงและมีร่องระบายน้ำ

            การเพาะปลูกทั้ง ๓ วิธี (ธรรมชาติ พื้นบ้าน และใช้สารเคมี) ให้ผลผลิตที่ไม่แตกต่างกัน แต่จะให้ผลแตกต่างต่อดินที่ทำการเพาะปลูกอย่างเห็นได้ชัด ดินในที่นาของฟูกูโอกะดีขึ้นในแต่ละฤดูกาล ตลอดระยะ ๒๕ ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เขาเลิกไถพรวนดิน ที่นาของเขาดีขึ้นทั้งในแง่ความอุดมสมบูรณ์ โครงสร้างของดิน และความสามารถในการกักเก็บน้ำ สำหรับวิธีเพาะปลูกแบบพื้นบ้านนั้น สภาพของดินที่ผ่านการเพาะปลูกเป็นเวลาหลายปีจะคงสภาพเดิม ชาวนาจะได้ผลผลิตตามสัดส่วนของปุ๋ยหมักกับมูลสัตว์ที่เขาใส่ในนา แต่ดินในที่นาที่ใช้สารเคมีจะไร้ชีวิต และความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติจะถูกผลาญไปในระยะเวลาอันสั้น

            ข้อได้เปรียบที่สุดของวิธีการของฟูกูโอกะก็คือข้าว ที่สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องอาศัยน้ำท่วมขังในนาในฤดูปลูกข้าว น้อยคนที่จะเชื่อว่าเป็นไปได้แต่ความจริงก็คือมันเป็นไปได้ และฟูกูโอกะทำให้ข้าวเติบโตดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการเช่นนี้ ต้นข้าวของเขาลำต้นจะแข็งแรง และมีรากหยั่งลึก พันธุ์ข้าวเหนียวดั้งเดิมที่เขาปลูกจะให้เมล็ดระหว่าง ๒๕๐-๓๐๐ เมล็ดต่อรวง

            การใช้ฟางคลุมดินจะเพิ่มพูนความสามารถของดินในการกักเก็บน้ำ ในหลายแห่ง การทำเกษตรกรรมธรรมชาติสามารถตัดความจำเป็นเกี่ยวกับการชลประทานไปได้อย่างเด็ดขาด ข้าวเจ้าและพืชผลที่ให้ผลผลิตสูงสามารถปลูกในพื้นที่ที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะสามารถปลูกได้ ที่ดินลาดชันและที่ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์สามารถนำมาใช้เพาะปลูกได้ โดยปราศจากอันตรายจากการชะล้างพังทลายของหน้าดิน เกษตรกรรมธรรมชาติสามารถช่วยฟื้นฟูสภาพดินที่ถูกทำลายจากวิธีการเพาะปลูกอันโง่เขลา และจากสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            โรคพืชและแมลงยังคงมีอยู่ในนาและในสวนผลไม้ แต่พืชผลจะไม่เสียหาย ความเสียหายจะเกิดเฉพาะกับต้นที่อ่อนแอเท่านั้น ฟูกูโอกะยืนยันว่าวิธีการควบคุมโรคพืชและแมลงอย่างดีที่สุด ก็คือการปลูกพืชในสิ่งแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา

            ผลไม้ในสวนของฟูกูโอกะไม่ถูกตัดแต่งให้เป็นพุ่มเตี้ยเพื่อให้สะดวกกับการเก็บเกี่ยว แต่ปล่อยให้เติบโตไปในลักษณะที่เป็นธรรมชาติของมัน ผักและสมุนไพรปลูกอยู่ตามที่ลาดของสวนผลไม้ โดยที่มีการตระเตรียมดินน้อยมาก ในฤดูใบไม้ผลิเมล็ดเบอร์ดอกซ์ เมล็ดกะหล่ำปลี หัวไชเท้า ถั่วเหลือง ผักโสภณ ผักกาดหัว แครอท และเมล็ดผักชนิดต่าง ๆ จะถูกนำมาผสมกันแล้วหว่านไปตามทีโล่งระหว่างต้นไม้ ก่อนที่ฝนในฤดูใบไม้ผลิจะมาถึง พืชผลเหล่านี้อาจจะไม่สามารถปลูกได้ในทุกที่ แต่มันสามารถปลูกได้ในญี่ปุ่น ที่ซึ่งภูมิอากาศชื้นจากฝนที่ตกลงตลอดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เนื้อดินในสวนผลไม้ของฟูกูโอกะมีลักษณะคล้ายดินเหนียว หน้าดินอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอินทรีย์วัตถุ ร่วน และเก็บกักน้ำได้ดี นี่เป็นผลจากวัชพืชคลุมดินและพืชคลุมดินจำพวกถั่วที่ขึ้นปกคลุมสวนผลไม้เป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายปี

            วัชพืชจะถูกถางออกบ้างเมื่อผักยังอ่อนอยู่ แต่เมื่อผักเติบโตขึ้น มันจะถูกปล่อยให้เติบโตไปกับพืชคลุมดินตามธรรมชาติ มีผักบางส่วนที่ไม่ได้ถูกเก็บเกี่ยว เมื่อมันแก่เมล็ดจะตกลงดิน หลังจากที่งอกใหม่สัก ๑-๒ ชั่วรุ่น มันจะกลายพันธุ์กลับไปเหมือนผักป่าตามบรรพบุรุษของมันแต่เดิม ซึ่งมีลักษณะแข็งแรงและมีรสชาติขมนิด ๆ ผักหลายชนิดเติบโตขึ้นโดยปราศจากการดูแลเอาใจใส่ เมื่อผมไปถึงไร่นาของฟูกูโอกะไม่นานนัก วันหนึ่งผมเดินออกไปถึงส่วนที่อยู่ไกลที่สุดของสวนผลไม้ และก็เตะเอาของแข็งอะไรบางอย่างที่อยู่ท่ามกลางกอหญ้าสูงโดยไม่ตั้งใจ ผมก้มลงไปมองใกล้ ๆ สิ่งที่ผมเห็นคือแตงกวา และใกล้ ๆ กันนั้น ผมเห็นผลน้ำเต้าขึ้นเบียดเสียดกันอยู่ท่ามกลางพืชคลุมดินจำพวกถั่ว

            หลายปีมาแล้วที่ฟูกูโอกะเขียนเกี่ยวกับวิธีการของเขาลงในหนังสือนิตยสาร และให้สัมภาษณ์ทางวิทยุและโทรทัศน์ แต่แทบจะไม่มีใครที่จะทำตามตัวอย่างเขา ในเวลานั้นสังคมญี่ปุ่นกำลังเคลื่อนไปด้วยนโยบายที่สวนทางกับวิถีของฟูกูโอกะอย่างสิ้นเชิง

            หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกันได้นำเอาเกษตรกรรมแผนใหม่ที่ใช้สารเคมีเข้ามาในญี่ปุ่น วิธีเช่นนี้ช่วยให้เกษตรกรรมญี่ปุ่นสามารถผลิตพืชผลได้ในปริมาณที่เท่ากับที่ได้จากการเพาะปลูกแบบพี้นบ้าน แต่ลดเวลาและแรงงานของเกษตรกรลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง นี่ประดุจดังความฝันได้กลายเป็นความจริง และเพียงชั่วรุ่นหนึ่งผ่านไป ชาวญี่ปุ่นเกือบทุกคนก็หันไปหาเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมี

            นับเป็นเวลาร้อย ๆ ปีที่เกษตรกรญี่ปุ่นสงวนรักษาอินทรีย์วัตถุในดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน ใส่ปุ๋ยหมักและมูลสัตว์ และด้วยการปลูกพืชคลุมดิน เมื่อวิธีการเหล่านี้ถูกละทิ้งและมีการนำเอาปุ๋ยเคมีเข้ามาใช้แทนที่อย่างรวดเร็ว ฮิวมัสในดินก็ถูกทำลายหมดไปภายในชั่วรุ่นเดียว โครงสร้างของดินเสื่อมโทรมลง พืชพันธุ์เริ่มอ่อนแอและต้องพึ่งพิงปุ๋ยจากสารเคมี การสร้างระบบใหม่ขึ้นเพื่อที่จะลดแรงงานของคนและสัตว์ได้ทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินไป

            ในระหว่าง ๔๐ ปีที่ผ่านมา ฟูกูโอกะได้ประจักษ์ถึงความเสื่อมโทรมของแผ่นดินและสังคมญี่ปุนด้วยความรู้สึกขุ่นเคืองใจ ชาวญี่ปุ่นจำเริญรอยตามรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของอเมริกันอย่างสุดจิตสุดใจ มีการเคลื่อนย้ายของประชากร เนื่องจากเกษตรกรได้ย้ายถิ่นฐานจากชนบท เข้ามายังเขตความเจริญทางอุตสาหกรรม หมู่บ้านที่ฟูกูไอกะถือกำเนิดและเป็นพื้นฐานของครอบครัวฟูกูโอกะมานานกว่า ๑,๔๐๐ ปี บัดนี้ได้กลายเป็นเขตชานเมืองมัทซึยาม่าที่กำลังเจริญขึ้นไปเสียแล้ว ถนนหลวงที่ตัดผ่านที่นาของเขาเกลื่อนไปด้วยกองขวดสาเกและเศษขยะตามรายทาง

            แม้ว่าฟูกูโอกะจะไม่เคยจัดปรัชญาของตนเข้าอยู่กับองค์กรหรือนิกายศาสนาใดเป็นการเฉพาะ แต่คำพูดและวิธีการสอนของเขาก็ได้รับอิทธิพลสูงจากพุทธศาสนานิกายเซน และลัทธิเต๋า มีบางครั้งเช่นกันที่เขาจะยกข้อความจากในคัมภีร์ไบเบิ้ล และประเด็นทางปรัชญาและเทววิทยาจากในลัทธิยิว-คริสเตียน (Judeo-Christian) มาแสดงประกอบสิ่งที่เขาพูดถึง หรือเพื่อกระตุ้นให้เกิดการถกเถียง

            ฟูกูโอกะเชื่อว่าเกษตรกรรมธรรมชาติสืบสายมาจากสภาวะแห่งความไพบูลย์ทางจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล เขาถือว่าการบำรุงรักษาผืนแผ่นดินและการชำระจิตใจของมนุษยให้บริสุทธิ์เป็นกระบวนการอันเดียวกัน เขาได้นำเสนอมรรควิธีแห่งการดำเนินชีวิต และมรรควิธีแห่งเกษตรกรรมเพื่อให้เกิดกระบวนการดังกล่าวขึ้น

            เป็นเรื่องไม่สมจริงเลยหากมีความเชื่อว่าฟูกูโอกะสามารถแปรปรัชญาที่เขาได้ประจักษ์ ออกมาเป็นการปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ภายในชั่วชีวิตนี้ของเขาภายใต้เงื่อนไขและสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้เวลาจะได้ผ่านไปถึง ๓๐ ปีแล้ว แต่เทคนิควิธีการของเขาก็ยังพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คุณูปการที่ยิ่งใหญ่ของเขาก็คือการแสดงให้เห็นประจักษ์ว่า กระบวนการสร้างเสริมความไพบูลย์แห่งจิตวิญญาณในชีวิตประจำวัน สามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริง และเป็นคุณประโยชน์ต่อโลก

            ปัจจุบันการรับรู้ถึงอันตรายในระยะยาวจากการใช้สารเคมีในการเกษตร ทำให้เกิดความสนใจในการแสวงหาทางเลือกใหม่ทางเกษตรกรรมขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ฟูกูโอกะได้ก้าวเข้ามาในฐานะประกาศกชั้นนำเกี่ยวกับการปฏิวัติเกษตรกรรมในญี่ปุ่น เมื่อหนังสือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการตีพิมพ์ออกมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ ความสนใจในเกษตรกรรมธรรมชาติก็แพร่หลายอย่างรวดเร็วในหมู่ชาวญี่ปุ่น

            หลังจากที่ผมทำงานอยู่ในไร่นาของฟูกูโอกะเป็นเวลาปีครึ่ง ผมก็กลับไปที่ไร่นาของผมในเมืองเกียวโตบ่อยขึ้น ทุกคนที่นั่นกระตือรือร้นที่จะลองวิธีใหม่ และในที่สุดการทำเกษตรในที่ดินของพวกเราก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นเกษตรกรรมธรรมชาติมากขึ้นทุกที

            นอกจากการปลูกข้าวเจ้า และข้าวไรย์หมุนเวียนกันตามวิธีการพื้นบ้านแล้ว เราก็ยังปลูกข้าวสาลี ข้าวบั๊ควีท มันฝรั่ง ข้าวโพดและถั่วเหลืองตามอย่างวิธีของฟูกูโอกะอีกด้วย ในการปลูกข้าวโพดและพืชที่ปลูกเป็นแนวชนิดอื่นซึ่งงอกช้า เราจะทำรูโดยใช้เศษไม้หรือไม้ไผ่จิ้ม จากนั้นจะหยอดเมล็ดลง แต่ละหลุมเราปลูกข้าวโพดปนกับถั่วเหลืองด้วยวิธีการของฟูกูไอกะ คือใช้วิธีหุ้มเมล็ดในกระสุนดินเหนียว และหว่านลงไปในดิน จากนั้นเราจะถางวัชพืชคลุมดินและพืชคลุมดินจำพวกถั่วออกไปบ้าง และใช้ฟางคลุมดิน พืชคลุมดินจะงอกขึ้นมาใหม่แต่ก็หลังจากที่ข้าวโพดและถั่วเหลืองเติบโตหยั่งรากดีแล้ว

            ฟูกูโอกะจะช่วยได้ก็เพียงการให้คำแนะนำบางประการ แต่เราต้องปรับปรุงวิธีการเหล่านี้ด้วยการลองผิดลองถูกกับพืชผลชนิดต่าง ๆ และปัจจัยเงื่อนไขในท้องถิ่นของเราเอง เรารู้ตั้งแต่แรกเริ่มแล้วว่าการเปลี่ยนไปสู่เกษตรกรรมธรรมชาตินั้น ต้องการเวลามากกว่า ๒-๓ ปี ทั้งนี้เพื่อให้เวลาในการปรับตัวแก่ดิน และจิตใจของเราเองด้วย จากจุดหัวเลี้ยวได้กลายมาเป็นกระบวนการที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องและรุดหน้าในบัดนี้

ลาร์รี่ คอร์น

 

--------------------------------------------------------------------------------

* เป็นอัตราเงินในปี ๒๕๑๘ : ผู้แปล

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

บันทึกเกี่ยวกับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ


                การถ่ายทอดเนื้อความจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่งนั้น ก็นับว่าเป็นงานที่ท้าทายพออยู่แล้ว แต่การคงอรรถรสและลักษณะทางวัฒนธรรมตามท้องเรื่องของต้นฉบับเดิมไว้ด้วย กลับเป็นงานที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาญี่ปุ่นมีความละเอียดลึกซึ้งกว่าภาษาอังกฤษในการอธิบายประสบการณ์ในทางจิตวิญญาณ และคำสอนทางปรัชญาซึ่งจะพบอยู่ในหนังสือเล่มนี้ คำบ้างคำ เช่น ความรู้ที่ "แบ่งแยก" และ "ไม่แบ่งแยก" "จิตว่าง" และ "ไม่กระทำ" ไม่มีคำใช้ในภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุนี้จึงต้องแปลโดยใช้รูปคำและให้อรรถาธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนั้น ๆ

            คำสอนโดยทั่วไปของเมธีตะวันออกมักมีลักษณะที่ขัดกันในตัวมันเอง ไม่เป็นเหตุเป็นผล และมักมีลักษณะที่ขัดแย้งกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะช่วยทำลายแบบแผนความคิดอันเคยชิน คำพูดเหล่านั้นไม่มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจตามรูปคำ หรือในลักษณะที่เป็นอุปมาอุปมัยแต่อย่างไร เราคำพูดเหล่านั้นจะเป็นก็แต่แบบฝึกหัด ที่จะช่วยเปิดจิตสำนึกให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่พ้นขอบเขตการเข้าถึงของพุทธิปัญญา (lntellect)

            คำญี่ปุ่นวา มูจิ แปลว่า "ธัญพืชฤดูหนาว" นั้นรวมเอาข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ วิธีการปลูกธัญพืชเหล่านี้มีลักษณะคล้ายกัน ยกเว้นข้าวสาลี ซึ่งโดยทั่วไปจะสุกช้ากว่าข้าวชนิดอื่นหลายอาทิตย์ ข้าวไรย์และข้าวบาร์เลย์นิยมปลูกกันทั่วไปในญี่ปุ่นมากกว่าข้าวสาลี ทั้งนี้เพราะว่าข้าวสาลี กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ก็ล่วงถึงกลางฤดูฝนของญี่ปุ่นแล้ว

            คำญี่ปุ่นว่า มิกัน แปลว่าส้ม ส้มที่พบและรู้จักทั่วไปทางตะวันออก ส่วนใหญ่จะเป็นส้มแมนดาริน ส้มแมนดารินที่ปลูกในญี่ปุ่นมีหลายพันธุ์ แต่ที่พบโดยทั่วไปจะเป็นส้มผลเล็ก ซึ่งคล้ายกับส้มเขียวหวานในประเทศของเรา(สหรัฐอเมริกา)

            ในกรณีที่มีการกล่าวเป็นเฉพาะในท้องเรื่องเกี่ยวกับธัญพืชฤดูหนาว และชนิดของส้มในบทแปลก็จะใช้ชื่อเฉพาะด้วย

            การแปล ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว เริ่มต้นที่ไร่นาของฟูกูโอกะ และมีเขาเป็นคนช่วยตรวจตราแก้ไขในระหว่างฤดูใบไม้ผลิ ปี ๒๕๑๙ นี่มิใช่การแปลแบบคำต่อคำ ในหนังสือเล่มนี้ยังได้รวมเอาส่วนที่เกี่ยวกับงานอื่น ๆ ของฟูกูโอกะ และบทสนทนากับเขาเอาไว้ด้วย

ลาร์รี่ คอร์น

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ

                เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ในหมู่บ้านเล็ก ๆ บนเกาะชิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น เขาจบการศึกษาทางจุลชีววิทยา สาขาพยาธิวิทยาของพืช และทำงานเป็นนักวิจัยทางเกษตรของกรมศุลกากรในเมืองโยโกฮาม่า ในแผนกตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ ๒๕ ปี ฟูกูโอกะเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของเกษตรกรรมสมัยใหม่ เขาตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาอุทิศเวลากว่า ๕๐ ปีให้กับการพัฒนาวิธีการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ

ฟูกูโอกะเชื่อว่าเกษตรกรรมธรรมชาติสืบสายมาจากสภาวะแห่งความไพบูลย์ทางจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล เขาถือว่าการบำรุงรักษาผืนแผ่นดินและการชำระจิตใจของมนุษยให้บริสุทธิ์เป็นกระบวนการอันเดียวกัน เขาได้นำเสนอมรรควิธีแห่งการดำเนินชีวิต และมรรควิธีแห่งเกษตรกรรมเพื่อให้เกิดกระบวนการดังกล่าว เขากล่าวว่า "เป้าหมายสูงสุดของเกษตรกรรมไม่ใช่การเพาะปลูกพืชผล แต่คือการบ่มเพาะความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์"

และด้วยเหตุที่เราไม่อาจแยกด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตออกจากด้านอื่น ๆ เมื่อเราเปลี่ยนแปลงวิถีเพาะปลูกธัญญาหารของเรา เท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะของอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนแปลงค่านิยมของเราไปด้วย คุณูปการที่ยิ่งใหญ่ของเขาก็คือ การแสดงให้ประจักษ์ว่า กระบวนสร้างเสริมความไพบูลย์แห่งจิตวิญญาณในชีวิตประจำวัน สามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงและเป็นคุณประโยชน์ต่อโลก

   เมื่อดินถูกเผาจนอินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์หมดไป การใช้ปุ๋ยก็จะกลายเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าใช้ปุ๋ยเคมีต้นข้าวจะโตไวและสูง แต่วัชพืชก็จะเจริญเติบโตเช่นเดียวกันด้วย ยากำจัดวัชพืชก็ต้องถูกนำมาใช้ และคนก็จะคิดว่ามันมีประโยชน์

  ในระหว่างเดินทางไปยังโตเกียว ผมมองออกไปนอกหน้าต่างรถไฟสายฮอคไคโด ผมได้แลเห็นความเปลี่ยนแปลงของชนบทญี่ปุ่น มองดูท้องนาในฤดูเหมันต์ ภาพที่ปรากฏล้วนแต่แตกต่างจากเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วโดยสิ้นเชิง ผมรู้สึกบันดาลโทสะอย่างที่ไม่อาจอธิบายเป็นคำพูดได้

ภูมิประเทศเดิม ๆ ที่มีทุ่งนาข้าวบาร์เลย์อันเขียวขจีเป็นระเบียบ ต้นถั่วยาง และต้นผักกาดยางที่ออกดอกบานสะพรั่งไม่ปรากฏให้เห็นอีกต่อไป สิ่งที่เห็นก็คือ ฟางที่ถูกเผายังไม่หมดดีกองสุมระเกะระกะและถูกปล่อยให้เปียกโชกอยู่ในสายฝน การที่ฟางเหล่านี้ถูกละเลยเป็นข้อพิสูจน์ถึงความไร้ระเบียบของเกษตรกรรมแบบใหม่ ทุ่งนาที่ไร้พืชผลเหล่านี้ได้ส่อให้เห็นถึงความแห้งแล้งในจิตใจของเกษตรกร มันท้าทายความรับผิดชอบของผู้นำรัฐบาล และได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการขาดนโยบายทางการเกษตรที่สุขุมแยบคาย


ผมเชื่อว่าการปฏิวัติสามารถเริ่มต้นจากฟางข้าวเพียงเส้นเดียว ดูเผิน ๆ ฟางข้าวนี้อาจจะดูบอบบางไร้น้ำหนัก และไม่มีความสลักสำคัญอะไร จึงยากที่ใครจะเชื่อว่ามันสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติได้ แต่ผมได้ตระหนักแล้วถึงน้ำหนักและพลังของฟางเส้นนี้ หากผู้คนรู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงของฟางเส้นนี้ การปฏิวัติของมนุษยชาติก็จะเกิดขึ้น เป็นการปฏิวัติที่ทรงพลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศและโลกทั้งโลกเลยทีเดียว

http://olddreamz.com/bookshelf/onestraw/osphoto.html
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



.......ผมเฝ้าสงสัยว่าเหตุไฉนปรัชญาของผู้คน
จึงได้หมุนเร็วเสียยิ่งกว่าการแปรเปลี่ยนของฤดูกาล...
  ธรรมชาติไม่ได้เปลี่ยนแปลง แม้ว่า วิธีการมองดู
ธรรมชาติ จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
จากยุคหนึ่งสู่ยุคหนึ่ง ....


ภาค ๑


พินิจดูเมล็ดข้าวนี้

โลกนี้ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร

กลับสู่ชนบท

สู่เกษตรกรรมแบบไม่กระทำ

กลับคืนสู่ต้นกำเนิด

สาเหตุที่เกษตรกรรมธรรมชาติไม่แพร่หลาย
มนุษย์ไม่รู้จักธรรมชาติ

--------------------------------------------------------------------------------
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



๑.๑

พินิจดูเมล็ดข้าวนี้


                ผมเชื่อว่าการปฏิวัติสามารถเริ่มต้นจากฟางข้าวเพียงเส้นเดียว ดูเผิน ๆ ฟางข้าวนี้อาจจะดูบอบบางไร้น้ำหนัก และไม่มีความสลักสำคัญอะไร จึงยากที่ใครจะเชื่อว่ามันสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติได้ แต่ผมได้ตระหนักแล้วถึงน้ำหนักและพลังของฟางเส้นนี้ สำหรับผมแล้ว การปฏิวัติดังกล่าวเป็นเรื่องจริงจังมาก

              ลองมองดูผืนนาที่ปลูกข้าวไรย์และข้าวบาร์เลย์เหล่านี้ มันให้ผลผลิตถึง ๒๒ บูเชล (๕๙๐.๙ กิโลกรัม) ต่อเนื้อที่ ๑/๔ เอเคอร์ (๐.๖ ไร่) ผมเชื่อว่าผลผลิตดังกล่าวเทียบได้กับผลผลิตสูงสุดในจังหวัดอิไฮมิ และหากปริมาณผลผลิตนี้เท่ากับผลผลิตในจังหวัดอิไฮมิแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นปริมาณผลผลิตที่สูงที่สุดในประเทศ เพราะที่อิไฮมิถือกันว่าเป็นแหล่งที่มีอัตราผลผลิตข้าวสูงที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น และยิ่งกว่านั้นผืนนาเหล่านี้ไม่เคยถูกไถพรวนมาเป็นเวลาถึง ๒๕ ปีแล้ว

              เมื่อจะปลูก ผมก็เพียงแต่หว่านเมล็ดข้าวไรย์และข้าวบาร์เลย์ลงในที่นาคนละแปลงในฤดูใบไม้ร่วงในขณะที่ข้าวเจ้ายังไม่ได้เก็บเกี่ยว หลายอาทิตย์ต่อมาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเจ้าเสร็จแล้ว ผมจะนำฟางข้าวมาคลุมให้ทั่วผืนนาที่ถูกเก็บเกี่ยวข้าวไป

              การปลูกข้าวเจ้าก็ใช้วิธีการเดียวกัน ธัญพืชฤดูหนาวจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ ๒๐ พฤษภาคม และประมาณ ๒ อาทิตย์ก่อนที่ข้าวจะสุกเต็มที่ ผมก็จะหว่านเมล็ดข้าวเจ้าซ้อนลงในแปลงข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ เมื่อการเก็บเกี่ยวธัญพืชฤดูหนาวและการนวดข้าวแล้วเสร็จ ผมจะโปรยฟางข้าวไรย์และข้าวบาร์เลย์ลงคลุมพื้นที่นา

              ผมคิดว่าการใช้วิธีปลูกข้าวเจ้าและธัญพืชฤดูหนาวแบบเดียวกัน เป็นวิธีการเฉพาะของการทำเกษตรกรรมชนิดนี้ แต่มีวิธีที่ง่ายกว่านี้ ขณะที่เราเดินตัดไปยังที่นาแปลงถัดไป ผมจะชี้ให้ดูข้าวเจ้าที่หว่านพร้อมกับธัญพืชฤดูหนาวเมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่แล้ว การปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปีในที่นาแปลงนั้น จะเสร็จสิ้นภายในวันขึ้นปีใหม่

              คุณจะสังเกตเห็นว่ามีพืชคลุมดินจำพวกถั่ว และวัชพืชงอกอยู่ในที่นาเหล่านี้ด้วย พืชคลุมดินจำพวกถั่วจะถูกหว่านลงไปในระหว่างต้นข้าวในต้นเดือนตุลาคมก่อนการหว่านข้าวไรย์และบาร์เลย์เล็กน้อย ผมไม่ต้องยุ่งยากเกี่ยวกับการหว่านพืชคลุมดินเหล่านี้ เพราะว่ามันสามารถแพร่พันธุ์ได้เองอย่างง่ายดาย

              ดังนั้นแบบแผนการปลูกพืชในที่นาจะเป็นเช่นนี้ พืชคลุมดินจำพวกถั่วจะถูกหว่านลงในระหว่างต้นข้าวในตอนต้นเดือนตุลาคม ธัญพืชฤดูหนาวจะถูกหว่านตามลงไปในตอนกลางเดือน พอต้นเดือนพฤศจิกายนข้าวเจ้าก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ หลังจากนั้นข้าวเจ้าสำหรับปีต่อไปก็จะถูกหว่านลงในที่นา และฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยวจะถูกนำมาโปรยคลุมที่นาเอาไว้ ข้าวไรย์และบาร์เลย์ที่คุณแลเห็นอยู่นี้ก็เติบโตขึ้นมาด้วยวิธีดังกล่าว

              ในการดูแลที่นาขนาด ๑/๔ เอเคอร์ (๐.๖ ไร่) แรงงานคนเพียง ๑ หรือ ๒ คนก็เพียงพอที่จะทำงานทั้งหมด ในการปลูกข้าวเจ้าและธัญพืชฤดูหนาวให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่กี่วัน คงจะไม่มีวิธีเพาะปลูกอื่นใดที่ง่ายยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว

              วิธีการนี้มีลักษณะที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับเทคนิคทางเกษตรกรรมแผนใหม่ มันได้โยนความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ในการเพาะปลูกแบบพื้นบ้านทิ้งไปเสียสิ้น วิธีการเพาะปลูกชนิดนี้ ไม่ต้องใช้เครื่องจักร ไม่ต้องอาศัยปุ๋ยและสารเคมี แต่สามารถให้ปริมาณผลผลิตเท่ากับหรือมากกว่าผลผลิตจากที่นาโดยเฉลี่ยในญี่ปุ่น ซึ่งมีหลักฐานให้เห็นประจักษ์แก่ตา

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...