ผู้เขียน หัวข้อ: มธุรัตถวิลาสินี  (อ่าน 19900 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #50 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:54:24 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธสฺส วจนํ สุตฺวา ทสสหสฺสีน
จูภยํ ความว่า สดับพระดำรัสของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า และของ

เทวดาในหมื่นจักวาล. บทว่า อุภยํ ได้แก่ อุถเยสํ คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ

ลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ หรือ คำทั้งสอง. บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ได้แก่

เราคิดอย่างนี้.

บทว่า อเทฺวชฺฌวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เป็นสองอย่าง อธิบาย
ว่า มีพระดำรัสเป็นอย่างเดียว. ปาฐะว่า อจฺฉิทฺทวจนา ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น

มีความว่าไม่มีโทษ. บทว่า อโมฆวจนา ได้แก่ มีพระดำรัสไม่เท็จ. บทว่า

วิตถํ ความว่า คำเท็จไม่มี. บทว่า ธุวํ พุทฺโธ ภวามหํ พึงทราบว่าท่าน

ทำเป็นคำปัจจุบันกาล โดยเป็นเรื่องแน่นอนและเป็นเรื่องมีโดยแท้ว่า เราจัก

เป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว.

บทว่า สูริยุคฺคมนํ ได้แก่ การอุทัยของดวงอาทิตย์หรือปาฐะก็อย่างนี้
เหมือนกัน. บทว่า ธุวสสฺสตํ ได้แก่ มีความเป็นโดยส่วนเดียว และเที่ยง

แท้. บทว่า นิกฺขนฺตสยนสฺส ได้แก่ ผู้ออกไปจากที่นอน. บทว่า

อาปนฺนสฺตฺตานํ ได้แก่ สัตว์ผู้มีครรภ์หนัก อธิบายว่าผู้มีครรภ์. บทว่า

ภารโมโรปนํ ได้แก่ ภารโอโรปนํ อธิบายว่า การปลงลงซึ่งครรภ์. ม

อักษรทำการสนธิบท คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายทั้งนั้นแล.

สุเมธบัณฑิต ทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เรานั้นจักเป็นพระพุทธเจ้า
แน่แท้ เพื่อใคร่ครวญถึงพุทธการกธรรมทั้งหลาย จึงเลือกเฟ้นธรรมธาตุทั้งสิ้น

โดยลำดับว่า พุทธการกธรรมทั้งหลาย อยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง

ในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้งหลาย ก็เห็นทานบารมีอันดับแรก ที่พระโพธิสัตว์ทั้ง

หลายเก่าๆ ในกาลก่อนช่องเสพเป็นประจำกันมา จึงสอนพระองค์เองอย่างนี้ว่า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับตั้งแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีก่อน เหมือนอย่าง

ว่า หม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลง ย่อมหลั่งน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่นำน้ำกลับเข้าไป

ฉันใด ท่านก็ไม่พึงเสียดายทรัพย์หรือยศ บุตรภรรยาหรืออวัยวะใหญ่น้อย

เมื่อให้ทุกอย่างที่ยาจกต้องการๆ กันไม่เหลือไว้เลยในที่ทั้งปวง ก็จักนั่งเป็น

พระพุทธเจ้าที่โคนโพธิพฤกษ์ ดังนี้แล้วอธิษฐานทานบารมีไว้มั่นเป็นอันดับ

แรก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เอาเถิด เราจักเลือกเฟ้นพุทธการกธรรม ทางโน้น
ทางนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง ทั้งสิบทิศ ตราบเท่าที่
ธรรมธาตุยังเป็นไป.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นทานบารมีเป็น
อันดับแรก เป็นทางใหญ่ ที่พระผู้แสวงคุณใหญ่
หลายพระองค์ก่อน ๆ ประพฤติตามกันมาแล้ว.
ท่านจงสมาทาน ทานบารมีนี้ไว้มั่นเป็นอันดับ
แรกก่อน จงบำเพ็ญทานบารมี ผิว่าท่านต้องการจะ
บรรลุพระโพธิญาณ.
หม้อที่เต็มด้วยน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งวางคว่ำปาก
ลงก็สำรอกน้ำออกไม่เหลือเลย ไม่รักษาน้ำไว้ในหม้อ
นั้น แม้ฉันใด.
ท่านเห็นยาจก ทั้งชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูง แล้ว
จงให้ทานไม่เหลือเลย เหมือนหม้อน้ำที่คว่ำปาก ฉัน
นั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ.
บทว่า พุทฺธกเร ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า ธรรม

๑๐ ประการมี ทานปารมิตา เป็นต้น ชื่อว่าธรรมทำความเป็นพระพุทธเจ้า.

บทว่า วิจินามิ ได้แก่ จักเลือกเฟ้น อธิบายว่า จักทดสอบ จักสอบสวน.

บทว่า อิโต จิโต ได้แก่ ช้างโน้น ข้างนี้. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน

ความว่า จะเลือกเฟ้นในที่นั้นๆ. บทว่า อุทฺธํ ได้แก่ ในเทวโลก. บทว่า

อโธ ได้แก่ ในมนุษยโลก. บทว่า ทสทิสา ได้แก่ ในสิบทิศ อธิบายว่า

พุทธการกธรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในทิศ

ใหญ่ทิศน้อย. คำว่า ยาวตา ในคำว่า ยาวตา ธมฺมธาตุยา นี้ เป็นคำกล่าว

กำหนด. บทว่า ธมฺมธาตุยา ได้แก่ แห่งสภาวธรรม พึงเห็นว่าเติมคำที่เหลือ

ว่า ปวตฺตนี แปลว่า ความเป็นไปแห่งสภาวธรรม ท่านอธิบายไว้อย่างไร

ท่านอธิบายไว้ว่า จักเลือกเฟ้นเพียงเท่าที่สภาวธรรม คือธรรมส่วนกามาวจร

รูปาวจรเป็นไป.

บทว่า วิจินนฺโต ได้แก่ ทดสอบ สอบสวน. บทว่า ปุพฺพเกหิ
ได้แก่ อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ. บทว่า อนุจิณฺณํ ได้แก่

สะสม ซ่องเสพ. บทว่า สมาทิย ได้แก่ จงทำการสมาทาน อธิบายว่า จง

สมาทานอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราควรบำเพ็ญทานบารมีนี้ก่อน. บทว่า ทาน-

ปารมิตํ คจฺฉ ได้แก่ ถึงทานบารมี. อธิบายว่าทำให้เต็ม. บทว่า ยทิ โพธึ

ปตฺตุมิจฺฉสิ ความว่า ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าไปโคนโพธิ์แล้วบรรลุ พระ-

อนุตตรสัมมาสัมโพธิ. บทว่า ยสฺส กสฺสจิ ความว่า เต็มด้วยน้ำหรือน้ำนม

อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อประกอบ สัมปุณฺณ ศัพท์ ปราชญ์ทางศัพทศาสตร์

ประสงค์ฉัฏฐีวิภัตติ หรือฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. ความว่า ด้วยน้ำ

อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อโธกโต ได้แก่ อันเขาคว่ำปากลง. บทว่า น

ตตฺถ ปริรกฺขติ ได้แก่ รักษาไว้ไม่ได้ในการไหลของน้ำนั้น อธิบายว่าหลั่ง

น้ำออกไม่เหลือเลย. บทว่า หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิเม ได้แก่ ชั้นต่ำชั้นกลางและ

ชั้นประณีต ม อักษรทำบทสนธิ. บทว่า กุมฺโภ วิย อโธกโต ได้แก่

เหมือนหม้อที่วางคว่ำปาก. สุเมธบัณฑิตสอนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อน

สุเมธ ท่านพบคนยาจกที่เข้าไปหา จงบำเพ็ญทานบารมีด้วยการบริจาคทรัพย์

ทั้งหมดของตนไม่ให้เหลือ อุปบารมีด้วยการบริจาคอวัยวะ และปรมัตถปารมี

ด้วยการบริจาคชีวิต.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า ไม่ควรมีแต่พุทธ-
การกธรรมเพียงเท่านี้ ก็เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสอง จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า ดู

ก่อนสุเมธบัณฑิตตั้งแต่นี้ไป ท่านควรบำเพ็ญศีลบารมี ขึ้นชื่อว่าเนื้อจามรีไม่อาลัย

แม้แต่ชีวิต ย่อมรักษาขนหางของตนอย่างเดียว ฉันใด ตั้งแต่นี้ไป ท่านไม่

อาลัยแม้แต่ชีวิต รักษาศีล อย่างเดียว ฉันนั้น แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า จึง

อธิษฐานศีลบารมีอันดับสองไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่จักมีแต่เพียงเท่านี้
เท่านั้น เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่นๆ ที่ช่วย
อบรมบ่มโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นศีลบารมีอันดับ
สอง ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ พา
กันซ่องเสพอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานศีลบารมีอันดับสองนี้ไว้มั่นก่อน
จงบำเพ็ญศีลบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุพระ-
โพธิญาณ.
เนื้อจามรี รักษาขนหางที่ติดอยู่ในที่บางแห่ง
ยอมตายอยู่ในที่นั้น ไม่ยอมให้ขนหางกระจุย ฉันใด
ท่านจงทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ในฐานะ ๔ จง
บริรักษ์ศีลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหาง ฉันนั้น
เหมือนกัน.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:55:21 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เหเต ได้แก่ น หิ เอเตเยว มิใช่
พุทธธรรมเหล่านั้นเท่านั้น. บทว่า โพธิปาจนา ได้แก่ บ่มมรรค หรือ

อบรมบ่มพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุติยํ สีลปารมึ ความว่า ธรรมดาศีล

เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทุกอย่าง ผู้ตั้งอยู่ในศีล ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม

ทั้งหลาย ทั้งย่อมได้คุณส่วนโลกิยะและโลกุตระทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เราจึง

เห็นศีลบารมีเป็นอันดับสองว่า ควรบำเพ็ญศีลบารมี.

บทว่า อาเสวิตนิเสวิตํ ได้แก่ เจริญแล้วและทำให้มากแล้ว. บทว่า
จมรี ได้แก่ เนื้อจามรี. บทว่า กสฺมิญฺจิ ได้แก่ ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง คือ

ในต้นไม้เถาวัลย์และเรียวหนามเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ปฏิลคฺคิตํ

แปลว่า ติดอยู่. บทว่า ตตฺถ ความว่า ขนหางติดอยู่ในที่ใด มันก็ยืนยอมตาย

ในที่นั้น. บทว่า น วิโกเปติ ได้แก่ ไม่ตัด. บทว่า วาลธึ ได้แก่ ไม่ตัด

ขนหางไป อธิบายว่า ยอมตายในที่นั้นนั่นแหละ.

บทว่า จตูสุ ภูมีสุ สีลานิ ความว่า ศีลทั้งหลายแจกเป็น ๔
ฐานะ คือปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจย-

สันนิสสิตศีล. แต่เมื่อว่าโดยภูมิ ศีล ๔ แม้นั้นนั่นแล นับเนื่องในภูมิ ๒

นั่นแล. บทว่า ปริปูรย ได้แก่ จงให้บริบูรณ์ โดยไม่มีขาดเป็นท่อน เป็นช่อง

ด่างพร้อยเป็นต้น. บทว่า สพฺพทา ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า จมรี วิย

ได้แก่ เหมือนเนื้อจามรี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็มีความง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้ ก็เห็นเนกขัมมบารมีเป็นอันดับสาม จึงสอนตนเองอย่างนี้ว่า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี บุรุษที่อยู่ใน

เรือนจำมานาน ย่อมไม่รักเรือนจำนั้น ที่แท้ก็เอือมระอา ไม่อยากอยู่ แม้

ฉันใด แม้ตัวท่านก็จงเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ จงเอือมระอาอยากพ้น

ไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะอย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ

เป็นดังนั้น ท่านก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้. แล้วอธิษฐานเนกขัมมบารมีอันดับ

สามไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
เราจึงเลือกเฟ้นพุทธธรรมแม้อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นเนกขัมมบารมี
อันดับสาม ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเนกขัมมบารมีอันดับสามนี้ไว้ให้
มั่นก่อน จงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ผิว่า ท่านต้องการ
จะบรรลุพระโพธิญาณ.
บุรุษอยู่ในเรือนจำมานาน ระทมทุกข์ ย่อมไม่
เกิดความรักในเรือนจำนั้น แสวงหาทางพ้นอย่างเดียว
ฉันใด.
ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ มุ่งหน้า
ต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นจากภพ ฉันนั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺทุฆเร แปลว่า เรือนจำ. บทว่า
จิรวุฏฺโฐ แปลว่า อยู่มาตลอดกาลนาน. บทว่า ทุขฏฺฏิโต ได้แก่ ถูกทุกข์บีบ

คั้น. บทว่า น ตตฺถ ราคํ ชเนติ ความว่า ไม่ยังความคิด ความรักให้เกิด

ให้อุบัติในเรือนจำนั้นได้ อธิบายว่า ไม่ยังความรักให้เกิดในเรือนจำนั้นอย่างนี้

ว่า เราพ้นเรือนจำนี้แล้วจักไม่ไปในที่อื่น บุรุษผู้นั้นจะแสวงหาความหลุดความ

พ้นไปทำไมเล่า. บทว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข ได้แก่ จงมุ่งหน้าต่อการออกบวช.

บทว่า ภวโต ได้แก่ จากภพทั้งปวง. บทว่า ปริมุตฺติยา ได้แก่ เมื่อหลุดพ้น

ปาฐะว่า เนกฺขมฺมาภิมุโข หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มีคำที่

เหลือในข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
มิใช่มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นปัญญาบารมีอันดับสี่ แล้วสอนตนเองอย่างนี้ว่า

ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมี ท่านไม่พึงเว้น

คนชั้นต่ำชั้นกลางและชั้นสูงไรๆ เข้าไปหาบัณฑิตทุกท่าน แล้วถามปัญหา

ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เว้นตระกูลทั้งหลายมีตระกูลต่ำเป็นต้นไร ๆ

เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้เร็วฉันใด

แม้ท่านก็จงเข้าไปหาบัณฑิตทุกท่านถามปัญหา ก็จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น

เหมือนกัน แล้วอธิษฐานปัญญาบารมีอันดับสี่ไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น มิใช่จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้น
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นปัญญาบารมี
อันดับสี่ ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันอยู่เป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานปัญญาบารมี อันดับสี่นี้ไว้ให้มั่น
จงบำเพ็ญปัญญาบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
เหมือนอย่างว่า ภิกษุเมื่อขอก็ขอทั้งตระกูลชั้นต่ำ
ตระกูลชั้นกลางและตระกูลชั้นสูง ไม่เว้นตระกูลทั้ง
หลายเลย ดังนั้นจึงได้อาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไป
ได้ ฉันใด.
ท่านสอบถามชนผู้รู้ทุกเวลา ถึงฝั่งปัญญาบารมี
แล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ฉันนั้นเหมือนกัน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขนฺโต ได้แก่ ผู้เที่ยวไปบิณฑบาต.
บทว่า หีนมุกฺกฏฺฐมชฺฌิเม ความว่า ตระกูลทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง และชั้นกลาง

ท่านทำเป็นลิงควิปลาส. บทว่า น วิวชฺเชนฺโต ได้แก่ ไม่บริหาร อธิบายว่า

ภิกษุละลำดับเรือนเที่ยวบิณฑบาต ชื่อว่าเว้นไม่ทำอย่างนั้น. บทว่า ปริปุจฺ-

ฉนฺโต ความว่า เข้าไปหาบัณฑิต ผู้มีชื่อเสียงในที่นั้น ๆ สอบถามโดยนัย

เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มี

โทษดังนี้. บทว่า พุธํ ชนํ ได้แก่ ชนผู้เป็นบัณฑิต. ปาฐะว่า พุเธ ชเน

ดังนี้ก็มี. บทว่า ปญฺญาย ปารมึ ได้แก่ ฝั่งแห่งปัญญาบารมี. ปาฐะว่า

ปญฺญาปารมิตํ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี คำที่เหลือในข้อแม้นี้ ก็มีความง่ายเหมือน

กันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มิใช่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นวิริยบารมีอันดับห้า พึงสอนตน

เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่วิริยบารมี

ราชสีห์ พระยามฤค มีความเพียรมั่นคงในอิริยาบถทั้งหมดแม้ฉันใด แม้ตัว

ท่านก็ต้องมีความเพียรมั่นคง มีความเพียรไม่ท้อถอยในอิริยาบถทั้งปวง ในภพ

ทั้งปวงอยู่ฉันนั้น จึงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ อธิษฐานวิริยบารมีอันดับห้าไว้

อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
โพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นวิริยบารมีอันดับ
ห้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทาน วิริยบารมีอันดับห้านี้ไว้ให้มั่น
ก่อน จงบำเพ็ญวิริยบารมี ผิว่า ท่านต้องการจะบรรลุ
พระโพธิญาณ.
ราชสีห์พระยามฤค มีความเพียรไม่ท้อถอยใน
อิริยาบถนอน ยืน เดิน ประคองใจทุกเมื่อ ฉันใด.
ท่านจงประคองความเพียรไว้ให้มั่นในภพทั้งปวง
ถึงฝั่งแห่งวิริยบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ฉันนั้นเหมือนกัน.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:56:17 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลีนวิริโย แปลว่า มีความเพียรไม่ย่อ
หย่อน. บทว่า สพฺพภเว ได้แก่ ในภพที่เกิดแล้วเกิดอีก. อธิบายว่า ในภพ

ทั้งปวง, ปาฐะว่า อารทฺธวิริโย หุตฺวา สมฺโพธึ ปาปุณิสฺสสิ ดังนี้ก็มี

คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลาย มิใช่พึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นขันติบารมีอันดับหกจึงสอนตนเอง

อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญขันติบารมี ต้อง

อดทนทั้งในการยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่น เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายย่อมทิ้ง

ของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ลงบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่ทำความรัก

หรือความขัดเคือง ด้วยเหตุนั้น ย่อมอดทนอดกลั้นได้ทั้งนั้น ฉันใด แม้ตัวท่าน

ก็ต้องอดทนในการยกย่องและดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันจึง

จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็อธิษฐานขันติบารมีอันดับหกไว้มั่นคง ด้วยเหตุนั้น

จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่
จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยอบรมบ่ม
พระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นขันติบารมีอันดับ
หก ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อนๆ
ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานขันติบารมี อันดับหกนี้ไว้ให้มั่น
ก่อน ท่านจงมีใจไม่เป็นสองในขันติบารมีนั้น ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมทนสิ่งของที่เขาทิ้งลงมา
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่ทำความยินดี
ยินร้าย ฉันใด.
แม้ตัวท่าน ก็ต้องอดทนการยกย่องและการดู
หมิ่นของชนทั้งปวง ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งแห่ง
ขันติบารมีแล้ว ก็จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในขันติบารมีนั้น. บทว่า
อเทฺวชฺฌมานโส ได้แก่ มีใจส่วนเดียว. บทว่า สุจิมฺปิ ได้แก่ ของสะอาด

มีจันทน์หญ้าฝรั่นของหอมดอกไม้เป็นต้นบ้าง. บทว่า อสุจิมฺปิ ได้แก่ ของ

ไม่สะอาดมีซากงู สุนัข คนและมูตร น้ำลาย น้ำมูกเป็นต้นบ้าง บทว่า สหติ

ได้แก่ อดกลั้น. บทว่า นิกฺเขปํ ได้แก่ นิกฺขิตฺตํ อันเขาทิ้งแล้ว. บทว่า

ปฏิฆํ ได้แก่ ความโกรธ. บทว่า ตยา คือ เพราะพฤติการณ์นั้น หรือ

เพราะเหตุที่ทิ้งของนั้น. ปาฐะว่า ปฏิฆํ ทยํ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า

ไม่ทำความยินดียินร้าย เพราะการทั้งของนั้น. บทว่า สมฺมานาวมานกฺขโม

ความว่า แม้ตัวท่านก็จงทนการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวง. พุทธบริษัท

ทั้งหลาย สวดกันว่า ตเถว ตฺวมฺปิ สมฺภเว สมฺมานนวิมานกฺขโม

ดังนี้ก็มี ปาฐะว่า ขนฺติยา ปารมึ คนฺตฺวา ดังนี้ก็มี ความว่า ถึงโดย

บำเพ็ญขันตินั้นให้เป็นบารมี. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล. ต่อแต่

นี้ไป จักไม่กล่าวความมีประมาณเท่านี้ กล่าวแต่ที่แปลกกัน แสดงปาฐะอื่น

ไป.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายมิใช่มีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับเจ็ด จึงสอนตนเอง

อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญแม้แต่สัจบารมี

เมื่อสายฟ้าแม้ตกลงตรงกระหม่อม ท่านก็อย่าพูดเท็จทั้งรู้ โดยอคติมีฉันทาคติ

เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นอาทิ ธรรมดาดาวประกายพรึก ถึงละทาง

โคจรของตนในฤดูทุกฤดู ก็ไม่โคจรไปทางอื่น โคจรอยู่ในทางของตนเท่านั้น

แม้ฉันใด ถึงตัวท่านละสัจจะก็ไม่พูดเท็จฉันนั้นเหมือนกัน ก็จักเป็นพระพุทธ-

เจ้าได้ แล้วอธิษฐานสัจบารมีอันดับเจ็ดไว้มั่น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
ไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบรม
บ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้น ก็เห็นสัจบารมีอันดับ
เจ็ด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานสัจบารมีอันดับเจ็ดนี้ไว้มั่นก่อน
ท่านมีวาจาไม่เป็นสองในสัจบารมีนั้น ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณ.
ธรรมดาดาวประกายพรึก เป็นดังตาชั่งของ
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่ว่าในฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อน
ไม่โคจรออกนอกวิถีโคจรเลย แม้ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็อย่าเดินออกนอกวิถีทางในสัจจะทั้ง
หลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงฝั่งสัจบารมีแล้วก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในสัจบารมี. บทว่า
อเทฺวชฺฌวจโน แปลว่า มีวาจาไม่เท็จ. บทว่า โอสธี นาม แปลว่า ดาวประ-

กายพรึก. ในการถือเอายา ชนทั้งหลายแลเห็นดาวประกายพรึกขึ้นจึงถือเอายา

เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าดาวประกายพรึก. บทว่า ตุลาภูตา ได้แก่ เป็น

เครื่องวัด. บทว่า สเทวเก แปลว่า ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. บทว่า สมเย

ได้แก่ ในฤดูฝน. บทว่า อุตุวสฺเส ได้แก่ ในฤดูหนาวฤดูร้อน. ปาฐะว่า สมเย

อุตุวฏฺเฏ ดังนี้ก็มี. ปาฐะนั้นมีความว่า บทว่า สมเย ได้แก่ ฤดูร้อน. บทว่า

อุตุวฏฺเฏ ได้แก่ฤดูหนาวและฤดูฝน. ได้แก่ ฤดูหนาวและฤดูฝน. บทว่า

น โอกฺกมติ วีถิโต ดาวประกายพรึก ย่อมไม่โคจรออกจากวีถี คือ ไม่

โคจรไปนอกวิถีโคจรของตนในฤดูนั้น ๆ คือ โคจรไปทิศปัจฉิม ๖ เดือน

โคจรไปทิศบูรพา ๖ เดือน. อีกนัยหนึ่ง ยา มีขิง ดีปลี พริกเป็นต้น ชื่อว่า

โอสธี. บทว่า น โวกฺกมติ ความว่า ยาขนานใด ๆ สามารถให้ผล ยา

ขนานนั้น ๆ ให้ผลแล้ว ไม่ให้ผลของตัวเองก็ไม่สูญหายไป. บทว่า วีถิโต

ได้แก่ จากทางไป. อธิบายว่า ยาแก้ดีก็รักษาดี แก้ลมก็รักษาลม แก้เสมหะ

ก็รักษาเสมหะ. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิต นั้น ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย มีเท่านี้เท่านั้นก็หาไม่ ก็เห็นอธิษฐานบารมีอันดับแปด จึง

สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญแม้แต่

อธิษฐานบารมี ตั้งอธิษฐานใดไว้ ก็เป็นผู้ไม่คลอนแคลนในอธิษฐานนั้น

ชื่อว่าภูเขา เมื่อลมพัดมากระทบทุกทิศก็ไม่หวั่นไม่ไหว นิ่งอยู่ในที่ของตน

เท่านั้น ฉันใด ถึงตัวท่านเมื่อไม่คลอนแคลนในอธิษฐานของตน ก็จักเป็น

พระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อธิษฐาน อธิษฐานบารมีอันดับแปดไว้มั่น

และด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีแต่เพียงเท่านี้เท่านั้นก็
หาไม่ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นอธิษฐานบารมี
อันดับแปด ซึ่งพระผู้แสวงคุณทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ
ซ่องเสพกันเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอธิษฐานบารมีอันดับแปดนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานบารมีนั้น
แล้ว ก็จักบรรลุพระโพธิญาณได้.
ภูเขาหิน ที่ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมไม่
ไหวด้วยลมแรงกล้า ย่อมตั้งอยู่ในฐานของตน ฉันใด.
ถึงตัวท่าน ก็จงไม่หวั่นไหว ในอธิษฐานบารมี
ทุกเมื่อ ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอธิษฐาน-
บารมีแล้ว จึงจักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:57:43 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสโล ได้แก่ ที่สำเร็จด้วยหิน. บทว่า
อจโล ได้แก่ ไม่คลอนแคลน. บทว่า สุปฺปติฏฺฐิโต ได้แก่ ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี

เพราะไม่คลอนแคลนนั่นแล. ปาฐะว่า ยถาปิ ปพฺพโต อจโล นิขาโต

สุปฺปติฏฺฐิโต ดังนี้ก็มี. บทว่า ภุสวาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมมีกำลัง. บทว่า

สกฏฺฐาเนว ได้แก่ ในฐานของตนนั่นแหละ อธิบายว่า ในฐานตามที่ตั้งอยู่

นั่นแล คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้น ก็ใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่าอันพุทธการก-
ธรรมทั้งหลาย จะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ก็หาไม่ เห็นเมตตาบารมีอันดับเก้า

แล้ว ก็สอนตนเองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้อง

บำเพ็ญเมตตาบารมี ท่านพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งในผู้มีประโยชน์

เกื้อกูล ทั้งในผู้ไม่มีประโยชน์เกื้อกูล เปรียบเหมือนน้ำย่อมเอิบอาบ

ทำความเย็นเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งบาปชน ทั้งกัลยาณชน แม้ฉันใด

ถึงตัวท่าน มีจิตเป็นอย่างเดียวกันด้วยเมตตาจิต ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็จัก

เป็นพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน อธิษฐานเมตตาบารมีอันดับเก้าไว้นั่นแล

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่นๆ ซึ่งจะช่วย
อบรมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นก็เห็นเมตตาบารมีอัน
ดับเก้า ซึ่งพระผู้แสวงคุณยังใหญ่ทั้งหลาย พระองค์
ก่อนๆ ซ่องเสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานเมตตาบารมี อันดับเก้านี้ไว้มั่น
ก่อน จงเป็นผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยเมตตา ผิว่า ท่านต้อง
การบรรลุพระโพธิญาณ.
ธรรมดาน้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปเสมอกัน ทั้งใน
คนดีและคนชั่ว ย่อมพัดพาซึ่งมลทินคือ ธุลีไป แม้
ฉันใด.
ท่านจงแผ่เมตตาไปสม่ำเสมอ ในคนที่เป็นประ-
โยชน์เกื้อกูล และชนที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งเมตตาบารมีแล้ว ก็จักบรรลุ
พระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสโม โหหิ ได้แก่ จงเป็นผู้ไม่มีผู้
เสมือนด้วยเมตตาภาวนา. ในคำนั้น ปาฐะว่า ตฺวํ สมสโม โหหิ ดังนี้ก็มี.

ปาฐะนั้น มีความง่ายแล. บทว่า สมํ ได้แก่ ชั่งได้. บทว่า ผรติ ได้แก่ ถูก

ต้อง. บทว่า ปวาเหติ ได้แก่ ชำระ. บทว่า รโช ได้แก่ ธุลีที่จรมา. บทว่า

มลํ ได้แก่ มลทินมีมลทินคือเหงื่อเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นที่สรีระ ปาฐะว่า รชมลํ

ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า หิตาหิเต ได้แก่ ผู้มีประโยชน์

และผู้ไม่มีประโยชน์ อธิบายว่ามิตรและอมิตร. บทว่า เมตฺตาย ภาวย ได้

แก่จงเจริญเพิ่มพูนเมตตา คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

ลำดับนั้น สุเมธบัณฑิตนั้นใคร่ครวญยิ่งขึ้นไปว่า อันพุทธการกธรรม
ทั้งหลายจะพึงมีเพียงเท่านี้เท่านั้นหามิได้ เห็นอุเบกขาบารมีอับดับสิบ จึงสอนตน

เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต ตั้งแต่นี้ไป ท่านต้องบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึง

วางตัวเป็นกลาง ทั้งในสุข ทั้งในทุกข์ ขึ้นชื่อว่าแผ่นดิน ย่อมเป็นกลางในผู้ใส่

ของสะอาดบ้างแม้ฉันใด ถึงตัวท่าน เมื่อวางตัวเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็

จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ก็อธิษฐานอุเบกขาบารมีอันดับสิบไว้มั่นด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า

พุทธธรรมเหล่านั้น จักมีเพียงเท่านี้เท่านั้นก็หา
มิได้ จำเราจักเลือกเฟ้นพุทธธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยอบ
รมบ่มพระโพธิญาณ.
ครั้งนั้น เมื่อเราเลือกเฟ้น ก็เห็นอุเบกขาบารมี
ซึ่งพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทั้งหลายพระองค์ก่อน ๆ ซ่อง
เสพกันมาเป็นประจำ.
ท่านจงสมาทานอุเบกขาบารมี อันดับสิบนี้ไว้ให้
มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้มั่นคงดั่งตาชั่ง ก็จักบรรลุพระ-
โพธิญาณได้.
ธรรมดาแผ่นดิน ย่อมวางเฉยต่อสิ่งของที่เขาทิ้ง
ลง ไม่ว่าสะอาด ไม่สะอาด แม้ทั้งสองอย่างเว้นความ
ยินดียินร้าย แม้ฉันใด.
ท่านจงเป็นดั่งตาชั่งในสุขและทุกข์ทุกเมื่อฉันนั้น
เหมือนกัน ท่านถึงฝั่งแห่งอุเบกขาบารมีแล้ว ก็จัก
บรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุลาภูโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
คันตาชั่งที่เขาชั่งเท่ากัน ก็ตั้งอยู่เท่ากันไม่หกลง ไม่กระดกขึ้น ฉันใด แม้

ตัวท่านก็ต้องเป็นเสมือนตาชั่งในสุขและทุกข์ทั้งหลาย จึงจักบรรลุพระสัมโพธิ-

ญาณได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า โกปานุนยวชฺชิตา ได้แก่ เว้นความ

ยินดียินร้าย. ปาฐะว่า ทยาโกปวิวชฺชิตา ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือน

กัน คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในขันติบารมีนั่นแล.

แต่นั้น สุเมธบัณฑิต ครั้นเลือกเฟ้นบารมีธรรม ๑๐ นี้แล้ว ต่อจาก
นั้น ก็คิดว่า ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้าอันช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ

อันพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพึงบำเพ็ญในโลกนี้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น ไม่มียิ่งไป

กว่า แต่ว่าบารมีเหล่านี้ ไม่มีอยู่แม้ในอากาศเบื้องบน ไม่มีอยู่แม้ในทิศทั้งหลาย

มีทิศบูรพาเป็นต้น แต่ว่าตั้งอยู่ในระหว่างเนื้อหัวใจของเราเท่านั้น เห็นว่า

บารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหัวใจตนอย่างนี้แล้ว ก็อธิษฐานบารมีเหล่านั้นทั้งหมด

ไว้มั่น เมื่อพิจารณาบ่อยๆ ก็พิจารณาทั้งอนุโลม ทั้งปฏิโลม จับปลายเอามา

ชนต้น จับต้นเอามาชนปลาย จับกลางเอามาชนทั้งสองข้าง จับปลายทั้งสองข้าง

เอามาชนกลาง บริจาคสิ่งของภายนอกชื่อ บารมี บริจาคอวัยวะ ชื่อ อุปบารมี

บริจาคชีวิต ชื่อปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-

บารมี ๑๐ รวมบารมี ๓๐ ทัศ พิจารณาเหมือนหมุนกลับน้ำมันในยนตร์ เมื่อ

สุเมธบัณฑิตนั้นพิจารณาบารมี ๑๐ อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม มหาปฐพีอันกว้าง

หนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ส่งเสียงร้องก้องกัมปนาทสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว

ประหนึ่งกำอ้อที่ถูกช้างเหยียบ และประหนึ่งเครื่องยนตร์หีบอ้อยที่บีบคั้น

ปั่นหมุนประหนึ่งล้อแป้นทำภาชนะดินและล้อยนตร์บีบคั้นน้ำมันฉะนั้น ด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า

ธรรมซึ่งช่วยอบรมบ่มพระโพธิญาณ ในโลกมี
เพียงเท่านี้เท่านั้น ที่สูงนอกไปจากนั้นไม่มี ท่านจง
ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้นอย่างมั่นคง.
เมื่อเรากำลังพิจารณาธรรมเหล่านี้ โดยลักษณะ
แห่งกิจคือสภาวะ หมื่นแผ่นพสุธาก็หวาดไหวเพราะ
เดชแห่งธรรม.
ปฐพีไหวส่งเสียงร้อง เหมือนยนตร์หีบอ้อยบีบ
อ้อย แผ่นดินก็ไหวเหมือนลูกล้อในยนตร์บีบน้ำมันงา
ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตฺตกาเยว ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า
บารมี ๑๐ ที่ยกแสดงไม่ขาดไม่เกิน. บทว่า ตตฺทฺธํ ความว่า ที่สูงไปกว่า

บารมี ๑๐ นั้นไม่มี. บทว่า อญฺญตฺร แปลว่าอื่น ลักษณะศัพท์พึงถือตาม

คัมภีร์ศัพท์ศาสตร์ ความว่า พุทธการกธรรมอื่นจากบารมี ๑๐ นั้น ไม่มี.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่บารมี ๑๐ เหล่านั้น. บทว่า ปติฏฺฐห แปลว่า จงตั้งอยู่

ความว่า จงทำให้บริบูรณ์ตั้งอยู่.

บทว่า อิเม ธมฺเม ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า สมฺมสโต ได้แก่
ทรงสอบสวน พึงเห็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถอนาทระ. บทว่า สภาวสรสาลฺก-

ขเณ ความว่า ทรงพิจารณาโดยลักษณะที่มีกิจคือหน้าที่กล่าวคือสภาวะความ

จริง. บทว่า ธมฺมเตเชน ได้แก่ ด้วยเดชคืออำนาจแห่งการรู้จักเลือกเฟ้น

บารมี. รัตนะเรียกว่า วสุ ในบทว่า วสุธา. ธรรมชาติใดทรงไว้ซึ่งรัตนะนั้น

หรือรัตนะทรงอยู่ในธรรมชาตินั้น เหตุนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วสุธา ทรง

ไว้ซึ่งรัตนะหรือเป็นที่ทรงรัตนะ. ธรรมชาตินั้นคืออะไร คือเมทนีแผ่นดิน.

บทว่า ปกมฺปถ แปลว่าไหวแล้ว อธิบายว่าก็เมื่อสุเมธบัณฑิตกำลังเลือกเฟ้น

บารมีทั้งหลาย ด้วยเดชแห่งญาณของสุเมธบัณฑิตนั้น หมื่นแผ่นปฐพีก็กัมป-

นาท.

บทว่า จลติ ได้แก่ ไหว มี ๖ ประการ. บทว่า รวติ ได้แก่ บันลือ
ส่งเสียงร้อง. บทว่า อุจฺฉุยนฺตํว ปิฬิตํ แปลว่า เหมือนยนตร์หีบอ้อย

บีบอ้อย. ปาฐะว่า คุฬยนฺตํว ปีฬิตํ ดังนี้ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า เตลยนฺเต แปลว่าในยนตร์ที่คั้นน้ำมัน . บทว่า ยถา จกฺกํ ได้แก่

เหมือนยนตร์ที่มีล้อใหญ่ของผู้ใช้ยานมีล้อ [ล้อรถ-เกวียน]. บทว่า เอวํ

ความว่า ยนตร์ที่ใช้ลูกกลมคั้นน้ำมัน ย่อมหมุน ย่อมสั่น ฉันใด เมทนีคือแผ่น

ดินนี้ก็สั่น ฉันนั้น. คำที่เหลือแม้ในข้อนี้ ก็ง่ายเหมือนกันแล.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่อย่างนี้ มนุษย์ชาวรัมมนครที่เข้าเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ไม่อาจยืนอยู่ได้ ก็ล้มสลบเหมือนต้นสาละใหญ่ ถูกยุคันธวาตะ

พัดกระหน่ำ ภาชนะดินมีหม้อเป็นต้น ก็หมุนกระทบกันและกันแหลกเป็นจุรณ

ไป. มหาชนหวาดกลัว ก็เข้าไปหาพระศาสดา ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่รู้เหตุนี้ว่า นี้เป็นอาการหมุนตัวของนาค หรือของ

ภูต ยักษ์ เทวดาพวกหนึ่งหรือพระเจ้าข้า อนึ่งเล่ามหาชนนี้ทั้งหมดถูกภัยรบกวน

จักเป็นความชั่วของโลกนี้ หรือเป็นความดีพระเจ้าข้า ขอโปรดตรัสบอกเหตุนี้

ด้วยเถิด.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงสดับคำของชนเหล่านั้น แล้วตรัสว่า พวก
ท่านอย่ากลัวกันเลย อย่าคิดอะไรเลย ไม่มีภัยที่เกิดจากเหตุการณ์นี้แก่พวก

ท่านดอก. ผู้ใดเราพยากรณ์ว่า วันนี้ สุเมธบัณฑิตจักเป็นพระพุทธเจ้านาม

ว่า โคตมะ ในอนาคตกาล ผู้นั้นกำลังพิจารณาบารมีทั้งหลายในบัดนี้ ด้วย

เดชแห่งธรรมของท่านผู้กำลังพิจารณานั้น ทั่วหมื่นโลกธาตุจึงไหวและส่งเสียง

ร้องพร้อมๆ กัน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บริษัทที่อยู่ในที่เฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ตัวสั่นงันงกอยู่
ในที่นั้น พากันนอนสลบอยู่เหนือพื้นดิน.
หม้อเป็นอันมากหลายร้อยหลายพัน กระทบกัน
และกัน แหลกเป็นจุรณอยู่ในที่นั้น.
มหาชนทั้งหลาย หวาดสะดุ้งกลัวหมุนวนมีใจ
ถูกบีบ พากันมาประชุมเข้าเฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า
ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ เหตุดีเหตุชั่วจักมีแก่
โลกหรือ โลกถูกเหตุนั้นรบกวนทั้งโลกหรือ ขอพระ-
องค์โปรดทรงบรรเทาความกลัวนั้นด้วยเถิด.
ครั้งนั้นพระมหามุนีทีปังกร ทรงยังมหาชนเหล่า
นั้นให้เข้าใจแล้วตรัสว่า พวกท่านจงวางใจ อย่ากลัว
ในการที่แผ่นดินไหวทั้งนี้เลย.
วันนี้ เราพยากรณ์ผู้ใดว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมก่อนๆ ที่พระชินเจ้าทรงเสพ
แล้ว.
เมื่อท่านผู้นั้นกำลังพิจารณาธรรมคือพุทธภูมิไม่
เหลือเลย ด้วยเหตุนั้น หมื่นแผ่นปฐพีนี้ในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลกจึงไหว.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า
อาสิ แปลว่า ได้มีแล้ว. ปาฐะว่า ยา ตทา ปริสา อาสิ ดังนี้ก็มี ปาฐะ

นั้นมีความว่า บริษัทใดตั้งอยู่ในที่นั้น. บทว่า ปเวธมานา แปลว่า ไหว

อยู่. บทว่า สา ได้แก่ บริษัทนั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เข้าเฝ้านั้น.

บทว่า เสติ แปลว่า นอนแล้ว.

บทว่า ฆฏา แปลว่า แห่งหม้อทั้งหลาย คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ความว่า หลายพันแห่งหม้อทั้งหลาย. บทว่า สญฺจุณฺณม-

ถิตา แปลว่า เป็นจุรณด้วย แหลกด้วย ความว่า แหลกเป็นจุรณ. บทว่า

อญฺญมญฺญํ ปฆฏฺฏิตา แปลว่า กระทบซึ่งกันและกัน. บทว่า อุพฺพิคฺคา

ได้แก่ มีใจหวาด. บทว่า ตสิตา ได้แก่ เกิดสะดุ้ง. บทว่า ภีตา ได้แก่ กลัว

ภัย. บทว่า ภนฺตา ได้แก่ มีใจแปรปรวน อธิบายว่า มีใจหมุนไปผิดแล้ว

คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า สมาคมฺม ได้แก่ มา

ประชุมกัน หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุปทฺทุโต ได้แก่ ถูกย่ำยี. บทว่า ตํ วิโนเทหิ ได้แก่ จง
บรรเทา อธิบายว่า จงกำจัดภัยที่คุกคามนั้น. บทว่า จกฺขุม ได้แก่ ข้าแต่

พระองค์ผู้มีพระจักษุ ด้วยจักษุ ๕. บทว่า เตสํ ตทา ได้แก่ ครั้งนั้น ยัง

ชนเหล่านั้น คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า สญฺญาเปสิ

ได้แก่ ให้รู้ให้ตื่น. บทว่า วิสฺสตฺถา ได้แก่ มีจิตสนิทสนม. บทว่า มา ภาถ

แปลว่า อย่ากลัว. บทว่า ยมหํ ตัดบทเป็น ยํ อหํ หมายถึงสุเมธบัณฑิต.

บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า ปุพฺพกํ ได้แก่ ของเก่า. บทว่า

ชินเสวตํ ความว่า อันพระชินเจ้าทั้งหลายเสพแล้ว ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์.

บทว่า พุทฺธภูมึ ได้แก่ บารมีธรรม. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุที่พิจารณา

นั้น. บทว่า กมฺปิตา ได้แก่ ไหวแล้ว . บทว่า สเทวเก ได้แก่ ในโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก.

ต่อนั้น มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตแล้วก็ร่าเริงยินดี พากัน
ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้นออกจากรัมมนคร เข้าไปหาพระ-

โพธิสัตว์ บูชาด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น ไหว้แล้ว ทำประทักษิณแล้ว

กลับเข้าไปยังรัมมนคร ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาบารมี ๑๐ กระทำ

อธิษฐานวิริยะให้มั่น แล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

เพราะฟังพระพุทธดำรัส ใจของมหาชนก็สงบ
เย็นในทันที ทุกคนจึงเข้ามาหาเรา พากันกราบไหว้
เราอีก.
ครั้งนั้น เรายึดถือพระพุทธคุณ ทำใจไว้มั่น น้อม
นมัสการพระทีปังกรพุทธเจ้าเเล้วจึงลุกขึ้นจากอาสนะ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มโน นิพฺพายิ ความว่า ใจของมหาชน

ผู้มีใจหวาด เพราะแผ่นดินไหว ก็สงบเย็น อธิบายว่า ถึงความสงบ เพราะฟัง

เหตุที่แผ่นดินไหวนั้น. ปาฐะว่า ชโน นิพฺพายิ ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น ง่าย

เหมือนกัน. บทว่า สมาทิยิตฺวา ได้แก่ ถือเอาโดยชอบ อธิบายว่า สมาทาน.

บทว่า พุทฺธคุณํ ได้แก่ บารมีทั้งหลาย. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ผู้เอ็นดูสรรพสัตว์กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ
เทวดาสิ้นทั้งหมื่นจักรวาล ก็ประชุมกันบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น

อันเป็นทิพย์ ก็เปล่งสดุดีมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้

ท่านปรารถนาความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ แทบบาทมูลของพระทีปังกรทศพล ขอ

ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่านโดยไม่มีอันตรายเถิด ภัยหรือความหวาดกลัวใน

ความปรารถนานั้นอย่าได้มีแก่ท่านเลย โรคแม้จำนวนเล็กน้อย ก็จงอย่าเกิดใน

สรีระของท่าน ท่านจงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วแทงตลอดพระสัมมาสัมโพธิ-

ญาณโดยเร็ว ต้นไม้ดอกต้นไม้ผลย่อมออกดอก ออกผลตามฤดูกาล ฉันใด

แม้ตัวท่านก็อย่าล่วงเลยฤดูสมัยนั้นเสีย จงสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลันเทอญ.

ครั้นเปล่งสดุดีอย่างนี้แล้ว ก็พากันกราบไหว้แล้วกลับไปยังเทวสถานของตนๆ

ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันเทวดาทั้งหลายสดุดีแล้ว ดำริว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐

แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ในที่สุดสี่อสงไขย กำไรแสนกัป แล้วอธิษฐานความ

เพียรไว้มั่นคง โลดขึ้นสู่อากาศ ไปยังหิมวันตประเทศที่มีคณะฤษี. ด้วยเหตุ

นั้น จึงตรัสว่า

เทวดาถือดอกไม้ทิพย์ มนุษย์ถือดอกไม้มนุษย์
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองโปรยดอกไม้ทั้งหลาย แก่เรา
ผู้กำลังลุกขึ้นจากอาสนะ.
ก็เทวดาและมนุษย์ทั้งสองนั้น พากันแซ่ซ้อง
สวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ท่านจงได้
ความปรารถนานั้น สมปรารถนาเถิด.
ขอเสนียดจัญไร จงปราศไป ความโศก โรค
จงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอท่าน
จงสัมผัสพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยเร็วเถิด.
ต้นไม้ดอก ย่อมออกดอกบานเมื่อถึงฤดูกาล ฉัน
ใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบานด้วยพุทธญาณ
ฉันนั้นเหมือนกันเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมี
๑๐ ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ท่านก็จงบำเพ็ญบารมี
๑๐ ฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้ที่โพธิมัณฑ-
สถาน ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้
ที่โพธิมัณฑสถานของพระชินเจ้าฉันนั้นเถิด.
พระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงประกาศพระ-
ธรรมจักร ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจง
ประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้นเถิด.
ดวงจันทร์ในราตรีเพ็ญเต็มดวง รุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านมีมโนรถเต็มแล้ว จงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ
ฉันนั้นเถิด.
ดวงอาทิตย์พ้นจากราหูแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ ฉันใด
ท่านพ้นจากโลกแล้ว ก็จงรุ่งโรจน์ด้วยสิริ ฉันนั้น
เหมือนกันเถิด.
แม่น้ำทุกสาย ย่อมไหลลงสู่มหาสมุทร ฉันใด
โลกพร้อมทั้งเทวโลก ขอจงชุมนุมยังสำนักของท่าน
ฉันนั้นเถิด.
ครั้งนั้น เรานั้นอันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
สดุดีสรรเสริญแล้ว ก็สมาทานบารมีธรรม ๑๐ ประการ
เมื่อจะยังธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์จึงเข้าไปในป่าใหญ่.

ออฟไลน์ ตถตา

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 326
  • พลังกัลยาณมิตร 154
    • ดูรายละเอียด
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #54 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2010, 07:58:48 pm »
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพํ ความว่า เทวดาทั้งหลายถือดอกไม้
ทิพย์มีดอกมณฑารพ ดอกปาริฉัตตกะ ดอกไม้กัลปพฤกษ์ ดอกบัว เป็นต้น

มนุษย์ทั้งหลายก็ถือดอกไม้มนุษย์. บทว่า สโมกิรนฺติ ความว่า โปรยปราย

ลงบนตัวเรา. บทว่า วุฏฺฐหนฺตสฺส ได้แก่ กำลังลุกขึ้น. บทว่า เวทยนฺติ

ได้แก่ ให้ทรงรู้แล้ว ให้ทรงเข้าใจแล้ว. บทว่า โสตฺถี แปลว่า ความสวัสดี

บัดนี้ เพื่อแสดงอาการที่ให้ทรงรู้ จึงกล่าวว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่

เป็นต้น อธิบายว่า ข้าแต่ท่านสุเมธบัณฑิต ท่านปรารถนาตำแหน่งอันยิ่งใหญ่

ท่านจงได้ตำแหน่งนั้น สมปรารถนาเถิด.

บทว่า สพฺพีติโย ความว่า ชื่อ อีติ เพราะเป็นที่มาของอันตราย,
อันตรายทั้งปวง ชื่อว่า สัพพีติยะ ได้แก่ อุปัทวะ. บทว่า วิวชฺชนฺตุ

ได้แก่ อย่ามีเลย. บทว่า โสโก โรโค วินสฺสตุ ความว่า โศก

กล่าวคือความเศร้า และโรคกล่าวคือความเสียดแทง จงพินาศไป. บทว่า

เต ได้แก่ ตว แก่ท่าน. บทว่า มา ภวนฺตฺวนฺตรายา ได้แก่

อันตรายทั้งหลายจงอย่ามี. บทว่า ผุส ได้แก่ จงถึง จงบรรลุ. บทว่า โพธึ

ได้แก่ พระอรหัตมรรคญาณ ถึงพระสัพพัญญุตญาณก็ควร. บทว่า อุตฺตมํ

ได้แก่ ประเสริฐสุด พระอรหัตมรรคญาณ ท่านกล่าวสูงสุด เพราะให้พระพุทธ.-

คุณทั้งปวง.

บทว่า สมเย ความว่า เมื่อถึงสมัยออกดอกบานของต้นไม้นั้น ๆ.
บทว่า ปุปฺผิโน ได้แก่ ต้นไม้ดอก. บทว่า พุทฺธญาเณหิ ได้แก่ ด้วยพุทธ-

ญาณ ๑๘. บทว่า ปุปฺผสุ ได้แก่ จงออกดอก. บทว่า ปูรยุํ ได้แก่

บำเพ็ญแล้ว . บทว่า พุชฺฌเร ได้แก่ ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ชินโพธิยํ

ได้แก่ ในความตรัสรู้ของพระชินเจ้าคือของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อธิบายว่า

ที่โคนต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ปุณฺณมาเย ได้แก่

ในราตรีเพ็ญ. บทว่า ปุณฺณมโน ได้แก่ มีมโนรถเต็มแล้ว.

บทว่า ราหุมุตฺโต ได้แก่ พันจากราหู คือโสพภานุ. บทว่า ตาเปน
ได้แก่ ด้วยแสงร้อนแรง แสงสว่าง. บทว่า โลกา มุจฺจิตฺวา ความว่า เป็น

ผู้อันโลกธรรมฉาบทาไม่ได้แล้ว . บทว่า วิโรจ ได้แก่ จงรุ่งเรือง. บทว่า

สิริยา ได้แก่ ด้วยพุทธสิริ. บทว่า โอสรนฺติ ได้แก่ ย่อมเข้าไปสู่มหาสมุทร.

บทว่า โอสรนฺตุ ได้แก่ จงเข้าไป. บทว่า ตวนฺติเก ความว่า

สู่สำนักของท่าน. บทว่า เตหิ ได้แก่ อันเทวดาทั้งหลาย. บทว่า

ถุตปฺปสฺตฺโถ ได้แก่ ชมแล้วและสรรเสริญแล้ว หรืออันพระทีปังกรพุทธเจ้า

เป็นต้นที่เทวดามนุษย์ชมแล้ว ทรงสรรเสริญแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อว่า ผู้อันพระ-

พุทธเจ้าที่เทวดามนุษย์ชมแล้วทรงสรรเสริญแล้ว. บทว่า ทส ธมฺเม ได้แก่

บารมีธรรม ๑๐. บทว่า ปวนํ แปลว่า ป่าใหญ่ อธิบายว่า เข้าไปป่าใหญ่ใกล้

ธัมมิกบรรพต. คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบพรรณนาเรื่องความปรารถนาของท่านสุเมธ
แห่งอรรถกถาพุทธวงศ์ ชื่อ มธุรัตถวิลาสินี

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: มธุรัตถวิลาสินี
« ตอบกลับ #55 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2010, 01:59:40 am »
 :45: อนุโมทนาครับพี่แฮม ขอบพระคุณครับผม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~