แสงธรรมนำใจ > มหายาน
ทศกุศลกรรมบถสูตร
ฐิตา:
[1] พุทธลักษณะข้อที่ ๑๐ จาก ทั้งหมด ๓๒ ข้อ คือ
๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
๓. มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)
๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย) ๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง) ๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร) ๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด
๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง) ๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์
๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)
ฐิตา:
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดเท็จ ย่อมบรรลุธรรมอันเทวดาสรรเสริญแล้วแปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...
๑. เป็นผู้มีโอษฐ์บริสุทธิ์อยู่เป็นนิจ มีกลิ่นหอมเหมือนดอกอุบล
๒. เป็นที่ยอมรับของชาวโลกทั้งปวง
๓. วาจาที่กล่าวพิสูจน์ได้ มนุษย์และเทวดาย่อมเคารพรักใคร่
๔. ใช้ปิยวาจาปลอบประโลมสรรพสัตว์(ให้เป็นสุขใจ)อยู่เป็นนิจ
๕. ได้บรรลุอัธยาศัยที่ประเสริฐ มีกรรมทั้งสาม(1)ที่บริสุทธิ์
๖. มีวาจาไม่วิบัติผิดพลาด ดวงจิตเบิกบานอยู่เป็นนิจ
๗. วาจาที่กล่าวน่านับถือ มนุษย์และเทวดาย่อมรับไปปฏิบัติตาม
๘. มีปัญญาญาณที่วิเศษ ไม่มีผู้ใดหักล้างได้
นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงสัจจวาจาของพระตถาคต
[1] คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือการกระทำทางกาย วาจา ใจ
ฐิตา:
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการกลับกลอกสองลิ้น ย่อมบรรลุธรรมอันไม่เสื่อมสลายห้าประการ ก็ห้าประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...
๑. ร่างกายไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่มีผู้ใดทำร้ายได้
๒. ตระกูลไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่มีผู้ใดทำลายได้
๓. ศรัทธาไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะอนุโลมตามกิจเดิมของตน
๔. ธรรมจริยาไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะบำเพ็ญด้วยความมั่นคง
๕. กัลยาณมิตรไม่เสื่อมสลาย เหตุเพราะไม่โกหกหลอกลวง
นี่คือทั้งห้าประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมบรรลุถึงบริษัทที่ดี หมู่พาหิรมารไม่อาจทำให้เสื่อมสลาย
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดวาจาหยาบคายชั่วร้าย ย่อมบรรลุกรรมที่บริสุทธิ์แปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...
๑. มีวาจาที่ไม่ขัดแย้ง
๒. มีวาจาที่ล้วนแต่เป็นประโยชน์
๓. มีวาจาที่เป็นอรรถะ
๔. มีวาจาที่ไพเราะ
๕. มีวาจาที่น้อมรับได้
๖. มีวาจาที่น่าเชื่อถือ
๗. มีวาจาที่เย้ยหยันไม่ได้
๘. มีวาจาที่น่ารัก น่ายินดียิ่งนัก
นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมสมบูรณ์ซึ่งพรหมโฆษะ(1)ของพระตถาคต
[1] พุทธลักษณะข้อที่ ๒๘ ดูเชิงอรรถที่ ๘
ฐิตา:
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากการพูดเพ้อเจ้อโปรยเสียซึ่งสารประโยชน์ ย่อมบรรลุความแน่นอนสามประการ ก็สามประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...
๑. จะเป็นที่รักของผู้มีปัญญาอย่างแน่นอน
๒. จะสามารถใช้ปัญญาถามตอบด้วยความสัตย์ได้อย่างแน่นอน
๓. จะเป็นผู้ที่มีอำนาจยิ่งในหมู่มนุษย์และเทวดา ไม่ลวงหลอกอย่างแน่นอน
นี่คือทั้งสามประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมได้รับการพยากรณ์จากพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ซึ่งล้วนไม่ลวงหลอก
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความโลภ ย่อมสำเร็จซึ่งความอิสระห้าประการ ก็ห้าประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...
๑. มีกรรมทั้งสามเป็นอิสระ เหตุเพราะอินทรีย์ทั้งหลายสมบูรณ์
๒. มีทรัพย์สิ่งของเป็นอิสระ เหตุเพราะศัตรูและโจรทั้งปวง มิอาจแย่งชิง
๓. มีบุญวาสนาเป็นอิสระ เหตุเพราะสิ่งของมีอยู่พร้อม ตามใจต้องการ
๔. มีราชศักดิ์เป็นอิสระ เหตุเพราะได้รับการถวายแต่สิ่งของล้ำค่า
๕. จะได้รับสิ่งของทั้งปวง ประเสริฐกว่าทุนเดิมนับร้อยเท่า เหตุเพราะเมื่อกาลก่อนไม่ละโมบและอิจฉา
นี่คือทั้งห้าประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมเป็นผู้เลิศพิเศษในไตรภูมิ เป็นผู้ที่ชนทั้งปวงเคารพบูชา
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความโกรธ ย่อมได้รับธรรมอันเป็นเครื่องเบิกบานของจิตแปดประการ ก็แปดประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...
๑. ไม่มีจิตคิดทำร้าย
๒. ไม่มีจิตโกรธเคือง
๓. ไม่มีจิตวิวาทะ
๔. จิตอ่อนโยน ซื่อตรง
๕. บรรลุถึงจิตเมตตาของพระอริยะ
๖. มีจิตที่จะกระทำประโยชน์ผาสุกให้สรรพสัตว์อยู่เป็นนิจ
๗. มีรูปกายสง่างาม หมู่ชนต่างให้ความเคารพ
๘. เหตุเพราะมีความอดทน จึงได้ไปอุบัติที่พรหมโลก
นี่คือทั้งแปดประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้วย่อมมีจิตไม่ติดขัด อันผู้ได้ทัศนาจักไม่เบื่อหน่ายเลย
ฐิตา:
ดูก่อนนาคราช หากไกลจากความเห็นผิด ย่อมสำเร็จซึ่งกุศลสิบประการ ก็สิบประการนั้นเป็นเช่นไรเล่าคือ ...
๑. ได้บรรลุถึงอัธยาศัยอันดีงามแท้จริง แลมีกัลยาณมิตรที่ดีแท้
๒. ศรัทธาในเหตุและผลอย่างลึกซึ้ง แม้ถึงชีวิตก็ไม่ยอมทำความชั่ว
๓. ยึดสรณะเพียงพระพุทธองค์ ไม่ยึดเทพเจ้าอื่นๆ
๔. มีจิตซื่อตรง เป็นสัมมาทิฐิ ไกลจากบ่วงคือความสงสัยว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคลทั้งปวง
๕. เกิดเป็นมนุษย์และเทวดาอยู่เป็นนิจ ไม่ตกอบายภูมิ
๖. บุญและปัญญาไม่มีประมาณ เจริญวัฒนาตลอด
๗. ไกลจากอบายภูมิเป็นนิตย์ แล้วดำเนินในอริยมรรค
๘. ไม่เกิดสักกายทิฏฐิ(1) เพิกเฉยในการทำบาปทั้งปวง
๙. ตั้งอยู่ในความไม่สงสัย
๑๐. ไม่ตกสู่ภัยทั้งปวง
นี่คือทั้งสิบประการ หากสามารถอุทิศแก่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิแล้วไซร้ เมื่อบรรลุเป็นพระพุทธะแล้ว จะบรรลุพุทธธรรมทั้งปวงอย่างรวดเร็ว ได้สำเร็จความเป็นอิสระแห่งฤทธิ์
[1] สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล ? fetters; bondage)
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ ? lower fetters)
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น ? personality-view of individuality)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ ? doubt; uncertainty
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร ? adherence to rules and rituals)
๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ ? sensual lust)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง ? repulsion; irritation)
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง ? higher fetters)
๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ ? greed for fine-material existence; attachment to realms of form)
๗. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ ? greed for immaterial existence; attachment to formless realms)
๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ? conceit; pride)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน ? restlessness; distraction)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง ? ignorance)
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version