ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติของภิกษุณี  (อ่าน 4532 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
Re: ประวัติของภิกษุณี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:42:38 pm »
อกรณียกิจ ได้แก่ กิจที่บรรพชิตไม่พึงทำ มี ๘ อย่าง คือ

๑. ไม่พึงเสพเมถุน คือ การร่วมประเวณี

๒. ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้

๓. ไม่พึงทำลายชีวิตมนุษย์ให้ตกล่วงไป

๔. ไม่พึงอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน

๕. ไม่พึงมีความกำหนัดยินดีในการลูบคลำจับต้อง

๖. หากรู้ว่า ภิกษุณีรูปใดเป็นอาบัติปาราชิก ต้องโจทด้วยตนเองหรือบอกแก่หมู่คณะ

๗. ไม่พึงประพฤติตามภิกษุที่ถูกสงฆ์ขับออกจากพระธรรมวินัย

๘. ไม่พึงมีความกำหนัดยินดีกับบุรุษผู้มีความกำหนัดยินดี เช่น จับมือ จับชายผ้ายืนด้วยกัน สนทนาด้วยกันเข้าสู่ที่มุงบังทอดกายแก่บุรุษนั้น

(กรณียกิจ คือปาราชิก ๘ ของภิกษุณีวินัย.ภิกขุนี๓/๑-๖๗๔/๑-๑๔).

เมื่อบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ เสร็จแล้ว ก็เป็นอันสำเร็จการให้อุปสมบทด้วยวิธี “อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา”

๓. ทูเตนอุปสัมปทา

วิธีนี้ทรงมีพระพุทธานุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทอย่างเดียวกับวิธีอัฏฐวาจิกาทุกอย่าง ต่างแต่ว่าผู้ปรารถนาจะบวชไม่สามารถจะเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในสำนักของภิกษุได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้ต้องการจะบวช พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

ให้ส่งภิกษุณีตัวแทนของสตรีผู้ได้รับอุปสมบทจากภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวไปสำนักของภิกษุสงฆ์ตัวแทนซึ่งทำหน้าที่เป็นทูตในการให้อุปสมบท จะต้องเป็นผู้ฉลาดสามารถที่จะทำกิจของตนกล่าวให้สำเร็จได้ เมื่อผู้เดินทางไปถึงสำนักภิกษุณีสงฆ์แล้ว แจ้งความจำนงให้ทราบเมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกันจึงกล่าวแก่ภิกษุสงฆ์ ๓ ครั้งว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย นางผู้มีชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขาแม่เจ้าชื่อนี้ ได้รับการอุปสมบทแล้วจากสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย นางผู้มีชื่ออย่างนี้ ขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้นเถิด


วิธีอุปสมบทด้วยทูต พระพุทธเจ้า ทรงมีพระพุทธานุญาตให้อุปสมบทแก่นางคณิกาคนหนึ่ง ชื่อ “อัฑฒกาลี” นางได้อุปสมบทในสำนักงานภิกษุณีแล้ว ปรารถนาจะเดินทางไปขอบวชในสำนักภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไป นักเลงในย่านในจึงคอยดักหวังประทุษร้าย นี้เป็นสาเหตุให้มีการอุปสมบทโดยส่งตัวแทน

จากนั้น ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ จะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกัมมวาจา เมื่อประกาศจบแล้วจึงวัดเงาแดด บอกฤดู บอกส่วนแห่งวัน นับจำนวนสงฆ์ที่ประชุมในการอุปสมบทนั้น แล้วส่งผู้เป็นทูตให้เดินทางกลับไปบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีที่ได้รับการอุปสมบทใหม่ เท่านี้จึงเป็นอันเสร็จพิธีการให้อุปสมบทโดยใช้ทูต ดังพุทธานุญาตว่า “เราอนุญาตให้อุปสมบทโดยทูตได้บ้าง”







สาเหตุการออกบวชของภิกษุณี

จากการศึกษาถึงสาเหตุแห่งการออกบวชของภิกษุณีจำนวน ๗๓ รูป พบว่าออกบวชเพราะสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น บวชเพราะเลื่อมใสพระพุทธเจ้าก็มี เพราะฟังธรรมก็มี เพราะสาเหตุอื่นๆก็มี ซึ่งได้แก่ ความยุ่งยากในชีวิตครับครัว เบื่อชีวิตคฤหัสถ์ ออกบวชเพราะญาติ เป็นต้น

เครื่องนุ่งห่มของภิกษุณี

ในพระวินัยปิฎก แห่งภิกษุณีขันธกะ ได้กล่าวถึงเครื่องนุ่งห่มพระภิกษุรีว่า มี ๕ อย่าง คือ

๑. ผ้าสังฆาฏิ ผ้าซ้อนนอก

๒. ผ้าอุตราสงค์ จีวร คือ ผ้าห่ม

๓. อันตรวาสก สบง คือ ผ้านุ่ง

๔. ผ้ารัดอก

๕. ผ้าผลัดอาบน้ำ

ศีลของภิกษุณี

ในพระบาลีคัมภีร์ภิกขุนีวิภังค์ แห่งพระวินัยปิฎก กล่าวถึงศีล (วินัย) ของภิกษุณีว่ามี

*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
Re: ประวัติของภิกษุณี
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:43:14 pm »
๓๑๑ สิกขาบท โดยแบ่งออกเป็น ๗ อย่าง คือ

๑. ปาราชิก มี ๔ สิกขาบท

๒. สังฆาทิเสส มี ๑๗ สิกขาบท

๓. นิสสัคคียปาจิตตีย์ มี ๓๐ สิกขาบท

๔. ปาจิตตีย์ มี ๑๑๖ สิกขาบท

๕. ปาฏิเทสนียะ มี ๖ สิกขาบท

๖. เสขิยวัตร มี ๗๕ สิกขาบท

๗. อธิกรณสมถะ มี ๗ สิกขาบท

ในศีล ๓๑๑ สิกขาบทของนางภิกษุณีนั้น เป็นของนางภิกษุณีแท้ๆ เพียง ๑๓๐ สิกขาบท ส่วนอีก ๑๘๑ สิกขาบท นำมาจากศีล ๒๒๗ สิกขาบทของภิกษุ เหตุที่นำมา ๑๘๑ สิกขาบท ก็เพราะได้เลือกเฉพาะที่ใช้กันได้ทั้งภิกษุและภิกษุณี อันใดที่เป็นของเฉพาะภิกษุแท้ๆ ก็จะไม่นำมาใช้สำหรับภิกษุณีดูจากการเปรียบเทียบ ดังนี้

ชื่อ ของภิกษุณี นำของภิกษุมาใช้ รวม

ปาราชิก ๔ ๔ ๘

สังฆาทิเสส ๑๐ ๗ ๑๗

นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๑๒ ๑๘ ๓๐

ปาจิตตีย์ ๙๖ ๗๐ ๑๑๖

ปาฏิเทสนียะ ๘ - ๘

เสขิยวัตร - ๗๕ ๗๕

อธิกรณสมถะ - ๗ ๗

รวมทั้งสิ้น ๑๓๐ + ๑๘๑ = ๓๑๑
ภิกษุณีในประเทศไทย

“…..ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีป ในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระสังมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของพระเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน ภิกษุณีสงฆ์ เจริญรุ่งเรื่องในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไปด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์



คำอธิบาย

พระไตรีปิฎก จะแจงเล่ม ข้อ หน้าตามลำดับ ตัวอย่างเช่น วินย.จูฬ.๗/๔๐๓/๒๓ หมายถึงวินัยปิฎก จูฬวรรค เล่มที่ ข้อ ๔๐๓ หน้า ๒๓๔

อรรถกถา จะแจ้งเล่มหน้าตามลำดับ ตัวอย่างเช่น ธ.อ.๑/๑๒๖ หมายถึง ธัมมปทัฏฐกถา เล่ม ๑ หน้า ๑๒๖


*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
Re: ประวัติของภิกษุณี
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:44:46 pm »
บรรณานุกรม



พระพุทธโฆษาจารย์ สมันตปาสาทิกา นาม วินัยอัฏฐกถา ปฐโม ภาโค มหาวิภังควัณณนา กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๑๕

พระธรรมปิฏก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๘

พระสังเวย ธัมมเนตติโก ภิกษุณีกับการบรรลุอรหัตผล กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗

สุชีพ ปุญญานุภาพ พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหา-

มกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๓๙

พันตรี ป. หลงสมบุญ พจนานุกรมไทย-มคธ ฉบับสำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร อาทรการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๐

จำเนียร ทรงฤกษ์ ชีวประวัติพุทธสาวิกา ฉบับสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว กรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่ ๒๕/๒๕๑๕

คณะผู้จัดทำพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์วัฒนาพานิช พิมพ์ครั้งที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐





--------------------------------------------------------------------------------

[๑] อนุธรรมคือสิกขาบท ๖ ข้อ ที่สามเณรีต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตลอด ๒ ปี ได้แก่ ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ๒. ไม่ลักทรัพย์ ๓. ประพฤติพรหมจรรย์ ๔.ไม่พูดเท็จ ๕.ไม่ดื่มสุราเมรัย ๖.ไม่บริโภคอาหารเวลาวิกาล

ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ เพราะประพฤติสิกขาจริยวัตร เพราะทรงผ้าที่ถูกทำลายแล้ว เพราะสมญา เพราะปริญญา เพราะความหมายว่าเป็นเอหิภิกษุณี เพราะเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมณ์ เพราะเป็นผู้เจริญ เพราะเป็นพระเสขะ เพราะเป็นผู้อันสงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบแก่ฐานะ (วินย.ภิกฺขุนี.๓/๖๕๘/๔)


[๒] ในมธุรัตถวิลาสินีแสดงลำดับการจำพรรษาของพระพุทธเจ้าว่าในพรรษาที่ ๑๕ ทรงจำพรรษาที่นิโครธารามเมืองกบิลพัสดุ์. (พุทธ.อ.หน้า ๕)

การจัดลำดับบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา จัดภิกษุณีอยู่ในอันดับรองจากภิกษุ เพราะอยู่ฝ่ายบรรพชิต แต่ถ้าจัดตามลำดับการเกิดขึ้นก่อนหลังภิกษุณีจะจัดอยู่ในอันดับสุดด้าย เพราะบริษัทนี้เกิดขึ้นในอันดับสุดท้ายและเกิดขึ้นด้วยความยากลำบากไม่เหมือนบริษัทอื่น ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพุทธบริษัทผู้ที่ทำหน้าที่จะทำหน้าที่สืบอายุพระพุทธศาสนาว่ามี ๔ จำพวก ได้แก่ พระสาวก พระสาวิกา อุบาสก และอุบาสิกา ในฝ่ายบรรพชิตคือสาวกกับสาวิกา ต้องเป็นพระเถระ หรือพระเถรี ทั้งมีวัยปูนกลางและวัยนวกะ มีความรู้เชี่ยวชาญฝึกฝนอบรมตนมาแล้วอย่างดี และสามารถปราบปรับวาทะคือข้อโต้แย้งจากฝ่ายตรงข้าม ในฝ่ายคฤหัสถ์คือ อุบาสกกับอุบาสิกาต้องเป็นทั้งประเภทพรหมจารีและพรหมจาริณี ที่มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับบรรพชิต หลักฐานนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า พุทธบริษัทผู้จะสืบอายุพระพุทธศาสนาบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกได้นั้น นอกจากมีคุณธรรม มีความประพฤติอันเป็นคุณสมบัติภายในตนอย่างดีแล้ว จะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลักคำสอนฝ่ายตนเองจนสามารถสอนคนอื่นได้ เอาชนะการรุกรานทางหลักธรรมจากลัทธิศาสนาอื่นๆ คุณสมบัติเหล่านี้เป็นปัจจัยให้พระสาวก ต้องมีความรู้ความชำนาญในหลักลิทธิศาสนาและหลักวิชาอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย หากไม่ได้ศึกษามาก่อนต้องมาศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง. (ที.ปา.๑๑/๑๗๕/๑๐๘).

[๓] วินัย.อ.๑/๔๕/๒๕๔

[๔] วินัย.จูฬ.๗/๔๐๒/๒๓๑,องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๕๑/๒๒๗

[๕] วินัย.จูฬ.๗/๕๐๓/๒๓๔

[๖] ขุ.ขุ.๒๕/๑/๑

[๗] สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส, วินัยมุข เล่ม ๑ , หน้า ๑๖๗

[๘] “อนุชานามี ภิกฺขเว ทฺว วสฺสานิ ฉสุ ธมฺเมสุ สิกฺขิตสิกฺขาย วุฏฺฐานสมฺมตึ ทาตํ” (วินย.ภิกฺขุนี.๓/๑๐๘๔/๑๗๓)



[๙] “อนุชานามิ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนิโย อุปสมฺปาเทตํ”(วินย.จูฬ.๑/๔๒๔/๒๕๘)

[๑๐] วินย.อ.๑/๔๕/๒๕๔.
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1973.msg12614#new
เจ้ธรรมฐิตาลงไว้ครับสาธุhttp://www.agalico.com/board/showthread.php?t=29598&page=3กระทู้เก่า
*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ประวัติของภิกษุณี
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:58:32 pm »
 :45: สาธุๆครับ อนุโมทนาครับพี่แทน
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~