แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน

ปรามาจารย์คูไค ต้นนิกาย ชินงอน วัชรยานแห่งญี่ปุ่น

(1/3) > >>

มดเอ๊กซ:




ยอดอัจฉริยะที่ยากพบพานในรอบ 1,000 ปี

คูไค เกิดในปี ค.ศ. 774 ( ปัจจุบันถือว่า วันที่ 15 มิถุนายน คือ วันเกิด ของท่าน ) เป็นบุตรของท่านหญิงทามะโยริแห่งตระกูลอะโตะ กับท่าน สะเอคิ ทะกิมิ ซึ่งมีสายเจ้าในจังหวัดสะนุคิแห่งเกาะชิโกกุ ในวัยเด็ก คูไคมีชื่อเรียกว่ามาโอะ( ปลาจริง ) อันที่จริง พวกเรารู้เรื่องเกี่ยวกับชีวิตในวัยเด็กของคูไคไม่มากนัก ทราบแต่ว่าบิดาของเขาเป็นอดีตเจ้า ผู้เริ่มตกอับ ขณะที่มารดาของเขาเป็นผู้มีการศึกษาสูง และเก่งในเรื่อง การแต่งโคลงกลอน คูไคคงได้รับส่วนที่ดีเด่นทั้งจากบิดาและมารดา ของเขามาเป็นแน่ จังทำให้เขาเป็นผู้ที่มีขัตติยะมานะแบคนชั้นสูงตาม บิดาของเขา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้มีพรสวรรค์ในการเขียนโคลง กลอนภาษาจีนอย่างหาตัวจับได้ยาก แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ คูไคเป็นเด็ก ฉลาดมากจนได้รับสมญานามจากผู้คนในบ้านเกิดของเขาว่า " เทพทารก " ตั้งแต่เมื่อเขามีอายุเพียง 5 - 6 ขวบแล้ว

คูไคโชคดีกว่าเด็กคนอื่น ๆ เป็นจำนวนมากในยุคเดียวกับเขา ตรงที่เขา ได้รับการอบรมเกี่ยวกับลัทธิขงจื้อตั้งแต่เด็กโดยครูซึ่งเป็นพี่ชายของ มารดาเขา และเป็นครูสอนวิชาจีนศึกษาแก่ราชบุตรอิโยแห่งราชวงศ์ จักรพรรดิญี่ปุ่นในเวลาต่อมาด้วย ท่านอะโตะ โอตาริ ซึ่งเป็นลุงแท้ ๆ ของคูไคผู้นี้แหละที่แลเห็นแววอัจฉริยะในการเรียนรู้ของคูไค จึงตัดสิน ใจพาเขาไปยังเมืองหลวงนารา เมื่อคูไคมีอายุได้ 15 ปี โดยพำนักอยู่ กับท่านและร่ำเรียนเตรียมตัวสอบเข้า " มหาวัทยาลัย " ( ไดงะกุ )

" ไดงะกุ " หรือ " มหาวัทยาลัย " ในยุคนั้น มีอยู่แห่งเดียวในเมืองหลวง และเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงสุดเพื่อบ่มเพาะ " ชนชั้นนำ " ให้เข้ามา รับราชการบริหารประเทศเท่านั้น ระบบ " ไดงะกุ " ของญี่ปุ่นนี้เลียนแบบ หลักสูตรมาจากของประเทศจีนอีกทีหนึ่ง เพราะจีนยุคราชวงศ์ถังในขณะ นั้นเป็น " ประเทศพัฒนาแล้ว " ที่เจริญที่สุดในโลก โดยมีเมืองหลวงที่เป็น เมืองสากลตั้งอยู่ฉางอาน ขณะที่ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศเล็ก ๆ และด้อยพัฒนา อยู่ วิทยาการและความรู้ใหม่ ๆ ล้วนต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศจีน ทั้งสิ้น

การที่คูไคสามารถสอบเข้ามาเรียนใน " มหาวัทยาลัย " ซึ่งรับจำนวนจำกัด มากนั้น ด้านหนึ่งคงเเป็นเพราะความปรีชาฉลาดปราดเปรื่องของตัวเขาเอง แต่ในอีกด้านหนึ่งและเป็นด้านชี้ขาดก็คือ เพราะว่าคูไคเป็นลูกหลานของ ตระกูลเจ้าที่แม้จะเป็นตระกูลปลายแถวก็ตาม เนื่องจากการมีเชื้อเจ้าเป็น เงื่อนไขประการสำคัญที่สุดในการเข้าเรียน " มหาวิทยาลัย " แห่งนั้นได้เมื่อ เขามีอายุได้ 18 ปี โดยเข้าเรียนในแผนก " บริหารรัฐกิจ " ในระหว่างที่เรียน คูไคถูกบังคับให้อ่านตำราของลัทธิขงจื้อและของลัทธิเต๋าเป็นจำนวนมาก เขาต้องเรียนหนักมาก แต่เขาก็เรียนได้ดีด้วยและได้รับคำชมเชยจากครุบา อาจารย์เสมอ จุดนี้เองที่ทำให้คูไคแตกต่างกับอริยสงฆ์รูปอื่น ๆ ของญี่ปุ่น ในเวลาต่อมา ที่มีความรู้จำกัดแคบอยู่แค่พุทธศาสนาเท่านั้น หาได้มีความรู้ กว้างขวางและมีพื้นฐานความคิดปรัชญาตะวันออกในสายอื่น ๆ อย่างแน่น หนามั่นคงเหมือนอย่างคูไคไม่


ถ้าหากจะมี " ความทุกข์ " เกิดขึ้นในใจของคูไคในระหว่างที่เขากำลังเรียน อยู่ในมหาวิทยาลัย ความทุกข์นั้นก็เห็นจะมีเพียงอย่างเดียวนั่นคือตัวเขาไม่ได้ ชอบเรียนวิชาบริหารรัฐกิจเลยแม้แต่น้อย ! และตัวเขาไม่ชอบรับราชการเลย แม่แต่น้อย เป็นที่น่าเสียดายว่า " มหาวิทยาลัย " สมัยนั้นยังไม่มีแผนก " ปรัชญา "ซึ่งสอดคล้องกับความสนใจส่วนตัวของคูไคมากกว่า จึงทำให้คูไคไม่สามารถ ย้ายแผนกหรือเปลี่ยนคณะได้

คูไคในวัยเพิ่งแตกหนุ่ม และกำลังอยู่ในช่วง " แสวงหา " ความหมายที่แท้จริง ของชีวิต คงพอจะเริ่มรู้จักและเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตัวเองได้แล้วว่า ตัวเขาเป็นคนที่มีความต้องการจะบรรลุ " ความเป็นเลิศ " อย่างแท้จริง และ จิตใจของเขาก็มีความละเอียดอ่อนละมุนละไมเกินกว่าที่จะถูกจำกัดถูกครอบ ด้วยระบบราชการที่เคร่งครัดได้ ในขณะทีคูไคีความมั่นใจนตนเองเป็นอย่าง สูงว่า ภายในช่วงเวลา 2 ปี ที่เขาเรียนอยู่นมหาวิทยาลัยนั้น ตัวเขาได้ร่ำเรียน ลัทธิขงจื้ออย่างทะลุปรุโปร่งหมดแล้วจนวิชาการนี้มิได้ท้าทายหรือดึงดูดใจเขา อีกต่อไปแล้ว ขณะเดียวกันเขาก็ค้นพบว่าระบบไต่เต้าของขุนนางในยุคของ เขานั้น ถูกกำหนดโดยเชื้อสายหาใช่คามสามารถที่แท้จริงไม่ เพราะฉะนั้น ถึงตัวเขาจะรับราชการเป็นขุนนางในอนาคต ตัวเขาก็คงไม่มีวันก้าวขึ้นสู่จุด สูงสุดหรือตำแหน่งอันดับหึ่งในวงการราชการได้อย่างแน่นอน เพราะตัวเขา เป็นแค่ผู้มีเชื้อเจ้าปลายแถวคนหนึ่งเท่านั้น
" ศาสนาพุทธ " คือศาสตร์ใหม่ที่คูไคได้สัมผัสหลังจากที่เขาช่ำชองลัทธิขงจื้อ และลัทธิเต๋าจนไม่รู้สึกเร้าใจในศาสตร์ 2 ศาสตร์นี่อีกต่อไปแล้ว " ศาสนาพุทธ " ดึงดูดตัวคูไคมากในฐานะที่มันเป็น " ปรัชญา " ที่มุ่งตั้งคำถามที่เป็นรากเหง้า และแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ ไม่แต่เท่านั้น " ศาสนาพุทธ " ยังเป็นหลักวิชาที่ ท้าทายความสามารถของตัวเขาในความรู้สึกของคูไคขณะนั้นด้วย เนื่องเพราะ เขาได้ค้นพบว่าศาสนาพุทธมีความลึกล้ำมาก ขณะที่ตัวเขายังมีความเข้าใจ เกี่ยวกับศาสนาพุทธรน้อยมาก !

ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจกันก่อนว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีก่อน " ศาสนาพุทธ " ยังเป็นศาสตร์นำเข้าที่ใหม่มากสำหรับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกือบทั้งหมดนำเข้า มาจากประเทศจีน จากคัมภีร์ศาสนาพุทธฉบับภาษาจีนที่แปลมาจากสันสกฤต อีกต่อหนึ่ง

แต่แม้กระนั้นก็ตามคัมภีร์ศาสนาพุทธในยุคนั้นก็มีจำนวนมากมาย มหาศาลหลายพันเล่ม จนอ่านกันจนตายก็แทบไม่หมดอยู่แล้ว ทั้ง ๆ ที่มี คัมภีร์ศาสนาพุทธมากมายขนาดนี้ แต่จะหาคนที่ " รู้จริง " เข้าใจศาสนา พุทธอย่างถึงแก่น ถึงรากถึงโคนได้ยากเต็มทน

มดเอ๊กซ:

 
คูไคในวัย 20 ปี จึงอยู่ในทางแพร่งของชีวิต ที่ต้องเลือกเอาระหว่างการเดิน ตามเส้นทางที่ผู้ใหญ่ปูทางให้แก่ตัวเขา คือรับราชการเป็นขุนนางระดับสูง หรือต้องเลือกเดินทางสายใหม่โดยออก " แสวงหา " สัจธรรมสูงสุดในศาสนา พุทธอีกครั้งหนึ่ง การที่คูไคมีโอกาสได้พบสมณะรูปหนึ่งซึ่งแนะนำให้เขาฝึก วิชา " โคคูโซม็อนยิ " ( วิชาแห่งพระผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันหมดสิ้น ) โดยบอกกับเขาว่า ถ้าหากเขาสามารถฝึกวิชานี้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยการเพ่ง น้อมจิตเพื่อเปลี่ยนแปลงมันสมองของตนเองให้มีความล้ำเลิศระดับอัจฉริยะ ด้ยการท่องมนตราตาที่ถ่ายทอดให้เป็นจำนวน 1 ล้านคาบภายในเวลา 100 วัน ได้แล้ว เขาก็จะสามารถเข้าใจหลักพุทธธรรมทั้งปวงได้อย่างไม่ลำบากยากเย็น อีกต่อไปแล้ว
 
เมื่อได้รับคำแนะนำจากสมณะรูปนั้น คูไคจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว ละทิ้ง การศึกษาในระบบมหาวิทยาลัย ปลงผมบวชเป็นนักพรตพเนจรเข้าไปฝึกวิชา ในป่าเขาเพื่อฝึกฝน " วิชาแห่งพระผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันจบสิ้น " ให้ สำเร็จให้ได้ โดยไม่ยอมฟังคำทัดทานของบิดามารดาและผู้ใหญ่ท่านอื่น ๆ แต่อย่างใด ขณะนั้นคูไคเพิ่งมีอายุ 20 ปี และนั้นเป็นก้าวแรกแห่งการกลาย เป็นยอดอัจฉริยะที่ยากพบพานในรอบ 1,000 ปี ของประเทศญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุจูงใจในครั้งแรกที่ทำให้คูไคเข้ามาสนใจศึกษาศาสนา พุทธอย่างจริงจังนั้น ต่างกับอริยสงฆ์ท่านอื่น ๆ เป็นอย่างมาก กล่าวคือ คูไคมิได้เริ่มสนใจศาสนาพุทธเพราะแลเห็นว่า " ชีวิตคือทุกข์ " เหมือน อริยสงฆ์รูปอื่น ๆ เขาจึงไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อ " แสวงหาความหลุดพ้น " หรือ " การตรัสรู้ " ( การรู้แจ้ง ) ในทีแรก แต่คูไคเริ่มสนใจศาสนาพุทธ เพราะเขา รู้สึกว่ามันเป็นวิชาที่ยากลึกล้ำ ซึ่งท้าทายตัวเขาผู้แสวงหา " ความเป็นเลิศ " ในกิจกรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น เป้าหมายประการแรกและเป็นอันดับแรก ในการศึกษาศาสนาพุทธของคูไคก็คือจะทำอย่างไรถึงจะมีความเข้าใจ อย่างแจ่มแจ้งในหลักพุทธธรรมทั้งปวงได้ ซึ่งวิธีการที่คูไคใช้เพื่อบรรลุ เป้าหมายอันนี้ก็คือ การฝึกฝนพัฒนามันสมองของตัวเองให้มีความล้ำเลิศ ระดับอัจฉริยะเสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยไปศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งจะ ทำให้ศึกษาได้ง่ายราวกับพลิกฝ่ามือ ไม่ยากลำบากเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไปแล้ว
 
ด้วยเหตุนี้ ทัศนะที่มีต่อพุทธศาสนาและต่อชีวิตของคูไคในเวลาต่อมา จึงค่อนข้างต่างไปจากอริยสงฆ์รูปอื่น ๆ นั้นคือ คูไคแลเห็นและเน้น ด้านที่เบิกบานหรรษาของชีวิตมากกว่าด้านที่เป็นความทุกข์ยากของชีวิต คูไคดื่มด่ำกับความงดงามของธรรมชาติ ของภูเขาและทะเล มากกว่า ที่จะปฏิเสธความเป็นอยู่ของโลกใบนี้ในฐานะที่เป็นโลกียะ อาจเป็นเพราะ ทัศนคติต่อชีวิตและธรรมชาติของคูไคเช่นนี้กระมังที่ทำให้ " ศาสนาพุทธ ของคูไค " เป็น ศาสนาพุทธแห่งมันดาลา เป็นศาสนาพุทธแห่งการมุ่ง บรรลุความเป็นพุทธะในชีวิตนี้ เป็นศาสนาพุทธที่มุ่งทำให้ตัวเราเองเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับจักรวาลหรือธรรมกาย กล่าวคือ เป็นศาสนาพุทธ แห่ง " มิกเคียว " หรือ " วัชรยาน " แทนที่จะเป็นศาสนาพุทธแห่งเถรวาท หรือ ศาสนาพุทธแห่งเซน หรือศาสนาพุทธแห่งแดนสุขาวดี เหมือน อริยสงฆ์รูปอื่น ๆ
 
" สันติชาติ เธอรู้มั้ยว่า ถ้าคนคนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถอันยิ่งใหญ่ อยู่ในตัว แต่ตัวเขายังไม่ตระหนักถึงความสามารถเช่นนั้นที่มีอยู่ในตัวเขา หรือบังเอิญตัวเขาไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปิดกั้นความสามารถอันนั้น ของเขาอย่างรุนแรงแล้ว คนผู้นั้นจะเป็นเช่นไร ? "
 
" ผมคิดว่า คนผู้นั้นคงจะต้องอึดอัดทุรนทุรายใจมากเลยทีเดียวครับอาจารย์ และบางทีเขาอาจด่วนตัดสินใจทำอะไรที่หุนหันพลันแล่นอย่างที่คนอื่นคาด ไม่ถึงด้วย ... เอ้อ อาจารย์คิดว่า อัจฉริยะอย่างคูไคก็ตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ตอนที่เขาตัดสินใจเลิกเรียนมหาวิทยาลัยกลางคันแล้วปลงผมบวชเป็นนักพรต พเนจรหรือครับ ? "
 
" ใช่แล้ว อาจารย์คิดว่าคูไคตัดสินใจเปลี่ยนวิชาเรียนจากวิชาบริหารรัฐกิจ มาเป็นวิชาปรัชญาเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวตนและความต้องการที่แท้จริง ของเขามากกว่า เพียงแต่สภาวพแวดล้อมในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยให้เขา เปลี่ยนสาขาวิชาได้ การณ์จึงออกมาในรูปที่สุดโต่งอย่างนั้นคือเขาต้องเลิก เรียนมหาวิทยาลัยแล้วออกมาแสวงหาวิชาปรัชญาด้วยตัวเองจากศาสนาพุทธ การตัดสินใจเข้ามาศึกษาศาสนาพุทธของคูไคจึงมาจากความทุรนทุรายทาง ปัญญาโดยแท้ หาได้มาจากการเบื่อโลกแต่อย่างใดไม่ อ้อ แต่มีประสบการณ์ อีกอย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้อันนิมิตที่คูไคได้ประสบในระหว่างการ แสวงหาศาสนาพุทธ ด้วยตนเอง และเป็นช่วงก่อนที่เขาจะได้มาพบกับสมณะ ก็อนโซ ผู้แนะนำให้คูไคฝึกวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' ( วิชาเปลี่ยนมันสมองให้เป็น เลิศ ) ก่อน "

มดเอ๊กซ:

 
" นิมิตอะไรหรือครับอาจารย์ที่คูไคประสบ ? "
 
" ภายหลังจากที่คูไคเลิกเรียนมหาวิทยาลัย แล้วโกนหัวออกบวชเป็นนักพรต พเนจรแล้ว เขาได้เข้าไปฝึกฝนตัวเองในป่าเขา อาบน้ำตกที่กระหน่ำซัดตัวเขา อย่างรุนแรงพร้อมกับภาวนาหาทางช่วยเหลือมนุษยชาติ ในไม่ช้าเมื่อคูไคตกอยู่ ในภวังค์สมาธิอันลึกล้ำขนาดที่เขาสามารถแลเห็นอนาคตของตัวเองได้ เขาได้ แลเห็นว่า ตัวเองกำลังร่ำเรียนคำสอนของพระพุทธเจ้า และในระหว่างนั้น ตัวเองได้นั่งเรือใบเพื่อเดินทางไปประเทศจีนไปศึกษาวิชาศาสนาพุทธขั้นสูง แต่แล้วเรือใบที่เขากำลังนั่งโดยสารไปนั้นกลับต้องอัปปางลงกลางทะเล ! "
 
 
" พูดง่าย ๆ ก็คือ คูไคเห็นชะตาชีวิตในอนาคตของตนเองก่อนแล้วใช่ใหม ครับว่าจะต้องอายุสั้น เพราะจบชีวิตลงกับเรือใบลำที่จมลงในทะเลก่อนที่ ตัวเองจะได้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตน "
 
 
" ใช่แล้ว ตัวคูไคจึงตระหนักว่า ก่อนอื่น เขาจะต้องพยายามเปลี่ยนชะตากรรม อันนี้ของตัวเขาให้ได้เสียก่อน มิฉะนั้น ความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ของเขา ก็ดี ความหมายแห่งการแสวงหาธรรมในชั่วชีวิตของเขาก็ดี มันก็จะไร้ความ หมายไปอย่างสิ้นเชิง ในช่วงนี้แหละ ภายหลังจากที่คูไคได้รู้เห็นชะตากรรม ของตนเองแล้วที่เขาได้พบกับสมณะก็อนโซ และได้รับการถ่ายทอดวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเขาเอง และเพื่อเปลี่ยนชะตากรรมของ ตัวเขาด้วย "
 
 
" ........................................ "
 
 
" อันชะตาชีวิตของคนเรานั้น อันที่จริงได้ถูกบันทึกเอาไว้ล่วงหน้าแล้วอย่าง ชัดแจ้งในมหาสากลจักรวาล แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่รู้สำนึกหรอกจึงใช้ชีวิต ของตนไปตามยถากรรม อันคำว่า ' โคคูโซ' ในภาษาญี่ปุ่นนั้นก็เป็นชื่อของ พระโพธิสัตว์รูปหนึ่งผู้มีปัญญาความรู้อันไม่มีวันหมดสิ้น โดยที่โคคูโซมี ความหมายว่า คลังอวกาศ หรือคลังความรู้ในจักรวาลที่บันทึกชะตากรรม ของชีวิตทั้งปวงเอาไว้ตั้งแต่ชีวิตในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตราบใดที่ ชีวิตของสรรพสิ่งยังอยู่ในวัฏฏสงสาร
 
ทำไมชีวิตของมนุษย์เราจึงถูกบันทึกอยู่ในคลังอวกาศนี้ได้เล่า ? คำตอบคือ เพราะ ความโง่เขลาอันไม่มีที่สิ้นสุด ของมนุษย์ผู้นั้นนั่นเอง สันติชาติเธอ จำสิ่งที่เราเคยบอกเธอได้หรือเปล่าว่า ความคิดและการกระทำของคนเรานั้น เป็นส่วนผสมของ ' ข่าวสาร ' ที่สืบทอดมาจาก ' บรรพบุรุษ ' ที่ฝังลึกอยู่ใน ร่างกายสายเลือดของเรา กับ ' ข้อมูลในอดีต ' ที่ถูกบันทึกเอาไว้ใน ' วิญญาณ ' ของเรา เพราะฉะนั้น ตราบที่คนคนนั้นยังไม่ ' ตื่น ' ขึ้นมาแล้ว คนคนนั้นอาจ ไม่รู้หรอกว่า การตัดสินใจของตนในตอนนั้น จริง ๆ แล้วหาใช่การตัดสินใจ ของตนเองอย่างแท้จริงไม่ แต่เป็นการตัดสินใจที่พึ่งพิงข่าวสารจากบรรพบุรุษ และข้อมูลความทรงจำใน ' อดีตชาติ ' ของตนต่างหาก
 
การที่คนเรายังต้อง พึ่งพา ' หมอดู ' ให้ทำนายโชคชะตาของตัวเราอยู่ก็เป็น การแสดงว่าคนผู้นั้นยังโง่เขลาอยู่ ทำไมเราถึงกล่าวเช่นนั้นเล่า ? ก็เพราะว่า ' ความโง่เขลา ' ของมนุษย์เรานั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ชาติแล้วชาติเล่า ภพแล้วภพเล่า จึงทำให้มนุษย์เรานั้นยากจะหลุดพ้นจาก วัฏฏสงสารไปได้ การที่มนุษย์เรายังคงทำผิดซ้ำซากซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อีก ก็เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เห็นถึง ' ความโง่เขลา ' อันนี้นั่นเอง

มดเอ๊กซ:

 
คูไคได้เห็นชะตาชีวิตของตนเองในระหว่างการฝึกสมาธิของเขา เขาจึงตัด สินใจฝึกฝนวิชาเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเอง หรือวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' โดยทำการทดลองฝึกวิชานี้ถึง 3 ครั้ง 3 คราด้วยกัน จนกระทั่งประสบความสำเร็จในครั้งที่ 3 ทำให้เขาสามารถเดินทางไปถึงประเทศจีนโดยสวัสดิภาพ และกลายมาเป็นปรามาจารย์แห่งยุคในเวลาต่อมาได้ ... เธออย่าแปลกใจนะ สันติชาติ ถ้าเราจะบอกว่าคนส่วนใหญ่ในโลกนี้มักไม่ค่อยรู้ตัวหรอกว่าตนเอง กำลังเดินตามรอยชะตากรรมของตนที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว และกว่า จะรู้ตัวก็มักจะสายไปเสียแล้ว คือ ตัวเองกลับมาที่เก่า ย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่ได้ ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณเลยแม้แต่น้อยก่อนที่จะสิ้นชีวิตนี้ไปเกิดใหม่อีกครั้ง "
 
" เพราะฉะนั้น การฝึกสมาธิของวัชรยาน คือการทำให้ชะตากรรมของตัวเรา กลับมาเป็นกระดาษขาวอีกครั้ง เพื่อให้เราเริ่มต้นเขียนชีวิตและชะตาชีวิตของ เราใหม่ในชาตินี้ได้ใช่มั้ยครับ "
 
" ใช่แล้ว สันติชาติ วิชา 'โคคูโซม็อนยิ ' ที่คูไคฝึกหัดนั้น อันที่จริงก็คือหลัก วิชาเพื่อการลบอดีตชาติและสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ล่วงหน้าแล้วในชะตากรรมของ เรานั่นเอง เพื่อให้ตัวเราที่ตื่นแล้ว สามารถตั้งต้นชีวิตใหม่ได้อย่างมีพลังและ อย่างสร้างสรรค์แท้จริงในชาตินี้โดยไม่ต้องไปรอความหวังในชาติหน้าอย่าง ลม ๆ แล้ง ๆ อีกต่อไป "
 
" การฝีกวิชา ' โคคูโซม็อนยิ ' ของคูไคอย่างเป็นรูปธรรมนั้ทำอย่างไรครับอาจารย์ "
 
" ถ้าฝึกแบบย่อ ๆ ก็คือ การทำมุทราในท่า ' โคคูโซ' หรือ พระผู้มีปัญญาอัน ไม่มีวันหมดสิ้น เพ่งนิมิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวท่าน พร้อมกับท่องมนตรา สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นจำนวน 1 ล้านเที่ยวด้วยกัน
 
... โนโบ อาคะชะเคียะระบะยา โอมอะริเคียะ มะริโบะริโสวะกะ ... "
 
" และถ้าฝึกแบบเต็มรูปล่ะครับ อาจารย์ ? "
 
( 1 ) ก่อนอื่น นั่งขัดสมาธิ พนมมือ แล้วท่องมนตราต่อไปนี้ 1 เที่ยว
 
... โอม ซารุบะ ตะตะกะตา ปะดะปันดะโนคะโรมิ
 
... ( 2 ) จากนั้น ทำท่ามุทราในท่า " พนมมือปัทมะ " ( เหมือนท่าพนมมือธรรมดา แต่นิ้วกลางเท่านั้นที่ไม่แตะกัน และอยู่ห่างจากกันราว ๆ 2 เซนติเมตร ) แล้วท่องมนตราต่อไปนี้ เป็นจำนวน 5 เที่ยว
 
... โอม โสวะบันบะ ชุดะ ซาราบะ ทาระมะโสวะ บันบะ ในระหว่างท่องมนตราให้มุ่งภาวนาชำระกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ของตนเองให้สะอาด
 
( 3 ) ทำมุทราในท่า ' บาตร ' พร้อมกับท่องมนตราต่อไปนี้ 3 เที่ยว
 
... โอม ตะตะเกียะโต โดะบันบะยา โสวะกะ
 
... นี่คือ การชำระกายกรรม ทำมุทราในท่า ' ใบบัวสยายกลีบทั้งแปด ' พร้อมกับท่องมนตรา ต่อไปนี้ 3 เที่ยว
 
... โอม บันโดะโบะ โดะบันบะยา โสวะกะ ...
 
นี่คือ การชำระวจีกรรม ทำมุทราในท่า มือขวาซ้อนอยู่บนมือซ้าย พร้อมกับท่องมนตรา ต่อไปนี้ 3 เที่ยว
 
... โอม บะโซโระ โดะบันบะยา โสวะกะ
 
.... นี่คือ การชำระมโนกรรม
 
( 4 ) ทำมุทราในท่า ' โคคูโซ ' ( นิ้วหัวแม่โป้งทั้งสองกดนิ้วนางทั้ง สอง นิ้วกลางทั้งสองแตะกัน ขณะที่นิ้วชี้งอเป็นรูปตะขอ ) พร้อมกับท่องมนตราเพื่อให้พลังพุทธคุ้มครองตนดังต่อไปนี้ 5 เที่ยว
 
...โอม บาซะรากินี ฮาราติ อาตายะ โสวะกะ
 
... ฝึกจะต้องฝึกขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ทุกวัน วัน 3 เวลา เป็นเวลา 360 วัน ก่อนที่ไป ฝึกแบบย่อ ๆ โดยท่องมนตรา รวดเดียวเป็นจำนวน 1,000,000 เที่ยว โดยท่องวันละ 10,000 เที่ยว เป็นจำนวน 100 วันเต็ม คือ
 
... โนโบ อาคะชะเคียะระบะยา โอมอะริเคียะ มะริโบะริโสวะกะ ... "

มดเอ๊กซ:



บำเพ็ญตบะ 7 ปีก่อนไปจีน

 

ภายหลังจากที่คูไคฝึกวิชา ' โคคูโซกูม็อนยิ ' ( The Mantra of Akasagarbha )ได้เป็นผลสำเร็จเมื่ออายุ 24 ปีแล้ว เขาก็ได้เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อ ' Indication of The Goals of The Tree Teaching ' ซึ่งเป็นหนังสือเปรียบเทียบให้เห็นถึงความโดดเด่นของศาสนาพุทธที่มีเหนือลัทธิขงจื้อและลัทธิเต๋า โดยเขียนออกมาในรูปของนิยาย

ในบทนำของหนังสือเล่มนี้ คูไคได้เขียนถึงตัวเองในวัยรุ่นหนุ่มว่า

 

" เมื่ออายุ 18 ปี ข้าพเจ้าได้เข้าเรียนใน ' มหาวัทยาลัย ' ที่เมืองหลวง ด้วยความตั้งอกตั้งใจอย่างจริงจัง จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบสมณะ รูปหนึ่งที่มอบคุมภีร์เล่มหนึ่งชื่อ ' โคคูโซกูม็อนยิ ' แก่ข้าพเจ้า คัมภีร์เล่มนี้ ได้เขียนไว้ว่า ถ้าใครก็ตามที่ได้ท่องมนตราในคัมภีร์นี้เป็นจำนวน 1,000,000 ครั้ง ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแล้ว คนผู้นั้นจะสามารถเข้าใจความหมายและสาระของพระสูตรทั้งปวงได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ข้าพเจ้าเชื่อถือสิ่งที่คัมภีร์นี้กล่าวไว้โดยสนิทใจ ข้าพเจ้าหมั่นเพียรฝึกฝนตามคัมภีรืนี้อย่างไม่หยุดหย่อน ข้าพเจ้าเคยปีนไปฝึกวิชานี้ที่ภูเขาไทริว ที่จังหวัดอะวาและไปนั่งสมาธิที่แหลมมุโรโตะที่โตสะ จนกระทั่งขาพเจ้าบรรลุผลสำเร็จตามที่บ่งบอกไว้ในคัมภีร์

นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ข้าพเจ้าก็หมดความทะยานอยาก ในลาภ ยศ ชื่อเสียง สมบัติใด ๆ ทั้งปวง มุ่งหวังแต่จะใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าได้เห็นความหรูหราต่าง ๆ ไม่ว่าเส้อผ้าที่ สวยงาม อาชา ราชรถ ข้าพเจ้ากลับเกิดความสลดใจ และเห็นความไม่ จีรังดุจสายฟ้าแลบของสิ่งเหล่านี้ซึ่งจะสูญสลายไปไม่ช้าก็เร็ว เมื่อใดก็ตาม ที่ข้าพเจ้าได้แลเห็นคนพิการหรือกระยาจก ข้าพเจ้ารู้สึกหดหู่สังเวชแกม ประหลาดใจว่า อะไรหนอที่ทำให้พวกเขาต้องมาใช้ชีวิตที่ทรมาณลำเค็ญ เช่นนี้ สิ่งเหล่านี้ได้กระตุ้นให้ข้าพเจ้าแสวงหาความหลุดพ้น ไม่มีใคร สามารถเปลี่ยนแปลงความตั้งใจอันแน่วแน่นี้ของข้าพเจ้าได้ เหมือนกับ ที่ไม่มีใครสามารถที่จะหยุดลมได้นั่นเอง

" ช่วงเวลา 7 ปี ระหว่างที่คูไคอายุ 24 ปี จนถึงอายุ 30 ปีนั้น เป็นช่วง เวลาที่คูไคใช้ชีวิตบำเพ็ญตบะอยู่ในป่าเขา ศึกษาธรรมะท่ามกลางธรรม ชาติ คนรุ่นหลังมีโอกาสรู้รายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของคูไคในช่วงนี้น้อย มาก เราได้แต่จินตนาการเท่านั้นว่า ' เซ็นนิจิไค - โฮเกียว ' ของมิกเคียว หรือการฝึกปฏิบัติธรรมด้วยการธุดงค์คนเดียวตามป่าเขาเป็นจำนวน 1,000 วันภายในช่วงเวลา 7 ปี โดยปีแรกเดินต่อเนื่อง 100 วัน ปีที่ 2 เดินต่อเนื่อง 100 วัน ปีที่ 3 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 4 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 5 เดินต่อเนื่อง 200 วัน ปีที่ 6 เดินต่อเนื่อง 100 วัน และ ปีที่ 7 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย เดินต่อเนื่องอีก 100 วัน รวมแล้ว 1,000 วัน ถ้าเฉลี่ยเดินวันละประมาณ 30 กิโลเมตร จำนวน 1,000 วัน ก็จะต้อง เดินทั้งหมด 42, 000 กิโลเมตร ซึ่งพอ ๆ กับระยะทาง 1 รอบโลกพอดี

ก่อนเข้าฝึกการบำเพ็ญตบะ ' เซ็นนิจิไค - โฮเกียว ' อันนี้ ' ครู ' จะต้อง ถามศิษย์ผู้เข้าสู่การบำเพ็ญตบะก่อนว่า ' ท่านพร้อมจะทิ้งบิดามารดาหรือ ไม่ ? ' ' ท่านพร้อมจะทิ้งพี่น้องหรือไม่ ? ' ' ท่านพร้อมที่จะทิ้งครอบครัว คนรักหรือไม่ ? ' ซึ่งผู้เข้าสู่การบำเพ็ญตบะจะต้องตอบว่า ' พร้อมที่จะทิ้ง ขอรับ

' ในขณะบำเพ็ญตบะ ผู้ฝึกจะต้องแต่งชุดขาวทั้งชุด มือขวาถือกระบองวัชระ เผื่อเป็นสถูป ถ้าหากผู้ฝึกเกิดเสียชีวิตกลางคัน พร้อมกับพกมีดสั้น 1 เล่ม เหน็บไว้ที่เอว หากจำเป็นต้องสังหารตัวเอง เวลาในการธุดงค์ส่วนใหญ่ ถูกกำหนดให้เป็นเวลากลางคืนเท่านั้น ความยากลำบากของการฝึกอันนี้ มีมากขนาดไหน จะขอเอาตัวเองเป็นคูไคถ่ายทอดความรู้สึกภายในขณะที่ บำเพ็ญตบะอันนี้ออกมาเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แม้เพียงแค่ส่วนเสี้ยว ก็ยังดี

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version