ผู้เขียน หัวข้อ: ปรามาจารย์คูไค ต้นนิกาย ชินงอน วัชรยานแห่งญี่ปุ่น  (อ่าน 7126 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




ยอดอัจฉริยะที่ยากพบพานในรอบ 1,000 ปี

คูไค เกิดในปี ค.ศ. 774 ( ปัจจุบันถือว่า วันที่ 15 มิถุนายน คือ วันเกิด ของท่าน ) เป็นบุตรของท่านหญิงทามะโยริแห่งตระกูลอะโตะ กับท่าน สะเอคิ ทะกิมิ ซึ่งมีสายเจ้าในจังหวัดสะนุคิแห่งเกาะชิโกกุ ในวัยเด็ก คูไคมีชื่อเรียกว่ามาโอะ( ปลาจริง ) อันที่จริง พวกเรารู้เรื่องเกี่ยวกับชีวิตในวัยเด็กของคูไคไม่มากนัก ทราบแต่ว่าบิดาของเขาเป็นอดีตเจ้า ผู้เริ่มตกอับ ขณะที่มารดาของเขาเป็นผู้มีการศึกษาสูง และเก่งในเรื่อง การแต่งโคลงกลอน คูไคคงได้รับส่วนที่ดีเด่นทั้งจากบิดาและมารดา ของเขามาเป็นแน่ จังทำให้เขาเป็นผู้ที่มีขัตติยะมานะแบคนชั้นสูงตาม บิดาของเขา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้มีพรสวรรค์ในการเขียนโคลง กลอนภาษาจีนอย่างหาตัวจับได้ยาก แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ คูไคเป็นเด็ก ฉลาดมากจนได้รับสมญานามจากผู้คนในบ้านเกิดของเขาว่า " เทพทารก " ตั้งแต่เมื่อเขามีอายุเพียง 5 - 6 ขวบแล้ว


คูไคโชคดีกว่าเด็กคนอื่น ๆ เป็นจำนวนมากในยุคเดียวกับเขา ตรงที่เขา ได้รับการอบรมเกี่ยวกับลัทธิขงจื้อตั้งแต่เด็กโดยครูซึ่งเป็นพี่ชายของ มารดาเขา และเป็นครูสอนวิชาจีนศึกษาแก่ราชบุตรอิโยแห่งราชวงศ์ จักรพรรดิญี่ปุ่นในเวลาต่อมาด้วย ท่านอะโตะ โอตาริ ซึ่งเป็นลุงแท้ ๆ ของคูไคผู้นี้แหละที่แลเห็นแววอัจฉริยะในการเรียนรู้ของคูไค จึงตัดสิน ใจพาเขาไปยังเมืองหลวงนารา เมื่อคูไคมีอายุได้ 15 ปี โดยพำนักอยู่ กับท่านและร่ำเรียนเตรียมตัวสอบเข้า " มหาวัทยาลัย " ( ไดงะกุ )

" ไดงะกุ " หรือ " มหาวัทยาลัย " ในยุคนั้น มีอยู่แห่งเดียวในเมืองหลวง และเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงสุดเพื่อบ่มเพาะ " ชนชั้นนำ " ให้เข้ามา รับราชการบริหารประเทศเท่านั้น ระบบ " ไดงะกุ " ของญี่ปุ่นนี้เลียนแบบ หลักสูตรมาจากของประเทศจีนอีกทีหนึ่ง เพราะจีนยุคราชวงศ์ถังในขณะ นั้นเป็น " ประเทศพัฒนาแล้ว " ที่เจริญที่สุดในโลก โดยมีเมืองหลวงที่เป็น เมืองสากลตั้งอยู่ฉางอาน ขณะที่ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศเล็ก ๆ และด้อยพัฒนา อยู่ วิทยาการและความรู้ใหม่ ๆ ล้วนต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศจีน ทั้งสิ้น

การที่คูไคสามารถสอบเข้ามาเรียนใน " มหาวัทยาลัย " ซึ่งรับจำนวนจำกัด มากนั้น ด้านหนึ่งคงเเป็นเพราะความปรีชาฉลาดปราดเปรื่องของตัวเขาเอง แต่ในอีกด้านหนึ่งและเป็นด้านชี้ขาดก็คือ เพราะว่าคูไคเป็นลูกหลานของ ตระกูลเจ้าที่แม้จะเป็นตระกูลปลายแถวก็ตาม เนื่องจากการมีเชื้อเจ้าเป็น เงื่อนไขประการสำคัญที่สุดในการเข้าเรียน " มหาวิทยาลัย " แห่งนั้นได้เมื่อ เขามีอายุได้ 18 ปี โดยเข้าเรียนในแผนก " บริหารรัฐกิจ " ในระหว่างที่เรียน คูไคถูกบังคับให้อ่านตำราของลัทธิขงจื้อและของลัทธิเต๋าเป็นจำนวนมาก เขาต้องเรียนหนักมาก แต่เขาก็เรียนได้ดีด้วยและได้รับคำชมเชยจากครุบา อาจารย์เสมอ จุดนี้เองที่ทำให้คูไคแตกต่างกับอริยสงฆ์รูปอื่น ๆ ของญี่ปุ่น ในเวลาต่อมา ที่มีความรู้จำกัดแคบอยู่แค่พุทธศาสนาเท่านั้น หาได้มีความรู้ กว้างขวางและมีพื้นฐานความคิดปรัชญาตะวันออกในสายอื่น ๆ อย่างแน่น หนามั่นคงเหมือนอย่างคูไคไม่


ถ้าหากจะมี " ความทุกข์ " เกิดขึ้นในใจของคูไคในระหว่างที่เขากำลังเรียน อยู่ในมหาวิทยาลัย ความทุกข์นั้นก็เห็นจะมีเพียงอย่างเดียวนั่นคือตัวเขาไม่ได้ ชอบเรียนวิชาบริหารรัฐกิจเลยแม้แต่น้อย ! และตัวเขาไม่ชอบรับราชการเลย แม่แต่น้อย เป็นที่น่าเสียดายว่า " มหาวิทยาลัย " สมัยนั้นยังไม่มีแผนก " ปรัชญา "ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจส่วนตัวของคูไคมากกว่า จึงทำให้คูไคไม่สามารถ ย้ายแผนกหรือเปลี่ยนคณะได้

คูไคในวัยเพิ่งแตกหนุ่ม และกำลังอยู่ในช่วง " แสวงหา " ความหมายที่แท้จริง ของชีวิต คงพอจะเริ่มรู้จักและเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตัวเองได้แล้วว่า ตัวเขาเป็นคนที่มีความต้องการจะบรรลุ " ความเป็นเลิศ " อย่างแท้จริง และ จิตใจของเขาก็มีความละเอียดอ่อนละมุนละไมเกินกว่าที่จะถูกจำกัดถูกครอบ ด้วยระบบราชการที่เคร่งครัดได้ ในขณะทีคูไคีความมั่นใจนตนเองเป็นอย่าง สูงว่า ภายในช่วงเวลา 2 ปี ที่เขาเรียนอยู่นมหาวิทยาลัยนั้น ตัวเขาได้ร่ำเรียน ลัทธิขงจื้ออย่างทะลุปรุโปร่งหมดแล้วจนวิชาการนี้มิได้ท้าทายหรือดึงดูดใจเขา อีกต่อไปแล้ว ขณะเดียวกันเขาก็ค้นพบว่าระบบไต่เต้าของขุนนางในยุคของ เขานั้น ถูกกำหนดโดยเชื้อสายหาใช่คามสามารถที่แท้จริงไม่ เพราะฉะนั้น ถึงตัวเขาจะรับราชการเป็นขุนนางในอนาคต ตัวเขาก็คงไม่มีวันก้าวขึ้นสู่จุด สูงสุดหรือตำแหน่งอันดับหึ่งในวงการราชการได้อย่างแน่นอน เพราะตัวเขา เป็นแค่ผู้มีเชื้อเจ้าปลายแถวคนหนึ่งเท่านั้น
" ศาสนาพุทธ " คือศาสตร์ใหม่ที่คูไคได้สัมผัสหลังจากที่เขาช่ำชองลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋าจนไม่รู้สึกเร้าใจในศาสตร์ 2 ศาสตร์นี่อีกต่อไปแล้ว " ศาสนาพุทธ " ดึงดูดตัวคูไคมากในฐานะที่มันเป็น " ปรัชญา " ที่มุ่งตั้งคำถามที่เป็นรากเหง้า และแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ ไม่แต่เท่านั้น " ศาสนาพุทธ " ยังเป็นหลักวิชาที่ ท้าทายความสามารถของตัวเขาในความรู้สึกของคูไคขณะนั้นด้วย เนื่องเพราะ เขาได้ค้นพบว่าศาสนาพุทธมีความลึกล้ำมาก ขณะที่ตัวเขายังมีความเข้าใจ เกี่ยวกับศาสนาพุทธรน้อยมาก !

ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจกันก่อนว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อน " ศาสนาพุทธ " ยังเป็นศาสตร์นำเข้าที่ใหม่มากสำหรับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกือบทั้งหมดนำเข้า มาจากประเทศจีน จากคัมภีร์ศาสนาพุทธฉบับภาษาจีนที่แปลมาจากสันสกฤต อีกต่อหนึ่ง

แต่แม้กระนั้นก็ตามคัมภีร์ศาสนาพุทธในยุคนั้นก็มีจำนวนมากมาย มหาศาลหลายพันเล่ม จนอ่านกันจนตายก็แทบไม่หมดอยู่แล้ว ทั้ง ๆ ที่มี คัมภีร์ศาสนาพุทธมากมายขนาดนี้ แต่จะหาคนที่ " รู้จริง " เข้าใจศาสนา พุทธอย่างถึงแก่น ถึงรากถึงโคนได้ยากเต็มทน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:52:06 am โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
คูไคในวัย 20 ปี จึงอยู่ในทางแพร่งของชีวิต ที่ต้องเลือกเอาระหว่างการเดิน ตามเส้นทางที่ผู้ใหญ่ปูทางให้แก่ตัวเขา คือรับราชการเป็นขุนนางระดับสูง หรือต้องเลือกเดินทางสายใหม่โดยออก " แสวงหา " สัจธรรมสูงสุดในศาสนา พุทธอีกครั้งหนึ่ง การที่คูไคมีโอกาสได้พบสมณะรูปหนึ่งซึ่งแนะนำให้เขาฝึก วิชา " โคคูโซม็อนยิ " ( วิชาแห่งพระผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันหมดสิ้น ) โดยบอกกับเขาว่า ถ้าหากเขาสามารถฝึกวิชานี้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการเพ่ง น้อมจิตเพื่อเปลี่ยนแปลงมันสมองของตนเองให้มีความล้ำเลิศระดับอัจฉริยะ ด้ยการท่องมนตราตาที่ถ่ายทอดให้เป็นจำนวน 1 ล้านคาบภายในเวลา 100 วัน ได้แล้ว เขาก็จะสามารถเข้าใจหลักพุทธธรรมทั้งปวงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็น อีกต่อไปแล้ว
 
เมื่อได้รับคำแนะนำจากสมณะรูปนั้น คูไคจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ละทิ้ง การศึกษาในระบบมหาวิทยาลัย ปลงผมบวชเป็นนักพรตพเนจรเข้าไปฝึกวิชา ในป่าเขาเพื่อฝึกฝน " วิชาแห่งพระผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันจบสิ้น " ให้ สำเร็จให้ได้ โดยไม่ยอมฟังคำทัดทานของบิดามารดาและผู้ใหญ่ท่านอื่น ๆ แต่อย่างใด ขณะนั้นคูไคเพิ่งมีอายุ 20 ปี และนั้นเป็นก้าวแรกแห่งการกลาย เป็นยอดอัจฉริยะที่ยากพบพานในรอบ 1,000 ปี ของประเทศญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุจูงใจในครั้งแรกที่ทำให้คูไคเข้ามาสนใจศึกษาศาสนา พุทธอย่างจริงจังนั้น ต่างกับอริยสงฆ์ท่านอื่น ๆ เป็นอย่างมาก กล่าวคือ คูไคมิได้เริ่มสนใจศาสนาพุทธเพราะแลเห็นว่า " ชีวิตคือทุกข์ " เหมือน อริยสงฆ์รูปอื่น ๆ เขาจึงไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อ " แสวงหาความหลุดพ้น " หรือ " การตรัสรู้ " ( การรู้แจ้ง ) ในทีแรก แต่คูไคเริ่มสนใจศาสนาพุทธ เพราะเขา รู้สึกว่ามันเป็นวิชาที่ยากลึกล้ำ ซึ่งท้าทายตัวเขาผู้แสวงหา " ความเป็นเลิศ " ในกิจกรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น เป้าหมายประการแรกและเป็นอันดับแรก ในการศึกษาศาสนาพุทธของคูไคก็คือจะทำอย่างไรถึงจะมีความเข้าใจ อย่างแจ่มแจ้งในหลักพุทธธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งวิธีการที่คูไคใช้เพื่อบรรลุ เป้าหมายอันนี้ก็คือ การฝึกฝนพัฒนามันสมองของตัวเองให้มีความล้ำเลิศ ระดับอัจฉริยะเสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยไปศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งจะ ทำให้ศึกษาได้ง่ายราวกับพลิกฝ่ามือ ไม่ยากลำบากเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไปแล้ว
 
ด้วยเหตุนี้ ทัศนะที่มีต่อพุทธศาสนาและต่อชีวิตของคูไคในเวลาต่อมา จึงค่อนข้างต่างไปจากอริยสงฆ์รูปอื่น ๆ นั้นคือ คูไคแลเห็นและเน้น ด้านที่เบิกบานหรรษาของชีวิตมากกว่าด้านที่เป็นความทุกข์ยากของชีวิต คูไคดื่มด่ำกับความงดงามของธรรมชาติ ของภูเขาและทะเล มากกว่า ที่จะปฏิเสธความเป็นอยู่ของโลกใบนี้ในฐานะที่เป็นโลกียะ อาจเป็นเพราะ ทัศนคติต่อชีวิตและธรรมชาติของคูไคเช่นนี้กระมังที่ทำให้ " ศาสนาพุทธ ของคูไค " เป็น ศาสนาพุทธแห่งมันดาลา เป็นศาสนาพุทธแห่งการมุ่ง บรรลุความเป็นพุทธะในชีวิตนี้ เป็นศาสนาพุทธที่มุ่งทำให้ตัวเราเองเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลหรือธรรมกาย กล่าวคือ เป็นศาสนาพุทธ แห่ง " มิกเคียว " หรือ " วัชรยาน " แทนที่จะเป็นศาสนาพุทธแห่งเถรวาท หรือ ศาสนาพุทธแห่งเซน หรือศาสนาพุทธแห่งแดนสุขาวดี เหมือน อริยสงฆ์รูปอื่น ๆ
 
" สันติชาติ เธอรู้มั้ยว่า ถ้าคนคนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถอันยิ่งใหญ่ อยู่ในตัว แต่ตัวเขายังไม่ตระหนักถึงความสามารถเช่นนั้นที่มีอยู่ในตัวเขา หรือบังเอิญตัวเขาไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปิดกั้นความสามารถอันนั้น ของเขาอย่างรุนแรงแล้ว คนผู้นั้นจะเป็นเช่นไร ? "
 
" ผมคิดว่า คนผู้นั้นคงจะต้องอึดอัดทุรนทุรายใจมากเลยทีเดียวครับอาจารย์ และบางทีเขาอาจด่วนตัดสินใจทำอะไรที่หุนหันพลันแล่นอย่างที่คนอื่นคาด ไม่ถึงด้วย ... เอ้อ อาจารย์คิดว่า อัจฉริยะอย่างคูไคก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ตอนที่เขาตัดสินใจเลิกเรียนมหาวิทยาลัยกลางคันแล้วปลงผมบวชเป็นนักพรต พเนจรหรือครับ ? "
 
" ใช่แล้ว อาจารย์คิดว่าคูไคตัดสินใจเปลี่ยนวิชาเรียนจากวิชาบริหารรัฐกิจ มาเป็นวิชาปรัชญาเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวตนและความต้องการที่แท้จริง ของเขามากกว่า เพียงแต่สภาวพแวดล้อมในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยให้เขา เปลี่ยนสาขาวิชาได้ การณ์จึงออกมาในรูปที่สุดโต่งอย่างนั้นคือเขาต้องเลิก เรียนมหาวิทยาลัยแล้วออกมาแสวงหาวิชาปรัชญาด้วยตัวเองจากศาสนาพุทธ การตัดสินใจเข้ามาศึกษาศาสนาพุทธของคูไคจึงมาจากความทุรนทุรายทาง ปัญญาโดยแท้ หาได้มาจากการเบื่อโลกแต่อย่างใดไม่ อ้อ แต่มีประสบการณ์ อีกอย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้อันนิมิตที่คูไคได้ประสบในระหว่างการ แสวงหาศาสนาพุทธ ด้วยตนเอง และเป็นช่วงก่อนที่เขาจะได้มาพบกับสมณะ ก็อนโซ ผู้แนะนำให้คูไคฝึกวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' ( วิชาเปลี่ยนมันสมองให้เป็น เลิศ ) ก่อน "
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
" นิมิตอะไรหรือครับอาจารย์ที่คูไคประสบ ? "
 
" ภายหลังจากที่คูไคเลิกเรียนมหาวิทยาลัย แล้วโกนหัวออกบวชเป็นนักพรต พเนจรแล้ว เขาได้เข้าไปฝึกฝนตัวเองในป่าเขา อาบน้ำตกที่กระหน่ำซัดตัวเขา อย่างรุนแรงพร้อมกับภาวนาหาทางช่วยเหลือมนุษยชาติ ในไม่ช้าเมื่อคูไคตกอยู่ ในภวังค์สมาธิอันลึกล้ำขนาดที่เขาสามารถแลเห็นอนาคตของตัวเองได้ เขาได้ แลเห็นว่า ตัวเองกำลังร่ำเรียนคำสอนของพระพุทธเจ้า และในระหว่างนั้น ตัวเองได้นั่งเรือใบเพื่อเดินทางไปประเทศจีนไปศึกษาวิชาศาสนาพุทธขั้นสูง แต่แล้วเรือใบที่เขากำลังนั่งโดยสารไปนั้นกลับต้องอัปปางลงกลางทะเล ! "
 
 
" พูดง่าย ๆ ก็คือ คูไคเห็นชะตาชีวิตในอนาคตของตนเองก่อนแล้วใช่ใหม ครับว่าจะต้องอายุสั้น เพราะจบชีวิตลงกับเรือใบลำที่จมลงในทะเลก่อนที่ ตัวเองจะได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตน "
 
 
" ใช่แล้ว ตัวคูไคจึงตระหนักว่า ก่อนอื่น เขาจะต้องพยายามเปลี่ยนชะตากรรม อันนี้ของตัวเขาให้ได้เสียก่อน มิฉะนั้น ความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ของเขา ก็ดี ความหมายแห่งการแสวงหาธรรมในชั่วชีวิตของเขาก็ดี มันก็จะไร้ความ หมายไปอย่างสิ้นเชิง ในช่วงนี้แหละ ภายหลังจากที่คูไคได้รู้เห็นชะตากรรม ของตนเองแล้วที่เขาได้พบกับสมณะก็อนโซ และได้รับการถ่ายทอดวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเขาเอง และเพื่อเปลี่ยนชะตากรรมของ ตัวเขาด้วย "
 
 
" ........................................ "
 
 
" อันชะตาชีวิตของคนเรานั้น อันที่จริงได้ถูกบันทึกเอาไว้ล่วงหน้าแล้วอย่าง ชัดแจ้งในมหาสากลจักรวาล แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่รู้สำนึกหรอกจึงใช้ชีวิต ของตนไปตามยถากรรม อันคำว่า ' โคคูโซ' ในภาษาญี่ปุ่นนั้นก็เป็นชื่อของ พระโพธิสัตว์รูปหนึ่งผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันหมดสิ้น โดยที่โคคูโซมี ความหมายว่า คลังอวกาศ หรือคลังความรู้ในจักรวาลที่บันทึกชะตากรรม ของชีวิตทั้งปวงเอาไว้ตั้งแต่ชีวิตในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตราบใดที่ ชีวิตของสรรพสิ่งยังอยู่ในวัฏฏสงสาร
 
ทำไมชีวิตของมนุษย์เราจึงถูกบันทึกอยู่ในคลังอวกาศนี้ได้เล่า ? คำตอบคือ เพราะ ความโง่เขลาอันไม่มีที่สิ้นสุด ของมนุษย์ผู้นั้นนั่นเอง สันติชาติเธอ จำสิ่งที่เราเคยบอกเธอได้หรือเปล่าว่า ความคิดและการกระทำของคนเรานั้น เป็นส่วนผสมของ ' ข่าวสาร ' ที่สืบทอดมาจาก ' บรรพบุรุษ ' ที่ฝังลึกอยู่ใน ร่างกายสายเลือดของเรา กับ ' ข้อมูลในอดีต ' ที่ถูกบันทึกเอาไว้ใน ' วิญญาณ ' ของเรา เพราะฉะนั้น ตราบที่คนคนนั้นยังไม่ ' ตื่น ' ขึ้นมาแล้ว คนคนนั้นอาจ ไม่รู้หรอกว่า การตัดสินใจของตนในตอนนั้น จริง ๆ แล้วหาใช่การตัดสินใจ ของตนเองอย่างแท้จริงไม่ แต่เป็นการตัดสินใจที่พึ่งพิงข่าวสารจากบรรพบุรุษ และข้อมูลความทรงจำใน ' อดีตชาติ ' ของตนต่างหาก
 
การที่คนเรายังต้อง พึ่งพา ' หมอดู ' ให้ทำนายโชคชะตาของตัวเราอยู่ก็เป็น การแสดงว่าคนผู้นั้นยังโง่เขลาอยู่ ทำไมเราถึงกล่าวเช่นนั้นเล่า ? ก็เพราะว่า ' ความโง่เขลา ' ของมนุษย์เรานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ชาติแล้วชาติเล่า ภพแล้วภพเล่า จึงทำให้มนุษย์เรานั้นยากจะหลุดพ้นจาก วัฏฏสงสารไปได้ การที่มนุษย์เรายังคงทำผิดซ้ำซากซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อีก ก็เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นถึง ' ความโง่เขลา ' อันนี้นั่นเอง
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

 
คูไคได้เห็นชะตาชีวิตของตนเองในระหว่างการฝึกสมาธิของเขา เขาจึงตัด สินใจฝึกฝนวิชาเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเอง หรือวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' โดยทำการทดลองฝึกวิชานี้ถึง 3 ครั้ง 3 คราด้วยกัน จนกระทั่งประสบความสำเร็จในครั้งที่ 3 ทำให้เขาสามารถเดินทางไปถึงประเทศจีนโดยสวัสดิภาพ และกลายมาเป็นปรามาจารย์แห่งยุคในเวลาต่อมาได้ ... เธออย่าแปลกใจนะ สันติชาติ ถ้าเราจะบอกว่าคนส่วนใหญ่ในโลกนี้มักไม่ค่อยรู้ตัวหรอกว่าตนเอง กำลังเดินตามรอยชะตากรรมของตนที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว และกว่า จะรู้ตัวก็มักจะสายไปเสียแล้ว คือ ตัวเองกลับมาที่เก่า ย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่ได้ ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณเลยแม้แต่น้อยก่อนที่จะสิ้นชีวิตนี้ไปเกิดใหม่อีกครั้ง "
 
" เพราะฉะนั้น การฝึกสมาธิของวัชรยาน คือการทำให้ชะตากรรมของตัวเรา กลับมาเป็นกระดาษขาวอีกครั้ง เพื่อให้เราเริ่มต้นเขียนชีวิตและชะตาชีวิตของ เราใหม่ในชาตินี้ได้ใช่มั้ยครับ "
 
" ใช่แล้ว สันติชาติ วิชา 'โคคูโซม็อนยิ ' ที่คูไคฝึกหัดนั้น อันที่จริงก็คือหลัก วิชาเพื่อการลบอดีตชาติและสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ล่วงหน้าแล้วในชะตากรรมของ เรานั่นเอง เพื่อให้ตัวเราที่ตื่นแล้ว สามารถตั้งต้นชีวิตใหม่ได้อย่างมีพลังและ อย่างสร้างสรรค์แท้จริงในชาตินี้โดยไม่ต้องไปรอความหวังในชาติหน้าอย่าง ลม ๆ แล้ง ๆ อีกต่อไป "
 
" การฝีกวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' ของคูไคอย่างเป็นรูปธรรมนั้ทำอย่างไรครับอาจารย์ "
 
" ถ้าฝึกแบบย่อ ๆ ก็คือ การทำมุทราในท่า ' โคคูโซ' หรือ พระผู้มีปัญญาอัน ไม่มีวันหมดสิ้น เพ่งนิมิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวท่าน พร้อมกับท่องมนตรา สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นจำนวน 1 ล้านเที่ยวด้วยกัน
 
... โนโบ อาคะชะเคียะระบะยา โอมอะริเคียะ มะริโบะริโสวะกะ ... "
 
" และถ้าฝึกแบบเต็มรูปล่ะครับ อาจารย์ ? "
 
( 1 ) ก่อนอื่น นั่งขัดสมาธิ พนมมือ แล้วท่องมนตราต่อไปนี้ 1 เที่ยว
 
... โอม ซารุบะ ตะตะกะตา ปะดะปันดะโนคะโรมิ
 
... ( 2 ) จากนั้น ทำท่ามุทราในท่า " พนมมือปัทมะ " ( เหมือนท่าพนมมือธรรมดา แต่นิ้วกลางเท่านั้นที่ไม่แตะกัน และอยู่ห่างจากกันราว ๆ 2 เซนติเมตร ) แล้วท่องมนตราต่อไปนี้ เป็นจำนวน 5 เที่ยว
 
... โอม โสวะบันบะ ชุดะ ซาราบะ ทาระมะโสวะ บันบะ ในระหว่างท่องมนตราให้มุ่งภาวนาชำระกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ของตนเองให้สะอาด
 
( 3 ) ทำมุทราในท่า ' บาตร ' พร้อมกับท่องมนตราต่อไปนี้ 3 เที่ยว
 
... โอม ตะตะเกียะโต โดะบันบะยา โสวะกะ
 
... นี่คือ การชำระกายกรรม ทำมุทราในท่า ' ใบบัวสยายกลีบทั้งแปด ' พร้อมกับท่องมนตรา ต่อไปนี้ 3 เที่ยว
 
... โอม บันโดะโบะ โดะบันบะยา โสวะกะ ...
 
นี่คือ การชำระวจีกรรม ทำมุทราในท่า มือขวาซ้อนอยู่บนมือซ้าย พร้อมกับท่องมนตรา ต่อไปนี้ 3 เที่ยว
 
... โอม บะโซโระ โดะบันบะยา โสวะกะ
 
.... นี่คือ การชำระมโนกรรม
 
( 4 ) ทำมุทราในท่า ' โคคูโซ ' ( นิ้วหัวแม่โป้งทั้งสองกดนิ้วนางทั้ง สอง นิ้วกลางทั้งสองแตะกัน ขณะที่นิ้วชี้งอเป็นรูปตะขอ ) พร้อมกับท่องมนตราเพื่อให้พลังพุทธคุ้มครองตนดังต่อไปนี้ 5 เที่ยว
 
...โอม บาซะรากินี ฮาราติ อาตายะ โสวะกะ
 
... ฝึกจะต้องฝึกขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ทุกวัน วัน 3 เวลา เป็นเวลา 360 วัน ก่อนที่ไป ฝึกแบบย่อ ๆ โดยท่องมนตรา รวดเดียวเป็นจำนวน 1,000,000 เที่ยว โดยท่องวันละ 10,000 เที่ยว เป็นจำนวน 100 วันเต็ม คือ
 
... โนโบ อาคะชะเคียะระบะยา โอมอะริเคียะ มะริโบะริโสวะกะ ... "
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



บำเพ็ญตบะ 7 ปีก่อนไปจีน

 

ภายหลังจากที่คูไคฝึกวิชา ' โคคูโซกูม็อนยิ ' ( The Mantra of Akasagarbha )ได้เป็นผลสำเร็จเมื่ออายุ 24 ปีแล้ว เขาก็ได้เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อ ' Indication of The Goals of The Tree Teaching ' ซึ่งเป็นหนังสือเปรียบเทียบให้เห็นถึงความโดดเด่นของศาสนาพุทธที่มีเหนือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า โดยเขียนออกมาในรูปของนิยาย

ในบทนำของหนังสือเล่มนี้ คูไคได้เขียนถึงตัวเองในวัยรุ่นหนุ่มว่า

 

" เมื่ออายุ 18 ปี ข้าพเจ้าได้เข้าเรียนใน ' มหาวัทยาลัย ' ที่เมืองหลวง ด้วยความตั้งอกตั้งใจอย่างจริงจัง จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบสมณะ รูปหนึ่งที่มอบคุมภีร์เล่มหนึ่งชื่อ ' โคคูโซกูม็อนยิ ' แก่ข้าพเจ้า คัมภีร์เล่มนี้ ได้เขียนไว้ว่า ถ้าใครก็ตามที่ได้ท่องมนตราในคัมภีร์นี้เป็นจำนวน 1,000,000 ครั้ง ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแล้ว คนผู้นั้นจะสามารถเข้าใจความหมายและสาระของพระสูตรทั้งปวงได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ข้าพเจ้าเชื่อถือสิ่งที่คัมภีร์นี้กล่าวไว้โดยสนิทใจ ข้าพเจ้าหมั่นเพียรฝึกฝนตามคัมภีรืนี้อย่างไม่หยุดหย่อน ข้าพเจ้าเคยปีนไปฝึกวิชานี้ที่ภูเขาไทริว ที่จังหวัดอะวาและไปนั่งสมาธิที่แหลมมุโรโตะที่โตสะ จนกระทั่งขาพเจ้าบรรลุผลสำเร็จตามที่บ่งบอกไว้ในคัมภีร์

นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ข้าพเจ้าก็หมดความทะยานอยาก ในลาภ ยศ ชื่อเสียง สมบัติใด ๆ ทั้งปวง มุ่งหวังแต่จะใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าได้เห็นความหรูหราต่าง ๆ ไม่ว่าเส้อผ้าที่ สวยงาม อาชา ราชรถ ข้าพเจ้ากลับเกิดความสลดใจ และเห็นความไม่ จีรังดุจสายฟ้าแลบของสิ่งเหล่านี้ซึ่งจะสูญสลายไปไม่ช้าก็เร็ว เมื่อใดก็ตาม ที่ข้าพเจ้าได้แลเห็นคนพิการหรือกระยาจก ข้าพเจ้ารู้สึกหดหู่สังเวชแกม ประหลาดใจว่า อะไรหนอที่ทำให้พวกเขาต้องมาใช้ชีวิตที่ทรมาณลำเค็ญ เช่นนี้ สิ่งเหล่านี้ได้กระตุ้นให้ข้าพเจ้าแสวงหาความหลุดพ้น ไม่มีใคร สามารถเปลี่ยนแปลงความตั้งใจอันแน่วแน่นี้ของข้าพเจ้าได้ เหมือนกับ ที่ไม่มีใครสามารถที่จะหยุดลมได้นั่นเอง

" ช่วงเวลา 7 ปี ระหว่างที่คูไคอายุ 24 ปี จนถึงอายุ 30 ปีนั้น เป็นช่วง เวลาที่คูไคใช้ชีวิตบำเพ็ญตบะอยู่ในป่าเขา ศึกษาธรรมะท่ามกลางธรรม ชาติ คนรุ่นหลังมีโอกาสรู้รายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของคูไคในช่วงนี้น้อย มาก เราได้แต่จินตนาการเท่านั้นว่า ' เซ็นนิจิไค - โฮเกียว ' ของมิกเคียว หรือการฝึกปฏิบัติธรรมด้วยการธุดงค์คนเดียวตามป่าเขาเป็นจำนวน 1,000 วันภายในช่วงเวลา 7 ปี โดยปีแรกเดินต่อเนื่อง 100 วัน ปีที่ 2 เดินต่อเนื่อง 100 วัน ปีที่ 3 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 4 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 5 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 6 เดินต่อเนื่อง 100 วัน และ ปีที่ 7 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย เดินต่อเนื่องอีก 100 วัน รวมแล้ว 1,000 วัน ถ้าเฉลี่ยเดินวันละประมาณ 30 กิโลเมตร จำนวน 1,000 วัน ก็จะต้อง เดินทั้งหมด 42, 000 กิโลเมตร ซึ่งพอ ๆ กับระยะทาง 1 รอบโลกพอดี

ก่อนเข้าฝึกการบำเพ็ญตบะ ' เซ็นนิจิไค - โฮเกียว ' อันนี้ ' ครู ' จะต้อง ถามศิษย์ผู้เข้าสู่การบำเพ็ญตบะก่อนว่า ' ท่านพร้อมจะทิ้งบิดามารดาหรือ ไม่ ? ' ' ท่านพร้อมจะทิ้งพี่น้องหรือไม่ ? ' ' ท่านพร้อมที่จะทิ้งครอบครัว คนรักหรือไม่ ? ' ซึ่งผู้เข้าสู่การบำเพ็ญตบะจะต้องตอบว่า ' พร้อมที่จะทิ้ง ขอรับ

' ในขณะบำเพ็ญตบะ ผู้ฝึกจะต้องแต่งชุดขาวทั้งชุด มือขวาถือกระบองวัชระ เผื่อเป็นสถูป ถ้าหากผู้ฝึกเกิดเสียชีวิตกลางคัน พร้อมกับพกมีดสั้น 1 เล่ม เหน็บไว้ที่เอว หากจำเป็นต้องสังหารตัวเอง เวลาในการธุดงค์ส่วนใหญ่ ถูกกำหนดให้เป็นเวลากลางคืนเท่านั้น ความยากลำบากของการฝึกอันนี้ มีมากขนาดไหน จะขอเอาตัวเองเป็นคูไคถ่ายทอดความรู้สึกภายในขณะที่ บำเพ็ญตบะอันนี้ออกมาเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แม้เพียงแค่ส่วนเสี้ยว ก็ยังดี

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



... เราใช้ชีวิตวัยหนุ่มตลอดช่วงอายุ 20 ปีกว่า จนกำลังจะย่างเข้าสู่ช่วง 30 ปีนี้ เพื่อการฝึกฝนตนและการปฏิบัติธรรมมาโดยตลอดโดยไม่ทราบ ว่าการฝึกฝนนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร บางทีตัวเราอาจจะตายไปท่ามกลาง ป่าเขาในขณะที่กำลังฝึกฝนตนอยู่นี้ก็เป็นได้ ตัวเราเองไม่เคยมีปัญหา ทุกข์ใจในเรื่องส่วนตัวเลยแม้เพียงเรื่องเดียว แต่ที่เราต้องมาทุ่มเทชีวิต ในวัยหนุ่มทั้งหมดของเราให้กับการฝึกฝนปฏิบัติธรรมอย่างหนักหน่วง เช่นนี้ ก็เพราะตัวเรามุ่งหวังที่จะช่วยเหลือผู้คนทั้งหลายให้หลุดพ้นจาก ความทุกข์เท่านั้น ก็เพราะเราคิดที่จะยินดีแลกชีวิตของเราเพื่อช่วยชีวิต ของผู้คนทั้งปวงเท่านั้น ตัวเราคงเป็นคนโง่อย่างยิ่งแน่นอนถึงคิดเช่นนี้ กระทำเช่นนี้อันเป็นสิ่งที่ถูก ผู้คนจำนวนมากหัวเราะเยาะว่าเพี้ยน ว่า งี่เง่า ใช่แล้วละว่าตัวเราเกิดมาเป็น ' คนโง่ ' เช่นนี้เอง และตัวเราก็ไม่ อาจหยุดความคิดและการกระทำเช่นนี้ด้วย

เรานึกไม่ถึงเลยว่ายามค่ำคืนของภูเขาจะมืดขนาดนี้ ปีนี้ฝนตกถี่และ ยาวนานมาก การเดินธุดงค์ในยามที่ฝนตกจะทำให้ร่างกายใช้พลังงาน มากกว่าปกติ เพราะฉะนั้น พอเดินไปได้ไม่นาน เราก็รู้สึก 2 ขา ของเรานี้หนักราวกับถ่วงลูกตุ้ม และเริ่มรู้สึกเจ็บที่หัวเข่า ' นี่เราจะ บำเพ็ญตบะอันนี้สำเร็จมั้ยหนอ หรือว่าตัวเราจะต้องล้มตายในป่านี้ ? ' ความคิดอันนี้แวบผ่านสมองเราขณะที่ยังเดินต่อไปเรื่อย ๆ

เราจะต้องทรมาณตัวเองไปอีกนานแค่ไหนถึงจะพอ ? ฟ้าเอ๋ย พระพุทธ เจ้าข้า ตัวเราจะต้องอดทนต่อความยากลำบากแค่ไหนถึงจะเพียงพอต่อ การไถ่บาป ชดใช้ทดแทนความทุกข์ของผู้คนทั้งหลายได้ ? เราถามต่อฟ้า เราถามต่อพสุธา เราถามต่อต้นไม้ เราถามต่อแม่น้ำลำธาร เราถามต่อ ทุกสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัวเรา ในท่ามกลางความมืดสนิทของราตรี

ภายหลังจากที่ธุดงค์ทุกคืน คืนละ 9 ชั่วโมง ฝ่าเท้าของเราก็เริ่มแตก ถลอก น้ำฝนที่ซึมผ่านถุงเท้าเข้ามากระทบกับฝ่าเท้าทำให้เรารู้สึกแสบ เจ็บทุกครั้งที่ก้าวเดิน อากาศหนาวเย็นมากจนเราต้องหายใจอย่างรุนแรง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายอบอุ่น ไม่แข็งทื่อจนขยับไม่ได้

ในที่สุด ก็รุ่งเช้าแล้ว ฟ้าสางแล้ว เราเห็นพระอาทิตย์ยามเช้าที่กำลังลอย ขึ้นจากพสุธา พระอาทิตย์ยามนี้ช่างสวยเหลือเกิน ราวกับสรรพชีวิตทั้งปวง ล้วนตื่นจากความหลับใหลเพราะแสงอันอบอุ่นจากดวงอาทิตย์ดวงนี้ พระอาทิตย์คือตัวแทนของพลังชีวิตโดยแท้ ...

... คืนนี้ เราออกไปบำเพ็ญตบะ ด้วยการธุดงค์เหมือนเช่นเคย

เส้นทางยาวเหยียดสุดลูกหูลูกตาของภูเขา สายลมที่พัดกระโชกรุนแรง กระทบใบหน้าเรา บางครั้งเราเดินสะดุดหกล้มกลิ้งลงไปนหุบเขา ต้อง ปีนไต่กลับขึ้นมา ต่อให้เป็นคนโดดเดี่ยวอ้างว้างเพียงใดก็ตาม คนคน นั้นก็ย่อมต้องมีใครบางคนที่คอยห่วงวิตกกังวลความเป็นไปของเขา ใครกันหนอที่เป็นห่วงเป็นใยในตัวเรา เป็นตัวเธอใช่ใหมหนอ ? ดวงดาว บนท้องฟ้ายามราตรีอันมืดมิด แต่ไม่ว่าเรามองดูดวงดาวดวงใหน เรากลับ เห็นเป็นใบหน้าของเธอทั้งสิ้น ราตรีอันหนาวเหน็บกับผู้บำเพ็ญตบะ เดียวดายที่มีแสงดาวเป็นเพื่อน หยาดน้ำฝนที่โปรยลงมาจากท้องฟ้า หรือนั่นคือน้ำตาของเธอที่หลั่งให้แก่ตัวเรา ? เราแลเห็นดอกไม้ป่า ที่เบ่งบานบนภูเขา ดอกไม้ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ดอกไม้ที่เราไม่ ทราบชื่อเรียก โอ้ เจ้าดอกไม้ป่าที่มีชีวิตแสนสั้น เราเห็นใบหน้าของ เธอจากดอกไม้เหล่านี้ เราเห็นรอยยิ้มของเธอจากดอกไม้ที่เบ่งบาน อย่างสวยงามดอกนี้ เราเห็นความรัก ความอ่อนโยน ความเงียบสงัด ของเธอจากดอกไม้เหล่านี้ ...

" ท้องฟ้า คือ หลังคากระท่อมอันเป็นที่พักพิงของเรา "

เมฆขาวที่ลอยอยู่เหนือยอดเขาคือผ้าม่าน เราจึงไม่เคยกังวลในเรื่องที่พัก หลับนอน ยามฤดูร้อน เรายืดแขนเหยียดขาสูดรับอากาศบริสุทธิ์อย่าง ผ่อนคลายสบายตัวดุจราชาผู้หนึ่ง ยามฤดูหนาว เราขดตัวอยู่ข้างกองไฟ เฝ้ามองประกายไคลที่เต้นระบำเริงร่า ขอเพียงมีถั่วและผักขม เราก็สามารถ มีชีวิตอยู่ได้เป็นแรมเดือนโดยไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจ แม้สารรูปภายนอก เราจะเหมือนกระยาจกทที่เป็นที่หัวเราะเยอะของผู้คนที่ได้พบเห็น แต่ เจตจำนงอันมุ่งมั้นของเราก็ไม่มีใครมาโยกคลอนได้ เราท่องธุดงค์ไปตาม ที่ต่าง ๆ อย่างเดียวดาย โดยตัดขาดจากญาติพี่น้องอย่างสิ้นเชิง เราพเจร ไปทั่วประเทศ ดุจจอกแหนที่ล่องลอยไปตามสายน้ำ หรือหญ้าแห้งที่ ถูกลมพัด "

นี่คือข้อความตอนหนึ่งในข้อเขียนของคูไคเรื่อง Indications of The Goals of The Tree Teachings อันลือชื่อของเขา ซึ่งสะท้อนให้เห็น ถึงอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้นของตัวเขาได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามในช่วง 7 ปีนั้น เขามิได้เก็บตัวบำเพ็ญตบะอยู่ตลอดเวลา ภายหลังจากการสิ้นสุดการฝึกตบะ ในแต่ละช่วงของแต่ละปี คูไคจะ กลับคืนสู่สังคมโลก และหมกตัวให้กับการศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ ของ ศาสนาพุทธที่เมืองนารา ( เมืองหลวงเก่า ) เป็นส่วนใหญ่ เพราะใน สมัยนั้น นาราจะเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น และเป็นที่เก็บสะสมคัมภีร์ต่าง ๆ ของศาสนาพุทธใหญ่ที่สุดของประเทศ การเก็บตัวบำเพ็ญตบะ สลับกับการกลับคืนสู่สังคมโลกเป็นระยะ ๆ คือลีลาชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของคูไค ตั้งแต่วัยหนุ่ม และดำรงสืบต่อ เช่นนั้นไปจนถึงช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตเขาเลยทีเดียว

 

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




ในบรรดาคัมภีร์ศาสนาพุทธจำนวนเป็นพัน ๆ เล่มทีคูไคได้อ่านในช่วงนั้น มีคัมภีร์อยู่เล่มหนึ่งที่เขาได้เจอและมีผลกระทบชีวิตของเขาอย่างรุนแรง จนถึงกับทำให้เขาตัดสินใจเสี่ยงชีวิตเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปประเทศจีน เพื่อหา ' คำตอบ ' ที่ยังคาใจเขาอยู่ให้ได้ คัมภีร์เล่มนั้นคือ ' คัมภีร์มหาไวโจนะสูตร ' คัมภีร์เล่มนี้มี 7 เล่ม 36 บท เป็นภาษาสันสกฤต พระชาวอินเดียรูปหนึ่งนำมาเผยแพร่ที่เมืองฉางอาน ประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง และได้มีการแปลเป็นภาษาจีนออกาในราวปี ค.ศ. 730 แต่เนื่องจากความยากของเนื้อหาของคัมภีร์เล่มนี้ที่มีการแปลทับศัพท์ภาษาสันสกฤตอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่มีใครในญี่ปุ่นขณะนั้นสามารถตีความหรือทำความเข้าใจได้คัมภีร์เล่มนี้จึงถูกเก็บซุกไว้ในหอคัมภีร์ของวัดคุเมะเดร่าเป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งคูไคได้ไปพบคัมภีร์เล่มนี้เข้าในช่วงราว ๆ ปี ค.ศ. 800

ก่อนที่คูไคจะได้พบคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรเล่มนี้นั้น คูไคได้ศึกษา ศาสนาพุทธในญี่ปุ่นขณะนั้น ซึ่งมีอยู่ 6 สายอย่างทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว ' ศาสนาพุทธ ' ในญี่ปุ่นขณะนั้น ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องตามสภาพความ เป็นจริง น่าจะเรียกว่าเป็น ' สำนักความคิด ' มากกว่า ในบรรดาสำนัก ความคิดศาสนาพุทธทั้งหกซึ่งนำเข้า ' นำเข้า ' มาจากอินเดียโดยผ่าน ประเทศจีนอีกต่อหนึ่ง คูไคชื่นชอบคัมภีร์หัวเยนมากที่สุด เพราะในช่วง อีกเนิ่นนานภายหลัง เมื่อคูไคทำการเปรียบเทียบจัดลำดับความสูงต่ำ ของสำนักความคิดทั้งหลายแล้ว คูไคถึงกับกล่าวออกมาอย่างชัดเจนว่า

" ในบรรดาสำนักความคิดทั้งหลายนั้นแม้ไม่มีสำนักความคิดไหนที่เทียบ กับสำนักมิกเคียวของเราได้เลยก็จริง จะมีก็แต่เฉพาะคัมภีร์หัวเยนเท่านั้น ที่มีความสมบูรณ์พร้อมในระดับที่ไกล้เคียงกับมิกเคียวมากเลย "

หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งได้ว่า ก็เพราะคูไคได้ศึกษาคัมภีร์หัวเยนจนแตกฉาน แล้วมาก่อนนั่นเอง จึงทำให้ตัวเขามีพื้นฐานที่มั่นคงพอที่จะเรียนรู้สืบทอด วิชามิกเคียวที่เขาดั้นด้นไปร่ำเรียนที่ประเทศจีนได้ สารัตถะของคัมภีร์หัวเยน ที่ส่งผลกระทบกระเทือนอย่างลึกซึ้งต่อการก่อตัวของปรัชญาตะวันออกในจีน และญี่ปุ่นมีใจความโดยย่อดังต่อไปนี้ ...

แม้ในผลธุลีเพียงอันเดียว ก็ได้บรรจุจักรวาลทั้งหมดเอาไว้ ทั้งนี้เพราะ หนึ่งคือทั้งหมด และทั้งหมดก็คือหนึ่งเดียว เฉกเช่น ในความเคลื่อนไหว มีความสงบ และในท่ามกลางความสงบก็มีการเคลื่อนไหวอยู่ สรรพสิ่ง ทั้งหลายในโลกนี้แต่ละอย่างต่างหุ้มห่อสิ่งอื่นทั้งปวงเอาไว้ในตัวเองของ กันและกันทั้งสิ้น สรรพสิ่งทั้งปวงจึงมีความผูกพันกันและเป็นปัจจัย ให้แก่กันและกันอย่างไม่มีขอบเขตที่สุดในโลกที่เคลื่อนไหวหลอมรวม เป็นวัฏฏะนี้ มิหนำซ้ำ การดำรงอยู่และการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่ง ทั้งปวงในมหาสากลจักรวาลต่างล้วนเป็นการแสดงออกของการรู้แจ้ง มหาไวโรจนะพระพุทธเจ้าทั้งสิ้นด้วย

.... จะเห็นได้ว่า จักรวาลทัศน์ที่คัมภีร์หัวเยนบรรยายนี้มีเนื้อหาสาระที่ใกล้เคียง กับจักรวาลทัศน์ของนิกายมิกเคียวมากเลย ขอเพียงแต่ผู้ปฏิบัติธรรมปฏิบัติ ตามคัมภีร์หัวเยนสามารถเปลี่ยนวิธีการฝึกแบบเผยแจ้งมาเป็นวิธีการฝึกแบบ เร้นลับที่เน้นด้านในที่เป็นความลี้ลับของจักรวาลได้เท่านั้น คัมภีร์หัวเยนนี้ ก็จะกลายเป็นคัมภีร์ปฏิบัติของนิกายมิกเคียวไปในทันที

เพราะฉะนั้น ในช่วงขณะที่คูไคหนุ่มยังรู้วิชามิกเคียวแบบงู ๆ ปลา ๆ ไม่เป็นระบบและกระจัดกระจายอยู่นั้น พอเขาได้ศึกษาคัมภีร์หัวเยน จนช่ำชองแล้วมาพบคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรเล่มนี้ได้มีการบันทึกวิธี การฝึกฝนในแนวมิกเคียวได้อย่างละเอียด จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าตัวเขา จะต้องตื่นเต้นดีใจจนเนื้อเต้นเป็นแน่ เป็นความโชคดีอย่างยิ่งสำหรับ ประเทศญี่ปุ่นที่ทำให้บุคคลที่ปราดเปรื่องและมีจิตใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า อย่างคูไคได้มาพบกับคัมภีร์ที่ไม่มีใครในยุคนั้นของญี่ปุ่นอ่านรู้เรื่อง อย่างแท้จริงเล่มนี้เพราะนั่นหมายถึงการปฏิวัติ ' กระบวนทัศน์ ' ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวงการศาสนาพุทธญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์นั่นเอง

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



ในส่วนของคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรส่วนที่เป็นภาษาจีนนั้น คูไคคง จะอ่านได้และทำความเข้าใจได้ไม่ยาก ถึงแม้ว่า ตรรกกะที่ใช้ในคัมภีร์ มหาไวโรจนะสูตรนี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าคัมภีร์ศาสนาพุทธทั่วไป ก็ตามจนยากที่คนธรรมดาจะทำความเข้าใจได้ แต่สำหรับตัวคูไคผู้ผ่าน การศึกษาคัมภีร์หัวเยนอย่างทะลุปรุโปร่งมาแล้ว เขาจึงไม่น่าประสบ ปัญหาในการศึกษาแต่ประการใด ยกเว้นในส่วนภาษาสันสกฤต และ เคล็ดลับวิธีการปฏิบัติที่จะเป็นจะต้องได้รับการถ่ายทอดจากปากโดย ตรงจาก ' ครู ' เท่านั้นเอง แต่ ' ครู ' ที่รู้วิชามิกเคียวอย่างแท้จริงก็ไม่มี อยู่เลยแม้แต่คนเดียวในญี่ปุ่นสมัยนั้น ถ้าอยากจะได้รับการถ่ายทอด เคล็ดลับวิธีการปฏิบัติจาก ' ครู ' จริง ๆ แล้ว ก็มีแต่จะต้องข้ามน้ำ ข้ามทะเลไปหา ' ครู ' ที่เมืองจีนเท่านั้น

ตรรกะของคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรนั้น แทบไม่แตกต่างไปจากตรรกะ ของคัมภีร์หัวเยนที่เพิ่งสรุปโดยย่อไปข้างต้น เพราะกล่าวถึงการดำรงอยู่ ' มหาไวโรจนะพระพุทธเจ้า ' ซึ่งเป็น ' ธรรมกาย ' และเป็น ' สัจธรรม ของจักรวาล ' จะมีที่พิเศษกว่าของคัมภีร์หัวเยนก็ตรงที่กล่าวถึง ความ เป็นไปได้ที่มนุษย์ซึ่งเป็นแค่เศษธุลีของจักรวาล จะสามารถฝึกฝนตนเอง ในชาตินี้ให้กลายเป็น ' พุทธะ ' ได้ คือสามารถสื่อสารกับเหล่าพระ พุทธเจ้ากับเหล่าพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็น ' นิรมาณกาย ' ของมหาไวโรจนะ และ ' ยืมพลัง ' ของท่านเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

เมื่อคูไคได้อ่านคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตรส่วนที่แปลเป็นภาษาจีน และ เข้าใจตรรกะของคัมภีร์เล่มนี้ดังข้างต้น เขาจึงตื่นเต้นดีใจจนเนื้อเต้น แล้วรู้สึกหดหู่ใจตามมา เพราะว่ายังมีบางส่วนในคัมภีร์เล่มนี้ซึ่งคูไค ยังไม่อาจเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งได้ ส่วนนั้นไม่ใช่ส่วนของตรรกกะ แต่เป็นส่วนของวิธีการฝึกเพื่อสื่อสารและ ' ยืมพลัง ' จากพุทธคุณ ของเหล่าพระโพธิสัตว์ ส่วนนี้เป็นเคล็ดลับ เป็นส่วนเร้นลับดุจ ลมหายใจของจักรวาลที่กล่าวถึงความจำเป็นของการท่องมนตรา ( ภาษาจักรวาล ) กับการทำมุทราเพื่อสื่อสารและยืมพลังของเหล่า พระโพธิสัตว์ แต่ก็เป็นส่วนที่บรรยายออกมาเป็นอักษรคำพูดได้ยาก มาก มิหนำซ้ำยังเขียนเป็นภาษาสันสกฤตเพิ่มเติมจากพระชาวอินเดีย อีก แต่ถึงกระนั้นคูไคพอจะมีพื้นความรู้สันสกฤตอยู่แล้วก็ตาม และต่อมาเมื่อไปที่เมืองจีน ยังได้ศึกษาภาษาสันสกฤตเพิ่มเติมจาก พระชาวอินเดียอีก แต่ถึงกระนั้นคูไคก็ยังไม่อาจทำความเข้าใจได้ อย่างสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ คูไคจึงตัดสินใจที่จะไปเมืองจีน เพื่อ ' ต่อวิชา ' และเพื่อ ทำความเข้าใจในส่วนที่เขายังไม่กระจ่างแจ้งในคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตร จุดประสงค์ในการไปเมืองจีนของคูไคนั้นชัดเจนมาก เขาไม่ได้จะไปเรียน ต่อที่ ' เมืองนอก ' ( จีนในสมัยนั้นหรือสมัยราชวงศ์ถัง คือประเทศที่พัฒนา แล้วและเจริญที่สุดในโลกในสายตาของคนญี่ปุ่น ) เพื่อ ' ชุบตัว ' หรือ เพื่อ ' ไต่เต้าทางสังคม ' เหมือนกับเพื่อนร่วมชาติส่วนใหญ่ของเขาที่แห่ ไปเมืองจีนกัน และเขาก็ไม่ได้ต้องการไปเมืองจีนเพื่อ ' เปิดหูเปิดตา ' ชมเมืองฉางอานที่เป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีนในขณะนั้น แต่เขาไปเพื่อ แสวงหาความจริงเกี่ยวกับคัมภีร์เร้นลับที่ชื่อคัมภีร์มหาไวโรจนะสูตร ที่เขาได้พบที่วัดคุเมะเดร่า นับตั้งแต่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้สถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีนและได้มีการ ส่งเรือบรรทุกคนและสิ่งของเพื่อไปแสดงความสวามิภักดิ์ต่อประเทศจีน เป็นระยะ ๆ อยู่เสมอแล้ว อาจกล่าวได้ว่าไม่มี ' นักเรียนนอกคนใหนเลย ที่มีจุดประสงค์ที่แจ่มชัดและแหลมคมเท่ากับของคูไคอีกแล้ว '

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



ข้ามสมุทรไปแสวงธรรมที่จีน

 

เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อนนั้น การจะไปเรียนเมืองนอกที่ ' ถัง ' ( ชื่อ ราชวงศ์จีน ในขณะนั้น ) ทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ เป็น ' รุกักคุโช ' กับเป็น ' เก็นกักคุโช ' ' รุกักคุโช ' คือ นักเรียนนอกที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลให้ไปพำนัก ศึกษาวิทยาการที่ประเทศจีนเป็นเวลาอย่างน้อย 20 ปี ถึงจะอนุญาตให้เดิน ทางกลับประเทศได้ ส่วน ' เก็นกักคุโช ' คือ นักวิจัยทุนรัฐบาลที่ไปทัศน ศึกษาหรือดูงานระยะสั้น โดยไม่จำเป็นต้องพำนักอยู่ที่ประเทศจีนเป็นเวลา นานเป็นสิบ ๆ ปีเหมือนอย่างรุกักคุโช จึงสามารถเดินทางกลับประเทศ ได้ทุกเมื่อ

ในปี ค.ศ. 804 ที่คูไคติดตามราชทูตญี่ปุ่นที่ชื่อฟูจิวาร่า คะโดะโนะมาโร่ ไปจีนในเรือลำที่หนึ่งของคณะเรือที่มีด้วยกันทั้งหมด 4 ลำนั้น คูไคเดินทาง ไปในฐานะ ' รุกักคุโช ' ที่ไร้ชื่อเสียงไม่มีใครรู้จักคนหนึ่งเท่านั้น ขณะนั้น คูไคมีอายุ 31 ปี เขาเพิ่งบวชเป็นพระสงฆ์อย่างเป็นทางการเมื่ออายุ 30 ปี ไม่ถึง 1 ปีก่อนเดินทางไปจีนเท่านั้น เหตุที่เขาต้องบวชเป็นพระสงฆ์ที่อยู่ ในการดูแลควบคุมของรัฐบาล ก็เพื่อที่เขาจะได้มีสิจน์ถูกคัดเลือกไปเป็น นักเรียนทุนรัฐบาล ( รุกักคุโช ) เท่านั้น หาได้มีเหตุผลอย่างอื่นไม่ อนึ่ง นอกจากคูไคแล้วในคณะเรือที่เดินทางไปจีนในครั้งนั้น ยังมีพระสงฆ์ชื่อดัง อีกรูปหนึ่งที่เดินทางไปด้วยในฐานะ ' เก็นกักคุโช ' คือ ไซโจ ซึ่งมีอายุ มากกว่าคูไค 7 ปี ขณะนั้น ไซโจมีฐานะเป็นเจ้าสำนักนิกายเทียนไต๋แห่ง วัดที่ภูเขาฮิเออิ ซึ่งมีจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นเป็นองค์อุปถัมภ์แล้ว ไซโจต้องการ ไปทัศนะศึกษานิกายเทียนไต๋ ( หรือเท็นไดในภาษาญี่ปุ่น ) ที่จีนเพื่อเป็น การเปิดหูเปิดตา ท่านจึงเดินทางไปจีนในครั้งนี้ด้วย

ในคณะเรือที่เดินทางไปจีนทั้งหมด 4 ลำนั้น มีเพียง 2 ลำเท่านั้นที่ไปถึง เมืองจีนได้อย่างปลอดภัย คือ เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไป กับเรือลำที่ 2 ที่ไซโจนั่งไป ส่วนเรือลำที่ 3 เกิดเหตุขัดข้องกลางทางต้องแล่นกลับ ญี่ปุ่น ขณะที่เรือลำที่ 4 อับปางกลางทะเล มีผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว ทั้งนี้ก็เพราะคณะเรือที่เดินทางไปจีนเผชิญมรสุมพายุกลางทะเล จนทำให้ เรือลำที่ 1 ที่คูไคนั่งไปหลงทิศทางต้องเคว้งอยู่กลางทะเลเป็นเวลา 1 เดือน กว่าจะมาเทียบท่าได้ที่ชายฝั่งแถวมณฑลฮกเกี๊ยนในปัจจุบัน ส่วนเรือลำที่ 2 ที่ไซโจนั่งไปนั้นสามารถไปถึงท่าหนิงโปได้ตามแผนการเดินเรือที่วางไว้ ทุกอย่าง

เราควรเข้าใจกันก่อนว่า เกาะญี่ปุ่นหรือเกาะบูรพาเมื่อ 1,000 กว่าปี ก่อนนั้น เป็นเกาะที่อยู่โดดเดี่ยวห่างไกลจากความเป็นสากลของโลก มากโดยที่ตัวแทน ' ความเป็นสากล ' หรือ ' อารยธรรม ' สำหรับคนญี่ปุ่น ในยุคนั้นก็คือจีนนั่นเอง นับตั้งแต่ที่ศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่สู่ประเทศ นี้ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 ศาสนาพุทธก็ได้กลายเป็น ' สิ่งสากล ' สำหรับชนชาตินี้ไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับชนชั้นวรรณะใด ๆ

ด้วยความหลงใหลใน ' อารยธรรม ' หรือ ' ความเป็นสากล ' ของจีน ทางจีนจึงได้ส่งเรือไปจีนเพื่อนำเอาวิทยาการและความก้าวหน้าต่าง ๆ ของจีนมายังประเทศตนตั้งแต่ปี ค.ศ. 600 เป็นต้นมา นับจากครั้งนั้น จนถึงครั้งที่คูไคร่วมเดินทางไปด้วยในครั้งนี้นั้นรวมได้เป็น 16 ครั้งแล้ว กล่าวคือในช่วง 200 กว่าปีมานี้นั้น ทางการญี่ปุ่นสามารถส่งเรือไปจีน ได้เพียง 15 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการเดินทางข้ามสมุทรกว่า 3,000 ลี้ เพื่อไปจีนนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากเมื่อคำนึงถึงคุณภาพของเรือ สำเภาของยี่ปุ่นและทักษะการเดินเรือทะเลของญี่ปุ่นในยุคนั้น

" อาจารย์ครับ ทำไมคูไคถึงเพิ่งมาบวชเป็นสงฆ์เอาเมื่อตอนก่อนเดินทางไป จีนเพียง 1 ปีเท่านั้นล่ะครับ "

" ถูกแล้ว สันติชาติ เธอคิดว่าคนหนุ่มที่รักในชีวิตแห่งการแสวงหาสัจจะ อย่างคูไค ขนาดยอมทิ้งหนทางก้าวหน้าในชีวิตของการเป็นขุนนางออกมา ร่อนเร่พเนจรตามป่าเขาเป็นเวลาหลายปีอย่างเขาจะทนกับชีวิตของพระสงฆ์ ในการควบคุมดูแลของทางการได้หรือ ? เพราะชีวิตพระสงฆ์ที่อยู่ภายใต้ การควบคุมดูแลของทางการนั้น ถ้ากล่าวในความหมายนี้แล้ว พระสงฆ์ จำพวกนี้ก็คือหุ่นเชิดทางวัฒนธรรมของรัฐเท่านั้นเอง นี่หรือคือชีวิตที่น่าพึง ปรารถนาขนาดยอมสละ ยอมอดกลั้นความต้องการทางเพศอันเป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งของมนุษย์ได้กระนั้นหรือ ? คูไคเป็นชายหนุ่มที่มีพลังสร้างสรรค์ อยู่ในตัวมาก แน่นอนว่าเขาน่าจะเป็นชายที่มีความต้องกรทางเพศสูงด้วย ถ้าหากเขาไม่พบเป้าหมายที่สูงส่งพอที่จะแปรพลังทางเพศเหล่านี้ให้เป็น พลังทางจิตวิญญาณที่สูงส่งและสร้างสรรค์แล้ว เขาคงไม่ยินยอมบวช เป็นพระอย่างเป็นทางการแน่นอน "

" นั่นคือ การเป็นผู้ก่อตั้งนิกายมิกเคียวขนานแท้ขึ้นใในประเทศญี่ปุ่นนี้ ใช่มั้ยครับ "

" ใช่แล้ว "

เนื่องจาก เรือของคูไคนั่งมาพลัดหลงทางมาไกลจากปลายทางค่อนข้างมาก คือ หลงมาจนถึงชายฝั่งแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งขณะนั้นยังไม่ใช่เขต แดนที่ชนชาวฮั่นพำนักอาศัยอยู่ ตอนแรกทางการท้องถิ่นที่นั่นยังไม่ทราบ เรื่องของคณะฑูตจากญี่ปุ่นจึงระแวงว่าอาจเป็นเรือของพวกโจรสลัด คณะ ของคูไคจึงถูกกักตัวให้อยู่บนเรือไม่ยอมให้ขึ้นฝั่งตั้งเกือบ 2 เดือน กว่าทาง ฝ่ายจีนจะตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางการเมืองหลวงที่ฉางอาน จึงยอมให้ คณะฑูตจากญี่ปุ่นคณะนี้ขึ้นฝั่งและได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการได้ กล่าวกันว่าในตอนแรกที่ทางการจีนท้องถิ่นไม่เชื่อว่าคณะนี้เป็นฑูตจากญี่ปุ่น จริงนั้น นอกจากสารรุปของท่านฟูจิวาร่าที่ขาดความสง่าผ่าเผยอันเนื่อง มาจากต้องรอนแรมกลางทะเลเป็นเวลาหลายสิบวันแล้ว ที่สำคัญคือ ลายมือ และสำนวนของท่านฑูตฟูจิวาร่ายังไม่ถึงขั้นพอที่จะน่าเชื่อถือได้ เราต้อง เข้าใจก่อนว่าคนจีนในยุคนั้นเขาวัดระดับสติปัญญาของผู้คนจากลายมือ ( พู่กัน )และสำนวนภาษาที่ใช้ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ไม่อาจปิดบังกันได้

ภายใต้บรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง ท่านฟูจิวาร่าก็ได้ทราบข่าวจากคนใน คณะว่า คูไคซึ่งเป็นพระหนุ่มนอกสายตาในทัศนะของท่าน ความจริงเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการเขียนภาษาจีนมาก ท่านฟูจิวาร่าจึงต้องไปกราบ กรานอ้อนวอนขอให้คูไคเขียนจดหมายแทนท่านไปยังทางการท้องถิ่นของ จีนตั้งแต่บัดนั้นแหละที่เป็นเวลาที่คูไคปรากฏตัวบนเวทีแห่งประวัติศาสตร์ อย่างแท้จริง และเริ่มทอแสงส่องประกายแห่งความเป็นอัจฉริยะในตัวเขา ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนทั้งทางการญี่ปุ่นและทางการจีนจดหมายฉบับที่ คูไคเขียนแทนท่านฟูจิวาร่านั้น กล่าวกันว่า สวยงามากทั้งสำนวนภาษาและ ลายมือ จนทำให้ทางการท้องถิ่นจีนทึ่งและเชื่อว่า คณะนี้เป็นคณะฑูตจาก ญี่ปุ่นจริง

หลังจากนั้น คณะคูไคได้พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 39 วันเพื่อรอคำตอบ จากเมืองหลวงที่เจ้าเมืองฮกเกี้ยนส่งคนไปรายงาน จึงได้คำตอบกลับมา ว่า ให้มณพลฮกเอี้ยงต้อนรับคณะฑูตนี้อย่างสมเกียรติ และคัดเลือกตัว แทนจากคณะฑูตญี่ปุ่นจำนวน 23 คน จากจำนวนทั้งหมด 100 กว่าคน พาไปยังเมืองหลวงฉางอาน โดยทางฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและความเป็นอยู่ในระหว่างนั้นทั้งหมด ระยะทาง จากฮกเอี้ยงไปฉางอานยาว 7,500 ลี้ คณะของคูไคได้ออกจากมณฑล ฮกเอี้ยงในวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 804 หรือ 4 เดือนให้หลังจากที่ได้ ออกเดินทางจากญี่ปุ่นในวันที่ 6 กรกฎาคม กล่าวกันว่าก่อนออกเดินทาง เจ้าเมืองฮกเกี้ยนชื่นชมในความสามารถของคูไคมากอยากจะรั้งตัวเขาให้ อยู่ช่วยงานที่นี่ จึงไม่ได้ใส่ชื่อของคูไคอยู่ในคณะที่จะเดินทางไปเมือง หลวงฉางอานด้วย ร้อนถึงคูไคทำให้เขาต้องเขียนจดหมายอีกฉบับหนึ่ง ชี้แจงจุดประสงค์การมาแสวงหาธรรมที่ประเทศจีนของเขาจึงได้รับอนุญาต ให้เดินทางไปฉางอานด้วยได้ในที่สุด

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



คณะของคูไคถึงเมืองหลวงฉางอานในวันที่ 23 ธันวาคม ปีเดียวกันนับ เป็นการเดินทางที่รีบเร่งมากเลยทีเดียว เมืองหลวงฉางอานแห่งราชวงค์ ถัง ( ค.ศ. 618 - 907 ) ในขณะนั้นถือว่าอยู่ในช่วงสุดยอดของอารยธรรม จีนในฐานะที่เป็นประเทศที่เจริญที่สุดในโลกในยุคนั้น เมืองฉางอานก็เลย กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมจีนและทวีปเอเชียกลางและตะวันออก ไปโดยปริยาย มีผู้คนจากนานาชาติพำนักอยู่ที่เมืองนี้ กล่าวกันว่าในยุคนั้น มีวัดสำหรับภิกษุในศาสนาพุทธอยู่ถึง 64 แห่ง ในเมืองฉางอาน และ สำหรับชีอีก 27 แห่ง นอกจากนี้ยังมีวัดนิกายเต๋าอีก 10 แห่ง สำหรับบุรุษ และ 6 แห่งสำหรับสตรี รวมทั้งยังมีวัดต่างชาติอีก 3 วัดด้วยคือ โบสถ์ ของศาสนาคริสต์ อารามของลัทธิโซโรแอสเตอร์ กับสุเหร่าของมุสลิม พูดง่าย ๆ คือ เมืองฉางอานในยุคที่คูไคไปศึกษานั้น เป็นศูนย์รวมของ ศาสนานิกายต่าง ๆ เอาไว้เกือบทั้งหมดนั่นเอง โดยที่ศาสนาพุทธนิกาย วัชยาน ( มิกเคียว ) ที่เพิ่งนำเข้าจากอินเดียมาไม่นานกำลังเป็นที่นิยมใน หมู่ชนชั้นปกครองจีนขณะนั้น

ที่นครฉางอาน คูไคพำนักอยู่ที่วัดไซหมิงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 804 ภายหลังจากที่คณะฑูตจากญี่ปุ่นได้อำลาและเดินทางออกจากนครฉางอาน เพื่อกลับญี่ปุ่นแล้ว ในขณะที่อยู่ฉางอาน คูไคคงได้ทราบกิตติศัพท์ของ อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว ( ภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า เคกะ ) แล้วว่าเป็นปรามาจารย์สายตรง ผู้สืบทอดวิชาสายวัชยานจากอินเดีย โดยเป็นศิษย์ของอาจารย์ปู้คงผู้โด่งดัง อาจารย์ปู้คง เป็นพระอินเดียมีชื่อจริงว่าอโมกขวัชรซึ่งได้ติดตามอาจารย์ วัชรโพธิมาเผยแพร่ธรรมะสายวัชยานที่เมืองจีนตั้งแต่ยังเล็ก ถ้ามองจากจีน อาจารย์วัชรโพธิคือ ปรามาจารย์สายวัชรยานของจีนรุ่นที่ 1 อาจารย์ปู้คง เป็นรุ่นที่ 2 และอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นรุ่นที่ 3 แต่เป็นคนจีนรุ่นแรกที่ได้เป็น ปรามาจารย์สายวัชรยานในจีน มิหนำซ้ำอาจารย์ทุกท่านยังเป็นอาจารย์ ของจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์ถังทั้งหมดด้วย

ถ้ากล่าวตามเหตุผลแล้ว คูไคน่าจะเร่งรีบไปพบอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเพื่อขอร่ำเรียน วิชาจากท่านโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริง กว่าที่คูไคจะเดินทางไปพบอาจารย์ ฮุ่ยกั๋วก็เป็นเวลา 4 เดือน ภายหลังจากที่พำนักอยู่ที่วัดไซหมิงแล้ว เพราะเหตุ ใดหรือ ? คูไคคงคิดว่าถ้าหากตัวเขาไปหาอาจารย์ฮุ่ยกั๋วโดยที่ยังไม่ค่อยมีใคร รู้จักความสามารถในตัวเขาดีก่อนแล้ว การเริ่มเรียนวิชาวัชรยานของคูไคกับ อาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลงคงจะต้องไต่อันดับจากขั้นประถมเป็นแน่ และคงต้อง ใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้เรียนรู้ถึงแก่นแท้ของวัชรยาน นอกจากนี้คูไคยังได้ ทราบข่าวมาว่า ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั่วขณะนี้มีอายุ 60 ปีแล้ว และกำลังอาพาธด้วย บางทีท่านอาจไม่สามารถมีชีวิตยืนยาวพอที่จะถ่ายทอดเคล็ดวิชาให้แก่เขาใน อีกหลายปีให้หลังก็เป็นได้ มิหนำซ้ำ คูไคผู้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะ สถาปนานิกายวัชรยานขึ้นในประเทศญี่ปุ่นก็มีความตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะ ไม่คิดศึกษาวิชาอยู่ที่เมืองจีนถึง 20 ปี กว่าคูไคจะได้กลับญี่ปุ่นก็มีอายุ 52 ปี แล้ว ซึ่งแก่เกินไปที่จะมารณรงค์เคลื่อนไหวเผยแพร่หลักวิชาของตน เพราะ ฉะนั้น คูไคจึงตั้งปณิธานในใจว่า เขาจะต้องศึกษาวิชาวัชรยานให้สำเร็จภายใน ระยะเวลาอัสั้นที่สุด และรีบเดินทางกลับญี่ปุ่นในช่วงที่เขายังมีอายุ 30 ปีกว่า ๆ อันเป็นช่วงที่เขายังมีกำลังวังชาและพลังความคิดเต็มเปี่ยมอยู่

เมื่อพิจารณาจากแรงจูงใจของตัวเอง และปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะวัยและ สุขภาพของอาจารย์ฮุ่ยกั๋วแล้ว คูไคจึงเลือกใช้ " วิธีการอื่น " ในการเข้าหา อาจารย์ฮุ่ยกั๋ว คือ ปล่อยให้กิติศัพท์และคำโจษจันเกี่ยวกับตัวเขาในหมู่ ชาวฉางอานไปก่อน เริ่มจากบรรดาพระในวัดไซหมิงที่คูไคพำนักอยู่และ คบหาสมาคมด้วย ในบรรดาพระเหล่านั้นมีหลายรูปที่รู้จักกับอาจารย์ฮุ่ยกั๋ว เป็นการส่วนตัว พระเหล่านั้นเมื่อไปพูดคุยกับคูไค ต่างก็ทึ่งในความรอบรู้ ความฉลาดของคูไคด้วยกันทั้งสิ้น เพราะอันที่จริง วิชาวัชรยานที่คูไคศึกษา และฝึกฝนด้วยตนเองในขณะที่เขายังอยู่ที่ญี่ปุ่นนั้น ก็ได้ก้าวหน้าไปจนถึง ระดับขั้นที่สูงมากแล้วด้วยความเป็นอัจฉริยะของเขา เพียงแต่เขายังไม่ทราบ " เคล็ดลับ " บางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดจาก " ครูที่แท้ " โดย ตรงเท่านั้น

นอกจากนี้ คำร่าลือเกี่ยวกับความสามารถในการเขียนหนังสือจีนของคูไค ที่เป็นที่ประจักษ์เป็นครั้งแรกที่มณฑลฮกเกี้ยนก็มาถึงที่นครฉางอานแล้วแพร่ หลายโดยเร็วในหมู่ปัญญาชนกับชนชั้นสูงที่นั่น ในระหว่างนั้นคูไคยังไป รำเรียนภาษาสันสกฤตจากพระอินเดียรูปหนึ่งเพิ่มเติมอีก ( อาจกล่าวได้ว่า คูไคเป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ไดร่ำเรียนและเชี่ยวชาญภาษานี้ ) และเชี่ยวชาญ ภาษาสันสกฤตนี้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่ฮือฮาในวงการสงฆ์ของที่นั่น

ช่าวคราวเกี่ยวกับคูไค และจุดประสงค์ในการเดินทางมานครฉางอานของ คูไคย่อมเข้าหูอาจารย์ฮุ่ยกั๋วเป็นระยะ ๆ อย่างแน่นอน อาจารย์ฮุ่ยกั๋วผู้ชรา และอาพาธผู้นี้มีลูกศิษย์ถึง 1,000 คน แต่ท่านก็ยังไม่ได้รับมอบหมายใคร ให้สืบทอดตำแหน่งปรามาจารย์วัชรยานรุ่นที่ 4 สืบต่อจากท่าน เพราะใน บรรดาศิษย์ทั้ง 1,000 คนนี้ ท่านยังไม่เห็นว่ามีศิษย์คนไหนที่มีความสามารถ และศักยภาพมากพอที่จะบำรุงพัฒนาวิชาวัชรยานของท่านให้รุ่งเรืองสืบไปได้เลย พอถึงจุดนี้แหละ การณ์กลับเป็นว่า คราวนี้ท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วกลับ เป็นฝ่ายเฝ้ารอคอยการมาของคูไคอย่างกระวนกระวายด้วยใจจดจ่อเสียเอง จากนั้นคูไคจึงเดินทางไปพบท่านอาจารย์ฮุ่ยกั๋วที่วัดชิงหลง ( วัดมังกรเขียว ) ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 805 หรือ 6 เดือนภายหลังจากที่เขาเดินทาง

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...