ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้า  (อ่าน 10584 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:11:58 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"ต้นไม้ สวน และป่า"

ต้นไม้ สวนและป่า ในสมัยพุทธกาลที่มีความเกี่ยวพันกับพุทธประวัติซึ่งนำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ดังนี้

ต้นไม้

     ๑. ปาริฉัตตก์ คือต้นทองหลาง เป็นชื่อต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในสวนนันทวัน ของพระอินทร์หรือท้าวสักะจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพรรษาที่ ๗ ภายหลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับภายใต้ร่มไม้ปาริฉัตตก์ (หรือปาริฉัตร, ปาริชาต) ณ ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนพระพุทธมารดาได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผล ส่วนเทพยดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมบรรลุผลสุดที่จะประมาณ

     ๒. พหุปุตตนิโครธ ต้นไทรที่อยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา ปิปผลิมาณพได้พบพระพุทธเจ้าและขอบวชที่พหุปุตตนิโครธนี้ครั้นบวชล่วงไปแล้ว ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัต พระมหาสาวกมหากัสสปะ (เดิมชื่อ ปิปผลิมาณพ) ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางถือธุดงค์

     ๓. ต้นพระศรีมหาโพธิ ต้นโพธิ ต้นโพธิที่พระพุทธเจ้าประทับภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิแห่งนี้ นับเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ของะพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
     ในรัชสมัยรัชการที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์จากต้นโพธิ์ตรัสรู้ ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งดินแดน ณ ที่นั้นได้เปลี่ยนชื่อมาเรียกว่า ตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร นับเป็นการได้พันธุ์ต้นมหาโพธิ์ตรัสรู้โดยตรงครั้งแรก นำมาปลูกไว้ ณ วัดเปญจมบพิตรและวัดอัษฏางนิมิตร

     ๔.ต้นมุจจลินทร์ หรือต้นจิก ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึงสัปดาห์ที่ ๖ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้จิกอันมีชื่อว่า มุจจลินทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ ๆ กับต้นพระศรีมหาโพธิพระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมุจจลินทร์เป็นเวลา ๗ วัน โดยมีพญามุจจลินทร์นาคราชมาวางขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ จากสายลมและสายฝน พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานแสดง ความสุขที่แท้ อันเกิดจาการไม่เบียดเบียนกัน

     ๕. ต้นราชยตนะ หรือต้นไม้เกต ภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วถึง สัปดาห์ที่ ๗ ทรงประทับภายใต้ร่มเงาของต้นไม้เกตอันมีชื่อว่า ราชายตนะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ใกล้ ๆ กับต้นศรีมหาโพธิ์ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยสิทุตติสุขเป็นเวลา ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์สุดท้ายแห่งการเสวยวิมุตติสุข ณ ที่นี้มีพ่อค้า ๒ คนนำกองเกวียนค่าขายจากแดนไกล คืออุกกลชนบท ได้ถวายเสบียงเดินทาง สัตตุผง สัตตุก้อนแด่พระพุทธเจ้าพ่อค้าทั้งสองคือ ตปุสสะ และภัลลิกะ ได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒ คือถึงพระพุทธและพระธรรม

     ๖. ต้นสาละ เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งในดินแดนชมพูทวี มิได้เป็นชนิดเดียวกับต้นรังหรือต้นสาละลังกาที่ปลูกหรือพบในประเทศไทย แต่อย่างใด ต้นสาละเป็นต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระสัมมาสัมพุทธเข้าตั้งปต่ประสูติ จนถึงปรินิพพาน
     พระพุทธองค์ทรงประสูติภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ อุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ ยามนั้นแดดอ่อนดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ยามนั้นอากาศโปร่ง ต้นไม้ในป่าสาละอุทยานลุมพินีกำลังผลิตดอกออกในอ่อน ดอกไม้นานาพรรณ กำลังเบ่งบาน ส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ
     ครั้นยามสามของวันเพ็ญ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มเงาพระศรีมหาโพธิ ภายในป่า สาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
     ครั้น วันเพ็ญเดือน ๘ สองเดือนภายหลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระพุทธองค์เสด็จมาถึงบริเวณป่าสาละอันร่มรื่น ณ อุทยานมฤคทายวันหรืออิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวันสุตร โปรดปัญจวัคคีย์ พระรัตนตรัยเกิดครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
     เมื่อพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ ครบ ๘๐ พรรษาได้เสด็จถึงสาลวโนทยานหรือสวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ เป็นเวลาใกล้ค้ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ วันสุดท้ายก่อนการกำเนิดพุทธศักราช พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยาคือเป็นการนอนครั้งสุดท้ายจนกระทั่งสังขารดับ

     ๗.อปชาลนิโครธ ต้นไทรที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๕ ภายหลังทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ประทับนั่งภายใต้ร่มเงาของอปชาลนิโครธเป็นเวลา ๗ วัน ต้นอปชาลนิโครธอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์

     ๘.อัสสัตถพฤกษ์ คือต้นพระศรีมหาโพธิ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันเป็นสถานที่ซึ่งพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

     ๙. อานันทมหาโพธิ เป็นต้นโพธิ์ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งใต้ร่มเงาได้ตรัสรู้ ได้นำเมล็ดไปปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการปลูกที่ประตูวัดพระเชตวันมหาวิหาร พระนครสาวัตถี แคว้นโกศล ต้นโพธิ์นั้นเรียกว่า อานันทมหาโพธิ์ ทุกวันนี้ยังปรากฏอยู่
     ทั้งนี้พระยามที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมหาวิหารนั้น แต่ละปี พระพุทธเจ้าประทับเพียงปีละ ๓ เดือนในฤดูพรรษาส่วนอีก ๙ เดือนนอกพรรษา พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปสู่ที่อื่นเสียปีละ ๙ เดือน ชาวนครสาวัตถีก็เกิดวิปฏิสารร้อนใจ ใคร่ทูลให้ประทับอยู่ตลอดปี พระพุทธเจ้าทรงทราบความทุกข์ของชาวเมือง จึงรับสั่งให้พระอานนท์นำเมล็ดจากต้นศรีมหาโพธิ มาปลูกไว้หน้าประตูมหาวิหารเชตวัน เพื่อเป็นเครื่องหมายแทนพระองค์ เพื่อว่าสมัยใดที่พระพุทธเจ้าไม่ประทับพักอยู่ มหาชนจะได้บูชาต้นโพธิ์นั้นแทนองค์พระพุทธเจ้า

สวนและป่า

     ๑.ชีวกัมพวัน คือ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ถวายเป็นสังฆาราม ด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าและปรารถนาจะเข้าเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง หมอชีวกโกมารภัจจซึ่งบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและเป็นแพทย์ประจำประองค์พระพุทธเจ้า ได้สร้างวัดถวายในสวนมะม่วงแห่งนี้ชีวกัมพวันอยู่ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ

     ๒.ตโปทาราม สวนซึ่งอยู่ใกล้บ่อน้ำพุร้อน ชื่อตโปทาอยู่ใกล้ภูเขาเวภารบรรพต ใกล้พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ สถานที่แห่งนี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๓.ปาจีนวังสทายวัน ป่าปาจีนวังสทายวัน อยู่ในแคว้นเจตี เป็นที่ตั้งสำนักของพระสารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าพระอนุรุทธะ พระมหาสาวกองค์หนึ่งซึ่งเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เรียนกรรมฐานได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นี้

     ๔. ปาวาริกัมพวัน เป็นสวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี อยู่ในเมืองนาลันทา ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง

     ๕. เภสกลาวัน เป็นป่าไม้สีเสียด ใกล้เมืองสุงมารคีรีนครหลวงของแคว้นภัคคะ ในพรรษาที่ ๘ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาอยู่ที่เภสกลาวัน

     ๖.ป่ามหาวัน กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นป่าใหญ่ใกล้ครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปทรงพักผ่อนระหว่าประทับอยู่ที่นิโครธารามซึ่งเป็นอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์เช่นกัน พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๑๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ที่นิโครธาราม

     ๗. ป่ามหาวัน นครเวสาลี เป็นป่าใหญ่ ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ประทับจำพรรษาอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวลาลี ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก

     ๘. มัททกุจฉิมิคทายวัน มีความหมายถึง ป่าเป็นที่อภัยแก่เนื้อชื่อ มัททกุจฉิ อยู่ที่พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๙.มิคจิรวัน ป่ารักขิตวันอยู่ในแดนบ้านปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ในพรรษาที่ ๑๐ ภายหลังจากทรงตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวัน ด้วยทรงปลีกพระองค์จากพระสงฆ์ผู้แตกกัน ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี พญาช้างปาริเลยกะคอยเฝ้าปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์ ในป่ารักขิตวัน

     ๑๑.ไร่ฝ้าย ขณะพระพุทธเจ้าเสด็จแวะเข้าไปประทับพักอยู่ที่ไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง คณะสหาย๓๐ คน ชื่อคณะภัททวัคคีย์ได้พากันเข้ามาที่ไร่ฝ้ายแห่งนี้ เพื่อเที่ยวตามหาหญิงแพศยาผู้ลักห่อเครื่องประดับหนีไปเมื่อได้พบพระพุทธเจ้าและได้ฟังเทศนาอนุปุพพิกถา (เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ) จากนั้นพระพุทธองค์ทรงเทศนาอริยสัจ ๔ (คือความจริงอย่างประเสริฐมี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) คณะภัททวัคคีย์ ทั้ง ๓๐ คนได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วขออุปสมบท

     ๑๒. ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่ม อยู่ทางทิศตะวันตดเฉียงใต้ของพระนครราชคฤห์ เชิงภูเขาปัพภาระ แคว้นมคธ ณ กาลนั้นเป็นตอนปลายของพรรษาที่ ๑ ภายหลังจากทรงตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธพร้อมด้วยราชบริพาร ๑๑ นหุต (๑ นหุต = ๑๐,๐๐๐ จึงเป็นจำนวนหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน) เสด็จต้องรับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุสาวกซึ่งเสด็จถึงพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ ลัฏฐิวันบรรดาราชบริพารเหล่านี้ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา จึงแสดงอาการกริยาต่าง ๆกัน บางพวกถวายบังคม บางพวกประนมมือ บางพวกกล่าววาจาปราศรัย บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน บางพวกนิ่งอยู่พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามนำพระอุรุเวลากัสสปะ ผู้เคยเป็นคณาจารย์ใหญ่หัวหน้าชฏิลสามพี่น้อง เป็นผู้ที่ชาวนครราชคฤห์นับถือมากพระพุทธองค์ทรงถามว่า ทำไมจึงเลิกบูชาไฟ พระอุรุเวลกัสสปะกราบทูลประกาศความไม่มีแก่นสารแห่งลัทธิเดิม บรรดาราชบริพารทราบแล้วก็เชื่อถือ จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์แสดงพระเจ้าพิมพิสารและราชบริพารจำนวนมาก เมื่อสดับพระธรรมเทศนาได้ธรรมจักษุ พระเจ้าพิมพิสารประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ที่นี้

     ๑๓. ลุมพินีวัน เป็นสวนที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ภายใต้ต้นสาละใหญ่ ในเวลาใกล้เที่ยง เมือวันเพ็ญเดือน ๖ วันศุกร์ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เป็นสังเวชนียสถาน ๑ ใน ๔ แห่ง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ (ปัจจุบันนี้ อยู่ในตำบลลุมมินเด แขวงเปชวาร์ ในเขตประเทศเนปาล ห่างจากเขตแดนประเทศอินเดีย ไปทางเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตร ครึ่ง บัดนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสิทธารถนคร

     ๑๔. เวฬุวัน เป็นป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสารราชาผู้ครองแคว้นมคธ อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบเงียบ มีทางไปมาสะดวก ภายหลังจากพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ได้ธรรมจักษุประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ณ ลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงพระราชดำริหาที่ประทับให้พระพุทธเจ้า ทรงเห็นว่าพระราชอุทยานเวฬุวันสวนไม่ไผ่เหมาะสม จึงถวายเป็นสังฆาราม พระพุทธเจ้าทรงรับและประทานพุทธานุญาตให้ภิกษุรับอารามที่ทายกถวายได้ การถวายอารมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ที่นี้ นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

     ๑๕.สักกะ เป็นดงไม้ที่อยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ แถบเทือกเขาหิมาลัยในเขตป่าหิมพานต์

     ๑๖.สาลวโนทยาน สวนป่าไม้สาละของมัลลกษัตริย์ ราชาผู้ครองแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ใกล้เมืองกุสินารา พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานภายใต้ร่มไม้ต้นสาละใหญ่ ๒ ต้นในสาลวโนยาน ในยามค้ำของวันเพ็ญเดือน ๖ ปีมะเส็ง วันสุดท้ายก่อนเริ่มพุทธศักราช

     ๑๗. หิมพานต์ ป่าหิมพานต์เป็นป่าใหญ่เชิงเขาหิมพานต์ ซึ่งเป็นภูเขาสูงใหญ่ทางตอนเหนือของชมพูทวีป พระนาลกะ หนึ่งในพระมหาสาวก หลานชายของอสิตดาบสออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ณ ป่าหิมพานต์ ครั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏปทา (ข้อปฏิบัติธรรมที่ทำให้เป็นปราชญ์) และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพานในป่าแห่งนี้

     ๑๘. อนุปิยอัมพวัน สวนป้าไม้มะม่วง อนุปิยอัมพวัน อยธในเขตอนุปิยนิคม แขวง มัลลชนบท พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ณ ที่นี้ ๗ วัน ครั้ง วันที่ ๘ จึงเสด็จดำเนินจากอนุปิยอัมพวันเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยกิริยาสงบอยู่ในอาการสังวร สมควรแก่ภาวะของสมณะเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของทุกคนที่ได้เห็น พวกราชบุรุษนำความที่ได้พบเห็นไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิศาร มีรับสั่งให้สะกดรอยติดตามเพื่อทราบความเท็จจริงของพรรพชิตเศษรูปนี้ ครั้นทรงสดับความจริงแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงพระประสงค์ จะได้พบกับพระมหาบุรุษ
     ต่อมาเจ้าชายศากยวงศ์ทั้ง ๖ คือพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พรกิมพิละ พระเทวทัต และมีอบาลีอำมาตย์ ช่างกัลบก รวมเป็น ๗ พร้อมใจออกบรรพชา ได้ออกบวช ณ สวนป่าไม้ มะม่วงอนุปิยอัมพวันแห่งนี้

     ๑๙.อัมพปาลีวัน สวนที่หญิงแพศยาชื่อ อัมพปาลี ถวายเป็นสังฆาราม ไม่นานก่อนพุทธปรินิพพาน อยู่ในเขตเมือเวสาลี แคว้นวัชชี (แพศยา หมายถึง หญิงหาเงินในทางร่วมประเวณี หรือ โสเภณีในปัจจุบัน)

     ๒๐. อิสิปตนมฤคทายวัน คือป่าที่ให้อภัยแก่เนื้อชื่อ อิสิปตนะอยู่ใกล้เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ณ ป่าแห่งนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร (พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป)ประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ รูป ในวันเพ็ญ เดือน ๘ พระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้เกิดขึ้นบริบูรณ์ในกาลนั้น ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน



"แม่น้ำ"

แม่น้ำสายต่างๆ ในชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า และถูกบันทึกลงในพระพุทธประวัติ ที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้มีดังนี้

          ๑. กิมิกาฬา พระมหาสาวกเมฆิยะ ผู้เคยเป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า คราวหนึ่งได้เห็นส่วนมะม่วมริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬน่ารื่นรมย์จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟังพระเมฆิยะไปบำเพ็ญเพียรถูกอกุศลวิตกต่าง ๆ รบกวน ในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุติ (การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ) จึงได้สำเร็จพระอรหัต

          ๒. กกุธานที ไหลผ่านดินแดนระหว่างเมืองปาวากับเมืองกุสินาราแคว้นมัลละ พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า เสด็จลงเสวยและชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทางจากเมืองปาวาไปเมืองกุสินาราในวันที่พระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพาน

          ๓. คงคา เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เกิดที่ภูเขาหิมพานต์ มีความยาวถึงประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลเมตร ณ บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคากับยมุนาบรรจบกันเป็นอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่ตั้งของนครและแว่นแคว้นที่มีความสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคามีดังนี้
     แคว้นอังคะ ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำคงคา
     แคว้นมคธ ตั้งอยู่ใต้แม่น้ำคงคาตอนกลาง
     แคว้นโกศล ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำคงคาตอนกลาง
     แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำคงคาและยมุนา
     แคว้นปัญจาละ ตั้งอยู่ตรงลุ่มแม่น้ำคงคาตอนบนนครหลวงกัมปิละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำคงคา
นอกจากนั้นนครมิถิลา เมืองหลวงของแคว้นวิเทหะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคา ตอนกลาง ตรงข้ามกับแคว้นมคธ

          ๔. คันธกะ แม่น้ำคันธกะไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกของแคว้นวัชชี ส่วนเมืองกุสินารานครหลวงของแคว้นมัลละ ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของแม่น้ำคันธกะ กับแม่น้ำอจิรวดี (หนึ่งในปัญจมหานที)

          ๕.โคธารวรี แคว้นอัสสกะ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำโคธาวรี พราหมณ์พาวรีอาจารญ์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพทอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวรี ณ สุด เขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณพาวรีได้ส่งศิษย์ ๑๖ คนเดินทางไปถามปัญหาพระพุทธเจ้า ณ ปาสาณเจดีย์ ในแคว้นมคธ

          ๖. จัมปา แม่น้ำจัมปาไหลกั้นแดนระหว่างแคว้นมคธกับแคว้นอังคะ

          ๗. นัมมทา แม่น้ำนัมมทาไหลผ่านแคว้นสุนาปรันตะ พระพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวสุนาปรันตะและนัมมทานาคราช นาคราชขอของที่ระลึกไว้บูชา จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

          ๘. เนรัญชรา แม่น้ำเนรัญชราไหลผ่านแคว้นมคธ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมซึ่งตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา อันเป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์พระมหาบุรุษทรงเลือกที่แห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญเพียร ทรงประทับอยู่ ณ ที่นี้ นานถึง ๖ ปี พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชณิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ในตำบลนี่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราแห่งนี้

          ๙. ปัญจมหานที คือแม่น้ำสำคัญ ๕ สาย อันมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมพานต์ (หิมาลัย) ซึ่งแถบเชิงเขาปกคลุมไปด้วยป่าไม้ใหญ่มีฝนตกชุก เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายไหลลงมาทางใต้ ปัญจมหานที (หรือปัญจนที) คือ ๑.แม่น้ำคงคา ๒.แม่น้ำยมุนา ๓. แม่น้ำอจิรวดี (หรือแม่น้ำรับดิ) ๔. แม่น้ำสรภู ๕.แม่น้ำมหี

          ๑๐.ภาคะรถี แม่น้ำภาคีรถีเป็นแควหนึ่งของแม่น้ำคงคาตอนบนแม่น้ำภาคีรถีไหลผ่านแคว้นปัญจาละ

          ๑๑. มหี แม่น้ำเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที

          ๑๒. ยมุนา แม่น้ำยมุนาเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที บรรดาแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมุนามีดังนี้
     แคว้นกาสี ตั้งอยู่ตอนบรรจบของแม่น้ำยมุนาและคงคา
     แคว้นวังสะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ำยมุนา นครหลงชื่อกรุงโกสัมพี ตั้งอยู่เหนือฝั่งแม่น้ำยมุนา
     แคว้นกุรุ ตั้งอยู่บนลุ่มแม่น้ำยมุนาตอนบน
     แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับตอนบน
     แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง

          ๑๓. โรหิณี แม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นศายะกับแคว้นโกลิยะ แคว้นทั้งสองได้เกิดกรณีพิพาทอันมีมูลเหตุจากการแย่งกันใช้น้ำจากแม่น้ำโรหิณีเพื่อทำการเกษตร จนเกือบจะเกิดสงคราม พระพุทธเจ้าทรงเสด็จมาระงับการวิวาทระหว่างพระญาติทั้ง ๒ ฝ่ายจนสงบลงได้
     พระมหาสาวกอานนท์ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำประองค์ของพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้นเมื่อพระอานนท์ดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติทั้งสองฝ่ายคือ ศากยะและโกลิยะ

          ๑๔. วัคคุมุทา พระมหาสาวกยโสชะ เป็นบุตรหัวหน้าชาวประมงใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนากปิลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช ต่อมาไปเจริญสมณธรรมที่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมาทา ได้สำเร็จพระอรหัต

          ๑๕. สรภู แม่น้ำสรภูเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่า ปัญจมหานที

          ๑๖. สัลลวตี แม่น้ำสัลลวตีเป็นแม่น้ำที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบทหรือถิ่นกลางที่มีความเจริญรุ่งเรือง กับปัจจันตชนบทหรือหัวเมืองชั้นนอกถิ่นที่ยังไม่เจริญ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ นับจากแม่น้ำสัลลวตีเข้ามาถือเป็นเขตมัชฌิมชนบท

          ๑๗. สินธุ แม่น้ำสินธุไหลผ่านแคว้นในมหาชนบท ๑๖ ดังนี้
     แคว้นมัจฉะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนบน
     แคว้นสุรเสนะ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสินธุกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง
     แคว้นคันธาระ ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสิธุตอนบน

          ๑๘. โสน แคว้นมคธตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโสนกับแคว้นอังคะ โดยมีแม่น้ำคงคาอยู่ทางทิศเหนือ มีภูเขาวินทัยอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก

          ๑๙.หิรัญวดี แม่น้ำหิรัญวดีนับเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม โดยพระพุทธองค์เสด็จไปเมืองกุสินาราในวันที่จะดับขันธปรินิพาน ทรงข้ามแม่น้ำหิรัญวดีเข้าสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำแห่งนี้ ณ สาลวโนทยาน พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแม่น้ำหิรัญวดี ไหลลงไปบรรจบกับแม่น้ำสรภู

          ๒๐. อจิรวดี แม่น้ำอจิรวดี เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในแม่น้ำสำคัญ ๕ สายที่เรียกว่าปัญจมหานที แม่น้ำอจิรวดี (หรือที่เรียกว่ารับดิ) มีพระนครสาวัตถี นครหลวงของแคว้นโกศลตั้งอยู่บนฝั่งลำน้ำ และจุดที่บรรจบของแม่น้ำอจิรวดีกับแม่น้ำคันธกะเป็นที่ตั้งของนครกุสินาราเมืองหลวงของแคว้นมัลละ

          ๒๑. อโนมา แม่น้ำอโนมากั้นพรมแดนระหว่งแคว้นสักะกับแคว้นมัลละ เมื่อพระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา ทรงม้ากัณฐกะเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ยามเที่ยงคืน ครั้นยามเช่ามาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งให้นายฉันนะอำมาตย์คนสนิทนำม้าพระที่นั่งและเครื่องประดับสำหรับขัตติราชทั้งหมดกลับคืนพระนคร ทรงตัดพระเมลีด้วยพระขรรค์อธิฐานเพศพรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำอนโนมานี้

          ๒๒. อสิคนี แม่น้ำอสิคนี หรือจันทรภาค ไหลผ่านแคว้นมัททะนครหลวงชื่อสาคละ ตั้งอยู่เหนือแม่น้ำอสิคนีหรือจันทรภาคบุตรแม่น้ำมหานที และแม่น้ำกฤษณาไว้อีกด้วย



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:13:34 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการและพุทธจริยา ๓ ประการ"

งานการสอนธรรม เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวงและอำนงยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้า จึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่าพุทธกิจ ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ ของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ

     พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ

     พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ
     พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
     พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค้ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย
     พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย
     พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น

     พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่าทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่าไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

     หลังจากที่บุคคลนั้น ๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าคือทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ? มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้นการแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์ จึงบังเกิดผล เป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย คือสามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

     พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์ ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้

     พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้



"หลักในการตอบ ๔ วิธี"

คนที่เผ้าพระพุทธเจ้านั้นมีทุกระดับฐานะทางสังคม คือจากบุคลระดับพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้น ลงไปจนถึงจัณฑาลที่เป็นวรรณะต้องห้ามสำหรับคนในสมัยนั้น เจตนารมณ์ในการมาเฝ้าพระบรมศาสดานั้นก็แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะคนที่ถือตนเองว่าเป็นนักปราชญ์มักจะมาเฝ้าเพื่อต้องการทดสอบทำนองลองดีก็มีอยู่ไม่น้อย แต่ในฐานะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงชี้แจงแสดงธรรมให้คนเหล่านั้นเข้าใจเหตุผลที่ถูกต้อง กลายเป็นคนอ่อนน้อมยอมตนนับถือพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก จนถึงกับสร้างความริษยาอาฆาตให้เกิดขึ้นแก่กลุ่มผลประโยชน์ คือคณาจารย์เจ้าลักธิที่มีอยู่ก่อน แม้ว่าคนเหล่านั้นเพียรพยายามทำลายพระบรมศาสดาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ต้องพ่ายแพ้พุทธานุภาพไปในที่สุด

ในกรณีของคนที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหานั้น พระบรมศาสดาทรงมีหลักในการตอบ ๔ วิธีด้วยกันคือ

     ๑. เอกังสพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไปโดยส่วนเดียวอย่างเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

     ๒. วิภัชพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัวไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ว่าคนตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ? พระบรมศาสดาจะทรงตอบจำแนกไปตามเหตุผล คือ เมื่อเหตุให้เกิดมี อยู่การเกิดก็ต้องมี เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี

     ๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญหาที่ถามมานั้นเองย้อนถามไปอีกทีแล้วจะออกมาเป็นคำตอบเอง

     ๔. ฐปนียะ ปัญหาบางเรื่องบางอย่าง เป็นเรื่องไร้สาระบ้างตั้งคำถามผิดบ้าง พูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้ฟังบ้าง พระบรมศาสดาจะทรงนิ่งเสียไม่ตอบ เพราะพระพุทธเจ้าดำรัสทุกคราวของพระพุทธเจ้าวางอยู่บนหลักที่ว่า "ต้องเป็นเรื่องจริง เป็นธรรมมีประโยชน์ เหมาะสมแก่กาล คนฟังอาจจะชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็ได้ แต่ถ้าคุณสมบัติ ๔ ประการข้างต้นมีอยู่จะตรัสพระดำรัสนั้น"



"หลักในการแสดงธรรม ๔ วิธี"

ชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลมีความเจริญก้าวหน้าในด้านศาสนาและปรัชญาอย่างสูง พระพุทธเจ้าจึงเปรียบด้วยประทีปดวงใหญ่ในท่ามกลางดวงประทีปเป็นอันมาก ชนชาวชมพูทวีรอคอยศาสดาเช่น พระพุทธองค์มานาน เมื่อบังเกิดขึ้นในโลกจริง ๆ จนมีพยานยืนยันการตรัสรู้ของพระองค์เป็นอันมาก และคนที่มายอมตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคแรก ล้วนเป็นคนชั้นนำในสังคมทั้งนั้นคือ คณาจารย์นักบวช พระราชา เศรษฐี ขุนนางอำมาตย์ ข้าราชการผู้ใหญ่ การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระองค์ จึงก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็วมาก

ในช่วงตอนต้นพุทธกาลนั้นมีกษัตริย์ระดับมหาราช ๔ ประองค์ คือพระเจ้าพิมพิสาร (แคว้นมคธ) พระเจ้าปเสนทิโกศล (แคว้นโกศล) พระเจ้าจัณฑปัชโชติ (แคว้นอวันตี) และพระเจ้าอุเทน (แคว้นวังสะ) ทรงแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่แคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีป เช่นสักกะ วัชชี มัลละ กุรุ ปัญจาละ อังคะ มคธ กาสี โกศล วังสะ อวันตี เป็นต้น ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่รวดเร็วมาก โดยที่พระพุทธเจ้าไม่เคยอาศัยพระราชอำนาจของพระราชาเหล่านั้นเข้าช่วยสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเลย พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการในการแสดงธรรมของพระองค์ซึ่งอาจจัดได้เป็น ๔ วิธีคือ

          ๑. ยอมรับ พระพุทธเจ้าทรงยอมรับนับถือคำสอนของนักปราชญ์ต่าง ๆ ที่มีมาก่อนหรือร่วมสมัยกับพระองค์ ในกรณีที่คำสอนนั้นเป็นเรื่องจริงในธรรม มีประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ

          ๒. ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแบบตรงกันข้าม เช่นคนในสมัยพุทธกาลถือว่า การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก กับการแสวงหาความสุขจากกามคุณ เป็นทางแห่งความสุข ความหลุดพ้นพระพุทธเจ้าทรง ปฎิเสทตั้งแต่พระธรรมเทศนาครั้งแรกว่าเป็น หนทางที่บรรพชิตไม่ควรเสพ หรือเขาถือว่าการทรมานตนเป็นตบะ แต่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าขันติเป็นบรมตบะ เขาสอนว่า การอยู่ร่วมกับปรมาตมัน บรมพรม พระพรหมว่าเป็นบรมธรรม พระบรมศาสดาทรงแสดงว่า นิพพานเป็นบรมธรรม เขาสอนว่า การฆ่าสัตว์ทุกชนิดเป็นบาป เป็นต้น

          ๓. ปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการ เจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโปสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธเจ้าทรงปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงหลักการเจตจำนง และวิธีการที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น เรื่องการจำพรรษา การลงอุโบสถเป็นข้อปฏิบัติที่ทำกันมาก่อน พระพุทธศาสนาว่าภิกษุ สมณะ บรรพชิต นักบวช เป็นต้น ทรงปฏิรูปโดยนิยามความหมายเสียใหม่เพราะการเผยแผ่ศาสนาจำต้องอาศัยถ้อยคำที่เขาพูดกันในสมัยนั้น จึงต้องใช้ตามโดยการนิยามความหมายเสียใหม่ คำในพระพุทธศาสนาเป็นอันมากที่ทรงแสดงจึงต้องมีการไขความให้เข้าใจตามหลักของพระพุทธศาสนา หลักการปฏิรูปจึงหมายถึงการกระทำความเชื่อนั้น ๆ มีส่วนดีอยู่บ้าง แต่ยังมีความบกพร่องอยู่ จึงทรงปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้น

          ๔. หลักการใหม่ พระพุทธเจ้าทรงตั้งหลักการขึ้นใหม่ คือเรืองนี้ไม่มีการสั่งสอนกันในสมัยนั้นเช่นหลักอริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทอนัตตานิพพาน เป็นต้น



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:16:00 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข



"พุทธกิจ ๔๕ พรรษา"

     เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ในระหว่างเวลา ๔๕ ปี แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ จวบจนทรงดับขันธปรินิพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษานั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ สถานที่ต่าง ๆ ซึ่งท่านได้ประมวลไว้ พร้อมทั้งเหตุการณ์สำคัญบางอย่างอันควรสังเกตดังนี้

พรรษาที่ ๑ (ปีระกา)
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี

     ภายหลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แล้วพระองค์ทรงประทับเสวยวิมุตติสุข คือสุขอันเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเวลา ๗ สัปดาห์จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินจากโพธมณฑล ดำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี แคว้นกาสี ใช้เวลาเสด็จพุทธดำเนิน ๑๑ วัน เสด็จถึงป่าอิสิปตนฤคทายวันใน เวลาเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ปีระกา
     พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักรกัปปนวัตตนสูตร" ทำให้เกิดมีปฐมสาวกและพระอริยบุคคลคือ พระอัญญาโกณฑัญญะเกิดสังฆรัตนะ คำรบพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นโดยบริบูรณ์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ อันเป็นที่มาขาองการบูชาในเดือน ๘ คือ"อาสฬบูชา"
     พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัจจวัคคีย์ ได้บรรลุพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์ จากนั้นทรงแสดงธรรมโปรดพระยสะภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหัตถผล ครั้งนั้นมีบุตรเศรษฐีชาวเมืองพารณสี ๔ คน ซึ่งเป็นสหายรักของพระยสะ เข้าเฝ้าฟังธรรมได้อุปสมบท ๕๐ คน ได้สดับธรรมและอุปสมบทได้บรรลุพระอรหัตถผลด้วยกันทั้งหมด จึงเกิดมีพระอรหันต์รวมทั้งพระบรมศาสดาด้วย ๖๑ องค์
     ในตอนปลายพรรษาที่ ๑ พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปยังดำบลอุรุเวลา ตำบลใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แคว้นมคธ อีกครั้งหนึ่งทรงทรมานอุรุเวลากัสสปด้วยอิทิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนอุรุเวลกัสสปผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ของนักบวชชฏิล ละทิ้งลัทธิบูชาไฟยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชลฎิผู้น้องอีกสองคนพร้อมบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตรจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ทั้งสามพี่น้องคณาจารย์ชฏิลพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์ จากนั้นพระบรมศาสดาได้เสด็จสู่พระนครราชคฤห์

พรรษาที่ ๒-๓-๔ (ปีจอ-กุน-ชวด)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชกฤห์

     พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ ลัฏฐิวัน สวนตาลหนุ่มอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระนครราชกฤห์ พระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองพระนครและแคว้นมคธ เข้าเฝ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนมาก ทรงสดับพระธรรมเทศนา ได้ธรรมจักษุ ประกาศพระองค์เป็นอะบาสกและถวายพระเวฬุวัน ซึ่งเป็นป่าไผ่สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล จากพระนครราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ร่มรื่นเงียบสงบ มีหนทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ที่ ๒-๓-๔ เป็นลำดับการแห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นในชมพูทวีป พระบรมศาสดาพร้อมด้วย พระอรหันต์สาวกทรงทุ่มเทจนพระพุทธศาสนาสามารถสถิตตั้งมั่นหยั่งรากลงลึกและแผ่กิ่งก้านสาขาไปสู่ปริมณฑลด้านกว้างในชมพูทวีป
     ในลำดับกาลนี้พระบรมศาสดาได้ทรงตั้งตำแหน่งคู่แห่งอัครสาวกคือ พรสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงเสด็จนครกบิลพัสดุ์ เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ อนาถบิณฑิกเศรษฐีแห่งนครสาวัตถีประกาศตนเป็นอุบาสก และเริ่มต้นสร้างพระเชตุวันมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระบรมศาสดา

พรรษาที่ ๕ (ปีฉลู)
ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี

     ในพรรษานี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่กูฏาคาร ณ ป่ามหาวัน นครเวสาลี (ไพศาลี) ในกาลนี้พระองค์ทรงเสด็จจากกูฏาคารไปโปรดพระพุทธบิดาปรินิพานที่กรุงกบิลพัสดุ์ และโปรดพระญาติทั้งฝ่ายศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ที่วิวาทเรื่องแย้งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อการเกษตรกรรม โดยประทับที่นิโครธารามอันเป็นพระอารามที่พระญาติทรงสร้างถวายอยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้าทูลอนุญาตให้สตรีละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย พระบรมศาสดาตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง
     ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์กลับไปประทับจำพรรษาที่กูฏาคาร ป่ามหาวัน นครเวสลี ครั้นนี้พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ถึงกับปลงผมนุ่งผ้ากาสวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์มายังป่ามหาวัน ณ ที่นี้ พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประทานอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีบวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีรับคุรุธรรม ๘ ประการ ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

พรรษาที่ ๖ (ปีขาล)
ณ มกุลบรรพต

     ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่มกุลพรรพต (สันนิษฐาว่า ภูเขานี้อยู่ในแคว้นมคธหรือแคว้นโกศล หรือบริเวณใกล้เคียง) แต่ใน "ปฐมสมโพธิกถา" ระบุว่า "เสด็จไปสถิตบนมกุฎบรรพตทรงทรมานหมู่อสุร เทพยดา และมนุษย์ให้ละเสียพยศอันร้ายแล้วและให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
     ในพรรษาที่ ๖ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถิคือ การแสดงน้ำคู่กับไฟ เพื่อสยบพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ในที่สุดแห่งยมกปาฏิหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัทเพราะได้เห้นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก

พรรษาที่ ๗ (ปีเถาะ)
ณ ดาวดึงส์เทวโลก

     เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้นแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จขึ้นเทวพิภพชั้นดาวดึงส์ทันที โดยทรงยกพระบาทขวาขึ้นจากจงกรมแก้วก้าวขึ้นเหยียบยอดภูเขายุคันธร แล้วยกพระบาทซ้ายก้าวขึ้นหยียบยอดเขาสิเนรุ ทรงประทับนั่งบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ภายใต้ร่มไม้ปาริชาต ท้าวสักกะเทวราชจอมภพผู้ปกครองดาวดึงสเทวโลกสวรรค์ชั้นที่ ๒ ป่าสวรรค์ ๖ ชั้น เสด็จขึ้นสู่สุสิตเทวพิภพสวรรค์ชั้นที่ ๔ เข้าเฝ้าพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมารดา ทูลอัญเชิญให้เสด็จไปเผ้าพระบรมศาสดาตามพุทธประสงค์
     พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาตลอดสามเดือนเทพยาดาในโลกธาตุที่มาประชุมฟังธรรมอยู่ที่นั้นบรรลุมรรคผลสุดที่จะประมาณ ส่วนพระมหามายาเทพเจ้าผู้เป็นพระพุทธมาดา ได้ทรงบรรลุพระโสดาปัตติผลสมพระประสงค์ของพระบรมศาสดา

พรรษาที่ ๘ (ปีมะโรง)
ณ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี

     เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจาดาวดึงสสวรค์ในท่ามกลางเทพยาดาและพรหมเป็นอันมาก มหาชนทั้งหลายต่างแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว พระบรมศาสดาทรงเสด็จดำเนินสูป่าไม่สีเสียดใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๘ ณ ป่าไม้สีเสียดเภสกลาวัน
     ในกาลนั้นมีสองสามีภรรยาคฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี มีนามว่านุกุลบิดา และนกุลมารดา เข้าเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่น ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงทรรมโปรดทั้งสองสามีบรรยาได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย ส่วนท่านนกุลมารดาก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกกาผู้สนิทสนมคุ้นเคย

พรรษาที่ ๙ (ปีมะเส็ง)
ณ วัดโฆษิตาราม เมืองโกสัมพี

     ในพรรษที่ ๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่วัดโฆษิตารามซึ่งเป็นวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี นครหลวงของแคว้นวังสะ พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดประชากรให้ตั้งอยู่นมรรคผลเป็นพุทธมามกะ ปฏิญาณตนตั้งอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นจำนวนมาก
     แต่ในกาลนั้น ภิกษุสงฆ์ในเมืองโกสัมพีเกิดแตกแยกกันแม้พระพุทธเจ้าประทานโอวาทแล้วก็ยังดื้อดึงตกลงกันไม่ได้ จนถึงกับแบ่งแยกกันทำอุโบสถ ฝ่ายหนึ่งทำอุโบสถทำสังฆกรรมภายในสีมาแต่อีกฝ่ายหนึ่งออกไปทำอุโบสถทำสัฆกรรมภายนอกสีมา ภิกษุสงฆ์ได้เกิดการแตกแยกกันขั้นนี้เรียกว่า "สังฆเภท"

พรรษาที่ ๑๐ (ปีมะเมีย)
ณ ป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ

     พระพุทธเจ้าทรงปลีกประองค์จากหมู่สงฆ์ผู้แตกแยกสร้างความวุ่นวายด้วยเหตุสังฆเภท พระบรมศาสดาเสด็จจากวัดโฆษิตารม กรุงโกสัมพี เสด็จไปยังแดนบ้านแห่งหนึ่งชื่อ "ปาริเลยยกะ" อยู่ใกล้กรุงโกสัมพี พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับ ณ ร่มไม้ภัทรสาละพฤกษ์ในป่ารักขิตวัน ตำบลปาริเลยยกะ ทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๐ ด้วยความสงบสุข โดยมีพญาช้างปาริเลยยกะคอยบำรุงดูแลพิทักษ์และรับใช้พระบรมศาสดาอย่างใกล้ชิด

พรรษาที่ ๑๑ (ปีมะแม)
ณ ทักขิณาคีรี หมู้บ้านพราหมร์เอกนาลา

     ในพรรษาที่ ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ ทักขิณาคีรี หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อว่า เอกนาลา

พรรษาที่ ๑๒ (ปีวอก)
ณ เมืองเวรัญชา

     ในพรรษาที่ ๑๒ นี้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาที่ปุจิมัณฑมูล ณ ควงไม้สะเดา ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต อยู่ใกล้เมืองเวรัญชา จากนั้นเสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกผ่านเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยาคะ เสด็จออกจากเมืองโสเรยยะ ผ่านเมืองท่าปยายาคะ เสด็จข้ามแม่น้ำคงคาที่ท่าเมืองปยาคะ แล้วเสด็จไปยังเมืองพาราณสี จากนั้นเสด็จจาริกไปนครเวสาลี เข้าประทับที่กูฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นประถม กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา

พรรษาที่ ๑๓ (ปีระกา)
ณ จาลิยบรรพต

     ในพรรษที่ ๑๓ นี้ พระพุทธทรงประทับจำพรรษาที่จาลิยบรรพต

พรรษาที่ ๑๔ (ปีจอ)
ณ พระเชตวันมหาวิหาร นครสาวัตถี

     ในพรรษานี้พระพุทธเจ้าทรงประทับที่พระเชตวันมหาวิหารเป็นพรรษาแรก มหาวิหารแห่งนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นมหาอุบาสกคนสำคัญสร้างถวาย เป็นมหาวิหารที่ใหญ่โตยังความสะดวกและความสงบได้ยิ่งกว่าวิหารใดในชมพูทวีป พระพุทธเจ้าทรงประทับพรรษาอยู่ ณ มหาวิหารแห่งนี้ถึง ๑๙ ฤดูฝน พระธรรมส่วนใหญ่แสดงที่มหาวิหารแห่งนี้

พรรษาที่ ๑๕ (ปีกุน)
ณ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์

     ในพรรษาที่ ๑๕ นี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่นิโครธารามอารามที่พระญาติสร้างถวายอยู่ใกล้นรกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ว่า "กบิลพัสดุ์" เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส ซึ่งเดิมอยู่ในดงไม้สักกะ หิมพานต์ประเทศ พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกการาชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามว่า "กบิลพัสดุ์" แปลว่า ที่อยู่หรือที่ดินของกบิลดาบส

พรรษาที่ ๑๖ (ปีชวด)
ณ อัคคาฬวเจดีย์วิหาร เมืองอาฬวี

     ในพรรษาที่ ๑๖ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองอาฬวี ทรงแสดงพุทธอิทธานุภาพปราบฤทธิ์เดชของอาฬวกยักษ์ ทรงพยากรณ์แก้ปัญหาที่อาฬวกยักษ์ทูลถาม ทำให้อาฬวกเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรมสิ้นความโหดร้าย ตั้งอยู่ในภูมิโสดาปัตติผลมอบตนลงเป็นทาสพระรัตนตรัยตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงช่วยให้ประชากรชาวเมืองอาฬวีตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมให้เป็นสมาบัติปลุกให้เกิดความเมตตาปรานีกันทั่วหน้า
พรรษาที่ ๑๗ (ปีฉลู)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์

     ในพรรษาที่ ๑๗ นี้ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์ อันเป็น สังฆารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง

พรรษาที่ ๑๘-๑๙(ปีขาล-เถาะ)
ณ จาลิยบรรพต

     ในพรรษาที่ ๑๘ และพรรษาที่ ๑๙ นี้ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับไปประทับจำพรรษา ณ จาลิตบรรพต ซึ่งพระบรมศาสดาเคยประทับจำพรรษามาแล้วในพรรษาที่ ๑๓

พรรษาที่ ๒๐ (ปีมะโรง)
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนครราชคฤห์

     ในพรรษานี่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกลับมาประทับจำพรรษา ณ สังฆารามแห่งแรกนี้เป็นการประทับจำพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ณ พระเวฬุวันวิหาร พระบรมศาสดาทรงโปรดองคุลิมาลโจรให้กลับใจได้ขอบวชและต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต ในลำดับกาลพรรษานี้ พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำพระองค์พระพุทธเจ้า

พรรษาที่ ๒๑ - พรรษาที่ ๔๔
ณ พระเชตวันและบุพพาราม นครสาวัตถี

     นับจากพรรษาที่ ๒๑ ถึงพรรษาที่ ๔๔ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เป็นระยะเวลานานที่สุด พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษา ณ พระเชตวันมหาวิหาร ๑๙ ฤดูฝน (ในพรรษาที่ ๑๔ ทรงประทับจำพรรษาที่พระเชตวันมาแล้ว ๑ พรรษา) อีก ๖ ฤดูฝนเปลี่ยนไปประทับ ณ วิหารบุพพาราม ที่นางวิสาขา มิคารมารดามหาอุบาสิกาสำคัญสร้างถวายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับมหาเชตวันโดยประทับสลับไปมา แต่มีคำอธิบายอีกนัยหนึ่งว่า เวลากลางวันประทับ ณ วิหารแห่งหนึ่ง และกลางคืนเสด็จไปแสดงธรรม ณ วิหารอีกแห่งหนึ่งเป็นสถานที่ประทับอันนับเนื่องด้วยชีวิตการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้าตลอด ๒๔ ฤดูฝน

พรรษาที่ ๔๕ (ปีมะเส็ง)
ณ เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี

     ในพรรษาสุดท้ายนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่ตำบล เวฬุวคาม ใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์เป็นครั้งสุดท้ายและทรงปลงอายุสังขาร ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ณ ปาวาลเจดีย์ ว่าพระตถาคตจักปรินิพพานแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน
     ในการต่อมา พระบรมศาสดาทรงพาพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เสด็จไปในครเวสาลี เสด็จประทับอยู่ที่กูฏาคารในป่ามหาวัน ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาโปดมวลกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย จากนั้นทรงพาระภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จประทับยืนอยู่หน้าเมืองเสาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์ มาทอดพระเนตรเมืองเวสาลีประหนึ่งว่าทรงอาลัยเมืองเวสาลีเป็นที่สุด พร้อมกับรับสั่งกับพระอานนท์ผู้ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าความว่า
     "อานนท์ การเห็นเมืองเวสาลีของตถาคตครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา" คือเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย แล้วพระบรมศาสดาเสด็จกลับไปประทับยังกูฏาคารในป่ามหาวัน
     สถานที่เสด็จประทับยืนทอดพระเนครโดยพระอาการที่แปลกจากเดิมพร้อมทั้งรับสั่งเป็นนิมิตเช่นนั้นเป็นเจดีย์สถานอันสำคัญเรียกว่า "นาคาวโลกเจดีย์" นาคาวโลกคือ การเหลียวมองอย่างพญาช้าง มองอย่างข้างเหลียวหลัง คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด ซึ่งเป็นอาการที่พระพุทธเจ้าทรงทำเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว
     ในลำดับกาลต่อมา พระบรมศาสดาทรงเสด็จพาพระภิกษุสงฆ์ออกจากกูฏาคาร เสด็จไปยังบ้านภัณฑุคาม บ้านหัตถีคาม บ้านอัมพะคาม บ้านชัมพูคาม และโภคนครโดยลำดับ ภายหลังจากแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนครและ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปยังเมืองปาวานคร เสด็จเข้าประทับพำนักอยู่ที่อัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนกัมมารบุตรซึ่งอยู่ใกล้เมืองปาวานั้น
     ครั้นนายจุนทะได้ทราบข่าว รีบเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาฟังพระธรรมเทศนาโปรด นายจุนทะได้กราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้ากับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ให้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตยังนิเวศน์ของตน ครั้นรุ่งเช้าเมื่อได้เสด็จไปยังนิเวศน์ของนายจุนทะ พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่นายจุนทะว่าสุกรมัททวะซึ่งท่านตกแต่งไว้นั้น จงอังศาสเฉพาะคถาคตผู้เดียวที่เหลือนั้นให้ขุดหลุมฝังเสีย และจงอังคาสภิกษุสงฆ์ทั้งหลายด้วยอาหารอย่างอื่น ๆ เถิด
     ครั้นกลับสู่อัมพวัน พระบรมศาสดาทรงประชวรพระโรคโลหิตปักขัณทิกาพาธ คือโรคท้องร่วงเป็นโลหิต มีพระกำลังล้าลงเกิดทุกขเวทนามาก ทรงตรัสสั่งสอนพระอานนท์ว่า "อานนท์ มาเราจะไปเมืองกุสินารา" พระอานนท์รับพระบัญชาแล้ว จึงรีบแจ้งให้พระสงฆ์ทั้งหลายเตรียมตามเสด็จไว้พร้อม
     ระหว่างทางที่เสด็จไปยังนครกุสินาราพระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ ตรัสเรียกพระอานนท์ไปตักน้ำในแม่น้าสายเล็กมีน้ำน้อยและกองเวียน ๕๐๐ เล่มเพิ่งผ่านข้ามไป ครั้นพระอานนท์ไปตักน้ำที่ขุ่นข้นได้กลับกลายเป็นน้ำใสสะอาดปราศจากมลทิน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พระบรมศาสดาทรงขอน้ำเสวยในขณะเดินทางยังไม่ถึงที่พัก
     พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านข้ามแม่น้ำกกุธานทุนี พระอานนท์ทูลเชิญให้เสวยและสรงชำระพระกายที่ตรากตรำมาในระยะทาง แล้วเสด็จขึ้นมาประทับยังร่มไม้และเสด็จบรรทม ลำดับต่อมาพระบรมศาสดาทรงเสด็จพระพุทธดำเนินต่อพร้มด้วยพระภิกษุสงฆ์ทรงเสด็จดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญวดี อันเป็นแม่น้ำสายสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม มุ่งสู่สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
     ในกาลนั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำของวันเพ็ญ เดือน ๖ พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้พระอานนท์ปูลาดที่บรรทมระหว่างต้นสาละใหญ่ ๒ ต้น ทรงเอนพระวรกายลงโดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ประทับไสยาสน์ แบบสีหไสยาเป็นอนุฏฐานไสยา คือการนอนครั้งสุดท้ายไม่แปรเปลี่ยนจนกระทั่งสังขารดับ
ครั้งนั้น ต้นสาละทั้งคู่พลันผลิดอกออกบานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระบูชาพระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์ แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ตลอดจนทิพยสุคนธชาติก็ตกลงมาจากอากาศ ยังเทพเจ้าทั้งหลายก็ประโคมดนตรีทิพย์บันลือลั่นเป็นมหานฤนาท บูชาพระตถาคตในอวสานกาล
     ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพานและหากจะมีภิกษุบางรูปดำริว่า พระศาสนาของเราปรินิพพานแล้ว อานนท์ท่านทั้งหลายไม่ควรดำริอย่างนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริง วินัยที่เราได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี เมื่อเราล่วงไป ธรรมและวินัยนั้น ๆแลจักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"
     ลำดับต่อมา พระบรมศาสดาได้ประทานปัจฉิมโอวาทความว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั่งหลายจงบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
     เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระโอวาทประทาน เป็นวาระสุดท้ายเพียงเท่านี้แล้วก็หยุด มิได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุปุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมลำดับ จนกระทั่งทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติที่ ๙ จากนั้นทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ถอยออกจากสมาบัตินั้น โดยปฏิโลมเป็นลำดับจนถึงปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน และทรงเข้าทุติยฌาน อีกวาระหนึ่ง ออกจากทุติยฌานแล้วทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้วทรงเข้าจตุตถฌาน
     เมื่อออกจากจตุตถฌานแล้ว พระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีสาขปรุณมี เพ็ญ เดือน ๖ มหามงคลสมัย ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วก็บังเกิดมหัศจรรย์แผ่นดินไหวสั่นกลองทิพย์บันลือลั่น กึกก้องสัททสำเนียงเสียงสนั่นในอากาศเป็นมหาโกลาหลในปัจฉิมกาล ดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้ในเมืองสวรรค์ ตกโปรยปรายละลิ่วลงมาจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วนครกุสินารา พร้อมกับขณะเวลาปรินิพพานของสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก



"เวสารัชชญาณในฐานะทั้ง ๔"

     เวสารัชชญาณ คือพระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั้นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท่วงพระองค์ได้ โดยชอบธรรมในฐานะ ทั้ง ๔ คือ

          ๑. ท่านปิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้แล้ว

          ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณสาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว (ขีณาสพ มีความหมายถึง ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว, ผู้หมดกิเลส , พระอรหันต์)

          ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง

          ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง



"พุทธคุณ ๙ ประการ"

     คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการคือ

          ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์

          ๒. สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ

          ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

          ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว

          ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก

          ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า

          ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

          ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว

          ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค

     พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อมี ๒ คือ

          ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
          ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

     พุทธคุณตามที่นิยมกว่ากันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ

          ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
          ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
          ๓. พระมหากรุณาคุณ ประคุณ



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:16:59 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"

     พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ (อริยสัจ มีความหมายถึง ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยะ มี ๔ อย่างคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ดังนั้น คำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของอริยสัจทั้ง ๔ แต่ที่ทรงแสดงออกไปพิศดารมากจนถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อย่างที่ท่านว่าไว้ เพราะอัธยาศัยของผู้ฟังแตกต่างกันนั้นเอง การที่ท่านสรุปพระธรรมทั้งมวลลงในอริยสัจนั้น หมายความว่า พระธรรมแต่ละข้อที่ทรงแสดงนั้นจะต้องอยู่ในกลุ่มของอริยสัจ ๔ ไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง คือ

๑. กลุ่มทุกขสัจ

     กลุ่มทุกขสัจ ได้แก่กลุ่มที่เป็นปริญญาตัพพธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาให้รู้ เพื่อกำหนดให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เป็นธรรมกลุ่มที่เป็นผลมาจากกิเลส จำต้องศึกษาให้รู้ไว้ในด้านประเภทฐานะ ภาวะ ลักษณะของธรรมเหล่านั้น แต่ไม่อาจที่จะแก้ไขอะไรได้ ธรรมกลุ่มนี้ เช่น

          ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน นามรูปได้แก่ รูป ๑ นาม ๔ คือ
          รูปขันธ์ กองรูปได้แก่รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ส่วนนาม ๔ ได้แก่
          เวทนาขันธ์ คือกองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ กองสังขาร ได้แก่ จิต ๘๙ ดวง
          อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กลืนกินเข้าไปทางปากผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ วิญญาณาหาร อาหารคือ วิญญาณ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือ มโนสัญเจตนา
          อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
          โลกธรรม ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์
          อายตนะ ๘ คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะกับกาย ใจกับอารมณ์ (โผฎฐัพพะ มีความหมายถึง อารมณ์ที่จะพึงพูกต้องด้วยกาย , สิ่งที่ถูกต้องกายเช่น เย็น ร้อน อ่น แข็ง เป็นต้น)
          วิญญาณฐิติ ๗ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณอันเกิดขึ้นด้วยการถือปฎิสนธิในกำเนิด ๔ ได้แก่
                    ๑. สัตว์ที่มีร่างกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบากพวก วินิบาตบางพวก (วินิบาต มีความหมายถึงสัตว์ในนรกหรืออสุรกาย)
                    ๒.สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ เทพผู้เกิดในชั้นพรหม ด้วยอำนาจปฐมฌาน และสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ ๔
                    ๓. สัตว์ ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พรหมชั้นอาสัสรา (พรหมโลกชั้นที่ ๖ จากที่อยู่ของพรหมซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
                    ๔. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ พรหมชั้น สุภกิณหะ (พรหมโลกชั้นที่ ๙ จากที่อยู่ของรูปพรหม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
                    ประเภทที่ ๕ ที่ ๖ และ ๗ ได้แก่ ท่านที่เกิดในอรูปภูมิด้วยกำลังแห่งอรูปฌาน และมีชื่อตามฌานข้อนั้น ๆ

          แม้ประเภทแห่งทุกข์ที่ทรงแสดงในอริยสัจ ๔ คือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ก็อยู่ในกลุ่มของรูปที่จะต้องกำหนดรู้ กล่าวโดยสรุป ธรรมในกลุ่มนี้คือพวกที่เป็น "ธรรมชาติอันเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา" ทั้งหลายนั้นเอง

๒.กลุ่มสมุทัยสัจ

     กลุ่มสมุทัยสัจ ที่เรียกว่า ปหาตัพพธรรม คือธรรมที่เรียนให้รู้แล้วควรละ อันได้แก่พวกกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกตามอาการของกิเสส เหล่านั้น เช่น

          อัสสมิมานะ ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวตน หรือมีตัวตน เป็นต้น

          อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

          ตัณหา ๓ คือ "กามตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากได้ในวัตถุกามด้วยอำนาจของกิเลสกาม "ภวตัณหา" ความอยากมีอยากเป็นต่าง ๆ ด้วยอำนาจสัสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป) "วิภวตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นจนถึงอยากขาดสูญไปเลยด้วยอำนาจของอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ) และตัณหาในอายตนะภายนอก ๖ คือ ตัณหาทั้ง ๓ ประการที่เกิดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ , สิ่งที่ใจนึกคิด)

          นิวรณ์ คือสิ่งที่กั้นจิตคนไว้มิให้บรรลุความดี ท่านเรียกว่านิวรณ์มี ๕ ประเภทคือ
               ๑. กามฉันทะ คือความรักใคร่ชอบใจในวัตถุกามทั้งหลายมีรูปเป็นต้น
               ๒. พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท มุ่งจองล้างจองผลาญต่อคน สัตว์ที่ตนไม่ชอบ
               ๓. ถีนมิทธะ คือการเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน หงอยเหงา คร้านกายคร้านใจ
               ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านซัดส่ายของใจจนเกิดความรำคาญ
               ๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจ ตัดสินใจในเรื่องอะไรไม่ได้

          โอฆะ กิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำ ห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และห้วงน้ำคืออวิชชา บางคราวเรียกว่า คันถะเพราะทำหน้าที่ร้อยรัดจิตเรียกว่า อาสวะ เพราะหมักหมมอยู่ภายในจิต

          อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต คือกามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหวุดหวิดด้วยอำนาจโสทะ) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ (ความถือตัวถือตน) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ)และอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

          มิจฉัตตะ ๘ คือความเห็นผิด ความดำริผิด การพูดผิด การทำงานงานผิด การเลี้ยงชีวิตผิด ความพยายามผิด การตั้งสติผิด ความตั้งใจมั่นผิด

          กิเลสทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่อกุศลมูล ๓ ประการคือโลภ โกรธ หลง โดยมีรากใหญ่ของกิเลสอยู่ที่อวิชชากับตัณหา

๓.กลุ่มของนิโรธสัจ

     กลุ่มของนิโรธสัจ ที่เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ สมาธิปัญญา เช่น

          เจโตวิมุติ คือการหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิตจน บรรลุฌานแล้วเจริญวิปัสสนาต่อ และปัญญาวิมุตติคือ จิตที่หลุดพ้นด้วยการเจริญวิปัสสนอย่างเดียว จนบรรลุอรหัต

          วิมุตติ ๕ คือ ความหลุดพ้นจากอำนาจของกิเสส ๕ ระดับคือ
          ๑. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยองค์นั้น ๆ เช่น เกิดโกรธขึ้นมาห้ามความโกรธไว้ได้
          ๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกำลังแห่งฌานที่ได้บรรลุ
          ๓. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสอย่างเด็ดขาดโดยกิเลสไม่กำเริบอีกต่อไป
          ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสงบราบคาบ
          ๕. นิสสรณวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสด้วยการออกไปคือ นิพพาน

          สามัญญผล คือ ผลแห่งการบวชหรือจากความเป็นสมณะ ๔ ได้แก่โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

          ธรรมขันธ์ ๕ คือ การทำให้แจ้งในกองแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และ วิมุตติ ในกรณีที่เป็นผล

          อภิญญา ๖ คือว่ารู้ยิ่งหรือความรู้พิเศษ อันเกิดจากเหตุมีความสงบจากกิเลส เป็นต้น ได้แก่
          ๑. อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ ได้ คือความสำเร็จที่เกิดจากจิตสงบบ้างกรรมบ้าง วิชาบ้าง
          ๒.ทิพพโสต หูทิพย์ คือสามารถฟังเสียงเบา หนัก ไกลใกล้ได้ตามความต้องการ
          ๓.เจโตปริยญาณ รู้ความคิด สภาพจิตของคนอื่นได้ว่า ขณะนั้น เขามีความคิดต้องการอะไรเป็นต้น
          ๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติต่าง ๆ ย้อนหลังไปในอดีตได้
          ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
          ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

          อนุบุพพวิหาร ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติคือ ภาวะสงบ ประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)

          อเสกขธรรม คือ ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการ (อเสขะมีความหมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์) คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการ กับสัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ) ที่เป็นผลถาวรอยู่ภายในใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย

          ธรรมกลุ่มที่เป็นสักฉิกาตัพธรรมนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปได้แก่ผลในชั้นต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ แม้องค์ธรรมจะชื่อเหมือนกัน แต่ในกลุ่มนี้ท่านหมายเอาตัวผลเช่นตัวความรู้ที่เกิดจากการเรียน ซึ่งเป็นผลถาวรที่ติดอยู่ในใจคน

๔.กลุ่มทุกขนิดโรธคามินีปฏิปทา

     กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบระงับแห่งทุกข์ ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ต้องลงมือกระทำบำเพ็ญให้บังเกิดขึ้น เช่น

          วิสุทธิหรือปาริสุทธิ ๙ ประการ ได้แก่
             ๑. สีลวิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ หมดจดแห่งศีล ตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล
             ๒. จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต คือจิตที่สงบจากนิวรณธรรม (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม) ทั้ง ๕ ประการเป็นต้น
             ๓.ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งความเห็นคือ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง
             ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความลังเลสงสัย
             ๕.มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่ช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
             ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นซึ่งปฏิทาในการปฏิบัติ
             ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติ
             ๘. ปัญญาวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาเครื่องรู้
             ๙. วิมุตติวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งความหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์

อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ

          ๑. สัมาทิฏทิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
          ๒. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบได้แก่ ดำริในการออกจากกามดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน ๒ ข้อนี้จัดเป็นปัญญาสิกขา
          ๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ คือเว้นจาการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและเพ้อเจ้อ
          ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบคือการเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
          ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ คือการละมิจฉาชีพดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาชีพอันถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม หน้าที่ฐานะและภาวะของแต่ละบุคคล ๓ ข้อนี้ จัดเป็นสีลสิกขา
          ๖. สัมมาวายาม คือ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยามสำรวมระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน พยายามรักษากุศลที่เกิดขั้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
          ๗. สัมมาสติ คือความระลึกชอบ ได้แก่ การระลึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรมอันนำไปสู่ความสงบจิต จนเกิดปัญญาเห็นประจักษ์ชัดว่า กายเวทนา จิต ธรรม นี้ก็สักแต่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ก็เรียกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติ ปัฎฐาน
          ๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ ความสงบจิตอันเกิดจาก ผลแห่งสมถกรรมฐานจนบรรลุฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน

          เมื่อบุคคลปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์แล้วจะเกิดฌานคือความรู้ขึ้น เรียกว่า สัมมาญาณ อันเป็นองค์อริยมรรคที่แท้จริง จิตของท่านผู้นั้นก็เข้าถึงสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและทุกข์โดยชอบ อันเป็นหลักการสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาพระธรรมที่มีชื่ออย่างอื่นอันทรงแสดงไว้โดยพิศดารที่กล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อจัดเป็นกลุ่มธรรมแล้ว จะสงเคราะห์เข้าในกลุ่มธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ศึกษาจนเข้าใจแล้วสามารถสงเคราะห์ได้ด้วยตนเอง



"ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน"

     พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

          ๑. สวากขาตธรรม เป้นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่มีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

          ๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

          ๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

          ๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

                    นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

          อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

          อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น



"หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก"

     พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนประชาชนหลังจากตรัสรู้แล้วเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงมีมากมายรวมเรียกว่า พระไตรปิฎก มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันประกอบด้วย พระวินัยปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระสูตร หรือ พระสุตตันตปิฎก(๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระอภิธรรมปิฎก (๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) เป็นหนังสือภาษาบาหลีจำนวน ๔๕ เล่ม และแปลเป็นภาษาไทยออกมาได้ ๘๐ เล่มขนาดใหญ่

     หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากคือ

     ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือปฐมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ (มี ๕ องค์ คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานานะ,อัสสชิ) เป็นครั้งแรกจนทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันแสดงว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอาจ อาจมีผู้สามารถรู้ตามได้ ในสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ การดับทุกข์ ๑ และทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ๑ ซึ่งทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์นี้ เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
     ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในวันขึ้น ๑๕ คำ เดือน ๘ หลักจากวันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สองเดือน

     ๒. อนัตตลักขณสูตร ในสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ เลย เป็นการสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบังคับให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้
     อนัตตลักณสูตร เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภายหลังจากแสดงปฐมเทศนาแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้สำเร็จพระอรหัตด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้

     ๓. กาลมสูตร พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นนักเสรีประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงสอนให้คนใช้ความคิดด้วยเหตุผลโดยรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าจงอย่าได้เชื่อโดยการอ้างตำรา หรือเพราะครูอาจารย์สอนไว้อย่างนั้น หรือเพราะคำพูดนั้นตรงกับความเห็นของเรา หรือเพราะผู้นั้นเป็นบุคคลที่ควรเชื่อ หรือโดยการคาดคะเนหรือ นึกเดาเอาหรือโดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ พระองค์ทรงสอนว่าการกระทำใด ๆ ถ้าจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง นักปราชญ์ไม่ติเตียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นแล้ว พึงทำเถิดแต่ถ้าตรงกันข้ามกันก็อย่าทำเลย
          กาลามสูตร เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อเพราะ
          ๑. ด้วยการฟังตามกันมา
          ๒. ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
          ๓. ด้วยการเล่าลือ
          ๔.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
          ๕. ด้วยตรรก
          ๖. ด้วยการอนุมาน
          ๗. ด้วยการคิดตรึกตรองตามแนวเหตุผล
          ๘. ด้วยเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
          ๙. ด้วยเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
          ๑๐. ด้วยเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

     ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป้นอกุศลเป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น



"ทรงปาฏิหาริย์ ๓ คำรบปรากฏแก่พระพุทธบิดา"

     ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระนครบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้พระองค์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงประนมหัตถ์ถวายนมัสการ แล้วกราบทูลว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่มหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่พระองค์ ในครั้งนี้นับเป็นคำรบสามแล้ว อันมีความดังต่อไปนี้

          ปาฏิหาริย์คำรบแรก เมื่อพระสิทธัตถะกุมารทรงประสูติได้ ๑ วัน ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนี่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะเป็นกุลุปกาจารย์ (อาจารย์ประจำตระกูล) ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระราชโอสร จึงได้เดินทางไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส
พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนนมัสการท่านอสิตดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรสกลับขึ้น ปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตดาบส เป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้นก็สะดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมารก็ทราบชัดด้วยปัญญาญานมีน้ำใจเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะออกมาด้วยความปีติโสมนัส ประณมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน
          พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกลก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตดาบส ว่าอภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจดังท้าวมหาพรหมจึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชื่นชมอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตดาบสคลายความยินดีเป็นโสกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยเกิดสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะเฉพาะหน้า
          อสิตดาบสก็ถวายพระพรพรรณนา ถึงมูลเหตุว่า เพราะอาตมาพิจารณาเห็นเห็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบูรณ์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาเป็นคุณที่น่าโสมนัสปรีดายิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้วคงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมาร ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้
          ครั้วอสิตดาบสถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาวนำข่าวอันนี้ไปบอกนาลกมาณพผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด

          ปาฏิหาริย์คำรบสอง ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล (พิธีมงคลแรกนาขวัญ) พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญในงานราชพิธีนั้นก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วย ครั้นเสด็จไปถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้าซึ่งหนาแน่นด้วยกิ่งใบ อันอยู่ใกล้สถานที่นั้นเป็นที่ประทับของพระกุมารโดยแวดวงด้วยม่านอันงามวิจิตร ครั้นถึงเวลาพระเจ้าสุทโธทนะทรงไถแรกนาขวัญ บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมที่เฝ้าถวายบำรุงพระกุมารพากันหลีกออกมาดูพิธีนั้นเสียหมด คงปล่อยให้พระกุมารประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้หว้าแต่พระองค์เดียว
          เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียว ได้ความสงัดเป็นสุขก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิดในเวลานั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้ทั้งหลายย่อมชายไปตามแสงตะวันทั้งสิ้น แต่เงาไม้หว้านั้นทรงรูปปรากฏเป็นปริมณฑลตรงอยู่ดุจเวลาตะวันเที่ยงเป็นมหัศจรรย์
          ครั้งนางนมพี่เลี้ยทังหลายกลับมาเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้นก็พลันพิศวงจึงรีบไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงสดับก็รีบเสด็จมาโดยเร็ว ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหารย์เป็นมหัศจรรย์เช่นนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ถวายอภิวันทนาการ ออกพระโอษฐ์ดำรัสว่าเมื่อวันเชิญมาให้ถวายนมัสการพระกาฬเทวิลดาบสก็ทรงทำปาฏิหาริย์ขึ้นไปยืนชฎาพระดาบส อาตมะก็ประณตครั้งหนึ่งแล้วและครั้นนี้อาตมะก็ถวายอัญชลีเป็นวาระที่สอง ตรัสแล้วก็ให้เชิญพระกุมารเสด็จคืนเข้าพระนคร ด้วยความเบิกบานพระทัย

          ปาฏิหาริย์คำรบสาม เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จยังนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ตามคำทูลเชิญของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดา ครั้นพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จถึงกบิลพัสดุ์นครบรรดาพระประยูรญาติที่มาสโมสรต้อนรับอยู่หน้า มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธาน ต่างแสดงออกซึ่งความเบิกบานตามควรแก่วิสัยแล้วทูลเชิญให้เสด็จขึ้นประทับยังพระนิโครธารามพระมหาวิหาร พระบรมศาสดาก็เสด็จขึ้นประทับบนพระบวรพุทธาอาสน์ บรรดาพระสงฆ์ ๒ หมื่นต่างก็ขึ้นนั่งบนอาสนะ อันมโหฬาร ดูงามตระการปรากฏสมพระเกียรติศากยบุตรพุทธชิโนรสบรรดามี
          ครั้นนั้นบรรดาพระประยูรญาติทั้งหลายมีมานะทิฏฐิอันกล้า นึกละอายใจใม่อาจน้อมประนมหัตถ์ถวายนมัสการพระบรมศาสดาได้ด้วยดำริว่า "พระสิทธัตถะมีอายุยังอ่อน ไม่ควรแก่ชุลีกรนมัสการ จึงจัดให้พระประยูรญาติราชกุมารที่พระชนมายุยังน้อย คราวน้องคราวบุตรหลานออกไปนั่งอยู่ข้างหน้าเพื่อจะได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา ซึ่งเห็นว่าควรแก่วิสัย ส่วนพระประยูรญาติผู้ใหญ่พากันประทับนั่งอยู่เบื้องหลังเหล่าพระราชกุมารไม่ประนมหัตถ์ ไม่นมัสการ หรือคาระแต่ประการใด ด้วยมานะ จิตคิดในใจว่าตนแก่กว่า ไม่ควรจะวันทาพระสิทธัตถะ"
          เมื่อพระบรมศาสดาประสบเหตุ ทรงพระประสงค์จะให้เกิดสลดจิตคิดสังเวชแก่พระประยูรญาติที่มีมานะจิตคิดมมังการ จึงทรงสำแดงปาฏิหารย์เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ ให้ปรากฏประหนึ่งว่าละอองธุลีพระบาทได้หล่นลงตรงเศียรเกล้าแห่งพระประยูรญาติทั้งหลายด้วยพุทธานุภาพเป็นอัศจรรย์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:18:38 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฏิล"

          เมื่อพระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกชุดแรกจำนวน ๖๐ องค์ออกเผยแผ่ พระพุทธศาสนา อันมีพระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ พระยสะ และภิกษุอดีตสายบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีทั้งสี่รวมเป็น ๕ องค์ พร้อมด้วยภิกษุอดีตสหายของพระยสะ ซึ่งเป็นชาวชนบทอีก ๕๐ องค์แล้วพระบรมศาสดาได้เสด็จถึงไร่ฝ้ายระหว่างทางจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันมายังตำบลอุรุเวลา ทรงแสดงธรรมโปรดมาณพ ๓๐ คนในราชตระกูลแห่งราชวงค์โกศลซึ่งเรียกว่า "ภัททวัคคีย์" ได้ดวงตาเห็นธรรมทรงประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ แล้วทรวสั่งสอนให้บรรลุอริยผลเบื้องสูงทรงส่งไปประกาศพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสาวก ๖๐ องค์แรกพระอริยสงฆ์คณะนี้ได้กราบทูลลาเดินทางไปยังเมืองปาวา
          จากนั้นพระบรมศาดาทรงเสด็จตรงไปยังตำบลอุรุเวลา อันตั้งอยู่ในเขตเมืองราชคฤห์ ราชคฤห์มหานครนั้นเป็นครหลวงแห่งแคว้นมคธเป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ตลอดจนการค้าขายเป็นที่รวมอยู่แห่งคณาจารย์เจ้าลัทธิมากมาย

          ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้นท่านอุรุเวลกัสสปเป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครราชคฤห์เป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสปเป็นนักบวชจำพวกชฏิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปโคต ท่านอุรุเวลเป็นพี่ชายใหญ่มีชฏิล ๕๐๐ เป็นบริวาร ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชราตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่าอุรุเวลกัสสป
          ส่วนน้องคนกลางมีชฏิลบริวาร ๓๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสป ส่วนน้องคนเล็กมีชฏิลบริวาร ๒๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่คุ้งใต้แห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้นต่อไปอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะ จึงได้นามว่า คยากัสสป ชฏิลคณะนี้ทั้งหมดมีลัทธิหลักในการบูชาเพลิง
          จากนั้นพระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอาศรมสถานของท่านอุรุเวลกัสสปในเวลาเย็น ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสัก ๑ ราตรี อุรุเวลกัสสปรังเกียจ ทำอิดเอื้อนไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระศาสดาเป็นนักบวชต่างลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก ครั้นพระบรมศาสดาตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเพลิงของชฏิลด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปได้ทูลว่า พระองค์อย่าพอใจพักที่โรงไฟเลย ด้วยเป็นที่อยู่ของพระยานาคมีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อ พระบรมศาสดารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลย ท่านอุรุเวลกัสสปจึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรก
          ลำดับนั้น พระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปในโรงไฟประทับนั้งดำรงพระสติต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพญานาคเห็นพระบรมศาสดาเสด็จเข้ามาประทับในที่นั้นก็มีจิตคิดขึ้งเคียดจึงพ่นพิษตลบไป ในลำดับนั้น พระบรมศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ควรที่ตถาคตจะแสดงอิทธานุภาพให้เป็นควันไปสัมผัสมังสฉวี และเอ็นอัฐิแห่งพญานาคนี้ระงับเดชพญานาคให้เหือดหาย แล้วก็ทรงสำแดงอิทธาสังขารดังพระดำรินั้น พญานาคมิอาจจะอดกลั้น ซึ่งความพิโรธได้ ก็บังหวนควันพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น พระบรมศาสดาก็สำแดงเตโชกสิณสมาบัติบันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ และพลิงทั้งสองฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสดงแดงสว่างดุจเผาฟลาญซึ่งโรงไฟนั้นให้เป็นเถ้าธุลี ส่วนชฎิลทั้งหลายก็แวดล้อมโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้มีสิริรูปงามยิ่งนักเสียดายที่เธอมาวอดวายเสียด้วยพิษแห่งพญานาคในที่นี้
          ครั้นล่วงสมัยราตรีรุ่งเช้า พระบรมศาสดาก็กำจัดฤทธิ์เดชพญานาคให้อันตรธานหาย บันดาลให้นาคนั้นขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป ตรัสบอกว่า พญานาคนี้สิ้นฤทธิ์เดชแล้ว อุรุเวลกัสสปเห็นดังนั้นก็ดำริว่า พระสมณะนี้มีอานุภาพมาก ระงับเสียซึ่งฤทธิ์พญานาคให้อันตรธานพ่ายแพ้ไปได้ ถึงดังนั้นไซร้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา อุรุเวลกัสสปมีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิดข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหารให้ฉันทุกวันเป็นนิตย์
          พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่งใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปชฏิลนั้น ครั้นสมัยราตรีเป็นลำดับ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมโลกนาถ ถวายอภิวาทและยืนอยู่ใน ๔ ทิศ มีทิพยรังสีสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง ๔ ทิศ ครั้งเวลาเช้าอุรุเวลกัสสปจึงเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลว่า นิมนต์พระสมณะไปฉันภัตตาหารเถิด ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้เห็นรัศมีสว่างไปทั่วพนัสมณฑลสถาน บุคคลผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง ๔ พระบรมศาสดาจึงตรัสบอกว่า
" ดูกรกัสสป นั้นคือท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม" อุรุเวลกัสสปได้สดับดังนั้นก็ดำริว่า พระมหาสมณองค์นี้มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก ถึงกระนั้นก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
          ครั้นรัตติกาลสมัย ท้าวสหัสสนัยน์ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา ถวายนมัสการแล้วยืนอยู่ที่อันควรข้างหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่างดุจกองอัคคีใหญ่ไพโรจน์ยิ่งกว่าราตรีก่อน ครั้นเพลารุ่งเช้ากัสสปชฏิลทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรีก่อน พระบรมศาสดตรัสบอกว่า
" ดูกรกัสสปเมื่อคืนนี้ท้าวโกสีย์สักเทวราชลงมาสู่สำนักตถาคต เพื่อจะฟังธรรม" ชลิฏได้สดับดังนั้นก็ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจนัยก่อน
          ครั้นเข้าสมัยอีกราตรีหนึ่งถัดมา ท้ายสหัมบดีพรหมก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปกว่าสองราตรีก่อน ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปก็ไปทูลอาราธนา ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามอีกพระบรมศาสดาตรัสบอกว่า
" เมื่อคืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหมลงมาสู่สำนักตถาคต" กัสสปดาบสก็ดำริดุจนัยก่อน
          ในวันรุ่งขึ้นชนชาวอังครัฐทั้งหลายจะนำเอาขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมากมาถวายแด่อุรุเวลชฏิล อุรุเวลชฏิล จึงดำริแต่ในราตรีว่ารุ่งขึ้นมหาชนจะนำเอาอเนกนานาหารมาสู่สำนักอาตมา หากพระสมณะรูปนี้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ลาภสักการะก็จะบังเกิดแก่เธอเป็นอันมากอาตมาจักเสื่อมสูญจากสรรพสักการบูชา ทำไฉน ณ วันพรุ่งนี้อย่าให้เธอมาสู่ที่นี้ได้
          พระบรมศาสดาทรงทราบความดำริของชฏิลด้วยเจโตปริยญาณ(ญาณหยั่งรู้ใจผู้อื่น) ครั้นเพลารุ่งเช้าก็เสด็จออกไปสู่อุตตรกุรุทวีปทรงปิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้วก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้ทรงยับยั้งอยู่ ณ ทิวาวิหารในที่นั้น ต่อมาเพลาสายัณห์สมัยจึงเสด็จมาสู่วณสณฑ์สำนัก ครั้นรุ่งขึ้นกัสสปชฏิลไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหารและทูลถามว่า "วานนี้พระองค์ไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าระลึกถึงพระองค์อยู่" จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสบอกวาระจิตของชฎิลที่วิตกนั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปได้สดับก็ตกใจดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีอำนาจมากแท้ เธอล่วงรู้จิตอาตมาถึงดังนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ดังอาตมา
          ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระบรมศาสดา พระองค์เสด็จไปซักผ้าบังสุกุลซึ่งห่อศพนางปุณณาทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้าผีดิบ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นกษัตริย์เสด็จจากขัตติยราชสกุลอันสูงด้วยเกียรติศักดิ์ ทรงตรัสรู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ลดพระองค์ลงมาซักผ้าห่อศพนางปุณณทาสีที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้ เป็นที่สุดวิสัยของเทวดาและมนุษย์ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้ มหาปฐพีใหญ่ก็กัมปนาทหวั่นไหวเป็นมหัศจรรย์ถึง ๓ ครั้ง ตลอดระยะทางที่พระบรมศาสดาทรงพระดำริว่าตถาคตจะซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ใด?
          ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัยน์อมรินทราธิราชทรงทราบในพุทธปริวิตจึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยเทวฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยอุทกวารี แล้วกราบทูลให้ซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น ขณะที่ทรงซักก็ทรงพระดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวโกสีย์ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัสถ์จนหายกลิ่นอสุภ แล้วก็ทรงพระดำริว่าจะห้อยผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุขเทพยดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก ก็น้อมกิ่งไม้ลงมาถวายให้ทรงห้อยตากจีวรครั้นทรงห้อยตากแล้วก็ทรงพระจินตนาว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าย สหัสสนัยน์ก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่มาทูลถวายให้แผ่ผ้ามหาบังสกุลนั้น
          เพลารุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปไปเผ้าพระบรมศาสดา เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้ปรากกฏมีในนั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถาม พระบรมศาสดาตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่อกัสสปได้ฟังก็สะดุ้งตกใจดำริว่า พระสมณะองค์นี้มีเดชานุภาพมากยิ่งนักแม้ท้าวมัฆวานยังลงมากระทำไวยาวัจกิจถวาย แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
          ครั้นวันรุ่งขึ้นในวันถัดเป็นลำดับ กัสสปชฏิลไปทูลนิมต์ฉันภัตตาหาร จึงตรัสว่า "ท่านจงไปก่อนเถิด ตถาคตจะตามไปภายหลัง" เมื่อส่งชฏิลไปแล้ว จึงเสด็จเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์มา แล้วก็เสด็จมาถึงโรงไฟก่อนหน้าชฎิลจะมาถึง ครั้นชฏิลทูลถามว่า พระองค์มาทางใดจึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสประพฤติเหตุแล้วตรัสว่า
" ดูกรกัสสป ผลหว้าประจำทวีปนี้มีวรรณสัณฐานสุคันธรเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา"
          ในวันต่อมาได้ทรงทำปาฏิหาริย์เช่นนั้นอีก ๔ ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่ง เก็บผลขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่ง เสด็จขึ้นไปดาวดึงส์เทวโลกนำเอาผลไม้่ปาริฉัตรตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปอยู่ที่โรงไฟ ให้ชฏิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง

          วันหนึ่งชฏิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟมิอาจผ่าฟืนออกได้ จึงดำริว่าที่เป็นดังนี้เพราะฤทธิ์พระสมณะทำโดยแท้ พระบรมศาสดาจึงตรัสถาม ครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิด ในทันใดนั้นชฏิลก็ผ่าฟืนออกตามประสงค์
          วันหนึ่งชฏิลทั้ง ๕๐๐ ปรารถนาจะบูชาเพลิง ก่อเพลิงไม่ติดจึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้วก็ทรงอนุญาตให้ก่อเพลิงได้ เพลิงก็ติดขึ้นทั้ง ๕๐๐ กอง พร้อมกันในขณะเดียวชฏิลทั้งหลายบูชาเพลิงสำเร็จแล้ว จะดับเพลิง เพิงก็ไม่ดับจึงดำริดุจหนก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ดับเพลิงเพลิงก็ดับพร้อมกัน ทั้ง ๕๐๐ กอง
          วันหนึ่งในเวลาหนาว ชฏิลทั้งหลายลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลงในแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า เมื่อชฏิลขึ้นจากน้ำจะหนาวมากจึงทรงนิรมิตเชิงกราน ๕๐๐ อันมีเพลิงติดไว้ทั้งสิ้น ครั้นชฏิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราน แล้วก็คิดสันนิษฐานว่าพระมหาสมณะคงจะนิรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
          วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้น ฝ่ายอุรุเวลกัสสปนั้นคิดว่า พระมหาสมณะนี้น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด จึงลงเรือพร้อมกับชฏิลทั้งหลายรีบพายไปดูโดยด่วน ถึงสถานที่ซึ่งพระบรมศาสดาทรงสถิตก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงอยู่โดยรอบ แลเห็นพระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ จึงส่งเสียงร้องเรียก พระพุทธเข้าขานรับว่า "กัสสป ตถาคตอยู่ที่นี้" แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศเลื่อนลอยลงสู่เรือของกัสสปชฏิล กัสสปชฏิก็ดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีฤทธิ์เป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้นก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
          แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันแรมค้ำหนึ่ง เดือนกัตติกมาส (เดือน ๑๒) มาประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาจนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลาจนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลกัสสปโดยอเนกประการ แต่อุรุเวลกัสสปก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะยังให้ชฎิลสลดจิตคิดสังเวชตนเอง
          พระบรมศาสดาจึงมีพระวาจาตรัสแก่อุรุเวลกัสสปว่า "กัสสปตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งทางปฏิบัติของท่านก็ยังห่างไกลมิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่าท่านจึงถือตนว่าเป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตนเองทั้ง ๆ ที่ท่านก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใดยังทำตนลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีก กัสสป! ถึงเวลาอันควรแล้วที่ท่านจะสารภาพ แก่ตัวของท่านเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสป! แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ในกาลไม่นาน"
          เมื่ออุรุเวลกัสสปได้สดับพระโอวาทก็รู้สึกตัวละอายแก่ใจซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอพรรพชาอุปสมบทในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์ และพระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง"
          พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "กัสสป ! ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่เป็นประธานแก่หมู่ชฏิล ๕๐๐ ท่านจงชี้แจงให้ชฏิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคตจึงจะยอมให้บรรพชาอุปสมบท"
          อุรุเวลกัสสปก็กราบถวายบังคมลามายังอาศรมและบอกกับชฏิลผู้เป็นศิษย์ ศิษย์ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชาในสำนักพระบรมศาสดาทั้งสิ้น แล้วชฏิลทั้งหลายก็พร้อมใจกันลอยเครื่องบริขารและเครื่องตกแต่งผม ชฎา สาแหรก คาน เครื่องบูชาเพลิง ทั้งน้ำเต้า หนังเสือ ไม้สามง่ามลงในแม่น้ำทั้งสิ้น แล้วก็พากันมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน

          ครั้นนั้น ท่านนทุกัสสปผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอยน้ำมาก็ดำริว่า ชรอยอันตรายจะมีแก่ดาบสทั้ง ๓๐๐ อันเป็นศิษย์มาสู่สำนักของท่านอุรุเวลกัสสป ถามเหตุนั้น ครั้นทราบความแล้วก็เลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องดาบสบริขารลงในแม่น้ำนั้น แล้วพากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้น
          ฝ่ายคยากัสสปผู้เป็นน้องคนสุดท้อง เห็นเครื่องบริขารของพี่ชายลอยน้ำลงมาก็จำได้ จึงส่งศิษย์ไปสืบความ เมื่อรู้เหตุแล้วก็พาดาบสทั้ง ๒๐๐ อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักของอุรุเวลกัสสป ไปถามความทราบกระจ่างแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขารลงในกระแสชลแล้วเข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

          พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดำเนินพาภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ นั้นไปสู่ตำบลคยาสีสะ ตรัสพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร อันเป็นพระสูตรแสดง อายตนะภายใน อายตนะภายนอกวิญญาณ สัมผัส เวทนาเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ เพื่ออนุโลมตามอัธยาศัยของปุราณชฏิลที่นิยมบูชาไฟเป็นวัตร โปรดภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ นั้นให้บรรลุพระอรหัตด้วยกันทั้งสิ้น



"ยมกปาฏิหาริย์อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ"

          เมื่อครั้งที่พระปิณโฑละภารทวาชะทำปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์ ให้เศรษฐีในพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่งได้ประจักษ์ว่า มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิและมีบัญญัติห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์อีกต่อไป

          ครั้นพวกเดียรถีย์ได้ทราบข่าวพากันดีใจว่าเป็นโอกาสของเราแล้วจึงให้สาวกของตนออกประกาศว่า เราจะทำปาฏิหาริย์กะพระสมณโคดมเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ร้อนพระทัยด้วยความเป็นห่วง รีบเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระวิหาร ทูลถามว่า

          "พระองค์ทรงบัญญัติ ห้ามพระสาวกทำปาฏิหาริย์เป็นความจริงหรือพระเจ้าค่ะ"
          "เป็นความจริง มหาบพิตร" พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง
          "ถ้าพวกเดียรถีย์จะทำปาฏหาริย์แล้วพระองค์จะทำอย่างไร"
          "ถ้าพวกเดียรถีย์ทำ ตถาคตก็จะทำด้วย"
          "ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ"
          "ถูกแล้ว มหาบพิตร ตถาคตห้ามพระสาวกต่างหาก หาได้ห้ามอาตมาไม่ เหมือนเจ้าของสวนผลไม้ห้ามเก็บผลไม้ ความจริงก็หาได้ห้ามเจ้าของสวนเก็บมิใช่หรือ มหาบพิตร"
          พระเจ้าพิมพิสารทูลถามต่อไปว่า "พระองค์จะทำที่ไหนและจะทำเมื่อใด"
          "ถวายพระพร อาตมาจะทำที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน ๘ นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน"

          ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ที่พระนครราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จดำเนินไปยังพระนครสาวัตถี พวกเดียรถีย์พากันกลั่นแกล้งโจษจันว่าพระสมณโคดมหนีไปแล้ว เราจะไม่ลดละจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย
          ครั้นย่างเข้าเดือน ๘ ใกล้เวลาทำปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่ประดิษฐ์ด้วยไม้ตะเคียนงามวิจิตร ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้

          ครั้นนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา รับจะทำมณฑปถวายเพื่อทำปาฏิหาริย์ พระบรมศาสดาไม่ทรงรับ ตรัสว่า อาตมาจะไม่ใช้มณฑปทำปาฏิหาริย์ แต่จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำปาฏิหาริย์
          ครั้นพวกเดียรถีย์ทราบว่า พระบรมศาสดาจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้มะม่วง จึงจ่ายทรัพย์จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในที่สาธารณะทั้งในและนอกเมืองให้หมดเพื่อมิให้โอกาสแก่พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์

          ครั้นถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปภายในพระนคร สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ประจวบกับราชบุรุษผู้รักษาสวนหลวงคนหนึ่งเชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงทะวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุก จึ้งได้สอยมะม่วงผลนั้นลงมา เมื่อทำความสะอาดดีแล้วก็จัดใส่ภาชนะนำไปจากสวนเพื่อถวายพระราชา พอดีเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกลก็มีความเลื่อมใส พลางดำริ มะม่วงผลนี้หากเราจะเอาไปถวายพระราชาก็คงจะได้รับพระราชทานรางวัลไม่เกิน ๑๕ กหาปนะ แต่ถ้าเราจะน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นมหากุศลอำนวยอานิสงส์ผลให้ประโยชน์สุขแก่เราสิ้นกาลนาน เมื่อนายคัณฑะดำริเช่นนี้แล้ว ก็น้อมมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า
          ครั้นพระบรมศาสดาทรงรับผลมะม่วงของนายคัณฑะแล้วประสงค์จะประทับนั่ง ณ ที่ตรงนั้น พระอานนท์เถระจัดอาสนะถวายประทับตามพุทธประสงค์ ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงหยิบผลมะม่วงในบาตรส่งให้พระอานนท์ทำปานะ พระอานนท์ก็จัดทำปานะมะม่วง คือน้ำผลมะม่วงคั้นถวายตามพระประสงค์ ครั้นพระบรมศาสดาเสวยแล้วก็ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะว่า "คัณฑะ! เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นทำเป็นหลุม ปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นี้เถิด " นายคัณฑะก็จัดปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นั้น
          พระพุทธเจ้าทรงล้างพระหัตถ์เหนือพื้นดินบนเมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นเกิดงอกออกต้นขึ้นทันที และในช่วงขณะที่นายคัณฑะพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายมองดูอยู่ด้วยความพิศวง ต้นมะม่วงต้นน้อย ๆ นั้นก็เติบโตใหญ่ขึ้น ๆ ออกกิ่งใหญ่ ๆ ถึง ๕ กิ่งยื่นยาวออกไปถึง ๕๐ ศอก ทั้งล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบผลสุก แลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา
          นายทัณฑะมีปีติเลื่อมใส ได้ประสบอัศจรรย์เฉพาะหน้าก็เก็บผลมะม่วงสุกที่หล่นมาถวายพระสงฆ์ทั้งหลายที่ติดตามมาให้ฉันจนอิ่มหนำสำราญทั่วกัน

          เมื่อพระบรมศาสดาทรงได้ไม้คัณฑามพฤกษ์อันสมบูรณ์ด้วยกิ่งใบสูงใหญ่งามด้วยปริมณฑล สมดังพระประสงค์เช่นนั้น ก็ทรงตั้งพระทัยจะทรงทำปาฏิหาริย์สืบไป ครั้นเวลาบ่ายแห่งวันเพ็ญอาสาฬมาสพระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฏีประทับยืนอยู่ที่มุข ท่ามกลางพุทธบริษัทซึ่งมาสโมสรกันเนืองแน่น โดยใคร่จะชมปาฏิหาริย์ จึงทรงนิมิตจงกรมแก้วอันกว้างใหญ่เหนือยอดไม้คัณฑามพฤกษ์ไพศาล งามตระการวิจิต ควรแก่ความเป็นพุทธอาสน์ที่ประทับสำหรับแสดงปากิหาริย์ พระบรมศาสดาทรงเสด็จลีลาศขึ้นประทับนั้งยังจงกรมแก้วมโหฬารทรงกระทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิด
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร (ตา) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณ (หู,ใบหู) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากกรรณข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิก (จมูก) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่อพระนาสิกข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสา (บ่า,ไหล่) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ (มือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้าวขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากประปรัศว์ (ข้าง,สีข้าง) เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท (เท้า) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ (นิ้วมือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างขวา เป็นคู่ ๑
          ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมา (ขน) เส้นหนึ่ง สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง เป็นคู่ ๆ สลับกันทั่วทั้งพระกาย เมื่อท่อไฟพุ่งออกมาแล้วก็สำแดงเป็นสีสันต่าง ๆสลับกันรวม ๖ สี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หงสบาท (สีแดงปนเหลือง,สีแดงเรื่อหรือสีแสด) และประภัสสร (สีเลื่อมพราย เหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้น)

          เมื่อสีออกจากแสงไฟซึ่งพุ่งออกมากระทบสายน้ำ ก็ทำสายน้ำให้มีสีต่าง ๆ ไปตามสีไฟ สลับกันไปมางานน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งท่อไฟสายน้ำที่พุ่งออกก็พุ่งออกไปไกล ทำให้ท้องฟ้าอากาศสว่างไสวมหาชนทั้งหลายมองเห็นทั่วทุกทิศ เป็นที่จำเริญจิตแก่ผู้ได้เห็นทั่วโลกธาตุ ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงนิรมิตพระพุทธเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง มี พระรูปพระโฉม เช่นเดียวกันประองค์ทุกประการและโปรดให้พระพุทธนิรมิตพระองค์นั้นแสดงพระอาการสลับกันไปกับพระองค์โดยตลอด คือ
          เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจงกรม พระพุทธนิรมิตก็เสด็จประทับยืน เมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จจงกรม พระบรมศาสดาก็ประทับยืนเป็นคู่ ๑
เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตก็สำเร็จสีหไสยา (นอนตะแคงข้างขวา) เมื่อพระพุทธนิรมิตเสร็จประทับนั่งพระบรมศาสดาก็สำเร็จสีหไสยา เป็นคู่ ๑
          เมื่อพระบรมศาสดาทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธนิรมิตก็ตรัสแก้เมื่อพระพุทธนิรมิตตั้งปัญหาถาม พระบรมศาสดาก็ตรัสแก้ เป็นคู่ ๑
          รวมพระอาการที่ทรงแสดงก็ดี อาการที่ทรงถามและทรงและทรงแก้ก็ดีได้ปรากฏแก่มหาชนที่มาประชุมกันอยู่ได้เห็นและได้ยินกันทั่วถึง เป็นเจริญใจเจริญความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะเป็นยิ่งนัก
          ในที่สุดแห่งยมกปาติหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัท เพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:19:13 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข



"รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี"

          ในสมัยพุทธกาล เมืองไพศาลี หรือเวสาลี นครหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม (คล้ายกับลักษณะสาธารณรัฐในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนอยู่หนาแน่นมีกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งเรียกว่า "ตรีบูร" แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๔ กิโลเมตร มีปราสาทอุทยาน สระโบกขรณีเป็นจำนวนมาก ทางตอนเหนือของเมืองไพศาลีมีป่าใหญ่เป็นพืดขึ้นไปทางเหนือจนจดทิวเขาหิมาลัย เรียกว่าป่ามหาวันมีผู้สร้างกุฏาคารศาลา (เรือนยอด) ถวายไว้เป็นที่ประทับพระพุทธเจ้า

          ต่อมาเมืองไพศาลีเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห่งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่และมีโรคระบาดพวกคนยากคนจนอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกนำไปทิ้งไว้นอกเมืองก็ส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทพวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมืองคนยิ่งล้มตายกันมากขึ้น เกิดอหิวาตกโรคตามมา

          เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่าง ๆ ดังกล่าว

          เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใดจึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิศาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

          เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมื่องราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชา ของหอมและทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาง และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

          พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกันให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพรองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบลรมศาสดาจะเสด็จกลับ

          ทางเมืองไพศาลี ซึ่งตั้งอยู่ห่างฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปราบทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยนำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึกถึงพระศอเช่นกัน

          ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิดก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

          บรรดากษัตริย์สิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คันกั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์ กรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

          พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

          เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน

          ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคาร กลางพระนคร ด้วยของหอมและผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้งพระอานนท์ทำพระปริตอารักขาทั่วพระนครแล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้ง หนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

          พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา



"ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์"

          เมื่อพรบรมศาสดาเสด็จขึ้นไปประทับพรรษานดาวดึงส์สวรรค์ ชั้นที่ ๒ แสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาได้บรรลุอริยมรรคผลสมดั่งพระกมลที่ทรงพระอุตสาหะ และในครานั้นพระรรมเทศนาของพระบรมศาสดาได้ยังประโยชน์เป็นอเนกอนันต์แก่บรรดาทวยเทพทั่วทุกทิศที่เข้าเฝ้าสถิตแห่แหนเป็นจำนวนมาก ครั้นใกล้ครบเวลาสามเดือนครั้นเวลาจวนใกล้จะออกพรรษาเข้าแล้ว ชาวประชามหาชนกทั้งหลายที่ตั้งตาคอยจะเผ้าพระบรมศาสดา สุดที่จะทนทานการรอคอย จึงพากันเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า

          เนื่องจาก เมื่อครั้นการเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระบรมศาสดาในเวลาเสร็จการแสดงยมกปกาฏิหาริย์โดยฉับพลัน ซึ่งมหาชนทั่วทุกทิศกำลังใส่ใจแลดูอยู่ด้วยความเลื่อมใส จึงเป็นเหมือนเดือนตกหรือตะวันตกหายวับลับไปจากโลกเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะฉะนั้นชนทั้งหลายจึงพากันคร่ำครวญว่า พระศาสดาผู้เลิศในโลกเสด็จไปแห่งหนใดกันหนอ พวกเราจึงไม่เห็นพระองค์ ชนเหล่านั้นได้พากันเข้าไป ถามพระมหาโมคคัลลานะเถระว่า พระศาสดาเสด็จไปที่ไหนเสียเล่าพระคุณเจ้าพระมหาโมคคัลลานะแม้จะรู้ดีอยู่ แต่เพื่อถวายความเคารพแก่พระอนุรุทธะ จึงได้บอกแก่ชนเหล่านั้นไปว่า พวกท่านจงไปถามพระอนุรุทธะเถระดูเถิด คนเหล่านั้นจึงพากันไปถามพระอนุรุทธะเถระ ๆ ตอบว่า พระศาสดาเสด็จขึ้นไปจำพรรษาในสรวงสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

          เมื่อไรจักเสด็จมาเล่า พระคุณเจ้า ? สามเดือนอุบาสก พระเถระกรุณาบอก และจะเสด็จมาวันมหาปวารณาด้วย

          คนเหล่านั้นปรึกษากันว่า พวกเราจักรอเฝ้าพระบรมศาสดาอยู่ที่นี่แหละ หากไม่ได้เห็นพระบรมศาสดาแล้วก็จักไม่ไป แล้วจัดแจงทำที่พักอยู่ในที่นั้นเอง ท่านจุลละอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้มีกำลังทรัพย์มากไดกรุณาให้ความอนุเคราะห์แก่คนเหล่านั้นพอสมควร แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ได้กรุณา แสดงธรรมให้กำลังใจ เจริญความเลื่อมใสแก้ความข้องใจของมหาชนที่ติดตามมาเพื่อชมปาฏิหาริย์ในภายหลังอีก

          ครั้นเวลาเนิ่นนานมาถึงปานนี้ มหาชนจึงเจ้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะเรียนถามว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงจากสวรรค์เมื่อใด และจะเสด็จลงที่ไหน เมื่อข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้พากันไปเฝ้าพระองค์ ณ ที่นั้นพระมหาโคคัลลานะเถระตอบว่า จะต้องขึ้นไปเฝ้าทูลถามพระบรมศาสดาดูก่อน ได้ความอย่างไรจากพระองค์แล้วจึงจะแจ้งให้ทราบ แล้วพระเถระก็สำแดงอานุภาพแห่งสมาบัติขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวภพ สำแดงกายให้ปรากฏแก่มหาชนในขณะขึ้นไปเฝ้าพระบรมศาสดาด้วยฤทธิ์แห่งอภิญญา

          ครั้นพระเถระเจ้าเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วก็กราบทูลตามเรื่องที่มหาชนมีความประสงค์
          พระบรมศาสดารับสั่งว่า โคคัลลานะ บัดนี้ สารีบุตรพี่ชายเธออยู่ ณ ที่ได
          พระมหาโมคคัลลานะก็กราบทูลว่า เวลานี้สารีบุตรเถระเจ้าจำพรรษาอยู่ที่เมืองสังกัสสนคร พระเจ้าข้า
          ถ้าเช่นนั้น ตถาคตก็จะลงที่ประตูเมืองสังกะสะนครในวันมหาปวรณา โมคคัลลานะจงแจ้งให้มหาชนทราบตามนี้ ผู้ใดประสงค์จะเห็นตถาคต ก็จงพากันไปยังที่นั้นเถิด
          พระมหาโมคคัลลานะรับพระพุทธบัญชาแล้ว ก็ลงมาแจ้งข้อความนั้นแกมหาชนทั้งหลายผู้ต้องการทราบเรื่องนี้อยู่

          ฝ่ายมหาชนทั้งหลายที่ตั้งใจคอยเฝ่าพระบรมศาสดเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์ เมื่อได้ทราบข่าวจากพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้าก็ดีใจพร้อมกับออกเดินทางไปยังเมืองสังกัสสนคร ร่วมประชุมกันอย่างคับคั่งตลอดพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอันมีประสารีบุตรเถระ อัครสาวกเบื้องขวาเป็นประธาน มาประชุมต้อนรับพระบรมศาสดา อยู่ ณ ที่นั้นอย่างพร้อมเพรียง

          ครั้นถึงวันปรุณมีแห่งอัสสยุชมาส เพ็ญเดือน ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้ว ทรงรับสั่งแก่ท้าวสักกเทวราชว่า ตถาคตจะลงไปสู่มนุษยโลกในวันนี้ เมื่อท้าวโกสีย์ทราบพุทธประสงค์แล้วจึงทรงนิรมิตบันไดทิพย์ ๓ บันได สำหรับพระพุทธดำเนินเสด็จลงสู่มนุษยโลกบันไดแก้วอยู่กลาง บันไดทองอยู่ข้างขวา บันไดเงินอยู่ข้างซ้าย เชิงบันไดทั้ง ๓ นั้นประดิษฐานอยู่ภาคพื้นปฐพีที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนครศีรษะบันไดเบื้องบนจนยอดภูเขาสิเนรุ บันไดแก้วนั้นเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง บันใดทองเป็นที่เทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินเป็นที่พรหมทั่งหลายตามส่งเสด็จ ขณะนั้นเทพยดาและพรหมทั้งหลาย ได้มาประพร้อมกันบูชาพระบรมศาสดาเต็มทั่วจักวาล

          เมื่อได้เวลาเสด็จ พระพุทธเจ้าก็เสด็จมาประทับยืนที่ฐานศีรษะบันได ในท่ามกลางเทพพรหมบริษัทซึ่งแวดล้อมเป็นบริวาร จึงได้ทรงทำ "โลกวิวรรณปาฏิหาริย์" เปิดโลก โดยพระอาการทอดพระเนตรไปในทิศต่าง ๆ รวมทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง รวมเป็น ๑๐ ทิศด้วยกันและด้วยพุทธานุภาพ ในทันใดนั้นทุกทิศทกทางจะแลโล่งตลอดหมดไม่มีอันใดกีดบัง เทวดาในสวรรค์จะมองเห็นมนุษย์ เห็นยมโลก เห็นนรกและมนุษย์ก็มองเห็นเทวดาเห็นสัตว์นรก แม้สัตว์นรกก็มองเห็นมนุษย์ตลอดเทวดาในสวรรค์ ไม่มีสิ่งใดปิดบัง พระพุทธเจ้าทรงสำแดปาฏิหาริย์เปิดโลก พร้อมกับเปล่งฉัพพัณณรังษี พระรัศมี ๖ ประการเป็นมหาอัศจรรย์

          ครั้นนั้น เทพยดาในหมื่นจักรวาลได้มาประชุมกันในจักรวาลนี้เพื่อชื่นชมพระบารมีพระบรมศาสดาทรงทำปาฏิหาริย์ พร้อมกันทำสักการบูชาสมโภชพระพุทธเจ้าด้วยทิพย์บุปผามาลัยเป็นอเนกประการ

          พระบรมศาสดาได้เยื้องย่างลีลาเสด็จลงจากดาวดึงส์ โดยบันไดแก้วมณีมัย ท่ามกลางเทพยดาในหมื่นจักวารมีท้าวสักกะเป็นต้น โดยบนไดทองสุวรรณมัยในเบื้องขวา ท้าวสหัมบดีพรหมกับหมู่พรหมเป็นอันมากลงโดยบันไดเงินหิรัญญมัยในเบื้องซ้าย ปัญจสิขรคนธรรมพ์เทพบุตรทรงพิณมีสีดังผลมะตูมสุก ดีดขับร้องด้วยมธุรเสียงอันไพเราะมาใบเบื้องหน้าพระบรมศาสดา ท้าวสันตุสิตเทวราชกับท้ายสุยามเทวราชทรงทิพย์จามรถวายพระบรมศาสดาทั้ง ๒ ข้าง ท้าวมหาพรหมปชาบดี

          ทรงทิพย์เศวตฉัตรกั้นถวายพระบรมศาสดา ท้าวโกสีย์อมรินทราธิราชประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา เสด็จเป็นมัคคุเทศก์นำพระบรมศาสดาลงมา ในท่ามกลางทวยเทพยดาแลพรหมทั้หลายพากันแวดล้อมแห่ห้อมเป็นบริวาร

          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์ โดยบันไดแก้ลงมาถึงเชิงบันได มหาชนทั้งหลายได้เห็นพระรูปโฉมของพระบรมศาสดา ได้เห็นการเสด็จลีลาลงจากสวรรค์ในท่ามกลางเทพยดาและพรหมเป็นอันมาก ครั้นนั้นงามจับอกจับใจอย่างที่ไม่เคยคิดเคยเห็นมาแต่ก่อน ก็พากันลิงโลดแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว แม้แต่พระสารีบุตรพุทธสาวกยังได้กล่าวคาถาสรรเสริญด้วยความยินดีความว่าข้าพระองค์ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งงามด้วยสิริโสภาคยิ่งกว่าเทพเจ้าทั้งมวล มีพระสุรเสียงอันไพเราะอย่างนี้ เสด็จลงมาจากสวรรค์

          ขณะนั้น พระบรมศาสดาซึ่งมีพระทัยมากด้วยพระมหากรุณาจึงได้แสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท ผู้กำลังมีความโสมนัสพึงตาพึงใจชมในพระรูปพระโฉม อยู่ในท่ามกลางเทพเจ้าและหมู่พรหมที่พร้อมกันถวายสักการบูชา ด้วยทิพยบุปผานาวรามิสให้เกิดกุศลจิตสัมประยุตด้วยปรีชาญาณ หยั่งรู้ในเทศนาบรรหารตามควรแก่อุปนิสัย เมื่อจบเทศนานัยธรรมานุสรธ์ ต่างก็ได้บรรลุอริยมรคอริยผล ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงเบื้องปลาย ตามอริยอุปนิสัยได้สั่งสมมา
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:19:48 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข



"พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน"

          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา กาลนั้น บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายทั้งปวงที่ประชุมอยู่ในอุทยานสาลวันนั้นต่างก็เศร้าโศกร้ำไรรำพันปริเทวนาการ คร่ำครวญถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่น่าสลดใจยิ่งนัก พระอานนท์มหาเถระเจ้าได้แสดงธรรมีกถาปลุกปลอบบรรเทาจิตบริษัทให้เสื่อมสร่างจากความเศร้าโศกตามควรแก่วิสัยและควรแก่เวลา

          ครั้นสว่างแล้ว พระอนุรุทธัมหาเถระเจ้าก็มีเถระบัญชาให้พระอานนท์รีบเข้าไปในเมืองกุสินารา แจ้งข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้าแก่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อมัลลกษัตริย์ได้สดับข่าวปรินิพพานกำสรดโศกด้วยอาลัยในพระบรมศาสดาเป็นกำลัง จึงดำรัสสั่งให้ประกาศข่าวปรินิพพานแก่ชาวเมืองให้ทั่วนครกุสินารา แล้วนำเครื่องสักการบูชานานสุคนธชาติพร้อมด้วยผ้าขาว ๕๐๐ พับ เสด็จไปยังอุทยานสาลวันทำการสัการบูชาพระสรีระพระบรมศาสดาด้วยบุปผามาลัยสุคันธชาติเป็นอเนกประการ

          มวลหมู่มหาชนเป็นอันมากแม้จะอยู่ในที่ไกล เมื่อได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระบรมศาสดา ต่างก็ถืออนานาสุคนธชาติมาสักการบูชามากมายสุดจะคณา เวลาค้ำก็ตามชวาลาสว่างไสวทั่วทั้งสาลวันประชาชนต่างพากันมาไม่ขาดสายตลอดเวลา ๖ วันไม่มีหยุด พากันรีบรุดมาทำการสักการบูชาด้วยความเลื่อมใสถวายความเคารพอันสูงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          ครั้นวันที่ ๗ ได้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพขึ้นประดิษฐานบนเตียบมาลาอาสน์ ซึ่งตกแต่งด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วเคลื่อนขบวนอัญเชิญไปโดยทางทิศอุดร เข้าไปภายในพระนครกุสารา ประชาชนพากันสโมสรเข้าขบวนแห่ตามพระพุทธสรีระศพสุดประมาณ เสียงดุริยางค์ดนตรีแซ่ประสานกับเสียงมหาชนดังสนั่นลั่นโกลาหลเป็นอัศจรรย์ ทั้งดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้อันเป็นของทิพย์ในสรวงสวรรค์ตกโปรยปรายละลิ่วลงจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วเมืองกุสินาราร่วงหล่นลงมาสักการบูชาพระบรมศาสดา ขบวนมหาชนอัญเชิญพระพุทธสรีระศพได้ผ่านไปในวิ๔ทางท่ามกลางพระนครกุสินารา ประชาชนทุกถ้วนหน้าพากันสักการบูชาทั่วทุกสถาน ตลอดทางที่พระพุทธสรีระศพแห่ผ่านไปตามลำดับ

          ครั้นเมื่อขบวนอัญเชิญผ่านมาถึงหน้าบ้านของนางมัลลิกา ผู้เป็นภรรยาของท่านพันธุละเสนาบดีซึ่งล่วงลับไปแล้ว นางมัลลิกาได้ขอร้องแสดงความประสงค์จะบูชาด้วยอาภรณ์มหาลดาปสาธน์อันสูงค่ามหาศาล มหาชนผู้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพก็วางเตียงมาลาอาสน์ลง นางมัลลิกาถวายอภิวาทเชิญเครื่องมหาลดาปสาธน์มาสวมพระพุทธสรีระศพเป็นเครื่องบูชา ขณะนั้นพระพุทธสรีระศพก็งามโอภาสเป็นที่เจริญตาเจริญใจ แล้วมหาชนก็อัญเชิญพระพุทธสรีระศพเคลื่อนจากที่นั้นออกจากประตูเมืองทางทิศบูรพา ไปสู่กุฎพันธเจดีย์

          ครั้นถึงยังจิตกาธานอันสำเร็จด้วยไม้จันทน์หอมงามวิจิตร ก็จัดการห่อพระพุทธสรีระศพด้วยทุกุลพัสตร์ภูษา ๕๐๐ ชั้น แล้วก็อัญเชิญลงประดิษฐานในหีบทองซึ่งประดิษฐบนจิตกาธานทำการสักการบูชาแล้วกษัตริย์มัลลราชทั้ง ๘ องค์ผู้เป็นประธานกษัตริย์ทั้งปวงก็นำเอาเพลิงจุดเพื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระเพลิงก็ไม่ติดตามประสงค์ แม้จะพยายามจุดเท่าใดก็ไม่บรรลุผลมัลลกษัตริย์มีความสงสัยจึงได้เรียนถามพระอนุรุทธะมหาเถระเจ้าว่า

          "ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะ ด้วยเหตุใดเพลิงจึงไม่ติดโพลงขึ้น"
          พระอนุรุทธะมหาเถระกล่าวตอบว่า "เทวดาต้องการให้คอยท่านพระมหากัสสะเถระ หากยังมาไม่ถึงตราบใดไฟจะไม่ติดตราบนั้น ขณะนี้พระมหากัสสะเถระกำลังเดินทางมาใกล้จะถึงอยู่แล้ว

          เวลานั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้าพาภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เดินทางจากเมืองปาวามายังเมืองกุสินาราครั้นถึงยังพระจิตกาธานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระศพพระบรมศาสดาแล้ว ก็ทำจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กระทำประทักษิณเวียนพระจิตกาธานสามรอบแล้ว เข้าสู่ทิศเบื้องพระยุคคลบาท น้อมถวายอภิวาทและตั้งอธิฐานจิต

          ครั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้ากับพระสงฆ์บริวาร ๕๐๐ และมหาชนทั้งหลาย กราบนมัสการพระบรมยุคลบาทโดยควรแล้ว ขณะนั้นเสียงโศกาปริเทวนาการของมวลเทพดาและมนุษย์ ซึ่งได้หยุดสร่างสะอื้นแล้วแต่ต้นวัน ก็ได้พลันดังสนั่นขึ้นอีกเสมอด้วยวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน

          ขณะนั้น เตโชธาตุก็บันดาลติดพระจิตกาธานขึ้นเองด้วยอานุภาพเทพยดา เพลิงได้ลุกพวยพุ่งโชตนาเผาพระพุทธสรีระศพ พร้อมคู่ผ้า ๕๐๐ ชั้นและเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ กับหีบทองและจิตกาธานจนหมดสิ้น ยั้งมีสิ่งซึ่งเพลิงมิได้เผาให้ย่อยยับไปด้วยอนุภาพพุทธอธิฐานดังนี้ ผ้าห่อหุ้มพระสรีระชั้นใน ๑ ผืน ผ้าห่อนหุ้มพระพุทธสรีระภายนอก ๑ ผืน ทั้งสองนี้แตกฉานการะจัดกระจาย ส่วนพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ทั้ง ๒ และพระอุณหิสปัฎ (กระบังหน้า) ๑ พระบรมธาตุทั้ง ๗ นี้ยังปกติดีมิได้แตกกระจัดกระจาย
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:20:37 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุิ"

          พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าถูกตวงด้วยทนานทอง ถวายแก่กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร คือ

          ๑. พระเจ้าอชาตศัตตุราช ผู้ครองนครราชคฤห์ แคว้นมคธ
          ๒. พระเจ้าลิจฉวี ผู้ครองนครพระนครไพศาลี แคว้นวัชชี
          ๓.พระเจ้ามหานาม ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
          ๔.พระเจ้าฐลิยราช ผู้ครองนครอัลลกัปปนคร
          ๕.พระเจ้าโกลิยราช ผู้ครองนครนครรามคาม แคว้นโกลิยะ
          ๖.พระเจ้ามัลลราช ผู้ครองเมืองปาวานคร แคว้นมัลละ
          ๗.มหาพราหมณ์ ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกนคร
          ๘.กษัตริย์มัลลราช ผู้ครองนครกุสินารา แคว้นมัลละ

          พระบรมสารีริกธาตุซึ่งตวงด้วยทะนานทองทั้งหมด ๑๘ ทะนาทด้วยกันโดยแบ่งให้กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร ได้พระนครละ ๒ ทะนานเท่า ๆ กันบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อได้รับส่วนแบ่งบรมสารีรืกธาตุแล้ว ต่างองค์ต่างกันจัดขบวนอันมโหฬาร อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ไปยังพระนครของตนด้วยเกียรติยศอันสูง แล้วให้ก่อพระสถูปเจดีย์ ขึ้นบรรจะพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่สักการบูชาของมหาชน จึงปรากกว่ามีพระสูปเจดีที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดังนี้

          ๑. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองราชคฤห์
          ๒.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองไพศาลี
          ๓.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองบิลพันดุ์
          ๔.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองอัลลกัปปนคร
          ๕. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองรามนคร
          ๖. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองเวฏฐาทีปนคร
          ๗. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองปาวานคร
          ๘.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองกุสินารานคร

          นอกจากนั้นกษัตริย์แห่งเมองโมรีนครซึ่งเดินทางมาถึงภายหลังได้ประชุมแบ่งปันพระสารีริรธาตุกันหมดสิ้นแล้ว ได้อัญเชิญ พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ไปสักการบูชาที่พระสถูปเจดีย์ ในพระนครของตน คือ

          ๙. พระอังคารเจดีย์ ที่เมืองโมรีนนคร

          ส่วนพระทนานทองที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุซึ่งโทณพราหมร์เป็นผู้สร้างนั้นได้ถูกบรรจุไว้ในเมืองต่าง ๆ ดังนี้

          ๑. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา กับพระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไป ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์สถาน ณ ดาวดึงสเทวโลก
          ๒. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำกว่าเดิมไปประดิษฐาน ณ เมืองกาลิราฐแต่บัดนี้ไปสถิตอยู่ในลักกาทวีป
          ๓. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราฐ
          ๔. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ
          ๕. พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพรุอุณหิสปัฏ ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก

          ส่วนพระทนต์ (ฟัน) ทั้ง ๓๖ และพระเกศา (ผม) พระโลมา(ขน) กับพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๒๐ นั้นเทพยดาอัญเชิญไปองค์ละองค์สู่จักรวาลต่าง ๆ

          ส่วนพระบริขารพุทธบริโภคทั้งหลายนั้นได้กล่าวถึงไปแล้วในหัวข้อ
           "เจดีย์และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า"


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:21:34 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


"สังคายนา ๕ ครั้ง"

          การสังคายนา หมายถึง การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวด หมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังคายนาพระพุทธศาสนา ครั้ง ที่ ๑ ถึง ครั้งที่ ๕ มีความเป็นมาดังนี้

          สถานการณ์พระพุทธศาสนาบางอย่าง มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก่อนพุทธปรินิพพาน ซึ่งตอนปลายพุทธสมัยมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจหลายประการเช่น
          พระมหาเถรผู้ใหญ่อย่าง พระสารีบุตรเถระ พระโมคคัลลานะเถระ เป็นต้น ได้นิพพานไปก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าทำให้โฉมหน้าพระพุทธศาสนาเปลี่ยนแปลงไป เพราะตามหลักฐานในจาตุมสูตร พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอัครสาวกทั้งสองว่า อยู่ในฐานะที่จะบริหารคณะสงฆ์เสมอด้วยประองค์ หากพระอัครสาวกทั้งสองไม่นิพพานไปก่อนระบบการปกครองอาจจะเป็นแบบของศาสนาคริสต์ก็ได้
          เมื่อพระอัครสาวกทั้นสองนิพพานไปแล้วพระมหาเถระรูปอื่นไม่รับยกบ่องในฐานะดังกล่าว รูปการปกครองพระพุทธศาสนาจึงต้องให้พระสงฆ์ยึดถือพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติแสดงแล้ว เป็นศาสดาแทนพระองค์อย่างที่เป็นอยู่

          ฝ่ายคฤหัสถ์ที่มีบทบาทสำคัญในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา เช่น พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าสุทโธทนะได้สวรรคตและนิพพานไปก่อนไม่นานนัก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนางอุตราอุบาสิกาเป็นต้น ก็ได้สิ้นชีวิตไปก่อนพระพุทธเจ้าทำให้ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาขาดไปหลายท่าน

          พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ออกไปไกลมาก ทำให้การติดต่อสอบทามความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยไม่สะดวกเท่าที่ควร ทั้งคนที่เข้ามาบวชก็มีเจตนาแตกต่างกัน ทำให้เรื่องเสื่อมเสียบางอย่างเกิดขึ้นและมีคนบางพวกที่ต้องการเป็นพระ แต่ไม่ยินดีที่จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัย คนเหลานั้นได้แสดงความคิดเห็นของตนออกมาในโอกาส ต่าง ๆ แต่ความแตกแยกอย่างรุนแรงคงไม่เกิดขึ้นหรือถึงแม้จะเกิดขึ้นก็สามารถระงับลงไปได้ ทั้งนี้มิได้หมายความว่า คนพวกนี้จะหมดไปก็หาไม่ เป็นเพียงสงบอยู่ชั่วคราวเท่านั้นเอง

          พระเถระทั้งหลายในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล มีความรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาสูง ได้พยายามรักษาป้องกันพระธรรมวินัยไว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นพระจุนทเถระ ปรารภการนิรวาณของท่านมหาวีระจนสาวกแตกแยกกันเป็นสองฝ่าย ได้เสนอให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยจนพระสารีบุตรเถระ ได้รับพุทธานุมัติให้จัดทำ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะท่านนิพพานเสียก่อน

          หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน คนที่ต้องการเป็นพระในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ยินดีที่จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัยก็แสดงตัวออกมา จนเป็นเหตุนำไปสู่สังคายนาครั้งที่ ๑

การสังคายยานาครั้งที่ ๑
หลังพุทธปรินิพาน ๓ เดือน
ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต
เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ

          การสังคายนาครั้งที่ ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ได้กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และปรารถที่จะทำให้พระธรรมรุ่งเรืองอยู่สืบไปพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปมีพระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้ถามพระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนา พระธรรมประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาภารบรรพต เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ

          เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ ๗ วัน พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ได้ทราบจากปริพาชกท่านหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗ วันแล้ว ขณะที่ท่านและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเดินทางจากเมืองปาวาใกล้มาถึงนครกุสินารา ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวต่างก็แสดงตัวออกมาแตกต่างกันคือ

          ท่านที่เป็นพระอริยบุคคล มีสติอดกลั้นด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง คนจะได้สิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั้งหลายแต่ที่ได้ ฝ่ายท่านที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ อยู่ได้แสดงความเศร้าโศกเพราะปิยวิปโยคอย่างหนักว่า

          "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก จักษุแห่งโลกหายไปจากโลกเร็วนัก"

          ในขณะที่พระอริยบุคคลทั้งหลายได้แสดงความจริงแห่งสังขารเพื่อให้ภิกษุเหล่าวนั้นยอมรับตามพระพุทธดำรัสความว่า
          "ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกร่ำไรไปเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ ความเว้น ความเป็นอย่างอื่นจากสัตว์และสังขารที่รักที่ชอบใจทั้งปวง ย่อมไม่อาจจะหาสิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั่งหลาย สิ่งใดเกิดมาแล้มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ต้องมีความแตกสลายไปเป็นธรรมดา การที่เราจะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าสลายเลย ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้"

          เวลานั้นมีภิกษุรูปหนึ่งบวชเมื่อแก่ ชื่อสภัททะ มีจิตดื้อด้านด้วยสันดานพาลชน เป็นอลัชชีมืดมนย่อหย่อนในพระธรรมวินัยกลับกล่าวขึ้นว่า

          "พวกเราพ้นจากมหาสมณะนั้นด้วยดีแล้ว เพราะเมื่อก่อนท่านได้เบียดเบียนเรา ด้วยการตักเตือนว่า นี่ควร นี่ไม่ควร สำหรับพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้พวกเราสบายแล้ว พวกเราต้องการทำสิ่งใดก็ทำสิ่งน้นไม่ต้องการทำสิ่งใดก็ไม่ทำสิ่งนั้น"

          คำพูดของสุภัททภิกษุถือว่าเป็นการกล่าวจ้วงจาบขาดความเคารพต่อพระธรรมวินัย ทั้ง ๆ ที่ตนเองเป็นพุทธสาวก เสมือนผู้แสดงตนเป้นขบถต่อพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากเป็นเวลาที่ใกล้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระมหากัสสปะจึงไม่ได้กล่าวอะไรในขณะนั้น

          หลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระมหากัสสปะเถระจึงนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสงฆ์ พร้อมกับเสนอให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยโดยให้เหตุผลว่าถ้าปล่อยนานไป "สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยจักเจริญ สิ่งที่เป็นธรรมเป็นวินัยจะเสื่อมถอย พวกอธรรมวาที อวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญ ฝ่ายธรรมวาทีวินัยวาทีจะเสื่อมถอย"

          นอกจากนี้พระมหากัสสปะเถระยังมีเหตุผลส่วนตัวท่าน ที่จะต้องพิทักษ์ศาสนธรรมอันเป็นตัวแทนของพระศาสดาไว้ คือท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า มีธรรมเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์ และทรงเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิของพระองค์กับท่าน อันเปรียบเหมือนพระเจ้าจักพรรดิทรงเปลื้องเกราะมอบให้แก่เชฏฐโอรส เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าพระราชโอรสจะเป็นผู้รับผิดชอบราชการแผ่นดินต่อไป หลังจากพระองค์สวรรคตไปแล้วฐานะที่ทรงยกย่องพระมหากัสสปะเถระทั้ง ๒ นี้ไม่เคยยกย่องพระสาวกรูปอื่นเลย

          ในที่สุดมติที่ประชุมของเถระทั้งหลายในคราวนั้น กำหนดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย โดยใช้การสงฆ์ (สงฆ์ผู้กระทำ) ๕๐๐ รูปเป็นพระอรหันต์ล้วน ๆ เพื่อประกอบกันเป็นสังคีติกาจารย์ และกำหนดให้ทำสังคายนาที่สัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์เมื่อพระมหากัสสปะเถระเลือกพระอรหันต์ทั้งหลายอยู่นั้น เลือกไปได้ครบ ๔๙๙ รูป ก็เกิดปัญหาคือสังคายนาครั้งนี้จะขาดพระอานนท์เถระไม่ได้ เพราะท่านทรงจะพระธรรมวินัยได้ทั้งหมด แต่ถ้จะเลือกท่านเข้าร่วมด้วยผิดมติที่ประชุมเพราะท่านยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ในที่สุดประชุมจึงเสนอให้พระมหากัสสปะเถระเลือกพระอานนท์เถระเข้าไปด้วยโดยให้เหตุผลว่า

          แม้พระอานนท์เถระจะเป็นพระเสขบุคคล (พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล เป็นผู้ยังต้องศึกษา) แต่ท่านไม่ลำเอียงด้วยอคติ ๔ ประการ

          พระอานนท์เถระ เป็นเหมือนคลังพระสัทธรรม (ธรรมที่ดีธรรมที่แท้) เพราะได้สดับจากพระพุทธเจ้ามากว่าพระเถระทั้งหลายเป็นอันมาก

          พระมหากัสปะเถระจึงเลือกพระอานนท์เถระเข้าร่วมในการสังคายนาและประกาศด้วยญัติทุตยกรรมวาจาให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมรับมติ ๓ ประการคือ

          ๑. ยอมรับให้พระเถระจำนวน ๕๐๐รูป ที่คัดเลือกตามมติสงฆ์เป็นพระสังคีติกาจารย์ มีหน้าที่ในการสังคายนาพระธรรมวินัย
          ๒. ใช้สัตบรรพต ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ เป็นที่ทำสังคายนา
          ๓. ห้ามพระอื่นนอกจากพระสังคีติกาจารย์ เข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสะดวกแกการบิณฑบาต และป้องกันผู้ไม่หวังดีทำอันตรายต่อการสังคายา

          เมื่อพระสงฆ์ทั้งปวงลงมติยอมรับเป็นเอกฉันท์แล้วพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายก็เดินทางเข้ากรุงราชคฤห์ ขอพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระเจ้าอชาตศัตรู เรื่องการซ่อมวิหาร ๑๘ ตำบล สร้างสถานที่ทำสังคายนา ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับภาระเกี่ยวกับด้านราชอาณาจักรทุกประการ พระอานนท์เถระได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตก่อนการทำสังคายนา จึงเป็นอันว่าการทำสังคายนาในคราวนั้นทำโดยพระอรหันต์ล้วนทั้ง ๕๐๐ องค์ โดยเริ่มลงมือทำหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานแล้วได้ ๓ เดือน พระมหากัสสปะทำหน้าที่ปุจฉาพระวินัยและพระธรรม พระอุบาลีเถระกับพระอานนท์เถระทำหน้าที่วิสัชชนาพระวินัยและพระธรรมตามลำดับ โดยที่ประชุมกำหนดให้สังคายนาพระวินัยก่อน เพราะถือว่าพระวินัยเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนาเมื่อพระวินัยยังดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาย่อมชื่อว่าดำรงอยู่

          ในชั้นแรก พระมหากัสสปะเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนท์เถระได้ประกาศสวดสมติตน เพื่อทำหน้าที่ปุจฉาและวิสัชชานาพระวินัยและพระธรรม ตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ต่อแต่นันพระมหากัสสปะเถระจะสอบถมพระวินัยแต่ละข้อในส่วนที่เกี่ยวกับ สัตถุนิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ เป็นต้นแห่งสิกขาบทแต่ละสิกขาบท เมื่อพระอุบาลีตอมไปตามลำดับแล้ว พระสงฆ์ที่ประชุมกันจะสวดพระวินัยข้อนั้น ๆ พร้อมกัน เมื่อตรงกันไม่ผิดพลาดแล้วสงฆ์รับว่าถูกต้อง จึงถาข้ออื่นต่อไป ทำกันโดยนัยนี้จนจบพระวินัยปิฎกแบ่งเป็นหมวดใหญ่ได้ ๕ หมวด คือทิกกรรม ปาจิตตีย์ มหาวรรคจุลวรรค และบริวาร (ปัจจุบันพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือขนาดใหญ่ถึง ๘ เล่ม เรียกว่า เป็นหัวใจพระวินัยว่า อา.ปา.ม.จุ.ป.)

          ในด้านพระสูตรนั้นท่านเริ่มสังคายนาจากพระสูตรขนาดยาวก่อน คือ พรหมชาลสูตร สามัญญผลสูตร เป็นต้น สิ่งที่พระมหากัสสปะเถระ ถามคือ นิทาน บุคคล เนื้อหาแห่งพระสูตรนั้นเมื่อพระอานนท์เถระตอบแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงก็สาธยายพระสูตรนั้น ๆ พร้อมกันจนจบพระสูตรทั้งหมด โยแบ่งออกเป็น ๕ นิกาย การสังคายนาครั้งนี้ใช้เวลา ถึง ๗ เดือนจึงสำเร็จ

          หลังจากเสร็จการสังคายนาแล้ว พระอานนท์เถระได้แจ้งให้สงฆ์ทราบว่า ก่อนจะปรินิพาพาน พระพุทธเจ้ารับสั่งไว้ว่า

          "เมื่อเราล่วงไปสงฆ์ยังอยู่ จะพึงถอนสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียบ้างก็ได้"
          แต่พระอานนท์เถระไม่ได้กราบทูลว่า สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ นั้นคือสิกขาบทอะไรบ้าง กังสงฆ์ไม่อาจหาข้อยุติได้ว่า สิกขาบทเช่นไรชื่อว่าเล็กน้อย พระมหากัสสปะเถระจึงเสนอเป็นญัตติในที่ประชุมว่าด้วยญัตติทตุยกรรมวาจาความว่า
          - สิกขาบททั้งหลายบางอย่างก็เกี่ยวกับชาวบ้าน ชาวบ้านย่อมทราบว่า อะไรควรหรือไม่ควร สำหรับสมณศากยบุตรทั้งหลาย
          - หากจะถอนสิกขาบทบางข้อ ชาวบ้านจะตำหนิว่าพวกเราศึกษาและปฏิบัติตามสิกขาบททั้งหลาย ในขณะที่พระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น พอพระศาสนานิพพานก็ไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติ
          - ขอให้สงฆ์ทั้งปวงอย่าเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ และอย่าได้บัญญัติสิ่งที่พระพุทธมิได้ทรง บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาตามสิกขาที่ทรงบัญญัติไว้เท่านั้น



การสังคายนาครั้งที่ ๒
เมื่อพุทธศักราช ๑๐๐
ณ วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี

          การสังคายนาครั้งที่ ๒ ปรารถพวกภิกษุวัชชีบุตรกแสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้สิสัชนาประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อุทธศักราช ๑๐๐ โดยพระกาลาโศกราชเป็นศาสนูปภัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ

          หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ ๑๐๐ ปี พระภิกษุที่จำพรรษาในเมืองเวสาลี ได้ประพฤติผิดวินัย ๑๐ ประการเรียกว่าวัตถุ ๑๐ ประการคือ
          ๑. ภิกษุจะเก็บเกลือไว้ในเขนง (ภาชนะที่ทำด้วยเขาสัตว์) แล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้
          ๒. ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง ๒ องคุลี
          ๓. ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้วเข้าไปสู่บ้านจะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ทำวันัยกรรมตามพระวินัยได้
          ๔. ในอาวาสเดียวมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถได้
          ๕. ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกันจะทำอุโบสถไปก่อนได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้
          ๖. การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌายะอาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ
          ๗. นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ(นมเปรี้ยว)ภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว จะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรม หรือทำให้เดนตามพระวินัยก็ได้
          ๘. สุราที่ทำใหม่ ๆ ยังมีสีแดง เหมือนสีเท้านกพิราบ ยังไม่เป็นสุราเต็มที่ ภิกษุจะฉันก็ได้
          ๙. ผ้าปูนั่งคือนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภค ใช้สอยก็ได้
          ๑๐. ภิกษุรับและยินดีในทองเงินที่เขาถวายหาเป็นอาบัติไม่

          ต่อมาพระเถระอรหันต์ รูปหนึ่งชื่อพระยสกากัณฑกบุตร จากเมืองโกสัมพีได้ไปที่เมืองเวสาลี ได้พบเห็นพระภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี นำถาดทองสำริดเต็มด้วยน้ำ นำมาวางไว้ที่โรงอุโบสถ แล้วประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านบริจาคเงินใส่ลงในถาดนั้น โดยบอกว่าพระมีความต้องการด้วยเงินทอง แม้พระยสเถระจะห้ามปรามไม่ให้มีการถวายเงินทองในทำนองนั้น พระภิกษุวัชชีบุตรก็ไม่เชื่อฟังชาวบ้านเองก็คงถวายตามที่เคยปฏิบัติมา พระเถระจึงตำหนิทั้งพระวัชชีบุตรและชาวบ้าน ที่ถวายเงินทองและรับเงินทองในลักษณะนั้นเมื่อพระภิกษุวัชชีบุตรได้รับเงินแล้ว นำมาแจกกันตามลำดับพรรษานำส่วนของพระยสการัณฑบุตรมาถวายท่าน พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิอีก

          ภิกษุวัชชีบุตรไม่พอในที่พระเถระไม่ยอมรับตำหนิ จึงประชุมกันฉวยโอกาสลงปฏสาราณียกรรม คือการลงโทษให้ไปขอขมาคฤหัสถ์โดยกล่าวว่าพระเถระรุกรานชาวบ้าน ซึ่งพระเถระก็ยิยยอมไปขอขมาโดยนำภิกษุอนุฑูตไปเป็นพยานด้วย เมื่อไปถึงสำนักของอุบาสก พระเถระได้ชี้แจงพระวินัยให้ฟัง และบอกให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบว่า การกระทำของพระภิกษุวัชชีบุตรเป็นความผิด โดยยกเอาพระพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงไว้ความว่า

          "พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ได้ร้อนแรงและรุ่งเรืองด้วยรัศมีเพราะโทษมลทิน ๔ ประการ คือ หมอก ควัน ธุลี และอสุรินทราหู กำบังฉันใด ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะไม่มีตบะรุ่งเรืองด้วยศีล เพราะโทษมลทิน ๔ ประการปิดบังไว้ คือ ดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีรับเงินและทองอันเป็นเหมือนภิกษุนั้นยินดีบริโภคซึ่งกามคุณ และภิกษุเลี้ยงชีพในทางมิชอบด้วย เวชชกรรม กุลทูสกะ (ประจบเอาใจคฤหัสถ์ด้วยอาการอันผิดวินัย) อเนสนา (การหาลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรภิกษุ) และวิญญัติ (ขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ที่ไม่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา) พร้อมด้วยกล่าวอวดอตตริมนุษย์ธรรม อันไม่มีจริง"

          เมื่อพระยสกากัณฑกบุตรชี้แจง ให้อุบาสกอุบาสิกาเข้าใจแล้ว คนเหล่านั้นเกิดความเลื่อมใสพระเถระ อาราธนาให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ วาลการาม โดยพวกเขาจะอุปฐากบำรุงและได้อาศัยท่านบำเพ็ญกุศลต่อไป ฝ่ายภิกษุที่เป็นอนุฑูตไปกับพระเถระ ได้กลับมาแจ้งเรื่องทั้งปวงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบ ภิกษุวัชชีบุตรจะใช้พวกมากบีบบังคับพระเถระด้วยการลงอุปเขปนียกรรม (ตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว) แก่ท่านได้พากันยกพวกไปล้อมกุฏิของพระเถระ แต่พระเถระทราบล่วงหน้าเสียก่อนจึงได้หลบออกไปจากที่นั้น

          พระยาสกากัณฑกบุตรพิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้หากปล่อยไว้เนิ่นนานไป พระธรรมวินัยจะเสื่อมถอยลง พวกอธรรมวาทีอวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญขึ้น จึงได้ไปเมองปาฐา เมืองอวันตี และทักขิณาบถแจ้งให้พระที่อยู่ในเมืองนั้น ๆ ทราบ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไข และได้ไปเรียนให้พระสาณสัมภูตวาสี ซึ่งพำนักอยู่ ณ อโหคังคบบรรพตทราบและขอการวินิจฉัยจากพระเถระ พระสาณสัมภูตวาสีมีความเห็นเช่นเดียวกับพระยาสกากัณฑกบุตรทุกประการ

          ในที่สุดพระเถระอรหันต์จากเมืองปาฐา ๖๐ รูป จากแคว้นอวัตีและทักขิณาบถ ๘๐ รูป ได้ประชุมร่วมกับพระสาณสัมภูตวาสีและพระยสกากัณฑกบุตร ณ อโหคังคบพรรพต มติของที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าเรื่องนี้จะต้องมีการชำระกันให้เรียบร้อย โดยตกลงให้ไปอาราธนาพระเรวตเถระ ซึ่งเป้นพระอรหันต์ที่เป็นพหูสูตร ชำนาญในพระวินัยทรงธรรมวินัยมาติกาฉลาดเฉียบแหลม มีความละอายบาปรังเกียจบาปใคร่ต่อสิขาและเป็นนักปราชญ์ ให้เป็นประธานในการวินิจฉัยตัดสินเรื่องวัตถุ ทั้ง ๑๐ ประการนี้

          พระสาณสัมภูตวาสีได้นำเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เรียนถวายให้พระเรวตเถระทราบ และขอให้ท่านวินิจฉันทีละข้อ ปรากฏว่าทุกข้อที่ภิกษุวัชชีบุตรกระทำนั้น เป็นความผิดทางวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยตามที่พระสังคีติกาจารย์ได้กระทำมาแล้วในคราวสังคายนา

          ในที่สุดที่ประชุมของพระอรหันต์ทั้งหลายได้ตกลงกันว่า อธิกรณ์ (เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ) เกิดขึ้นในที่ใด ควรไปจัดการระงับในที่นั้นโดยพระเรวตเถระได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ขอให้สงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยอพุพาหิกา คือ การยกอธิกรณ์ไปชำระในที่เกิดอธิกรณ์ สงฆได้คัดเลือกพระเถระ ๘ รูปคือ
          - พระสัพพากามีเถระ พระสาฬหเถระ พระขุชชโสภิตเถระ พระวาสภคามีเถระทำหน้าที่แทนฝ่ายปราจีนคือพวกวัชชีบุตร ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยอธิกรณ์
          - พระเรวตเถระ พระสาณสัมภูตวาสี พระยสกากัณฑกบุตร เถระพระสุมนเถระเป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายสงฆ์ธรรมวาที มีหน้าที่ในการเสนออธิกรณ์ต่อสงฆ์

          สงฆ์ได้มอบหมายการสวดปาติโมกข์ การจัดแจงเสนาเสนะให้เป็นหน้าที่ของพระอชิตะ ซึ่งพรรษาได้ ๑๐ พรรษา และตกลงเลือกเอาวาลิการามหรือวาลุการาม เมืองเวสาลี อันเป้นที่เกิดเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธเถระ อีก ๖ รูป เป้นศิษย์ของพระอานนท์เถระซึ่งเป็นสังคีติกาจารย์สำคัญในราวปฐมสังคายนา

          เมื่อพระเจ้ากาลาโศกราชรับสั่งให้พระสงฆ์ทัเง ๒ ฝ่ายประชุมร่วมกัน และขอให้แต่ละฝ่ายแถลงเหตุผลให้ทราบ ทรงโปรดในเหตุผลของฝ่ายพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงปวารณาพระองค์ที่จะให้การอุปถัมภ์ฝ่ายอาณาจักรทุกประการ และโปรดให้ชำระมลทินพระศาสนา พร้อมด้วยการทำทุติยสังคายนา (การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒) ที่วาลุการาม เมืองเวสาลี พระอรหันต์เข้าร่วม ๗๐๐ รูปโดยมีการทำตามลำดับดังนี้

          ๑. พระเถระที่ได้กำหนดหน้าที่กันฝ่ายละ ๔ รูปนั้น พระเรวตเถระเอาวัตถุ ๑๐ ประการขึ้นมาถามทีละข้อ พระสัพพากามีเถระได้ตอบไปตามลำดัสว่า

          ๑.๑ การเก็บเกลือไว้ในแขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลงในอาหารที่จืดฉันเป้นอาบัติปาจิตตีย์ (จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบา พ้นได้ด้วยการแสดง) เพราะการสะสมอาหารตามโภชนสิกขาบท
          ๑.๒ การฉันโภชนะในเวลาวิกาลเมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว ถึง ๒ องคุลี ผิดต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในยามวิกาล
          ๑.๓ ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหารเข้าไปในบ้านแล้วฉันโภชนะที่เป็นอนติริตตะ (อาหารซึ่งไม่เป็นเดน ที่ว่าเป็นเดนมี ๒ คือ เป็นเดนภิกษุไข้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑) ผิดเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ และไม่ได้ทำวินัยกรรมก่อน
          ๑.๔ สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วยคิดว่าให้พวกมาทีหลังอนุมัติทั่งที่ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากัน ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยขันธกะ ใครทำต้องอาบัติทุกกฏ
          ๑.๕ อาวาสแห่งเดียวมีสีมาเดียวเท่านั้น ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิดหลักที่สรงบัญญัติไว้ในอุปโบสถขันธกะ ใครขืนทำต้องอาบัติทุกกฏ
          ๑.๖ การประพฤติปฏิบัติด้วยความเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจจารย์ของเราเคยประพฤติมาอย่างนี้ ไม่ถูกต้องนัก เพราะท่านเหล่านั้นอาจจะประพฤติผิดหรือถูก ก็ได้ ต้องยึดหลักพระวินัยจึงจะสมควร
          ๑.๗ นมส้มที่ละความเป็นนมสดไปแล้ว แต่ยังไม่กลายเป็นทธิภิกษุฉันภัตตาหารส้มห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันไม่เป็นเดนภิกษุไข้หรือยังไม่ทำวินัยกรรมไม่ควรต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่เป็นอนติริตตะ
          ๑.๘ การดื่มสุราอย่างอ่อนที่มีสีเหมือนเท้านกพิราบ ซึ่งยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมาไม่ควร เป็นปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย
          ๑.๙ ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชายภิกษุจะใช้ไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึงต้องตัดเสียจึงแสดงอาบัติตก
          ๑.๑๐ การรับเงินทองหรือยินดีทองเงินที่เขาเก็ไว้เพื่อตนไม่ควรต้องอาบัตินิสสัคคียะ ปาจิตติยะ เพราะรับทองและเงินซึ่งจะต้องสละจึงแสดงอาบัติตก
          ทุกข้อที่พระสัพพกามีวิสัชชนา ฝ่ายพระเรวตเถระได้เสนอให้สงฆ์ทราบทุกข้อและขอมติจากสงฆ์เพื่อให้ยอมรับว่า
          "วัตถุเหล่านี้ผิดธรรม ผิดวินัย เป็นการหลีกเลี่ยงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า" และได้ขอให้สงฆ์ลงมติทุกครั้นที่พระสัพพากมีเถระตอบ มติของสงฆ์จึงเห็นว่าวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ผิดธรรม ผิดวินัย โดยเสียงเอกฉันท์

          ๒. จากนั้นพระเถระทั้งหลายจึงเริ่มสังคายนาพระธรรมวินัยตามแบบที่พระมหากัสสปเถระ เป็นต้น ได้กระทำในคราวปฐมสังคายนากระทำสังคายนาคราวนี้ใช้เวลา ๘ เดือนจึงสำเร็จ


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธเจ้า
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2013, 08:22:10 pm »
ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
-http://www.dhammathai.org/buddha/buddha.php-

ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข


การสังคายนาครั้งที่ ๓
เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔
ณ อโศการมา เมืองปาฏลีบุตร

          การสังคายนาครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลากสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูปมีพระโมทคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศกหรือศรีธรรมาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ

          ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้มีเดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพราะเห็นว่าพระพุทธศาสนา มีลาภสักการะมากจนพระสงฆ์เกิดรังเกียจกันเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ในที่สุดไม่ทำอุโปสถสังฆกรรมร่วมกันถึง ๗ ปี ต่อมาความทราบถึงพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้รังสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งไปอาราธนาให้พระร่วมสังฆกรรมกัน เมื่อพระเหล่านั้นไม่ยินยอม อำมาตร์ถือว่าขัดพระบรมราชโองการจึงตัดคอพระมรณภาพไปหลายองค์ พระติสสเถระซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกเห็นเช่นนั้นจึงไปนั่งขวางไว้ อำมาตย์ไม่กล้าฆ่าพระราชอนุชา จึงกลับไปกราบทูลให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบทุกประการ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตกประทัยมากกลัวว่าบาปกรรมจะมาถึงพระองค์ด้วย แม้ว่าอำมาตย์จะทำไปโดยพลการก็ตาม จึงไปเรียนถามพระเถระทั้งหลายปรากฏว่าท่านเหล่านั้นตอบไม่ตรงกัน ในที่สุดได้รับคำแนะนำจากพระเถระให้ไปอาราธนาพระโมคคัลลี บุตรติสสเถระ ให้มาวินิจฉัยให้ และจะได้ช่วยชำระเรื่องเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น

          พระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระนี้ ท่านเล่าว่าเป็นผู้ที่พระอรหันต์ในคราวทุติยสังคายนา ขอให้จุติจากพรหมโลกมาชำระพระศาสนาในคราวนี้โดยตรง โดยมอบหมายให้พระเถระ ๒ รูปคือ พระสิคควเถระและพระจันทวิชชีเถระ รับหน้าที่ในการนำติสสมหาพรหม ซึ่งจะมาปฏิสนธิในครรถ์ของนางโมคคัลลีพราหมณ์ ให้ออกบวช อบรมให้การศึกษาจนแตกฉานในพระธรรมวินัยโดยถือเป็นทัณฑกรรมสำหรับท่านทั้ง ๒ ฐานขาดการประชุม ในคราวที่พระสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ โดยพระสิคควะเถระนำติสสกุมารออกบวชเป็นสามเณร ให้ศึกษาข้อธรรมเบื้องต้น พระจันทวัชชีเถระให้อุปสมบทเป็นภิกษุ ให้ศึกษาธรรมเบื้องสูงขึ้นไป เดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก ไม่อาจจัดการได้ด้วยลำพังอำนาจสงฆ์ ต้องอาศัยพระราชอำนาจจึงทำได้ พระเถระเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า

          "บัดนี้อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานนักอธิกรณ์นี้จักหยาบช้ากล้าแข็งขึ้น ถ้าเราอยู่ในท่ามกลางเดียรถีย์ เหล่านี้จักไม่อาจระงับอธิกรณ์ได้ " จึงมอบหมายการบริหารสงฆ์ให้พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นลัทธิวิหารริกของท่าน และเป็นราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านเองได้หลีกไปพักอยู่ที่อโธคังบรรพต ตอนเหนือของแม่น้ำคงคา

          พระเจ้าอโศกมหาราชส่งอำมาตย์ พระธรรมกถึก ๔-๘ ท่านพร้อมด้วยบริวารไปเรียนให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาตามพระบรมราชโองการ ๒ คราว แต่พระเถระไม่ยอมรับอาราธนา เพราะท่านเหล่านั้นพูดไม่ถูกเรื่อง จึงต้องเพิ่มจำนวนพระธรรมกถึก อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวารให้ไปอาราธนาว่า

          "ข้าแต่พระคุณเจ้า ศาสนากำลังเสื่อมโทรม ขอพระคุณเจ้าเป็นสหายของพวกข้าพเจ้า เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาเถิด"

          เมื่อพระเถระได้สดับพระราชสาสน์นั้นคิดว่า

          "เรามาบวชด้วยตั้งใจว่า จักเชิดชูพระศาสนามาตังแต่ต้นแล้วเวลาของเรามาถึงแล้ว"

          พระเถระได้มาด้วยแพล่องมาตามลำน้ำคงคา พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จลงต้อนรับด้วยความเลื่อมใส แต่ยังข้องใจในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ จึงได้เรียนถามข้อที่ทรงข้องพระทัย เรื่องอำมาตย์ฆ่าพระเถระมรณภาพไปหลายรูป พระเถระได้ถวายวิสัชนาให้หายข้องพระทัยความว่า เมื่อพระองค์ไม่มีพระประสงค์จะให้อำมาตย์ฆ่าภิกษุ บาปจึงไม่มีแก่พระองค์ และให้พระราชามั่นพระทัยด้วยพระพุทธภาษิตว่า

          "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ "

          นอกจากนั้น พระเถระยังได้ยกภาษิตของดาบสในติตติรชาดกความว่า
          "ถ้าท่านไม่มีความคิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริงกรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หากถูกต้องบุคคลผู้ไม่คิดไม่"

          หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสบายพระทัย เพราะได้ฟังคำวินิจฉัยพระเถระแล้ว พระเถระได้ถวายพระพรให้ทราบเรื่องสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในกรุงปาฏิลีบุตร พร้อมกับให้พระราชาเรียนสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา จนสามารถแยกได้ว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา อะไรไม่ใช่ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาสอบถามด้วยพระองค์เองว่า
          "ก็วาที สมมาสมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร"
          ท่านรูปใดตอบว่า วิภชชวาที มีปรกติตรัสจำแนก ถือว่าเป็นพระที่แม่จริง ท่านที่ตอบเป็นอย่างอื่น ถือว่าเป็นเดียรถีย์ปลอมบวช รับสั่งให้แจกผ้าขาวแก่คนเหล่านั้น ให้สึกออกไปจำนวนมาก

          เมื่อได้มีการชำระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้อาราธนาให้พระสงฆ์ทำอุโบสถสังฆกรรมกันตามปรกต ิโดยพระองค์ทำการอารักขาพระสงฆ์ทั้งปวงก็พร้อมเพรียงกันทำอุโบสถตั้งแต่นั้นมา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ประเด็นสำคัญในตติสังคายนาคือ

          ๑. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีสังคีติกาจารย์เข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ เริ่มทำปีพุทธศักราช ๒๓๔

          ๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ยกเอาวาทะของนิกายต่าง ๆ ที่เผยแพร่กันในสมัยนั้นขึ้นวิพากย์เกือบ ๓๐๐ ข้อ ถือว่าเป็นความเห็นผิดจากพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์ "กถาวัตถุ ในพระอภิธรรมปิฎก" ขึ้นทำให้คัมภีร์ในอภิธรรมปิฏกสมบูรณ์ในคราวนี้เอง

          ๓.รูปแบบการสังคายนาอย่างอื่นทำตามแบบที่พระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาท่านกระทำโดยใช้เวลานานถึง ๙ เดือน จึงสำเร็จ

          ๔.พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพิจารณาเห็นว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงได้จัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารไปเผยแผ่พระศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย (มีความโดยละเอียดในหัวข้อ "กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป")
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)