ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังธรรมะจากภิกษุณีเท็นซิน พัลโม  (อ่าน 1760 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ฟังธรรมะจากภิกษุณีเท็นซิน พัลโม
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 03:23:58 pm »



เมื่อวันพุธที่ 10 มกราคม 2550 ผมได้โอกาสอันดีไปฟังธรรมจากท่านภิกษุณีเท็นซิน พัลโม ณ โรงเรียนรุ่งอรุณ จึงขออนุญาตนำเสนอตามความเข้าใจเฉพาะที่ได้ฟัง เพราะผมก็ไม่ค่อยมีพื้นฐานความรู้ทางด้านศาสนา จึงจับความได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

ทานบารมี

          ท่านเล่าว่าเด็ก 4 ขวบคนหนึ่งได้รับการร้องขอให้แบ่งขนมให้คนอื่นบ้าง เด็กคนนั้นไม่ยอมทั้งที่มีขนมอยู่เต็มกล่อง (โลภ) เด็กบอกว่าขนมเป็นของตน จึงไม่แบ่งให้ใคร แต่เมื่อได้ข้อคิดว่า ก็เพราะตนเป็นเจ้าของนี่เอง จึงมีสิทธิแสดงอำนาจที่จะแบ่งให้คนอื่น เด็กคนนั้นใช้เวลาสักครู่จึงได้คิดและแบ่งขนมแก่ทุกคนที่อยู่ในกลุ่มนั้นด้วยความเบิกบานใจ

          นี่เป็นคำอธิบายที่ลึกซึ้ง คือแทนที่เราจะบอกแบบพื้น ๆ ว่าให้เห็นใจคนอื่น มีใจใหญ่ มีน้ำใจ ช่วยเหลือกันและกัน เราก็อธิบายให้เห็นถึงพลังอำนาจและความยิ่งใหญ่ของเรา ที่เราสามารถจะหยิบยื่นหรือกระทำกับคนอื่น (ในทางที่ดีคือการให้ทาน) นับเป็นคำอธิบายที่น่าสนใจยิ่ง บางทีเราอาจพยายามอยากมี เพราะว่าเราจะได้มีโอกาสแบ่งเพื่ออยากมีบารมี!

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว

          ท่านพูดถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (integrity) ระหว่างสิ่งที่คิด พูด และทำ ท่านว่าต่างจากนักการเมืองซึ่งมักเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีร่ำไป (ไม่รู้บาปหรือไม่ที่ลงที่พวกเขาเรื่อย คิดไปก็ชักสงสาร) ท่านว่าโฆษณาต่าง ๆ มักไม่นำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน พูดความจริงเพียงบางส่วนหรือไม่ก็โกหกไปเลยเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ และด้วยเหตุนี้เลยทำให้สื่อมวลชนพลอยมัวหมองไปด้วยเพราะเป็นผู้เผยแพร่โฆษณา (ความจริงควรแยกแยะกว่านี้)

          การนี้อาจต้องยกประโยชน์ให้ประเทศตะวันตกที่พัฒนากฎหมายและมีการติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งผู้โฆษณาไม่อาจบิดเบือนความจริงหรือโฆษณาเท็จได้ หาไม่จะได้รับโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญา หรืออาจถูกผู้บริโภคฟ้องร้องโดยตรงได้ ความจริงอย่างหนึ่งที่ปรากฏในกรณีนี้ก็คือสังคมเราต้องสร้างระบบบางอย่างเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จะอาศัยแต่การสอนศีลธรรมเฉพาะปัจเจกบุคคลคงไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับปล่อยให้ผู้เอาเปรียบเสวยสุขต่อไปโดยให้ผู้บริโภคโทษตัวเองที่ใจยังไม่นิ่งพอ

คุณธรรมกับกฎหมาย

          ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างศีลธรรมและกฎหมาย โดยไม่แยก ไม่ขัดกัน ย่อมไม่มีภาวะที่ “ถูกกฎหมายแต่ผิดจริยธรรม” หรือ “มีคุณธรรมแต่ละเมิดกฎหมาย” สิ่งที่ถูกต้องก็คือ “ถูกกฎหมายคือมีจริยธรรมและคุณธรรม” “มีคุณธรรมต้องปฏิบัติตามกฎหมาย” เป็นต้น ส่วนการทำบุญถือเป็นการอาสาบำเพ็ญประโยชน์ หรือการเสียสละตามกำลังตามใจสมัคร ซึ่งไม่ใช่วิสัยที่จะไปกะเกณฑ์อะไร

          คำพูดที่ว่าเราควรใช้คุณธรรมและจริยธรรมนำหน้านั้นฟังดูดี แต่ต้องใช้วิจารณญาณให้ดีเช่นกัน เพราะสมัยนี้มีผู้คนมากมายที่อาศัยการทำดีฉาบหน้าเพื่อปกปิดการทำผิดกฎหมายของตน การที่เราทำถูกต้องตามกฎหมาย ก็คือการที่เรามุ่งหวังคงอยู่อย่างยั่งยืน เข้าทำนอง “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” โดยเคร่งครัด หาไม่เราอาจถูกทั้งจำทั้งปรับ เสียชื่อเสียง การทำถูกต้องตามกฎหมายจึงไม่ใช่การอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ไม่ใช่การทำตามคำสอนทางศาสนา แต่เป็นกติกาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และถือเป็นการลงทุนสำคัญประการหนึ่งในการสร้างมูลค่าให้กับชื่อเสียงของเราและกิจการของเราด้วย

กระดาษทราย

          ท่านกล่าวว่าไม้พื้นหยาบแผ่นหนึ่งจะทำให้เรียบ คงอาศัยแพรไหมเนียนลื่นไม่ได้ ต้องใช้กระดาษทรายมาขัดให้ไม้แผ่นนั้นเรียบ คนที่ขี้โกรธก็คงได้อาศัยข้ออุปมาที่กินใจนี้มาดัดแปลงตนเอง เพราะถ้าเราพบแต่คนที่พูดจาด้วยดี ๆ ปฏิบัติต่อเราดี ๆ เราก็คงไม่มีโอกาสขัดเกลา พัฒนาหรือฝึกการควบคุมอารมณ์ได้ เราจึงไม่ควรดีใจที่ได้พบแต่สิ่งดี ๆ ราบรื่น

          อย่างไรก็ตามไม้แผ่นหนึ่งที่จะเรียบได้ คงเริ่มต้นที่การริดกิ่ง ปอกเปลือก โดยมือคนหรือโดยกระแทกกับก้อนหินที่หยาบยิ่ง ต่อมาก็คงต้องพบกับเลื่อย กบเหลาไม้ กระดาษทรายหยาบ จนถึงกระดาษทรายละเอียด ยิ่งเราต้องการความละเอียด เรายิ่งต้องขัดเกลาด้วยสิ่งละเอียดละเมียด นี่เป็นความจริงในอีกกาละเทศะหนึ่ง

ความเมตตาที่สูงส่ง

          ในกรณีคล้ายกัน ท่านยังยกตัวอย่างลามะทิเบตรูปหนึ่งที่ถูกจับเข้าค่ายแรงงานของจีนเป็นเวลานานมากกว่า 20 ปีจนขาพิการ ลามะท่านนั้นมีความเมตตา ไม่คิดแค้น และกลับเห็นเช่นว่าตนได้มีโอกาสไปฝึกปฏิบัติธรรม สิ่งสำคัญที่ลามะรูปนั้นกลัวก็คือกลัวสูญเสียความเมตตา เพราะในห้วงของการถูกทรมานอย่างแสนสาหัส อาจทำให้อารมณ์ขุ่นมัว ทำให้เกิดความโกรธแค้น

          นี่อาจแสดงถึงการเข้าถึงธรรมะอย่างลึกซึ้งของท่านลามะ แต่ในแง่หนึ่ง ก็รู้สึกเหมือนว่า ภาวะนี้คล้ายการพยายามสะกดจิตตัวเองหรือไม่ สะกดจิตเพื่อให้เราสามารถยึดติด หรือมั่นถือมั่นในธรรมะอย่างเคร่งครัดแม้ในภาวะที่ยากลำบากแสนสาหัสก็ตาม กรณีนี้อาจนำมาซึ่งความหลุดพ้นของปัจเจกบุคคลหนึ่งจากมิติหนึ่งไปอีกมิติหนึ่ง แต่จะมีผลต่อการพัฒนาสังคมเพียงใดเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเช่นกัน

“องค์รวม”

          ตัวอย่างของ “องค์รวม” ที่ท่านยกมาก็คือโต๊ะ ความเป็นโต๊ะนั้น คงไม่ได้หมายเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของโต๊ะ เช่น ขาโต๊ะ แผ่นไม้ส่วนบนของโต๊ะ หรือตะปู เป็นต้น เพราะเมื่อแยกส่วนแล้ว ก็ไม่มีความเป็นโต๊ะ การนี้ทำให้เรารู้จักมององค์รวมที่กว้างขวางมากกว่าการมองเฉพาะจุด อย่างไรก็ตามในอีกแง่หนึ่งเราก็อาจอธิบายในเชิงการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ คือการนำเอาวัสดุต่าง ๆ มาบวกด้วยการออกแบบ บวกด้วยแรงงานในการผลิต เราก็จะได้คุณภาพใหม่คือโต๊ะตัวหนึ่ง (หรือสิ่งอื่น) ที่ไม่ใช่เพียงวัสดุอีกต่อไป สิ่งที่ทำให้เกิดความเป็นโต๊ะก็คือแรงงานนั่นเอง (รวมทั้งการออกแบบซึ่งเป็นผลจากแรงงานการคิด)

          ผมเห็นว่าความเป็นโต๊ะที่แท้ก็คือที่วางของ ทั้งนี้พิจารณาจากการหน้าที่ของโต๊ะ ดังนั้นแม้หินก้อนหนึ่งที่มีพื้นหน้าแบบราบในระดับหนึ่ง ก็สามารถทำหน้าที่เป็นโต๊ะได้ เราจึงไม่อาจยึดติดกับโต๊ะแบบทั่วไป เราจึงต้องก้าวให้พ้นลักษณะของโต๊ะทั่วไป ไม่เช่นนั้นเราก็อาจจะยึดติดหรือหลงไหลได้ปลื้มกับ “องค์รวม” ข้างต้นโดยไม่ก้าวต่อไป

การเรียนรู้

          ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของคนอาจแบ่งเป็น 3 ประเภท ประเภทแรกไม่คิดหรือไม่อาจจะเรียนรู้ได้ เปรียบเหมือนถ้วยชาที่คว่ำอยู่ เทชาลงไปไม่ได้ ประเภทที่สอง “เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา เปรียบเหมือนถ้วยชาที่ก้นรั่วหรือแตกร้าว และประเภทที่สาม มีความขุ่นมัวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้เปรียบเหมือนถ้วยชาที่เต็มไปด้วยน้ำเสีย

          อย่างไรก็ตามกรณีถ้วยชาที่มีน้ำเสียอยู่นั้น ถ้าไม่เทออก แต่เทน้ำดีเข้าผสม เพียงครั้งแรกก็ทำให้น้ำเสียเหลือเพียงครึ่ง พอเทน้ำดีเข้าไปอีก 1 แก้ว น้ำเสียก็จะเหลือเพียงเสี้ยวเดียว พอเทน้ำดีเข้าไปถึงครั้งที่ 7 ก็จะเหลือน้ำเสียเพียง 1% และถ้าเทน้ำดีเข้าไปถึงครั้งที่ 10 ก็จะเหลือน้ำเสียเพียง 0.1% ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงคงเป็นเรื่องค่อยเป็นค่อยไป คงไม่มีใครเทน้ำเสียออกจากตัวได้ทั้งหมด แต่พึงใช้วิธีใช้น้ำดีไล่น้ำเสียมากกว่า ดังนั้นอุปมาข้างต้นจึงอาจต้องพิจารณาให้รอบด้าน


นักเทศน์ที่ดี


          ผมได้เรียนรู้ว่าการเทศน์ที่ดีไม่ใช่การท่องมนต์หรืออ่านบทสวด แต่เป็นแบบบาทหลวงในคริสตศาสนาที่เน้นไปที่การสนทนาธรรม พระพยอมก็ใช้แนวทางนี้ จนเดี๋ยวนี้พัฒนาไปเป็นแบบ talk show แบบ “ธรรมะ delivery” แล้ว ความลึกและคมของนักเทศน์ก็ขึ้นอยู่กับการยกอุปมาอุปมัยที่ลึกซึ้ง กินใจ กลยุทธในการจูงใจ และที่สำคัญก็คือความศรัทธาของผู้ฟัง ยิ่งผู้ฟังศรัทธามาก ผู้ฟังก็ยิ่งซึ้งใจมาก (อาจจะซึ้งใจตั้งแต่ก่อนฟังแล้วก็ได้)

          โดยทั่วไปการบรรยายธรรมที่ประสบความสำเร็จจะใช้เค้าโครงเรื่องที่ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งวันนี้ท่านเลือกเรื่อง “บารมี 6” (ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา) สังเกตได้ว่า เวลาส่วนใหญ่จะเน้นไปในข้อแรก ๆ ส่วนกรณีปัญญา ใช้เวลาน้อยที่สุด ทั้งนี้คงเป็นธรรมดาเพราะเป็นเรื่องลึกซึ้ง จึงได้แค่แตะ ๆ ไว้ให้ครบ แต่ในอีกแง่หนึ่งข้อแรก ๆ เป็นสิ่งที่รู้กันอยู่พอสมควรแล้ว เพียงแต่นักเทศน์แต่ละคนอาจใส่อุปมาหรือเรื่องกินใจที่แตกต่างกัน ผมจึงเห็นว่าการเทศน์หรือสนทนาธรรมควรเน้นและให้เวลากับเรื่องปัญญาเป็นพิเศษ ยิ่งเข้าใจยาก ยิ่งต้องอธิบายมาก ไม่เช่นนั้นเราก็จะติดอยู่กับแบบเบื้องต้นร่ำไป

กลยุทธการควบคุมเวที

          ในระหว่างการพูดในช่วงแรก ๆ ทางคณะผู้จัดได้ฉายภาพนิ่งผ่านจอ LCD เป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งปรากฏภาพของภิกษุณีอีกท่านหนึ่ง โดยไม่ได้ฉายภาพหรือแผนภูมิเกี่ยวกับการบรรยายใด ๆ จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ท่านกำลังพูด ท่านเห็นคนมองจอก็มีเมตตาและมีกิริยาที่งดงามยิ่ง ท่านให้อรรถาธิบายว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพอาจารย์ของท่านเอง ผู้จัดจึงทราบด้วยปัญญาว่าให้ปิดหน้าจอดังกล่าวได้

          ท่านบรรยายธรรมถึงอีก 30 นาทีจะหมดเวลา (จากทั้งหมด 3 ชั่วโมง) ท่านจึงเปิดโอกาสให้ซักถาม โดยบอกว่าหากไม่มีผู้ซักถามจะพานั่งสมาธิ แต่ก็มีผู้ซักถาม 1 ท่าน หลังจากนั้น ท่านก็บอกว่าจะใช้เวลา 2 นาทีบรรยายเกี่ยวกับการก่อสร้างสำนักปฏิบัติธรรมของภิกษุณีที่ท่านสร้างเสร็จไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่บังเอิญกินเวลาไป 18 นาที ดังนั้นก่อนหมดเวลา 1-2 นาที ท่านจึงถามว่ามีผู้ใดคิดว่าต้องการจริง ๆ ที่จะถามคำถามในเวลานี้ไหม แน่นอนแหละครับ ผมก็ไม่กล้าถามเหมือนกัน ผมเกรงใจและอิ่มในรสพระธรรมแล้วครับ

คำถามที่อยากจะถาม

          ความจริงผมตั้งใจอยากจะถามว่า ขณะนี้ท่านยังใช้ “กระดาษทราย” อยู่หรือเปล่า ทั้งนี้เพราะผมเข้าใจว่าในรอบนับสิบปีหลังมานี้ ท่านก็อยู่อย่างสบาย เผยแพร่ธรรมะ ได้ทานบารมี เป็นที่เคารพยกย่อง และถูกกราบไหว้อย่างนอบน้อมกว่าพวกนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ได้รับเสียอีก เงื่อนไขชีวิตแบบนี้ยังต้อง “ขัดเกลา” หรือมีเงื่อนไขการขัดเกลาใด ๆ หรือไม่ แต่ในอีกแง่หนึ่ง ท่านก็บรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องใช้ “กระดาษทราย” อีกต่อไปหรือไม่ อย่างไร

          เสียดายผมไม่กล้าถาม แต่ถ้าท่านใดมีคำตอบ กรุณาบอกผมด้วยครับ

http://www.thaiappraisal.org/thai/market/market_view.php?strquery=market141.htm
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ฟังธรรมะจากภิกษุณีเท็นซิน พัลโม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 11:10:22 pm »
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~