ผู้เขียน หัวข้อ: ทศกุศลกรรมบถสูตร  (อ่าน 6748 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:33:17 pm »

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมีพุทธบรรหารกับนาคราชอีกว่า หากมีโพธิสัตว์ที่อาศัยกุศลกรรมนี้ เมื่อกาลที่บำเพ็ญมรรคธรรม แล้วสามารถไกลจากการประหัตประหารทำร้ายชีวิต ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ มีอายุขัยยาวนานไม่วิบัติ ไม่ถูกทำร้ายช่วงชิงจากศัตรูและโจรทั้งปวง

          ห่างไกลและไม่ถือเอาสิ่งของผู้อื่น ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ เป็นผู้ประเสริฐเลิศยิ่งไม่มีผู้ใดยิ่งไปกว่า สามารถเป็นผู้ประชุมไว้ซึ่งพุทธธรรมปิฎก

          ไกลจากความไม่ใช่พรหมจรรย์ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ มีตระกูลที่ผาสุก มารดา และภริยา บุตรของตน ก็ไม่มีผู้ใดแลมองด้วยราคะจิต

          ไกลจากการพูดเท็จ  ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ ไกลจากการใส่ร้ายทั้งปวง สงเคราะห์ธำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรม ตามปณิธานนั้นๆ สิ่งที่ทำทั้งปวงย่อมสำเร็จผล

          ไกลจากการพูดส่อเสียด ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ ตระกูลสามัคคีปรองดอง มีอัธยาศัยเดียวกัน ไร้ซึ่งวิวาทะเป็นนิจ

          ไกลจากการพูดคำหยาบชั่วร้าย ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ ในสมาคมแห่งชนทั้งปวง ก็จะน้อมโพธิสัตว์นี้เป็นที่พึ่งด้วยความยินดี จะกล่าวคำใดย่อมเป็นที่เชื่อถือ ไม่มีผู้คัดค้านได้

          ไกลจากการกล่าวเพ้อเจ้อไร้ซึ่งประโยชน์ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติ อยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ วาจาที่กล่าวไม่ลวงหลอก ชนทั้งปวงต่างน้อมรับ สามารถในอุปายที่ชาญฉลาด ตัดขาดซึ่งกิเลสคือความสงสัยทั้งปวง

          ไกลจากจิตโลภ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ สิ่งที่มีทั้งปวงก็สามารถสละได้ด้วยปัญญา เป็นมีผู้ศรัทธาอย่างยิ่งยวดมั่นคง แลสมบูรณ์ด้วยอำนาจใหญ่

          ไกลจากจิตโกรธ ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ จะสำเร็จซึ่งปัญญาแห่งจิตที่ไม่ข้องขัดเองอย่างรวดเร็ว มีอินทรีย์ทั้งปวงงามสง่า ผู้ที่ได้เห็นแล้วล้วนเคารพรัก

          ไกลจากจิตวิปลาส(1) ทั้งได้ให้ทานอีกจึงเป็นเหตุให้ร่ำรวยด้วยรัตนสมบัติอยู่เป็นนิจ ไม่มีผู้ใดช่วงชิงไปได้ จะเกิดในตระกูลสัมมาทิฐิและมีศรัทธาอยู่เป็นนิจ ได้พบพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรม ได้สักการะหมู่สงฆ์ ย่อมไม่วิบัติจากมหาโพธิจิตเป็นนิจกาล

นี่คือเมื่อสมัยที่มหาบุรุษบำเพ็ญโพธิสัตวมรรค ได้ประพฤติกุศลกรรมทั้งสิบ แล้วอลังการด้วยการให้ทาน จึงได้รับมหาประโยชน์ อย่างนี้แล



[1] วิปัลลาส หรือ วิปลาส (ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน, ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง - distortion)
วิปลาส มี 3 ระดับ คือ

       1. สัญญาวิปลาส (สัญญาคลาดเคลื่อน, หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู - distortion of perception)
       2. จิตตวิปลาส (จิตคลาดเคลื่อน, ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหาร - distortion of thought)
       3. ทิฏฐิวิปลาส (ทิฏฐิคลาดเคลื่อน, ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่น มีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิดทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตตวิลาสว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล - distortion of views)

       วิปลาส 3 ระดับนี้ ที่เป็นพื้นฐาน เป็นไปใน 4 ด้าน คือ

       1. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง (to regard what is impermanent as permanent)
       2. วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข (to regard what is painful as pleasant)
       3. วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน (to regard what is non-self as a self)
       4.. วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม (to regard what is foul as beautiful)

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:34:39 pm »

ดูก่อนนาคราช ดังคำที่ยกขึ้นกล่าวนี้ว่า เมื่อประพฤติกุศลมรรคทั้งสิบ

          เพราะอลังการด้วยศีลเป็นเหตุให้สามารถก่อเกิดประโยชน์แห่งพระพุทธธรรมทั้งปวง บริบูรณ์พร้อมด้วยมหาปณิธาน
          เพราะอลังการด้วยขันติเป็นเหตุให้บรรลุถึงพุทธโฆษะ และสมบูรณ์ด้วยมงคลลักษณะทั้งปวง
          เพราะอลังการด้วยวิริยะเป็นเหตุให้สามารถทำลายมารร้าย แล้วเข้าสู่พุทธธรรมปิฎก
          เพราะอลังการด้วยสมาธิเป็นเหตุให้สามารถเกิดสติปัญญา ความละอายต่อบาป(หิริ) ความเกรงกลัวต่อบาป(โอตตัปปะ) เบาและเป็นสุข
          เพราะอลังการด้วยปัญญาเป็นเหตุให้สามารถตัดความเห็นแยกแยะที่ไม่จริงทั้งปวงได้สิ้น   

เพราะอลังการด้วยเมตตาเป็นเหตุให้ไม่ทำร้ายหมู่สัตว์
เพราะอลังการด้วยกรุณาเป็นเหตุให้สงสารหมู่สัตว์ไม่เมินเฉยอยู่เป็นนิจ
เพราะอลังการด้วยมุฑิตาเป็นเหตุให้เมื่อพบผู้ทำดี ดวงจิตไม่อิจฉาริษยา
เพราะอลังการด้วยอุเบกขาเป็นเหตุ ไม่ว่าจะคล้อยตามหรือขัดแย้ง ก็ไม่เกิดจิตรักหรือชัง

          เพราะอลังการด้วยสังคหวัตถุสี่(1)เป็นเหตุให้เพียรสงเคราะห์หมู่สัตว์ทั้งหลาย
          เพราะอลังการด้วยสติปัฐฐานเป็นเหตุให้ช่ำชองสติปัฐฐานสี่(2)
          เพราะอลังการด้วยปธาน(3)เป็นเหตุให้สามารถกำจัดอกุศลธรรมทั้งปวงได้สิ้น แล้วสำเร็จในกุศลธรรมทั้งปวง
          เพราะอลังการด้วยอิทธิบาท(4)เป็นเหตุให้สามารถยังให้กายใจเบาและเป็นสุขอยู่เป็นนิจ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:37:21 pm »
[1]สังคหวัตถุ ๔ (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์
- bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)

๑. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน
- giving; generosity; charity)

๒. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม
- kindly speech; convincing speech)

๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม
- useful conduct; rendering services; life of service; doing good)

๔. สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี
- even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)

[2] สติปัฏฐาน ๔ (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง
- foundations of mindfulness)

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of the body; mindfulness as regards the body)

ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ

กำหนดลมหายใจ ๑
อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑
สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ๑
ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ ๑
ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ ๑
นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย
ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น ๑

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of feelings; mindfulness as regards feelings)
คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of mind; mindfulness as regards thoughts)
คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
- contemplation of mind-objects; mindfulness as regards ideas)
คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.


D.II.290.315.   ที.ม.๑๐/๒๗๓-๓๐๐/๓๒๕-๓๕๑.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:39:07 pm »
[3] ปธาน ๔ (ความเพียร - effort; exertion)

๑. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
- the effort to prevent; effort to avoid)

๒. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
- the effort to abandon; effort to overcome)

๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี
- the effort to develop)

๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
- the effort to maintain)

ปธาน ๔ นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปธาน ๔ (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่
 - right exertions; great or perfect efforts.)

A.II.74,16,15.    องฺ.จตุกฺก.๒๑/๖๙/๙๖; ๑๔/๒๐; ๑๓/๑๙.


[4] อิทธิบาท ๔ (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย
- path of accomplishment; basis for success)

๑. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)

๒. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)

๓. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)

๔. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)


D.III.221.Vbh.216.   ที.ปา.๑๑/๒๓๑/๒๓๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๐๕/๒๙๒.[/color]

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:40:25 pm »
เพราะอลังการด้วยอินทรีย์ห้า(5)เป็นเหตุให้มีศรัทธามั่งคงลึกซึ้ง
พากเพียรไม่เกียจคร้าน ย่อมเป็นผู้ไม่หลงลืมเป็นนิจ เป็นผู้สงบ ตัดขาดกิเลสทั้งปวง.

เพราะอลังการด้วยพละเป็นเหตุให้หมู่ศัตรูสิ้นสูญ ไม่มีผู้ใดทำลายได้

เพราะอลังการด้วยโพชฌงค์(6)เป็นเหตุให้รู้แจ้งสรรพธรรม

เพราะอลังการด้วยสัมมามรรค(7)เป็นเหตุให้บรรลุปัญญาญาณที่ถูกต้องปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเป็นนิจศีล

เพราะอลังการด้วยสมถะ( 8 )เป็นเหตุให้สามารถชำระสังโยชน์(9)ทั้งปวง

เพราะอลังการด้วยวิปัสสนา(1)เป็นเหตุให้สามารถรู้ชัดสภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง

เพราะอลังการด้วยอุปายะ(11)เป็นเหตุให้สำเร็จสมบูรณ์ในสุขของอสังขตะ(12) ได้อย่างรวดเร็ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2010, 07:05:55 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:44:08 pm »
[5]อินทรีย์ ๕ เรียกอีกอย่างว่า พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง ? power)

๑. สัทธา (ความเชื่อ ? confidence)
๒. วิริยะ (ความเพียร ? energy; effort)
๓. สติ (ความระลึกได้ ? mindfulness)
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น ? concentration)
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด ? wisdom; understanding)

ธรรม ๕ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ? controlling faculty) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่ง

ความไร้ศรัทธา
ความเกียจคร้าน
ความประมาท
ความฟุ้งซ่าน
และความหลงตามลำดับ

ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น
แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้  พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง


D.III.239; A.III.10; Vbh.342.   ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒

[6] โพชฌงค์ ๗ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ? enlightenment factors) คือ

๑. สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง ? mindfulness)
๒. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม ? truth-investigation)
๓. วิริยะ (ความเพียร ? effort; energy)
๔. ปีติ (ความอิ่มใจ ? zest)
๕. ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ ? tranquillity; calmness) ๖. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ ? concentration)
๗. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง ? equanimity) 

แต่ละข้อเรียกเต็มมีสัมโพชฌงค์ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.

[7] มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ ? the noble Eightfold Path); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ ? factors or constituents of the Path)  มีดังนี้

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท ? Right View; Right Understanding)

๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป ? Right Thought)  ดู (๖๘) กุศลวิตก ๓

๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ ? Right Speech)

๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ ? Right Action)

๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ ? Right Livelihood)

๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ ? Right Effort)

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ? Right Mindfulness)

๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ ? Right Concentration)


องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ
 
ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา

มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติ
อันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง
คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค


D.II.321; M.I.61; M,III.251; Vbh.235.     
ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๓; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๖๙/๓๐๗.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 01:47:06 pm »
[8] สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต,
ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส,
การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

[9] ดูเชิงอรรถ ที่ ๑๑

[10] วิปัสสนา ความเห็นแจ้งคือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

[11] โกศล ๓ (ความฉลาด, ความเชี่ยวชาญ ? proficiency)

๑. อายโกศล (ความฉลาดในความเจริญ, รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ ? proficiency as to gain or progress)

๒. อปายโกศล (ความฉลาดในความเสื่อม, รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม ? proficiency as to loss or regress)

๓. อุปายโกศล (ความฉลาดในอุบาย, รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ ? proficiency as to means and method)


D.III.220; Vbh. 325.   ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๐๗/๔๓๙.


[12] อสังขตะ ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง,ธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่พระนิพพาน

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 02:10:57 pm »
ดูก่อนนาคราช พึงรู้ว่ากุศลกรรมทั้งสิบนี้ สามารถยังให้

กำลังทั้งสิบ
ทสพลญาณ(1)
เวสารัชชญาณ ๔(2)
อาเวณิกพุทธธรรม(3)

และพุทธธรรมทั้งปวง ล้วนแต่บริบูรณ์ เหตุนี้เธอทั้งหลายพึงพากเพียรศึกษาปฏิบัติเถิด



[1] ทสพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ ๑๐
คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ
ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง ?
 the Ten Powers of the Perfect One)

๑. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน ?
knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)

๒. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน ?
knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)

๔. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ?
knowledge of the world with its many and different elements)

๕. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสงบใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน ?
knowledge of the different dispositions of beings)

๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ ?
knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย ?
knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ ?
knowledge of the remembrance of former existences)

๙. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ?

1.[จุ-ตู-ปะ-ปา-ตะ-ยาน] น. ความรู้ในจุติ และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
คือการเห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังตายและเกิดในภพภูมิต่างๆ ตามผลกรรม
ญาณนี้ย่อมนำให้หลุดพ้นจากความเห็นผิดต่างๆ, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก.
 
2.ญาณหยั่งรู้การเกิดการดับของสัตว์ (เกี่ยวกับ วิชชา ๓)

knowledge of the decease and rebirth of beings)

๑๐. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ?

อาสวักขยญาณ = ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้
จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มี
ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)


M.I.69; A.V.33; Vbh.336.    ม.มู.๑๒/๑๖๖/๑๔๐; องฺ.ทสก.๒๔/๒๑/๓๕; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๙/๔๕๔.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 02:13:30 pm »
[2] เวสารัชชะ หรือ เวสารัชชญาณ ๔ (ความไม่ครั่นคร้าน, ความแกล้วกล้าอาจหาญ, พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม
- intrepidity; self-confidences)
พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมองเห็นว่า ใครก็ตาม จักทักท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะเหล่านี้ คือ
(The Perfect One sees no grounds on which anyone can with justice make the following charges;)

๑. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้
- You who claim to be fully self-enlightened are not fully enlightened in these things.)

๒. ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น
- You who claim to gave destroyed all taints have not utterly destroyed these taints.)

๓. อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
- Those things which have been declared by you to be harmful have no power to harm him that follows them.

๔. นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบจริง
- The Doctrine taught by you for the purpose of utter extinction of suffering
does not lead him who acts accordingly to such a goal.)

ด้วยเหตุนี้ พระองค์นี้จึงทรงถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย แกล้วกล้าไม่ครั่นคร้ามอยู่
(Since this is so, he abides in the attainment of security, of fearlessness and intrepidity.)
 
เวสารัชชะ ๔ นี้ คู่กับทศพล หรือ ตถาคตพล ๑๐ (เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ทศพลญาณ) เป็นธรรมที่ทำให้พระตถาคต ทรงปฏิญญาฐานะแห่งผู้นำ เปล่งสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไป
(Endowed with these four kinds of intrepidity, the Perfect One claims the leader's place, roars his lion's roar in assemblies, and sets rolling the Divine Wheel.)


[3] พุทธธรรม ๑๘ ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทส ระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ
แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่าได้แก่

๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระญาณ (จะทำอะไรทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ)
๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต
๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต

๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน; คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ

๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต
๒. ไม่ทรงมีวจีทุจริต
๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต
๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต
๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต
๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน
 
๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๑๐. ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย)
๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย )
๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ (สติไม่ลดถอย)

๑๓. ไม่มีการเล่น
๑๔. ไม่มีการพูดพลาด
๑๕. ไม่มีการทำพลาด
๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน
๑๗. ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย
๑๘. ไม่มีอกุศลจิต

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ทศกุศลกรรมบถสูตร
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 02:34:58 pm »



ดูก่อนนาคราช อุปมามหานคร คามนิคมชนบททั้งปวง





ที่ล้วนต้องอาศัยมหาปฐพีจึงตั้งอยู่ได้ บรรดาต้นสมุนไพร ต้นไม้แลพนาสณฑ์
ก็ล้วนแต่อาศัยมหาปฐพีจึงเจริญขึ้นได้

อันทศกุศลมรรคนี้ ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้  บรรดามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
เมื่ออาศัยแล้วจึงได้ตั้งอยู่ในความรู้แจ้ง(โพธิ)แห่งพระสาวก

พระปัจเจกโพธิ จึงได้ตั้งอยู่ในโพธิสัตวจริยาทั้งปวง และสรรพพุทธธรรม
ก็รวมอยู่
ที่การอาศัยมหาปฐพีคือทศกุศลนี้ แล้วจึงสำเร็จได้เช่นกัน

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแสดงธรรมภาษิตนี้จบลง
สาครนาคราชและมหาชนทั้งปวง บรรดาเทพ มนุษย์ อสูรทั้งหลายในโลกธาตุ
ล้วนเกิดมหาโสมนัส มีศรัทธาน้อมรับสืบไป.

จบ
"ทศกุศลกรรมบถสูตร"






ขอบพระคุณข้อมูลจาก ... mahaparamita.com
http://www buddhayan com/board.php?subject_id=802
http://www.sookjai.com/index.php?topic=3677.0

Pics by : Google





ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย..
อนุโมทนาสาธุค่ะ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2010, 04:32:55 pm โดย ฐิตา »