บล็อก > บทความ (Blog)

[ด่วนค๊ะ T_T]กรี๊สสสสสสส ค๊า กระทู้ ธรรม จะสอบพรุ่งนี้แล้ว อ๊ากกก ก !!

<< < (2/5) > >>

Pure+:
แนวข้อสอบอันนี้เป็นลักษณะข้อสอบของนธ.ชั้นตรี ที่ใช้สอบในสนามสอบสนามหลวงนะครับ
พี่เพียวไม่แน่ใจว่าลักษณะการสอบของน้องอุ๋มจะเป็นลักษณะเดียวกันหรือเปล่า แต่บุคคลทั่วไป กระทั่งพระและสามเณรอายุน้อยๆ ก็จะสอบแนวนี้กันหมดครับ ถ้าได้ชื่อว่าเป็นข้อสอบธรรมศึกษา..

รูปแบบการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม..

๑. สุภาษิตตั้ง

๒. คำแปล

๓. บทนำ... บัดนี้ จักได้อธิบายขยายความตามพุทธศาสนภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัติแก่พุทธศาสนิกชนสืบต่อไป

๔. อธิบายสุภาษิตตั้ง .....

๕. สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน....

๖. (ที่มาของศาสนสุภาษิตเชื่อม ) ว่า

๗. ( พุทธศาสนสุภาษิตเชื่อม )

๘. คำแปล

๙. อธิบายสุภาษิตเชื่อม........

๑๐. สรุป.............................สมดังสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นว่า

๑๑. พุทธศาสนสุภาษิตตั้ง

๑๒. คำแปล

๑๓. ดังได้อธิบายมาด้วยประการ ฉะนี้.....

ทั้ง ๑๓.ข้อข้างบนนี้ เป็นหัวข้อโจทย์นะครับ เป็นแบบละเอียด อย่าเพิ่งตกใจไป
ในส่วนที่ต้องท่องให้จำก็มีตามหัวข้อที่ ๓. ๕. ๑๐. แล้วก็ ๑๑. ทั้งสี่หัวข้อนี้เราต้องท่องให้จำให้ได้
ไม่อย่างนั้นเราจะแต่ง และเชื่อมต่อเนื้อเรื่องไม่ได้
*ข้อสังเกตุอีกอย่าง ในส่วนของข้อสอบ ถ้ามีตรงไหนที่เป็นตัวเลข ห้ามเขียนเป็นเลขอารบิคโดยเด็ดขาด เขียนเป็นเลขไทยได้อย่างเดียว..

เดี๋ยวจะยกตัวอย่างแบบคำตอบมาให้ดูสักตัวอย่างครับ..

ฐิตา:


:43:   มารออ่าน แนวข้อสอบด้วยคนน่ะค่ะ
อนุโมทนาค่ะ น้องๆ  :13:

Pure+:
สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
ศีล เป็นเยี่ยมในโลก.

บัดนี้ จักได้อธิบายขยายความตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางในการศึกษาและปฏิบัติแก่พุทธศาสนิกชนสืบต่อไป
ดำเนินความตามกระทู้นี้ คำว่า ศีล คือการรักษากาย วาจาให้เรียบร้อย เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ผู้ที่จะได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์นั้น ผู้นั้นอย่างน้อยต้องมีศีล ๕ มีไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดปด และไม่ดื่มสุรายาเสพติดต่าง ๆ ชื่อว่าศีลเป็นเยี่ยมในโลก เพราะเป็นเครื่องปกป้องโลกให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ศีลเป็นเครื่องขจัดความเบียดเบียนระหว่างตนกับผู้อื่นให้หมดไป ก่อความรักความเมตตาให้เกิดขึ้นในโลก ศีลเป็นเครื่องชำระกิเลสอย่างหยาบให้หมดไป เป็นขั้นพื้นฐาน เป็นเบื้องต้นแห่งการทำความดี ผู้ประพฤติให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ย่อมประสบแต่ความสุข ศีลเป็นความดี มีผลเป็นความสุข ผู้รักษาศีล ศีลย่อมให้ผลคือ ความสุข ตราบที่เขารักษาศีลอยู่ สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ธรรมบท ขุททกนิกาย ว่า

สุขํ ยาว ชรา สีลํ.
ศีล นำสุขมาให้ตราบเท่าชรา.

ศีลเป็นหลักเบื้องต้นแห่งการประพฤติปฏิบัติธรรม โดยมีเจตนาความตั้งใจงดเว้นความชั่วทั้งทางกาย วาจา และตลอดจนไปถึงใจให้เรียบร้อยดีงาม ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ทุกคนสามารถปฏิบัติรักษาศีลได้ด้วยกันทั้งนั้น ผู้ที่ปรารถนาความสุขไม่พึงละทิ้งการรักษาศีล เพราะศีลเป็นบ่อเกิด และเป็นเหตุนำสุขมาให้ ยกตัวอย่างเช่น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นผู้ไว้ซึ่งศีลที่บริสุทธิ์ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์จึงมีแต่ความสุขเกษมสำราญ เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงไม่ควรมองข้าม ควรหันเข้ามารักษาศีลกันเถิด เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและโลก นำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
สรุปความว่า ศีล คือความประพฤติดีรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นคุณธรรมเบื้องต้น ที่จะทำให้คนเป็นมนุษย์ คือผู้ประเสริฐ โดยมีสติสัมปชัญญะคอยกำกับอยู่เสมอ เพื่อให้ดำเนินไปในทางที่ดี ผู้รักษาศีลย่อมปราศจาก ศัตรูที่คอยเบียดเบียน ไม่มีเวรมีภัยกับบุคคลผู้อื่น และยังนำสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติตาม อยู่อย่างสงบร่มเย็นเป็นสุข ศีลจึงเป็นความดีเยี่ยมในโลก สมดังสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น ว่า

สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
ศีล เป็นเยี่ยมในโลก.
ดังได้อธิบายมาด้วยประการฉะนี้ ฯ

--------------------------------------------จบ.


* ข้อความที่พี่เพียวขีดเส้นใต้อาไว้ คือข้อความที่เขาให้มา ซึ่งเราต้องจำ มีอยู่ ๔.ส่วน
* ที่เป็นตัวหนา คือศาสนสุภาษิตที่เราต้องหามาเอง(โดยให้สมานเข้ากันได้ทั้งสองบท)

เทคนิคในการตอบ..
๑.ให้เราเข้าใจความหมายของภาษิตทั้งสองบทนั้นให้ได้ ก็จะไม่ยากในการตอบ
๒.จำและท่องบทในส่วนที่ขีดเส้นใต้ให้ได้ เพื่อจะได้ไม่พลัดหลงเวลาอธิบายขยายความและเชื่อมต่อสุภาษิต
๓.จำที่มาของภาษิตนั้นให้ได้ว่ามาจากที่ใค(ถ้าจะให้จำง่ายๆ ควรเอามาจากธรรมบท จะง่ายที่สุดและคุ้นหูเรามากที่สุดแล้ว)

ปล. ไม่ยากมากนะครับ ทำความเข้าใจให้ได้แค่สามข้อข้างบน
ไม่ว่าจะไปสอบที่ไหนพี่เพียวรับรองได้ว่า คะแนนเต็มแน่นอน.

ดอกโศก:
แนวข้อสอบและแนวตอบยากขนาดนี้เชียวหรือคะ... :14:

ฐิตา:


ถ้าธรรมบท มีรวมไว้ ที่นี่ค่ะ
http://www.sookjai.com/index.php?topic=1179.0
ใต้ร่มธรรมก็มีแต่ยังไม่ครบน่ะค่ะ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version