แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน
ทะลวงมิติความตาย ด้วย มรณานุสติแบบธิเบต
มดเอ๊กซ:
บทที่สอง
ความนำ
เนื้อหาของบทที่สองมาจากบทปาฐกถาชุดหนึ่งของท่านเก-เช งา-วัง พระ ลามะจากวิหารเซ-ราแห่งธิเบตภาคกลาง ( ปัจจุบันย้ายไปก่อตั้งอยู่ในอินเดีย ภาคใต้ ) ในปี ค.ศ. ๑๙๗๖ เกลน เอช.มุลลิ กับไมเคิล เฮลบัค เพื่อนชาว เยอรมัน ต้องช่วยกันทำนิตยาสารภาษาเยอรมัน ต้องช่วยกันทำนิตยาสาร ภาษาเยอรมันเกี่ยวกับวัฒนธรรมธิเบต มาแต่สวรรค์ชั้นดุสิต ( Aus Tushita ) เนื้อหาตอนหนึ่งเป็นเรื่องของทัศนะที่ชาวธิเบตมีต่อความตายและภาวะการ ตาย รวมทั้งพิธีกรรมและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความตาย มุลลิน กับเฮลบัคจึงไปหาท่าน เก-เช งา-วัง ดาร์-คเย เพื่อขอให้ท่านบรรยายข้อ คิดเห็นในเรื่องดังกล่าวในตอนแรก เก-เช งา-วัง ดาร์-คเย ได้อธิบายถึงเค้า โครงการทำมรณสติของท่านปา-บอง-ขะ รินโปเช ซึ่งเป็นปฐมาจารย์ของ บรรดาคุรุผู้ฝึกสอนทะไลลามะองค์ปัจจุบัน จากนั้น ท่านเก-เช ดาร์-คเย ก็ ได้กล่าวถึงทัศนะของท่านเองในเรื่องข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความตาย โดยละเอียด ซึ่งแสดงให้เห็นวิธีการที่แตกต่างกันของฝ่ายหีนยาน มหายาน และวัชรยาน สัญญาณภายในและภายนอกที่ปรากฏให้เห็นขณะที่คนกำลัง จะตาย พิธีศพ ทัศนคติที่ผู้ประสบเคราะห์กรรมและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่พึงมีต่อ ภาวะความตาย และสิ่งที่บรรดาญาติมิตรของผู้ตายสามารถทำให้ผู้ตายได้ เป็นต้น
ท่านเก-เช ดาร์-คเย ได้อ้างถึงข้อความต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกเพื่อแสดงให้ เห็นที่มาของการปฏิบัติมรณสติ และแสดงว่าเจตนาของชาวธิเบตที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับเรื่องมรณกรรมนั้น เป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักคำสอนของพระ พุทธเจ้าและพระเถราจารย์ทั้งหลาย ท่านเก-เช ดาร์-คเย ทำงานเป็นครูอยู่ ที่ธรรมศาลาเกือบ ๑๒ ปี ท่านมีความรักในชีวิตและสำนึกอยู่เสมอว่าชีวิต ชีวิตเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่างในเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ที่ยังคงประทับความ ทรงจำของมุลลินตลอดมากล่าวคือ เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๗๕ เพื่อนสนิทของชาว อังกฤษของมุลลินซึ่งเป็นศิษย์ผู้หนึ่งของท่านเก-เช งา-วัง ดาร์-คเย ได้ถึงแก่ กรรมที่โรงพยาบาลเด็กประจำหมู่บ้านในธิเบต หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปได้ ราว ๑ ชั่วโมง ท่านเก-เช ดาร์-คเย ก็มาถึงเพื่อทำพิธีส่งวิญญาณ ท่านรัก ศิษย์ทุกคนเหมือนบุตร มรณกรรมของศิษย์ผู้นี้จึงทำให้ท่านสะเทือนใจไม่ น้อย ท่านนั่งอยู่ในห้องร่วมชั่วโมงเพื่อสำรวมจิตและสวดมนต์ ตลอดทั้ง วันท่านช่วยประกอบพิธีศพตามประเพณีธิเบต และในคืนนั้น ท่านก็มิได้ พักผ่อนนอนหลับเลยทั้งคืน ประสบการณ์เกี่ยวกับความตายที่ท่านเล่าให้ มุลลินและสหายฟังจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวดัง ต่อไปนี้
การทำมรณสติตามประเพณีธิเบต
ชาวพุทธทั่วไปถือกันว่า การเกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ได้ย่อมนับว่าเป็นบุญ กุศลอย่างยิ่ง เมื่อมีชีวิตเป็นมนุษย์เรามีโอกาสที่จะสรรค์สร้างจิตวิญญาณ ให้สมบูรณ์ได้ทุกแง่มุม เรามีโอกาสที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ในชาตินี้ ซึ่ง สัตว์โลกชั้นต่ำกว่าไม่อาจทำได้ แต่มีมนุษย์ไม่กี่คนดอกที่รู้จักฉกฉวยโอ กาสดังกล่าว เมื่อมีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า มีคนสักกี่คนที่ใช้ชีวิตของตนได้ อย่างมีความหมาย พระพุทธเจ้าทรงกรีดนิ้วพระหัตถ์ลงบนแผ่นดิน พร้อม กับแสดงให้ผู้ถามมองเห็นผงธุลีที่ติดอยู่ในซอกพระนขา แล้วจึงตรัสว่า " มีอยู่เพียงเท่านี้เองเมื่อเทียบกับน้ำหนักของโลกทั้งโลก "
วิธีปฏิบัติสมาธิที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ การปฏิบัติมรณสติ การพยายาม นึกถึงเรื่องความตายอยู่ตลอดเวลาย่อมทำให้ชีวิตมีความหมายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราจะเข้าใจชีวิตได้ก็โดยการชื่นชมมันว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง และมีธรรมชาติคือ ความตาย เมื่อมรณกรรมมาถึง มีแต่เพียงร่างกายและการทำงานที่ทำอยู่ใน ปัจจุบันเท่านั้นที่สิ้นสลายไป ส่วนอื่น ๆ ยังคงอยู่ จิตพร้อมกับสัญชาตญาณ ที่เราสร้างสมไว้ตลอดชีวิตจะสืบต่อไปยัง " บาร์โด " ซึ่งเป็นภพหน้า จาก นั้นก็ผ่านไปสู่วัฏจักรชีวิตในอนาคต ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เรา จะต้องสร้างสมคุณธรรมไว้ในจิตของเราขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ เช่น ความรัก ความกรุณา ปัญญา ความอดทน และความเข้าใจ เป็นต้น การมีคุณธรรม เหล่านี้อยู่ในจิตอย่างเพียบพร้อมย่อมทำให้เราไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีที่ทำ ให้จิตวิญญาณของเราเจริญก้าวหน้า แต่ถ้าเราสร้างสมแต่คุณสมบัติที่เลวไว้ ในจิต เราย่อมไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ชั่ว เช่น ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต หรือสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น มีคนหลายคนทีเดียวที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม เพียงด้วยปาก แต่ไม่เคยนำแก่นของธรรมะเข้าไปสู่หัวใจของพวกเขา ธรรมะ จึงอยู่ที่ปากเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเขาไม่เคยสละเวลามาปฏิบัติมรณ สติให้เพียงพอ ข้อเสียของการละเลยมรณสติมีอยู่มากมาย แต่อาจสรุปได้ เป็น ๖ ประการ ดังนี้
๑. ถ้าเราไม่พิจารณาเรื่องความตาย เราก็ย่อมไม่สนใจการปฏิบัติธรรมของ เราเอง และปล่อยเวลาทั้งหมดไปกับการแสวงหาโลกิยสุข
๒. แม้เราอาจปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง แต่การปฏิบัติส่วนใหญ่ของเราจะเป็นเพียง การผัดวันประกันพรุ่ง มีชาวธิเบตนับไม่ถ้วนที่ไปบอกคุรุของตนว่า ตนจะ ไปจำศีลภาวนาในเร็ววัน แต่แล้วกลับเลื่อนเวลาออกไปปีแล้วปีเล่า จนใน ที่สุดก็สิ้นชีวิตเสียก่อนที่จะจำศีลภาวนาได้สำเร็จ
๓. การปฏิบัติของคนบางคน อาจไม่บริสุทธิ์และปะปนกับความทะเยอทะ ยานในทางโลกิยะ เช่น มีความหมกมุ่นในโลกธรรมทั้งแปด นักศึกษาด้าน พุทธศาสนาหลายคนต่างจับจ้องที่จะเป็นนักวิชาการและผู้มีชื่อเสียง มาก กว่าที่จะบรรลุความรู้แจ้งในเรื่องจิตวิญญาณ ครั้งหนึ่งมีผู้ถามท่านอตีษะว่า " ถ้าคนบางคนปรารถนาความสุขที่เกี่ยวกับชีวิตนี้แต่เพียงอย่างเดียว เขาจะ ได้รับอะไรบ้าง " ท่านอตีษะตอบว่า " ก็ได้รับแต่เพียงสิ่งที่เขาต้องการ " ศิษย์ จึงถามต่อไปว่า " และเขาจะได้รับอะไรในภพหน้า " คำตอบก็คือ " การเกิด ใหม่ในภพภูมิที่ต่ำกว่า "
หากจะปฏิบัติธรรมให้ดีแล้ว เราจะต้องสละโลกธรรมทั้งแปดอันได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ ความทุกข์ และคำ นินทา ผู้บำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างแท้จริงย่อมแตกต่างจากผู้ปฏิบัติจอม ปลอมตรงที่ ฝ่ายแรกสละโลกธรรมทั้งแปดได้ ในขณะที่ฝ่ายหลังทำไม่ ได้ จึงต้องตกเป็นทาสของโลกธรรมเหล่านั้น
๔.แม้เราจะเริ่มต้นปฏิบัติธรรม ตอนแรกเราอาจท้อถอย พุ่มไม้หนามกอ เล็ก ๆ งอกงามอยู่หน้าถ้ำของท่านเก-ชา การา กุนจุง แห่งนิกายกาดัม ทุก ครั้งที่ท่านเดินเข้าออกจากถ้ำ หนามแหลมจะบาดเนื้ออยู่เสมอ กอไม้หนาม นั้นยังอยู่ที่นั่นจนท่าสิ้นอายุขัย เนื่องจากท่านปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจังจนไม่ ต้องการเสียเวลาสักเสี้ยวหนึ่งเพื่อโค่นมันทิ้ง ท่านปฏิบัติมรณสติจนบรรลุ ผล
๕. เราอาจสร้างกรรมชั่วอยู่เรื่อย ๆ ถ้าเราไม่ตระหนักถึงความตาย เราย่อม ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตนี้ เราย่อมถือว่าญาติมิตรมีคุณอค่านับถือ มากกว่าคนแปลกหน้าและศัตรูผู้คิดร้าย ความมีอคติดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด ความหลงผิดอันนำไปสู่การสร้างกรรมชั่วไม่รู้จบ ทำให้เราปราศจากความ สุขในชีวิตนี้และชีวิตหน้า
๖. เราอาจตายด้วยความเสียใจ ความตายย่อมมาถึงสักวันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าเราขาดสติ ความตายจะมาถึงโดยไม่รู้ตัว ในช่วงเวลาอันวิกฤตนั้น เรา ย่อมมองเห็นได้ว่า ทัศนคติแบบวัตถุนิยมที่เราสร้างสมมาตลอดชีวิตนั้น ไม่ มีคุณค่าอย่างใดเลย ทรัพย์สมบัติ มิตรสหาย และอำนาจ ล้วนแต่ไร้ความ หมาย เมื่อเราขาดมรณสติ เราย่อมทอดทิ้งการฝึกฝนทางจิตและเหลือแต่ มือเปล่า ดวงจิตก็ท่วมท้นไปด้วยความวิปโยค
ท่านเก-เช คาร์มะปะ แห่งนิกายกาดัม ให้ข้อคิดว่า เราควรจะกลัวความ ตายเสียตั้งแต่ขณะนี้ เพื่อจะได้มีเวลาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และเมื่อถึงเวลา ตาย เราก็ไม่ควรหวั่นไหว สิ่งมีชีวิตทั่วไปเมื่อยังแข็งแรงมีพลังอยู่ มักไม่ มีใครคิดถึงความตาย แต่พอความตายมาถึงกลับกุมอกไว้ด้วยความหวาด กลัวสุดขีด นักปฏิบัติธรรมส่วนมากก็ไม่เคยเริ่มการปฏิบัติอย่างจริงจัง พวก เขาผัดวันประกันพรุ่งอยู่ตลอดเวลา พอนอนรอความตายอยู่บนเตียง พวก เขาก็สวดภาวนาขอให้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีกสักวันสองวัน เพื่อจะได้ปฏิบัติ ธรรมที่พวกเขาละเลยมาเสียนาน แต่จะมีประโยชน์อะไรเล่า
ส่วนข้อดีของมรณสติมีอยู่เพียงไม่กี่ข้อ อาจย่นย่อได้ ๖ ประการคือ
๑. ทำให้ชีวิตมีเป้าหมาย ใน มหาปรินิพพานสูตร มีข้อความตอนหนึ่งว่า
ในบรรดารอยเท้าทั้งหลาย
รอยเท้าคชสารย่อมเป็นยอด
ในบรรดาอนุสติทั้งหลาย
มรณสติย่อมเป็นยอด
หากเราปฏิบัติมรณสติกันอย่างถูกต้อง จิตของเราจะมุ่งแสวงหาความเข้าใจ ชีวิตอย่างลึกซึ้งขึ้น เราจะพบตัวอย่างนี้ได้ในประวัติชีวิตของพระอรหันต์ องค์ก่อน ๆ พระพุทธเจ้าก็ทรงสละโลกิยสุขเมื่อทรงประสบกับคนป่วย คน แก่ และคนตาย ท่านโยคี มิ-ลาเร-ปะ ก็สละวิชามนต์ดำเพื่อแสวงหาวิธีการ อันมีเป้าหมายดีขึ้นต่อไปเมื่อท่านพบว่า วิชามนต์ดำของอาจารย์หวนกลับ มาทำร้ายตัวอาจารย์ของท่านเอง
๒. มรณสติเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อความหลงผิด สุญญตสมาธิ หรือ การพิจารณาความว่างเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อโมหจริตและ โทสจริต มรณสติเป็นรองก็แต่สุญญตสมาธิเท่านั้น ถ้าเรานึกถึงความตาย หากเกิด อุปาทานหรือหรือความโกรธขึ้นมาครั้งใด ความหลงผิดดังกล่าวจะถูกกำ จัดไปในทันที เช่นเดียวกับก้อนหินที่ถูกฆ้อนทุบจนนแหลกละอียด บรรดา โยคีและนักสิทธิในอินเดียสมัยโบราณฉันอาหารจากภาชนะทำด้วยหัวกะ โหลกมนุษย์ และเป่าแตรที่ทำด้วยกระดูกขาท่อนบนของมนุษย์ นอกจาก นั้น พระก็มักระบายสีรูปหัวกะโหลกไว้บนประตูทางเข้าห้องน้ำของตน การทำเช่นนี้มิใช่เพื่อข่มขวัญชาวบ้าน แต่เพื่อเตือนให้ตระหนักถึงความ ตาย แม้ในทุกวันนี้ วัดทางพุทธศาสนาหลายแห่งยังแขวนภาพพระยายม คาบสังสารวัฏไว้ในพระโอษฐ์ ภาพนี้มักแขวนอยู่ใกล้ ๆ ประตูใหญ่หน้า วัด
๓. มรณสติเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มปฏิบัติธรรมแต่ละอย่างเพราะทำให้เรา ลงมือปฏิบัติธรรมและปฏิบัติได้อย่างดี
๔. มรณสติเป็นสิ่งสำคัญในช่วงกลางของการปฏิบัติธรรมเพราะทำให้เรา มีความพากเพียรในการปฏิบัติอย่างจริงจังและอย่างบริสุทธิ์
๕. มรณสติเป็นสิ่งสำคัญในตอนปลายของการปฏิบัติธรรมเพราะทำให้เรา บรรลุการปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์
ดังนั้น มรณสติจึงมีคุณค่าในเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย ในการ ช่วยให้เราลงมือปฏิบัติธรรม ดำเนินการปฏิบัติธรรม และบรรลุผลในการ ปฏิบัติธรรม
คนบางคนที่เริ่มปฏิบัติมรณสติเป็นครั้งแรก อาจเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง ต่อการปฏิบัติ และเกิดความรู้สึกอยากจะออกบวชอย่างแรงกล้าจนหลง ทางไป ทั้ง ๆ ที่ตนยังไม่พร้อม แต่ก็ผลีผลามเข้าจำศีลภาวนาเป็นเวลานาน โดยหวังว่าจะบรรลุความรู้แจ้งในทันที ครั้นเวลาล่วงเลยไปเพียง ๒-๓ เดือน ความกระตือรือร้นของเขาก็ผ่อนคลายลงพวกเขาจะร่ำร้องอยากจะ กลับบ้าน แต่ก็กระดากอายที่ต้องล้มแผนการบำเพ็ญเพียรเสียกลางคัน เพราะได้โอ้อวดไว้แล้วอย่างเต็มภาคภูมิ เมื่อไม่อยากอยู่และจากไปก็ไม่ ได้ พวกเขาจึงหันกลับมาโจมตีการออกบวชของตนซึ่งกลายเป็นความ เดือดร้อนยุ่งยากสำหรับตนเอง มรณสติจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีอิทธิพล ต่อบุคคล เราต้องรอบคอบในตอนเริ่มต้น พยายามเดินทางสายกลางและ ไม่ควรตอบสนองมันจนมากเกินไป
๖. เราจะตายอย่างมีความสุข และปราศจากความเสียใจแต่อย่างใด
มดเอ๊กซ:
การปฏิบัติมรณสติอยู่เสมอ ทำให้จิตของเราโน้มเอียงไปสู่ความดีงาม เราจึงมีความมั่นใจและหนักแน่นเมื่อมรณกรรมมาเยือน กล่าวกันว่าผู้ ที่ฝึกมรณสติได้ดีที่สุด จะตายด้วยความสุขอย่างเต็มเปี่ยม คนที่ฝึกเพียง ขั้นธรรมดา ๆ จะตายอย่างสงบสุข แม้แต่ผู้ฝึกในขั้นต้น ก็จะตายโดย ปราศจากความหวาดกลัว
เราจะฝึกมรณสติได้อย่างไร ในนิกายที่ถือพระสูตรและในนิกายตันตระ กล่าวถึงวิธีฝึกไว้หลายวิธีด้วยกัน ในแนวของพระสูตร มีการใช้วิธีการ ที่แพร่หลายอยู่ ๒ วิธี คือ ๑. " สามมูลเก้าตรรก และ สามศรัทธา " และ ๒ ." กระบวนการเลียนแบบความตาย "
๑. วิธีการที่เรียกว่า " สามมูลเก้าตรรก และ สามศรัทธา " นี้เป็นวิธีการของ นิกายกาดัมอันปรากฏอยู่ในคัมภีร์ธิเบต เช่น โมกษะวชิราภรณ์ ( The Jewel Ornament of Liberration ) ของท่านคัมโปปะ และมหาโพธิมรรคสูตร ( Great Exposition on the Path to Enlightenment ) ของท่านซองขะปะ เป็น ต้น
วิธีนี้เริ่มด้วยการพิจารณาถึงข้อเสีย ๖ ประการ ของการละเลยมรณสติ และข้อดี ๖ ประการของการปฏิบัติมรณสติตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จาก นั้นให้ใช้สมาธิจิตไปสู่มูลฐานแรก อันได้แก่ธรรมชาติเฉพาะของความ ตาย และทบทวนเหตุผลสนับสนุน ๓ ประการ คือ
( ๑ ) ความตายได้มาเยือนคนทุกคนในอดีตแล้ว
( ๒ ) ชีวิตของเราก็ล่วง เลยไปทุกที และไม่มีทางที่จะหน่วงเหนี่ยวกาลเวลา หรือยืดอายุของเรา ไปโดยไม่มีกำหนดเลย และ
( ๓ ) ชีวิตของเราเป็นสังขตธรรมประกอบ ด้วยสิ่งไม่เที่ยง และเราใช้ไปเพื่อการปฏิบัติธรรมเพียงส่วนน้อยเหตุผล เหล่านี้จะนำเราไปสู่ความศรัทธาข้อแรก คือ การปฏิบัติธรรมและหยิบ ฉวยแก่นสารของชีวิต
จากนั้นให้เรานำจิตไปสู่รากฐานที่สอง อันได้แก่ ธรรมชาติอันไม่แน่ นอนของมรณกาล หรือ อายุขัยของเราเอง ในขณะเดียวกันก็พิจารณา เหตุผลประกอบ ๓ ข้อ คือ
( ๑ ) อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวไม่แน่นอน
( ๒ ) สิ่งที่ทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้นั้นมีอยู่น้อยมาก แต่โอกาสที่เราจะตาย มีอยู่มากมาย และ
( ๓ ) ร่่างกายของเราบอบบางและแตกสลายได้ง่าย
เมื่อพิจารณาเหตุผลทั้ง ๓ ผลประการนี้แล้ว เราจะเกิดความเชื่อมั่นว่า เราต้องปฏิบัติธรรมในทันที
ประการสุดท้าย ให้เราก้าวไปสู่รากฐานที่สาม คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อ ถึงเวลาตาย มีแต่เพียงความสำเร็จทางจิตวิญญาณของเราเท่านั้น ที่มีคุณ ค่า บรรดาญาติมิตรล้วนช่วยเราให้พ้นความตายไม่ได้ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด แม้แต่ร่างกายที่เราเฝ้าทะนุ ถนอมก็ต้องถูกละทิ้งราวกับกองขยะไว้เบื่องหลัง เราควรต้องฝึกฝนทั้ง โดยการพิจารณาไตร่ตรองและโดยการเข้าฌานในการพิจารณาไตร่ตรอง ให้เราสำรวจประเด็นต่าง ๆ ของการเข้าฌานเพียงประเด็นละ ๒-๓ นาที ส่วนในการเข้าฌาน ให้เราใช้จิตจับอยู่ที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งเป็นเวลา ราวครึ่งชั่วโมง ตามที่นิยมปฏิบัติกับเป็นประเพณีในธิเบต ผู้ปฏิบัติมักใช้ เวลาพิจารณาไตร่ตรองประเด็นต่าง ๆ ในเดือนแรกของการปฏิบัติ ในการ ปฏิบัติมรณสติ ผู้ปฏิบัติตจะใช้เวลาพิจารณาไตร่ตรองประเด็นต่าง ๆ ใน เดือนแรกของการปฏิบัติ ในการปฏิบัติมรณสติ ผู้ปฏิบัติจะใช้วิธีการพิจา- รณาประเด็นทั้ง ๙ ประเด็น เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว ก็จะแบ่งการพิจารณา ออกเป็น ๓ ช่วง และใช้เวลาส่วนมากกับการเข้าฌานในแต่ละช่วง ก็ให้ สำรวจเหตุผลทั้ง ๙ ประการ สร้างความเชื่อมั่นศรัทธา ๓ ประการ และ สวดมนต์ และสวดมนต์อุทิศด้วยข้อความต่อไปนี้
ด้วยอานุภาพแห่งการปฏิบัติ
จงเร่งรัดข้า ฯ
สู่พุทธะที่หมาย
ได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ถ้วนทุกกาย
ให้สุขสบายในวิมุติร่วมกัน
๒. วิธีปฏิบัติมรณสติวิธีที่สอง คือ " กระบวนการเลียนแบบความตาย " วิธี นี้ปฏิบัติได้ทั้งภายนอกและภายในลัทธิ ในวิธีการแบบทั่วไปหรือภายนอก ลัทธินั้น มีทั้งวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับสิ่งภายนอกและที่อยู่ภายในจิต วิธีปฏิบัติที่ เกี่ยวกับสิ่งภายนอก ได้แก่ การอาศัยอยู่ในสุสาน และเฝ้าสังเกตุดูซากศพที่ เน่าเปื่อยผุพังลงไปทีละน้อย ในขณะเดียวกัน ก็กำหนดความคิดว่า ซากศพ เหล่านี้แสดงให้เห็นสภาพสุดท้ายของร่างกายของเราเอง วิธีปฏิบัติที่อยู่ภาย ในจิตใจเรา ได้แก่การนึกเห็นภาพตนเองนอนรอความตายอยู่บนเตียง จินต- นาการให้เห็นบิดามารดาญาติมิตรที่ห้อมล้อมเราอยู่กำลังคร่ำครวญหวนไห้ อาลัยอาวรณ์ ราศรีที่ใบหน้าเริ่มหม่อนหมอง โพรงจมูกยุบ ริมฝีปากแห้ง น้ำ ลายเริ่มเกาะตามฟัน และความสง่างามเริ่มสูญสิ้นไปจากร่าง อุณหภูมิของ ร่างกายลดลง เริ่มหายใจหอบ ลมหายใจออกยาวนานกว่าลมหายใจเข้า กรรม ชั่วทั้งหลายที่ทำไว้ตลอดชีวิตเริ่มก่อตัวขึ้นในจิต และเราเริ่มเศร้าโศกเสียใจ ครั้นเหลียวมองไปรอบ ๆ หาที่พึ่งพิง ก็ไม่มีใครมาช่วยสักคน
วิธีการปฏิบัติมรณสติที่กระทำภายในลัทธิโดยเลียนแบบความตายนั้น มี ลักษณะสลับซับซ้อนมากกว่านัก วิธีนี้ปฏิบัติกันแพร่หลายในระบบโยคะ ตันตระขั้นสูงสุดของพุทธศาสนาแบบธิเบตทุกนิกาย โดยเหตุที่การปฏิบัติ มีการเกี่ยวเนื่องกับนิกายวัชรยานอันลี้ลับ ผู้ที่ปฏิบัติได้จึงเป็นพวกสาวก เท่านั้น ที่มาของวิธีปฏิบัตินี้คือ โยคะขั้นมูลฐานของลัทธิตันตระแบบสูง สุด อันได้แก่ การถือตรีกายเป็นแนวทาง การปฏิบัติขั้นนี้มี ๓ ตอน คือ ( ๑ ) ถือว่าความตายคือธรรมกาย ( ๒ ) ถือว่าบาร์โดหรือภาวะะหว่าง ความตายกับการเกิดใหม่ คือ สัมโภคกาย และ ( ๓ ) ถือว่ากระบวนการ เกิดใหม่ คือ นิรมาณกาย ตรีกายนี้คือลักษณะ ๓ ประการของความเป็น พุทธะ ซึ่งได้แก่ ร่างแห่งความจริง กายทิพย์ และร่างแห่งการปรากฏตาม ลำดับ ในโยคะขั้นมูลฐาน ผู้ฝึกย่อมมองเห็นภาพความตายที่กำลังแปรภาพ สภาวะเชื่อมกลางและการเกิดใหม่ โยคะขั้นนี้จะนำไปสู่ โยคะขั้นสมบูรณ์ ที่ผู้ฝึกประสบกับความตายจริง ๆ ในฌานโดยปราศจากการแปรสภาพความ ตาย
การปฏิบัติมรณสติภายในลัทธิ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสลายตัวของธาตุหยาบ ๒๕ ชนิด ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการปฏิบัติแบบตันตระ ธาตุ ๒๕ ชนิด คืออะไร คำตอบก็คือ ขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ธาตุ ๔ อันได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อายตนะภายนอก ๖ อันได้แก่ รูป เสียง รส โผฏธัพพะ และธรรมารมย์ อายตนะภายใน ๖ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดจนความรอบรู้อันไม่สมบูรณ์ ๕ ประการ คือ การสะท้อนภาพ ความเสมอต้นเสมอปลาย การบรรลุผล การแยกแยะ และความรอบรู้เกี่ยว กับธรรมธาตุ ความรอบรู้เหล่านี้ไม่สมบูรณ์เพราะเป็นความรอบรู้ของผู้ที่ยัง ไม่บรรลุพุทธภาวะ
ตามปกติ เมื่อความตายมาถึง มันจะมีลักษณะเป็นกระบวนการที่กระจัด กระจายทีละเล็กละน้อย กระบวนการขั้นแรกเป็นการแตกกระจายพร้อม ๆ กันของรูป ความรอบรู้แบบสะท้อนภาพธาตุดิน จักษุวิญญาณธาตุ และรูป ธาตุ สัญญาณภายนอกที่ปรากฏเป็นผลจากการแตกกระจายของคุณลักษณะ ทั้ง ๕ ประการดังกล่าว เรียงตามลำดับได้ดังนี้ ร่างกายเสื่อมโทรมและขาด พลังชีวิต ตาพร่า เคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้ ตาไม่กะพริบ และราศรีหม่น หมอง สัญญาณภายนอกเหล่านี้ตนทั่วโลกสังเกตุเห็นได้
นอกจากสัญญาณภายนอก ผู้ที่กำลังจะตายก็จะประสบกับสัญญาณภายใน ซึ่งรู้ได้เฉพาะตัว สัญญาณนี้คือนิมิตซึ่งปรากฏอยู่เต็มไปหมด
กระบวนการตายขั้นที่สอง คือการแตกกระจายของเวทนา ความเสมอต้น เสมอปลาย ธาตุน้ำ โสตวิญญาณและสัททธาตุ มีสัญญาณภายนอกที่เกิด ขึ้นพร้อม ๆ กับการแตกสลายของคุณลักษณะทั้ง ๕ อันเรียงลำดับได้คือ บุคคลจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างความสุข ความทุกข์ และ ความเป็นกลางได้ ริมฝีปากจะแห้งมาก ต่อมเหงื่อหยุดทำงาน เลือดและ น้ำกามแข็งเป็นก้อน ไม่ได้ยินเสียงภายนอกอีกต่อไป แม้แต่เสียงหึ่ง ๆ ใน หูก็หยุด ผู้ที่กำลังจะตายย่อมสัมผัสกับสัญญาณภายในซึ่งมีลักษณะเป็นภาพ คล้ายควันลอยอยู่เต็มพื้นที่ว่าง
ขั้นที่สาม เป็นการแแตกกระจายของสัญญา ความรู้จักแยกแยะในขั้นสูง ขึ้น ธาตุไฟ ฆานวิญญาณธาตุ และคันธธาตุ สัญญาณภายนอก ๕ ประการ ที่แสดงออกก็คือ บุคคลจะไม่สามารถรับรู้ความหมายของสิ่งใดใดที่คน รอบข้างกล่าวถึง ไม่สามารถจำชื่อบิดามารดาและญาติมิตรได้ อุณหภูมิ ของร่างกายลดลง พลังในการย่อยอาหารและดูดกลืนอาหารหยุดทำงาน หายใจออกแรง แต่หายใจเข้าแผ่วเบา และอำนาจในการจำกลิ่นต่าง ๆ เสื่อมสภาพ ผู้ใกล้ตายจะรับรู้สัญญาณภายในที่เป็นภาพคล้ายควันปรากฏ ชัดเจนอยู่เต็มตลอดพื้นที่ว่าง
ขั้นที่สี่ เป็นการแตกกระจายของสังขาร ความรอบรู้ในการบรรลุ ธาตุลม ชิวหาวิญญาณธาตุ และรสธาตุ สัญญาณภายนอก ๕ ประการที่เกิดตามมา คือ สมรรถภาพทางร่างกายล้มเหลว หลงลืมเป้าหมาย พลังงานร่างกาย ทั้งใหญ่น้อยสลายตัวกลับเข้าสู่หัวใจ ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และความ สามารถในการลิ้มรสเสื่อมลง สัญญาณภายในที่ปรากฏคือ มองเห็นแสง ริบหรี่คล้ายแสงตะเกียงน้ำมัน เมื่อถึงจุดนี้ แพทย์จะประกาศว่า ผู้นั้นสิ้น ชีวิตเสียแล้ว อย่างไรก็ตาม ในเมื่อธาตุรู้ยังมีอยู่ในร่าง จึงยังไม่ถึงจุดที่ตาย จริง ๆ ในขณะนี้ บุคคลนั้นได้สูญเสียพลังงานที่ค้ำจุนร่างกาย อันมีผลให้ หยาดของเหลวแรกเริ่มในร่างกายเกิดความเคลื่อนไหว หยาดของเหลว เหล่านี้คืออะไร ในนิกายตันตระมีคำสอนว่า ตัวสเปอร์มดั้งเดิมที่มาจาก บิดาขณะปฏิสนธิ ได้ถูกเก็บไว้ในศูนย์ที่กระหม่อมของผู้นั้น และเซลล์ จากไข่ดั้งเดิมจากมารดาขณะปฏิสนธิก็จะถูกเก็บไว้ที่ศูนย์ตรงสะดือ เมื่อ พลังงาที่ค้ำจุนแก่นสาระล้มเหลว แก่นสาระเหล่านี้ก็หลุดออกจากราก ฐานที่ตั้งของมันในศูนย์ต่าง ๆ
อันดับแรก แก่นสาระสีขาวจะหลุดออกมาจากศูนย์ที่กะหม่อม มันจะ ไหลตามช่องกลางลำตัวลงมาสู่หัวใจ เนื่องจากมันเคลื่อนผ่านปุ่มปมต่าง ๆ ที่ศูนย์ ผู้ใกล้ตายจึงมองเห็นภาพสีขาวเหมือนหิมะ บัดนี้ตัวสเปอร์มและ ไข่ได้มาพร้อมกันที่หัวใจ ผู้ไกล้ตายจะมองเห็นแต่ความมืดมิดคล้ายกับ ท้องฟ้าที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆหนาโดยตลอด ในช่วงนี้คนธรรมดาทั่วไปจะ สูญสิ้นสัมปชัญญะและสลบไป แต่สำหรับโยคีนิกายตันตระ ช่วงนี้เหมาะ ที่สุดที่จะเข้าฌานขั้นพินเศษ หัวใจจะสั่นสะท้านเบา ๆ เป็นระยะ ๆ ร่าง กายจะสูญสิ้นความรู้สึก จะมองเห็นแสงนวลใสคล้ายกับยามรุ่งอรุณที่ ปราศจากดวงจันทร์ นี่คือแสงนวลใสแห่งความตายอันแสดงว่ากระบวน การสู่ความตายได้ลุล่วงสมบูรณ์แล้ว
สำหรับสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ ประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งไม่อาจควบคุม ได้และน่าสยดสยองอย่างยิ่ง แต่เพราะโยคีนิกายตันตระได้เตรียมตัวมาแล้ว ตลอดชีวิตจึงจะสามารถควบคุมจิตขณะมีประสบการณ์ และใช้สภาพดัง กล่าวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้มากที่สุด ผู้ปฏิบัติธรรมหลายคนที่ไม่ สามารถบรรลุพุทธภาวะได้ในชาตินี้ ย่อมสามารถใช้ผลพลอยได้จากประ สบการณ์เกี่ยวกับความตายให้บรรลุธรรมขั้นสุดท้าย
มดเอ๊กซ:
เรื่องที่สำคัญมากที่สุด ๒ เรื่องในโยคตันตระขั้นสูงสุด ได้แก่พลังอัน ประณีตของร่างกาย และธาตุรู้ในระดับประณีตซึ่งเกิดจากการฝึกฝน ตามแบบโยคีดังกล่าว พลังงานและสภาวะของธาตุรู้ดำรงอยู่ด้วยกันใน ตัวของเราเอง ทั้งในรูปที่ประณีตและหยาบ ขณะที่กำลังจะตาย พลัง งานหยาบจะแปรสภาพเป็นพลังงานประณีต และธาตรู้ระดับประณีตก็ จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เป้าหมายของการปฏิบัติแบบตันตระ ก็คือการ สร้างประสบการณ์นี้ขึ้นในสมาธิ ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ เมื่อทำการหลอม พลังงานหยาบให้กลายเป็นพลังงานประณีตโดยวิธีโยคะ เราก็จะสามารถ มีประสบการณ์เกี่ยวกับการสลายตัวและการแตกกระจายในขั้นต่าง ๆ ได้ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นขณะสิ้นชีวิตจริง ๆ โยคีผู้มีประสบการณ์ดังกล่าว ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ย่อมเตรียมพร้อมอย่างดีสำหรับความตาย และสามารถ ควบคุมกระบวนการของความตายได้โดยตลอด จากนั้น เมื่อพลังงาน ประณีตและธาตุรู้ระดับต่าง ๆ เกิดขึ้นโยคีก็สามารถแปรสภาพของสิ่ง เหล่านั้นให้กลายเป็นกายของพระพุทธเจ้า กล่าวคือแปรธาตุรู้เป็นธรรม กาย และแปรความรอบรู้กับพลังงานเป็นสัมโภคกายหรือกายทิพย์ แปร แสงนวลแห่งความตายเป็นธรรมกาย ภาพบาร์โดเป็นสัมโภคกาย และ การเกิดใหม่เป็นนิรมาณกาย
สถานที่อยู่อันแท้จริงของจิต คือหัวใจ จิตย่อมสถิตย์อยู่ในหยาดอมฤต หรือหน่วยถ่ายพันธุ์เพศชายและเพศหญิง วิถีแบบตันตระเน้นประเด็น สำคัญอยู่ที่เรื่องหยาดอมฤตนี้ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ชนิดหยาบและละอียด ประณีต หยาดอมฤตชนิดหยาบ เป็นหยาดกายภาพที่เกิดจากการรวมตัว กันของแก่นสาระเพศชายกับแก่นสาระเพศหญิงที่ได้จากน้ำกามของบิดา และไข่ของมารดาตามลำดับ หยาดอมฤตชนิดละเอียดประณีตเป็นการ รวมตัวผสมผสานของธาตุรู้ระดับประณีตต่าง ๆ กับพลังงานทางกาย ภาพที่ประณีต หยาดอมฤตชนิดหยาบเป็นอมฤตเพราะมันทนทานอยู่ตั้ง แต่ช่วงที่เราปฏิสนธิจนถึงช่วงที่เราสิ้นชีวิต หยาดอมฤตชนิดละเอียด ประณีตเป็นอมฤตเพราะมันทนทานอยู่ตลอดชั่วอายุขัยของเรา ตั้งแต่ยัง ประมาณเวลาไม่ได้จนกระทั่งเราบรรลุพุทธภาวะ กระบวนการปฏิบัติ มรณสติในประเพณีภายในลัทธิตันตระเป็นเรื่องของการปฏิบัติฌาน โดย ตั้งสมาธิที่หยาดอมฤตทั้ง ๒ ชนิดนั้น
มรณสติมีความสำคัญอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเรื่องมรณสติไว้ ในตอนที่พระองค์ทรงอธิบายหลักอริสัจจ์ ๔ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี มรณสติเป็นคำสอนเรื่องสุดท้ายของพระองค์ ดังจะ เห็นได้ว่า พระองค์ทรงปรินิพพานเพื่อตอกย้ำให้บรรดาสาวกของพระ องค์ได้สำนึกถึงความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่ง
การปฏิบัติธรรมมีอยู่หลายระดับ ขั้นพื้นฐานที่สุดก็คือ การเสริมสร้าง ความโอบอ้อมอารี ความเมตตากรุณา แม้ว่าเราจะไม่มีเวลาหรือไม่มี กำลังที่จะปฏิบัติฌานขั้นสูงขึ้นไป หรือศึกษาปรัชญา แต่อย่างน้อยที่สุด เราควรพยายามรักษาทัศนคติและท่าทีที่เห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมโลก ของเราไว้ให้ได้ เพียงเท่านี้ความเลวทั้งหลายก็จะหลีกหายไปจากกระ แสความคิดของเรา โมหะและโทสะจะเบาบางลงและชีวิตของเราจะ มีคุณภาพดีขึ้น เมื่อมรณกาลมาถึง เราย่อมตั้งอยู่ในความสงบสุขและ มีความมั่นใจในการเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ผู้ปฏิบัติธรรมในขั้นสูงขึ้นจะพยายามปลีกตัวออกจากชีวิตชาวโลก โดย การพัฒนาไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา และการพัฒนาทัศนคติ แบบพระโพธิสัตว์ที่แสวงหาความรู้แจ้งเพื่อเป็นหนทางช่วยเหลือสรรพ สัตว์ต่อไป เมื่อฝึกฝนสิ่งเหลานี้จนแก่กล้าแล้ว ก็จะเข้าสู่วิธีการแบบตัน ตระเพื่อให้การปฏิบัติดังกล่าวลุล่วงไปได้เร็วที่สุด เพราะการปฏิบัติแบบ ตันตระเท่านั้นที่จะทำให้บรรลุพุทธภาวะได้ในเวลาที่สั้นเพียง ๓ ปี หรือ น้อยกว่านั้น
อย่างไรก็ตาม แม้การฝึกจะกินเวลาเพียงไม่กี่ปี แต่ก็มีเพียงไม่กี่คนที่ฝึกฝน ได้สำเร็จ ดังนั้น จึงมีการสอนวิธีเคลื่อนย้ายธาตุรู้อยู่หลายวิธีด้วยกัน การ เคลื่อนย้ายธาตุรู้ หรือในภาษาธิเบต เรียกว่า โป-วา หมายถึงการปฏิบัติเพื่อ นำไปสู่การเกิดใหม่ที่มุ่งไว้โดยวิธีควบคุมจิตขณะใกล้ตาย ทั้งนี้ เพราะความ คิดช่วงสุดท้ายที่บุคคลมีอยู่ก่อนสิ้นใจย่อมมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อธรรม ชาติของการเกิดใหม่ของเขา คนบางคนใช้ชีวิตอย่างมีคุณธรรม แต่เพราะ ไม่ได้พัฒนาจิตวิญญาณขั้นสูงขึ้นให้สำเร็จ เขาจึงไม่สามารถควบคุมจิต เลย ตายไปด้วยความหวาดกลัว ขุ่นมัว หรือมีมลทินในใจ ทำให้เขาไปเกิดใหม่ ในทุคติ และบางกรณีผู้ที่ประพฤติชั่วมาโดยตลอด แต่เพราะโชคดี มีความ คิดเป็นกุศลขณะตาย เขาจึงไปเกิดใหม่ในสุคติ การปฏิบัติโยคะที่เคลื่อนย้าย ธาตุรู้นี้ เป็นการฉวยโอกาสจากปรากฏการณ์ดังกล่าว กระนั้น กรรมดีกรรม ชั่วที่บุคคลสร้างสมมาตลอดชีวิตก็ยังคงพอกพูนอยู่ในจิตเพื่อรอให้ผลในอนา คต แต่การเกิดใหม่ในทันทีนั้นถูกกำหนดได้ด้วยจิตขณะที่บุคคลกำลังจะตาย ถ้าเขาไปเกิดใหม่ในทันทีนั้นถูกกำหนดได้ด้วยจิตขณะที่บุคคลกำลังจะตาย ถ้าเขาไปเกิดใหม่ในสภาพที่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรมขั้นต่อไป เขาย่อมมีโอกาส ที่จะช่วยชำระจิตให้บริสุทธิ์จากกรรมได้
วิธีการเคลื่อนย้ายธาตุรู้แบบมหายาน แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ประ เภทที่สอนกันในพระสูตร และประเภทที่สอนกันในแบบตันตระ วิธีการหลัก ในพระสูตร คือ " การใช้พลังทั้งห้า " ที่เรียกเช่นนี้เพราะขณะจะสิ้นใจผู้ใกล้ ตายจะอาศัยปัจจัย ๕ ประการ คือ เจตนา ความบริสุทธิ์ ความคุ้นเคย การ กระหาร( ความชั่ว ) และอำนาจการภาวนา
๑. พลังเจตนา ได้แก่ การตั้งเจตนาให้มั่นโดยไม่ยอมให้จิตแยกตัวออกจาก ความสำนึกอันเอื้ออาทรต่อผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ ในขณะที่เข้าสู่กระบวน ความตาย ผ่านเข้าสู่บาร์โด และระหว่างการเกิดใหม่
๒. พลังความบริสุทธิ์ ได้แก่ การพยายามแยกจิตออกจากเครื่องเกาะเกี่ยว ร้อยรัดทางวัตถุทุกรูปแบบ ซึ่งทำได้โดยการสละทรัพย์สิน สมบัติ และวัตถุ ในครอบครองทั้งหมดไปเพื่อความมุ่งหมายอันประเสริฐ เช่น สละให้คน ยากจน ผู้หิวโหย คนป่วย สถาบันการศึกษา หรือโรงพยาบาล และสถา บันทางศาสนาเป็นต้น
๓. พลังการประหาร ได้แก่ การพยายามทำลายรอยกรรมชั่วที่เราสะสม เอาไว้ตลอดชีวิต ซึ่งทำได้โดยใช้พลังต่อต้าน ๔ ประการ คือ ( ๑ ) สำนึก ผิดในความชั่วที่เคยสร้าง ( ๒ ) ตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการทำผิดในอนาคต ( ๓ ) ยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และสร้างสรรค์โพธิจิตซึ่งเป็นความ ปรารถนาในความรู้แจ้งขั้นสูงสุดเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น และ ( ๔ ) ชำระ ล้างรากเหง้าของกรรมชั่วโดยการปฏิบัติสุญญตสมาธิ และสวดมนตร์ ๑oo พยางค์แบบวัชรยานตามคำสอนของพระวัชรสัตว์เป็นต้น ถ้าเราทำ พิธีรับเข้าเป็นสาวกลัทธิตันตระ ก็ให้พระลามะทำพิธีเข้าเป็นศิษย์ หรือ ถ้าทำไม่ได้ ก็ให้เราทำพิธีรับตนเองเข้าสู่ลัทธิตามลำพัง
๔. พลังความคุ้นเคย หมายถึง การเสริมสร้างโพธิจิตให้แก่กล้ามากที่สุด และให้ตายไปในนขณะเข้าฌาน
๕. อำนาจภาวนา ในที่นี้ หมายถึง ความปรารถนาของชาวมหายานที่แท้จริง นั่นก็คือ ความปรารถนาที่จะให้ความทุกข์ยากทั้งมวลของผู้อื่นมาสุกงอม อยู่ที่ตัวผู้ปฏิบัติเพื่อผู้อื่นจะได้พ้นทุกข์ เนื่องจากพระโพธิสัตว์มีความมุ่ง หมายที่จะตรัสรู้เพื่อประโยชน์สุขของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
การฝึกแบบตันตระมีอยู่หลายระบบ เราควรเลือกระบบที่เหมาะสมกับ ความโน้มเอียงตามกรรมของเรา ควรปรึกษาอาจารย์ผู้ฝึกเพื่อเลือกระ บบที่เหมาะสม ระบบการฝึกที่โยคีธิเบตนิยมใช้ปฏิบัติกันอยู่ในคัมภีร์ วัชร-โยคินี-ตันตระ กล่าวกันว่าการปฏิบัติตาม วัชร-โยคินี-ตันตระ เป็น เสมือนการถือบัตรผ่านประตูเข้าสู่แดนสุขาวดี
อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่จะสอนวิธีการแบบตันตระให้แก่คนนอก ลัทธิ พระวัชรธรพุทธเจ้าเคยตรัสว่า " เราไม่ควรเทนมของสิงโตหิมะลง ไปในชามใส่ดินเหนียว " เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้นมบูด แต่ชามดิน เหนียวกฌพลอยเสียหายไปด้วย ประตูเข้าสู่วัชรยานก็คือการเข้าพิธีประ กาศตัวเป็นสาวกของลัทธิตันตระ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับเรื่องความตาย
คำถาม : เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเหลือผู้ที่กำลังจะตาย
คำตอบ : ท่องคำภาวนาและสวดมนตร์กรอกหูผู้นั้น มนตร์ของพระศากย มุนีพุทธเจ้ามีประโยชน์เป็นพิเศษ คำสวดของมนตร์บทนี้คือ " โอม มุนี มุนี มหามุนี เย สวหะ " ซึ่งหมายถึง การอาศัยอยู่ภายใต้การควบคุม ๓ ระดับ อันได้แก่ การควบคุมอกุศลจิต การควบคุมให้พ้นจากการยึดเหนี่ยวกาม สุขขั้นสูงขึ้น และการควบคุมให้มีความสันโดษในการบรรลุนิรวาณด้วย ตนเอง การควบคุมตนเองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในเวลาตาย เสียงสวด มนตร์สามารถส่งเสริมให้ผู้ใกล้ตายมีทัศนคติเหมาะสมได้ บทสวดมนตร์ ถึงพระอวโลกิเตศวรผู้ทรงเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความการุณย์ย่อมให้ผล อย่างชะงัด คำสวดมีอยู่ว่า " โอม มณี ปัทเม หุม " ช่วยทำให้จิตใจของผู้ ใกล้ตายมีความสุขควรวางภาพของพรระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ไว้ใน ที่ที่ผู้ใกล้ตายมองเห็น พระรูปอันศักดิ์สิทธิ์นั้นย่อมทำให้จิตใจสงบ แจ่มใส และอยู่ในอำนาจควบคุม ถ้าผู้ใกล้ตายเป็นผู้บำเพ็ญเพียรทางจิต เราควร สวดนามของคุรุของเขา และวางภาพของคุรุไว้ให้เขามองเห็น สิ่งที่สำคัญ ที่สุด ต้องทำให้ผู้ใกล้ตายมีจิตเป็นกุศล อย่าไปเกิดใหม่ในสุคติภพ เมื่อบุค คลนั้นได้ตายไปแล้ว ควรนำทรัพย์สินของเขาไปบริจาคให้คนยากเข็ญ และ สร้างบุญกุศล ควรนิมนต์อาจารย์ผู้สอนธรรมะของผู้นั้นมาทำพิธีสวดเป็น พิเศษ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งที่คุรุกระทำเพื่อศิษย์ที่ตายไปแล้ว หรือศิษย์ทำให้คุรุที่ตายไปแล้ว ย่อม ให้ผลอย่างมหาศาล บิดามารดาตลอดจนมิตรสหายก็ควรสวดมนตร์ เพราะ พวกเขาก็มีอิทธิพลต่อผู้ตายอย่างมากเช่นกัน มีตัวอย่างมากมายที่ผู้ตายมี อกุศลจิตและกำลังจะไปเกิดใหม่ในทุคติภพ แต่เนื่องจากผู้ที่เขารักใคร่ สวดมนตร์และอุทิศผลบุญไปให้เขาจึงได้ไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีขึ้น รายละ เอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่อผู้ใกล้ตายหรือผู้ตายมีอยู่ในหนังสือ สารานุกรม อภิปรัชญาทางพุทธศาสนา ของท่านวสุพันธุ
คำถาม : เราควรปฏิบัติต่อพุทธศาสนิกและศาสนิกอื่นเหมือนกันหรือไม่
คำตอบ : พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เป็นพระผู้อภิบาลสากล จึงไม่มี การแบ่งแยก แต่ถ้าผู้ใกล้ตายเป็นพุทธศาสนิก และใกล้ชิดกับเรา สิ่งที่ ทำให้จะให้ผลมากกว่า เพราะมีพลังความสัมพันธ์ต่อกัน
คำถาม : เราควรบอกผู้ใกล้ตายหรือไม่ว่าเขากำลังจะตาย
คำตอบ : ก็แล้วแต่บุคคล ถ้าเขาเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ก็ควรบอกเขาไปตาม ตรงจะดีกว่า เขาจะได้รวบรวมพลังเพื่อการปฏิบัติ เขาจะได้ไม่หวั่นไหว ต่อความตายและสามารถใช้วิธีเคลื่อนย้ายธาตุรู้ได้ ถ้าผู้ไกล้ตายไม่ได้ฝึก ฝนทางธรรมเลย อาจไม่มีเหตุผลอะไรที่จะบอก เพราะจะทำให้กลัวและ ผิดหวังเปล่า ๆ
คำถาม : ธาตุรู้จะอยู่ในตัวผู้นั้นอีกนานเท่าใด เมื่อสภาพภายนอกบ่งบอก ว่า เขาตายแล้ว
คำตอบ : ถ้าผู้นั้นสำเร็จฌานแล้ว ธาตุรู้อาจคงอยู่ต่อไปอีกหลายวันหรือ หลายเดือน แม้ว่าจะไม่เป็นนักปฏิบัติสมาธิ ธาตุรู้ก็อาจอยู่ต่อไปในร่างได้ นานถึง ๓ วัน ดังนั้นจึงยังไม่ควรเคลื่อนศพออกไปจนกว่าจะมีสัญญาณ ปรากฏว่า ธาตุรู้ได้จากไปแล้ว สัญญาณที่ชัดเจนที่สุดก็คือ หยดเลือดหรือ หนองในแผลที่ขับออกมาทางช่องจมูกหรืออวัยวะเพศส่วนสัญญาณที่แน่ ชัดน้อยกว่าก็คือ ศพส่งกลิ่นเหม็น ถ้าไปเผาร่างเสียก่อนที่ธาตุรู้จะจากไป ก็เกือบมีผลเท่าฆาตกรรม ควรทิ้งร่างไว้โดยไม่แตะต้องครั้งแรก ธาตุรู้มัก ชอบออกไปทางส่วนบนของร่างกายมากกว่าทางส่วนล่าง ที่ที่ควรแตะเป็น ครั้งแรกจึงน่าจะเป็นตรงกระหม่อม
คำถาม : ทำไมไม่ค่อยมีผู้ฝังศพในธิเบต
คำตอบ : เพราะเชื่อกันว่าทิ้งร่างให้นกเป็นทานดีกว่า ต่อเมื่อไม่สมควรทิ้ง ร่างไว้ เช่น เป็นโรคตาย จึงจะฝัง ผู้เคร่งศาสนาจะมีประเพณีให้โยคีลัทธิ ตันตระมาทำพิธีตัดศพ คือสัมมติว่าทำการตัดศพออกเป็นชิ้นส่วนให้สัตว์ ต่าง ๆ ให้นก และให้ภูติผีปีศาจผู้หิวโหยกินเป็นอาหาร ถ้าผู้ใกล้ตายสำเร็จ ฌานแล้ว อาจทำพิธีนี้เองได้
คำถาม : วรรณคดีธิเบตว่าด้วยความตาย และสภาวะหลังความตายช่างมี อยู่มากมายเหลือเกิน ที่มาของวรรณคดีเหล่านี้คืออะไร
คำตอบ : โยคีและนักปฏิบัติสมาธิผู้มีประสบการณ์หลายต่อหลายท่านเป็น ผู้บันทึกจากประสยการณ์ของตนเอง พระพุทธเจ้าก็ทรงเคยกล่าวไว้หลาย ครั้งเกี่ยวกับความตาย อาการตาย และประสบการณ์ในบาร์โดหรือสภาวะ ระหว่างความตายและการเกิดใหม่ พระดำรัสของพระองค์ปรากฏอยู่ทั้งใน พระสูตรและในคัมภีร์ตันตระ ซึ่งท่านวสุพันธุ์ได้สรุปไว้ในหนังสือ สารา นุกรมอภิปรัชญาทางพุทธศาสนา และทะไลลามะองค์แรกได้ทรงอธิบาย ขยายความไว้ในบทวิจารณ์ของพระองค์
- จาก มรณสติแบบธิเบต พุทธวิธีเพื่อต้อนรับความตาย -
_________________________________________________________
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13:อนุโมทนาครับพี่มด
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version