อัตตประวัติ ๑๐๖ ปี
หลวงปู่สุภา กันตสีโล
อริยสงฆ์ห้าแผ่นดิน ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี
ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
คัดลอกจาก
http://www.luangpoosupa.comhttp://www.dharma-gateway.com/monk/m...-supa-hist.htmมี ผู้กล่าวว่า กว่าจะมีพระอรหันต์ปรากฏในโลกย่อมนานแสนนาน ทั้งเมื่อพระอรหันต์ปรากฏแล้วก็จะมีเพียงผู้คนไม่กี่ร้อยกี่พันคนเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าใจในความเป็นพระอรหันต์ และได้รับการโปรดด้วยธรรมะอันลุ่มลึก และพิสดารจนสามารถเข้าถึงแก่นแท้แห่งชีวิตและความเป็นอนิจจัง ด้วยว่าพระอรหันต์ย่อมแสดงกิริยาอาการหรือสื่อความเป็นพระอรหันต์มิได้แต่ เพียงน้อยนิด ด้วยสมเด็จพระทศพลญาณทรงปรับโทษสูงถึงอาบัติปาราชิก แม้จะมีภูมิธรรมอันเป็นพระอรหันต์ก็ตามที ดังนั้น แม้จะไม่พบอาจพบพระอรหันต์ได้ในชีวิตนี้ ก็ยังมีพระสุปฏิปันโน อันเป็นเนื้อนาบุญของสัตว์โลก ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนให้ได้บูชาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตนเองและบุคคลอันเป็นที่รัก สมเด็จพระญาณไตรโบกนาถบรมศาสดาทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า พระสุปฏิปันโน เปรียบเสมือนนาข้าวอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอินทรีย์สารอันมีประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโตของต้นข้าว ให้รวงข้าวอันเต่งทุกเม็ด ให้ผลแก่ร่างกายมนุษย์และสัตว์เมื่อบริโภค ข้าวเปลือกเปรียบเสมือนทานบารมีที่พุทธศาสนิกชนได้หว่าลงในเนื้อนาบุญของ สัตว์โลก คือพระสุปฏิปันโน ย่อมให้ต้นข้าวและรวงข้าวอันมีโภคผลในกรหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้ล่วงลับดับไป จากโลกนี้แล้ว และให้ความอยู่ดีมีสุขแก่ผู้ที่ยังต้องดำรงชีวิตอยู่ในโลกอันเต็มไปด้วย กิเลสและตัณหาอันเชี่ยวกรากเสมือนเรืออันแข็งแรงพาผู้โดยสารข้ามวังวนแห่ง กิเลสไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ตามกำลังแห่งศรัทธาปสาทะและความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของแต่ละบุคคล ดังนั้นจะขอนำท่านไปพบกับหลวงพ่อสุภา กันตะสีโล ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี พระสุปฏิปันโนผู้เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาลของโลกอีกองค์หนึ่ง ซึ่งชีวิตท่านอุทิศแล้วแก่พระพุทธศาสนา และอุทิศแก่การโปรดสัตว์ผู้ยาก พ้นแก่วังวนของกิเลสและตัณหา แผ่เมตตาธรรมโดยถ้วนห้าแก่ทุกชีวิตที่เข้ามาพึ่งใบบุญ สงเคราะห์แก่ทุกผู้ทุกนามโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ สายตาของท่านมองดูสัตว์โลกด้วยความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ประเสริฐ มองลึกเข้าไปจากเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องประดับและยศถาบรรดาศักดิ์จอมปลอม ทุกคนจึงได้รับการปฏิบัติจากหลวงพ่อสุภา กันตะสีโลโดยเท่าเทียมทุกวันวาร
ปฐมบทของหลวงปู่สุภา กันตสีโล
ครอบ ครัวของท่านขุนภักดี หรือผู้ใหญ่บ้านพล วงศ์ภาคำ และนางสอ วงศ์ภาคำ เป็นที่เคารพของชาวบ้านคำบ่อ อ.วารินชำราบ จ.สกลนคร ทั้งนี้เพราะท่านผู้ใหญ่พลสร้างแต่ความดี มีน้ำใจและบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรในปกครองอย่างเสมอหน้า ว่ากล่าวตักเตือนด้วยความเมตตา เมื่อพบผู้กระทำผิดอันพอจะอภัยได้ และกระทำการจับกุมอย่างเด็ดขาดในกรณีที่กฎหมายไม่อาจจะละเว้นหรือตักเตือน ได้ ทุกคนจึงพร้อมที่จะร่วมมือกันท่านผู้ใหญ่พลในทุก ๆ ด้าน บ้านคำบ่อจึงอยู่กันอย่างสงบสุขตลอดมา
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก คุณแม่สอก็ให้กำเนิดบุตรชายคนที่ ๘ ในสกุลวงศ์ภาคำ เป็นเด็กที่มีความอ้วนท้วนสมบูรณ์ หน่วยก้านบอกว่า ต่อไปจะเป็นคนดีของบ้านเมือง และคนดีศรีวงศ์ตระกูล ท่านผู้ใหญ่พล จึงให้นามบุตรชายคนนี้ว่า “สุภา” อันประกอบด้วย “สุ” แปลว่า “ดี” และ “ภา” มาจากส่วนหนึ่งของสกุลว่า “วงศ์ภาคำ” ซึ่งมีความหมายว่า คนดีของตระกูลวงศ์ภาคำ นั่นเอง
หลวงปู่สุภามีพี่น้องทั้งหมด 8 คน คือ
1. นางสี วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
2. นายเสน วงศ์ภาคำ (บวชเป็นพระภิกษุ - มรณภาพ)
3. นางผม วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
4. นางเกตุ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
5. นายจันทร์เพ็ง วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
6. หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล
7. นางมาลีจันทร์ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)
8. นางกา วงศ์ภาคำ (ยังมีชีวิตอยู่)
หลวง ปู่สุภารำลึกความหลังให้กับสานุศิษย์ได้รับรู้ว่า เมื่อท่านยังเป็นเด็กที่มีรูปร่างอ้วนท้วน เจ้าเนื้อ ผิวขาว ซุกซนตามประสาเด็กทั่วไป แต่ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในครอบครัว และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เมื่อวัยของท่านเจริญเติบโตเพียงพอจะเล่าเรียนได้แล้ว ผู้เป็นบิดาของท่านได้พาไปฝากไว้ในวัด ให้ได้เล่าเรียนเขียนอ่านตามสมควรแก่วัย และเวลาหลวงปู่เป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย มักชอบเล่าเรียนมากว่าเด็กในรุ่นเดียวกัน
หลวงปู่สุภายังจำได้แม่นยำ เหมือนเพิ่งเกิดเมื่อไม่กี่วันมานี้ ถึงสิ่งที่ท่านได้ประสบกับสิ่งที่เรียกว่า “การพยากรณ์” จากปากของพระธุดงค์ที่มาปักกลดใต้ต้นตะแบกใหญ่ท้ายหมู่บ้านคำบ่อ เด็กน้อยชื่อสุภา วัยเพียง ๗ ขวบ คลานเข้าไปกราบแทบตักพระธุดงค์ มือของพระธุดงค์ลูบศีรษะของเด็กน้อยด้วยความเอ็นดู บอกให้ลุกขึ้นนั่งทอดสายตา มองดูรูปร่างของเด็กน้อยที่นั่งอยู่ตรงหน้าเป็นครู่ใหญ่ จึงกล่าวกับเด็กน้อยหรือหลวงปู่สุภาเมื่อตอนอายุได้ ๗ ขวบ ว่า
“เด็กน้อย เอ๊ย ต่อไปเจ้าจักได้บวชเรียน ถวายตัวในพุทธศาสนา บวชเมื่อใดแล้วจงอย่างลืมไปเสาะหาหลวงพ่อให้จงได้ อย่าลืมนะ พบกันในวาระที่เจ้าได้ครองผ้าเหลืองเหมือนหลวงพ่อนี้แหละ”
หลวงปู่สุภา เมื่อยังเป็นเด็ก ไม่เข้าใจว่านั่นคือคำพยากรณ์ จึงไม่ใส่ใจ แต่ได้จ้องดูหน้าของพระธุดงค์จนจดจำองคาพยพไว้ได้ทั้งหมด ก่อนจะกราบลาออกไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กซุกซนตามปกติ
วันเวลาเคลื่อนคล้อย ไปอีกสองปีเต็ม หลวงปู่สุภามีอายุได้ ๙ ขวบ จึงขอผู้เป็นบิดาออกบรรพชาเป็นสามเณร ท่านผู้ใหญ่พลไม่ขัดข้อง เพราะเห็นแล้วว่า หลวงปู่สุภาเป็นผู้เอาใจใส่ในการเล่าเรียน แม้จะไม่ได้เรียนทางโลก หากแต่เรียนทางธรรม ย่อมมีความเจริญดุจเดียวกัน จึงนำไปให้พระอาจารย์สวนทำการบรรพชาเป็นสามเณรและสั่งสอนอบรมอยู่หนึ่งปี เต็ม
วันหนึ่ง พระอาจารย์สวนได้บอกกับหลวงปู่สุภา
“อย่างเณรมันต้องก้าวหน้ากว่านี้ ฉันจะพาเข้าเมืองอุบลฯ ไปเล่าเรียนต่อให้แตกฉาน อยู่กับฉันมันก็แค่นี้แหละเณร”