วิถีธรรม > แนวทางปฏิบัติธรรม

วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"

(1/4) > >>

ฐิตา:


วิเคราะห์ "ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร"
( พระสูตรที่ยังธรรมจักรให้เป็นไป )
ที่มา: หนังสือ "สมาธิหมุน จิตวิวัฒน์เพื่อความพ้นทุกข์"
เรียบเรียงโดย
คุณเกียรติศักดิ์ แสงสุวรรณ



ในอดีตกาลที่ผ่านมา คำสอนที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ถึงวิธีการ
เพื่อทำให้จิตของคนได้เห็นการหมุนวนของความสัมพันธ์
ที่อายตนะภายนอก ภายในส่งต่อเชื่อมโยงสภาพรู้กันกลับไปกลับมา

คือ พระธรรมเทศนาที่ได้ตรัสให้ปล่อยวางจากความยึดติด
จากอายตนะทั้งสองส่วน คือ อายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน
ดังคำตรัสนี้

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว
เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1

อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญานให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ข้อปฏิบัติทางสายกลาง ประกอบด้วยองค์แปดประการ คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดชอบ
สัมมากัมมันโต การเลี้ยงชีพชอบ สัมมาอาชีโว การงานชอบ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ"

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจ คือ ทุกข์มีอยู่ อุปาทานขันธ์ 5 คือตัวทุกข์
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา
นิโรธ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ ความดับสนิทโดยไม่เหลือของตัณหา
มรรค ข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์มีอยู่ คือ

ข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ แปดประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดชอบ สัมมากัมมันโต การเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาอาชีโว การงานชอบ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ญานเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เรา
ไม่เคยฟังมาในกาลก่อนว่า ก็อริยสัจ คือ
ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว
เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรละ เหตุให้เกิดทุกข์ เราละได้แล้ว
ความดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง ความดับทุกข์ เราทำให้แจ้งแล้ว
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เป็นอย่างนี้ ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ ควรทำให้เกิด
ข้อปฏิบัติทำให้ดับทุกข์ เราทำให้เกิดแล้ว
อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กำเริบ
ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป"

ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน
ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา"

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาได้บันลือเสียงว่า
นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
เขตพระนครสาวัตถี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้

ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ
โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ
ด้วยประการฉะนี้

( บางส่วนจากพระสูตร ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ 4 พระบาลีวินัยปิฎก มหาวรรค
ปฐมภาค ขันธกะที่ 1 มหาขันธกะ )




 :13:  : http://sites.google.com/site/ingdhamma/dhamma7

มีต่อค่ะ

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม

ฐิตา:

หรืออีกคำตรัสหนึ่ง คือ

ความตั้งไว้ซึ่งส่วนสุดทั้งสอง ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ขีณาสพใด เพื่อภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือโลกหน้า
พระอรหันต์นั้นย่อมไม่มีเครื่องอยู่อะไร ๆย่อมไม่มีการถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น

คำว่า ส่วนสุด คือ ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ 1 ผัสสะสมุทัยเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
อดีตเป็นส่วนสุดที่ 1 อนาคตเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ 1 ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
นามเป็นส่วนสุดที่ 1 รูปเป็นส่วนสุดที่ 2 ,
อายตนะภายใน 6 เป็นส่วนสุดที่ 1 อายตนะภายนอก 6 เป็นส่วนสุดที่ 2 ,
กายของตนเป็นส่วนสุดที่ 1 สมุทัยแห่งกายของตนเป็นส่วนสุดที่ 2

( บางส่วนจาก พระไตรปิฏกเล่มที่ 29 พระสูตรตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส )

ความหมายของ กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์นี้ หากเราจะแปลความหมายเป็นการเสพกามคุณ 5 คือ

เสพ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เข้ามากระทบที่อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมถึงสิ่งที่ชายหญิงกระทำต่อกันก็คงไม่ผิด เพราะความหมายของกามนั้นกินความได้ค่อนข้างกว้าง แต่หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วคงไม่ตรงกับความหมายตามเจตนาที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ กามสุขัลลิกานุโยค ในความหมายที่ลึกกว่านั้น ควรเป็น กามที่เกิดจากการเสพความสุขที่ละเอียดในอารมณ์ของฌาน ซึ่งเกิดจากจิตเข้าไปรวมเป็นหนึ่งกับธาตุรู้ในใจ อันเป็นอายตนะภายใน ดังนั้น ความหมายของกามสุขัลลิกานุโยค จึงควรกล่าวได้ว่า เป็นการทำให้จิตติดอายตนะภายใน

ส่วนความหมายของ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็คือ การทรมานร่างกายให้ร่างกายได้รับความทุกข์ ซึ่งจิตต้องออกมารับความทุกข์จาก ผัสสะ และ เวทนาที่แรงกล้า ที่กระทำต่ออายตนะภายนอก ความหมายของ อัตตกิลมถานุโยค ที่ลึกกว่าการทรมานร่างกาย จึงกล่าวได้ว่า เป็นการทำให้จิตติดอายตนะภายนอก

ที่แปลความได้เช่นนี้ เพราะ

1. หากดูจากพุทธประวัติของพระพุทธองค์แล้ว ก่อนที่จะตรัสรู้ท่านได้ฝึกฝนจิตใจด้วยแนวทางหลักอยู่ 2 ประการ คือ เริ่มจาก ไปศึกษาการทำสมาธิจากอาฬรดาบสกับอุทกกดาบสฝึกทำจิตใจให้สงบนิ่งเข้าไปอยู่ในอารมณ์ของฌานที่ลึกที่สุด ที่ฟ้าผ่าก็ไม่ได้ยินเสียง ไม่มีความรู้สึกตัว เมื่อท่านออกจากฌานแล้วก็เห็นว่ากิเลสมันก็ยังเกิดขึ้นเหมือนกับคนปกติอยู่ จึงเข้าใจว่า การจะแสวงหาความพ้นทุกข์ จาก เกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยเข้าไปอยู่ในอารมณ์ของฌานคงไม่ประสบความสำเร็จ จึงหาวิธีใหม่ทำสิ่งตรงกันข้ามกับวิธีการแรก คือ ให้จิตมาติดกับความรู้สึกภายนอก ให้เวทนามันมีมากๆ โดยการทรมานร่างกายตัวเองด้วยวิธีการต่างๆ นาๆ เพื่อให้จิตมาติดกับความรู้สึกภายนอกให้มากๆ ท่านก็ฝึกฝนไป จนแทบจะสิ้นชีวิตก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ในที่สุดท่านก็มาได้สติ เมื่อมีเทวดามาทำอุบายดีดพิณสามสายให้ฟัง จึงเกิดปัญญามีมุมมองและความคิดใหม่ต่อปัญหาที่ตนเองประสบอยู่ คือ ลองฝึกดูด้วยวิธีใหม่ คราวนี้ไม่เข้าฌาน ไม่ทำจิตให้ติดอยู่กับอายตนะภายใน คือ ใจ และ เลิกทรมานร่างกาย ไม่ให้จิตมาติดอยู่กับอายตนะภายนอก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังคำตรัสว่า

"ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น"

เมื่อท่านไม่ให้จิตอยู่กับ อายตนะ ภายนอก และ ภายใน ดำรงจิตให้อยู่ท่ามกลางอย่างนั้น จิตก็ไม่มีที่ยึดเกาะ จิตก็หลุดพ้นออกจาก อายตนะ และ จากขันธ์ทั้งมวล บรรลุธรรมในครั้งนั้น

ฐิตา:

2 . หากเราแปลความหมาย กามสุขัลลิกานุโยค เป็นเพียงการมัวแต่เสพกาม ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
และ อัตตกิลมถานุโยค เป็นการทรมานร่างกาย มันก็ไม่ให้ความหมายอะไรที่จะเป็นวิธีการปฏิบัติทางจิต เป็นความรู้ใหม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับจิตใจของเราขึ้นมา อ่านแล้วก็รู้สึกเฉยๆ ทิ้งไว้แค่นั้น
ก็จะเป็นเพียงการบอกกล่าว ว่า ไม่เสพกามแบบชาวบ้าน และ ไม่ทรมานตนเอง ก็จะถึงซึ่งความตรัสรู้ได้

ซึ่งในประเด็นเรื่อง การเสพกาม นี้ นักบวชในสมัยก่อนก็น่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าเมื่อออกบวชแล้วเรื่องสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามเป็นอันต้องยุติ พระพุทธองค์ก็ไม่น่าจะนำมากล่าวอีก โดยเฉพาะในเวลาสำคัญที่จะสอนสาวกครั้งแรก ควรที่จะได้สอนเรื่องที่ลึกเกินไปกว่านั้น
แล้วเรื่องการให้งดการเสพกาม ต่อมาท่านก็บัญญัติไว้เป็นพระวินัยอยู่แล้ว อีกทั้ง เรื่องการเสพกามคุณ 5 ท่านก็เลิกยุ่งเกี่ยวมานานมากแล้ว ท่านไม่น่าจะไปกล่าวถึงอีก ท่านก็น่าจะกล่าวถึงเรื่องที่ท่านได้หมกมุ่นครุ่นคิดฝึกฝนผ่านมาอย่างอุกฤตจนได้ข้อสรุปว่า
ที่ผ่านนั้นท่านฝึกฝนอะไรที่ยังเกิดความผิดพลาดไม่สามารถตรัสรู้ได้มากกว่า

ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ท่านทุ่มเทฝึกอย่างมาก ในช่วงแรก ก็คือ การฝึกจิต แบบสมถะกรรมฐาน ทำจิตให้สงบ อยู่กับอารมณ์ของฌานในใจ ซึ่งเป็นการที่จิตติดในอายตนะภายใน การแปลความ กามสุขัลลิกานุโยค เป็นเรื่องการเสพกามคุณ 5 จึงไม่น่าตรงตามเจตนาตามบริบทของคำที่ปรากฏ ความหมายที่แท้จริง จึงควรเป็นเรื่องการทำจิตให้ติดในอารมณ์ของฌาน คือ อายตนะภายใน มากกว่า

ส่วนประเด็น การทรมานร่างกาย เมื่อเราอ่านแล้วก็คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะเราแต่ละคนส่วนใหญ่คงกลัวความเจ็บปวด จากการทรมานอยู่แล้ว ย่อมไม่ไปทรมานร่างกายอยู่แล้วเป็นแน่ หากเราแปลความได้เพียงแค่ ไม่ต้องไปทรมานร่างกาย มันก็ไม่ให้ความหมายอะไรที่จะเป็นวิธีการปฏิบัติทางจิต เป็นความรู้ใหม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับจิตใจของเราขึ้นเหมือนกัน อ่านแล้วก็รู้สึกเฉยๆ ทิ้งไว้แค่นั้น ความหมายที่ลึกกว่านั้นควรจะหมายถึง ข้อสรุปว่าที่ผ่านมานั้นท่านฝึกฝนอะไร ที่ผิดพลาดไม่สามารถตรัสรู้ได้อีกเช่นกัน

ซึ่งอีกเรื่องหนึ่ง ที่ท่านทุ่มเทฝึกอย่างมากในช่วงหลัง ก็คือ การทรมานร่างกาย
เพื่อให้จิต รับความรู้สึกจากผัสสะและเวทนาที่แรงกล้า ให้จิตติดอยู่กับอายตนะภายนอกให้มากที่สุด
การแปลความ อัตตกิลมถานุโยค เป็นเรื่องการทรมานร่างกายอย่างเดียว ไม่พิจารณาให้ลึกกว่านั้น
จึงไม่น่าตรงตามเจตนาตาม คำสอน และเรื่องราวที่ต่อเนื่องกันมา อัตตกิลมถานุโยค ความหมายที่แท้จริง
จึงควรเป็นเรื่อง การทำจิตให้ติดอายตนะภายนอกมากกว่า

เพราะหากแปลความได้เพียง การไม่เสพกาม และ ไม่ทรมานร่างกายแล้ว การหมุนย่อมไม่ปรากฏขึ้น
เพราะไม่สื่อความว่า จะหมุนได้อย่างไร และ อะไรหมุน

ทั้งที่พระสูตรนี้ มีชื่อว่า ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร และมีข้อความกล่าวถึงธรรมจักรว่า

ฐิตา:

"ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม"

ซึ่งคำว่าธรรมจักรนั้น เป็นคำที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง ว่าทำไม่พระสูตรนี้ใช้ชื่อนี้ และกล่าวถึงธรรมจักรภายหลังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนแล้ว
คำว่าธรรมจักรนี้ เกิดจากคำสองคำมารวมกัน คือ คำว่า ธรรม กับคำว่า จักร

    * คำว่า ธรรม เป็นคำที่มีความหมายที่กว้าง เช่น สภาพที่ทรงไว้ , ธรรมดา , ธรรมชาติ ,
       สภาวธรรม , สัจจธรรม , ความจริง , ปรากฏการณ์ , คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    * คำว่า จักร มีความหมายว่า ล้อ , ล้อรถ

ซึ่งมีการแปล ธรรมจักร ได้ความหมายว่า ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย ,
วงล้อธรรม หรือ อาณาจักรธรรม หมายถึงเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ปัญจวัคคีย์

การแปลได้ความเช่นนี้ ก็นับว่าไม่ผิดจากกรอบของความหมายของคำที่ปรากฏ เป็นการแปลให้ความหมายในเชิงความคิด วิเคราะห์ และให้ความเข้าใจอย่างกว้างๆ ซึ่งยังกว้างเกินไป ยังไม่สื่อให้เห็นถึงความหมายที่น่าจะลึกซึ้งและเฉพาะเจาะจงมากกว่านี้ สำหรับคำสอนสำคัญที่พระพุทธองค์นำมาแสดงในครั้งแรก

    * คำว่า ธรรมจักร นี้เรายังสามารถแปลได้อีกทิศทางหนึ่ง เป็นการแปลตรงตามความหมายของคำ คือ
    * ธรรม หมายถึง ปรากฏการณ์ , ธรรมดา , สภาพ , ความจริง
    * จักร ที่แปลว่า ล้อ นั้นยังแปลได้อีกว่า หมุน , วน ซึ่งเป็นอาการการเคลื่อนที่ไปของล้อ

ดังนั้น ธรรมจักร จึงแปลได้อีกความหมายหนึ่ง คือ ปรากฏการณ์ของการหมุน , สภาพที่หมุน , สิ่งที่หมุน หรือ การหมุน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version