ผู้เขียน หัวข้อ: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 9 นิกายเซน  (อ่าน 2812 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 9 นิกายเซน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 04:06:30 pm »



ภาคที่ 2   มรรคาแห่งศาสนาตะวันออก

บทที่ 9 นิกายเซน

เมื่อจิตใจของจีนได้สัมผัสกับความคิดอินเดียในรูปของพุทธศาสนาในราวศตวรรษที่หนึ่งหลังคริสตกาล ได้มีพัฒนาการซึ่งคล้ายคลึงกันสองกระแสเกิดขึ้นในด้านหนึ่ง การแปลพระสูตรของพระพุทธศาสนาได้กระตุ้นนักคิดของจีน และนำไปสู่การตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นชาวอินเดีย จากพื้นฐานทางปรัชญาของชาวจีนเองจึงเป็นการและเปลี่ยนทางความคิดที่บังเกิดผลอย่างกว้างขวาง และมาถึงจุดสุดยอดในทางพระพุทธศาสนานิกาย ฮัวเอี้ยนในจีนและพุทธศาสนานิกายคีกอนในญี่ปุ่น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นนักปฏิบัติในจิตใจของชาวจีน ตอบสนองต่อการกระทบของพุธศาสนาจากอินเดียโดยมุ่งสนใจต่อด้านปฏิบัติ และพัฒนาสู่กฎเกณฑ์การปฏิบัติทางจิตใจชนิดพิเศษซึ่งเรียกว่า ฌาน ซึ่งแปลกันว่าสมาธิภาวนา ปรัชญาฌานนี้ในที่สุดญี่ปุ่นก็รับเอาไปในปี 1200 หลังคริสตกาล และได้เจริญงอกงามที่นั่นในชื่อว่า เซน และยังคงทรงชีวิตชีวาตราบจนทุกวันนี้

เซนจึงเป็นการผสมกลมกลืนของปรัชญาและลักษณะจำเพาะตัวของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามแหล่ง เป็นวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่น และสะท้อนลักษณะที่เป็นความลึกซึ้งทางสติปัญญาของอินเดีย ความรักในความเป็นธรรมชาติและความเป็นไปเองของเต๋า และการเน้นการปฏิบัติของลัทธิขงจื้อ

แม้ว่าเซนจะมีลักษณะที่พิเศษเฉพาะตัว แต่แก่นแท้ของเซนก็คือพุทธศาสนาเนื่องจากความมุ่งหมายของเซนก็คือ การตรัสรู้อย่างพระพุทธองค์ซึ่งเรียกกันในภาษาของเซนว่า สาโตริ  ประสบการณ์แห่งการตรัสรู้เป็นแก่นแท้ของปรัชญาตะวันออกสาขาต่าง ๆ แต่เซนมีลักษณะจำเพาะตัวตรงที่มุ่งเน้นเป็นพิเศษเฉพาะประสบการณ์แห่งการตรัสรู้นี้โดยไม่สนใจในการตีความทั้งหลาย สึซึกิ กล่าวว่า “ เซน เป็นระเบียบปฏิบัติแห่งการตรัสรู้ ” ในทัศนะของเซน การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะบรรลุถึงความตื่นอย่างสมบูรณ์ เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คำสอนอื่น ๆ นอกจากนั้น ดังที่อธิบายกันในพระสูตรหลายเล่มถือว่าเป็นส่วนเสริมประกอบ

ประสบการณ์ของเซนจึงเป็นประสบการณ์แห่งสาโตริ และในเมื่อประสบการณ์เช่นนี้โดยปรมัตถ์แล้วไปพ้นความคิดในทุกลักษณะ ดังนั้นเซนจึงไม่สนใจในการย่อสรุปหรือการสร้างแนวคิดใด ๆ  เซนไม่มีคำสอนหรือปรัชญาที่พิเศษพิสดารปราศจากหลักความเชื่อและกฎเกณฑ์ซึ่งปราศจากเหตุผล และยังยืนยันด้วยว่า อิสรภาพจากความเชื่อที่กำหนดตายตัวทั้งมวล  ซึ่งเป็นสิ่งแสดงว่าเซนเป็นเรื่องของจิตวิญญาณอย่างแท้จริง

เซนเชื่อมั่นว่าคำพูดไม่อาจแสดงสัจจะสูงสุดได้ สิ่งนี้แสดงออกอย่างชัดเจนในเซนมากกว่าในศาสนาอื่น ๆ ของตะวันออก เซนคงต้องได้รับอิทธิพลในเรื่องนี้จากลัทธิเต๋าซึ่งแสดงทัศนะในทำนองเดียวกัน จางจื้อกล่าวว่า “ หากมีคนถามถึงเต๋า และอีกคนหนึ่งตอบ ทั้งสองคนนั้นไม่รู้เรื่องเต๋าเลย ”

9.1  ไปล้างชาม

คำสอนของเซนได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์สู่ศิษย์ด้วยวิธีพิเศษเฉพาะในแบบที่เหมาะสมกับเซนมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษแล้ว เซนได้รับคำอธิบายอย่างเหมาะสมที่สุดในวลีสี่บรรทัดนี้

การถ่ายทอดนอกคัมภีร์

ไม่อิงอาศัยคำพูดและตัวหนังสือ

ชี้ตรงไปที่จิตของมนุษย์

ค้นหาธรรมชาติของมนุษย์และการบรรลุพุทธภาวะ
 

เทคนิคแห่งการ “ชี้ตรง” นี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของเซน เป็นแบบฉบับของจิตใจแบบญี่ปุ่นซึ่งหนักไปในด้านญาณปัญญา มากกว่าเฉลียวฉลาดในด้านความคิดและนิยมที่จะแสดงความจริงโดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ อาจารย์เซนเป็นผู้ที่ไม่พูดมากเกินจำเป็นและรังเกียจการคำนึงคำนวณและการสร้างทฤษฎีต่าง ๆ ดังนั้นพวกท่านจึงได้พัฒนาวิธีการแห่งการชี้ตรงไปอยู่สัจจะด้วยคำพูดหรือการกระทำซึ่งเป็นไปเองในทันที แสดงถึงความผิดธรรมดาของการนึกคิดและเช่นเดียวกับโกอันที่ได้โดยกล่าวถึงแล้ว คือมุ่งหมายที่จะหยุดกระบวนความคิด และเตรียมนักศึกษาเซนให้พร้อมต่อการประจักษ์แจ้งประสบการณ์อันลึกซึ้งเทคนิคดังกล่าวดูได้จากตัวอย่างบทสนทนาสั้น ๆ ต่อไปนี้ระหว่างอาจารย์เซนและลูกศิษย์ในบทสนทนาบทนี้เป็นแหล่งกำเนิดของตำราของเซนต่อมามากมาย จะเห็นได้ว่า อาจารย์เซนพูดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และใช้คำพูดของตนหันเหความสนใจของลูกศิษย์จากความคิดนึกแบบเลื่อนลอย สู่ความจริงที่อาจประจักษ์ได้

ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมาขอรับคำสอน กล่าวแกท่านโพธิธรรมว่า

“ ใจของผมไม่สงบ ได้โปรดช่วยทำให้ใจของผมสงบลงด้วย ”

“ ไหนลองเอาใจของเธอมาให้ฉันดูซิ ” ท่านโพธิธรรมตอบ “ แล้วฉันจะทำให้มันสงบ”

“ แต่เมื่อผมหาใจของผม ” ภิกษุรูปนั้นกล่าว “ ผมก็หามันไม่พบ ”

“ นั่นไง ” ท่านโพธิธรรมสวนมาทันควัน “ ฉันได้ทำให้ใจของเธอสงบแล้ว ”
 

 

ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวแก่ท่านโจชีว่า “ ผมเพิ่งเข้าสู่พระพุทธศาสนา โปรดให้คำแนะนำแก่ผมด้วย ”

ท่านโจชีถามขึ้นว่า “ เธอกินข้าวต้มของเธอแล้วหรือยัง ”

ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ ผมกินแล้วครับ ”

ท่านโจชีกล่าวว่า “  ถ้างั้นไปล้างชาม ”
 

9.2  สาโตริ

ในบทสนทนาเหล่านี้ได้ให้แง่มุมหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเซน การตรัสรู้ในเซนมิได้หมายถึงการแยกตัวออกจากโลก แต่กลับหมายถึงการดำรงอยู่ในกิจการประจำวันอย่างมีชีวิตชีวา ทัศนะดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงจิตใจของชาวจีน ซึ่งให้ความสำคัญต่อชีวิตนักปฏิบัติและนักประดิษฐ์ ความคิดในเรื่องความยืนยงของครอบครัว และไม่อาจรับลักษณะของชีวิตชาววัดของพุทธศาสนาในอินเดียได้ อาจารย์ชาวจีนเน้นอยู่เสมอว่า ฌาณหรือเซน คือประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเรา เป็น “  จิตใจทุก ๆ วัน ” ดังที่หม่าจื้อกล่าว สิ่งที่ท่านเหล่านี้มุ่งเน้นคือ การตื่นขึ้นท่ามกลางกิจการประจำวัน และเป็นที่ชัดเจนว่าท่านเหล่านี้ถือเอาชีวิตประจำวันมิใช่เพียงหนทางของการตรัสรู้ แต่เป็นตัวการตรัสรู้เลยทีเดียว

ในเซน  สาโตริหมายถึง ประสบการณ์ฉับพลันในการหยั่งรู้ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะของสรรพสิ่ง สิ่งแรกสุดในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ วัตถุ กิจการ และผู้คน ซึ่งเราเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ดังนั้นในขณะที่เซนเน้นการปฏิบัติในชีวิต เซนก็เป็นศาสนาที่มีนัยอันลึกซึ้งด้วยเช่นกัน ดำรงชีวิตทั้งมวลอยู่ในปัจจุบัน และทุ่มเทความสนใจทั้งหมดไปที่ภารกิจประจำวัน บุคคลผู้บรรลุสาโตริย่อมประจักษ์ความลับและความน่าพิศวงของชีวิตในทุก ๆ การกระทำ

อัศจรรย์อะไรเช่นนี้ ลึกลับอะไรเช่นนี้

ฉันหาบฟืน ฉันตักน้ำ
 

ความสมบูรณ์แบบของเซนก็คือ การดำเนินชีวิตประจำวันอย่างเป็นไปตามธรรมชาติและเป็นไปเอง เมื่อมีผู้ขอให้ท่านป้อจัง อธิบายเซน ท่านกล่าวว่า “เมื่อหิวกิน เมื่อเหนื่อยนอน” ถึงแม้ว่ามันจะดูง่าย ๆและชัดเจน ที่มักปรากฏอยู่เสมอในซนแต่จริง ๆ แล้วมันเป็นงานที่ยากเอาการ การที่จะดำรงชีวิตได้อย่างเป็นธรรมชาติต้องผ่านการฝึกฝนที่เชี่ยวชาญ และต้องมีความมุ่งมั่นในการแสวงหาคุณค่าทางจิตใจ ดังประโยคที่มีชื่อเสียงของเซนว่า

ก่อนที่ท่านจะศึกษาเซน ภูเขาเป็นภูเขา และแม่น้ำก็คือแม่น้ำ

ในขณะที่ท่านศึกษาเซน ภูเขาไม่เป็นภูเขา และแม่น้ำมิใช่แม่น้ำ

แต่เมื่อตรัสรู้ ภูเขากลับเป็นภูเขา และแม่น้ำก็เป็นแม่น้ำ
 

การเน้นความเป็นธรรมชาติ และความเป็นไปเองในเซน แสดงให้เห็นรากฐานซึ่งมาจากลัทธิเต๋า แต่พื้นฐานของการมุ่งเน้นเช่นนี้เป็นพุทธศาสนาอย่างแท้จริงเป็นความเชื่อในความสมบูรณ์ของธรรมชาติเดิมของเรา เป็นความตระหนักรู้ว่ากระบวนการแห่งการตรัสรู้ก็คือการกลับสู่สภาพที่เราเป็นมาตั้งแต่ต้น เมื่ออาจารย์ป้อจัง ถูกถามเกี่ยวกับการแสวงหาธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ทานตอบว่า “มันเหมือนกับการขี่หลังวัวเพื่อหาวัวนั่นแหละ”

9.3  โดคือเต๋า

ในญี่ปุ่นปัจจุบัน เซนได้แยกเป็นสองนิกายย่อย ซึ่งแตกต่างกันโดยวิธีการสอน นิกายรินไซ หรือนิกาย “ฉับพลัน” สอนโดยใช้โกอัน และให้ความสำคัญกับช่วงเวลาที่อาจารย์เซนจะสนทนากับนักศึกษา ที่เรียกว่า ซานเซน ในช่วงนี้อาจารย์เซนจะให้นักศึกษาอธิบายโกอันซึ่งตนกำลังขบอยู่ การไขปริศนาของโกอันต้องผ่านการทำสมาธิอย่างแน่วแน่เป็นเวลานาน จนกระทั่งเกิดการรู้แจ้งแห่งสาโตริ อาจารย์เซนที่มีประสบการณ์จะรู้ว่าเมื่อใดที่นักศึกษาเซนมาถึงขอบแห่งการรู้แจ้งอย่างฉับพลัน และสามารถที่จะใช้คำพูดหรือการกระทำกระตุกให้สะดุ้งและนำเขาหรือเธอเข้าสู่ประสบการณ์ของสาโตริได้ด้วยวิธีการที่ไม่คาดฝัน เช่น  การตีด้วยไม้  หรือ การตะโกนเสียงดัง

นิกายโสโตะ หรือนิกาย  “เชื่องช้า” เลี่ยงวิธีการที่จะทำให้สะดุ้งของนิกายรินไซและมุ่งให้นักศึกษาเซนค่อย ๆ สุกงอมในทางจิตใจ “เปรียบเหมือนสายลมอ่อน ๆ ในฤดูใบไม้ผลิซึ่งทนุถนอมดอกไม้และช่วยให้เบ่งบาน”  นิกายนี้ส่งเสริมการ   “นั่งเงียบๆ”  และการงานประจำวัน โดยถือเป็นการทำสมาธิภาวนาทั้งสองแบบ

ทั้งนิกายโสโตะและรินไซให้ความสำคัญอย่างสูงสุดแก่การทำ ซาเซนหรือการทำสมาธิภาวนา ซึ่งผู้ปฏิบัติในวัดเซนต้องกระทำเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงในแต่ละวัน สิ่งแรกที่นักศึกษาเซนจะต้องเรียนรู้ก็คือท่านั่งและการหายใจในนิกายรินไซ ซาเซนเป็นการตระเตรียมจิตใจเพื่อการจับฉวยโกอัน ในนิกายโซโตะถือว่าซาเซนเป็นนิกายที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้นักศึกษามีอินทรีย์แก่กล้าและพร้อมต่อสาโตริ ยิ่งไปกว่านั้นซาเซนยังถูกถือว่าเป็นการกระทำเพื่อการหยั่งรู้ธรรมชาติแห่งการเป็นพุทธะของตน ร่างกายและจิตใจได้ผนึกรวมเป็นเอกภาพที่บรรสานสอดคล้อง ไม่จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอีกต่อไป ดังที่บทกวีของเซนกล่าวไว้ว่า

นั่งนิ่งเงียบ  ไม่กระทำสิ่งใด

เมื่อฤดูใบไม้ผลิกรายมาต้นหญ้าก็งอกงาม
 

เมื่อเซนยืนยันว่า การตรัสรู้ปรากฏได้ในกิจการประจำวัน เซนจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น มิใช่แต่เพียงมีอิทธิพลในด้านจิตกรรม การประดิษฐ์อักษร การจัดสวน และงานหัตถกรรมหลายอย่างเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพิธีกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  การชงชา  หรือการจัดดอกไม้ การยิงธนู การต่อสู้ด้วยดาบและยูโด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถูกลือกันในญี่ปุ่นว่าเป็น โด นั่นคือเต๋า หรือหนทางสู่การตรัสรู้ บรรจุอยู่ด้วยลักษณะต่างๆของประสบการณ์ของเซนและนำไปใช้ฝึกฝนเพื่อนำจิตใจให้สัมผัสกับสัจธรรมสูงสุดได้

9.4  ยิงไปเอง

ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวถึง พิธีชงน้ำชา ของชาวญี่ปุ่นซึ่งเรียกว่า ชา-โน-ยี ที่ทุกสิ่งกระทำไปอย่างเชื่องช้าและเป็นพิธีกรรม การเคลื่อนไหวอย่างเป็นไปเองของมือซึ่งใช้ในการเขียนตัวอักษรหรือภาพเขียน และจิตวิญญาณของ บึซิโด  “วิถีแห่งนักรบ”  ศิลปะต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมดเป็นการแสดงออกของความเป็นไปเอง ความเรียบง่าย และจิตใจที่ตื่นเต็มที่ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของชีวิตแบบเซน แม้ว่าศิลปะเหล่านี้จะใช้เทคนิคที่สมบูรณ์แบบ แต่การจะทำให้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงนั้นจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อก้าวพ้นเทคนิคต่าง ๆ เหล่านั้น และศิลปะกลายเป็น “ศิลปะแห่งความไม่มีศิลปะ” ผุดขึ้นจากใต้สำนึก

เป็นโชคดีของเราที่มีหนังสือของ ยูเกน  เฮอร์ริเกล ชื่อ “เซนในศิลปะการยิงธนู” อธิบาย “ศิลปะแห่งความไม่มีศิลปะ” นั้น เฮอร์ริเกล ได้ใช้เวลากว่าห้าปีอยู่กับอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเพื่อเรียนรู้ศิลปะ “อันลึกลับ” และเขาได้ให้ทัศนะในหนังสือของเขาเกี่ยวกับเซนจากประสบการณ์ในการยิงธนู เขาอธิบายถึงการที่ยิงธนูถูกถือปฏิบัติเหมือนพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่ง “ร่ายรำ” ในท่วงทำนองแห่งการเป็นไปเอง ไร้ความพยายามและความมุ่งหมาย เขาใช้เวลาฝึกฝนหลายปี จนกระทั่งมันได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา เพื่อเรียนรู้วิธีที่จะน้าวคันธนู “โดยปราศจากความตั้งใจ” ให้การยิง “ไปจากนักยิงธนูเหมือนกับผลไม้สุก (หล่นจากต้น)” เมื่อเขาบรรลุความสมบูรณ์ คันธนู ลูกศร เป้าและคนยิง หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะนั้นเขามิได้เป็นผู้ยิง แต่ “มัน”  ทำของมันเอง

คำอธิบายของเฮอร์ริเกล ในเรื่องการยิงธนู เป็นทัศนะที่บริสุทธิ์อย่างยิ่งในเรื่องเซน ทั้งนี้เพราะไม่ได้พูดเกี่ยวกับเซนไว้เลย





http://www.dharma-gateway.com/misc/misc_tao_of_physics_09.htm
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: เต๋าแห่งฟิสิกส์ : บทที่ 9 นิกายเซน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2010, 12:51:14 am »
 :45: ขอบคุณครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~